- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 07 March 2018 17:44
- Hits: 1253
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ผันผวนต่ำกว่า 1800 จุด ตราบที่ไม่มีประเด็นใหม่ แต่ Dollar Index ที่กลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง หนุนหุ้นโภคภัณฑ์ (PTTEP/TVO) กลยุทธ์ให้ขายหุ้น upside จำกัด (PTT, AOT, EA, HMPRO, CPALL, JAS, AEONTS, TOP) แต่ให้สะสมหุ้น Growth (WHA, BJC, BPP, PTTEP, PLANB, SC, SEAFCO, AH) หุ้นฟื้นตัว (CPF, TU) Top picks ยังชอบ PTTEP(FV@B137) ตราบที่ราคาน้ำมันแกว่งตัวขึ้น 60-65 เหรียญฯต่อบาร์เรล และ BJC(FV@B73) การเติบโตโดดเด่น
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย..... SET Index ปิดต่ำกว่า 1800 จุด ครั้งแรกในรอบ 2 สัปดาห์
วานนี้ SET Index ทรงตัวแดนบวกในช่วงเช้า ภาคบ่ายตลาดไม่เป็นใจดัชนีไหลลงค่อนข้างลึก ปิดตลาดที่ 1,799.06 จุด ลดลง 9.83 จุด หรือ -0.54% ด้วยมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 79.7 หมื่นล้านบาท กลุ่มพลังงานและปิโตรฯ กดดันตลาดต่อเนื่อง นำโดย EA ลดลง 15.9%, PTT ลดลง 1.78% หรือราว 10 จุด เกือบ Cover ปันผลที่จ่าย 12 บาทต่อหุ้น, IRPC ลดลง 2.48%, IVL ลดลง 1.42% สวนทางกับ GLOW เพิ่มขึ้น 2.10%, PTTEP เพิ่มขึ้น 1.79% และ PTTGC เพิ่มขึ้น 0.79% ตามด้วยกลุ่มค้าปลีก อย่าง CPN ลดลง 3.02% (XD 1.40 บาท), CPALL ลดลง 0.57%, MAKRO และ GLOBAL ลดลง 1.51%, 6.13% ตามลำดับ ส่วนกลุ่ม ICT บวกขึ้นหนุนตลาด ด้วยปัจจัยบวกเฉพาะตัวของ ADVANC ที่เข้าร่วมทุนในบริษัทแรทบิท-ไลน์ เพลย์ ซึ่งเป็นการขยายธุรกิจเพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และจะช่วยเสริมการเติบโตในอนาคต ส่งผลราคาหุ้นปิดที่ 200 บาท เพิ่มขึ้น 1.78% ส่วน แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ คาดดัชนีน่าจะอ่อนตัวลงมาทดสแบ 1785 จุด โดยมีแนวต้านที่ 1810 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ผันผวนต่ำกว่า 1800 จุด ตราบที่ไม่มีประเด็นใหม่ แต่ Dollar Index ที่กลับมาอ่อนค่าอีกครั้ง หนุนหุ้นโภคภัณฑ์ (PTTEP/TVO) กลยุทธ์ให้ขายหุ้น upside จำกัด (PTT, AOT, EA, HMPRO, CPALL, JAS, AEONTS, TOP) แต่ให้สะสมหุ้น Growth (WHA, BJC, BPP, PTTEP, PLANB, SC, SEAFCO, AH) หุ้นฟื้นตัว (CPF, TU) Top picks ยังชอบ PTTEP(FV@B137) ตราบที่ราคาน้ำมันแกว่งตัวขึ้น 60-65 เหรียญฯต่อบาร์เรล และ BJC(FV@B73) การเติบโตโดดเด่น
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย..... SET Index ปิดต่ำกว่า 1800 จุด ครั้งแรกในรอบ 2 สัปดาห์
