- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 22 February 2018 16:24
- Hits: 2682
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังแกว่งตัว 1790-1815 จุด โดยมีหุ้น PTT ยังโดดเด่นจากแผนแตกพาร์ แต่ไม่อาจหักล้างแรงขายรับงบ กลยุทธ์ฯ เลือกรายหุ้นผสมหุ้น Domestic (WHA, BJC) เงินปันผลสูง (SIRI, INTUCH) + Global Play PTTEP, PTT Top picks เลือก PTT(FV@520) แม้ราคาหุ้นขึ้นไป 6% วานนี้ แต่ยังมีโอกาสแกว่งตัวขึ้น จนกว่าจะถึงวันแตกพาร์ และ BJC (FV@73) เป็นตัวแทนหุ้นค้าปลีก และบรรจุภัณฑ์ในไทยและเวียดนาม และมีโอกาสเพิ่มธุรกิจ Banking Agent แม้คาดงบ 4Q60 อ่อนตัว เพราะไม่สามารถรับรู้รายได้ภาษีที่จ่ายเกินกลับมาได้ทัน แต่ทั้งหมดจะรับรู้ในปี 1H61 แทน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. PTT ขึ้นทำ All time high ประคองดัชนีปิดบวก
วานนี้ SET Index เปิดตลาดบวกเกือบ 12 จุด ก่อนที่ช่วงบ่ายจะอ่อนแรงและปิดที่ 1801.02 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.14 จุด หรือ 0.01% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 8.4 หมื่นล้านบาท ดัชนีได้แรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่กลุ่มพลังงานอย่าง PTT ราคาปิด All time high ที่ 522 บาท เพิ่มขึ้นแรงกว่า 6.53% จากการรายงานงบฯ 4Q60 ที่ออกมาดี รวมทั้งประเด็นการแตกพาร์ จาก 10 เป็น 1 บาท โดยกำหนดประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 12 เม.ย. 61 ซึ่งหากผู้ถือหุ้นอนุมัติ เบื้องต้นคาดจะเริ่มซื้อขายด้วยพาร์ใหม่ในช่วงต้นเดือน พ.ค. 61 สวนทางกับหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มฯ เช่น TOP, ESSO, SPRC ลดลง 1%, 0.55% และ 0.6% ตามลำดับ เช่นเดียวกับหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ โดย กลุ่มนิคมฯ WHA ลดลง 1.40% ตามด้วย AMATA ลดลง 3.81% กลุ่มค้าปลีก BJC ลดลง 1.77%, BEAUTY ลดลง 2.7% และ ROBINS ลดลง 2.08%
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสแกว่งตัวลงตาม momentum ตลาดหุ้นต่างประเทศ ประเมินแนวรับ 1785/1790 จุด แนวต้าน 1815 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังแกว่งตัว 1790-1815 จุด โดยมีหุ้น PTT ยังโดดเด่นจากแผนแตกพาร์ แต่ไม่อาจหักล้างแรงขายรับงบ กลยุทธ์ฯ เลือกรายหุ้นผสมหุ้น Domestic (WHA, BJC) เงินปันผลสูง (SIRI, INTUCH) + Global Play PTTEP, PTT Top picks เลือก PTT(FV@520) แม้ราคาหุ้นขึ้นไป 6% วานนี้ แต่ยังมีโอกาสแกว่งตัวขึ้น จนกว่าจะถึงวันแตกพาร์ และ BJC (FV@73) เป็นตัวแทนหุ้นค้าปลีก และบรรจุภัณฑ์ในไทยและเวียดนาม และมีโอกาสเพิ่มธุรกิจ Banking Agent แม้คาดงบ 4Q60 อ่อนตัว เพราะไม่สามารถรับรู้รายได้ภาษีที่จ่ายเกินกลับมาได้ทัน แต่ทั้งหมดจะรับรู้ในปี 1H61 แทน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. PTT ขึ้นทำ All time high ประคองดัชนีปิดบวก
วานนี้ SET Index เปิดตลาดบวกเกือบ 12 จุด ก่อนที่ช่วงบ่ายจะอ่อนแรงและปิดที่ 1801.02 จุด เพิ่มขึ้นเล็กน้อย 0.14 จุด หรือ 0.01% มูลค่าการซื้อขายหนาแน่นกว่า 8.4 หมื่นล้านบาท ดัชนีได้แรงหนุนจากหุ้นขนาดใหญ่กลุ่มพลังงานอย่าง PTT ราคาปิด All time high ที่ 522 บาท เพิ่มขึ้นแรงกว่า 6.53% จากการรายงานงบฯ 4Q60 ที่ออกมาดี รวมทั้งประเด็นการแตกพาร์ จาก 10 เป็น 1 บาท โดยกำหนดประชุมผู้ถือหุ้นในวันที่ 12 เม.ย. 61 ซึ่งหากผู้ถือหุ้นอนุมัติ เบื้องต้นคาดจะเริ่มซื้อขายด้วยพาร์ใหม่ในช่วงต้นเดือน พ.ค. 61 สวนทางกับหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มฯ เช่น TOP, ESSO, SPRC ลดลง 1%, 0.55% และ 0.6% ตามลำดับ เช่นเดียวกับหุ้นในกลุ่มอุตสาหกรรมอื่นๆ โดย กลุ่มนิคมฯ WHA ลดลง 1.40% ตามด้วย AMATA ลดลง 3.81% กลุ่มค้าปลีก BJC ลดลง 1.77%, BEAUTY ลดลง 2.7% และ ROBINS ลดลง 2.08%
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสแกว่งตัวลงตาม momentum ตลาดหุ้นต่างประเทศ ประเมินแนวรับ 1785/1790 จุด แนวต้าน 1815 จุด
รายงาน Fed มีมุมมองเชิงบวกต่อเศรษฐกิจ หนุนดอลลาร์แข็งค่า กดดันราคาน้ำมันช่วงสั้น
การเปิดเผยรายงานการประชุม (Fed minute) ในรอบ 30-31 ม.ค.61 ที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ มีใจความตอกย้ำว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่งโดยเฉพาะตลาดแรงงาน คือ อัตราการว่างงานสหรัฐ ล่าสุดทรงตัว 4.1% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี และน่าจะหนุนให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ยังอยู่ในเป้าหมายที่ 2.0% (เงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ 2.1%yoy) หนุนให้ Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปตามแผนที่คาด 3 ครั้งๆ ละ 0.25% ตลาดคาดจะขึ้นครั้งแรกรอบ 20-21มี.ค. ความคาดหวัง Fed จะขึ้นดอกเบี้ยหนุนให้ Bond yield 10 ปี ของสหรัฐ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ที่ 2.943% เป็นปัจจัยหนุน Dollar Index อยู่ในทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องราว 1.7% นับตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. ล่าสุดอยู่ที่ 90.06 จุด (แต่ยังอ่อนค่า 2.13%ytd นับตั้งแต่ต้นปี) ทำให้ชะลอการเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบโลกกลับมาอ่อนตัวในช่วงสั้น อย่างไรก็ตามน่าจะถูกหักล้างได้จากความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว และยังมีการควบคุมการผลิตน้ำมันทางฝั่ง OPEC และ Non OPEC ต่อเนื่องจนถึง ธ.ค. ปีนี้ แม้ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ จากการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันจากสหรัฐ โดยภาพรวมราคาน้ำมันที่ยังยืน 60 เหรียญฯ ได้ทำให้เป็นโอกาสสะสมหุ้นน้ำมัน PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@B520)
การเปิดเผยรายงานการประชุม (Fed minute) ในรอบ 30-31 ม.ค.61 ที่ผ่านมา เมื่อวานนี้ มีใจความตอกย้ำว่าเศรษฐกิจสหรัฐยังคงแข็งแกร่งโดยเฉพาะตลาดแรงงาน คือ อัตราการว่างงานสหรัฐ ล่าสุดทรงตัว 4.1% ต่ำสุดในรอบ 10 ปี และน่าจะหนุนให้อัตราเงินเฟ้อในปีนี้ยังอยู่ในเป้าหมายที่ 2.0% (เงินเฟ้อล่าสุดอยู่ที่ 2.1%yoy) หนุนให้ Fed เดินหน้าขึ้นดอกเบี้ยแบบค่อยเป็นค่อยไปตามแผนที่คาด 3 ครั้งๆ ละ 0.25% ตลาดคาดจะขึ้นครั้งแรกรอบ 20-21มี.ค. ความคาดหวัง Fed จะขึ้นดอกเบี้ยหนุนให้ Bond yield 10 ปี ของสหรัฐ เพิ่มขึ้นต่อเนื่องแตะระดับสูงสุดในรอบ 4 ปี ที่ 2.943% เป็นปัจจัยหนุน Dollar Index อยู่ในทิศทางแข็งค่าต่อเนื่องราว 1.7% นับตั้งแต่วันที่ 14 ก.พ. ล่าสุดอยู่ที่ 90.06 จุด (แต่ยังอ่อนค่า 2.13%ytd นับตั้งแต่ต้นปี) ทำให้ชะลอการเก็งกำไรในสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบโลกกลับมาอ่อนตัวในช่วงสั้น อย่างไรก็ตามน่าจะถูกหักล้างได้จากความต้องการใช้น้ำมันดิบโลกที่เพิ่มขึ้น ตามเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว และยังมีการควบคุมการผลิตน้ำมันทางฝั่ง OPEC และ Non OPEC ต่อเนื่องจนถึง ธ.ค. ปีนี้ แม้ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ จากการเพิ่มกำลังการผลิตน้ำมันจากสหรัฐ โดยภาพรวมราคาน้ำมันที่ยังยืน 60 เหรียญฯ ได้ทำให้เป็นโอกาสสะสมหุ้นน้ำมัน PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@B520)
ส่งออก ม.ค. เพิ่มสูงสุดในรอบ 5 ปี แต่อุปสรรคยังมีอีกหลายประการ
วานนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดการค้าระหว่างประเทศเดือน ม.ค. ยังขยายตัวต่อเนื่อง กล่าวคือ มูลค่าส่งออกในรูปดอลลาร์เพิ่มขึ้น 17.6%yoy (สูงสุดในรอบ 5 ปี) แต่เมื่อแปลงเป็นสกุลบาทเพิ่มเพียง 7.0% ผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่า ตลาดส่งออกที่ยังขยายตัวต่อเนื่องนับจากต้นปี 2560 คือ ตลาดหลักอาทิ จีน, สหรัฐ , ญี่ปุ่น , มาเลเซีย และ เวียดนาม และที่พลิกกลับมาบวกคือ ฮ่องกง และฟิลิปปินส์ ส่วนตลาดที่กลับมาหดตัวเป็นเดือนแรกคือ กัมพูชา
สินค้าส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2560 คือ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนฯ , คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และ ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น , ขณะที่สินค้าที่ยังหดตัวได้แก่ อัญมณี, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องใชไฟฟ้า, เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์, ผลไม้ เป็นต้น
ส่วนยอดนำเข้าเพิ่ม 24.3%yoy แต่เหลือพียง 9.8% สกุลบาท ส่วนใหญ่เป็นที่วัตถุดิบนำมาผลิตเพื่อส่งออก ได้แก่ เคมีภัณฑ์ (ขยายตัว 18 เดือนติดต่อ) และเหล็ก (6 เดือนติดต่อ) และ เครื่องจักรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นติดต่อกันราว 7 เดือน เป็นสัญญาณบ่งชี้ที่ดีถึงการลงทุนเอกชน ปี 2561
อย่างไรก็ตามปี 2561 คาดยอดส่งออกจะชะลอตัวลง นอกจากฐานที่สูงขึ้นในปี 2560 ยังเผชิญอุปสรรคจากการกีดกันการค้าจากสหรัฐเพิ่มขึ้น เริ่มจากไม่ต่อ GSP ตั้งแต่ ม.ค. 2561 (รวมถึงประเทศอื่นในเอเซียที่ไม่ต่อ เช่น อินโดนีเซีย , ฟิลิปปินส์ , อินเดีย เมียนม่า เป็นต้น) ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐ (Safe Guard) ในสินค้า เครื่องซักผ้า แผงวงจรโซลาร์เซลล์ และยังมีอีก 2 สินค้า คือ เหล็ก และอลูมิเนียม ที่จะขึ้นภาษีนำเข้า ทั้งนี้ยังมีผลกระทบความผันผวนของค่าเงินบาท หลังจากตั้งแต่ต้นปีแข็งค่าราว 3.5% เป็นรองมาเลเซียที่แข็งค่า 3.7% เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตส่งออกไทยตลอดปี
วานนี้กระทรวงพาณิชย์รายงานยอดการค้าระหว่างประเทศเดือน ม.ค. ยังขยายตัวต่อเนื่อง กล่าวคือ มูลค่าส่งออกในรูปดอลลาร์เพิ่มขึ้น 17.6%yoy (สูงสุดในรอบ 5 ปี) แต่เมื่อแปลงเป็นสกุลบาทเพิ่มเพียง 7.0% ผลกระทบจากเงินบาทที่แข็งค่า ตลาดส่งออกที่ยังขยายตัวต่อเนื่องนับจากต้นปี 2560 คือ ตลาดหลักอาทิ จีน, สหรัฐ , ญี่ปุ่น , มาเลเซีย และ เวียดนาม และที่พลิกกลับมาบวกคือ ฮ่องกง และฟิลิปปินส์ ส่วนตลาดที่กลับมาหดตัวเป็นเดือนแรกคือ กัมพูชา
สินค้าส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องตั้งแต่ต้นปี 2560 คือ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนฯ , คอมพิวเตอร์และส่วนประกอบ และ ผลิตภัณฑ์ยาง เป็นต้น , ขณะที่สินค้าที่ยังหดตัวได้แก่ อัญมณี, เครื่องปรับอากาศ, เครื่องใชไฟฟ้า, เครื่องรับวิทยุโทรทัศน์, ผลไม้ เป็นต้น
ส่วนยอดนำเข้าเพิ่ม 24.3%yoy แต่เหลือพียง 9.8% สกุลบาท ส่วนใหญ่เป็นที่วัตถุดิบนำมาผลิตเพื่อส่งออก ได้แก่ เคมีภัณฑ์ (ขยายตัว 18 เดือนติดต่อ) และเหล็ก (6 เดือนติดต่อ) และ เครื่องจักรไฟฟ้า เพิ่มขึ้นติดต่อกันราว 7 เดือน เป็นสัญญาณบ่งชี้ที่ดีถึงการลงทุนเอกชน ปี 2561
อย่างไรก็ตามปี 2561 คาดยอดส่งออกจะชะลอตัวลง นอกจากฐานที่สูงขึ้นในปี 2560 ยังเผชิญอุปสรรคจากการกีดกันการค้าจากสหรัฐเพิ่มขึ้น เริ่มจากไม่ต่อ GSP ตั้งแต่ ม.ค. 2561 (รวมถึงประเทศอื่นในเอเซียที่ไม่ต่อ เช่น อินโดนีเซีย , ฟิลิปปินส์ , อินเดีย เมียนม่า เป็นต้น) ขึ้นภาษีนำเข้าสินค้าสหรัฐ (Safe Guard) ในสินค้า เครื่องซักผ้า แผงวงจรโซลาร์เซลล์ และยังมีอีก 2 สินค้า คือ เหล็ก และอลูมิเนียม ที่จะขึ้นภาษีนำเข้า ทั้งนี้ยังมีผลกระทบความผันผวนของค่าเงินบาท หลังจากตั้งแต่ต้นปีแข็งค่าราว 3.5% เป็นรองมาเลเซียที่แข็งค่า 3.7% เป็นอุปสรรคต่อการเติบโตส่งออกไทยตลอดปี
