- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 02 March 2018 17:16
- Hits: 2476
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ปรับฐาน จากราคาน้ำมันที่อ่อนตัว สวนทาง Dollar Index แข็งค่า กดดันสินทรัพย์เสี่ยง และการรายงานกำไรตลาดทั้งปี 2560 ต่ำกว่าคาด 3% อาจต้องปรับลดกำไรรายกลุ่มลง กลยุทธ์ยังแนะนำให้ขายหุ้นที่ราคาสูงเกิน FV/upside จำกัด (PTT, AOT, EA, HMPRO, CPALL, JAS, AEONTS, TOP) แต่ให้สะสมหุ้นที่มี upside (WHA, BJC, BPP, PTTEP, AH, UNIQ, CPF, TU) Top picks เลือกหุ้น Laggard UNIQ(FV@B24) และ AH(FV@B43) ซึ่งปรับเพิ่ม FV จากเดิม 16% สะท้อนกำไรบริษัทร่วมดีกว่าคาด
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. หุ้นกลุ่มพลังงานกดดันตลาดปิดลบ
วันพุธที่ผ่านมาดัชนีแกว่งสลับบวกลบตลอดวันและปิดตลาดที่ 1830.13 จุด ลดลงเล็กน้อย 0.26 จุด หรือ 0.01% มูลค่าการซื้อขายกว่า 7.69 หมื่นล้านบาท แรงกดดันหลักๆ มาจากการย่อตัวของหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงานหลังจากก่อนหน้านี้ปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วจึงเห็นแรงขายทำกำไรกดดันราคาหุ้นปรับตัวลดลง ทั้ง PTT, PTTEP และ IVL ลดลง 1.05%, 1.28% และ 0.5% ตามลำดับ สวนทางกับกลุ่มโรงกลั่น IRPC และ TOP เพิ่มขึ้น 1.24% และ 1.5% ตามลำดับ
ส่วนกลุ่มที่ปรับขึ้นคือ กลุ่มค้าปลีก BJC ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 5.78% ตามด้วย CPALL เพิ่มขึ้น 0.90% COM7 เพิ่มขึ้น 3.21% และ BAEUTY เพิ่มขึ้นช่วงท้ายตลาด 2.40% สำหรับหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำโดย BAY เพิ่มขึ้น 2.29%, SCB เพิ่มขึ้น 0.34% และ BBL เพิ่มขึ้น 0.5% กลุ่ม ICT ทั้ง THCOM และ ADVANC เพิ่มขึ้น 2.88% และ 1.02% ตามลำดับ
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ปรับฐาน จากราคาน้ำมันที่อ่อนตัว สวนทาง Dollar Index แข็งค่า กดดันสินทรัพย์เสี่ยง และการรายงานกำไรตลาดทั้งปี 2560 ต่ำกว่าคาด 3% อาจต้องปรับลดกำไรรายกลุ่มลง กลยุทธ์ยังแนะนำให้ขายหุ้นที่ราคาสูงเกิน FV/upside จำกัด (PTT, AOT, EA, HMPRO, CPALL, JAS, AEONTS, TOP) แต่ให้สะสมหุ้นที่มี upside (WHA, BJC, BPP, PTTEP, AH, UNIQ, CPF, TU) Top picks เลือกหุ้น Laggard UNIQ(FV@B24) และ AH(FV@B43) ซึ่งปรับเพิ่ม FV จากเดิม 16% สะท้อนกำไรบริษัทร่วมดีกว่าคาด
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. หุ้นกลุ่มพลังงานกดดันตลาดปิดลบ
วันพุธที่ผ่านมาดัชนีแกว่งสลับบวกลบตลอดวันและปิดตลาดที่ 1830.13 จุด ลดลงเล็กน้อย 0.26 จุด หรือ 0.01% มูลค่าการซื้อขายกว่า 7.69 หมื่นล้านบาท แรงกดดันหลักๆ มาจากการย่อตัวของหุ้นขนาดใหญ่ในกลุ่มพลังงานหลังจากก่อนหน้านี้ปรับตัวขึ้นมาอย่างรวดเร็วจึงเห็นแรงขายทำกำไรกดดันราคาหุ้นปรับตัวลดลง ทั้ง PTT, PTTEP และ IVL ลดลง 1.05%, 1.28% และ 0.5% ตามลำดับ สวนทางกับกลุ่มโรงกลั่น IRPC และ TOP เพิ่มขึ้น 1.24% และ 1.5% ตามลำดับ
