- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 21 March 2018 17:33
- Hits: 920
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
วันนี้ SET มีแนวโน้มฟื้นตัวตามราคาน้ำมันดิบ แต่น่าจะมีกรอบจำกัด 1790-1805 จุด โดยตลาดน่าจะให้น้ำหนักกับการประชุม Fed วันที่ 20-21 มี.ค. นี้ ถึงแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงที่เหลือปีนี้ ขณะที่ยังมีแรงกดดันจากหุ้นที่จ่ายเงินปันผล ยิ่งใกล้วันขึ้น XD จะยิ่งกดดันดัชนีมากขึ้น ยังแนะนำหุ้น Growth (AH, BPP, PTTEP, SAPPE, TVO, BJC) Defensive (โรงพยาบาล BCH, RJH) และหมู-ไก่ส่งออกมีแนวโน้มดีขึ้น (GFPT, TFG, CPF) Top pick PTTEP(FV@B137) เนื่องจากยังมีปัญหาในแหล่งผลิตน้ำมัน และสต็อกน้ำมันลดมากกว่าคาด
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ... ตลาดฯ ขึ้นก็จำกัด ลงก็เช่นกัน
ดัชนี SET วานนี้แกว่งทรงๆ ในแดนลบ ยังคงต้องจับตาประเด็นต่างประเทศเป็นหลัก ก่อนจะกลับมาปิดบวกได้เล็กน้อยที่ 1,799.84 เพิ่มขึ้น 0.05 จุด หรือ 0.00% ด้วยมูลค่าการซื้อขายเพียง 4.9 หมื่นล้านบาท ตลาดได้หนุนไม่มากนักจาก กลุ่มวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะ SCC เพิ่มขึ้น 1.2% และกลุ่มพลังงาน-ปิโตรฯ อย่าง PTT เพิ่มขึ้น 1.12%, PTTGC เพิ่มขึ้น 0.26% แต่หุ้น TOP, PTTEP และหุ้นโรงไฟฟ้า EA ลดลง 2.03%, 1.72%, 1.55% ตามลำดับ ขณะที่หุ้นอื่นๆ เช่น MAKRO ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.88%, CENTEL MINT เพิ่มขึ้น 3.28% 1.97%, และ TRUE เพิ่มขึ้น 0.7%
ตรงข้ามกับกลุ่มธ.พ. และกลุ่มอสังหาฯ ราคายังปรับฐานต่อเนื่อง เริ่มจาก BBL ลดลง 0.96% ตามด้วย SCB ลดลง 0.68% KTB ลดลง 0.99% สวนทางกับ KBANK เพิ่มขึ้น 0.90% ส่วน CPN ก็ปรับตัวลดลง 1.89% เช่นเดียวกับหุ้นอื่นๆ อย่าง MTLS HMPRO และ CAPLL ปรับตัวลดลง 3.82%, 2.10%, 0.57% ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ ในวันนี้ คาดดัชนียังคงแกว่งผันผวนในกรอบ 1790 - 1805 จุด
ตลาดให้น้ำหนักการขึ้นดอกเบี้ย Fed ขึ้นมากกว่าคาด
วันนี้เป็นวันที่ 2 ของการประชุม Fed ระหว่างวันที่ 20-21 มี.ค. (ทราบผลเช้า 22 มี.ค.ตามเวลาไทย) ตลาดคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยฯ ราว 0.25% ในรอบนี้ซึ่งนับเป็นการขึ้นครั้งแรกของปี สะท้อนจากผลสำรวจของ Bloomberg คาดโอกาส 99% และการประชุมที่เหลืออีก 6 ครั้ง Fed น่าจะขึ้นดอกเบี้ย2 หรือ 3 ครั้ง ขึ้นกับเงินเฟ้อสหรัฐ ซึ่งเดือน ก.พ. อยู่ที่ 2.2%yoy (แกว่งตัวอยู่ราว 2.1-2.2% มาประมาณ 3 เดือนแล้ว) ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง (อัตราการว่างงานสหรัฐ เดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 4.1% ต่ำสุดในรอบ 17 ปี) โดยหาก Fed จะส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเกินกว่าตลาดคาดอาจนำไปสู่การปรับฐานของตลาดหุ้นโลกอีกรอบหนึ่ง เพราะการขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไปอาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะกลาง
ขณะที่ไทย วันนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดการค้าระหว่างประเทศ เดือน ก.พ. คือ ยอดส่งออกคาด 9.25% และยอดนำเข้าคาด 15% อย่างไรก็ตาม ASPS คาดภาคส่งออกมีโอกาสเผชิญอุปสรรคที่มาจากกับการกีดกันทางการค้าสหรัฐที่รุนแรง และค่าเงินบาทที่แข็งค่าติดต่อกัน 2 ปีและแข็งค่าราว 4.46% นับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งทำให้ประเมินว่า GDP Growth ของไทยในปีนี้จะขับเคลื่อนด้วยการลงทุน และการบริโภคในประเทศเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่ตลาดน่าจะซึมซับไปแล้ว