หากหุ้น PTT ย่อตัว เป็นจังหวะสะสมเพื่อไปต่อ
วานนี้ราคาหุ้น PTT ทำ All Time High โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 6.53% ขณะที่ SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเพียง 0.01% เท่านั้น แม้ราคาหุ้น PTT ปรับตัวเพิ่มขึ้นจนเต็มมูลค่าพื้นฐานที่ฝ่ายวิจัยฯประเมินไว้ 520 บาท แต่ด้วยหลากหลายปัจจัยหนุน น่าจะช่วยพยุงราคาหุ้นให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้ ดังนี้
บริษัทมีการซื้อหุ้น IRPC จากธนาคารออมสิน จำนวน 1,950 ล้านหุ้น (คิดเป็นสัดส่วน 9.54% ของหุ้นที่จำหน่ายได้) ในราคาหุ้นละ 7.10 บาท รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 13,845 ล้านบาท ส่งผลให้ PTT ถือหุ้นเพิ่มจาก 38.51% เป็น 48.05% และรับรู้รายได้และกำไรของ IRPC ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2561 นอกจากนี้บริษัทยังถือหุ้น PTTGC กว่า 48.48% ด้วยทิศทางกำไรที่เติบโตแข็งแกร่งในปีนี้ ตามปริมาณขายที่จะเพิ่มขึ้นของโครงการใหม่ๆ ตามแผน ช่วยหนุนกำไรปี 2561 ของ PTT อีกแรง
มีการประกาศจ่ายปันผลงวด 2H60 ในอัตราหุ้นละ 12 บาท คิดเป็น Dividend Yield งวดครึ่งปีถึง 2.3% ขึ้น XD 6 มี.ค. 61 จึงทำให้ระหว่างนี้มีนักลงทุนเข้ามาสะสมหวังปันผลดังกล่าว
การประกาศแตกพาร์ของ PTT น่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นไปอีกระยะหนึ่ง สะท้อนจากการศึกษาเชิงปริมาณย้อนหลัง 10 ปี พบว่า หุ้นในดัชนี SET100 ทั้งหมดที่มีการแตกพาร์ ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นมักตอบสนองเชิงบวก ตั้งแต่วันที่ประกาศจนถึงวันแตกพาร์เสมอ กล่าวคือ ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงถึง 14.09% และมีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 75% ซึ่งยิ่งใกล้วันแตกพาร์ ผลตอบแทนที่ได้จะลดลงตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้นหากเจาะลึกเฉพาะหุ้นบลูชิพที่มีการแตกพาร์ในอดีต พบว่า ให้ผลตอบแทนเป็นบวกทุกบริษัท เช่น BANPU, CPN, BDMS และ AOT ให้ผลตอบแทนตั้งแต่วันประกาศแตกพาร์จนถึงวันแตกพาร์ราว 29%, 17%, 11% และ 3% ตามลำดับ
กล่าวโดยสรุป แม้วันนี้ราคาหุ้น PTT อาจถูกกดดันจากราคาน้ำมันดิบโลก WTI ในวานนี้ย่อตัวลงเล็กน้อย 0.18% (หลังเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 4 วัน) แต่ด้วยหลากหลายปัจจัยบวกที่กล่าวมาข้างต้น คาดว่าจะช่วยหนุนหุ้น PTT ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในช่วงเวลาก่อนการแตกพาร์ และหากหุ้น PTT ย่อตัวถือเป็นโอกาสในการสะสม โดยกลยุทธ์ระยะสั้นๆ แนะสะสมหุ้น PTT และขายใกล้กับวันที่มีการแตกพาร์จริง
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทยเป็นครั้งแรก หลังจากขายติดต่อกันนาน 13 วัน
วานนี้ตลาดหุ้นในภูมิภาคกลับมาซื้อขายตามปกติหลังจากหยุดช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยภาพรวมพบว่าต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 335 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) แต่แรงซื้อส่วนใหญ่กระจุกตัวที่ตลาดหุ้นไต้หวันมูลค่าสูงกว่า 344 ล้านเหรียญ ส่วนเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 33 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) สำหรับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP มีเพียงตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่ถูกขายสุทธิ มูลค่าราว 10 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ขณะที่ตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 แห่งคือ อินโดนีเซียต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 6 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับไทยต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 28 ล้านเหรียญ หรือ 869 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 13 วัน โดยมีมูลค่ารวมกว่า 3.83 หมื่นล้านบาท) ขณะที่นักลงทุนสถาบันฯ สลับมาขายสุทธิสูงกว่า 1.65 หมื่นล้านบาท (ขายสุทธิสูงที่สุดในเป็นประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย) ส่วนหนึ่งเกิดจากรายการ Big lot ของหุ้น IRPC มูลค่ารวมกว่า 1.38 หมื่นล้านบาท
