- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 29 March 2018 17:22
- Hits: 1896
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
สงครามฟรีค่าธรรมเนียมพ่นพิษ ยังคงกดดันหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และ Non-Bank อย่าง CPALL, FSMART ทำให้การเติบโตอาจไม่เป็นอย่างที่คาด กลายเป็นประเด็นหลักที่จะกดดัน SET Index วันนี้ ให้ร่วงลงต่อเนื่องจากเมื่อวาน โดยมีกรอบการเคลื่อนไหว 1780–1795 จุด อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยบวกอยู่บ้าง จากราคาหมูที่ทรงตัวอยู่ระดับสูง หนุนหุ้น TFG และ CPF… Top pick เลือก CPF (FV@B30)
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. SET Index ดิ่ง 17 จุด วิตกแบงก์แข่งลดค่าธรรมเนียม
วานนี้ SET Index ปิดที่ 1,784.99 จุด ลดลง 17.59 จุด หรือ 0.98% ดัชนีย่อตัวลงลึกช่วงท้ายตลาด หลายกลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงโดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก ราคาหุ้น MAKRO ลงแรงกว่า 10% หลัง CPALL ขาย Big lot หุ้น MAKRO ออกมากว่า 230 ล้านหุ้นคิดเป็น 4.8% ที่ราคา 44 บาท ตามด้วยแรงขายของหุ้นกลุ่ม ธ.พ. จากความกังวลแนวโน้มรายได้ค่าธรรมเนียมลดลง หลัง ธ.พ. ใหญ่ (KBANK SCB และ KTB) ทยอยประกาศฟรีค่าธรรมเนียมบริการโอน-จ่ายบิล แต่เห็นการ reboundของกลุ่ม ICT
แนวโน้มตลาดฯ ในวันนี้ อ่อนตัวลงต่อ แนวรับ 1780 จุด แนวต้าน 1795 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
สงครามฟรีค่าธรรมเนียมพ่นพิษ ยังคงกดดันหุ้นกลุ่มธนาคารพาณิชย์ และ Non-Bank อย่าง CPALL, FSMART ทำให้การเติบโตอาจไม่เป็นอย่างที่คาด กลายเป็นประเด็นหลักที่จะกดดัน SET Index วันนี้ ให้ร่วงลงต่อเนื่องจากเมื่อวาน โดยมีกรอบการเคลื่อนไหว 1780–1795 จุด อย่างไรก็ตาม มีปัจจัยบวกอยู่บ้าง จากราคาหมูที่ทรงตัวอยู่ระดับสูง หนุนหุ้น TFG และ CPF… Top pick เลือก CPF (FV@B30)
ย้อนรอยหุ้นไทยวานนี้ ….. SET Index ดิ่ง 17 จุด วิตกแบงก์แข่งลดค่าธรรมเนียม
วานนี้ SET Index ปิดที่ 1,784.99 จุด ลดลง 17.59 จุด หรือ 0.98% ดัชนีย่อตัวลงลึกช่วงท้ายตลาด หลายกลุ่มอุตสาหกรรมปรับตัวลดลงโดยเฉพาะกลุ่มค้าปลีก ราคาหุ้น MAKRO ลงแรงกว่า 10% หลัง CPALL ขาย Big lot หุ้น MAKRO ออกมากว่า 230 ล้านหุ้นคิดเป็น 4.8% ที่ราคา 44 บาท ตามด้วยแรงขายของหุ้นกลุ่ม ธ.พ. จากความกังวลแนวโน้มรายได้ค่าธรรมเนียมลดลง หลัง ธ.พ. ใหญ่ (KBANK SCB และ KTB) ทยอยประกาศฟรีค่าธรรมเนียมบริการโอน-จ่ายบิล แต่เห็นการ reboundของกลุ่ม ICT
แนวโน้มตลาดฯ ในวันนี้ อ่อนตัวลงต่อ แนวรับ 1780 จุด แนวต้าน 1795 จุด
สงครามลดค่าธรรมเนียมธุรกิจ Online พ่นพิษ ยังกดดันหุ้นแบงก์
กระแสสงครามการแข่งขันยกเลิกค่าธรรมเนียมบริการ โอนเงิน, จ่ายบิลสินค้า, เติมเงินมือถือ ผ่านระบบ Online หรือ Application ของธนาคารพาณิชย์รุนแรงและเกิดขึ้นรวดเร็ว แม้ TMB ได้เป็นผู้นำร่องไปก่อนตั้งแต่ปลายปี 2560 แต่ยังไม่มีคู่แข่งผู้ใดลงมาเล่น แต่ล่าสุดสัปดาห์นี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้ประกาศสงครามฟรีค่าธรรมเนียมที่ชัดเจนขึ้น คือ SCB ประกาศใช้ 26 มี.ค.2561, KBANK 28 มี.ค., KTB 29 มี.ค. และ BBL 1 เม.ย. เป็นต้น
