WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 

กลยุทธ์การลงทุน
  ดัชนีหุ้นไทยฟื้นตัวแรงด้วยหุ้นปิโตรเลี่ยม (PTT, PTTEP, BANPU) หลังราคาน้ำมันดูไบฟื้นตัวขึ้นใกล้  65 เหรียญฯ  หักล้างผลประกอบการงวด 4Q60 โดยรวมต่ำกว่าคาด ทำให้มีโอกาสปรับลด EPS ปี 2560 และ 2561  ขณะที่ Expected P/E ตลาดหุ้นไทยอยู่ที่ 16 เท่า  และอาจสูงขึ้นจากการปรับลด EPS ทำให้ดัชนีมีโอกาสผันผวนสูง กลยุทธ์ฯ ถือหุ้น 40% ของพอร์ต (WHA, BJC, BPP, PTTEP หุ้นปันผลสูง SIRI, INTUCH) Top picks ชอบ PTTEP(FV@B137) และ BPP([email protected]
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. กลุ่มพลังงานหนุน SET ปิดบวกกว่า 26 จุด
  วานนี้ดัชนีตลาดหุ้นไทย แกว่งตัวในแดนบวกตลอดทั้งวันก่อนปิดตลาดที่ 1834.18 จุด เพิ่มขึ้นแรงกว่า 26.12 จุด หรือ 1.44% มูลค่าการซื้อขายกลับมาหนาแน่น 7.22 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่หนุนตลาดมากที่สุดคือ กลุ่มพลังงาน นำโดย BANPU ขึ้นทำ New high ในรอบกว่า 2 ปีครึ่ง ปิดที่ 23.50 บาท เพิ่มขึ้นแรงกว่า 5.9%  เช่นเดียวกับ PTT ทำราคาปิด All time high อีกครั้งที่ 566 บาท เพิ่มขึ้นกว่า 5.20% PTTEP เพิ่มขึ้น 2.16%  TOP และ SPRC เพิ่มขึ้น 3.98% และ 2.91% และหุ้นโรงไฟฟ้า EGCO เพิ่มขึ้น 2.53% และ BPP เพิ่มขึ้น 3.83% ส่วนกลุ่มปิโตรฯ นำโดย  IVL เพิ่มขึ้น 3.79% และ PTTGC เพิ่มขึ้น 2.90% เช่นเดียวกับกลุ่มค้าปลีก MAKRO เพิ่มขึ้นแรงสุด 5.65% ตามด้วย BJC เพิ่มขึ้น 3.18% และ COM7 เพิ่มขึ้นแรงกว่า 4.37%
  ตรงข้ามกลุ่มโรงพยาบาลปรับตัวลดสวนตลาด ทั้ง LPH, CHG ลดลง 2.76%, 0.97% และตามด้วยหุ้นรายตัวที่ปรับลดลงแรงคือ MALEE ลดลง 10.53%, COL ลดลง 8.61% และ MCS ปรับตัวลดลงกว่า 6%  ผิดหวังหลังรายงานงบ 4Q60  ต่ำกว่าคาด 
  แนวโน้มตลาดวันนี้ หลังจากดัชนีขึ้นไปปิด gap ที่ 1823 จุดได้เป็นที่เรียบร้อย ถือเป็นสัญญาณที่ดีที่ดัชนีมีโอกาสเหวี่ยงขึ้นได้ต่อ ประเมินแนวรับ 1827 จุด แนวต้าน 1848 จุด
Dollar ทรงกับลง หนุนราคาน้ำมันแตะ 65 เหรียญฯ  
  ราคาน้ำมันดิบโลกยังขยับขึ้น  ล่าสุดน้ำมันดูไบอยู่ที่ 64 เหรียญฯต่อบาร์เรล และมีโอกาสแตะ 65 เหรียญฯ ปัจจัยหนุนในช่วงนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลจาก Dollar index  ที่แกว่งตัวในทิศทางอ่อนค่า  ล่าสุดอยู่ที่  89.8 จุด  และนับตั้งแต่ต้นปีอ่อนค่าราว  2.3%  เป็นผลจากการรายงานดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐเมื่อคืนนี้ส่งสัญญาณชะลอตัว  คือ  ยอดขายบ้านใหม่ (New home sale) เดือน ม.ค. หดตัว 7.8%mom
  ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 2 สอดคล้องกับยอดขายบ้านมือสอง (Existing home sales) ในเดือนเดียวกันที่หดตัว 2  เดือน ผลจากราคาบ้านที่ปรับสูงขึ้น ปัจจัยที่ตลาดให้น้ำหนักคืนนี้ 27 ก.พ. คือ การกล่าวสุนทรพจน์ของนาย Jerome Powell ประธาน Fed คนใหม่ ต่อสภาคองเกรสเป็นครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่ง  ซึ่งน่าจะให้น้ำหนักต่อการใช้นโยบายการเงิน กับแผนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ในเบื้องต้นคาด เพิ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป  หากยังขึ้น 3 ครั้งตามแนวทางเดิม เชื่อว่าตลาดหุ้นโลกน่าจะทรงหรือแกว่งตัว แต่หากเพิ่มในอัตราเร่ง น่าจะกระทบต่อตลาดหุ้นโลก และเป็นปัจจัยหนุนค่าเงินดอลลาร์ให้กลับมาแข็งค่า
  และ 28 ก.พ. ยุโรปรายงานอัตราเงินเฟ้อเดือน ก.พ. ตลาดคาดขยายตัว 1.2%yoy ชะลอจาก 1.3% เดือน ม.ค. และเงินเฟ้อที่สูงกว่าดอกเบี้ยฯ (เงินเฟ้อ 1.3% VS. ดอกเบี้ยฯ 0%) จึงเชื่อว่ามีโอกาสที่ ECB จะเดินหน้ากลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น เช่นเดียวกับอังกฤษ เงินเฟ้อ 3% VS. ดอกเบี้ยฯ 0.5%)  ซึ่งเดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 1 ครั้งปลายปีที่แล้ว และปีนี้คาดว่าจะขึ้นอีกอย่างน้อย 2 ครั้ง  
  ขณะที่ไทย การรายงานอัตราเงินเฟ้อไทย ก.พ. จะทราบผลราวปลายสัปดาห์ ตลาดคาดว่าจะปรับขึ้นเป็น 0.8% จาก 0.68% ในเดือน ม.ค. ซึ่งยังต่ำกว่าดอกเบี้ยที่ 1.5%  โดยคาดว่า กนง.น่าจะขึ้นดอกเบี้ยในช่วง 2H61
  โดยภาพรวมเชื่อว่าประเทศในแถบเอเซีย จะยังใช้นโยบายการเงินแบบผ่อนคลายตลอดช่วง 1H61  ยกเว้น มาเลเซีย เพียงประเทศเดียวที่เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยไป 1 ครั้ง เมื่อเดือน ม.ค. เนื่องจากเศรษฐกิจที่ขยายตัวแข็งแกร่ง หนุนอัตราเงินเฟ้อ
ต่างชาติขายหุ้นในภูมิภาค แต่สลับมาซื้อไทยเล็กน้อย
  วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคมูลค่า 230 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) โดยภาพรวมแล้วเป็นการขายสุทธิเกือบทุกแห่ง นำโดย เกาหลีใต้และไต้หวัน ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ140 ล้านเหรียญ และ 9 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ขณะที่ตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ฟิลิปปินส์ถูกขายสุทธิต่อเนื่องอีก 30 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5), อินโดนีเซีย 54 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) มีเพียงตลาดหุ้นไทยที่ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิเล็กน้อยมูลค่า 4 ล้านเหรียญ หรือ 115 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ขณะที่นักลงทุนสถาบันฯ ซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 4.2 พันล้านบาท  (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2)
