- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 19 March 2018 17:54
- Hits: 1390
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยน่าจะแกว่งตัวในทิศทางลดลง ลักษณะเดียวกับเพื่อนบ้าน โดยยังขาดประเด็นหนุนใหม่ในการขับเคลื่อน สัปดาห์นี้น่าจะมุ่งไปที่การประชุม Fed ซึ่งน่าจะขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ ส่วนในประเทศ ใกล้วันจ่ายเงินปันผล (XD) จะยิ่งกดดันดัชนีเพิ่ม ยังแนะนำหุ้น Growth (AH, BPP, PTTEP, SAPPE, TVO) Defensive (โรงพยาบาล BCH, RJH) และไก่ส่งออก (GFPT, TFG, CPF) Top picks ยังชอบ BCH([email protected]) หลังปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นขึ้น 3.76% และ PTTEP(FV@B137) มีโอกาสเพิ่มมูลค่า 25 บาท หากได้แหล่งบงกชกลับมา ขณะที่ปัญหา Oversupply น่าจะลดลงเร็วกว่าคาด
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ... ตลาดฯ ได้แรงหนุนจากกลุ่ม ICT แต่ถูกกดดันจากกลุ่มพลังงาน
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET index ยังคงแกว่งผันผวนตลอดทั้งวัน ก่อนจะปิดตลาดที่ 1,811.76 จุด ลดลง 4.32 จุด หรือ 0.24% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 7.6 หมื่นล้านบาท แม้กลุ่ม ICT และกลุ่มบันเทิงจะได้แรงหนุนจากการที่ กสทช. ผ่อนผันเรื่องการจ่ายชำระค่าใบอนุญาต แต่ก็ไม่อาจส่งให้ตลาดฯ ขยับขึ้นแรงได้ เพราะกลุ่มพลังงานยังกดตลาดอยู่ นำโดย PTT ลดลง 1.79% หุ้นโรงไฟฟ้า EA ลดลง 4.69% ขณะที่ PTTEP สวนทางปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.86% ตามด้วยกลุ่มโรงพยาบาล คือ BDMS และ BH ลดลง 0.44%, 1.42% ตามลำดับ ส่วนหุ้นอื่นๆ เช่น BJC ปรับตัวลงแรงถึง 3.70% ได้รับผลกระทบจากคู่แข่ง Tesco Lotus จากการทำแคมเปญลดราคาสินค้า, MINT ลดลง 2.56%, SCB ลดลง 1.33% และ SCC ลดลง 0.79%
ตรงข้ามกับกลุ่ม ICT เช่น ADVANC เพิ่มขึ้น 2.42% INTUCH เพิ่มขึ้น 1.29% ตามด้วยกลุ่มปิโตรฯ โดยเฉพาะ PTTGC ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.29% และกลุ่มอาหาร คือ MALEE พุ่งขึ้นแรง ปิดที่ 25.50 บาท เพิ่มขึ้น 8.97% ส่วนหุ้นไก่ส่งออก CPF ปรับเพิ่มในช่วงท้ายตลาดทำให้ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 5.0% ขณะที่ค้าปลีกที่ปรับตัวแรงคือ BEAUTY เพิ่มขึ้น 5.0%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนียังคงแกว่งผันผวนในกรอบ 1805 – 1820 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยน่าจะแกว่งตัวในทิศทางลดลง ลักษณะเดียวกับเพื่อนบ้าน โดยยังขาดประเด็นหนุนใหม่ในการขับเคลื่อน สัปดาห์นี้น่าจะมุ่งไปที่การประชุม Fed ซึ่งน่าจะขึ้นดอกเบี้ย 3 ครั้งในปีนี้ ส่วนในประเทศ ใกล้วันจ่ายเงินปันผล (XD) จะยิ่งกดดันดัชนีเพิ่ม ยังแนะนำหุ้น Growth (AH, BPP, PTTEP, SAPPE, TVO) Defensive (โรงพยาบาล BCH, RJH) และไก่ส่งออก (GFPT, TFG, CPF) Top picks ยังชอบ BCH([email protected]) หลังปรับเพิ่มมูลค่าหุ้นขึ้น 3.76% และ PTTEP(FV@B137) มีโอกาสเพิ่มมูลค่า 25 บาท หากได้แหล่งบงกชกลับมา ขณะที่ปัญหา Oversupply น่าจะลดลงเร็วกว่าคาด
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ... ตลาดฯ ได้แรงหนุนจากกลุ่ม ICT แต่ถูกกดดันจากกลุ่มพลังงาน
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET index ยังคงแกว่งผันผวนตลอดทั้งวัน ก่อนจะปิดตลาดที่ 1,811.76 จุด ลดลง 4.32 จุด หรือ 0.24% ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 7.6 หมื่นล้านบาท แม้กลุ่ม ICT และกลุ่มบันเทิงจะได้แรงหนุนจากการที่ กสทช. ผ่อนผันเรื่องการจ่ายชำระค่าใบอนุญาต แต่ก็ไม่อาจส่งให้ตลาดฯ ขยับขึ้นแรงได้ เพราะกลุ่มพลังงานยังกดตลาดอยู่ นำโดย PTT ลดลง 1.79% หุ้นโรงไฟฟ้า EA ลดลง 4.69% ขณะที่ PTTEP สวนทางปรับตัวเพิ่มขึ้น 0.86% ตามด้วยกลุ่มโรงพยาบาล คือ BDMS และ BH ลดลง 0.44%, 1.42% ตามลำดับ ส่วนหุ้นอื่นๆ เช่น BJC ปรับตัวลงแรงถึง 3.70% ได้รับผลกระทบจากคู่แข่ง Tesco Lotus จากการทำแคมเปญลดราคาสินค้า, MINT ลดลง 2.56%, SCB ลดลง 1.33% และ SCC ลดลง 0.79%