วานนี้ SET Index ทรงตัวแดนบวกในช่วงเช้า ภาคบ่ายตลาดไม่เป็นใจดัชนีไหลลงค่อนข้างลึก ปิดตลาดที่ 1,799.06 จุด ลดลง 9.83 จุด หรือ -0.54% ด้วยมูลค่าการซื้อขายสูงถึง 79.7 หมื่นล้านบาท กลุ่มพลังงานและปิโตรฯ กดดันตลาดต่อเนื่อง นำโดย EA ลดลง 15.9%, PTT ลดลง 1.78% หรือราว 10 จุด เกือบ Cover ปันผลที่จ่าย 12 บาทต่อหุ้น, IRPC ลดลง 2.48%, IVL ลดลง 1.42% สวนทางกับ GLOW เพิ่มขึ้น 2.10%, PTTEP เพิ่มขึ้น 1.79% และ PTTGC เพิ่มขึ้น 0.79% ตามด้วยกลุ่มค้าปลีก อย่าง CPN ลดลง 3.02% (XD 1.40 บาท), CPALL ลดลง 0.57%, MAKRO และ GLOBAL ลดลง 1.51%, 6.13% ตามลำดับ ส่วนกลุ่ม ICT บวกขึ้นหนุนตลาด ด้วยปัจจัยบวกเฉพาะตัวของ ADVANC ที่เข้าร่วมทุนในบริษัทแรทบิท-ไลน์ เพลย์ ซึ่งเป็นการขยายธุรกิจเพื่อตอบสนองพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และจะช่วยเสริมการเติบโตในอนาคต ส่งผลราคาหุ้นปิดที่ 200 บาท เพิ่มขึ้น 1.78% ส่วน แนวโน้มตลาดหุ้นวันนี้ คาดดัชนีน่าจะอ่อนตัวลงมาทดสแบ 1785 จุด โดยมีแนวต้านที่ 1810 จุด
ธนาคารโลกน่าจะพร้อมใช้นโยบายการเงินตึงตัวใน 2H61
ช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ จะมีการประชุมธนาคารกลางหลักของโลก 2 แห่ง เริ่มจาก 8 มี.ค. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งคาดว่าน่าจะเตรียมใช้นโยบายการเงินตึงตัวในช่วง 4Q61 หลังจากที่แผนการใช้มาตรการ QE สิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2561 เนื่องจากเงินเฟ้อล่าสุด อยู่ที่ 1.2% สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย ที่ 0%
และ เช่นเดียวกับญี่ปุ่น (BOJ)ประชุมระหว่าง 8-9 มี.ค. ซึ่งส่งสัญญาณจะกลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวในปี 2562 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่กระเตื้องพุ่งขึ้นแรงอยู่ที่ 1.4% ในเดือน ก.พ.จาก 0.2% ใน พ.ย.2560 ตามราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น จากปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบาย ติดลบ 0.1% (ตั้งแต่ พ.ย. 2558) ควบคู่กับคงวงเงิน QQE เดือนละ 80 ล้านล้านเยนต่อปี
ขณะที่สหรัฐ การขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ที่คาดอย่างน้อย 3 ครั้งๆ ละ 0.25% จากการประชุมที่เหลือในปีนี้อีก 7 ครั้ง โดยผลสำรวจของ Bloomberg คาดจะขึ้นในการประชุมรอบที่จะถึง 20-21 มี.ค. ด้วยโอกาส 94% จะทำให้อัตราดอกเบี้ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25% เชื่อว่าตลาดหุ้นโลกรับรู้ไปหมดแล้ว แต่ประเด็นที่น่าจะกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก คือนโยบายกีดกันการค้าจากสหรัฐ หลัง ไม่ต่ออายุ GSP แก่ 12 ประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย (กระทบต่อสินค้าส่งออกของไทยกว่า 3,400 รายการ) และที่สำคัญคือการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการ (Safe Guard) ทั้งหมด 6 สินค้า โดยมีสินค้าที่มีผลบังคับใช้แล้ว 2 สินค้าคือเครื่องซักผ้าและแผงโซลาร์เซลล์ และอีก 4 สินค้าที่อยู่ในช่วงพิจารณาคือ เหล็ก,อลูมิเนียม, น้ำมันไบโอดีเซล และยางรัด