  ส่วนด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 1.4 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติซื้อสุทธิ 1.6 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6)
งบ 4Q60 น่าจะจบในสัปดาห์นี้ แรงขายรับงบยังเกิดขึ้นเป็นรายตัว
  เข้าสู่ช่วงสุดท้ายของการประกาศผลประกอบการปี 2560 โดยนับจนถึงช่วงค่ำวานนี้  มีบริษัทจดทะเบียนรายงานงบฯ แล้วราว 349 บริษัท คิดเป็น 82% ของ market cap ทั้งตลาด ทำกำไรสุทธิ 4Q60 รวมกันได้ 2.21 แสนล้านบาท ดีกว่า 4Q59 และ 3Q60 ที่ทำกำไรสุทธิได้ 1.86 และ 1.90 แสนล้านบาท ตามลำดับ หรือเพิ่มขึ้น 19.8%yoy และ 16.4%qoq  ขณะที่กำไรสุทธิปี 2560 หากนับเฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้ว กำไรสุทธิอยู่ที่ 8.45 แสนล้านบาท เทียบกับ 2559 ที่ 7.78 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.6%yoy
  สำหรับ real sector งวด 4Q60 กำไรสุทธิรวม 1.76 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 4Q59 และ 3Q60 ที่ 1.24 และ 1.35 แสนล้านบาทตามลำดับ หรือเพิ่มขึ้น 41.4%yoy และ 29.9%qoq และทั้งปี 2560 กำไรสุทธิ real sector อยู่ที่ 6.27 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้นจาก 2559 ที่ 5.36 แสนล้านบาท หรือ 16.9%yoy
สำหรับการรายงานงบวานนี้ ยังคงมีแรง sell on fact ออกมาให้เห็น อาทิ
  CPF กำไรสุทธิ  2.33 พันล้านบาท 4Q60 ลดลง 52.7%qoq แต่เพิ่ม 33.8% yoy จากการบันทึกรายได้พิเศษ แต่หากพิจารณาเฉพาะผลการดำเนินงานหลัก พบว่า ขาดทุนจากการดำเนินงาน 1.62 พันล้านบาท กดดันจากธุรกิจสัตว์บกในประเทศไทยและเวียดนามอ่อนตัวลง และธุรกิจอาหารสำเร็จรูปภายใต้บริษัท Bellisio ในสหรัฐที่อ่อนตัวลง จากการแข่งขันที่รุนแรง โดยรวมแล้ว กำไรสุทธิปี 2560 เท่ากับ 1.53 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.8% yoy ขณะที่กำไรจากการดำเนินงานปี 2560 อยู่ที่  4.24 พันล้านบาท ลดลง 70.4% yoy ฝ่ายวิจัยจึงปรับลดประมาณการกำไรจากการดำเนินงานปี 2561-62 ลง เฉลี่ยราว 20% สะท้อนราคาไก่และสุกรในประเทศไทยฟื้นตัวล่าช้า ภายใต้ประมาณใหม่ กำไรจากการดำเนินงานปี 2561 เติบโต 56.7% yoy จากฐานกำไรที่ต่ำในปี 2560 Fair Vale ภายหลังปรับปรุงประมาณการจะอยู่ที่ 30 บาท อิง PBV 1.5 เท่า (มีส่วนลดจากค่าเฉลี่ย PBV ย้อนหลัง 5 ปี ราว 1 SD) เชื่วราคาหุ้นสะท้อนผลการดำเนินงานที่ย่ำแย่ในปี 2560 ไปแล้ว จึงให้สะสมรับผลกำไรฟื้นตัวใน 2H61
