WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

DBSบล.ดีบีเอสวิคเคอร์ส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 

“วิตกมาตรการกีดกันการค้าสหรัฐ”
• หุ้นที่เปลี่ยนคำแนะนำทางปัจจัยพื้นฐานวันนี้ : ORI (จากซื้อเป็นถือ)
  ปัจจัยต่างประเทศ & ในประเทศ : ปัจจัยต่างประเทศ – ทั่วโลกยังคงวิตกกังวลสงครามการค้าระหว่างสหรัฐกับประเทศต่างๆ และแม้ว่าดัชนีตลาดหุ้นก็ปรับลดลงมารับข่าวไประดับหนึ่ง แต่ก็ยังอยู่ในช่วง Wait & See ว่าทรัมป์จะปรับขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม 25% และ 10% ในสัปดาห์นี้หรือไม่ จะมีผลบังคับใช้กับประเทศใด และเริ่มเมื่อไร รวมทั้งรอดูความเคลื่อนไหวของประเทศที่ได้รับผลกระทบว่าจะมีมาตรการอะไรออกมาตอบโต้หรือไม่ ซึ่งประธาน EC กล่าวว่าทางสหภาพยุโรปจะตอบโต้สหรัฐอย่างรุนแรง โดยจะปรับขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ เช่น รถมอเตอร์ไซค์ฮาร์เลย์ เดวิดสัน, วิสกี้เบอร์เบิน และกางเกงยีนส์ลีวายของสหรัฐ เป็นต้น ขณะที่สหรัฐก็ขู่ว่าจะปรับขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์จากยุโรปเพื่อตอบโต้...ในช่วงที่มีปัจจัยเสี่ยงเข้ามาในตลาดหุ้นมากขึ้น นักลงทุนก็โยกย้ายเงินบางส่วนเข้าไปลงทุนในทองคำเพื่อลดความเสี่ยง
  ตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐที่ติดตามสัปดาห์นี้ คือ การจ้างงานนอกภาคเกษตรสหรัฐเดือนก.พ.61 ซึ่งจะมีผลต่อการคาดการณ์ดอกเบี้ย ทั้งนี้เฟดจะประชุมกันวันที่ 14-15 มี.ค.นี้ ตลาดประเมินว่ามีโอกาสสูงที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25%
  ปัจจัยในประเทศ – สำหรับภายในประเทศ เป็นการประเมินทิศทางธุรกิจและกำไรของบจ.ปี 61 หลังจบรายงานผลประกอบการปี 60 ไป เรียบร้อยแล้ว และในวันที่ 6 มี.ค.นี้ จับตาผลการตัดสินของศาลฎีกาในคดีโรงไฟฟ้าหงสา ซึ่งจะมีผลกระทบต่อหุ้น BANPU โดยหากบริษัทชนะก็ทำให้ Overhang หายไป มูลค่าหุ้นก็มีโอกาสขยับขึ้นไปที่เป้าหมายตามพื้นฐานได้ (Consensus อยู่ที่ 25 บาท/หุ้น) แต่ถ้าแพ้คดีแล้วต้องจ่ายค่าปรับ 3.1 หมื่นล้านบาทก็จะทำให้ BVS หายไป 6.1 บาท/หุ้น (BVS ณ สิ้นปี 60 อยู่ที่ 16.53 บาท/หุ้น)
  กลยุทธ์ทางพื้นฐาน : แนะเลือกซื้อเป็นรายบริษัท โดยธีมเด่นหุ้นดีจาก DBS ในปี 61 เราเลือกเป็น 1. Investment recovery play (หุ้นเด่น AMATA ราคาพื้นฐาน 30 บาท), 2. Dividend play (หุ้นเด่น KKP ราคาพื้นฐาน 88 บาท), 3. Growth play (หุ้นเด่น IVL ราคาพื้นฐาน 65 บาท) และ 4. Tourism play (หุ้นเด่น ERW ราคาพื้นฐาน 10.50 บาท) การอ่อนตัวของราคาหุ้นเป็นจังหวะทยอยซื้อสะสม
  กลยุทธ์ทางเทคนิค : ภาพตลาดเป็นลบ ซื้อใหม่เน้นตามด้วยค่าบวก ค่าลบให้ Wait & See ก่อนหรือเน้นซื้อที่แนวรับ กรณีบวกมีแนวต้าน 1820, (1830-1840) จุด ต่ำกว่า 1810 จุดลดพอร์ตตาม แนวรับ 1790–1780, (1760) จุด