ตรงข้ามกับกลุ่ม ICT เช่น ADVANC เพิ่มขึ้น 2.42% INTUCH เพิ่มขึ้น 1.29% ตามด้วยกลุ่มปิโตรฯ โดยเฉพาะ PTTGC ปรับตัวเพิ่มขึ้น 2.29% และกลุ่มอาหาร คือ MALEE พุ่งขึ้นแรง ปิดที่ 25.50 บาท เพิ่มขึ้น 8.97% ส่วนหุ้นไก่ส่งออก CPF ปรับเพิ่มในช่วงท้ายตลาดทำให้ปิดตลาดเพิ่มขึ้น 5.0% ขณะที่ค้าปลีกที่ปรับตัวแรงคือ BEAUTY เพิ่มขึ้น 5.0%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนียังคงแกว่งผันผวนในกรอบ 1805 – 1820 จุด
ต่างประเทศให้น้ำหนักไปที่สหรัฐ ..ขึ้นดอกเบี้ยและ ร่างงบประมาณ
ต่างประเทศสัปดาห์นี้ ให้น้ำหนักการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่จะเกิดขึ้น 20-21 มี.ค. (ทราบผลราวกลางดึก 22 มี.ค. ตามเวลาไทย) โดยตลาดคาด Fed น่าจะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก ในการประชุมงวดนี้ ราว 0.25% และอีก 2 ครั้งๆ 0.25% (สิ้นปี อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ราว 2.25%) ในการประชุมที่เหลือ แต่คาดตลาดได้รับรู้ไปแล้ว แต่หาก Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาดไว้ อาจจะกลายเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นได้
และการกลับมาพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณแผ่นดินของสหรัฐ ซึ่งฉบับชั่วคราวจะครบกำหนดในวันที่ 23 มี.ค. นี้ ความเสี่ยงอยู่ที่ สภาคองเกรสจะไม่สามารถอนุมัติงบประมาณแผ่นดินฉบับใหม่ได้ทันกำหนดหรือไม่ ซึ่งจะผลให้รัฐบาลสหรัฐเผชิญภาวะหยุดทำการ (Government Shutdown) อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้ หลังจากที่ Shutdown ไปแล้ว 2 ครั้งในปีนี้ คือ เดือน ม.ค. และ ก.พ. 2560 เพราะสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงนโยบายช่วยเหลือผู้อพยพ (DACA) และการผ่านร่างงบประมาณ ที่มียอดขาดดุลราว 8 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งสมาชิกสภาบางรายเห็นว่าสูงเกินไป
(สหรัฐได้ดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณมาต่อเนื่องประมาณ 16 ปี (2545- 2560)
ต่างประเทศสัปดาห์นี้ ให้น้ำหนักการประชุมธนาคารกลางสหรัฐ (Fed) ที่จะเกิดขึ้น 20-21 มี.ค. (ทราบผลราวกลางดึก 22 มี.ค. ตามเวลาไทย) โดยตลาดคาด Fed น่าจะเริ่มขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายครั้งแรก ในการประชุมงวดนี้ ราว 0.25% และอีก 2 ครั้งๆ 0.25% (สิ้นปี อัตราดอกเบี้ยจะอยู่ที่ราว 2.25%) ในการประชุมที่เหลือ แต่คาดตลาดได้รับรู้ไปแล้ว แต่หาก Fed ขึ้นอัตราดอกเบี้ยมากกว่าที่ตลาดคาดไว้ อาจจะกลายเป็นปัจจัยที่กดดันตลาดหุ้นได้
และการกลับมาพิจารณา ร่าง พ.ร.บ. งบประมาณแผ่นดินของสหรัฐ ซึ่งฉบับชั่วคราวจะครบกำหนดในวันที่ 23 มี.ค. นี้ ความเสี่ยงอยู่ที่ สภาคองเกรสจะไม่สามารถอนุมัติงบประมาณแผ่นดินฉบับใหม่ได้ทันกำหนดหรือไม่ ซึ่งจะผลให้รัฐบาลสหรัฐเผชิญภาวะหยุดทำการ (Government Shutdown) อีกครั้ง ซึ่งจะเป็นครั้งที่ 3 ของปีนี้ หลังจากที่ Shutdown ไปแล้ว 2 ครั้งในปีนี้ คือ เดือน ม.ค. และ ก.พ. 2560 เพราะสภาคองเกรสไม่สามารถบรรลุข้อตกลงนโยบายช่วยเหลือผู้อพยพ (DACA) และการผ่านร่างงบประมาณ ที่มียอดขาดดุลราว 8 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งสมาชิกสภาบางรายเห็นว่าสูงเกินไป
(สหรัฐได้ดำเนินนโยบายขาดดุลงบประมาณมาต่อเนื่องประมาณ 16 ปี (2545- 2560)
BOE ยังไม่รับขึ้นดอกเบี้ย แม้เงินเฟ้อยังสูง
