WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 

กลยุทธ์การลงทุน
  คาด SET ยังผันผวนในกรอบ 1795-1815 จุด แรงหนุนจากหุ้นปิโตรเลียม หลังน้ำมันดูไบฟื้นตัว ขณะที่แรงขายรับงบยังมีอยู่  รวมถึงการปรับลดประมาณการรายกลุ่ม เช่น หุ้นส่งออกหมูและไก่ (CPF, GFPT, TFG) กลยุทธ์ฯ ผสมผสานหุ้น Domestic(WHA, BJC) เงินปันผลสูง(SIRI, INTUCH) Global Play(PTTEP, PTT) Top picks PTTEP(FV@B137)  upside สูงสุดในหุ้นน้ำมัน และเพิ่ม BPP([email protected]) กำไรปี 2561 เติบโตโดดเด่นหลังนำโรงไฟฟ้าถ่านหิน SLG(ถือหุ้น 30%) รวมในประมาณการ และยังแนะนำถือ PTT(FV@520) จนกว่าใกล้ถึงวันแตกพาร์ราวต้นเดือน พ.ค.
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย …..SET  ฟื้นแรงจากหุ้นพลังงาน-ปิโตร ICT และ ค้าปลีก
  วันศุกร์ที่ผ่านมาดัชนีปรับขึ้นแรงมาปิดที่ 1808.06 จุด เพิ่มขึ้น 19.43 จุด หรือ 1.09%  ด้วยมูลค่าการซื้อขาย 5.85 หมื่นล้านบาท โดยหุ้นที่หนุนดัชนี กระจายในกลุ่มหลักๆ คือ
  พลังงาน และปิโตรเคมี คือ   IVL และ PTTGC เพิ่มขึ้น 2.93% และ 1.07% ตามมาด้วยโรงไฟฟ้า GPSC เพิ่มขึ้น 4.47% และ EA 3.89% ตามลำดับ ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้าถ่านหิน BANPU ราคาหุ้นปรับตัวขึ้นแรงช่วงท้ายตลาด ราว 2.78% และ PTTEP ราคาหุ้นฟื้นกลับมาปิดที่ 115.50 เพิ่มขึ้น 0.43%
ธ.พ. นำโดยหุ้นใหญ่  SCB, KBANK, BBL, TMB เพิ่ม 1.37%, 0.44%, 0.5% และ 1.40% ตามลำดับ
  กลุ่มค้าปลีก  นำโดย MAKRO เพิ่มขึ้น 3.91%, ตามด้วย BEAUTY ปรับตัวเพิ่มขึ้น 4.83% ตอบรับกำไรปี 60 ทำ New high และ COM7 เพิ่มขึ้น 7.02% 
  และ  ICT ผู้ให้บริการเครือข่ายมือถือทั้ง 3 ค่าย TRUE DTAC และ ADVANC เพิ่มขึ้น 3.28%, 1.69% และ 1.04% ตามลำดับ 
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสฟื้นตัวได้ต่อ แนวรับบริเวณ 1795 จุด แนวต้าน 1815 จุด
ราคาน้ำมันฟื้นใกล้ 65 เหรียญฯ จากแหล่งผลิตที่มีปัญหา 
  ราคาน้ำมันดิบโลกยังปรับขึ้นต่อเนื่อง ล่าสุดราคาน้ำมันดูไบอยู่ที่ 64 เหรียญฯต่อบาร์เรล และมีโอกาสแตะ 65 เหรียญฯ ไม่ยากนัก  นอกจากสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐที่รายงานในสัปดาห์ล่าสุด  ลดลงครั้งแรก   หลังจากที่เพิ่มขึ้นติดต่อกัน 3 สัปดาห์ก่อนหน้า  แล้ว ปัญหาด้านแหล่งผลิตที่กลับมาสร้างความกังวลคือ  ลิเบียซึ่งเป็นผู้ผลิตน้ำมันดิบราว  9.8 แสนบาร์เรล/วัน  หรือราว  3.02% ของกลุ่มประเทศ OPEC  มีการปิดแหล่งน้ำมัน El-Feel จากการประท้วงของพนักงานในบริษัท  ช่วยลดแรงกดดันกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นจากสหรัฐ (แตะระดับ  10.25 ล้านบาร์เรลต่อวัน)  สะท้อนจากจำนวนหลุมน้ำมันสหรัฐ ยังคงปรับเพิ่มขึ้นเป็นสัปดาห์ที่  5  มาอยู่ที่ 799 หลุม(สูงสุดในรอบ 3 ปี) ขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวต่อเนื่อง  น่าจะลดปัญหา Oversupply ลงภายใน 2H61 
  ในสถานการณ์นี้ถือว่า ดีต่อหุ้นน้ำมัน เพราะราคาน้ำมันเฉลี่ย 2 เดือนแรกอยู่ที่ 64.4 เหรียญฯ ใกล้เคียงกับสมมติฐานที่ 65 เหรียญฯ ในปี 2561 จึงยังคงหนุน  PTTEP(FV@B137)  เติบโตต่อเนื่องในปี 2561 ขณะที่ราคาหุ้นยังมี Upside 18.6% เช่นเดียวกับ  PTT(FV@B520) ที่เติบโตตามการถือหุ้นในบริษัทย่อย ทั้ง PTTEP  และ  IRPC  ซึ่งล่าสุดถือหุ้นเพิ่มอีก  9.54%  เป็น  48%   และการประกาศแตกพาร์  น่าจะหนุนราคาหุ้นไปอีกระยะหนึ่ง  จนกว่าจะถึงวันแตกพาร์ในราว พ.ค. ปีนี้  พร้อมกับมีการจ่ายปันผลงวด 2H60 หุ้นละ 12 บาท  ขึ้น XD 6 มี.ค. 61
BANPU ราคานี้น่าสนใจ ราคาถ่านหินขาขึ้นหักล้างคดีหงสาบางส่วน
  ราคาถ่านหิน น่าจะอยู่ในสถานการณ์เป็นบวกต่อ BANPU เช่นกัน สะท้อนจากดัชนี BJI  ที่อยู่ที่ 107.9 เหรียญฯ ต่อตัน แต่ราคาซื้อขายจะมีส่วนลดราว 15-20% หรืออยู่ที่ราว 80-85 เหรียญฯ เทียบกับสมมติฐานที่นักวิเคราะห์ ASPS ประเมินไว้ในปี 2561 เพียง 70 เหรียญฯ ทำให้มีโอกาสที่กำไรที่เกิดขึ้นจริงจะสูงกว่าสมมุติฐาน กล่าวคือหากราคาถ่านหินที่ขายได้จริงสูงกว่าสมมติฐาน ทุก 5 เหรียญ จะเพิ่มกำไรให้ BANBU ที่ราคาถ่านหินสูงกว่าสมมติฐาน 600  ล้านบาท หรือเพิ่มมูลค่าหุ้นราว 2.5 บาท หรือกล่าวโดยสรุปหากราคาถ่านหินขึ้นไป 80 เหรียญฯ จะหนุนกำไร BANPU เพิ่ม 1200  หรือมูลค่าหุ้นจะเพิ่มขึ้น 5 บาท เป็น 31 บาท หรือ เพิ่มขึ้น 19%  หุ้น BANPU จึงควรมีใน พอร์ต เช่นเดียวกับ PTTEP หรือ PTT แต่อย่างไรก็ตาม BANPU ยังมีความเสี่ยงกรณีที่ยังรอคำพิพากษาศาลฏีกาคดีหงสาวันที่ 6 มี.ค. 2561 ซึ่งกรณีที่เลวร้ายคาดว่าหากต้องชดใช้ความเสียหาย 10000 ล้านบาท จะกระทบมูลค่าหุ้นราว  1.3 บาท(จะลดลงจาก 26 บาทเหลือ 24.771 บาท) แต่หากต้องชดใช้เต็มจำนวน 3.1 หมื่นล้านบาท จะกระทบมูลค่าหุ้น 5 บาท (จะลดลงจาก 26 บาทเหลือ 21 บาท) ซึ่งความเสี่ยงนี้น่าจะหักล้างบางส่วนได้จากราคาถ่านหินที่กล่าวข้างต้น (ติดตามอ่านรายละเอียดฉบับยาว Equity Talk วันศุกรที่ 23 ก.พ.)
