WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 

กลยุทธ์การลงทุน
  คาด SET Index วันนี้จะย่อตัวลง โดยผลกระทบหลักมาจากสงครามการค้าสหรัฐฯ กับจีน ซึ่งจะกระทบต่อเศรษฐกิจและการค้าโลก แต่เงินดอลลาร์ที่อ่อนค่าตอบรับการขึ้นดอกเบี้ยของ Fed ตามคาด และการที่กลุ่ม OPEC อาจขยายเวลาลดกำลังการผลิตถึงปี 62 เป็นปัจจัยช่วยหนุนตลาดฯ ได้ โดยมองกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1775–1800 จุด และหุ้น Top Picks เลือก PTTEP(FV@B137) ตามราคาน้ำมัน, CPF(FV@B30) คาดกำไรปีนี้ฟื้นตัว ตามราคาหมูและไก่ที่ปรับขึ้น
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ...SET ลงมาต่ำกว่า 1800 จุด เมื่อวันศุกร์
  ศุกร์ที่ผ่านมา SET index เปิดกระโดดลงทันทีราว 18 จุด ได้รับแรงกดดันจากตลาดหุ้นสหรัฐที่ลงรุนแรง แต่สามารถ rebound กลับได้ดีช่วงท้ายตลาด ก่อนจะที่ 1,794.21 ลดลงเพียง 4.34 จุด หรือ 0.24% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.01 หมื่นล้านบาท ตลาดได้แรงหนุนนำ จากกลุ่มโรงพยาบาล คือ BDMS, BH เพิ่มขึ้น 2.24% และ 0.97% ตามด้วยกลุ่ม พลังงาน-ปิโตรฯ ยังปรับตัวขึ้นต่อเนื่อง PTT เพิ่มขึ้น 1.10% EESO เพิ่มขึ้น 1.70% IVL, PTTGC เพิ่มขึ้น 1.79% 0.51% หุ้นโรงไฟฟ้า GULF เพิ่มขึ้น 1.43% ขณะที่ PTTEP BANPU และ GLOW ลดลง 0.43%,1.93%, 2.0% ตามลำดับ ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยยังคงคาดว่าราคาน้ำมันดิบโลกจะยังทรงตัวในระดับสูง
  ตรงข้ามกับกลุ่มอสังหาฯ ซึ่งกดดันตลาดสูงสุด นำโดย MBK ลดลง 4.46%, AMATA ลดลง 1.85% และ CPN ลดลง 0.95% ตามด้วยกลุ่มวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะ SCC ลดลง 1.19% แม้ Demand ปูนจะยังไม่ค่อยดี แต่ได้ธุรกิจอื่น(ปิโตร) เข้ามากลบ และกลุ่มค้าปลีก คือ BJC MAKRO ลดลง 1.72% 0.90% ตามลำดับ
  สำหรับแนวโน้มตลาดฯ ในวันนี้ คาดดัชนียังคงแกว่งตัวในกรอบ 1785-1800 จุด 
การกีดการค้าโลก จะมีน้ำหนักกดดัน Dollar ให้อ่อนค่า - กระทบคู่ค้าในเอเชีย
  หลังจากตลาดรับรู้กรอบการขึ้นดอกเบี้ยฯ ของ Fed กดดัน Dollar Index ยังมีทิศทางทรงตัวถึงอ่อนค่า ซึ่งเชื่อว่าปัจจัยกดดันหลังน่าจะเกิดจากการกีดกันทางการค้าของสหรัฐที่สร้างความขัดแย้งในวงกว้าง  โดยเฉพาะการมุ่งโจมตีไปที่จีนเป็นคู่ค้าสำคัญของสหรัฐ (16.4% ของมูลค่าการค้าทั้งหมดของสหรัฐ) และได้ดุลการค้าสหรัฐสูงสุด 47.1% ของยอดขาดดุลทั้งหมด โดยเน้นสินค้าในกลุ่มเทคโนโลยีและโทรคมนาคม เนื่องจากจีนเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ทั้งนี้มาตรการที่สหรัฐจะกดดันจีน คือ
  ขึ้นภาษีนำเข้า 25% สำหรับสินค้าที่เข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา ซึ่งน่าจะกระทบมูลค่าสินค้าประมาณ 6 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ
  ร้องเรียนต่อองค์การการค้าโลก(WTO) สินค้าจีนที่ละเมิดลิขสิทธิ์และทรัพย์สินทางปัญญา
  จำกัดการลงทุนของจีนในสหรัฐ    เพื่อป้องกันมิให้ถ่ายทอดเทคโนโลยีจากบริษัทในสหรัฐ
  มาตรการดังกล่าว น่าจะส่งผลกระทบทางอ้อมต่อคู่ค้าหลักของจีน โดยเฉพาะคู่ค้าจีนในแถบเอเชีย ในฐานะที่เป็นผู้ผลิตส่งออกสินค้าวัตถุดิบ กึ่งวัตถุดิบ (Supply Chain) ให้กับจีน  ได้แก่ ฮ่องกง มีสัดส่วนการค้ากับจีนราว 9.0%, ญี่ปุ่น 8.14%,เกาหลีใต้ 7.48%, ออสเตรเลีย 3.2%, เวียดนาม 2.91%, มาเลเซีย 2.57%, ไทย 2.24% เป็นต้น  ซึ่งถือว่ากดดันการค้าโลกรวมถึงเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตของส่งออกของไทย  ที่เผชิญกับเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องมา 2 ปีทำให้ประเมินว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจไทยในปีนี้น่าจะได้รับแรงหนุนจากการลงทุน และการบริโภคในประเทศมากกว่า    
  และการประชุม กนง. วันที่ 28 มี.ค. นี้ น่าจะคงดอกเบี้ยนโยบายที่ 1.5% ต่อเนื่องไปตลอด 1H61 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อยังคงอยู่ในระดับต่ำ (เดือน ก.พ. อยู่ที่ 0.42%) แต่มีโอกาสจะเริ่มเห็นการปรับขึ้นราว 0.25% ในช่วง 2H61
ราคาน้ำมันเดินหน้าต่อ OPEC อาจลดกำลังผลิตถึงปี 62
  นอกจาก Dollar Index ที่อ่อนค่าดังกล่าว แล้ว ความคาดหวังต่อปัญหา Oversupply จะผ่อนคลายลง และ หมดไว้เร็วกว่าคาดในงวด 2H61 น่าจะมีน้ำมันมากขึ้น หลังจากซาอุดิอาระเบีย ได้เสนอให้กลุ่มประเทศ OPEC ขยายระยะเวลาการปรับลดกำลังการผลิตไปจนถึงปี 2562 จากเดิมสิ้นสุดปลายปี  2561 
  ขณะที่ปัญหาในแหล่งผลิตของ Opec ในกรณีของอิหร่าน ซึ่งมีโอกาสที่จะถูกสหรัฐ คว่ำบาตรทางการค้าอีกครั้ง (อิหร่านผลิตน้ำมันราว 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 12.5% ของกลุ่ม OPEC)  และวิกฤติการเงิน ในเวเนซุเอลา อาจทำให้ไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบออกมาได้ตามแผน ล้วนลด    Oversupply  ในตลาดโลก  
  โดยรวมรวมหนุนให้ราคาน้ำมันดูไบล่าสุดยืนเหนือ 67 เหรียญฯต่อบาร์เรล หากยังยืนที่ระดับนี้จะทำให้ค่าเฉลี่ยน้ำมันปี 2561อาจสูงสมมติฐานของ ASPS (เฉลี่ยต้นปีจนถึงปัจจุบัน 64 เหรียญฯต่อบาร์เรล) ยังชอบ PTTEP(FV@B137) มีการเติบโต และ upside สูงสุด  ขณะที่ยังมีโอกาสที่จะปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นอีก 25 บาท หากสามารถประมูลแหล่งบงกชกลับมาดำเนินธุรกิจได้เช่นเดิม  (แหล่งบงกช จะครบสัญญาสัมปทาน  2565-66 ภายใต้สัมปทานใหม่จะมีกำลังผลิตขั้นต่ำวันละ 70 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวันเป็นเวลา 10 ปี  โดย PTTEP  ถือหุ้นใหญ่ 66.67% อีก 33.33% ถือโดย TOTAL)
คาด DTAC ได้ประโยชน์ หากประมูลคลื่น 1800 Mhz เร็วขึ้น 
