- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 04 September 2014 15:59
- Hits: 1795
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ความคาดหวังทางการเมืองเป็นปัจจัยหนุน SET Index จนทำให้มี Current P/E ที่สูง 16.4 เท่า จึงแป็นความเสี่ยงจะถูกขายทุกเมื่อ กลยุทธ์ยังเน้นหุ้นขนาด กลาง-เล็ก ที่มีปัจจัยหนุน และ Upside สูง STPI ([email protected]), GFPT (FV@B22), RML ([email protected]) และเลือก DEMCO (FV@B18) เป็น Top pick เพราะเป็นทั้งผู้ก่อสร้างโรงไฟฟ้าและระบบสายส่ง ขณะที่ราคาหุ้นมี P/E ต่ำสุดในกลุ่ม
ตลาดหุ้นยังไม่มีอะไรใหม่
เชื่อว่าปัจจัยภายนอกประเทศยังไม่มีอะไรใหม่ ๆ มาหนุนตลาด โดยคาดว่าการประชุมธนาคารกลางยุโรปในวันนี้ไม่น่าจะมีมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มเติม ขณะที่ปัจจัยในประเทศ เริ่มมีความชัดเจนมากขึ้น ตามกรอบที่ คสช. ให้ไว้ โดยหลังการแต่งตั้ง นายก ฯ และ ครม. คาดว่าหลังจากนี้น่าจะมีการประกาศนโยบายเศรษฐกิจใหม่เพิ่มเติม นอกเหนือจากที่เคยนำเสนอไปแล้ว ซึ่งยังอาจจะเป็นปัจจัยหนุนหุ้นรายกลุ่มได้ อย่างไรก็ตามทางด้านเศรษฐกิจปีนี้อาจจะดูย่ำแย่กว่าหลายปีที่ผ่านมา จากปัญหาการเมืองที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะทำให้เห็นนักเศรษฐศาตร์ยังคงออกมาปรับลดประมาณการ GDP Growth ในปีนี้ลงอีก แต่อย่างไรก็ตาม คาดว่าน่าจะมีแนวโน้มที่ขึ้นในช่วงที่เหลือของปีนี้ และต่อเนื่องถึงปีหน้า ภายใต้สมมติฐานการเมืองที่นิ่ง จนกว่าจะกลับไปสู่ระบอบประชาธิปไตยเต็มใบ เมื่อเปิดทางให้กลับไปสู่การเลือกตั้งอีกครั้งในปลายปลายปี 2558
ล่าสุด ASP ปรับลดประมาณการ GDP Growth ปี 2557 เหลือ 1.5%yoy จากเดิม 2%yoy เนื่องมาจากเศรษฐกิจไทยช่วง 1H57 หดตัว 0.1% ต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะการค้าระหว่างประเทศที่หดตัวอย่างรุนเรง จึงได้ปรับลดการส่งออก/นำเข้าสินค้าและบริการ แต่ทั้งนี้ได้ปรับเพิ่มการบริโภคภาคเอกชน และการลงทุนภาครัฐ เนื่องจากมีสัญญานที่ดีขึ้นตามลำดับ โดยยังคาดว่าในช่วง 2H57 จะมีการฟื้นตัวแบบ V-Shape งวด 3Q57 จะเติบโต 2.7% และ 3.3% ในงวด 4Q57 นำโดยการบริโภคภาครัวเรือน และ การใช้จ่ายภาครัฐ ขณะที่ในปี 2558 คาดว่า GDP Growth จะเติบโต 3.5% โดยการทำงานของเครื่องจักรทุกตัว โดยเฉพาะ การบริโภคครัวเรือน และ การลงทุนโดยรวม ส่วนการนำเข้า–ส่งออก จะค่อยเป็นค่อยไป ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก ติดตามอ่านรายละเอียด Economic Update ได้จากวานนี้
ขณะที่สหภาพยุโรป วันนี้จะมีการประชุมธนาคารกลางยุโรป หรือ ECB แต่น่าจะทราบผลพรุ่งนี้ตามเวลาไทย โดยผลจากการสำรวจนักเศรษฐศาสตร์ ของบลูมเบิร์ก พบว่าส่วนใหญ่ราว 90% คาดยังไม่เห็นนโยบายกระตุ้นแศรษฐกิจเพิ่มเติมในครั้งนี้ เนื่องจาก ECB ต้องการดูผลจากการกระตุ้นเศรษฐกิจครั้งก่อนเมื่อเดือน มิ.ย. ที่ผ่านมา หลังการลดดอกเบี้ยนโยบายลงเหลือ 0.15% และใช้ดอกเบี้ยเงินฝากติดลบ 0.1% รวมถึง ขยายวงเงินสินเชื่อขนาดใหญ่ ด้วยดอกเบี้ยต่ำระยะยาว (TLTRO) อย่างไรก็ตามมีเพียงส่วนน้อย ได้แก่ นักเศรษฐศาสตร์จากโนมูระ คาดว่า ในการประชุมครั้งนี้ ECB จะลดดอกเบี้ยนโยบายลงอีก 0.1% ทำให้ดอกเบี้ยนโยบายเหลือ 0.05% และดอกเบี้ยเงินฝาก ติดลบ 0.2% และจะเข้าซื้อพันธบัตรที่ใช้สินทรัพย์ค้ำประกัน (Asset-baked securities: ABS) ในสิ้นปีนี้
