WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 

กลยุทธ์การลงทุน
  คาด SET ผันผวนสูง 1820-1792 จุด จากหุ้นที่อิงสินค้าโภคภัณฑ์ ซึ่งน่าจะฟื้นตัวตามราคาน้ำมัน และ dollar ที่ทรงตัวถึงอ่อนค่า  กลยุทธ์ยังแนะนำให้ขายหุ้นที่ราคาสูงเกิน FV/upside จำกัด (PTT วันนี้ XD@B 12, AOT, EA, HMPRO, CPALL, JAS, AEONTS, TOP) แต่ให้สะสมหุ้นที่มี upside (WHA, BJC, BPP ขึ้น “H” รอศาลฏีกาตัดสินคดีหงสาของ BANPU, PTTEP, AH, UNIQ, CPF, TU)  Top picks ยังชอบ AH(FV@B43), PTTEP(FV@B137)      
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย… SET Index ผันผวนสูง ตลอดทั้งวัน
  วานนี้ SET Index แกว่งตัวในแดนลบต่อเนื่อง เปิดตลาดบ่ายลงแรงราว 20 จุด ก่อนจะมาปิดที่ 1,808.89 จุด ลดลง 3.09 จุด หรือ - 0.17% มูลค่าการซื้อขาย 6.99 หมื่นล้านบาท กลุ่มพลังงานและปิโตรฯ กดดันตลาด นำโดย PTTGC ลดลง 4.04% Dillution Effect จากการขึ้นเครื่องหมาย XD, IVL ลดลง 0.47%, PTTEP ลดลง 3.04%, TOP ลดลง 1.75% สวนทางกับ PTT ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น 1.08% ตามด้วยกลุ่มขนส่ง อย่าง AOT ลดลง 0.72% และกลุ่มธ.พ. เช่น KBANK และ BBL ลดลง 0.87%, 0.95% ตามลำดับ ขณะที่กลุ่มค้าปลีกบวกหนุนตลาด นำโดย CPALL เพิ่มขึ้น 2.65%, MAKRO เพิ่มขึ้น 7.57% และ HMPRO เพิ่มขึ้น 1.43% ส่วนหุ้น TVO ปรับตัวขึ้นสูงถึง 9.3% ปิดที่ 35.25 บาท ฝ่ายวิจัยอยู่ระหว่างทบทวนประมาณการและคำแนะนำ เนื่องจากมองโทนบวกมากขึ้น จากยอดขายที่ได้ประโยชน์จากราคากากถั่วเหลืองโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นกว่าต้นทุนวัตถุดิบ
  สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ มีโอกาสฟื้นตัวตามราคาน้ำมัน แนวรับ 1792 จุด แนวต้าน 1820 จุด
สหรัฐเดินหน้ากีดกันการค้า แต่อาจผ่อนผันให้กับ แคนาดา และ เม็กซิโก
  การกีดกันการค้าโลกจากสหรัฐยังเป็นประเด็นที่ตลาดให้น้ำหนัก หลังจากดำเนินการไม่ต่ออายุ GSP  แก่ประเทศกำลังพัฒนา 112 แห่ง และการเตรียมขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการ (Safe Guard)  ทั้งหมด  6  สินค้า  โดยขึ้นภาษีมีผลบังคับใช้แล้ว 2 สินค้าคือ เครื่องซักผ้า และแผงโซลาร์เซลล์   และล่าสุดสัปดาห์นี้เตรียมจะพิจารณาสินค้าเหล็ก และอลูมิเนียม แต่อย่างไรก็ตาม วานนี้ ประธานาธิบดีทรัมป์ มีท่าทีผ่อนคลายลงต่อ 2 ประเทศคือเม็กซิโก และแคนาดา โดยอาจไม่เก็บภาษี 2 ประเทศนี้ เพราะ 2 ประเทศมีความสัมพันธ์ทางการค้าอย่างใกล้ชิด และพึ่งพาการค้าสูงมาก คือ แคนาดามีสัดส่วนการค้า (X+M) กับสหรัฐสูงถึง 64.64% ของการค้าทั้งหมดของแคนาดา ขณะที่เม็กซิโกมีสัดส่วนการค้าสหรัฐ 64.07% เทียบกับการค้าทั้งหมดของเม็กซิโก 
  ยิ่งไปกว่านั้นทั้งสามประเทศมีข้อตกลงทางการค้า NAFTA น่าจะมีการเจรจารอบนอก ผลกระทบ นโยบายกีดกันทางการค้าของสหรัฐจึงน่าจะกระทบต่อแคนาดาและเม็กซิโกน้อย   ขณะที่ประเทศอื่นๆ ที่ได้รับผลกระทบยังคงเตียมมาตรการตอบโต้  อาทิ  จีน จะขึ้นภาษีนำเข้าถั่วเหลืองจากสหรัฐ ขณะที่ยุโรปเตรียมขึ้นภาษีนำเข้ารถมอเตอร์ไซค์ฮาร์เลย์ เดวิดสัน, วิสกี้เบอร์เบิน และกางเกงยีนส์ลีวายส์ของสหรัฐ ซึ่งถือว่าเป็นประเด็นที่ยังให้น้ำหนักอย่างใกล้ชิดและน่าจะส่งผลต่อการเติบโตของเศรษฐกิจโลก