เงินเฟ้อโลกขึ้นตามราคาน้ำมันโลก หนุนดอกเบี้ยโลกขาขึ้นชัดเจนขึ้น 
  ประเด็นต่างประเทศในสัปดาห์นี้ ให้น้ำหนัก 27 ก.พ. ซึ่งจะมีการกล่าวสุนทรพจน์ของนาย Jerome Powell  ประธาน Fed คนใหม่ ต่อสภาคองเกรสเป็นครั้งแรกหลังเข้ารับตำแหน่ง  ซึ่งน่าจะให้น้ำหนักต่อ การใช้นโยบายการเงิน  กับแผนการขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย ในเบื้องต้นดูเหมือนจะ เพิ่มแบบค่อยเป็นค่อยไป  หากยังขึ้น 3 ครั้งตามแนวทางเดิม ถือว่าตลาดหุ้นโลกน่าจะทรงหรือแกว่งตัวออกด้านข้าง แต่หากเพิ่มในอัตราเร่ง น่าจะกระทบต่อการฟื้นตัวต่อเศรษฐกิจโลก น่าจะกระทบต่อตลาดหุ้นโลก
  ขณะที่  28 ก.พ. ในยุโรปรายงานอัตราเงินเฟ้อ เดือน ก.พ. ตลาดคาดขยายตัวที่ 1.2%yoy ชะลอจาก 1.3% ในเดือนก่อนหน้าแต่คาดว่ามีโอกาสปรับตัวสูงขึ้นได้ ตามราคาน้ำมันที่ยังมีแนวโน้มปรับตัวเพิ่มขึ้น ทำเชื่อว่ามีโอกาสที่ ECB จะเดินหน้ากลับมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้นในช่วง 4Q61    หลังจากแผนการใช้ QE  (เดือนละ 3 หมื่นล้านยูโร) สิ้นสุดเดือน ก.ย.2561   เพราะแม้เงินเฟ้อยุโรป ชะลอตัว แต่ยังสูงกว่าดอกเบี้ยฯ (เงินเฟ้อ 1.3% VS. ดอกเบี้ยฯ 0%)     ซึ่งน่าจะเป็นประเทศถัดไปที่จะขึ้นดอกเบี้ยตามอังกฤษ ซึ่งปัจจุบันเงินเฟ้อที่สูงกว่าดอกเบี้ยฯ (เงินเฟ้อ 3% VS. ดอกเบี้ยฯ 0.5%)  อย่างมาก หรือราว 2.5% ทำให้มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยอย่างน้อย 2 ครั้งในปี 2561 หลังจากที่ขึ้นดอกเบี้ยไปแล้ว 1 ครั้งปลายปี 2561 
  และไทย 1 มี.ค. อัตราเงินเฟ้อไทย ก.พ. (ทราบผลราวปลายสัปดาห์) โดยตลาดคาดว่าจะปรับขึ้นเป็น 0.8% จาก 0.68% ในเดือน ม.ค.  ซึ่งยังต่ำกว่าดอกเบี้ยที่  1.5%   ทำให้ กนง. ยังคงดอกเบี้ยนโยบายใน 1H60  แต่น่าจะมีการปรับขึ้นดอกเบี้ยใน  2H61 แต่ก็ขึ้นกับเงินเฟ้อในประเทศเป็นสำคัญ และ  fund flow  ที่ไหลออกจนกทำให้สภาพคล่องในประเทศลดน้อยลงมากน้อยเพียงใด
BPP กำไรโดดเด่น 1H61 และ มีโครงการใหม่หนุนเติบโตยาว
  ฝ่ายวิจัยได้ปรับเพิ่มคำแนะนำเป็น “ซื้อ”  หนุนจากแนวโน้มกำไรปี 2561 ที่จะเติบโตถึง 37.9%yoy ซึ่งน้ำหนักกำไรจะอยู่ในช่วง 1H61 เนื่องจากโรงไฟฟ้าหลักทั้ง BLCP และหงสา ไม่มีแผนการ shutdown เหมือนปีที่ผ่านมา ขณะที่ปี 2561 จะเริ่มรับรู้โครงการใหม่อีก 4 โครงการ กำลังการผลิตรวม 98.5 เมกะวัตต์ เป็นครั้งแรก (Luannan phase 2, Mukawa, Yamagata, Nari Aizu) 