ทางฝั่งอังกฤษ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีกำหนดประชุมวันที่ 22 มี.ค. ซึ่งตลาดคาดว่าการประชุมในรอบนี้น่าจะยังไม่มีการขึ้นดอกเบี้ย ฯ น่าจะไปขึ้นราวเดือน พ.ค. โดยในปีนี้น่าจะขึ้นดอกเบี้ยรวม 2 ครั้งราว 0.5% เพระเงินเฟ้อยังคงสูง ล่าสุดเดือน ม.ค. อยู่ที่ระดับ 3.0% yoy ซึ่งสูงกว่าดอกเบี้ยฯ 0.5% จากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่า (ราว 6.33% นับตั้งแต่ Brexit) ที่ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าปรับสูงขึ้น และตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งสะท้อนจากอัตราการว่างงานล่าสุดอยู่ที่ 4.4% (ระดับต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์) อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจบางตัวยังให้ภาพขัดแย้ง เช่นตลาดบ้านที่ส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้จาก ยอดขายบ้านปรับลดลงติดต่อกัน กลางปี 2560 ส่งผลให้ ราคาบ้านในอังกฤษโดยเฉลี่ยปรับตัวลงราว 15% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากความไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากค่าเงินที่ตกต่ำและความล่าช้าจากการเจรจา Brexit ซึ่งนับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ BOE
โดยรวมน่าจะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐยังคงแกว่งตัว และ ยืนอยู่เหนือ 90 จุดระยะสั้น ๆ
ทางฝั่งอังกฤษ ธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) มีกำหนดประชุมวันที่ 22 มี.ค. ซึ่งตลาดคาดว่าการประชุมในรอบนี้น่าจะยังไม่มีการขึ้นดอกเบี้ย ฯ น่าจะไปขึ้นราวเดือน พ.ค. โดยในปีนี้น่าจะขึ้นดอกเบี้ยรวม 2 ครั้งราว 0.5% เพระเงินเฟ้อยังคงสูง ล่าสุดเดือน ม.ค. อยู่ที่ระดับ 3.0% yoy ซึ่งสูงกว่าดอกเบี้ยฯ 0.5% จากค่าเงินปอนด์ที่อ่อนค่า (ราว 6.33% นับตั้งแต่ Brexit) ที่ส่งผลให้ราคาสินค้านำเข้าปรับสูงขึ้น และตลาดแรงงานยังแข็งแกร่งสะท้อนจากอัตราการว่างงานล่าสุดอยู่ที่ 4.4% (ระดับต่ำสุดตั้งแต่วิกฤตซับไพรม์) อย่างไรก็ตาม ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจบางตัวยังให้ภาพขัดแย้ง เช่นตลาดบ้านที่ส่งสัญญาณชะลอตัวต่อเนื่อง สะท้อนได้จาก ยอดขายบ้านปรับลดลงติดต่อกัน กลางปี 2560 ส่งผลให้ ราคาบ้านในอังกฤษโดยเฉลี่ยปรับตัวลงราว 15% จากปีก่อนหน้า เนื่องจากความไม่เชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวม เนื่องจากค่าเงินที่ตกต่ำและความล่าช้าจากการเจรจา Brexit ซึ่งนับเป็นปัจจัยเสี่ยงที่กดดันการขึ้นอัตราดอกเบี้ยของ BOE
โดยรวมน่าจะทำให้ค่าเงินดอลล่าร์สหรัฐยังคงแกว่งตัว และ ยืนอยู่เหนือ 90 จุดระยะสั้น ๆ
มีโอกาสเพิ่มมูลค่าหุ้น PTTEP อีก 25 บาท หากได้แหล่งบงกช
ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงแกว่งตัวขึ้น โดยได้แรงหนุนมาจากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่สูงขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐ (ผู้บริโภคน้ำมันดิบรายสูงสุดราว 25.4%ของตลาดโลก) สะท้อนจาก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ เดือน มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนอยู่ที่ 102 จุด (ระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี) และ จีน ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันดิบอันดับ 3 ราว 12.7% (ขณะที่ยุโรปอันดับ 2 ราว 14.6%) พบว่าดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 7.2%yoy ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี
ขณะที่กังวลทาง supply มีน้ำหนักมากขึ้น โดยเฉพาะทางอิหร่าน มีโอกาสจะถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐ ทำให้ความกังวลจาก Oversupply ที่คาดว่ายังมีอยู่ในช่วง 2H61 น่าจะลดลงกว่า โดยรวม น่าจะหนุนให้ราคาน้ำมันดูไบแกว่งตัวในกรอบ 60-65 เหรียญฯต่อบาร์เรล จึงยังชอบ PTTEP(FV@B137)
ประกอบกับคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช) เตรียมเปิดประมูลแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่ครบสัญญานเดิม 2 แห่ง ที่กำลังจะครบสัญญาสัมปทานเดิมคือ
แหล่งเอราวัณ ให้ผลิตขั้นต่ำวันละ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี จากผู้ผลิตปัจจุบัน 3 รายคือ CHEVRON, MITSUI OIL Exploration และ PTTEP ถือหุ้นสัดส่วน 71.25%, 23.75% และ 5% ตามลำดับ โดยมี CHEVRON โดยมี PTTEP เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจะครบสัญญาสัมปทาน 2566
แหล่งบงกช ให้ผลิตขั้นต่ำวันละ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี จากผู้ผลิตปัจจุบัน 2 รายคือ PTTEP และ TOTAL ถือหุ้นสัดส่วน 66.67% และ 33.33% ตามลำดับ โดยมี PTTEP เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจะครบสัญญาสัมปทาน 2565-66
ทั้งนี้หลักเกณฑ์สำคัญที่ภาครัฐจะใช้พิจารณา คือ ราคาก๊าซและส่วนแบ่งกำไรแก่รัฐ ซึ่งกรณีหลังกำหนดไว้จะต้องไม่ต่ำกว่า 50% จากเดิมเป็นลักษณะการจ่ายภาษีปิโตรเลียมให้กับภาครัฐ ทั้งนี้คาดว่าผู้ชนะการประมูลรอบใหม่ จะต้องเป็นผู้ที่เสนอประโยชน์ให้แก่ภาครัฐมากขึ้น และน่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเดิมที่มีความพร้อมทั้งเครื่องมือ, บุคลากรและประสบการณ์ที่มีมานานในแหล่งดังกล่าว
ทั้งนี้หากกำหนดให้ผู้ดำเนินการเดิมทั้ง 2 กลุ่มชนะการประมูลในแหล่งเดิม โดยยืดระยะเวลาผลิตออกไปอีก 10 ปี ตามปริมาณการผลิตขั้นต่ำ โดยการเสนอผลตอบแทนให้รัฐที่ 50% ของกำไร และ กำหนดราคาขายก๊าซที่ 7 เหรียญฯ ต่อล้านบีทียู คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าหุ้นให้กับ PTTEP ขั้นต่ำราว 25 บาทต่อหุ้น จากสมมติฐานชนะประมูลในแหล่งบงกช สัดส่วน 66.67% นั่นหมายความว่ามูลค่าพื้นฐาน ณ สิ้นปี 2561 (อิง DCF) ของหุ้น PTTEP จะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 162 บาทต่อหุ้น
ราคาน้ำมันดิบโลกยังคงแกว่งตัวขึ้น โดยได้แรงหนุนมาจากความต้องการใช้น้ำมันดิบที่สูงขึ้น โดยเฉพาะสหรัฐ (ผู้บริโภคน้ำมันดิบรายสูงสุดราว 25.4%ของตลาดโลก) สะท้อนจาก ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐ เดือน มี.ค. ปรับเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 2 เดือนอยู่ที่ 102 จุด (ระดับสูงสุดในรอบ 14 ปี) และ จีน ซึ่งเป็นผู้บริโภคน้ำมันดิบอันดับ 3 ราว 12.7% (ขณะที่ยุโรปอันดับ 2 ราว 14.6%) พบว่าดัชนีการผลิตภาคอุตสาหกรรม เดือน ก.พ. ปรับตัวเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 7.2%yoy ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี
ขณะที่กังวลทาง supply มีน้ำหนักมากขึ้น โดยเฉพาะทางอิหร่าน มีโอกาสจะถูกคว่ำบาตรจากสหรัฐ ทำให้ความกังวลจาก Oversupply ที่คาดว่ายังมีอยู่ในช่วง 2H61 น่าจะลดลงกว่า โดยรวม น่าจะหนุนให้ราคาน้ำมันดูไบแกว่งตัวในกรอบ 60-65 เหรียญฯต่อบาร์เรล จึงยังชอบ PTTEP(FV@B137)
ประกอบกับคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช) เตรียมเปิดประมูลแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติที่ครบสัญญานเดิม 2 แห่ง ที่กำลังจะครบสัญญาสัมปทานเดิมคือ
แหล่งเอราวัณ ให้ผลิตขั้นต่ำวันละ 800 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี จากผู้ผลิตปัจจุบัน 3 รายคือ CHEVRON, MITSUI OIL Exploration และ PTTEP ถือหุ้นสัดส่วน 71.25%, 23.75% และ 5% ตามลำดับ โดยมี CHEVRON โดยมี PTTEP เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจะครบสัญญาสัมปทาน 2566
แหล่งบงกช ให้ผลิตขั้นต่ำวันละ 700 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน เป็นเวลา 10 ปี จากผู้ผลิตปัจจุบัน 2 รายคือ PTTEP และ TOTAL ถือหุ้นสัดส่วน 66.67% และ 33.33% ตามลำดับ โดยมี PTTEP เป็นผู้ดำเนินการ ซึ่งจะครบสัญญาสัมปทาน 2565-66
ทั้งนี้หลักเกณฑ์สำคัญที่ภาครัฐจะใช้พิจารณา คือ ราคาก๊าซและส่วนแบ่งกำไรแก่รัฐ ซึ่งกรณีหลังกำหนดไว้จะต้องไม่ต่ำกว่า 50% จากเดิมเป็นลักษณะการจ่ายภาษีปิโตรเลียมให้กับภาครัฐ ทั้งนี้คาดว่าผู้ชนะการประมูลรอบใหม่ จะต้องเป็นผู้ที่เสนอประโยชน์ให้แก่ภาครัฐมากขึ้น และน่าจะเป็นผู้ประกอบการรายเดิมที่มีความพร้อมทั้งเครื่องมือ, บุคลากรและประสบการณ์ที่มีมานานในแหล่งดังกล่าว
ทั้งนี้หากกำหนดให้ผู้ดำเนินการเดิมทั้ง 2 กลุ่มชนะการประมูลในแหล่งเดิม โดยยืดระยะเวลาผลิตออกไปอีก 10 ปี ตามปริมาณการผลิตขั้นต่ำ โดยการเสนอผลตอบแทนให้รัฐที่ 50% ของกำไร และ กำหนดราคาขายก๊าซที่ 7 เหรียญฯ ต่อล้านบีทียู คาดว่าจะเพิ่มมูลค่าหุ้นให้กับ PTTEP ขั้นต่ำราว 25 บาทต่อหุ้น จากสมมติฐานชนะประมูลในแหล่งบงกช สัดส่วน 66.67% นั่นหมายความว่ามูลค่าพื้นฐาน ณ สิ้นปี 2561 (อิง DCF) ของหุ้น PTTEP จะเพิ่มขึ้นไปอยู่ที่ 162 บาทต่อหุ้น