  หลังจากกฤษฎีกาให้ความเห็นว่า กสทช. ชุดรักษาการมีอำนาจในการจัดประมูลคลื่นสัมปทาน DTAC  กระบวนการจากนี้ คือ กสทช. จะสามารถดำเนินการประมูล  1800 MHz จำนวน 45 MHz   ซึ่งน่าจะดีต่อ  DTAC ก่อนจะสิ้นสุดสัปทาน  (ก.ย.เดือน 2561) และดีต่อ  ADVANC ที่ต้องการคลื่น เพื่อขยายประสิทธิภาพเนื่องจากปัจจุบันมีจำนวนลูกค้าที่ใช้งานต่อคลื่นมากสุด คือ 0.73 ล้านเลขหมายต่อคลื่นที่มี 1 MHz  ซึ่งสูงกว่า DTAC และ TRUE ที่ราว 0.5 ล้านเลขหมาย ที่เท่ากัน 
  ขณะที่การประมูล ยังคงให้แต่ละรายชนะประมูล 15 MHz แม้เกณฑ์ใหม่ จะซอยย่อย ออกเป็น 9 ใบอนุญาต ขนาดคลื่นใบละ 5 MHz  และราคาประมูลจะสิ้นสุดที่ใกล้เคียงราคากับคราวที่แล้ว (1800 Mhz 40000 ล้านบาท 18 ปี)  
  พิจารณาฐานะการเงินปัจจุบันรายที่มีความพร้อมทุกรายคือ ADVANC, DTAC และ TRUE มีเงินสดในมือ สิ้นปี 2560 ที่ราว 1.06,  2.6 และ 1.8 หมื่นล้านบาท  เมื่อบวกกับ กระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (CFO) พบว่า ADVANC มีสูงสุดที่เกินปีละ 6.0 หมื่นล้านบาท รองลงมาคือ DTAC และ TRUE อยู่ที่  2.4 และ  1.5 หมื่นล้านบาท
  ส่วนงบลงทุนเพิ่มเติม เชื่อว่าจะอยู่ในกรอบงบลงทุนปกติ คือ เน้นการเพิ่มกำลังให้บริการเป็นหลัก เพราะคลื่นดังกล่าวจะนำไปเพิ่มกำลังให้บริการ 4G ซึ่งทุกรายล้วนมีโครงข่ายที่ได้ลงทุนไว้แล้วในช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมา โดย ADVANC, TRUE เป็นการลงทุนบนคลื่นใบอนุญาต ต้นทุนหลักที่จะเข้ามา จึงน่าจะเพียงค่าตัดจำหน่ายคลื่นใหม่ราวปีละ 2.4 พันล้านบาท
  ทั้งนี้ยกเว้น  DTAC  ที่ผ่านมาลงทุนบนคลื่นสัมปทานเดิม  ซึ่งต้องโอนให้กับ CAT  และต้องเช่ากลับมา เมื่อบวกกับต้นทุนที่จะขอเช่าอีกคลื่นหนึ่ง คือ 2300 MHz จาก TOT ปีละ 4.5 พันล้านบาท  เท่ากับว่า DTAC จะมีต้นทุนเพิ่มราว 1.7 หมื่นล้านบาท อย่างไรก็ตาม ต้นทุนดังกล่าวยังต่ำกว่าต้นทุนหลังสัมปทานเดิมที่ DTAC จะหยุดรับรู้จำนวนมาก คือ ค่าตัดจำหน่ายอุปกรณ์สัมปทานปีละ 1.68 หมื่นล้านบาท   ทั้งนี้ยังไม่รวมต้นทุนส่วนแบ่งรายได้ที่จะลดลงเหลือ 4%  ภายใต้ระบบใบอนุญาต  จากปัจจุบันที่สูงราว 13.6% คิดเป็นต้นทุนที่ลดลงอีกกว่า 6.0 พันล้านบาท   อย่างไรก็ตามโดยรวมคาดว่าปี 2561  DTAC  ยังเผชิญกับผลขาดทุนบ้าง แต่ จะกลับมา Turnaround ในปี 2562   ภาพรวมยังให้คำแนะนำ ซื้อ ADVANC(FV@B230) และ DTAC(FV@B55)
ตลาดหุ้นภูมิภาคร่วงหนัก จับตาแรงขายต่างชาติ