  นอกจากนี้ฝ่ายวิจัยได้ปรับเพิ่มประมาณการกำไรตั้งแต่ปี 2563 เป็นต้นไป สะท้อนการนำโรงไฟฟ้าถ่านหิน SLG กำลังการผลิตตามสัดส่วน BPP ถือหุ้น 30% ที่ 396 เมกะวัตต์ เข้ามารวมในประมาณการ เนื่องจากโครงการดังกล่าวกลับมามีแผนการผลิตเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการอีกครั้ง (ก่อนหน้านี้ได้ถอดออกไปจากประมาณกา) ส่งผลให้มูลค่าหุ้นใหม่อยู่ที่ 33.50 บาทต่อหุ้น (จากเดิม 30.20 บาทต่อหุ้น โดยเป็นการปรับเพิ่มมูลค่าโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหิน SLG เท่ากับ 3.3 บาทต่อหุ้น) มี upside สูง อ่านรายละเอียด Equity Talk วันนี้
ต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาคเล็กน้อย แต่สลับมาขายไทย
  วันศุกร์ที่ผ่านมาต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคมูลค่า 57 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) โดยภาพรวมแล้ว พบว่าแรงซื้อสุทธิกระจุกตัวอยู่เพียงตลาดหุ้นในแถบเอเชียตะวันออก กล่าวคือสลับมาซื้อสุทธิไต้หวันและเกาหลีใต้ ราว 60 ล้านเหรียญ และ 170 ล้านเหรียญ ตามลำดับ ขณะที่ยังขายสุทธิในกลุ่ม TIP  คือ ฟิลิปปินส์ขายสุทธิ 20 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิต่อเนื่องเป็นวันที่ 4), อินโดนีเซีย 43 ล้านเหรียญ เช่นเดียวกับตลาดหุ้นไทยต่างชาติสลับมาขายสุทธิมูลค่า 57 ล้านเหรียญ หรือ 1.8 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน)  สวนทางกับนักลงทุนสถาบันฯ กลับมาซื้อสุทธิ 1.6 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิรวมกว่า 1.9 หมื่นบาทในช่วง 2 วันก่อนหน้า)
ส่วนด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 2 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติซื้อสุทธิเล็ก 233 ล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5)
งบ 4Q60 น่าจะจบในสัปดาห์นี้ แรงขายรับงบยังเกิดขึ้นเป็นรายตัว
  จนถึงค่ำวันศุกร์ที่ผ่านมา พบว่ามีบริษัทจดทะเบียนประกาศงบฯ แล้วราว 282 บริษัท คิดเป็น 76% ของ Market Cap. ทั้งตลาดฯ  กำไรสุทธิรวมกันได้ 2.07 แสนล้านบาท  (เทียบกับ 4Q59 ที่ทำกำไรสุทธิได้ 1.78 แสนล้านบาท)  โดยผลการดำเนินงานเฉพาะภาคธุรกิจที่มิใช่ธนาคารพาณิชย์ (Real Sector) พบว่า กำไรสุทธิ 4Q60 รวมกันอยู่ที่ 1.66 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 40.2%yoy และ 31.9%qoq ขณะที่ภาพรวมกำไรสุทธิปี 60 (เฉพาะที่ประกาศงบฯ แล้ว) อยู่ที่ 8.0 แสนล้านบาท เมื่อเทียบกับปี 59 ที่ทำได้ 7.4 แสนล้านบาท ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยคาดว่าทั้งปีมีโอกาสเติบโตกว่าปี 2559 อย่างไรก็ตามหุ้นใน SET50 ซึ่งเป็น Market Cap. ใหญ่ของตลาดรายงานมาเพียง 40 บริษัท หรือประมาณ 24%  ทำให้คาดว่า ยังมี น้ำหนักกดดันดัชนี  ส่วนหุ้นที่รายงานงบฯ เมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมา อาทิเช่น  