การไม่คิดค่าธรรมเนียมครั้งนี้ เป็นการเร่งให้เกิดธุรกรรมโอนเงิน Online มาแทนระบบ Oflline (เคาน์เตอร์, ตู้เติมเงิน) เร็วขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้หากพิจารณามูลค่าการชำระเงินผ่านระบบการชำระเงินและ ช่องทางต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สิ้นปี 2559 388 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.7% จากปี 2558 ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าเป็นการโอนเงินข้ามธ.พ. ผ่านอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่รวมกัน 38% เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ 24.9% และคาดว่าจะขึ้นในปีถัดๆ ไป
ขณะที่กระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งคิดเป็น 5%ของรายได้ค่าธรรมเนียม ซึ่งรายได้ค่าธรรมเนียมคิดเป็น 30% ของรายได้รับสุทธิ(รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ บวกกับ ค่าธรรมเนียม) ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมที่เหลือส่วนใหญ่ของธนาคาร ได้แก่ กำไรขาดทุนจากเงินลงทุน กำไรขาดทุนจาก FX ที่ปรึกษาการเงิน การให้สินเชื่อ และการขายประกัน เป็นต้น ยังคงมีแนวโน้มขยายตัว แต่การลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะบั่นทอนการเติบโตของค่าธรรมเนียมโดยรวมและอาจจะกดดันการเติบโตระยะยาว
CPALL, FSMART โดนหางเลข จากสงครามลดค่าธรรมเนียม Online
ผลกระทบของการลดค่าธรรมเนียมธุรกรรม Online มิได้กระทบเฉพาะธนาคารเท่านั้น แต่กระทบจากผู้ให้บริการรับชำรำะเงินค่าสินค้าและบริการ ผ่าน counter service เช่น ผู้ให้บริการค้าปลีก CPALL, BIGC, รวมถึง FSMART ซึ่งเป็นผู้บริการให้บัตรเติมเงินและปัจจุบันยังให้บริการโอนเงินหรือ banking agent รายแรกของประเทศ โดยได้รับการแต่งตั้งจาก KBANK, KTB, BBL, SCB ซึ่งเน้นลูกค้าที่มิใช่คนทำงาน อาจจะแตกต่างจากลูกค้าธนาคารพาณิชย์ แต่เชื่อว่าน่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากรณีนี้ รวมถึงการที่ธนาคารแหงประเทศไทยต้องการให้ non bank สามารถให้บริการธุรกรรม banking agent ได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย หากได้รับการตอบรับจากธนาคารพาณิชย์ ระยะสั้นแนะนำชะลอการลงทุน FSMART
CPALL ปัจจุบันให้บริการ counter servce จึงน่าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ด้วย โดยปัจจุบันดำเนินงานผ่านบริษัทย่อย Counter Services (CPALL ถือหุ้น 99.99%) แม้สัดส่วนรายได้จะอยู่ที่เพียง 1% ของรายได้รวม แต่กำไรสุทธิสูงถึงกว่า 1 พันล้านบาทต่อปี หรือราว 5% ของกำไรสุทธิ CPALL ประกอบกับจำนวนสาขาในประเทศกว่า 1.03 หมื่นแห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งในกรณีหาก CPALL ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Banking Agent น่าจะเป็นส่วนช่วยหนุนกำไร CPALL เพิ่มขึ้นได้เฉลี่ยปีละ 1%