ส่วนกลุ่มที่ปรับขึ้นคือ กลุ่มค้าปลีก BJC ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 5.78% ตามด้วย CPALL เพิ่มขึ้น 0.90% COM7 เพิ่มขึ้น 3.21% และ BAEUTY เพิ่มขึ้นช่วงท้ายตลาด 2.40% สำหรับหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง นำโดย BAY เพิ่มขึ้น 2.29%, SCB เพิ่มขึ้น 0.34% และ BBL เพิ่มขึ้น 0.5% กลุ่ม ICT ทั้ง THCOM และ ADVANC เพิ่มขึ้น 2.88% และ 1.02% ตามลำดับ
ดอกเบี้ยขาขึ้นและการกีดกันการค้าของสหรัฐ กดดันเอเชียเพิ่มขึ้น
ตลาดหุ้นโลกยังตอบสนองด้านบวกต่อ ถ้อยแถลงของ นาย Jerome Powell ประธาน Fed คนใหม่ ที่นำไปสู่การคาดการณ์เรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ที่อาจสูงเป็น 4 ครั้งจากเดิม 3 ครั้งในปี 2561 จาก ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงานคือ อัตราการว่างงานทรงตัวที่ 4.1% (ต่ำสุดในรอบ 18 ปี) และเงินเฟ้อล่าสุด 2.1% เกินกว่าเป้าหมายที่ 2% นั่นหมายความว่าในการประชุม Fed ในปีนี้เหลืออีก 7 ครั้ง น่าจะมีขึ้นดอกเบี้ย 3-4 ครั้ง คือครั้งแรก มี.ค. นี้ และที่เหลือน่าจะขึ้นแบบเว้น สลับ คือ ครั้งเว้นครั้ง คือ รอบ มี.ค. มิ.ย. ก.ย.และ ธ.ค. ซึ่งอาจหนุนดอกเบี้ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25%-2.50% ซึ่งเป็นแรงกดดันให้ Fund flow ไหลออกไปสู่ตลาดตราสารหนี้แทน
ขณะที่นโยบาย American First ของประธานาธิบดีทรัมป์ หลังจากปลาย ธ.ค.25602 ผ่านกฎหมายปฎิรูปภาษี คือ ลดภาษีนิติบุคคลจาก 35% เหลือ 21% ไปแล้ว และมีผลตั้งแต่ ม.ค.2561 และที่สำคัญคือเริ่มกีดกันการค้ากับประเทศที่เกินดุลการค้าสหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะกระทบและเป็นอุปสรรคต่อภาคส่งออกของประเทศเอเซีย รวมถึงไทย เริ่มจากการไม่ต่ออายุ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนา 112 แห่ง ซึ่งรวมถึงไทย (กระทบสินค้าส่งออกของไทยกว่า 3,400 รายการ) และการขึ้นหรือเตรียมภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการ (Safe Guard) ทั้งหมด 6 สินค้า โดยขึ้นภาษีมีผลบังคับใช้แล้ว 2 สินค้าคือ เครื่องซักผ้า คือ ปรับขึ้น 20% ในปีแรก และลดปีละ 2% จนถึงปีที่ 3 เก็บ 16% จากเดิมเสีย 1.4% และแผงโซลาร์เซลล์ ปรับขึ้น 30% ในปีแรก และลดปีละ 5% จนถึงปีที่ 4 เก็บ 15% จากเดิม ไม่เสีย ตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. 2561 แต่คาดว่าจะกระทบกับไทยในวงจำกัด เนื่องจากยอดส่งออกเครื่องซักผ้า และ แผงโซลาร์เซลล์ หรือคิดราว 0.21%, 0.2% ของยอดส่งออกสินค้ารวม ตามลำดับ ดังที่เคยนำเสนอใน Maket talk วันที่ 24 ม.ค.