และสัปดาห์นี้ ทรัมป์ยังยืนยันที่เตรียมพิจารณาขึ้นภาษี 2 สินค้า คือ เหล็ก และอลูมิเนียม โดยยังมิได้สรุปอัตราภาษีนำเข้า และประเทศที่กระทบทั้งหมด ประเด็นนี้ดูเหมือนจะได้รับการต่อต้านจากประเทศส่งออกที่เข้าข่าย เช่น จีน และยุโรป ดังที่กล่าวในช่วงต้นสัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามในด้านสหรัฐ แม้จะดีต่อผู้ผู้ผลิตในสหรัฐ แต่ตรงกันข้าม กระทบกับผู้บริโภค ต้องซื้อสินค้าแพงขึ้น ความขัดแย้งที่ไม่มีข้อสรุป ทำให้ทีมงานของนายทรัมป์ เริ่มประกาศลาออก เช่น นายแกรี่ โคห์น หัวหน้าที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว หากประธานาธิบดีทรัมป์ยังเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม โดยภาพรวมทำให้ค่าเงิน Dollar index อ่อนค่าต่อเนื่อง หรืออ่อนค่าราว 2.1% นับตั้งแต่ต้นปี
ช่วงที่เหลือของสัปดาห์นี้ จะมีการประชุมธนาคารกลางหลักของโลก 2 แห่ง เริ่มจาก 8 มี.ค. ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ซึ่งคาดว่าน่าจะเตรียมใช้นโยบายการเงินตึงตัวในช่วง 4Q61 หลังจากที่แผนการใช้มาตรการ QE สิ้นสุดในเดือน ก.ย. 2561 เนื่องจากเงินเฟ้อล่าสุด อยู่ที่ 1.2% สูงกว่าดอกเบี้ยนโยบาย ที่ 0%
และ เช่นเดียวกับญี่ปุ่น (BOJ)ประชุมระหว่าง 8-9 มี.ค. ซึ่งส่งสัญญาณจะกลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวในปี 2562 เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่กระเตื้องพุ่งขึ้นแรงอยู่ที่ 1.4% ในเดือน ก.พ.จาก 0.2% ใน พ.ย.2560 ตามราคาน้ำมันที่ปรับขึ้น จากปัจจุบันดอกเบี้ยนโยบาย ติดลบ 0.1% (ตั้งแต่ พ.ย. 2558) ควบคู่กับคงวงเงิน QQE เดือนละ 80 ล้านล้านเยนต่อปี
ขณะที่สหรัฐ การขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ที่คาดอย่างน้อย 3 ครั้งๆ ละ 0.25% จากการประชุมที่เหลือในปีนี้อีก 7 ครั้ง โดยผลสำรวจของ Bloomberg คาดจะขึ้นในการประชุมรอบที่จะถึง 20-21 มี.ค. ด้วยโอกาส 94% จะทำให้อัตราดอกเบี้ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25% เชื่อว่าตลาดหุ้นโลกรับรู้ไปหมดแล้ว แต่ประเด็นที่น่าจะกดดันเศรษฐกิจและตลาดหุ้นโลก คือนโยบายกีดกันการค้าจากสหรัฐ หลัง ไม่ต่ออายุ GSP แก่ 12 ประเทศทั่วโลกรวมถึงไทย (กระทบต่อสินค้าส่งออกของไทยกว่า 3,400 รายการ) และที่สำคัญคือการขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการ (Safe Guard) ทั้งหมด 6 สินค้า โดยมีสินค้าที่มีผลบังคับใช้แล้ว 2 สินค้าคือเครื่องซักผ้าและแผงโซลาร์เซลล์ และอีก 4 สินค้าที่อยู่ในช่วงพิจารณาคือ เหล็ก,อลูมิเนียม, น้ำมันไบโอดีเซล และยางรัด