นอกจากนี้ การที่ CPALL ขายหุ้น MAKRO เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ MAKRO และเป็นไปได้ว่า CPALL จะขายหุ้น MAKRO ออกมาอีก จนมีสภาพคล่องไม่ต่ำกว่า 15% (ปัจจุบัน 6%) โดยเงินสดที่ได้จากการขายหุ้น MAKRO ทาง CPALL จะนำไปชำระหนี้สิน ทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลง แต่ก็อาจกระทบต่อสัดส่วนกำไรสุทธิที่ได้จาก MAKRO ก็จะลดลงเช่นกัน
นักวิเคราะห์ ASPS อยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการฯ แม้มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มกำไรสุทธิ และมูลค่าหุ้นขึ้น แต่คาดว่ายังต่ำกว่าราคาตลาด จึงปรับลดคำแนะนำลงเป็น switch
กระแสสงครามการแข่งขันยกเลิกค่าธรรมเนียมบริการ โอนเงิน, จ่ายบิลสินค้า, เติมเงินมือถือ ผ่านระบบ Online หรือ Application ของธนาคารพาณิชย์รุนแรงและเกิดขึ้นรวดเร็ว แม้ TMB ได้เป็นผู้นำร่องไปก่อนตั้งแต่ปลายปี 2560 แต่ยังไม่มีคู่แข่งผู้ใดลงมาเล่น แต่ล่าสุดสัปดาห์นี้ ธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ได้ประกาศสงครามฟรีค่าธรรมเนียมที่ชัดเจนขึ้น คือ SCB ประกาศใช้ 26 มี.ค.2561, KBANK 28 มี.ค., KTB 29 มี.ค. และ BBL 1 เม.ย. เป็นต้น
การไม่คิดค่าธรรมเนียมครั้งนี้ เป็นการเร่งให้เกิดธุรกรรมโอนเงิน Online มาแทนระบบ Oflline (เคาน์เตอร์, ตู้เติมเงิน) เร็วขึ้นกว่าเดิม ทั้งนี้หากพิจารณามูลค่าการชำระเงินผ่านระบบการชำระเงินและ ช่องทางต่าง ๆ ของธนาคารแห่งประเทศไทย ณ สิ้นปี 2559 388 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 12.7% จากปี 2558 ซึ่งในจำนวนนี้พบว่าเป็นการโอนเงินข้ามธ.พ. ผ่านอินเตอร์เน็ต และโทรศัพท์เคลื่อนที่รวมกัน 38% เพิ่มขึ้นจากปี 2558 ที่ 24.9% และคาดว่าจะขึ้นในปีถัดๆ ไป
ขณะที่กระทบต่อรายได้ค่าธรรมเนียมของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งคิดเป็น 5%ของรายได้ค่าธรรมเนียม ซึ่งรายได้ค่าธรรมเนียมคิดเป็น 30% ของรายได้รับสุทธิ(รายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิ บวกกับ ค่าธรรมเนียม) ขณะที่รายได้ค่าธรรมเนียมที่เหลือส่วนใหญ่ของธนาคาร ได้แก่ กำไรขาดทุนจากเงินลงทุน กำไรขาดทุนจาก FX ที่ปรึกษาการเงิน การให้สินเชื่อ และการขายประกัน เป็นต้น ยังคงมีแนวโน้มขยายตัว แต่การลดค่าธรรมเนียมดังกล่าวจะบั่นทอนการเติบโตของค่าธรรมเนียมโดยรวมและอาจจะกดดันการเติบโตระยะยาว
CPALL, FSMART โดนหางเลข จากสงครามลดค่าธรรมเนียม Online
ผลกระทบของการลดค่าธรรมเนียมธุรกรรม Online มิได้กระทบเฉพาะธนาคารเท่านั้น แต่กระทบจากผู้ให้บริการรับชำรำะเงินค่าสินค้าและบริการ ผ่าน counter service เช่น ผู้ให้บริการค้าปลีก CPALL, BIGC, รวมถึง FSMART ซึ่งเป็นผู้บริการให้บัตรเติมเงินและปัจจุบันยังให้บริการโอนเงินหรือ banking agent รายแรกของประเทศ โดยได้รับการแต่งตั้งจาก KBANK, KTB, BBL, SCB ซึ่งเน้นลูกค้าที่มิใช่คนทำงาน อาจจะแตกต่างจากลูกค้าธนาคารพาณิชย์ แต่เชื่อว่าน่าจะได้รับผลกระทบโดยตรงจากรณีนี้ รวมถึงการที่ธนาคารแหงประเทศไทยต้องการให้ non bank สามารถให้บริการธุรกรรม banking agent ได้โดยไม่ต้องขอใบอนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย หากได้รับการตอบรับจากธนาคารพาณิชย์ ระยะสั้นแนะนำชะลอการลงทุน FSMART