และสัปดาห์หน้า เตรียมพิจารณาขึ้นภาษี 2 สินค้า คือ เหล็ก , อลูมิเนียม กล่าวคือ เหล็กจะขึ้นภาษีราว 24-53% (จากเดิม 0-10%) หรือลดโควต้านำเข้าเหลือ 63% ขณะที่อลูมิเนียมจะขึ้นภาษีราว 7.7-23.6% (เดิม 0-6.5%) หรือลดโควต้านำเข้าเหลือ 86.7% ซึ่งคาดว่ากระทบไทยน้อยเพราะ ไทยมีสัดส่วนส่งออกเหล็กและอลูมิเนียมเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับยอดส่งออกรวม คือราว 0.06% และ 0.1% ตามลำดับ ขณะที่อีก 2 สินค้าที่อยุในช่วงพิจารณา คือ ยางรัด และน้ำมันไบโอดีเซล คาดจะพิจารณาภายในเดือน เม.ย. โดยติดตามอ่านรายละเอียดใน Economic Outlook ที่จะออกในวันนี้
ตลาดหุ้นโลกยังตอบสนองด้านบวกต่อ ถ้อยแถลงของ นาย Jerome Powell ประธาน Fed คนใหม่ ที่นำไปสู่การคาดการณ์เรื่องอัตราดอกเบี้ยที่ที่อาจสูงเป็น 4 ครั้งจากเดิม 3 ครั้งในปี 2561 จาก ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจยังแข็งแกร่ง โดยเฉพาะตลาดแรงงานคือ อัตราการว่างงานทรงตัวที่ 4.1% (ต่ำสุดในรอบ 18 ปี) และเงินเฟ้อล่าสุด 2.1% เกินกว่าเป้าหมายที่ 2% นั่นหมายความว่าในการประชุม Fed ในปีนี้เหลืออีก 7 ครั้ง น่าจะมีขึ้นดอกเบี้ย 3-4 ครั้ง คือครั้งแรก มี.ค. นี้ และที่เหลือน่าจะขึ้นแบบเว้น สลับ คือ ครั้งเว้นครั้ง คือ รอบ มี.ค. มิ.ย. ก.ย.และ ธ.ค. ซึ่งอาจหนุนดอกเบี้ยสิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25%-2.50% ซึ่งเป็นแรงกดดันให้ Fund flow ไหลออกไปสู่ตลาดตราสารหนี้แทน
ขณะที่นโยบาย American First ของประธานาธิบดีทรัมป์ หลังจากปลาย ธ.ค.25602 ผ่านกฎหมายปฎิรูปภาษี คือ ลดภาษีนิติบุคคลจาก 35% เหลือ 21% ไปแล้ว และมีผลตั้งแต่ ม.ค.2561 และที่สำคัญคือเริ่มกีดกันการค้ากับประเทศที่เกินดุลการค้าสหรัฐ ซึ่งคาดว่าจะกระทบและเป็นอุปสรรคต่อภาคส่งออกของประเทศเอเซีย รวมถึงไทย เริ่มจากการไม่ต่ออายุ GSP แก่ประเทศกำลังพัฒนา 112 แห่ง ซึ่งรวมถึงไทย (กระทบสินค้าส่งออกของไทยกว่า 3,400 รายการ) และการขึ้นหรือเตรียมภาษีนำเข้าสินค้าบางรายการ (Safe Guard) ทั้งหมด 6 สินค้า โดยขึ้นภาษีมีผลบังคับใช้แล้ว 2 สินค้าคือ เครื่องซักผ้า คือ ปรับขึ้น 20% ในปีแรก และลดปีละ 2% จนถึงปีที่ 3 เก็บ 16% จากเดิมเสีย 1.4% และแผงโซลาร์เซลล์ ปรับขึ้น 30% ในปีแรก และลดปีละ 5% จนถึงปีที่ 4 เก็บ 15% จากเดิม ไม่เสีย ตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค. 2561 แต่คาดว่าจะกระทบกับไทยในวงจำกัด เนื่องจากยอดส่งออกเครื่องซักผ้า และ แผงโซลาร์เซลล์ หรือคิดราว 0.21%, 0.2% ของยอดส่งออกสินค้ารวม ตามลำดับ ดังที่เคยนำเสนอใน Maket talk วันที่ 24 ม.ค.
และสัปดาห์หน้า เตรียมพิจารณาขึ้นภาษี 2 สินค้า คือ เหล็ก , อลูมิเนียม กล่าวคือ เหล็กจะขึ้นภาษีราว 24-53% (จากเดิม 0-10%) หรือลดโควต้านำเข้าเหลือ 63% ขณะที่อลูมิเนียมจะขึ้นภาษีราว 7.7-23.6% (เดิม 0-6.5%) หรือลดโควต้านำเข้าเหลือ 86.7% ซึ่งคาดว่ากระทบไทยน้อยเพราะ ไทยมีสัดส่วนส่งออกเหล็กและอลูมิเนียมเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับยอดส่งออกรวม คือราว 0.06% และ 0.1% ตามลำดับ ขณะที่อีก 2 สินค้าที่อยุในช่วงพิจารณา คือ ยางรัด และน้ำมันไบโอดีเซล คาดจะพิจารณาภายในเดือน เม.ย. โดยติดตามอ่านรายละเอียดใน Economic Outlook ที่จะออกในวันนี้
หุ้นน้ำมันอ่อนตัวตามสต็อกน้ำมันที่เพิ่ม
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุด กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งราว 3.0 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรล เป็นผลจากอยู่ในช่วงฤดูกาลการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ขณะที่ความกังวลจากปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ หลังสหรัฐรายงานจำนวนหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบยังเพิ่มขึ้น เป็นสัปดาห์ที่ 5 (ที่ 799 หลุม ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี) ทำให้สหรัฐจะเพิ่มการผลิต 10.23 ล้านบาร์เรลต่อวัน (สูงสุดตั้งแต่ปี 2513) อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้น้ำมันที่แข็งแกร่ง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ ความพยายามควบคุมปริมาณผลิตน้ำมัน ทางฝั่ง OPEC และ Non OPEC ต่อเนื่องจนถึง ธ.ค. ปีนี้ น่าจะลดปัญหา Oversupply ลงได้