และสัปดาห์นี้ ทรัมป์ยังยืนยันที่เตรียมพิจารณาขึ้นภาษี 2 สินค้า คือ เหล็ก และอลูมิเนียม โดยยังมิได้สรุปอัตราภาษีนำเข้า และประเทศที่กระทบทั้งหมด ประเด็นนี้ดูเหมือนจะได้รับการต่อต้านจากประเทศส่งออกที่เข้าข่าย เช่น จีน และยุโรป ดังที่กล่าวในช่วงต้นสัปดาห์ แต่อย่างไรก็ตามในด้านสหรัฐ แม้จะดีต่อผู้ผู้ผลิตในสหรัฐ แต่ตรงกันข้าม กระทบกับผู้บริโภค ต้องซื้อสินค้าแพงขึ้น ความขัดแย้งที่ไม่มีข้อสรุป ทำให้ทีมงานของนายทรัมป์ เริ่มประกาศลาออก เช่น นายแกรี่ โคห์น หัวหน้าที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจประจำทำเนียบขาว หากประธานาธิบดีทรัมป์ยังเดินหน้าขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม โดยภาพรวมทำให้ค่าเงิน Dollar index อ่อนค่าต่อเนื่อง หรืออ่อนค่าราว 2.1% นับตั้งแต่ต้นปี
BANPU/BPP ปลดล็อค ราคาหุ้นน่าจะเข้าสู่เป้าหมายได้เร็วขึ้น
วานนี้คำพิพากษาศาลฏีกามีข้อสรุป ให้ BANPA ต้องชดใช้ค่าเสียหายในการใช้ข้อมูลราว 1.500 พันล้านบาท บวกดอกเบี้ย 7.5% นับจาก ก.ค 2550 ทำให้เงินค่าปรับรวม 2.70 พันล้านบาท โดยให้แบ่งกันในสัดส่วนที่เท่ากัน ทั้ง 3 บริษัทคือ BANPU, BPP(BANPU ถือหุ้น 78%), Banpu international(BANPU ถือหุ้น100%) แต่ผลจากที่ BANPU ถือหุ้นทั้ง 2 บริษัท จึงได้ปรับลดประมาณการกำไรของ BANPU ราว 2.5 พันล้านบาท โดยบันทึกในงบการเงินปี 2561 เป็นรายการพิเศษ เพราะที่ผ่านมาไม่ได้มีการบันทึกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้เลย ทำให้กำไรปี 2561 ลดลง 26% จากเดิม และทำให้มูลค่าพื้นฐานลดลงเพียง 0.40 เหลือ 25.61 บาท (เพราะใช้ DCF) หรือลดลงจากเดิม 0.40 บาท ราคาหุ้นปัจจุบันเหลือ upside 8% ยังแนะนำซื้อ ทั้งนี้ยังไม่รวมโอกาสปรับประมาณการกำไรขึ้น หากปรับเพิ่มสมมติฐานราคาถ่านหินจากปัจจุบันที่ 70 เหรียญฯ ต่อตัน ขึ้นอีก 10 เหรียญฯ ต่อตัน เพราะจากดัชนี BJI ทรงตัวที่ 100 เหรียญ ฯ ในปัจจุบัน (ราคาขายเฉลี่ยจะมีส่วนลดจาก BJI ราว 15-20%) ซึ่งจะทำให้มูลค่าใหม่มีโอกาสขยับไปใกล้เคียง 30 บาทต่อหุ้น (อ่านรายละเอียด Company update เมื่อ 7 มี.ค. 25 61)
และอีกบริษัท BPP จะรับผลกระทบราว 900 ล้านบาท ซึ่งกระทบต่องบการเงิน BPP ปี 2561 ครั้งเดียว เนื่องจากไม่มีการตั้งสำรองฯ มาก่อนเช่นเดียวกัน ทำให้กำไรสุทธิปี 2561 ลดลงจากเดิม 15.7% ส่วน มูลค่าหุ้นเนื่องจากคำนวณโดยใช้ DCF จึงกระทบราว 0.30 บาท ลดลงเหลือ 33.20 บาทหุ้น ยังคงแนะนำซื้อเหมือนเดิม เพราะแนวโน้มกำไรจะเติบโต 38% จากปี 2560 ขณะที่ราคาตลาดมี upside จากมูลค่าหุ้นล่าสุด 44.9% (อ่านรายละเอียด Company update เมื่อ 7 มี.ค. 2561)