ส่วนด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 1.46 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 3.2 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
คาดยังมีแรงขายรับงบฯ 4Q60 อยู่
วานนี้ CPN รายงานผลการประกอบงวด 4Q60 มีกำไรสุทธิที่ 2.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8%yoy เนื่องจากมีรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำเช่น เงินค่าสินไหมทดแทน และการแปลงสภาพกองทุนรวม CPNRF เป็น ทรัสต์เพื่อการลงทุน CPNREIT หากไม่รวมรายการนี้จะมีกำไรสุทธิ 9.9 พันล้านบาท ภาพรวมบริษัทมีกำไรสุทธิปี 60 อยู่ที่1.4 หมื่นล้านบาท สำหรับปี 2561 ฝ่ายวิจัยคาดว่ารายได้จะโตได้ถึง 20%yoy ด้วยแรงหนุนจากการดำเนินงานของศูนย์การค้าเดิมที่เติบโต, การรับรู้รายได้เต็มปีของศูนย์การค้าใหม่ที่เปิดปีก่อน(โคราชและมหาชัย) รวมถึงการกลับมาเปิดเต็มพื้นที่ของเซ็นทรัลเวิลด์หลังปรับปรุงเสร็จ 3Q61 นอกจากนี้ยังมีรายได้เพิ่มจาก 3 โครงการใหม่ที่จะเปิดปีนี้ (ภูเก็ตเฟส 2, มาเลเซีย และ 1 โครงการใหม่ยังไม่ได้เปิดเผย แต่เริ่มก่อสร้างคาดเสร็จปลายปี(ยังไม่ได้รวมไว้ในประมาณการ)
ตามด้วย SC กำไรสุทธิ 4Q60 อยู่ที่ 555 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 52.47%qoq, 111.0%yoy ส่วนกำไรสุทธิทั้งปี 60 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท ลดลง 36.1%yoy น้อยกว่าคาด เป็นผลมาจากรายได้จากการดำเนินงานที่ลดลง และรายการขาดทุนจากการปรับมูลค่ายุติธรรมและตัดจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สำหรับปี 2561 มีแผนเปิดโครงการใหม่ 19 โครงการ (เน้นแนวราบ 17 โครงการ) ด้านเป้ารายได้ที่บริษัทตั้งไว้ 1.7 หมื่นล้านบาท เป็นแนวราบ 1.08 หมื่นล้านบาท และมียอดขายปลายปีก่อนที่รอรับรู้รายได้ปีนี้ราว 2 พันล้านบาท ขณะที่คอนโดฯ มีเป้าโอนฯ 5.7 พันล้านบาท โดยสัดส่วน 60-70% มาจาก 2 โครงการใหญ่ที่จะสร้างเสร็จปีนี้ ได้แก่ Saladaeng One (โอนฯ 2Q61) และ Beatniq (โอนฯ 3Q61) ฝ่ายวิจัยคาดกำไรปี 2561 ที่ 2.18 พันล้านบาท เติบโต 31.5% yoy
RS รายงานงบฯ 4Q60 ที่ 109 ล้านบาท อ่อนตัว 12%qoq แต่พลิกกลับมากำไรจากขาดทุนใน 4Q59 ส่งผลให้ทั้งปี 2560 กำไรสุทธิอยู่ที่ 333 ล้านบาท turnaround จากปี 2559 ที่ขาดทุนไป 102 ล้านบาท หลักๆ มาจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจความงาม ส่วนธุรกิจสื่อ ธุรกิจเพลง และธุรกิจรับจ้างผลิตมีการชะลอตัว อย่างไรก็ตาม คาดปี 2561 ธุรกิจสื่อจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งจากการปรับขึ้นอัตราโฆษณาราว 40% ส่วนธุรกิจความงามยังเป็นตัวขับเคลื่อนกำไรหลัก โดยรวมคาดปี 2561 กำไรสุทธิจะเติบโตได้เกินกว่า 126%
ดัชนีแกว่งตัว กลยุทธ์การลงทุนสะสมหุ้น BJC, PTTEP, PTT