PTTEP น่าจะกลับมาหนุนตลาด IEA มองตลาดน้ำมันเป็นบวก
  เมื่อวานนี้สำนักงานพลังงานระหว่างประเทศ(IEA) เผยคาดการณ์ ความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกจะยังเพิ่มขึ้นต่อในระยะยาวในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 2561-2566) ตามทิศทางเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัวต่อเนื่อง หลักๆมาจากจีน และอินเดีย  กล่าวคือ คาดเพิ่มขึ้น  6.9 ล้านบาร์เรล/วัน อยู่ที่ 104.7 ล้านบาร์เรลต่อวัน ในปี 2563  แม้ปัญหา Oversupply ยังคงมีอยู่ โดยฝั่งการผลิตน้ำมันดิบคาดจะเพิ่มขึ้น 6.4 ล้านบาร์เรล/วัน จนแตะ 107 ล้านบาร์เรล/วันในช่วงเดียวกัน โดยหลักยังมาจากสหรัฐซึ่งมีแนวโน้มที่จะผลิตน้ำมันมากที่สุด  สะท้อนจากปัจจุบัน จำนวนหลุมขุดเจาะล่าสุด อยู่ที่ 800 หลุม ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี หนุนกำลังการผลิตแตะระดับ 10.23 ล้านบาร์เรล
  อย่างไรก็ตามค่าเงิน Dollar Index ที่ชะลอการแข็งค่า ล่าสุดอยู่ที่  89.96 จุด แต่อ่อนค่าราว  2.01% นับตั้งแต่ต้นปี เป็นปัจจัยหนุนให้เกิดการเก็งกำไรในราคาน้ำมันดิบโลกอีกครั้ง ราคาน้ำดูไบน่าจะยังคงยืนเหนือ 60 เหรียญฯต่อบาร์เรล และแกว่งตัว 60-65 เหรียญฯ ได้ ยังแนะนำให้สะสม  PTTEP(FV@B137) ยังมี Upside 22.9%
ลดน้ำหนักหุ้นน้ำมัน.. ยังชอบ PTTEP vs BANPU ขึ้น “H” รอบเช้ารอศาลฯ 
  หลังจากนักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานได้ปรับลดคำแนะนำหุ้นพลังงานจาก มากกว่าตลาด เป็น เท่ากับตลาด เนื่องจากราคาหุ้นในกลุ่มพลังงาน ได้ปรับตัวขึ้นอย่างรวดเร็วกว่าดัชนีตลาด จนหุ้นรายตัวเกินมูลค่าหุ้น โดยเฉพาะ PTT(FV@540) ราคาหุ้นมีการสะท้อนข่าวบวกทั้งเรื่องของราคาน้ำมัน, การซื้อหุ้น IRPC เพิ่มเติม, การซื้อแหล่งบงกชเพิ่มเติมของ PTTEP (PTT ถือหุ้น 65.29%) และการขยายโรงงานโอเลฟินส์ใหม่ของ PTTGC จึงมีการปรับลดคำแนะนำเป็น Switch จากเดิม ซื้อ และ TOP(FV@ 103 บาท) ราคาหุ้นปรับขึ้นจนมี  upside เหลือเพียง 4%  แนะนำ Switch มาจาก PTTEP(FV@ 137 บาท) ยังมี upside สูงสุด
  และ BANPU(FV@ 26 บาท)  ยังคงแนะนำซื้อ   (อ่านรายละเอียด Industry update วันที่ 28 ก.พ. 61) แม้ราคาหุ้นยังมีความเสี่ยง แต่ผลการตัดสินของศาลฯ  ต่อคดีโรงไฟฟ้าหงสา ที่ค้างคามานาน จะทราบความชัดเจนในวันนี้  น่าจะช่วยลดแรงกดดันต่อหุ้น BANPU นับจากนี้ อย่างไรก็ตาม กรณี BANPU แพ้คดี และต้องชดเชยค่าเสียหาย จะมากน้อยเพียงใด และ กระทบต่อมูลค่าหุ้นเท่าใดนั้นพอรายละเอียด Company update วันที่  23 ก.พ. 61  สรุปได้ดังนี้
  กรณีดีสุด ชดเชยค่าเสียหาย 2-5 พันล้านบาท กระทบมูลค่าพื้นฐานราว 0.25-0.65 บาท
  กรณีที่เป็นกลาง ชดเชยค่าเสียหาย 1 หมื่นล้านบาท กระทบมูลค่าพื้นฐานราว   1.30 บาท
  กรณีเลวร้าย ชดเชยค่าเสียหายตามข้อเรียกร้อง  3.1 หมื่นล้านบาท กระทบมูลค่าพื้น 4 บาท 