วานนี้คำพิพากษาศาลฏีกามีข้อสรุป ให้ BANPA ต้องชดใช้ค่าเสียหายในการใช้ข้อมูลราว 1.500 พันล้านบาท บวกดอกเบี้ย 7.5% นับจาก ก.ค 2550 ทำให้เงินค่าปรับรวม 2.70 พันล้านบาท โดยให้แบ่งกันในสัดส่วนที่เท่ากัน ทั้ง 3 บริษัทคือ BANPU, BPP(BANPU ถือหุ้น 78%), Banpu international(BANPU ถือหุ้น100%) แต่ผลจากที่ BANPU ถือหุ้นทั้ง 2 บริษัท จึงได้ปรับลดประมาณการกำไรของ BANPU ราว 2.5 พันล้านบาท โดยบันทึกในงบการเงินปี 2561 เป็นรายการพิเศษ เพราะที่ผ่านมาไม่ได้มีการบันทึกค่าใช้จ่ายส่วนนี้ไว้เลย ทำให้กำไรปี 2561 ลดลง 26% จากเดิม และทำให้มูลค่าพื้นฐานลดลงเพียง 0.40 เหลือ 25.61 บาท (เพราะใช้ DCF) หรือลดลงจากเดิม 0.40 บาท ราคาหุ้นปัจจุบันเหลือ upside 8% ยังแนะนำซื้อ ทั้งนี้ยังไม่รวมโอกาสปรับประมาณการกำไรขึ้น หากปรับเพิ่มสมมติฐานราคาถ่านหินจากปัจจุบันที่ 70 เหรียญฯ ต่อตัน ขึ้นอีก 10 เหรียญฯ ต่อตัน เพราะจากดัชนี BJI ทรงตัวที่ 100 เหรียญ ฯ ในปัจจุบัน (ราคาขายเฉลี่ยจะมีส่วนลดจาก BJI ราว 15-20%) ซึ่งจะทำให้มูลค่าใหม่มีโอกาสขยับไปใกล้เคียง 30 บาทต่อหุ้น (อ่านรายละเอียด Company update เมื่อ 7 มี.ค. 25 61)
และอีกบริษัท BPP จะรับผลกระทบราว 900 ล้านบาท ซึ่งกระทบต่องบการเงิน BPP ปี 2561 ครั้งเดียว เนื่องจากไม่มีการตั้งสำรองฯ มาก่อนเช่นเดียวกัน ทำให้กำไรสุทธิปี 2561 ลดลงจากเดิม 15.7% ส่วน มูลค่าหุ้นเนื่องจากคำนวณโดยใช้ DCF จึงกระทบราว 0.30 บาท ลดลงเหลือ 33.20 บาทหุ้น ยังคงแนะนำซื้อเหมือนเดิม เพราะแนวโน้มกำไรจะเติบโต 38% จากปี 2560 ขณะที่ราคาตลาดมี upside จากมูลค่าหุ้นล่าสุด 44.9% (อ่านรายละเอียด Company update เมื่อ 7 มี.ค. 2561)
เตรียมปรับเพิ่มน้ำหนักหุ้นกลุ่ม รพ. BCH, RJH เข้าสู่ช่วงเก็บเกี่ยวผลประโยชน์
หลังจากนักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นใหญ่ 3 กลุ่มคือ ธ.พ. พลังงาน และ ปิโตรเคมี จากเดิมที่มากกว่าตลาด เป็นเท่ากับตลาด ดังที่นำเสนอเมื่อวานนี้ ตรงกันข้ามมีโอกาสปรับเพิ่มน้ำหนักกลุ่มโรงพยาบาล เป็น เท่ากับตลาด จากเดิม น้อยกว่าตลาด เพราะเชื่อว่า เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์หลังจากที่ได้ผ่านการลงทุนไปก่อนหน้านี้ รวมทั้งศูนย์ Excellent Center ต่างๆ ทยอยรับรู้รายได้และกำไรมากขึ้นในปีนี้ ประกอบกับการเติบโตของตลาด Medical / Wellness Tourism ที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบคู่แข่งทั้งด้านคุณภาพและราคา รวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐ จะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะชาวจีน นอกจากนี้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่จะมีผู้ป่วยที่มีโรคต่างๆ มากกว่าปกติ