CPALL ปัจจุบันให้บริการ counter servce จึงน่าจะได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ด้วย โดยปัจจุบันดำเนินงานผ่านบริษัทย่อย Counter Services (CPALL ถือหุ้น 99.99%) แม้สัดส่วนรายได้จะอยู่ที่เพียง 1% ของรายได้รวม แต่กำไรสุทธิสูงถึงกว่า 1 พันล้านบาทต่อปี หรือราว 5% ของกำไรสุทธิ CPALL ประกอบกับจำนวนสาขาในประเทศกว่า 1.03 หมื่นแห่ง กระจายอยู่ทั่วประเทศ ซึ่งในกรณีหาก CPALL ได้รับการแต่งตั้งให้เป็น Banking Agent น่าจะเป็นส่วนช่วยหนุนกำไร CPALL เพิ่มขึ้นได้เฉลี่ยปีละ 1%
นอกจากนี้ การที่ CPALL ขายหุ้น MAKRO เพื่อเพิ่มสภาพคล่องให้แก่ MAKRO และเป็นไปได้ว่า CPALL จะขายหุ้น MAKRO ออกมาอีก จนมีสภาพคล่องไม่ต่ำกว่า 15% (ปัจจุบัน 6%) โดยเงินสดที่ได้จากการขายหุ้น MAKRO ทาง CPALL จะนำไปชำระหนี้สิน ทำให้ภาระดอกเบี้ยจ่ายลดลง แต่ก็อาจกระทบต่อสัดส่วนกำไรสุทธิที่ได้จาก MAKRO ก็จะลดลงเช่นกัน
นักวิเคราะห์ ASPS อยู่ระหว่างการทบทวนประมาณการฯ แม้มีแนวโน้มจะปรับเพิ่มกำไรสุทธิ และมูลค่าหุ้นขึ้น แต่คาดว่ายังต่ำกว่าราคาตลาด จึงปรับลดคำแนะนำลงเป็น switch
หุ้นน้ำมันอ่อนตัว จากสต็อกน้ำมันเพิ่ม และดอลลาร์แข็งค่า
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบ พลิกกลับมาเพิ่มขึ้น 1.63 ล้านบาร์เรล (ตลาดคาดลดลง 2.87 แสนบาร์เรล) ผลจากการที่อยู่ในช่วงฤดูกาลการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในช่วงระหว่างเดือน ก.พ.- เม.ย. และค่าเงิน Dollar Index ที่แกว่งตัวในทิศทางแข็งค่า หลังจากการรายงาน GDP Growth งวด 4Q60 2.9% ดีกว่าตลาดคาด 2.5% ล้วนกดดันราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลง แต่ยังอยู่เหนือสมมติฐานที่ ASPS ประเมินไว้ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ytd 64 เหรียญฯ )
ยังชอบ PTTEP(FV@B137) เพราะมี Upside 18.6% และ มีโอกาสปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นอีกหุ้นละ 25 บาท หากสามารถประมูลแหล่งผลิตและสำรวจก๊าซในแหล่งบงกช ซึ่งจะทราบผลปลายปีนี้
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ(EIA) รายงานสต็อกน้ำมันดิบ พลิกกลับมาเพิ่มขึ้น 1.63 ล้านบาร์เรล (ตลาดคาดลดลง 2.87 แสนบาร์เรล) ผลจากการที่อยู่ในช่วงฤดูกาลการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่นในช่วงระหว่างเดือน ก.พ.- เม.ย. และค่าเงิน Dollar Index ที่แกว่งตัวในทิศทางแข็งค่า หลังจากการรายงาน GDP Growth งวด 4Q60 2.9% ดีกว่าตลาดคาด 2.5% ล้วนกดดันราคาน้ำมันดิบอ่อนตัวลง แต่ยังอยู่เหนือสมมติฐานที่ ASPS ประเมินไว้ 65 เหรียญฯต่อบาร์เรล (ytd 64 เหรียญฯ )
ยังชอบ PTTEP(FV@B137) เพราะมี Upside 18.6% และ มีโอกาสปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นอีกหุ้นละ 25 บาท หากสามารถประมูลแหล่งผลิตและสำรวจก๊าซในแหล่งบงกช ซึ่งจะทราบผลปลายปีนี้