ยังชอบ BJC แม้ปรับลดกำไร&มูลค่าหุ้น..การแข่งขันค้าปลีกที่แรงขึ้น
การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกรุนแรงขึ้น หลังจาก “Tesco Lotus” ประกาศแผนลดราคาสินค้าลง 40% ที่รองรับกับกำลังซื้อที่ลดลง เพราะค่าครองชีพ และ หนี้สินของครัวเรือน ที่สูงขึ้น โดยกำหนดในช่วง 15 มี.ค. – 15 มิ.ย. 2561 โดยเน้นลดราคาสินค้าอาหารสดลงสูงสุดในรอบ 15 ปี
ขณะที่ก่อนหน้านี้ Tesco-Lotus ได้ใช้กลยุทธ์ลดราคามาต่อเนื่องในช่วงต้นปี ซึ่งคาดว่าจะกระทบ Big C ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ BJC และ MAKRO ซึ่งจับกลุ่มตลาดเดียวกัน ด้วยเหตุนี้น่าจะกดดัน ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ปี 2561 ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS ตั้งสมติฐานที่สูงโดยเฉพาะของ BIGC ที่กำหนดไว้ใน 2561 ที่ 5% เพราะเทียบกับฐานปี 2560 ที่ต่ำมาก อย่างไรก็ตามเพื่อยึดหลักความระมัดระวังจึงปรับลดสมมติฐาน SSSG ปี 2561 ลงเหลือ 2.5% โดยคาดว่าในงวด 1Q61 น่าจะทรงตัวจาก งวด 4Q60 และค่อย ๆ ดีขึ้น โดยเห็นการเติบโตบ้างในงวด 2Q61 และ 2H61 จากกลยุทธ์ในการปรับตัวของบริษัท ที่กระจายความเสี่ยงหันไปจับกลุ่มที่มีการแข่งขันน้อยกว่า อาทิ กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการโรงแรม, ภัตตาคาร, และร้านอาหาร รวมถึงการขยายสาขารูปแบบร้านสะดวกซื้อระยะหลัง เชื่อว่าช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันในตลาดค้าปลีกได้ในระดับหนึ่ง และ และ เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องในอัตราเร่งมากขึ้นที่ 4.2% ในปี 2561 (จาก 3.9% ในปี 2560) รวมถึง เทศกาลฟุตบอลโลก เชื่อว่าจะช่วยเสริมสร้างกำลังซื้อและบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น น่าจะช่วยคลายสถานการณ์ค่าครองชีพที่สูงขึ้นดังกล่าว
ทั้งนี้ยังคง SSSG ที่ 2% ในปี 2562 จะทำให้กำไรสุทธิในปี 2561 และ 2562 ลดลงจากประมาณการเดิม 5.2% และ 4.6% และมีผลทำให้กำไรสุทธิหลังปรับลดประมาณในปี 2561 – 62 เติบโตเหลือ 42% และ 17% ได้มูลค่าพื้นฐานที่ 69 บาท ยังมี Upside 18% จึงแนะนำ “ซื้อ”
การแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกรุนแรงขึ้น หลังจาก “Tesco Lotus” ประกาศแผนลดราคาสินค้าลง 40% ที่รองรับกับกำลังซื้อที่ลดลง เพราะค่าครองชีพ และ หนี้สินของครัวเรือน ที่สูงขึ้น โดยกำหนดในช่วง 15 มี.ค. – 15 มิ.ย. 2561 โดยเน้นลดราคาสินค้าอาหารสดลงสูงสุดในรอบ 15 ปี
ขณะที่ก่อนหน้านี้ Tesco-Lotus ได้ใช้กลยุทธ์ลดราคามาต่อเนื่องในช่วงต้นปี ซึ่งคาดว่าจะกระทบ Big C ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของ BJC และ MAKRO ซึ่งจับกลุ่มตลาดเดียวกัน ด้วยเหตุนี้น่าจะกดดัน ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ปี 2561 ซึ่งนักวิเคราะห์ ASPS ตั้งสมติฐานที่สูงโดยเฉพาะของ BIGC ที่กำหนดไว้ใน 2561 ที่ 5% เพราะเทียบกับฐานปี 2560 ที่ต่ำมาก อย่างไรก็ตามเพื่อยึดหลักความระมัดระวังจึงปรับลดสมมติฐาน SSSG ปี 2561 ลงเหลือ 2.5% โดยคาดว่าในงวด 1Q61 น่าจะทรงตัวจาก งวด 4Q60 และค่อย ๆ ดีขึ้น โดยเห็นการเติบโตบ้างในงวด 2Q61 และ 2H61 จากกลยุทธ์ในการปรับตัวของบริษัท ที่กระจายความเสี่ยงหันไปจับกลุ่มที่มีการแข่งขันน้อยกว่า อาทิ กลุ่มลูกค้าผู้ประกอบการโรงแรม, ภัตตาคาร, และร้านอาหาร รวมถึงการขยายสาขารูปแบบร้านสะดวกซื้อระยะหลัง เชื่อว่าช่วยให้สามารถหลีกเลี่ยงการแข่งขันในตลาดค้าปลีกได้ในระดับหนึ่ง และ และ เศรษฐกิจที่มีแนวโน้มทยอยฟื้นตัวต่อเนื่องในอัตราเร่งมากขึ้นที่ 4.2% ในปี 2561 (จาก 3.9% ในปี 2560) รวมถึง เทศกาลฟุตบอลโลก เชื่อว่าจะช่วยเสริมสร้างกำลังซื้อและบรรยากาศการจับจ่ายใช้สอยเพิ่มขึ้น น่าจะช่วยคลายสถานการณ์ค่าครองชีพที่สูงขึ้นดังกล่าว