วันนี้เป็นวันที่ 2 ของการประชุม Fed ระหว่างวันที่ 20-21 มี.ค. (ทราบผลเช้า 22 มี.ค.ตามเวลาไทย) ตลาดคาดว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยฯ ราว 0.25% ในรอบนี้ซึ่งนับเป็นการขึ้นครั้งแรกของปี สะท้อนจากผลสำรวจของ Bloomberg คาดโอกาส 99% และการประชุมที่เหลืออีก 6 ครั้ง Fed น่าจะขึ้นดอกเบี้ย2 หรือ 3 ครั้ง ขึ้นกับเงินเฟ้อสหรัฐ ซึ่งเดือน ก.พ. อยู่ที่ 2.2%yoy (แกว่งตัวอยู่ราว 2.1-2.2% มาประมาณ 3 เดือนแล้ว) ขณะที่ตลาดแรงงานยังคงแข็งแกร่ง (อัตราการว่างงานสหรัฐ เดือน ก.พ. อยู่ที่ระดับ 4.1% ต่ำสุดในรอบ 17 ปี) โดยหาก Fed จะส่งสัญญาณขึ้นดอกเบี้ยเกินกว่าตลาดคาดอาจนำไปสู่การปรับฐานของตลาดหุ้นโลกอีกรอบหนึ่ง เพราะการขึ้นดอกเบี้ยเร็วเกินไปอาจเป็นอุปสรรคต่อการเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะกลาง
ขณะที่ไทย วันนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดการค้าระหว่างประเทศ เดือน ก.พ. คือ ยอดส่งออกคาด 9.25% และยอดนำเข้าคาด 15% อย่างไรก็ตาม ASPS คาดภาคส่งออกมีโอกาสเผชิญอุปสรรคที่มาจากกับการกีดกันทางการค้าสหรัฐที่รุนแรง และค่าเงินบาทที่แข็งค่าติดต่อกัน 2 ปีและแข็งค่าราว 4.46% นับตั้งแต่ต้นปี ซึ่งทำให้ประเมินว่า GDP Growth ของไทยในปีนี้จะขับเคลื่อนด้วยการลงทุน และการบริโภคในประเทศเป็นหลัก ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่ตลาดน่าจะซึมซับไปแล้ว
น้ำมันฟื้นตัวต่อ..ปัญหาแหล่งผลิตและสต็อกน้ำมันลดกว่าคาด
ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงแกว่งตัวขึ้น นอกจากได้แรงหนุนจากความต้องการใช้น้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้น ตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวโดยเฉพาะสหรัฐและจีน แล้ว ยังมีปัญหาด้าน supply โดยอิหร่านมีโอกาสถูกสหรัฐคว่ำบาตรทางการค้าอีกครั้ง (อิหร่านผลิตน้ำมันราว 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 12.5% ของกลุ่ม OPEC) และปัญหาวิกฤตการณ์ในเวเนซุเอลา จากปัญหาหนี้สาธารณะ และการฉ้อโกงในรัฐบาล ทำให้รัฐขาดแคลนเงินในพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบออกมาได้ ทำให้ Supply ลดลงระยะสั้น
นอกจากนี้ตลาดยังประเมินว่าการรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในวันพรุ่งนี้ มีโอกาสจะลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่เพิ่ม 5.02 ล้านบาร์เรล แม้ยังเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 4 (อยู่ในช่วงฤดูกาลการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น) อยู่ที่ 2.5 ล้านบาร์เรล
โดยรวมน่าจะหนุนให้ราคาน้ำมันล่าสุด อยู่ที่ 64.66 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งใกล้เคียงกับสมมติฐานของ ASPS ยังชอบ PTTEP(FV@B137) มีการเติบโต และ upside สูงสุด ขณะที่ยังมีโอกาสที่จะปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นอีก 25 บาท หากสามารถประมูลแหล่งบงกชกลับมาดำเนินธุรกิจได้เช่นเดิม เนื่องจาก คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช) จะเปิดประมูลแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่ครบสัญญาเดิม 2 แห่ง 1 ใน 2 คือแหล่งบงกช (ครบสัญญาสัมปทาน 2565-66) ซึ่งมีกำลังผลิตขั้นต่ำวันละ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี โดย PTTEP ถือหุ้นใหญ่ 66.67% อีก 33.33% ถือโดย TOTAL
ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงแกว่งตัวขึ้น นอกจากได้แรงหนุนจากความต้องการใช้น้ำมันดิบในตลาดโลกที่สูงขึ้น ตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวโดยเฉพาะสหรัฐและจีน แล้ว ยังมีปัญหาด้าน supply โดยอิหร่านมีโอกาสถูกสหรัฐคว่ำบาตรทางการค้าอีกครั้ง (อิหร่านผลิตน้ำมันราว 4 ล้านบาร์เรลต่อวัน หรือราว 12.5% ของกลุ่ม OPEC) และปัญหาวิกฤตการณ์ในเวเนซุเอลา จากปัญหาหนี้สาธารณะ และการฉ้อโกงในรัฐบาล ทำให้รัฐขาดแคลนเงินในพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ส่งผลให้ไม่สามารถผลิตน้ำมันดิบออกมาได้ ทำให้ Supply ลดลงระยะสั้น
นอกจากนี้ตลาดยังประเมินว่าการรายงานสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐในวันพรุ่งนี้ มีโอกาสจะลดลงจากสัปดาห์ก่อนหน้าที่เพิ่ม 5.02 ล้านบาร์เรล แม้ยังเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่ 4 (อยู่ในช่วงฤดูกาลการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น) อยู่ที่ 2.5 ล้านบาร์เรล
โดยรวมน่าจะหนุนให้ราคาน้ำมันล่าสุด อยู่ที่ 64.66 เหรียญฯต่อบาร์เรล ซึ่งใกล้เคียงกับสมมติฐานของ ASPS ยังชอบ PTTEP(FV@B137) มีการเติบโต และ upside สูงสุด ขณะที่ยังมีโอกาสที่จะปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นอีก 25 บาท หากสามารถประมูลแหล่งบงกชกลับมาดำเนินธุรกิจได้เช่นเดิม เนื่องจาก คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช) จะเปิดประมูลแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่ครบสัญญาเดิม 2 แห่ง 1 ใน 2 คือแหล่งบงกช (ครบสัญญาสัมปทาน 2565-66) ซึ่งมีกำลังผลิตขั้นต่ำวันละ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี โดย PTTEP ถือหุ้นใหญ่ 66.67% อีก 33.33% ถือโดย TOTAL
ต่างขายหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค โดยเฉพาะกลุ่ม TIP
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 298 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 44 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไต้หวัน 8 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ยิ่งไปกว่านั้นแรงขายส่วนใหญ่มาจากตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP กว่า 156 ล้านเหรียญ คือ ฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิ 74 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 68 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยที่ถูกต่างชาติขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคกว่า 104 ล้านเหรียญ หรือ 3.25 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 153 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 2.27 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2.95 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6)
ดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัว 1790-1,805 จุด สะสมหุ้น PTTEP/GFPT/CPF