ไทยยังใช้นโยบายดอกเบี้ยต่ำต่อไป ยังไม่มีปัญหาเงินเฟ้อ
ที่ประชุม กนง. ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (ตั้งแต่ เม.ย. 2558) ตามตลาดคาด อย่างไรมี 1 ใน 7 เสียง มีความเห็นขัดแย้ง และ เห็นว่าควรปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้น นอกจากนี้ กนง. ยังเพิ่ม GDP Growth ปี 2561-2562 เป็น 4.1% (ใกล้เคียงกับ Consensus) จากเดิมคาด 3.9% โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนมาจากในประเทศ ทั้งการลงทุน และการบริโภค ซึ่งรัฐกระตุ้นกำลังซื้อต่อเนื่อง (ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ, เงินอัดฉีดหมู่บ้าน 1.6 หมื่นล้านาท เป็นต้น)
อย่างไรก็ตาม ASPS เชื่อว่า กนง. ยังยืนดอกเบี้ยฯในช่วง 1H61 เนื่องจากเงินเฟ้อยังต่ำ ล่าสุด เดือน ก.พ. อยู่ที่ 0.44% โดยมีโอกาสจะปรับขึ้นราว 0.25% ในช่วงปลายปีหรือ ต้นปี 2562 สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย ยกเว้นบางประเทศขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน คือ มาเลเซีย และ จีน แต่เชื่อว่าประเด็นนี้ตลาดน่าจะซึมซับไปแล้ว
ต่างชาติขายหุ้นไทย แต่ไปพักเงินในตราสารหนี้ระยะสั้นแทน
วานนี้ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นภูมิภาคเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าอีก 667 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ นำโดยไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาค 319 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 307 ล้านเหรียญ, อินโดนีเซีย 51 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), ฟิลิปปินส์ 21 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ยกเว้นไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิ 31 ล้านเหรียญ หรือ 967 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) เช่นเดียวสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 2.81 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
อย่างไรก็ตามแรงซื้อจากต่างชาติและสถาบันฯนั้น ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการซื้อหุ้น MAKRO บางส่วนจากบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่วานนี้มีรายงานขาย Big Lot ออกมาสูงถึง 1.01 หมื่นล้านบาท (ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 44 บาท) ทำให้เชื่อว่าแรงขายต่างชาติยังมีอยู่ตราบที่ไม่มีประเด็นใหม่หนุน เช่นเดียวกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ภาพรวม Fund Flow ในไทยยังเป็นลักษณะที่ต่างชาติขายหุ้นและสลับมาเข้าตราสารหนี้ระยะสั้นแทน สังเกตได้จากในสัปดาห์นี้ แม้ต่างชาติจะซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทย 1.03 พันล้านบาท แต่กลับเป็นการซื้อเฉพาะตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุ < 1 ปี) 9.85 พันล้านบาท (wtd) รวมถึงขายตราสารหนี้ระยะยาว (อายุ > 1 ปี) 8.81 พันล้านบาท (wtd)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO7226