  ทั้งนี้ในรอบเช้าของการซื้อขายตั้งแต่ 9.00 น. ของวันนี้  หุ้น BANPU และ BPP(BANPU ถือหุ้น 78%) จะถูกแขวนป้าย “H” คือหยุดพักการซื้อขายเป็นการชั่วคราว จนกว่าบริษัทจะแจ้งผลคำพิพากษาศาลฏีกา ต่อตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้นักลงทุนทราบโดยทั่วกัน และขอให้ตลาดฯ เปิดทำการซื้อขายเป็นปกติเป็นลำดับถัดมา
  และวานนี้ ได้ปรับลดคำแนะนำกลุ่มปิโตรเคมีลงจากเดิมมากกว่าตลาดเป็นเท่ากับตลาด เนื่องจากมี Supply ใหม่เกิดขึ้น เป็นผลให้ Spread ผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทรงตัว ประกอบกับราคาหุ้นในกลุ่มได้ปรับขึ้นมากกว่าตลาด  จนทำให้ราคาหุ้นมี upside จำกัด อย่างไรก็ตามยังสามารถเข้าลงทุนได้ ในช่วงที่ราคาอ่อนตัวลงมา โดยลงทุนในหุ้นที่มีปัจจัยหนุนเฉพาะตัวจากปริมาณขายที่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะเป็นปัจจัยหนุนขับเคลื่อนกำไรได้ดี เช่น PTTGC, IRPC, IVL
2 เดือนแรกของปี 2561 ต่างชาติขายหุ้นไทยสูงสุดในภูมิภาค
  วานนี้ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 4 ด้วยมูลค่ากว่า 730 ล้านเหรียญ และยังคงเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวันขายสุทธิ 388 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 103 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4),  เกาหลีใต้ 73 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 6 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีกกว่า 161 ล้านเหรียญ หรือ 5.07 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3 มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.26 หมื่นล้านบาท) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 1.04 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)
  หากพิจารณา Fund Flow ในภูมิภาค ตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน พบว่า ต่างชาติขายสุทธิหุ้นไทยมากที่สุดใน 5 ประเทศ ด้วยมูลค่ากว่า 1.76 พันล้านเหรียญ หรือ 5.57 หมื่นล้านบาท (ytd) โดยเป็นการขายสุทธิทุกเดือน (ดังตารางทางด้านล่าง) ส่วนหนึ่งน่าจะเกิดจากตลาดหุ้นไทยปรับตัวเพิ่มขึ้นติดต่อกันถึง 3 ปี (ปี 2559 19.8%, ปี 2560 13.7% และปี 2561(ytd)  3.15%)  ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เกิดแรงเทขายทำกำไรออกมา
  ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 2.28 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิ 7.79 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
EPS Growth ปี 2561 นำโดยกลุ่มค้าปลีก และกลุ่มธนาคารพาณิชย์
  ภายหลังปรับปรุงประมาณการฯ พบว่า กำไรสุทธิตลาดปี 2561 อยู่ที่ราว 1.11 ล้านล้านบาท ใกล้เคียงกับประมาณการเดิม (ส่วนกำไรตลาดฯ ปี 2559 ภายหลังปรับปรุงจะอยู่ที่ 9.82 แสนล้านบาท) ส่งผลให้ EPS Growth ปี 2560 เติบโตใกล้เคียงประมาณการเดิมที่ 14% (ลดลงจาก 16% จากที่เสนอไปเมื่อวานนี้ เพราะผลของการรวมหุ้น GULF ที่มี market cap ใหญ่มา และเข้ามาจดทะเบียนล่าสุด ดังนั้น เมื่อนำ market cap รวมทั้งตลาด หารด้วย SET index ทำให้ได้จำนวนหุ้นเพิ่มขึ้นจากปี 2560 มาก) โดยกลุ่มที่มีกำไรสุทธิจากการดำเนินงานเติบโตได้โดดเด่น คือ