โดยประเมินว่ากำไรจากการดำเนินงานของกลุ่มโรงพยาบาลในปี 2561 เติบโต 9% (แต่ถ้ารวมรายการพิเศษ กำไรสุทธิจะเติบโต 6%) โดยชื่นชอบ BCH ([email protected]) ที่ได้รับประโยชน์เต็มปีจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ที่จะกดดันกำไรมาตลอด 5 ปี ซึ่งฝ่ายวิจัยยังมีแนวโน้มจะปรับประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายขึ้นหลังการประชุม และ RJH ([email protected]) ที่ได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายไปแล้วหลังประกาศงบ 4Q60 ออกมาดีกว่าคาด และยังมีแผนการซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดของ RRH (บริษัทย่อย) ที่มีแนวโน้มกำไรเติบโตต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มส่วนแบ่งกำไรให้ RJH ได้ รวมทั้งยังมี Upside คงเหลือมากที่สุดในกลุ่มการแพทย์อีกด้วย
หลังจากนักวิเคราะห์ ASPS ได้ทยอยปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้นใหญ่ 3 กลุ่มคือ ธ.พ. พลังงาน และ ปิโตรเคมี จากเดิมที่มากกว่าตลาด เป็นเท่ากับตลาด ดังที่นำเสนอเมื่อวานนี้ ตรงกันข้ามมีโอกาสปรับเพิ่มน้ำหนักกลุ่มโรงพยาบาล เป็น เท่ากับตลาด จากเดิม น้อยกว่าตลาด เพราะเชื่อว่า เป็นช่วงของการเก็บเกี่ยวผลประโยชน์หลังจากที่ได้ผ่านการลงทุนไปก่อนหน้านี้ รวมทั้งศูนย์ Excellent Center ต่างๆ ทยอยรับรู้รายได้และกำไรมากขึ้นในปีนี้ ประกอบกับการเติบโตของตลาด Medical / Wellness Tourism ที่ประเทศไทยมีความได้เปรียบคู่แข่งทั้งด้านคุณภาพและราคา รวมทั้งการสนับสนุนจากภาครัฐ จะเห็นได้จากจำนวนผู้ป่วยต่างชาติที่เพิ่มขึ้นโดยเฉพาะชาวจีน นอกจากนี้ การเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุที่จะมีผู้ป่วยที่มีโรคต่างๆ มากกว่าปกติ
โดยประเมินว่ากำไรจากการดำเนินงานของกลุ่มโรงพยาบาลในปี 2561 เติบโต 9% (แต่ถ้ารวมรายการพิเศษ กำไรสุทธิจะเติบโต 6%) โดยชื่นชอบ BCH ([email protected]) ที่ได้รับประโยชน์เต็มปีจากการปรับเพิ่มค่าบริการของประกันสังคม และการฟื้นตัวของ World Medical Hospital (WMC) ที่จะกดดันกำไรมาตลอด 5 ปี ซึ่งฝ่ายวิจัยยังมีแนวโน้มจะปรับประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายขึ้นหลังการประชุม และ RJH ([email protected]) ที่ได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรและราคาเป้าหมายไปแล้วหลังประกาศงบ 4Q60 ออกมาดีกว่าคาด และยังมีแผนการซื้อหุ้นส่วนที่เหลือทั้งหมดของ RRH (บริษัทย่อย) ที่มีแนวโน้มกำไรเติบโตต่อเนื่อง ช่วยเพิ่มส่วนแบ่งกำไรให้ RJH ได้ รวมทั้งยังมี Upside คงเหลือมากที่สุดในกลุ่มการแพทย์อีกด้วย