  MCS กำไรสุทธิงวด 4Q60 ต่ำกว่าคาดที่ 332 ล้านบาท (+130%qoq, -69%yoy) แม้ปริมาณการส่งมอบสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ถูกกดันจากค่าใช้จ่ายในการขายที่เนื่องจากต้องรวมค่าใช้จ่ายของบริษัทย่อย MCS Xiamen ที่ MCS ถือหุ้นเพิ่มขึ้นจาก 39%เป็น 74% กอปรกับขาดทุนจาก FX 4.4 ล้านบาทโดยรวมปี 2560 MCS ทำกำไรได้ที่ 449 ล้านบาท ลดลง 59% YoY จากฐานสูงในปีก่อนที่กำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ ส่วนทิศทางกำไรปกติ 1Q61 แม้อาจชะลอตัว QoQ แต่จะเติบโต YoY ขณะที่ปี 2561 คาดกำไรสุทธิเติบโต 36%yoy ด้วยสมมติฐานปริมาณการส่งมอบเพิ่มขึ้น 25%yoy  ขณะที่ราคาหุ้นปัจจุบันมี Upside   30% พร้อมคาดหวัง Dividend Yield สูง 7.4%
  M กำไรสุทธิ 4Q60 ตามคาดที่ 546 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 1.3%yoy แต่ลดลง 16.2%qoq จากต้นทุนที่สูงขึ้นกดดัน Gross Margin ลดลง รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการขายและบริหารเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตาม กำไรสุทธิปี 2560 ยังสามารถเติบโตได้ตามคาดที่ 16%yoy สำหรับปี 2561 คาดกำไรสุทธิเติบโต 9% yoy จากยอดขายขยายตัว 7% yoyโดยมีแผนเปิดสาขาใหม่ราว 25 สาขา (M 15 สาขา และ Yayoi 20 สาขา) รวมถึงคาด SSSG ของ M และ Yayoi เพิ่มขึ้น 2% และ 3% yoy ตามลำดับ อย่างไรก็ตาม ราคาหุ้นปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้ว จึงยังแนะนำ switch ไปยัง MINT (FV@B50) ที่มี Upside  22%
EPS ตลาด 2561-62 ถูกกดดันจากต้นทุนเชื้อเพลิงที่สูงขึ้น ขณะราคาเนื้อสัตว์ตกต่ำ
  ดังที่กล่าวไปเมื่อปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา ถึงโอกาสการปรับลดกำไรของหุ้นส่งออก ในหมวดหมูและไก่ ตามราคาสินค้าเกษตรอ่อนตัวลงจากปี 2560  ทำให้นักวิเคราะห์ ASPS เตรียมปรับลดประมาณการกำไรลงทั้งกลุ่ม (CPF, GFPT, TFG)  ลง เช้านี้ได้ปรับลดกำไรของ  CPF (FVB30.77)   ปี 2561-62  ลงจากเดิมราวปีละ 20% ดังกล่าวข้างต้น ตามด้วย TFG ([email protected]) ลดลง 15-20% และ GFPT (FV22.88) ลง 10% ยกเว้น  TU ([email protected]) มีการปรับเพิ่มประมาณการกำไรปี 2561 ขึ้นจากเดิมราว 11% สะท้อนราคาวัตถุดิบทูน่าที่ปรับลดลงต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 รวมถึงยังได้ผลบวกจากธุรกิจกุ้งและแซลมอนฟื้นตัวต่อเนื่อง ทำให้คาดว่ากำไรสุทธิของกลุ่มเกษตร-อาหารปี 2561 จะเติบโต 7.7%yoy แต่ต้องเฝ้าระวังความเสี่ยง ได้แก่ ค่าเงินบาท/ดอลลาร์สหรัฐฯที่แข็งค่ามากที่สุดแห่งหนึ่งในอาเซียน กดดันประสิทธิภาพการทำกำไร 