  ANAN กำไรสุทธิงวด 4Q60 สูงสุดของปี 768 ล้านบาท แต่ภาพรวม 9M60 ที่ชะลอตัว ทำให้กำไรสุทธิปี 2560 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท และกำไรปกติ 1.08 พันล้านบาท (ลดลง 12% yoy และ17% yoy ตามลำดับ) เนื่องจากการไม่สามารถโอนฯ โครงการคอนโดฯ ใหม่ได้ทัน 4Q60 (โครงการ Venio Sukhumvit 10 และ  Ashton Asoke ) สำหรับปี 2561 ฝ่ายวิจัยมีการปรับประมาณการเพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริง โดยปรับลดยอดโอนฯ (ไม่รวม JV) ลงจากเดิม 24% อยู่ที่ 7.05 พันล้านบาท นอกจากนี้ปรับเพิ่มส่วนแบ่งกำไรเพิ่มเป็น 935 ล้านบาท (เดิม 657 ล้านบาท) หลังมีการเลื่อนโอนฯ 2 โครงการ 4Q60 มาเกิดขึ้นภายใน 2Q61 ภาพรวมกำไรปีนี้ไม่ได้เปลี่ยนแปลงอย่างมีนัยฯ โดยคาดกำไรสุทธิไว้ที่ 2.0 พันล้านบาท
  BLA ผลการดำเนินงานงวด 4Q60 สามารถพลิกกลับเป็นกำไร 1.75 พันล้านบาท จากขาดทุน 261 ล้านบาทใน 3Q60 ผลจากการบันทึกโอนกลับสำรองเบี้ยประกันชีวิต (LAT Reserve) ทำให้ภาระหนี้สินตามสัญญาประกันภัยลดลง ทั้งนี้ฝ่ายวิจัยได้มีการปรับลดประมาณการผลการดำเนินงานปี 2561 ลง 4.0% ส่วนใหญ่มาจากการเพิ่มสมมติฐานผลประโยชน์จ่ายตามกรมธรรม์ที่ประเมินไว้ต่ำไป ส่งผลให้มีการคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2561 เติบโต 25.1% yoy ซึ่งขับเคลื่อนด้วยเป้าหมายการผลักดันเบี้ยฯ FYP ไม่น่าจะต่ำกว่า 10% yoy อีกทั้งยังอยู่ระหว่างกำหนดกลยุทธ์ร่วมกับ BBL (หลัง BBL เพิ่มพันธมิตร AIA ในช่องทาง bancassurance )
  BEC รายงานกำไรสุทธิ 4Q60 ขาดทุนหนักถึง 335 ล้านบาท จากผลกระทบรายได้ค่าโฆษณาลดลงทั้งช่องทีวีอนาล็อกและทีวีดิจิทัล ขณะที่ต้นทุนในการผลิตรายการและต้นทุนการถ่ายทอดกีฬาเพิ่มขึ้น โดยรวมกำไรสุทธิปี 2560 อยู่ที่เพียง 61 ล้านบาท ลดลงจากปี 2559 ที่มีกำไรสุทธิ 1.22 พันล้านบาท หรือลดลงมากถึง 95%yoy ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยยังคงแนะนำ switch ไปสื่อโฆษณานอกบ้าน เนื่องจากมีแนวโน้มเติบโตดีสวนทางอุตสาหกรรม ได้แก่ PLANB และ VGI  
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์  
OO5881

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!