  วันศุกร์ที่ผ่านมาตลาดหุ้นส่วนใหญ่ในภูมิภาคปรับฐานลงแรง เนื่องจากกังวลต่อประเด็นการกีดกันการค้าสหรัฐฯ และวัฏจักรดอกเบี้ยขาขึ้น  กดกันต่างชาติกลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคกว่า 578 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และยังเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวันขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาค 350 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 151 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว), อินโดนีเซีย 77 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และฟิลิปปินส์ 20 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยที่ต่างชาติยังคงซื้อสุทธิ 21 ล้านเหรียญ หรือ 648 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ต่างกับสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิ 901 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน)
  ทั้งนี้สวนทางตลาดตราสารหนี้ไทย พบว่าทั้งนักลงทุนสถาบันฯ และ ต่างชาติสุทธิ 8.62 พันล้านบาท   7.27 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9 มีมูลค่ารวม 4.36 หมื่นล้านบาท) ตามลำดับ ซึ่งการที่ต่างชาติยังขายหุ้นแต่ซื้อตราสารหนี้ ถือเป็นปัจจัยหนุนเงินบาทยังอยู่ในโซนแข็งค่ากว่า 4.14% (ytd) โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.17 บาท/เหรียญฯ
สถานการณ์โลกไม่ดี เลือกลงทุนหุ้น Domestic Play – Laggard
  แม้ความกังวลภาวะน้ำมันล้นตลาดจะลดลง จากความหวังที่ว่าโอเปกอาจจะขยายเวลาลดกำลังการผลิตน้ำมันออกไปจากเดิม (สิ้นปีนี้) แต่ในช่วงสั้นตลาดหุ้นทั่วโลกรวมถึงไทยยังปรับตัวลดลง หวั่นเกิดสงครามการค้าที่รุนแรงขึ้น และอาจทำให้ความเชื่อมั่นค่าเงินดอลลาร์สหรัฐลดลง (ค่าเงินอ่อนค่าลง) จนส่งผลให้ค่าเงินบาทของไทยแข็งค่ามากขึ้น กลยุทธ์การลงทุน แนะนำถือหุ้น 40% และเลือกเป็นหุ้นรายตัว มีดังนี้
  หุ้นเติบโตโดดเด่น ราคามี upside สูง : กลุ่มค้าปลีก BJC (FV@B69) เศรษฐกิจที่เติบโต และมาตรการกระตุ้นการบริโภคทำให้การจับจ่ายใช้สอยยังหนุนนำ แม้ภาวะการแข่งขันในอุตสาหกรรมค้าปลีกจะมีมากขึ้น แต่ระยะยาวจะได้ผลบวกจากการเติบโตของธุรกิจเสริมที่เข้าไปลงทุนในเวียดนามด้วย , นิคมอุตสาหกรรม WHA(FV @B4.89) ร่าง พ.ร.บ. EEC อยู่ระหว่างการประกาศใช้เป็นกฎหมาย ช่วยสร้างความมั่นใจให้กับนักลงทุน และกลุ่มพลังงาน-ถ่านหิน ซึ่งนอกจากจะได้ประโยชน์จากภาวะ Oversupply ที่ลดลง ส่งผลให้ราคาน้ำมันดิบโลกทรงได้ในระดับสูง ช่วยหนุนผลประกอบการปีนี้ ยังคงมีปัจจัยบวกเฉพาะตัว PTTEP(FV @B137) มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการฯ และ Fair Value ขึ้นอีก 25 บาท หากว่าสามารถประมูลแหล่งบงกชกลับมาได้ รวมถึง BANPU(FV @B25.60) ราคาหุ้นปัจจุบันยังถือว่าอยู่ต่ำกว่าพื้นฐานมีนัยฯ ประกอบกับเป็นการปลดล๊อกคดีความหงสาที่ค้างคามาเป็นระยะกว่า 10 ปี ทำให้หุ้นมีการแปรผันตามพื้นฐานที่แท้จริงจากนี้ไป