  กลุ่มอื่นๆ ที่ปรับลดแล้ว คือ กลุ่มขนส่งทางอากาศ เริ่มจาก AAV ปรับลดลงกำไรปี 2561-62 ลงเฉลี่ยปีละ 11.1% สะท้อน ต้นทุนน้ำมันที่เพิ่มขึ้น ตามสมมติฐานราคาน้ำมันดิบดูไบที่ฝ่ายวิจัยปรับเพิ่มขึ้นเฉลี่ยปีละ 5 เหรียญฯ  (เป็น 65, 70 เหรียญฯ) ขณะที่มีการทำ hedging น้ำมันเพียง 10%  และ กำลังการให้บริการที่ทำประมาณการไว้สูงเกินไป   รวมทั้ง THAI และ BA ปรับประมาณการฯ ลงเช่นกัน โดย THAI มีการทำ heding น้ำมันไว้ราว 30% จะปรับลดลงแรงจากฐานกำไรที่น้อย ขณะที่ BA ทำ hedging น้ำมันไว้ 50% จึงคาดว่าจะปรับลดลงไม่มาก แต่เนื่องจากมีการปรับเพิ่มกำไร AOT  ขึ้นจากเดิมราว 7.90% ทำให้ประมาณการกำไรกลุ่มลดลงไม่มาก
ถัดมาคือ กลุ่มวัสดุก่อสร้างที่ปรับลดลงตามต้นทุนเชื้อเพลิงและวัตถุดิบที่เพิ่มขึ้น ประกอบกับการภาคก่อสร้างในประเทศที่ยังชะลอ จึงเป็นแรงกดดันกำไรในกลุ่มนี้ (TASCO, DCC, SCCC, SCC)
  กลุ่มลิสซิ่ง อย่าง TK มีการปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2561 ลง 2.8% เพื่อสะท้อนค่าใช้จ่ายดำเนินงานและการตั้งสำรองหนี้ฯในระดับที่เหมาะสม SAWAD, MTLS, JMT โดยภาพรวมกลุ่มนี้ในปี 2561 ยังเป็นไปในทิศทางบวกตามเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว ส่วนประกาศราชกิจจาฯ ล่าสุดว่าด้วยสัญญาเช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ ฉบับปี 2561  ฝ่ายวิจัยประเมินผลกระทบต่อผู้ประกอบการธุรกิจให้เช่าซื้อรถยนต์และจักรยานยนต์ในกลุ่มเช่าซื้อ ค่อนข้างจำกัด 
  กลุ่มบันเทิง  MAJOR ปรับลดประมาณการลง 15%, PLANB ปรับลดลงเล็กน้อย 3.7% ยังคงได้แรงหนุนจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจและเม็ดเงินโฆษณาที่เพิ่มขึ้น
  ขณะที่หุ้นน้ำมัน เช่น PTT, PTTGC, PTTEP, IRPC มีการปรับประมาณการฯ ขึ้น ตามราคาน้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น และปัจจัยบวกเฉพาะตัวอย่าง PTTEP ปรับเพิ่มขึ้น 3.8% เพื่อรับรู้รายได้ส่วนเพิ่ม 22.22% ในโครงการบงกช
  และหุ้นรายตัวคือ  RS ปรับประมาณการขึ้น 30% เพื่อสะท้อนผลการดำเนินงานที่แข็งแกร่ง โดยเฉพาะธุรกิจสุขภาพความงามและพาณิชย์ที่ทำยอดขายเพิ่มขึ้นต่อเนื่องทุกไตรมาส  
  โดยภาพรวมคาดว่าประมาณการเดิมของกำไรสุทธิในปี 2561 ที่คาดไว้ 1.1 ล้านล้านบาท มีโอกาสเป็นไปได้ยากขึ้น จึงเตรียมทบทวนประมาณการฯหลังประกาศงบเสร็จสิ้น และจะนำเสนออีกครั้ง  อย่างไรก็ตามหากอิงกำไรตลาด (EPS) ปี 2561 ก่อนการปรับปรุงที่หุ้นละ 113.5 บาท ทำให้ตลาดหุ้นไทยมี Expected P/E ในปี 2561ที่16 เท่า ใกล้เคียงกับมาเลเซียและอินโดนีเซียที่ 16.5 และ 16.9 เท่า ตามลำดับ แต่แพงกว่าตลาดหุ้นจีนที่ 12.8 เท่า  และเมื่อเทียบกับประเทศพัฒนาแล้วถือกว่าตลาดหุ้นไทยแพงกว่าตลาดหุ้นยุโรป เช่น เยอรมัน 13 เท่า อังกฤษ 13.8 เท่า ฝรั่งเศส 14.7 เท่า แต่ถูกกว่าตลาดหุ้นสหรัฐทั้ง Dow Jones และ S&P500 ที่ 17.1 และ 17.6 เท่า ตามลำดับ 
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5933

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!