กลยุทธ์การลงทุน 2Q60 เน้น Growth Stocks
ประเมินว่าความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกเพิ่มขึ้น แม้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะมีการฟื้นตัว แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะเผชิญกับนโยบายกีดดันทางการค้าสหรัฐที่รุนแรงขึ้นกระทบประเทศคู่ค้าในวงกว้าง นอกเหนือไปจากค่าเงินโลกที่ผันผวน ซึ่งน่าจะกดดันการส่งออกไทยในปี 2561 เติบโตในอัตราชะลอตัว จึงทำให้ GDP Growth ปี 2561 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ว่าจะขยายตัว 4.2% ต้องอาศัยการลงทุนและการบริโภคในประเทศเป็นหลัก
ประเด็นการเมือง ให้น้ำหนักไปที่การพิจารณาร่าง พ.ร.ป. 2 ฉบับหลัง พ.ร.ป. คือ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. โดยวันที่ 8 มี.ค. นี้ จะมีการพิจารณาของ ส.น.ช. ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบ จะเข้าสู่กระบวนการการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาภายใน 90 วัน (เดือน มิ.ย. 2561) และจะมีผลบังคับใช้ 90 วัน หลังจากวันลงประกาศฯ (ก.ย. 2561) จากนั้นการเลือกตั้ง ส.ส. ต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 150 วัน หากเป็นไปตามนี้ก็น่าจะได้เห็นการเลือกตั้งในช่วงเดือน ก.พ. 2562 แต่หากผิดจากที่กล่าวข้างต้น วันเลือกตั้งมีโอกาสเปลี่ยนเปลงได้
ในส่วนของ EPS Growth ตลาดฯ คาดปี 2561 สูง 14% นำโดยกลุ่ม ค้าปลีก (21%) ธนาคารพาณิชย์ (14%) และการฟื้นตัวของกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ส่วนกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และ ICT เติบโตน้อยกว่าตลาด (ไม่รวมรายการพิเศษ) อย่างไรก็ตาม Expected P/E ของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 16.2 เท่า ใกล้เคียงตลาดหุ้นเพื่อนบ้านและตลาดหุ้นสหรัฐ แต่สูงกว่าจีน และ ตลาดหุ้นยุโรป ทำให้แรงดึงดูดของ Fund Flow ยังน้อย
ขณะที่ EPS ปี 2561 หลังปรับปรุงอยู่ที่ 111.69 บาท ลดลงจากเดิม 113.5 บาท ทั้งนี้ หากยังอิง P/E 16 เท่า เช่นเดิม จะได้ดัชนีเป้าหมาย ณ สิ้นปีที่ 1787 จุด แต่ด้วยความผันผวนสูง ทำให้มีโอกาสขยับ P/E ขึ้นไปเหนือ 16 เท่า ดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบ 1785 - 1830 จุด นอกจากนี้ ในช่วงเดือน มี.ค. – พ.ค. 2561 จะมีบริษัทฯ จ่ายปันผล รวม 284 บริษัท กดดันดัชนีราว 24.8 จุดหรือ 1.36% จึงยังคงน้ำหนักการลงทุน หุ้นไทย 40% ของเงินลงทุน โดยเลือกหุ้นเติบโตโดดเด่น และมี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5) โดย Top picks เลือก AH, TVO, BJC, BBP, PLANB, SC, SEAFCO, WHA และ PTTEP (อ่านรายละเอียดได้จากบทวิเคราะห์ Investment Strategy กลยุทธ์การลงทุนในงวด 2Q61 ช่วงบ่ายวานนี้)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6155