ดังนั้นแม้ราคาน้ำมันจะปรับฐานช่วงสั้น ๆ แต่คาดว่าราคาน้ำดูไบน่าจะยังคงยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และแกว่งตัว 60-65 เหรียญฯ ได้ จึงเป็นโอกาสสะสมหุ้นน้ำมัน PTTEP(FV@B137) เติบโตต่อเนื่องในปี 2561 ขณะที่ราคาหุ้นยังมี Upside 18.6%
ทั้งนี้ยกเว้น PTT ราคาหุ้นขึ้นมารวดเร็วเกินมูลค่าพื้นฐาน ซึ่งเมื่อวันพุธ์ที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ ASPS เพิ่งปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น PTT อีก 20 บาท เป็น 540 บาท สะท้อนการปรับขึ้นตามมูลค่าบริษัทย่อย IRPC ที่ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มอีก 9.54% เป็น 48% ตามมาด้วยมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนโครงการบงกช ของ PTTEP (PTT ถือ 65.29%) และ โรงงานโอเลฟินส์ใหม่ของ PTTGC (PTT 48.89%) จึงได้ปรับลดคำแนะนำจากซื้อเป็น switch มาซื้อ PTTEP เมื่อราคาอ่อนตัว (ติดตามอ่านรายละเอียดใน Analyst meeting เมื่อวันพุธที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา) อย่างไรก็ตามระยะสั้น เชื่อว่าราคาหุ้น PTT มีโอกาสแกว่งตัวขึ้นลงในกรอบ 540-580 บาท จาก ประเด็นการแตกพาร์ ซึ่งคาดว่าจะมีผลในเดือน พ.ค. ที่จะถึงนี้ นักลงทุนระยะสั้นอาจใช้จังหวะราคาอ่อนตัวในการลงทุนในกรอบราคาดังกล่าว
สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุด กลับมาเพิ่มขึ้นอีกครั้งราว 3.0 ล้านบาร์เรล มากกว่าที่ตลาดคาดเพิ่มขึ้น 2.4 ล้านบาร์เรล เป็นผลจากอยู่ในช่วงฤดูกาลการปิดซ่อมบำรุงโรงกลั่น ขณะที่ความกังวลจากปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ หลังสหรัฐรายงานจำนวนหลุมขุดเจาะน้ำมันดิบยังเพิ่มขึ้น เป็นสัปดาห์ที่ 5 (ที่ 799 หลุม ระดับสูงสุดในรอบ 3 ปี) ทำให้สหรัฐจะเพิ่มการผลิต 10.23 ล้านบาร์เรลต่อวัน (สูงสุดตั้งแต่ปี 2513) อย่างไรก็ตาม ความต้องการใช้น้ำมันที่แข็งแกร่ง ตามการฟื้นตัวของเศรษฐกิจโลก และ ความพยายามควบคุมปริมาณผลิตน้ำมัน ทางฝั่ง OPEC และ Non OPEC ต่อเนื่องจนถึง ธ.ค. ปีนี้ น่าจะลดปัญหา Oversupply ลงได้
ดังนั้นแม้ราคาน้ำมันจะปรับฐานช่วงสั้น ๆ แต่คาดว่าราคาน้ำดูไบน่าจะยังคงยืนเหนือ 60 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล และแกว่งตัว 60-65 เหรียญฯ ได้ จึงเป็นโอกาสสะสมหุ้นน้ำมัน PTTEP(FV@B137) เติบโตต่อเนื่องในปี 2561 ขณะที่ราคาหุ้นยังมี Upside 18.6%
ทั้งนี้ยกเว้น PTT ราคาหุ้นขึ้นมารวดเร็วเกินมูลค่าพื้นฐาน ซึ่งเมื่อวันพุธ์ที่ผ่านมา นักวิเคราะห์ ASPS เพิ่งปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น PTT อีก 20 บาท เป็น 540 บาท สะท้อนการปรับขึ้นตามมูลค่าบริษัทย่อย IRPC ที่ได้เข้าซื้อหุ้นเพิ่มอีก 9.54% เป็น 48% ตามมาด้วยมูลค่าเพิ่มจากการลงทุนโครงการบงกช ของ PTTEP (PTT ถือ 65.29%) และ โรงงานโอเลฟินส์ใหม่ของ PTTGC (PTT 48.89%) จึงได้ปรับลดคำแนะนำจากซื้อเป็น switch มาซื้อ PTTEP เมื่อราคาอ่อนตัว (ติดตามอ่านรายละเอียดใน Analyst meeting เมื่อวันพุธที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา) อย่างไรก็ตามระยะสั้น เชื่อว่าราคาหุ้น PTT มีโอกาสแกว่งตัวขึ้นลงในกรอบ 540-580 บาท จาก ประเด็นการแตกพาร์ ซึ่งคาดว่าจะมีผลในเดือน พ.ค. ที่จะถึงนี้ นักลงทุนระยะสั้นอาจใช้จังหวะราคาอ่อนตัวในการลงทุนในกรอบราคาดังกล่าว
ตามสถิติในอดีตคาดแรงขายต่างชาติลดลงในเดือน มี.ค.