ที่ประชุม กนง. ยังคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% (ตั้งแต่ เม.ย. 2558) ตามตลาดคาด อย่างไรมี 1 ใน 7 เสียง มีความเห็นขัดแย้ง และ เห็นว่าควรปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ เพราะเห็นว่าเศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้น นอกจากนี้ กนง. ยังเพิ่ม GDP Growth ปี 2561-2562 เป็น 4.1% (ใกล้เคียงกับ Consensus) จากเดิมคาด 3.9% โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนมาจากในประเทศ ทั้งการลงทุน และการบริโภค ซึ่งรัฐกระตุ้นกำลังซื้อต่อเนื่อง (ขึ้นค่าแรงขั้นต่ำ, เงินอัดฉีดหมู่บ้าน 1.6 หมื่นล้านาท เป็นต้น)
อย่างไรก็ตาม ASPS เชื่อว่า กนง. ยังยืนดอกเบี้ยฯในช่วง 1H61 เนื่องจากเงินเฟ้อยังต่ำ ล่าสุด เดือน ก.พ. อยู่ที่ 0.44% โดยมีโอกาสจะปรับขึ้นราว 0.25% ในช่วงปลายปีหรือ ต้นปี 2562 สอดคล้องกับประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ ฟิลิปปินส์, อินโดนีเซีย ยกเว้นบางประเทศขึ้นดอกเบี้ยไปก่อน คือ มาเลเซีย และ จีน แต่เชื่อว่าประเด็นนี้ตลาดน่าจะซึมซับไปแล้ว
ต่างชาติขายหุ้นไทย แต่ไปพักเงินในตราสารหนี้ระยะสั้นแทน
วานนี้ต่างชาติยังขายสุทธิหุ้นภูมิภาคเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่าอีก 667 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ นำโดยไต้หวันถูกขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาค 319 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 307 ล้านเหรียญ, อินโดนีเซีย 51 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4), ฟิลิปปินส์ 21 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) ยกเว้นไทยที่ต่างชาติซื้อสุทธิ 31 ล้านเหรียญ หรือ 967 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) เช่นเดียวสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 2.81 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
อย่างไรก็ตามแรงซื้อจากต่างชาติและสถาบันฯนั้น ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากการซื้อหุ้น MAKRO บางส่วนจากบริษัท ซีพีออลล์ จำกัด (มหาชน) ที่วานนี้มีรายงานขาย Big Lot ออกมาสูงถึง 1.01 หมื่นล้านบาท (ราคาเฉลี่ยหุ้นละ 44 บาท) ทำให้เชื่อว่าแรงขายต่างชาติยังมีอยู่ตราบที่ไม่มีประเด็นใหม่หนุน เช่นเดียวกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน
นอกจากนี้ภาพรวม Fund Flow ในไทยยังเป็นลักษณะที่ต่างชาติขายหุ้นและสลับมาเข้าตราสารหนี้ระยะสั้นแทน สังเกตได้จากในสัปดาห์นี้ แม้ต่างชาติจะซื้อสุทธิตราสารหนี้ไทย 1.03 พันล้านบาท แต่กลับเป็นการซื้อเฉพาะตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุ < 1 ปี) 9.85 พันล้านบาท (wtd) รวมถึงขายตราสารหนี้ระยะยาว (อายุ > 1 ปี) 8.81 พันล้านบาท (wtd)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO7226