คาดว่า SET Index สัปดาห์นี้น่าจะผันผวน โดยยังมีแรงขายรับงบ 4Q60 เป็นปัจจัยกดดันการเคลื่อนไหวของตลาด ทั้งยังขาดกระแส Fund Flow และค่าเงินค่อนข้างผันผวน แม้ Dollar Index จะมีการแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อย แต่ก็ไม่น่าจะแข็งค่าเกินกว่าระดับ 90 จุด ซึ่งก็จะทำให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียรวมทั้งเงินบาทกลับมาแข็งค่าในระยะถัดไป กดดันต่อหุ้นกลุ่มส่งออก และน่าจะกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งทองคำและน้ำมัน อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบโลกยังแกว่งตัวในทิศทางบวก (ราคาน้ำมันดิบดูไบมีกรอบการขึ้นที่จำกัด บริเวณ 60-63 เหรียญต่อบาร์เรล) จากแรงหนุนของความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลางและเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว แม้กดดันจากปัญหาความกังวลของการผลิตในสหรัฐก็ตาม
กลยุทธ์การลงทุน คาดว่าวันนี้ตลาดยังได้แรงหนุนจากการประกาศแตกพาร์ของหุ้น PTT ซึ่งมี Market cap ใหม่สุดและมีสัดส่วนราว 7.7% ของทั้งตลาด แต่ไม่อาจจะหักล้างแรงขายรับงบ 4Q60 ได้ จึงแนะนำทยอยขายทำกำไรหุ้นแพง ราคาปัจจุบันเกิน Upside ไปแล้ว หรือมี Upside จำกัด เช่น EGCO AOT TOP BCPG AEONTS SCCC EA TVO HMPRO และ CPALL รวมถึง หุ้นเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง ที่ยังไม่ได้สะท้อนประเด็นข่าวการปรับเปลี่ยนวิธีการคิดดอกเบี้ยฯ มากนัก โดยเชื่อว่าในระยะยาวหันในกลุ่มฯ นี้มีโอกาสที่จะค่อยๆ แกว่งตัวลง ดังนั้นจึงยังแนะนำให้ลงทุนผสมระหว่าง Domestic Play และ Global Play โดย
1.Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ คือ
หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC ที่ราคาหุ้นยังมี upside สูงกว่า 29% แม้คาดว่างวด 4Q60 กำไรจะอ่อนตัวกว่าคาด เพราะไม่สามารถบันทึกกลับภาษีเงินได้ที่จ่ายสูงเกินไปกลับมาได้ทันในปี 2560 แต่ทั้งหมดน่าจะเกิดในงวด 1H61 หนุนกำไรทั้งปี 2561 เติบโตราว 27%
กลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW
หุ้นปันผลสูง ฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO (XD 27 ก.พ.) ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
2. Global Play ให้เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน คือ PTTEP, PTT เป็นต้น โดยให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้น PTT เพราะข่าวการลดราคาพาร์ดังกล่าวน่าจะหนุนให้ราคาหุ้นยืนในแดนบวกได้จนกว่าจะใกล้วันลดพาร์จริง ดังกล่าวข้างต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5806
วานนี้ราคาหุ้น PTT ทำ All Time High โดยปรับตัวเพิ่มขึ้นกว่า 6.53% ขณะที่ SET ปรับตัวเพิ่มขึ้นมาเพียง 0.01% เท่านั้น แม้ราคาหุ้น PTT ปรับตัวเพิ่มขึ้นจนเต็มมูลค่าพื้นฐานที่ฝ่ายวิจัยฯประเมินไว้ 520 บาท แต่ด้วยหลากหลายปัจจัยหนุน น่าจะช่วยพยุงราคาหุ้นให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่องได้ ดังนี้
บริษัทมีการซื้อหุ้น IRPC จากธนาคารออมสิน จำนวน 1,950 ล้านหุ้น (คิดเป็นสัดส่วน 9.54% ของหุ้นที่จำหน่ายได้) ในราคาหุ้นละ 7.10 บาท รวมเป็นมูลค่าทั้งสิ้น 13,845 ล้านบาท ส่งผลให้ PTT ถือหุ้นเพิ่มจาก 38.51% เป็น 48.05% และรับรู้รายได้และกำไรของ IRPC ตั้งแต่ไตรมาสแรกของปี 2561 นอกจากนี้บริษัทยังถือหุ้น PTTGC กว่า 48.48% ด้วยทิศทางกำไรที่เติบโตแข็งแกร่งในปีนี้ ตามปริมาณขายที่จะเพิ่มขึ้นของโครงการใหม่ๆ ตามแผน ช่วยหนุนกำไรปี 2561 ของ PTT อีกแรง
มีการประกาศจ่ายปันผลงวด 2H60 ในอัตราหุ้นละ 12 บาท คิดเป็น Dividend Yield งวดครึ่งปีถึง 2.3% ขึ้น XD 6 มี.ค. 61 จึงทำให้ระหว่างนี้มีนักลงทุนเข้ามาสะสมหวังปันผลดังกล่าว
การประกาศแตกพาร์ของ PTT น่าจะเป็นปัจจัยหนุนราคาหุ้นไปอีกระยะหนึ่ง สะท้อนจากการศึกษาเชิงปริมาณย้อนหลัง 10 ปี พบว่า หุ้นในดัชนี SET100 ทั้งหมดที่มีการแตกพาร์ ตั้งแต่ปี 2551 จนถึงปัจจุบัน ราคาหุ้นมักตอบสนองเชิงบวก ตั้งแต่วันที่ประกาศจนถึงวันแตกพาร์เสมอ กล่าวคือ ราคาปรับตัวเพิ่มขึ้นเฉลี่ยสูงถึง 14.09% และมีโอกาสให้ผลตอบแทนเป็นบวกถึง 75% ซึ่งยิ่งใกล้วันแตกพาร์ ผลตอบแทนที่ได้จะลดลงตามลำดับ