สรุป Fund Flow เดือน ก.พ. 61 พบว่า ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคกว่า 8.44 พันล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวัน 3.48 พันล้านเหรียญ ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 2.60 พันล้านเหรียญ, อินโดนีเซีย 760 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 296 ล้านเหรียญ และไทยที่วันสุดท้ายของเดือน ก.พ. ยังถูกขายอีก 3.94 พันล้านบาท กดดันให้ตลอดทั้งเดือน ก.พ. มียอดขายสุทธิรว 4.14 หมื่นล้านบาท หรือ 1.31 พันล้านเหรียญ
ส่วนวันแรกของเดือน มี.ค. แม้ตลาดหุ้นไทยและเกาหลีใต้หยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติยังขายสุทธิทั้ง 3 ประเทศ เริ่มจากไต้หวัน 93 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 49 ล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ
แม้แรงขายหุ้นในภูมิภาคจากต่างชาติจะมีมาต่อเนื่อง และยังถูกกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่ย่อตัวลง รวมทั้งประเด็น Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปีนี้ ทำให้ดัชนีมีโอกาสผันผวนสูง อย่างไรก็ตามหากกลับมาพิจารณาเฉพาะตลาดหุ้นไทย เชื่อว่าแรงขายหุ้นจากต่างชาติเริ่มมีจำกัด สังเกตได้จากยอดซื้อสะสมสุทธิตลาดหุ้นไทยของต่างชาติ (ปรับตามมูลค่าตลาด) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พบว่าเหลือเพียง 3.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับยอดซื้อสุทธิสูงสุดที่ 4.69 แสนล้านบาท (ณ วันที่ 15 มี.ค. 56)
ยิ่งไปกว่านั้นหากพิจารณาจากสถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ต่างชาติมักจะซื้อสุทธิในเดือน มี.ค. สูงสุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆโดยมีมูลค่าซื้อสุทธิเฉลี่ยกว่า 1.43 หมื่นล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิสูงถึง 9 ใน 10 ปี หนุนให้ SET Index ในเดือนนี้มักปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่า 2.16% และมีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 70%
ช่วงสุดท้ายกำไรงวด 4Q60 ต่ำกว่าคาด CK, TRUE
สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่ประกาศงบล่าสุด ยังคงสร้างความผิดหวัง คือ CK กำไรสุทธิงวด 4Q60 น้อยกว่าคาด อยู่ที่ 2.15 แสนล้านบาท ลดลง 65.7%qoq และ 37.30%yoy ทั้งปี 2560 กำไรสุทธิ 1,810.01 ล้านบาท ลดลง 9.61% เพราะไม่มีรายการพิเศษเช่นปี 2559 จากรับรู้งานก่อสร้างเพิ่มเติมของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี รวมถึงบริษัทมีค่าใช้จ่ายในบริหารเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนังงาน ค่าเสื่อมราคา และการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญกิจการร่วมค้า แต่ในปี 2561 เราคาดว่างานประมูลภาครัฐจะเริ่มมีการประมูล ตั้งแต่ 1Q61 เป็นต้นไป นับรวมมูลค่าในปี 2561 คาดไม่ต่ำกว่า 8.8 แสนล้านบาท เป็นแหล่งงานชั้นดีที่แก่ CK ได้อีกหลายปี นอกเหนือจากนี้ ในส่วนของบริษัทลูกทุกแห่งทั้ง BEM,CKP และ TTW ต่างมี Outlook ที่ดี
TRUE พลิกมีกำไรใน 4Q60 ที่ 5.3 พันล้านบาท เพราะกำไรพิเศษ 6.4 พันล้านบาท จากการขายทรัพย์สินให้กับ DIF หากนับเฉพาะการดำเนินงานปกติยังขาดทุนอยู่ที่ 1.0 พันล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 264%qoq ซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายขายบริหารเพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้ในส่วนต่างๆ เติบโตในอัตราที่ชะลอตัว ในปี 2561 คาดการณ์ขาดทุนปกติปี 2561 ที่ 6.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% แต่หากรวมกำไรพิเศษที่จะได้รับจากการขายทรัพย์สินให้กับ DIF ครั้งที่ 2 ที่ประเมินไว้ราว 2.81 หมื่นล้านบาท จะหนุนกำไรสุทธิปี 2561 อยู่ที่ 2.19 หมื่นล้านบาท มูลค่าพื้นฐานอยูที่ 6.4 บาท ประกาศจ่ายปันผลที่ 0.031 บาท (XD 14 มี.ค.)