ทั้งนี้ยังคง SSSG ที่ 2% ในปี 2562 จะทำให้กำไรสุทธิในปี 2561 และ 2562 ลดลงจากประมาณการเดิม 5.2% และ 4.6% และมีผลทำให้กำไรสุทธิหลังปรับลดประมาณในปี 2561 – 62 เติบโตเหลือ 42% และ 17% ได้มูลค่าพื้นฐานที่ 69 บาท ยังมี Upside 18% จึงแนะนำ “ซื้อ”
แม้ภาพรวมต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาค แต่ขายกลุ่ม TIP
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 157 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) แต่เป็นการซื้อสุทธิเฉพาะตลาดหุ้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 255 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไต้หวัน 71 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ตรงข้ามกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียขายสุทธิ 75 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 49 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 19) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 46 ล้านเหรียญ หรือ 1.44 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ต่างกับสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.06 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 9.82 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 1.06 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)
ดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัว และมีโอกาสลงไปต่ำกว่า 1,800 จุด
แนวโน้มดัชนีวันนี้ยังคงแกว่งตัว โดยน่าจะมีแรงหนุนจากหุ้นน้ำมัน (PTTEP, BANPU) หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัวขึ้นมายืนเหนือ 62 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลได้จากแรงหนุนของเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามความผันผวนเรื่องราคาน้ำมันยังมีอยู่ จากความกังวลเกี่ยวกับฝั่ง supply โดยเฉพาะการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐ
ส่วนกลุ่ม ICT ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ sentiment เชิงบวกจากการที่ กสทช. ยืดเวลาการจ่ายเงินประมูลงวดสุดท้าย จำนวน 6 หมื่นล้านบาท ถือเป็นบวกต่อ ADVANC และ TRUE เพราะจะช่วยผ่อนคลายสภาพคล่องทางการเงิน โดยหากไม่มีนโยบายดังกล่าว ทั้ง 2 ราย มีแนวโน้มต้องก่อหนี้มาชำระ เนื่องจากทั้ง 2 ราย มีเงินสดไม่เพียงพอ ADVANC มีเงินสดในมือ 1.0 หมื่นล้านบาท และ TRUE ที่มีเงินสดในมือ 1.2 หมื่นล้านบาท และถือเป็นการแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำลง โดยอัตราดอกเบี้ยที่กสทช. จะเก็บที่ 1.5% ถือว่าต่ำกว่า Cost of Debt ของ ADVANC และ TRUE ปัจจุบันที่อยู่ราว 3.0% และ 4.8% ต่อปี
ตรงข้ามกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ นับจากต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงไป 1.15% โดย ธ.พ. ขนาดกลาง TMB ปรับลดลงไปแรงถึง 6.12% จากประเด็นข่าวลูกหนี้ธนาคารบางรายใช้เอกสารเงินกู้ปลอมวงเงิน 3.4 พันล้านบาท ขณะที่ TMB ชี้แจงว่ายอดเงินกู้มีจำนวนเพียง 800 ล้านบาท และเป็นคดี เก่าตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งได้มีการฟ้องร้องและตั้งสำรองฯ เต็มจำนวนไปแล้ว
ขณะที่ ธ.พ. ขนาดใหญ่ KBANK สัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงถึง 3.88% ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการเปิดสถานะ short ใน Block Trade โดยเฉพาะวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา มีจำนวนสัญญาสูงถึง 2074 สัญญา, 15 มี.ค. 1120 สัญญา และ 16 มี.ค. 1080 สัญญา และมีสถานะคงค้างเพิ่มขึ้น แต่หากพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐาน พบว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยฯ แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้น KBANK ที่ปรับขึ้นมาตั้งแต่เดือน ส.ค. 2560 จนถึงต้นเดือน ม.ค. 2561 กว่า 25% จึงเห็นแรงขายทำกำไรและแกว่งตัว sideway โดยปัจจุบันราคาหุ้นมี upside ราว 12%
กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำขายทำกำไรหุ้นแพง ราคาหุ้นเกิน Fair Value หรือมี upside เหลือน้อย เช่น AOT, TOP, EA, SCCC, GPSC, HMPRO, PTT (FV@ 540 บาท) ที่แม้ว่า Outlook ปี 2561 ยังสดใสจากโอกาสการบันทึกกำไรจากการโอนสินทรัพย์ธุรกิจกิจน้ำมันไปอยู่ภายใต้บริษัทใหม่ PTTOR และการขยายการลงทุน LNG แห่งใหม่ในเมียนมาร์ แต่ราคาหุ้นได้พุ่งขึ้นเร็วและแรงสะท้อนการแตกพาร์จนเกิน Fair Value ไปแล้ว ขณะที่ TRUE (FV@ 6.40 บาท) ซึ่งมองว่าราคาหุ้นในกลุ่ม ICT ตอบรับปัจจัยบวกจากการที่ กสทช. ผ่อนผันเรื่องการจ่ายชำระค่าใบอนุญาตไปพอสมควรแล้ว และด้วยความท้าทายของธุรกิจ ความเป็นไปได้ที่ต้นทุนของ TRUE จะเพิ่มขึ้นเร็วกกว่ารายได้ และกระแสเงินสดหมุนเวียน (Cash Flow) ที่มีอยู่ในมือค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม เป็นต้น จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทุนลงในหุ้นที่กล่าวมา และเข้าลงทุนในปลอดภัย ดังนี้
หุ้นเติบโตโดดเด่น โดยฝ่ายวิจัยคัดกรองหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5) และมี Upside เกินกว่า 10% ได้แก่ AH, TVO, BPP, PLANB, SC, SEAFCO, WHA และ PTTEP มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการฯ และ Fair Value ขึ้นอีก 25 บาท หากว่าสามารถประมูลแหล่งบงกชกลับมาได้
หุ้น Defensive ผันผวนต่ำ คัดกรองโดยเลือกหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ฝ่ายวิจัยแนะนำ SC, INTUCH, SNC, TVO
หุ้น Laggard คือ กลุ่มโรงพยาบาล : BCH ([email protected]) มีการปรับประมาณการกำไรและ Fair Value ขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ราคาปัจจุบันมี upside 15.6% รวมทั้ง RJH ([email protected]) ผลประกอบการเด่น และมี Upside คงเหลือมากที่สุดในกลุ่มฯ ราว 49%
และ กลุ่มรับเหมาฯ : UNIQ (FV@B24) ผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง อัตรากำไรดีสุดในกลุ่มฯ Backlog ในมืออยู่ในระดับสูง ทั้งยังมี upside สูงถึง 80% รวมทั้ง SEAFCO (FV@B12) Backlog อยู่ในระดับสูง ทั้งยังมีโอกาสได้งานโครงการภาครัฐและเอกชนเข้ามาต่อเนื่อง โดยจะเริ่มรับรู้รายได้โครงการใหญ่เต็มที่ตั้งแต่ 2Q61 เป็นต้นไป ราคาปัจจุบันมี upside 33%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6653
วันศุกร์ที่ผ่านมา ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 157 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) แต่เป็นการซื้อสุทธิเฉพาะตลาดหุ้นในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือเท่านั้น คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 255 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และไต้หวัน 71 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) ตรงข้ามกับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ที่ต่างชาติยังคงขายสุทธิ คือ อินโดนีเซียขายสุทธิ 75 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยฟิลิปปินส์ 49 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 19) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 46 ล้านเหรียญ หรือ 1.44 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) ต่างกับสถาบันฯที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.06 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 9.82 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 1.06 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 4)
ดัชนีหุ้นไทยยังแกว่งตัว และมีโอกาสลงไปต่ำกว่า 1,800 จุด
แนวโน้มดัชนีวันนี้ยังคงแกว่งตัว โดยน่าจะมีแรงหนุนจากหุ้นน้ำมัน (PTTEP, BANPU) หลังจากที่ราคาน้ำมันดิบโลกฟื้นตัวขึ้นมายืนเหนือ 62 เหรียญฯ ต่อบาร์เรลได้จากแรงหนุนของเศรษฐกิจสหรัฐและเศรษฐกิจโลก อย่างไรก็ตามความผันผวนเรื่องราคาน้ำมันยังมีอยู่ จากความกังวลเกี่ยวกับฝั่ง supply โดยเฉพาะการผลิตน้ำมันที่เพิ่มขึ้นของสหรัฐ