ประเมินว่าความเสี่ยงจากปัจจัยภายนอกเพิ่มขึ้น แม้แนวโน้มเศรษฐกิจโลกจะมีการฟื้นตัว แต่ก็ยังมีโอกาสที่จะเผชิญกับนโยบายกีดดันทางการค้าสหรัฐที่รุนแรงขึ้นกระทบประเทศคู่ค้าในวงกว้าง นอกเหนือไปจากค่าเงินโลกที่ผันผวน ซึ่งน่าจะกดดันการส่งออกไทยในปี 2561 เติบโตในอัตราชะลอตัว จึงทำให้ GDP Growth ปี 2561 ที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ว่าจะขยายตัว 4.2% ต้องอาศัยการลงทุนและการบริโภคในประเทศเป็นหลัก
ประเด็นการเมือง ให้น้ำหนักไปที่การพิจารณาร่าง พ.ร.ป. 2 ฉบับหลัง พ.ร.ป. คือ ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. โดยวันที่ 8 มี.ค. นี้ จะมีการพิจารณาของ ส.น.ช. ซึ่งหากผ่านความเห็นชอบ จะเข้าสู่กระบวนการการนำขึ้นทูลเกล้าฯ ถวาย และประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาภายใน 90 วัน (เดือน มิ.ย. 2561) และจะมีผลบังคับใช้ 90 วัน หลังจากวันลงประกาศฯ (ก.ย. 2561) จากนั้นการเลือกตั้ง ส.ส. ต้องดำเนินการให้เสร็จภายใน 150 วัน หากเป็นไปตามนี้ก็น่าจะได้เห็นการเลือกตั้งในช่วงเดือน ก.พ. 2562 แต่หากผิดจากที่กล่าวข้างต้น วันเลือกตั้งมีโอกาสเปลี่ยนเปลงได้
ในส่วนของ EPS Growth ตลาดฯ คาดปี 2561 สูง 14% นำโดยกลุ่ม ค้าปลีก (21%) ธนาคารพาณิชย์ (14%) และการฟื้นตัวของกลุ่มรับเหมาก่อสร้าง ส่วนกลุ่มพลังงาน ปิโตรเคมี และ ICT เติบโตน้อยกว่าตลาด (ไม่รวมรายการพิเศษ) อย่างไรก็ตาม Expected P/E ของตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 16.2 เท่า ใกล้เคียงตลาดหุ้นเพื่อนบ้านและตลาดหุ้นสหรัฐ แต่สูงกว่าจีน และ ตลาดหุ้นยุโรป ทำให้แรงดึงดูดของ Fund Flow ยังน้อย
ขณะที่ EPS ปี 2561 หลังปรับปรุงอยู่ที่ 111.69 บาท ลดลงจากเดิม 113.5 บาท ทั้งนี้ หากยังอิง P/E 16 เท่า เช่นเดิม จะได้ดัชนีเป้าหมาย ณ สิ้นปีที่ 1787 จุด แต่ด้วยความผันผวนสูง ทำให้มีโอกาสขยับ P/E ขึ้นไปเหนือ 16 เท่า ดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบ 1785 - 1830 จุด นอกจากนี้ ในช่วงเดือน มี.ค. – พ.ค. 2561 จะมีบริษัทฯ จ่ายปันผล รวม 284 บริษัท กดดันดัชนีราว 24.8 จุดหรือ 1.36% จึงยังคงน้ำหนักการลงทุน หุ้นไทย 40% ของเงินลงทุน โดยเลือกหุ้นเติบโตโดดเด่น และมี ASP Score ในเกณฑ์ดี (มากกว่า 5) โดย Top picks เลือก AH, TVO, BJC, BBP, PLANB, SC, SEAFCO, WHA และ PTTEP (อ่านรายละเอียดได้จากบทวิเคราะห์ Investment Strategy กลยุทธ์การลงทุนในงวด 2Q61 ช่วงบ่ายวานนี้)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6155