ยิ่งไปกว่านั้นหากเจาะลึกเฉพาะหุ้นบลูชิพที่มีการแตกพาร์ในอดีต พบว่า ให้ผลตอบแทนเป็นบวกทุกบริษัท เช่น BANPU, CPN, BDMS และ AOT ให้ผลตอบแทนตั้งแต่วันประกาศแตกพาร์จนถึงวันแตกพาร์ราว 29%, 17%, 11% และ 3% ตามลำดับ
กล่าวโดยสรุป แม้วันนี้ราคาหุ้น PTT อาจถูกกดดันจากราคาน้ำมันดิบโลก WTI ในวานนี้ย่อตัวลงเล็กน้อย 0.18% (หลังเพิ่มขึ้นติดต่อกัน 4 วัน) แต่ด้วยหลากหลายปัจจัยบวกที่กล่าวมาข้างต้น คาดว่าจะช่วยหนุนหุ้น PTT ให้ปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ในช่วงเวลาก่อนการแตกพาร์ และหากหุ้น PTT ย่อตัวถือเป็นโอกาสในการสะสม โดยกลยุทธ์ระยะสั้นๆ แนะสะสมหุ้น PTT และขายใกล้กับวันที่มีการแตกพาร์จริง
ต่างชาติสลับมาซื้อหุ้นไทยเป็นครั้งแรก หลังจากขายติดต่อกันนาน 13 วัน
วานนี้ตลาดหุ้นในภูมิภาคกลับมาซื้อขายตามปกติหลังจากหยุดช่วงเทศกาลตรุษจีน โดยภาพรวมพบว่าต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 335 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) แต่แรงซื้อส่วนใหญ่กระจุกตัวที่ตลาดหุ้นไต้หวันมูลค่าสูงกว่า 344 ล้านเหรียญ ส่วนเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 33 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) สำหรับตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP มีเพียงตลาดหุ้นฟิลิปปินส์เพียงแห่งเดียวที่ถูกขายสุทธิ มูลค่าราว 10 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ขณะที่ตลาดหุ้นที่เหลืออีก 2 แห่งคือ อินโดนีเซียต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 6 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) เช่นเดียวกับไทยต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิ 28 ล้านเหรียญ หรือ 869 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 13 วัน โดยมีมูลค่ารวมกว่า 3.83 หมื่นล้านบาท) ขณะที่นักลงทุนสถาบันฯ สลับมาขายสุทธิสูงกว่า 1.65 หมื่นล้านบาท (ขายสุทธิสูงที่สุดในเป็นประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย) ส่วนหนึ่งเกิดจากรายการ Big lot ของหุ้น IRPC มูลค่ารวมกว่า 1.38 หมื่นล้านบาท
ส่วนด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 1.46 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติซื้อสุทธิต่อเนื่องอีก 3.2 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
คาดยังมีแรงขายรับงบฯ 4Q60 อยู่
วานนี้ CPN รายงานผลการประกอบงวด 4Q60 มีกำไรสุทธิที่ 2.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 4.8%yoy เนื่องจากมีรายการที่ไม่ได้เกิดขึ้นประจำเช่น เงินค่าสินไหมทดแทน และการแปลงสภาพกองทุนรวม CPNRF เป็น ทรัสต์เพื่อการลงทุน CPNREIT หากไม่รวมรายการนี้จะมีกำไรสุทธิ 9.9 พันล้านบาท ภาพรวมบริษัทมีกำไรสุทธิปี 60 อยู่ที่1.4 หมื่นล้านบาท สำหรับปี 2561 ฝ่ายวิจัยคาดว่ารายได้จะโตได้ถึง 20%yoy ด้วยแรงหนุนจากการดำเนินงานของศูนย์การค้าเดิมที่เติบโต, การรับรู้รายได้เต็มปีของศูนย์การค้าใหม่ที่เปิดปีก่อน(โคราชและมหาชัย) รวมถึงการกลับมาเปิดเต็มพื้นที่ของเซ็นทรัลเวิลด์หลังปรับปรุงเสร็จ 3Q61 นอกจากนี้ยังมีรายได้เพิ่มจาก 3 โครงการใหม่ที่จะเปิดปีนี้ (ภูเก็ตเฟส 2, มาเลเซีย และ 1 โครงการใหม่ยังไม่ได้เปิดเผย แต่เริ่มก่อสร้างคาดเสร็จปลายปี(ยังไม่ได้รวมไว้ในประมาณการ)