คาดดัชนีหุ้นไทยวันนี้สามารถขยับขึ้นตามการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลก (ตามที่กล่าวมาข้างต้น) อย่างไรก็ตามการปรับตัวขึ้นแรงของดัชนียังคงเป็นไปได้ยาก จากประเด็นกดดันหลายประการ เช่น ความกังวลว่าสภาพคล่องโลกจะลดลง หลังตลาดเริ่มมีการคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ หรือมากกว่าคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 3 ครั้ง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะขยายตัวเร็วขึ้นจากแผนลดภาษีสหรัฐ อย่างไรก็ดียังคงต้องจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ หลังการประชุม FOMC (20-21 มี.ค.) ว่าจะส่งสัญญาณใดเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ นอกจากนี้ ECB ก็เริ่มพูดถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ในอนาคต จากที่ก่อนหน้านี้เน้นพูดถึงเพียงการลดขนาด QE
ขณะเดียวกัน ประเด็นปัญหาความตึงเครียดทางด้านสงครามการค้า ยังคอยกดดัน ล่าสุดสมาคมการค้า 45 แห่งในสหรัฐ ได้ยื่นหมายถึงทำเนียบขาวเพื่อเรียกร้องให้ทรัมป์ระงับแผนการที่จะตั้งกำแพงภาษีจากสินค้าจีน อีกทั้งยังคงดูท่าทีว่าจีนจะมีการออกมาตรการใดมาตอบโต้หรือไม่
ส่วนในประเทศ เศรษฐกิจยังสามารถขยายตัวได้ดีจากมาตรการกระตุ้นต่างๆ แต่ประเด็นการเมืองโดยเฉพาะการกำหนดวันเลือกตั้งที่ยังคลุมเครือ จึงยังไม่เห็นสัญญาณการกลับเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติที่ชัดเจน อีกทั้งหากพิจารณา Expected P/E ปี 2561 ของตลาดหุ้นไทยจะอยู่ที่ราว 16.10 เท่า แม้จะใกล้เคียงกับตลาดหุ้นภูมิภาค แต่ PEG Ratio ปี 2561 ที่เกิน 1 เท่า สะท้อนว่าตลาดหุ้นไทยค่อนข้างแพง (Expected P/E ปี 2561 เทียบตลาดหุ้นภูมิภาค เช่น มาเลเชีย 16.40 เท่า อินโดนีเซีย 16.03 เท่า แต่ต่ำกว่าฟิลิปปินส์และเวียดนามที่ 18.26 และ 20.14 เท่า ตามลำดับ ยกเว้นตลาดหุ้นจีนที่ยังมี Expected P/E ต่ำเพียง 12.85 เท่า และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วบางแห่งอย่าง Dow Jones ที่ 16.89 เท่า และ S&P500 ที่ 17.61 เท่า ยกเว้น ตลาดหุ้นยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษและเยอรมัน ที่มี P/E ต่ำกว่าที่ประมาณ 13-14 เท่า)
กลยุทธ์การลงทุน ยังคงให้น้ำหนักการลงทุน 40% โดยให้ขายทำกำไรหุ้นที่หุ้นเกิน Fair Value หรือมี upside เหลือน้อย เช่น AOT, TOP, EA, SCCC, GPSC, HMPRO, PTT (FV@ 540 บาท) และ TRUE (FV@ 6.40 บาท) ซึ่งเชื่อว่าน่าจะตอบรับปัจจัยบวกจากการที่ กสทช. ผ่อนผันเรื่องการจ่ายชำระค่าใบอนุญาตไปพอสมควรแล้ว อย่างไรก็ตามเชื่อว่า TRUE ยังประสบปัญหากระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow Operation) และเข้าลงทุนในปลอดภัย ดังนี้
หุ้นเติบโตโดดเด่น โดยฝ่ายวิจัยคัดกรองหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5) และมี Upside เกินกว่า 10% ได้แก่ AH, TVO, BPP, PLANB, SC, SEAFCO, WHA และ PTTEP มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการฯ และ Fair Value ขึ้นอีก 25 บาท หากว่าสามารถประมูลแหล่งบงกชกลับมาได้
หุ้น Defensive ผันผวนต่ำ คัดกรองโดยเลือกหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ฝ่ายวิจัยแนะนำ SC, SNC, TVO
หุ้น Laggard คือ กลุ่มโรงพยาบาล : BCH ([email protected]) มีการปรับประมาณการกำไรและ Fair Value ขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ราคาปัจจุบันมี upside 13.5% รวมทั้ง RJH ([email protected]) ผลประกอบการเด่น และมี Upside คงเหลือมากที่สุดในกลุ่มฯ ราว 45%