  กลุ่มค้าปลีก คาดกำไรสุทธิเติบโต 21%  นำโดย BEAUTY คาดกำไรสุทธิเติบโต 47% ตามด้วย BJC 46%, COM7 ที่ 29%, HMPRO 17%, ROBINS 17% และ CPALL 12%
  กลุ่มธนาคารพาณิชย์ คาดกำไรสุทธิเติบโต 14% นำโดย KBANK คาดกำไรสุทธิเติบโต 24%, TISCO 23%, TMB 21%, KTB 19%, BBL 14% และ KKP 13%
  กลุ่มพลังงาน คาดกำไรสุทธิเติบโตราว 7% นำโดย PTTEP คาดกำไรสุทธิเติบโต 58%, ตามด้วย BANPU 26% ส่วนหุ้นปิโตรเลียม-โรงกลั่นอื่นๆ โตไม่มากนัก โดย PTT คาดโต 5%, IRPC 6%, BCP 5% ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้าเติบโตได้ดี เช่น TPIPP 123%, CKP 116%, BPP 46%, BCPG 39%, BGRIM 23% เป็นต้น
  กลุ่มอาหาร คาดกำไรสุทธิเติบโตราว 7% โดย CPF คาดกำไรสุทธิเติบโต 7%, TFG คาดโต 16% ขณะที่หุ้นร้านอาหาร-เครื่องดืม คือ M เติบโต 9%, OISHI 8%, ICHI 11% และ TKN 39%
  กลุ่มอสังหาฯ คาดกำไรสุทธิเติบโตราว 6% ที่โดดเด่น เช่น SC กำไรสุทธิโต 74%, ORI 69%, LPN 56%, ANAN 51% ขณะที่หุ้นนิคมฯ อย่าง WHA และ AMATA โต 37% และ 11% ตามลำดับ
  กลุ่มเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง นำโดย MTLS และ SAWAD เติบโต 37% และ 33% ตามลำดับ
  กลุ่มท่องเที่ยว-โรงแรม นำโดย ERW และ CENTEL เติบโต 88% และ 11% ตามลำดับ
  ส่วนกลุ่มปิโตรเคมี หากพิจารณาที่กำไรปกติ พบว่า PTTGC เติบโต 8% ส่วน IVL กำไรปกติลดลงเล็กน้อย 5%
  ขณะที่กลุ่มบันเทิง กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง กลุ่มเกษตร และกลุ่ม ICT กำไรฯ เติบโตมาก เนื่องจากฐานที่ต่ำในปีที่ผ่านมา
  ยกเว้น กลุ่มโรงพยาบาล คาดปีนี้กำไรสุทธิชะลอตัวลง (เนื่องจากปีที่แล้ว BDMS มีการบันทึกกำไรพิเศษ)
  ทั้งนี้ หากพิจารณาถึงการเติบโตของตลาดหุ้นไทย เทียบกับตลาดหุ้นต่างประเทศ พบว่า EPS Growth ตลาดหุ้นไทยเป็นรองเพียงตลาดหุ้นสหรัฐ (Dow Jones 17.89%, S&P500 16.73%) ส่วนตลาดหุ้นยุโรปมีอัตราการเติบโตที่น้อยกว่า คือ เยอรมัน 8.5%, อังกฤษ 7.7% และฝรั่งเศส 6.6% ขณะที่ตลาดฝั่งเอเชียอย่าง จีน 13.09%, เวียดนาม 13.64%, อินโดนีเซีย 13.19%, ฟิลิปปินส์ 11.06% และมาเลเชียมีการเติบโตที่ค่อนข้างน้อย เพียง 5.47% เท่านั้น 
  แต่พิจารณา Expected P/E พบว่าตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ราว 16.2 เท่า ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นภูมิภาค เช่น มาเลเชีย 16.3 เท่า อินโดนีเซีย 16.7 เท่า แต่ต่ำกว่า ฟิลิปปินส์และเวียดนามที่ 18.6 และ 19.1 เท่า ตามลำดับ ยกเว้นตลาดหุ้นจีนที่ยังมี Expected P/E ต่ำเพียง 12.7 เท่า แต่ก็ยังต่ำกว่าตลาดหุ้นสหรัฐทั้ง Dow Jones 16.8 เท่า  และ S&P500 17.4 เท่า  ยกเว้น ตลาดหุ้นยุโรป อย่าง ตลาดหุ้นฝรั่งเศส อังกฤษและเยอรมัน ที่มี P/E ราว 14 เท่าใกล้เคียงกัน
 
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6115

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!