อย่างไรก็ตาม ภายหลังจากการประชุมในครั้งนี้ ECB จะมีการเปิดเผยคาดการณ์ GDP Growth รอบใหม่ ซึ่งมีโอกาสจะปรับลดลงจากครั้งก่อนหน้า หากพิจารณา GDP Growth ช่วง 1H57 เฉลี่ย 0.8% ขณะที่ IMF คาดการณ์ทั้งปี 2557 ไว้ที่ 1.2% นั่นหมายความว่าในงวด 2H57 จะต้องเติบโตเฉลี่ย 1.6% ซึ่งมีแนวโน้มเกิดขึ้นได้ยากมาก เนื่องจากการชะลอตัวของ 3 เศรษฐกิจ ยักษ์ใหญ่ ในกลุ่ม ฯ คือ เยอรมัน ฝรั่งเศส และอิตาลี โดยปัญหาที่ยุโรปกำลังเผชิญ คือปัญหาเงินเฟ้อต่ำ 0.3% และอัตราการว่างงานที่อยู่ในระดับสูง 11.6% ใกล้เคียงกับระดับสูงสุดในช่วงที่เกิดวิกฤติการเงิน นอกจากนี้การที่สหภาพยุโรป และ สหรัฐ ได้เข้าสู่สงครามความขัดแย้งในพื้นไคเมีย กับ รัสเซีย จนนำไปสู่การคว่ำบาตรทางการค้า ถือเป็นปัจจัยกดดันเศรษฐกิจยุโรปที่สำคัญอีกประการหนึ่ง ซึ่งจะทำให้ GDP Growth ปี 2557 ของสหภาพยุโรปไม่น่าจะเกิน 1%
และ ญี่ปุ่น มีการปรับ คณะรัฐมนตรีใหม่ ภายใต้การนำของ นายอาเบะ ฯ นายกรัฐมตรี ซึ่งมีประเด็นสำคัญ คือ การแต่งตั้ง นายยาซูฮิสะ ชิโอซากิ ในตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งคาดว่าจะเข้ามาปรับเปลี่ยนนโยบายปฏิรูปกองทุนประกันสังคม ซึ่งมีสินทรัพย์สุทธิสูงถึง 1.2 ล้านล้านดอลลาร์ และมีขนาดใหญ่เป็นอันดับ 1 ของโลก เพื่อให้มีการบริหารกองทุน เพื่อเกิดประโยชน์ต่อการพัฒนาประเทศมากขึ้น ตามที่เป็นข่าวตลอดช่วงที่ผ่านมา คือ ต้องการให้ลดสัดส่วนการลงทุนในพันธบัตรรัฐบาล จากเดิมเกือบ 60% เหลือ 40% แต่ให้เพิ่มสัดส่วนการลงทุนในหุ้นต่างประเทศมากขึ้นจากปัจจุบัน 12% เป็น 17% และพันธบัตรต่างประเทศจาก 11% เป็น 14% ซึ่งถือว่าตลาดน่าจะได้รับรู้ไประดับหนึ่งแล้ว
ต่างชาติกลับมาซื้อหนักทุกแห่งในภูมิภาค
วานนี้นักลงทุนต่างชาติยังคงซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันเป็นวันที่ 12 และยอดซื้อเพิ่มขึ้นจากวันก่อนหน้ากว่า 5 เท่า อยู่ที่ราว 504 ล้านเหรียญฯ โดยเป็นการซื้อสุทธิหมดทั้ง 5 ประเทศ สูงสุดคือ ไต้หวันสลับมาซื้อสุทธิอีกครั้งราว 249 ล้านเหรียญฯ (ซื้อสลับขายสุทธิ 3 วันหลังสุด) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ซื้อสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ราว 142 ล้านเหรียญฯ (เพิ่มขึ้น 52% จากวันก่อนหน้า) ส่วนไทยยังคงซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3 และเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากวันก่อนหน้า อยู่ที่ราว 59 ล้านเหรียญฯ (1.9 พันล้านบาท) ขณะที่อินโดนีเซีย และ ฟิลิปปินส์ สลับมาซื้อสุทธิราว 41 และ 14 ล้านเหรียญฯ ตามลำดับ จากที่ขายในวันก่อนหน้า