และ BGRIM กำไรสุทธิงวด 4Q60 เท่ากับ 458.0 ล้านบาท ลดลง 19.5%qoq ต่ำกว่าคาด เป็นเหตุจากค่าใช้จ่ายในการบริหารที่เพิ่มขึ้น ทำให้กำไรสุทธิทั้งปี 2560 เท่ากับ 2.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.1%yoy อย่างได้ก็ดี BGRIM ยังสามารถขยายกำลังการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนการเติบโตของกำไรที่โดดเด่น คาดกำไรปี 2561 จะเติบโต 23.0%yoy หนุนจากการรับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมใหม่อีก (SPP) 3 โรง (ABPR3-5) และโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใหม่อีก 1 โครงการ (Nam Che) Fair Value อยู่ที่ 34.1 บาท ประกาศจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น (XD : 20 มี.ค.2561)
สรุป Fund Flow เดือน ก.พ. 61 พบว่า ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาคกว่า 8.44 พันล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวัน 3.48 พันล้านเหรียญ ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 2.60 พันล้านเหรียญ, อินโดนีเซีย 760 ล้านเหรียญ, ฟิลิปปินส์ 296 ล้านเหรียญ และไทยที่วันสุดท้ายของเดือน ก.พ. ยังถูกขายอีก 3.94 พันล้านบาท กดดันให้ตลอดทั้งเดือน ก.พ. มียอดขายสุทธิรว 4.14 หมื่นล้านบาท หรือ 1.31 พันล้านเหรียญ
ส่วนวันแรกของเดือน มี.ค. แม้ตลาดหุ้นไทยและเกาหลีใต้หยุดทำการ แต่ตลาดหุ้นอื่นๆยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติยังขายสุทธิทั้ง 3 ประเทศ เริ่มจากไต้หวัน 93 ล้านเหรียญ ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 49 ล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ
แม้แรงขายหุ้นในภูมิภาคจากต่างชาติจะมีมาต่อเนื่อง และยังถูกกดดันจากราคาน้ำมันดิบที่ย่อตัวลง รวมทั้งประเด็น Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งในปีนี้ ทำให้ดัชนีมีโอกาสผันผวนสูง อย่างไรก็ตามหากกลับมาพิจารณาเฉพาะตลาดหุ้นไทย เชื่อว่าแรงขายหุ้นจากต่างชาติเริ่มมีจำกัด สังเกตได้จากยอดซื้อสะสมสุทธิตลาดหุ้นไทยของต่างชาติ (ปรับตามมูลค่าตลาด) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พบว่าเหลือเพียง 3.2 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งเป็นระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับยอดซื้อสุทธิสูงสุดที่ 4.69 แสนล้านบาท (ณ วันที่ 15 มี.ค. 56)
ยิ่งไปกว่านั้นหากพิจารณาจากสถิติในอดีตย้อนหลัง 10 ปี พบว่า ต่างชาติมักจะซื้อสุทธิในเดือน มี.ค. สูงสุดเมื่อเทียบกับเดือนอื่นๆโดยมีมูลค่าซื้อสุทธิเฉลี่ยกว่า 1.43 หมื่นล้านบาท และเป็นการซื้อสุทธิสูงถึง 9 ใน 10 ปี หนุนให้ SET Index ในเดือนนี้มักปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยกว่า 2.16% และมีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 70%
ช่วงสุดท้ายกำไรงวด 4Q60 ต่ำกว่าคาด CK, TRUE