และกลุ่มส่งออก : ราคาหมูฟื้นตัวจากการลดการผลิต หลังจากที่ราคาไก่ฟื้นตัวจากการนำเข้าของจีน ดีต่อ GFPT, TFG และ CPF
ASP Score เป็นการจัดลำดับหุ้นที่ฝ่ายวิจัยฯแนะนำ “ซื้อ” ตั้งแต่ 0-10 คะแนน และแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆด้วยกันดังนี้
0 - 4 คะแนน ถือเป็นหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี
4 – 6 คะแนน ถือเป็นหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนดี
6 – 8 คะแนน ถือเป็นหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนดีมาก
8 – 10 คะแนน ถือเป็นหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนยอดเยื่ยม
การคำนวณ ASP Score ใช้ข้อมูลพื้นฐาน 5 มิติ ซึ่งใช้ข้อมูลพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนที่นักวิเคราะห์ ASPS คาดการณ์เป็นหลัก คือ ความแข็งแกร่งทางการเงิน/เงินกองทุน, อัตราการเติบโตของกำไร, ผลตอบแนจากเงินปันผล, upside พื้นฐาน และสภาพคล่องของหุ้น เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6786
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 298 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 44 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) และไต้หวัน 8 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ยิ่งไปกว่านั้นแรงขายส่วนใหญ่มาจากตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP กว่า 156 ล้านเหรียญ คือ ฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิ 74 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 68 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยที่ถูกต่างชาติขายสุทธิสูงสุดในภูมิภาคกว่า 104 ล้านเหรียญ หรือ 3.25 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) เช่นเดียวกับสถาบันฯที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 153 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 2.27 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 2.95 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6)
ดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัว 1790-1,805 จุด สะสมหุ้น PTTEP/GFPT/CPF
คาดดัชนีหุ้นไทยวันนี้สามารถขยับขึ้นตามการพุ่งขึ้นของราคาน้ำมันดิบโลก (ตามที่กล่าวมาข้างต้น) อย่างไรก็ตามการปรับตัวขึ้นแรงของดัชนียังคงเป็นไปได้ยาก จากประเด็นกดดันหลายประการ เช่น ความกังวลว่าสภาพคล่องโลกจะลดลง หลังตลาดเริ่มมีการคาดว่าเฟดจะปรับขึ้นดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ หรือมากกว่าคาดการณ์ก่อนหน้าที่ 3 ครั้ง เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่คาดว่าจะขยายตัวเร็วขึ้นจากแผนลดภาษีสหรัฐ อย่างไรก็ดียังคงต้องจับตาถ้อยแถลงของนายเจอโรม พาวเวลล์ หลังการประชุม FOMC (20-21 มี.ค.) ว่าจะส่งสัญญาณใดเกี่ยวกับการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ นอกจากนี้ ECB ก็เริ่มพูดถึงการขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ในอนาคต จากที่ก่อนหน้านี้เน้นพูดถึงเพียงการลดขนาด QE