เป็นที่สังเกตว่า นักลงทุนต่างชาติเริ่มกลับเข้ามาซื้อสุทธิต่อเนื่องอีกครั้ง เฉลี่ยกว่า 1.4 พันล้านบาท ต่อวัน ซึ่งคาดว่าเป็นไปในทิศทางเดียวกับ ภูมิภาค โดยเฉพาะในกลุ่ม TIP และเช่นเดียวกับตลาดตราสารหนี้ของไทย พบว่า ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิอีกครั้งราว 1.1 พันล้านบาท หลังจากสลับขายสุทธิออกมาวันก่อนหน้า (ซื้อสุทธิ 7 จาก 8 วันหลังสุดรวม 1.1 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเป็นปัจจัยที่หนุนให้เงินบาทผันผวนในกรอบ 32-32.2 บาท ต่อ ดอลลาร์ สอดคล้องกับสกุลเงินในภูมิภาค ฯ สัญญานค่าเงินในขณะนี้จึงยังไม่มีน้ำหนักต่อตลาดหุ้นมากนัก
กลยุทธ์การลงทุนในช่วงนี้ เน้นหุ้นขนาด กลาง-เล็ก
แม้นักลงทุนรายย่อยมีสัดส่วนสูง 58% ของมูลค่าการซื้อขายแต่ละวัน (ytd) ที่เหลือประกอบด้วย นักลงทุนต่างชาติ 23% สถาบันในประเทศ 10% และ พอร์ตโบรกเกอร์ 9% แต่สำหรับนักลงทุนต่างชาตินั้นเชื่อว่าในปัจจุบันอยู่ในภาวะที่ไม่มีความเสี่ยงต่อการที่จะเกิดการขายสุทธิ หลังจากขายสุทธิต่อเนื่อง จนทำให้ยอดซื้อสุทธิสะสม ลดลงจากระดับสูงสุดที่ 3.2 แสนล้านบาท เมื่อ เม.ย. 2556 ลงมาเหลือ 6 หมื่นล้านบาท ณ สิ้นเดือน ก.ค. 2557 อย่างไรก็ตามน่าจะเห็นแรงซื้อ สลับขาย นับจากนี้ และน่าจะเริ่มกลับมาซื้อชัดเจน หากปัจจัยการเมืองกลับเข้าสู่ภาวะปกติ
ตรงกันข้ามกับนักลงทุนสถาบันในประเทศ กลับเป็นผู้ซื้อสุทธิต่อเนื่องนับตั้งแต่งวด 4Q55 จนถึงปัจจุบันเป็นเม็ดเงินราว 1.20 แสนล้านบาท สะท้อนจากที่มีการซื้อผ่านกองทุนหุ้น (Equity Fund) โดย ณ สิ้น 2Q57 พบว่ามีสัดส่วนการถือหุ้นสูงถึง 90.50% ของเงินที่ระดมทั้งหมด ที่เหลือเป็นพันธบัตร 3.5% เงินสด 3.75% และอื่นๆ (ใบสำคัญแสดงสิทธิ และหุ้นกู้ เป็นต้น) 2.24% เป็นที่สังเกตว่าการที่กองทุนถือเงินในระดับดังกล่าวถือว่าต่ำเกณฑ์ปกติ (อยู่ในช่วง 2-10%) ทำให้เชื่อว่า นักลงทุนสถาบันในประเทศอยู่ในภาวะที่ถือหุ้นสูงกว่าปกติ ซึ่งเป็นปัจจัยบ่งชี้ว่าโอกาสที่จะเกิดแรงซื้อจาก Equity Fund เข้ามาขับเคลื่อน SET Index จะมีอีกไม่มาก โดยหากสมมติว่าจะเข้าซื้อหุ้นเพิ่มจนเหลือเงินสดที่กรอบล่างคือ 2% ก็จะมีเม็ดเงินที่ซื้อได้อีกประมาณ 1.44 หมื่นล้านบาท บวกกับเม็ดเงินเพิ่มเติมบางส่วนจากแรงซื้อ LTF ที่มักจะไหลเข้ามาในช่วงปลายปี ด้วยสถานะที่เป็นอยู่ ทำให้ฝ่ายวิจัยมองว่า Equity Fund ในประเทศ น่าจะอยู่ในภาวะที่พร้อมขาย มากกว่า พร้อมซื้อ เหมือนในอดีต
ภายใต้สถานการณ์ดังกล่าว กลยุทธ์การลงทุนน่าจะต้องให้ความสำคัญกับหุ้นที่มี Market Cap. ขนาด กลาง – เล็ก ที่มีปัจจัยบวกสนับสนุน และ ราคายังต่ำกว่า Fair Value ฝ่ายวิจัยเลือก 4 บริษัทที่โดดเด่นได้แก่ STPI (FV@B 28.46), DEMCO (FV@B 18), RML (FV@B 2.62) และ GFPT (FV@B 22) ติดตามอ่านรายละเอียดใน Investment Strategy ฉบับวานนี้
ภรณี ทองเย็น, CISA เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ผู้ช่วยนักวิเคราะห์
กษิดิ์เดช รัตนสมบูรณ์
มาราพร กี้วิริยะกุล