ตามด้วย SC กำไรสุทธิ 4Q60 อยู่ที่ 555 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 52.47%qoq, 111.0%yoy ส่วนกำไรสุทธิทั้งปี 60 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท ลดลง 36.1%yoy น้อยกว่าคาด เป็นผลมาจากรายได้จากการดำเนินงานที่ลดลง และรายการขาดทุนจากการปรับมูลค่ายุติธรรมและตัดจำหน่ายอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน สำหรับปี 2561 มีแผนเปิดโครงการใหม่ 19 โครงการ (เน้นแนวราบ 17 โครงการ) ด้านเป้ารายได้ที่บริษัทตั้งไว้ 1.7 หมื่นล้านบาท เป็นแนวราบ 1.08 หมื่นล้านบาท และมียอดขายปลายปีก่อนที่รอรับรู้รายได้ปีนี้ราว 2 พันล้านบาท ขณะที่คอนโดฯ มีเป้าโอนฯ 5.7 พันล้านบาท โดยสัดส่วน 60-70% มาจาก 2 โครงการใหญ่ที่จะสร้างเสร็จปีนี้ ได้แก่ Saladaeng One (โอนฯ 2Q61) และ Beatniq (โอนฯ 3Q61) ฝ่ายวิจัยคาดกำไรปี 2561 ที่ 2.18 พันล้านบาท เติบโต 31.5% yoy
RS รายงานงบฯ 4Q60 ที่ 109 ล้านบาท อ่อนตัว 12%qoq แต่พลิกกลับมากำไรจากขาดทุนใน 4Q59 ส่งผลให้ทั้งปี 2560 กำไรสุทธิอยู่ที่ 333 ล้านบาท turnaround จากปี 2559 ที่ขาดทุนไป 102 ล้านบาท หลักๆ มาจากการเติบโตอย่างก้าวกระโดดของธุรกิจความงาม ส่วนธุรกิจสื่อ ธุรกิจเพลง และธุรกิจรับจ้างผลิตมีการชะลอตัว อย่างไรก็ตาม คาดปี 2561 ธุรกิจสื่อจะกลับมาเติบโตได้อีกครั้งจากการปรับขึ้นอัตราโฆษณาราว 40% ส่วนธุรกิจความงามยังเป็นตัวขับเคลื่อนกำไรหลัก โดยรวมคาดปี 2561 กำไรสุทธิจะเติบโตได้เกินกว่า 126%
ดัชนีแกว่งตัว กลยุทธ์การลงทุนสะสมหุ้น BJC, PTTEP, PTT
คาดว่า SET Index สัปดาห์นี้น่าจะผันผวน โดยยังมีแรงขายรับงบ 4Q60 เป็นปัจจัยกดดันการเคลื่อนไหวของตลาด ทั้งยังขาดกระแส Fund Flow และค่าเงินค่อนข้างผันผวน แม้ Dollar Index จะมีการแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อย แต่ก็ไม่น่าจะแข็งค่าเกินกว่าระดับ 90 จุด ซึ่งก็จะทำให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียรวมทั้งเงินบาทกลับมาแข็งค่าในระยะถัดไป กดดันต่อหุ้นกลุ่มส่งออก และน่าจะกดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งทองคำและน้ำมัน อย่างไรก็ตามราคาน้ำมันดิบโลกยังแกว่งตัวในทิศทางบวก (ราคาน้ำมันดิบดูไบมีกรอบการขึ้นที่จำกัด บริเวณ 60-63 เหรียญต่อบาร์เรล) จากแรงหนุนของความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลางและเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัว แม้กดดันจากปัญหาความกังวลของการผลิตในสหรัฐก็ตาม
กลยุทธ์การลงทุน คาดว่าวันนี้ตลาดยังได้แรงหนุนจากการประกาศแตกพาร์ของหุ้น PTT ซึ่งมี Market cap ใหม่สุดและมีสัดส่วนราว 7.7% ของทั้งตลาด แต่ไม่อาจจะหักล้างแรงขายรับงบ 4Q60 ได้ จึงแนะนำทยอยขายทำกำไรหุ้นแพง ราคาปัจจุบันเกิน Upside ไปแล้ว หรือมี Upside จำกัด เช่น EGCO AOT TOP BCPG AEONTS SCCC EA TVO HMPRO และ CPALL รวมถึง หุ้นเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง ที่ยังไม่ได้สะท้อนประเด็นข่าวการปรับเปลี่ยนวิธีการคิดดอกเบี้ยฯ มากนัก โดยเชื่อว่าในระยะยาวหันในกลุ่มฯ นี้มีโอกาสที่จะค่อยๆ แกว่งตัวลง ดังนั้นจึงยังแนะนำให้ลงทุนผสมระหว่าง Domestic Play และ Global Play โดย
1.Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ คือ
หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC ที่ราคาหุ้นยังมี upside สูงกว่า 29% แม้คาดว่างวด 4Q60 กำไรจะอ่อนตัวกว่าคาด เพราะไม่สามารถบันทึกกลับภาษีเงินได้ที่จ่ายสูงเกินไปกลับมาได้ทันในปี 2560 แต่ทั้งหมดน่าจะเกิดในงวด 1H61 หนุนกำไรทั้งปี 2561 เติบโตราว 27%
กลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW
หุ้นปันผลสูง ฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO (XD 27 ก.พ.) ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
2. Global Play ให้เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน คือ PTTEP, PTT เป็นต้น โดยให้เพิ่มน้ำหนักการลงทุนในหุ้น PTT เพราะข่าวการลดราคาพาร์ดังกล่าวน่าจะหนุนให้ราคาหุ้นยืนในแดนบวกได้จนกว่าจะใกล้วันลดพาร์จริง ดังกล่าวข้างต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5806