ขณะเดียวกัน ประเด็นปัญหาความตึงเครียดทางด้านสงครามการค้า ยังคอยกดดัน ล่าสุดสมาคมการค้า 45 แห่งในสหรัฐ ได้ยื่นหมายถึงทำเนียบขาวเพื่อเรียกร้องให้ทรัมป์ระงับแผนการที่จะตั้งกำแพงภาษีจากสินค้าจีน อีกทั้งยังคงดูท่าทีว่าจีนจะมีการออกมาตรการใดมาตอบโต้หรือไม่
ส่วนในประเทศ เศรษฐกิจยังสามารถขยายตัวได้ดีจากมาตรการกระตุ้นต่างๆ แต่ประเด็นการเมืองโดยเฉพาะการกำหนดวันเลือกตั้งที่ยังคลุมเครือ จึงยังไม่เห็นสัญญาณการกลับเข้ามาของนักลงทุนต่างชาติที่ชัดเจน อีกทั้งหากพิจารณา Expected P/E ปี 2561 ของตลาดหุ้นไทยจะอยู่ที่ราว 16.10 เท่า แม้จะใกล้เคียงกับตลาดหุ้นภูมิภาค แต่ PEG Ratio ปี 2561 ที่เกิน 1 เท่า สะท้อนว่าตลาดหุ้นไทยค่อนข้างแพง (Expected P/E ปี 2561 เทียบตลาดหุ้นภูมิภาค เช่น มาเลเชีย 16.40 เท่า อินโดนีเซีย 16.03 เท่า แต่ต่ำกว่าฟิลิปปินส์และเวียดนามที่ 18.26 และ 20.14 เท่า ตามลำดับ ยกเว้นตลาดหุ้นจีนที่ยังมี Expected P/E ต่ำเพียง 12.85 เท่า และต่ำกว่าเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วบางแห่งอย่าง Dow Jones ที่ 16.89 เท่า และ S&P500 ที่ 17.61 เท่า ยกเว้น ตลาดหุ้นยุโรป เช่น ฝรั่งเศส อังกฤษและเยอรมัน ที่มี P/E ต่ำกว่าที่ประมาณ 13-14 เท่า)
กลยุทธ์การลงทุน ยังคงให้น้ำหนักการลงทุน 40% โดยให้ขายทำกำไรหุ้นที่หุ้นเกิน Fair Value หรือมี upside เหลือน้อย เช่น AOT, TOP, EA, SCCC, GPSC, HMPRO, PTT (FV@ 540 บาท) และ TRUE (FV@ 6.40 บาท) ซึ่งเชื่อว่าน่าจะตอบรับปัจจัยบวกจากการที่ กสทช. ผ่อนผันเรื่องการจ่ายชำระค่าใบอนุญาตไปพอสมควรแล้ว อย่างไรก็ตามเชื่อว่า TRUE ยังประสบปัญหากระแสเงินสดจากการดำเนินงาน (Cash Flow Operation) และเข้าลงทุนในปลอดภัย ดังนี้
หุ้นเติบโตโดดเด่น โดยฝ่ายวิจัยคัดกรองหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5) และมี Upside เกินกว่า 10% ได้แก่ AH, TVO, BPP, PLANB, SC, SEAFCO, WHA และ PTTEP มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการฯ และ Fair Value ขึ้นอีก 25 บาท หากว่าสามารถประมูลแหล่งบงกชกลับมาได้
หุ้น Defensive ผันผวนต่ำ คัดกรองโดยเลือกหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ฝ่ายวิจัยแนะนำ SC, SNC, TVO
หุ้น Laggard คือ กลุ่มโรงพยาบาล : BCH ([email protected]) มีการปรับประมาณการกำไรและ Fair Value ขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ราคาปัจจุบันมี upside 13.5% รวมทั้ง RJH ([email protected]) ผลประกอบการเด่น และมี Upside คงเหลือมากที่สุดในกลุ่มฯ ราว 45%
และกลุ่มส่งออก : ราคาหมูฟื้นตัวจากการลดการผลิต หลังจากที่ราคาไก่ฟื้นตัวจากการนำเข้าของจีน ดีต่อ GFPT, TFG และ CPF
ASP Score เป็นการจัดลำดับหุ้นที่ฝ่ายวิจัยฯแนะนำ “ซื้อ” ตั้งแต่ 0-10 คะแนน และแบ่งออกเป็น 4 กลุ่มหลักๆด้วยกันดังนี้
0 - 4 คะแนน ถือเป็นหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนค่อนข้างดี
4 – 6 คะแนน ถือเป็นหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนดี
6 – 8 คะแนน ถือเป็นหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนดีมาก
8 – 10 คะแนน ถือเป็นหุ้นที่มีโอกาสให้ผลตอบแทนยอดเยื่ยม
การคำนวณ ASP Score ใช้ข้อมูลพื้นฐาน 5 มิติ ซึ่งใช้ข้อมูลพื้นฐานของบริษัทจดทะเบียนที่นักวิเคราะห์ ASPS คาดการณ์เป็นหลัก คือ ความแข็งแกร่งทางการเงิน/เงินกองทุน, อัตราการเติบโตของกำไร, ผลตอบแนจากเงินปันผล, upside พื้นฐาน และสภาพคล่องของหุ้น เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6786