สำหรับบริษัทจดทะเบียนที่ประกาศงบล่าสุด ยังคงสร้างความผิดหวัง คือ CK กำไรสุทธิงวด 4Q60 น้อยกว่าคาด อยู่ที่ 2.15 แสนล้านบาท ลดลง 65.7%qoq และ 37.30%yoy ทั้งปี 2560 กำไรสุทธิ 1,810.01 ล้านบาท ลดลง 9.61% เพราะไม่มีรายการพิเศษเช่นปี 2559 จากรับรู้งานก่อสร้างเพิ่มเติมของโครงการไฟฟ้าพลังน้ำ ไซยะบุรี รวมถึงบริษัทมีค่าใช้จ่ายในบริหารเพิ่มขึ้น ซึ่งส่วนใหญ่มาจากค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับพนังงาน ค่าเสื่อมราคา และการตั้งสำรองหนี้สงสัยจะสูญกิจการร่วมค้า แต่ในปี 2561 เราคาดว่างานประมูลภาครัฐจะเริ่มมีการประมูล ตั้งแต่ 1Q61 เป็นต้นไป นับรวมมูลค่าในปี 2561 คาดไม่ต่ำกว่า 8.8 แสนล้านบาท เป็นแหล่งงานชั้นดีที่แก่ CK ได้อีกหลายปี นอกเหนือจากนี้ ในส่วนของบริษัทลูกทุกแห่งทั้ง BEM,CKP และ TTW ต่างมี Outlook ที่ดี
TRUE พลิกมีกำไรใน 4Q60 ที่ 5.3 พันล้านบาท เพราะกำไรพิเศษ 6.4 พันล้านบาท จากการขายทรัพย์สินให้กับ DIF หากนับเฉพาะการดำเนินงานปกติยังขาดทุนอยู่ที่ 1.0 พันล้านบาท ขาดทุนเพิ่มขึ้น 264%qoq ซึ่งเกิดจากค่าใช้จ่ายขายบริหารเพิ่มขึ้น ขณะที่รายได้ในส่วนต่างๆ เติบโตในอัตราที่ชะลอตัว ในปี 2561 คาดการณ์ขาดทุนปกติปี 2561 ที่ 6.9 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 33% แต่หากรวมกำไรพิเศษที่จะได้รับจากการขายทรัพย์สินให้กับ DIF ครั้งที่ 2 ที่ประเมินไว้ราว 2.81 หมื่นล้านบาท จะหนุนกำไรสุทธิปี 2561 อยู่ที่ 2.19 หมื่นล้านบาท มูลค่าพื้นฐานอยูที่ 6.4 บาท ประกาศจ่ายปันผลที่ 0.031 บาท (XD 14 มี.ค.)
และ BGRIM กำไรสุทธิงวด 4Q60 เท่ากับ 458.0 ล้านบาท ลดลง 19.5%qoq ต่ำกว่าคาด เป็นเหตุจากค่าใช้จ่ายในการบริหารที่เพิ่มขึ้น ทำให้กำไรสุทธิทั้งปี 2560 เท่ากับ 2.1 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 54.1%yoy อย่างได้ก็ดี BGRIM ยังสามารถขยายกำลังการผลิตได้อย่างต่อเนื่อง สะท้อนการเติบโตของกำไรที่โดดเด่น คาดกำไรปี 2561 จะเติบโต 23.0%yoy หนุนจากการรับรู้รายได้โรงไฟฟ้าพลังงานความร้อนร่วมใหม่อีก (SPP) 3 โรง (ABPR3-5) และโรงไฟฟ้าพลังงานน้ำใหม่อีก 1 โครงการ (Nam Che) Fair Value อยู่ที่ 34.1 บาท ประกาศจ่ายปันผล 0.30 บาทต่อหุ้น (XD : 20 มี.ค.2561)
เบื้องต้นกำไรปี 2560 ต่ำกว่าประมาณการ 3%
การรายงานงบฯ 2560 เสร็จสิ้นแล้ว จากข้อมูลที่ฝ่ายวิจัยรวบรวมถึงสิ้นวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา มีบริษัทจดทะเบียนใน SET รายงานงบฯ แล้วกว่า 531 บริษัท คิดเป็น 98% ของ market cap ทั้งตลาด (ที่เหลือเป็นบริษัทที่รอส่งงบฯ เช้านี้) ทำกำไรสุทธิ 4Q60 รวมกันได้ 2.51 แสนล้านบาท ดีกว่า 4Q59 และ 3Q60 ที่ทำกำไรสุทธิได้ 2.03 และ 2.16 แสนล้านบาท ตามลำดับ หรือเพิ่มขึ้น 23.7%yoy และ 16.3%qoq ขณะที่กำไรสุทธิปี 2560 กำไรสุทธิอยู่ที่ 9.46 แสนล้านบาท เทียบกับ 2559 ที่ 8.71 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6%yoy
สำหรับ real sector งวด 4Q60 กำไรสุทธิรวม 1.97 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 4Q59 และ 3Q60 ที่ 1.42 และ 1.61 แสนล้านบาทตามลำดับ หรือเพิ่มขึ้น 38.8%yoy และ 22.5%qoq และทั้งปี 2560 กำไรสุทธิ real sector อยู่ที่ 7.19 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2559 ที่ 6.30 แสนล้านบาท หรือ 14.3%yoy