ปัจจัยต่างประเทศ
- สหรัฐ & ยุโรป : ประกาศที่จะตอบโต้มาตรการกีดกันทางการค้าซึ่งกันและกัน
  # เมื่อพฤหัสฯที่ 2 มี.ค. ประธานาธิบดีทรัมป์ระบุว่า สหรัฐจะเรียกเก็บภาษีนำเข้าเหล็กในอัตรา 25% และอลูมิเนียม 10% โดยมาตรการดังกล่าวมีเป้าหมายที่จะปกป้องอุตสาหกรรมของสหรัฐ วันต่อมา นายฌอง-คล็อด ยุงเกอร์ ประธานคณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ก็ได้ออกมาตอบโต้โดยระบุว่า สหภาพยุโรปจะดำเนินการตอบโต้อย่างรุนแรงและสมน้ำสมเนื้อ เพื่อปกป้องผลประโยชน์ของบริษัทยุโรปที่ส่งออกเหล็กและอลูมิเนียมไปยังสหรัฐ และจะปรับขึ้นภาษีนำเข้ารถมอเตอร์ไซค์ฮาร์เลย์ เดวิดสัน, วิสกี้เบอร์เบิน และกางเกงยีนส์ลีวายของสหรัฐ
  # ประธานาธิบดีโดนัลด์ ทรัมป์ ของสหรัฐ ขู่ว่าจะขึ้นภาษีนำเข้ารถยนต์จากยุโรป หากสหภาพยุโรป (EU) ตอบโต้การขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมด้วยการเพิ่มภาษีนำเข้าสินค้าจากสหรัฐ
• ภาวะตลาดหุ้น : ดัชนี DJIA ร่วงต่อ แต่ Nasdaq & S&P500 Index ปรับขึ้น
  # ดัชนี DJIA ปิดที่ 24,538.06 จุด -70.92 จุด หรือ -0.29% โดยเป็นการลดลงต่อเนื่องวันที่ 4 แต่ดัชนี S&P500 ปิด 2,691.25 จุด +13.58 จุด หรือ +0.51% และดัชนี Nasdaq ปิด 7,257.87 จุด +77.31 จุด หรือ +1.08%
  # นักลงทุนวิตกหลังทรัมป์กล่าวว่ารัฐบาลจะประกาศปรับขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กในอัตรา 25% และอลูมิเนียม 10% ในสัปดาห์นี้ แต่ทรัมป์ไม่ได้เปิดเผยรายชื่อประเทศที่จะถูกเรียกเก็บภาษี และระยะเวลาที่สหรัฐจะดำเนินการเก็บภาษี
  # ราคาหุ้นบริษัทที่ต้องใช้เหล็กและอลูมิเนียมในสหรัฐร่วงลง เช่น GM, โบอิ้ง ทั้งนี้อุตสาหกรรมรถยนต์ เครื่องบิน และน้ำมันเป็นอุตสาหกรรมที่ใช้เหล็กและอลูมิเนียมมาก
  # ดัชนีตลาดหุ้นยุโรปปิดร่วงกว่า 2% และดัชนีตลาดหุ้นลอนดอนปิด -1.47% เพราะวิตกสหรัฐจะขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียมในสัปดาห์นี้
• ภาวะตลาดน้ำมัน : ราคารีบาวด์
  # สัญญาน้ำมันดิบ WTI ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 26 เซนต์ หรือ 0.4% ปิดที่ 61.25 ดอลลาร์/บาร์เรล ด้าน BRENT ส่งมอบเดือนพ.ค. เพิ่มขึ้น 54 เซนต์ หรือ 0.9% ปิดที่ 64.37 ดอลลาร์/บาร์เรล เนื่องจากค่าเงิน US$ อ่อนลงและเบเกอร์ ฮิวจ์ รายงานว่าจำนวนแท่นขุดเจาะน้ำมันสหรัฐที่มีการใช้งานเพิ่มเพียง 1 แท่น สู่ระดับ 800 แท่นในสัปดาห์ก่อน
+ ภาวะตลาดทองคำ : ราคาพุ่งขึ้น 1.4%
  # สัญญาทองคำตลาด COMEX (Commodity Exchange) ส่งมอบเดือนเม.ย. เพิ่มขึ้น 18.2 ดอลลาร์ หรือ +1.39% ปิดที่ 1323.40 ดอลลาร์/ออนซ์
ปัจจัยในประเทศ & ข่าวเด่นบจ.