ส่วนกลุ่ม ICT ช่วงปลายสัปดาห์ที่ผ่านมาได้ sentiment เชิงบวกจากการที่ กสทช. ยืดเวลาการจ่ายเงินประมูลงวดสุดท้าย จำนวน 6 หมื่นล้านบาท ถือเป็นบวกต่อ ADVANC และ TRUE เพราะจะช่วยผ่อนคลายสภาพคล่องทางการเงิน โดยหากไม่มีนโยบายดังกล่าว ทั้ง 2 ราย มีแนวโน้มต้องก่อหนี้มาชำระ เนื่องจากทั้ง 2 ราย มีเงินสดไม่เพียงพอ ADVANC มีเงินสดในมือ 1.0 หมื่นล้านบาท และ TRUE ที่มีเงินสดในมือ 1.2 หมื่นล้านบาท และถือเป็นการแหล่งเงินทุนที่มีต้นทุนต่ำลง โดยอัตราดอกเบี้ยที่กสทช. จะเก็บที่ 1.5% ถือว่าต่ำกว่า Cost of Debt ของ ADVANC และ TRUE ปัจจุบันที่อยู่ราว 3.0% และ 4.8% ต่อปี
ตรงข้ามกับกลุ่มธนาคารพาณิชย์ นับจากต้นสัปดาห์ที่ผ่านมาปรับลดลงไป 1.15% โดย ธ.พ. ขนาดกลาง TMB ปรับลดลงไปแรงถึง 6.12% จากประเด็นข่าวลูกหนี้ธนาคารบางรายใช้เอกสารเงินกู้ปลอมวงเงิน 3.4 พันล้านบาท ขณะที่ TMB ชี้แจงว่ายอดเงินกู้มีจำนวนเพียง 800 ล้านบาท และเป็นคดี เก่าตั้งแต่ปี 2557 ซึ่งได้มีการฟ้องร้องและตั้งสำรองฯ เต็มจำนวนไปแล้ว
ขณะที่ ธ.พ. ขนาดใหญ่ KBANK สัปดาห์ที่ผ่านมาลดลงถึง 3.88% ส่วนหนึ่งน่าจะมาจากการเปิดสถานะ short ใน Block Trade โดยเฉพาะวันที่ 13 มี.ค. ที่ผ่านมา มีจำนวนสัญญาสูงถึง 2074 สัญญา, 15 มี.ค. 1120 สัญญา และ 16 มี.ค. 1080 สัญญา และมีสถานะคงค้างเพิ่มขึ้น แต่หากพิจารณาถึงปัจจัยพื้นฐาน พบว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยฯ แต่อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้น KBANK ที่ปรับขึ้นมาตั้งแต่เดือน ส.ค. 2560 จนถึงต้นเดือน ม.ค. 2561 กว่า 25% จึงเห็นแรงขายทำกำไรและแกว่งตัว sideway โดยปัจจุบันราคาหุ้นมี upside ราว 12%
กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำขายทำกำไรหุ้นแพง ราคาหุ้นเกิน Fair Value หรือมี upside เหลือน้อย เช่น AOT, TOP, EA, SCCC, GPSC, HMPRO, PTT (FV@ 540 บาท) ที่แม้ว่า Outlook ปี 2561 ยังสดใสจากโอกาสการบันทึกกำไรจากการโอนสินทรัพย์ธุรกิจกิจน้ำมันไปอยู่ภายใต้บริษัทใหม่ PTTOR และการขยายการลงทุน LNG แห่งใหม่ในเมียนมาร์ แต่ราคาหุ้นได้พุ่งขึ้นเร็วและแรงสะท้อนการแตกพาร์จนเกิน Fair Value ไปแล้ว ขณะที่ TRUE (FV@ 6.40 บาท) ซึ่งมองว่าราคาหุ้นในกลุ่ม ICT ตอบรับปัจจัยบวกจากการที่ กสทช. ผ่อนผันเรื่องการจ่ายชำระค่าใบอนุญาตไปพอสมควรแล้ว และด้วยความท้าทายของธุรกิจ ความเป็นไปได้ที่ต้นทุนของ TRUE จะเพิ่มขึ้นเร็วกกว่ารายได้ และกระแสเงินสดหมุนเวียน (Cash Flow) ที่มีอยู่ในมือค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรม เป็นต้น จึงแนะนำให้หลีกเลี่ยงการทุนลงในหุ้นที่กล่าวมา และเข้าลงทุนในปลอดภัย ดังนี้
หุ้นเติบโตโดดเด่น โดยฝ่ายวิจัยคัดกรองหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5) และมี Upside เกินกว่า 10% ได้แก่ AH, TVO, BPP, PLANB, SC, SEAFCO, WHA และ PTTEP มีโอกาสปรับเพิ่มประมาณการฯ และ Fair Value ขึ้นอีก 25 บาท หากว่าสามารถประมูลแหล่งบงกชกลับมาได้
หุ้น Defensive ผันผวนต่ำ คัดกรองโดยเลือกหุ้นที่มี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5), มี Upside เกินกว่า 10%, Expected P/E ปี 2561 ต่ำกว่า 15 เท่า, Div. Yield สูงกว่า 3% และมี Beta น้อยกว่า 1 ฝ่ายวิจัยแนะนำ SC, INTUCH, SNC, TVO
หุ้น Laggard คือ กลุ่มโรงพยาบาล : BCH ([email protected]) มีการปรับประมาณการกำไรและ Fair Value ขึ้นจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ราคาปัจจุบันมี upside 15.6% รวมทั้ง RJH ([email protected]) ผลประกอบการเด่น และมี Upside คงเหลือมากที่สุดในกลุ่มฯ ราว 49%
และ กลุ่มรับเหมาฯ : UNIQ (FV@B24) ผลการดำเนินงานแข็งแกร่ง อัตรากำไรดีสุดในกลุ่มฯ Backlog ในมืออยู่ในระดับสูง ทั้งยังมี upside สูงถึง 80% รวมทั้ง SEAFCO (FV@B12) Backlog อยู่ในระดับสูง ทั้งยังมีโอกาสได้งานโครงการภาครัฐและเอกชนเข้ามาต่อเนื่อง โดยจะเริ่มรับรู้รายได้โครงการใหญ่เต็มที่ตั้งแต่ 2Q61 เป็นต้นไป ราคาปัจจุบันมี upside 33%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6653