โดยภาพรวมปี 2560 กำไรสุทธิตลาดฯ ที่ 9.46 แสนล้านบาท ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ก่อนหน้าที่ 9.75 แสนล้านบาท หรือ 3% โดยการต่ำกว่าคาดหลักๆ มาจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มอาหาร กลุ่มอสังหาฯ และกลุ่มขนส่ง ส่วนกลุ่มฯ ที่ดีกว่าคาด หลักๆ เป็นกลุ่มพลังงานและกลุ่มปิโตรเคมี
ขณะที่ปี 2561 กำไรสุทธิตลาดฯ ค่อนข้างใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ก่อนหน้าที่ราว 1.12 ล้านล้านบาท
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้กำไรสุทธิจะปี 2560 จะสูงกว่าปี 2559 ดังกล่าวข้างต้น แต่หากนับจำนวนบริษัทที่มีกำไรสุทธิปี 2560 เติบโต กลับน้อยกว่าปี 2559 ในทางกลับกัน มีจำนวนบริษัทกำไรสุทธิปี 2560 ชะลอตัวลง มากกว่าปี 2559
แสดงให้เห็นว่ากำไรที่เติบโตขึ้นในปี 2560 กระจุกตัวอยู่เพียงบางกลุ่มฯ ที่โดดเด่นสุด คือ กลุ่มพลังงาน กลุ่มปิโตรเคมี และกลุ่มขนส่ง ส่วนกลุ่มที่กำไรปี 2560 ชะลอตัวลง กลับกระจายในหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, วัสดุก่อสร้าง, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ICT, สื่อ-บันเทิง และ เหล็ก
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6036
การรายงานงบฯ 2560 เสร็จสิ้นแล้ว จากข้อมูลที่ฝ่ายวิจัยรวบรวมถึงสิ้นวันที่ 28 ก.พ. ที่ผ่านมา มีบริษัทจดทะเบียนใน SET รายงานงบฯ แล้วกว่า 531 บริษัท คิดเป็น 98% ของ market cap ทั้งตลาด (ที่เหลือเป็นบริษัทที่รอส่งงบฯ เช้านี้) ทำกำไรสุทธิ 4Q60 รวมกันได้ 2.51 แสนล้านบาท ดีกว่า 4Q59 และ 3Q60 ที่ทำกำไรสุทธิได้ 2.03 และ 2.16 แสนล้านบาท ตามลำดับ หรือเพิ่มขึ้น 23.7%yoy และ 16.3%qoq ขณะที่กำไรสุทธิปี 2560 กำไรสุทธิอยู่ที่ 9.46 แสนล้านบาท เทียบกับ 2559 ที่ 8.71 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6%yoy
สำหรับ real sector งวด 4Q60 กำไรสุทธิรวม 1.97 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 4Q59 และ 3Q60 ที่ 1.42 และ 1.61 แสนล้านบาทตามลำดับ หรือเพิ่มขึ้น 38.8%yoy และ 22.5%qoq และทั้งปี 2560 กำไรสุทธิ real sector อยู่ที่ 7.19 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2559 ที่ 6.30 แสนล้านบาท หรือ 14.3%yoy
โดยภาพรวมปี 2560 กำไรสุทธิตลาดฯ ที่ 9.46 แสนล้านบาท ต่ำกว่าที่ฝ่ายวิจัยประเมินไว้ก่อนหน้าที่ 9.75 แสนล้านบาท หรือ 3% โดยการต่ำกว่าคาดหลักๆ มาจากกลุ่มธนาคารพาณิชย์ กลุ่มอาหาร กลุ่มอสังหาฯ และกลุ่มขนส่ง ส่วนกลุ่มฯ ที่ดีกว่าคาด หลักๆ เป็นกลุ่มพลังงานและกลุ่มปิโตรเคมี
ขณะที่ปี 2561 กำไรสุทธิตลาดฯ ค่อนข้างใกล้เคียงกับที่ประเมินไว้ก่อนหน้าที่ราว 1.12 ล้านล้านบาท
เป็นที่น่าสังเกตว่า แม้กำไรสุทธิจะปี 2560 จะสูงกว่าปี 2559 ดังกล่าวข้างต้น แต่หากนับจำนวนบริษัทที่มีกำไรสุทธิปี 2560 เติบโต กลับน้อยกว่าปี 2559 ในทางกลับกัน มีจำนวนบริษัทกำไรสุทธิปี 2560 ชะลอตัวลง มากกว่าปี 2559
แสดงให้เห็นว่ากำไรที่เติบโตขึ้นในปี 2560 กระจุกตัวอยู่เพียงบางกลุ่มฯ ที่โดดเด่นสุด คือ กลุ่มพลังงาน กลุ่มปิโตรเคมี และกลุ่มขนส่ง ส่วนกลุ่มที่กำไรปี 2560 ชะลอตัวลง กลับกระจายในหลายกลุ่ม เช่น กลุ่มธนาคารพาณิชย์, วัสดุก่อสร้าง, ชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์, ICT, สื่อ-บันเทิง และ เหล็ก
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO6036