• ไทย : เงินเฟ้อเดือนก.พ.61 เท่ากับ 0.42% และเงินเฟ้อพื้นฐาน 0.63%
  # กระทรวงพาณิชย์เปิดเผยดัชนี CPI เดือนก.พ.61 ว่า +0.42%YoY (ต่ำกว่าที่ตลาดคาดไว้ที่ 0.7%YoY) และ -0.23%MoM เพราะราคาน้ำมันขายปลีกที่ต่ำลง และราคาอาหารสดลดลงต่อเนื่องตั้งแต่ 2Q60 เพราะปริมาณผลผลิตออกมามาก สำหรับ Core CPI เดือนก.พ. +0.63%YoY และ +0.07%MoM
  # กระทรวงพาณิชย์กล่าวว่า เงินเฟ้อทั่วไปที่เพิ่ม 0.56% ใน 2M60 นั้นมาจากการบริโภคที่เพิ่มขึ้น (ฝั่งดีมานด์) ขณะที่เงินเฟ้อฝั่งต้นทุนยังต่ำ ซึ่งเป็นผลจากความเชื่อมั่นผู้บริโภคดีขึ้น ผลจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากของรัฐบาล
  # กระทรวงพาณิชย์ยังคาดการณ์อัตราเงินเฟ้อปี 61 ที่ 0.7-1.7% ภายใต้สมมุติฐานการขยายตัวเศรษฐกิจทั้งปี 61 อยู่ที่ 3.6-4.6% ราคาน้ำมันดิบดูไบเฉลี่ย 55-65 ดอลลาร์/บาร์เรล และค่าเงินบาท 32-34 บาท/ดอลลาร์
  # คาดว่าทางการไทยจะคงอัตราดอกเบี้ยนโยบายไว้ที่ 1.5% แม้ว่าเฟดมีแนวโน้มปรับขึ้นดอกเบี้ย 0.25% ในการประชุม 14-15 มี.ค.นี้ก็ตาม (ล่าสุดโอกาสในการปรับขึ้นดอกเบี้ยของเฟดรอบนี้อยู่ที่ 83.1%)
นักวิเคราะห์ : อาภาภรณ์ แสวงพรรค – [email protected]
Investment Digest
สหรัฐฯกีดกันการนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม
  • ประธานาธิบดี ทรัมป์ ประกาศนโยบายกีดกันการค้า เพื่อปกป้องอุตสาหกรรมในประเทศ ล่าสุดคือ ขึ้นภาษีนำเข้าเหล็กและอลูมิเนียม ตามที่เคยหาเสียงไว้ ยังผลให้นานาประเทศกังวลถึงสงครามทางการค้าที่มีความเป็นไปได้ว่าจะรุนแรงขึ้น ผลกระทบที่ตามมาเร็วคือ ตลาดหุ้นดาวโจนส์ปรับตัวลง เริ่มมีปฏิกิริยาต่อต้าน เช่น อียู จะตอบโต้สินค้าแบรนด์เนม สหรัฐ เช่น สินค้าแบรนด์เนมที่ได้รับความนิยมสูง และจะมีการไปฟ้องร้อง WTO ว่าจะผิดกฎหรือไม่ ดังนั้นสิ่งที่ถ่วงอยู่คือ สหรัฐฯก็ต้องอาศัยการส่งออกไปทั่วโลก จึงทำนโยบายนี้ไม่ได้เต็มที่นัก
  • ผลกระทบ: ไทยไม่ได้เป็นผู้ส่งออกเหล็กหรืออลูมิเนียมรายใหญ่ของโลก 3 ลำดับแรกคือ 1) จีน 2) ออสเตรเลีย และ 3) บราซิล แต่ก็ยังต้องติดตามเรื่องนี้อย่างใกล้ชิด ว่าจะมีสินค้าอื่นๆที่สหรัฐฯจะประกาศตามมาหรือไม่ ยิ่งไทยต้องพึ่งพิงภาคส่งออกในการเติบโตของ GDP เป็นตัวหลัก โดยเฉพาะสินค้าที่ส่งออกไปขายในราคาที่ต่ำ จนอาจถูกกล่าวหาว่าเข้าไปทุ่มตลาดหรือไม่
  • ในระยะสั้นหลักทรัพย์กลุ่มเหล็กในไทยอาจมีจิตวิทยาทางลบว่า ราคาเหล็กจะต่ำลง เพราะเมื่อผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่เช่นจีน ส่งออกไปสหรัฐฯไม่ได้ก็จะไปทุ่มตลาดอื่นๆ โดยเฉพาะเอเชีย และหลักทรัพย์ผู้ใช้เหล็กจะได้รับประโยชน์ เช่น รับเหมาก่อสร้าง อสังหาริมทรัพย์ แต่ในความเป็นจริง เหล็กหลายประเภทได้มีการเก็บภาษีการทุ่มตลาด (antidumping) อยู่แล้ว ซึ่งที่ผ่านมาก็มีการเข้ามาทุ่มตลาดนานแล้ว จึงไม่ได้กระทบมากอีกทั้งกระแสความกังวลเรื่องการกีดกันการค้า อาจเป็นปัจจัยลบแค่เพียงชั่วคราวที่มากระทบภาวะตลาดฯ (SET) ที่ผ่านมาเป็นความกังวลที่มากเกินไป ซึ่งก็เคยเกิดกรณีเช่นนี้มาบ่อยครั้ง
นักวิเคราะห์ : สมบัติ เอกวรรณพัฒนา : [email protected]
OO6085

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!