  ราคาหุ้นยัง Laggard : กลุ่มวัสดุก่อสร้าง SCC (FV @B600) ศักยภาพของบริษัทที่แข็งแกร่ง รายได้มีโอกาสการเติบโตจากการลงทุนของภาครัฐและเอกชน, กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ HANA (FV @B46) แม้จะมีการปรับประมาณการกำไรลง แต่ราคาหุ้นปรับฐานลงมาจนมี upside สูงถึง 33% และมี Div Yield สูงเกือบ 6%, กลุ่มส่งออกอาหาร GFPT(FV @B17) ได้อานิสงค์จากการส่งออกไปยังจีนเพิ่มขึ้น หักล้างเงินบาทที่มีทิศทางแข็งค่าได้ และ CPF(FV @B30) คาดปี 2561 ฟื้นตัวอย่างชัดเจน จากราคาสุกรที่ฟื้นตัวได้ดีอยู่ที่ 48 บาท/ก.ก. ทำระดับสูงสุดในรอบ 10 เดือน และธุรกิจกุ้งที่ขยายตัวต่อเนื่อง, กลุ่มโรงพยาบาล BCH ([email protected]) มีการปรับประมาณการกำไรและ Fair Value ขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ราคาปัจจุบันมี upside 15.6%, กลุ่ม ธ.พ. BBL(FV@B235) โครงสร้างสินเชื่อกว่า 41% เป็นสินเชื่อรายใหญ่ ที่น่าจะเติบโตได้ดีตามแรงหนุนของโครงการลงทุนภาครัฐที่มีแนวโน้มการเติบโตเร่งตัวตามความคืบหน้าของโครงการลงทุนขนาดใหญ่ คาดกำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 14.0% yoy, กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ตั้งแต่ต้นปีกลุ่มฯ ปรับลดลงไปแล้วกว่า 16%ytd เนื่องจากความล่าช้าในการเปิดประมูลโครงการก่อสร้างต่างๆ อย่างไรก็ตาม คาดว่าตั้งแต่ปลายเดือน มี.ค. – ต้นเดือน เม.ย. นี้ น่าจะเห็นความคืบหน้ามากขึ้น โดยมีโอกาสที่โครงการรถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน (ดอนเมือง-สุวรรณภูมิ-อู่ตะเภา) มูลค่า 2.15 แสนล้านบาท ซึ่งจะถูกนำเข้าเสนอ ครม. พิจารณาในสัปดาห์นี้ ทั้งนี้ โครงการดังกล่าวเป้นโครงการขนาดใหญ่ที่ใช้เงินลงทุนสูง การประมูลจึงมีลักษณะเป็น PPP (Public Private Partnership) คือ ต้องให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนกับภาครัฐ ซึ่งหากพิจารณาผู้ประมูลที่จะมีโอกาสชนะได้ต้องเป็นผู้ร่วมทุนที่มีฐานะการเงินดี  มีพันธมิตรทางธุรกิจทั้งก่อสร้าง เดินรถไฟ และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งน่าจะอยู่ใน 2 กลุ่ม คือ STEC (FV@B25) ซึ่งมีฐานะเป็น net cash เคยชนะประมูลรถไฟฟ้าสายสีส้ม สีชมพู และสีเหลือง ทั้งยังร่วมประมูลกับ BTS ซึ่งเป็นพันธมิตรกับ SIRI รวมทั้งยังถือหุ้นใน U ทำให้มีความพร้อมในเรื่องทั้งการเดินรถ และการพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ขณะที่ CK (FV@B34)  ฐานะการเงินยังแข็งแกร่ง มี net gearing ณ สิ้นปี 2560 ที่ 1.27 เท่า และมีประวัติการทำงาน (track record) ในการประมูลงานภาครัฐมาโดยตลอด สามารถเข้าร่วมลงทุนกับภาครัฐ นอกเหนือจากการรอประมูลงานก่อสร้างเพียงอย่างเดียว และมีบริษัทลูก คือ BEM ที่มีความเชี่ยวชาญในการเดินรถ ฝ่ายวิจัยจึงยังชอบผู้รับเหมาทั้ง 2 รายนี้ ที่มีความโดดเด่นเหนือผู้รับเหมารายอื่นๆ
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6995

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!