- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 20 February 2018 16:14
- Hits: 6168
บล.เคทีบี (ประเทศไทย) : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
“ขึ้นได้ แต่แกว่งกรอบแคบ”
ทิศทางตลาดหุ้นไทย:
คาด ดัชนีจะปรับตัวขึ้น แต่แกว่งตัวในกรอบแคบ ตามภาวะตลาดหุ้นต่างประเทศที่อ่อนตัวลง อีกทั้งยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามากระทบตลาด .... ตลาดหุ้นสหรัฐฯและตลาด NYMEX (ซื้อขายน้ำมัน) ปิดทำการเนื่องในวันประธานาธิบดีสหรัฐฯ, ด้านตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงประมาณ -0.6% จากปัจจัยเฉพาะตัว .... ส่วนปัจจัยในประเทศ คาดว่าวันนี้ที่ประชุม ครม. ยังไม่มีมติสำหรับโครงการขนาดใหญ่เข้าที่ประชุม, รายงาน GDP วานนี้ ระบุว่า GDP Q4-2017 เติบโต 4% ต่ำกว่าคาดที่ 4.6% แต่ภาคการส่งออกยังเติบโตได้ดีถึง 7.4%
กลยุทธ์การลงทุน:
เรามองว่าตลาดจะแกว่งตัวในกรอบแคบ นักลงทุนจะเข้ามาเก็งกำไรในหุ้นเป็นรายตัวไป แนะนำการเข้าเก็งกำไรระหว่างวัน ยังคงเน้นหุ้นที่ได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศจากการรายงาน GDP ในช่วงวานนี้, หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว, หรือหุ้นที่ผลการดำเนินงานช่วง 4Q17 ออกมาดี หรือคาดว่าจะออกมาดี โดยในวันนี้คาดว่าจะมีหุ้นที่ประกาศผลการดำเนินงานได้แก่ IVL, TU, SPALI และหุ้นที่ประกาศงบออกมาดีได้แก่ TICON, CPT, CPR , SAT .... โดยหุ้นที่ติด most active และคาดว่าตลาดจะให้ความสนใจได้แก่ CPALL, AOT, SCC, BJC
หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์: PCSGH*, CK*
หุ้นแนะนำทางเทคนิค: BGRIM, HMPRO, AMANAH
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้น Active ที่น่าสนใจ
(+) AOT:
แนะนำ AOT จากรายรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศช่วง 4Q17 ที่เติบโตสูงถึง 23% YoY ที่ระดับ 494,000 ล้านบาท, รายงานกำไรสุทธิ 1Q18 (ต.ค.-ธ.ค.2017) ยังคงโดดเด่นที่ 6.22 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% YoY และ 67% QoQ และยังคาดว่าช่วง 2Q18 ยังคงเติบโตโดดเด่นจากช่วง High Season …. ราคาเหมาะสมโดย KTBST ที่ 77.00 บาท
(+) CPALL:
เราเลือก CPALL จากดัชนีค้าปลีกช่วง 4Q17 รายงานโดยสภาพัฒน์ที่เติบโต 7%, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ 65.2 สูงสุดในรอบ 11 ไตรมาส, ผลบวกจากงบประมาณพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก 35,000 ลบ., การทำ Banking Agent, อีกทั้งเรายังคาดกำไรสุทธิ 4Q17 อยู่ในระดับสูงที่ 5.3 พันล้านบาท +23.5% YoY และ +6.8% QoQ …. ราคาเหมาะสมโดย KTBST ที่ 86.00 บาท
(+) PCSGH*:
การส่งออกรถกระบะและรถบรรทุกเติบโตถึง 30.2% อัตราการเติบโตสูงเป็นอันดับ 3 ของสินค้าส่งออกในช่วง 4Q17 ซึ่งลูกค้าหลักของ PCSGH อยู่ในกลุ่มดังกล่าว อีกทั้ง PCSGH ได้รับเลือกเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอลูมีเนียม
สำหรับรถยนต์ EV มูลค่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มโครงการในช่วง 2 ปีข้างหน้า
หุ้นมีประเด็น
(-) BANK: หลักเกณฑ์ Banking Agent เพิ่มเติม คาดเริ่มใช้ภายในเดือน มี.ค.
นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เรื่องช่องทางการให้บริการธนาคารพาณิชย์ใหม่ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ Banking Agent รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์แต่งตั้งได้อยู่แล้ว โดยธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งตัวแทนไม่ว่าจะเป็น ธนาคารพาณิชย์อื่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และไปรษณีย์ ซึ่งเกณฑ์ใหม่ได้ขยายให้ครอบคลุมนิติบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมด้วย ทั้งนี้ ตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ สามารถให้บริการ รับฝาก ถอน โอน ชำระเงิน สำหรับลูกค้ารายย่อย ซึ่งตามหลักเกณฑ์นี้ ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกตัวแทนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ขณะนี้รอประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และคาดว่าจะเริ่มใช้ภายในเดือน มี.ค.นี้ โดยให้บริการไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ ไม่เกิน 20,000 บาทต่อวันสำหรับผู้ใช้บริการแต่ละราย หลังจากที่ผ่านมา Banking Agent รับฝากเงิน รับชำระเงิน จ่ายเงินผู้ใช้บริการรายใหญ่ได้เท่านั้น (ที่มา: อินโฟเควสท์)
ความเห็น: เรามีมุมมองเชิงลบต่อประเด็นดังกล่าวแต่ไม่มาก แม้ว่าธนาคารจะเสียรายได้ค่าธรรมเนียมในการให้บริการฝาก โอน ถอน หลังจากมี Banking agent แต่อย่างไรก็ดี ต้นทุนในการดำเนินงานทางด้านสาขาจะลดลงเป็นการชดเชยในส่วนของรายได้ที่เสียไป ขณะที่เชื่อว่า การที่ ธปท. ต้องการให้นิติบุคคลอื่นหรือรายย่อยเข้ามามีส่วนร่วมเป็นตัวกลางของธนาคาร เกิดจากการที่ธนาคารมีการเร่งปิดสาขาเร็วเกินไป ทำให้ในบางพื้นที่ไม่มีสาขาเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้ ดังนั้น เราจึงมองว่า จำนวนผู้ให้บริการดังกล่าวจะมีแค่ในพื้นที่ที่ห่างไกลและผลกระทบค่อนข้างจำกัด เบื้องต้นเรายังอยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบเพราะรายละเอียดยังไม่มากพอ ส่วนกลุ่มธนาคาร ยังให้น้ำหนักการลงทุนเป็น เท่ากับตลาด แต่อย่างไรก้ดี ในแง่ของผู้ให้บริการ เราคาดว่า CPALL มีความพร้อมมากที่สุดเพราะมีจำนวนสาขาสูงสุดและครอบคลุมได้ทั้งประเทศ เรายังชอบ CPALL แนะนำ ซื้อ มูลค่าเหมาะสมที่ 86 บาท และยังไม่ได้รวมประมาณการจากประเด็นนี้
ทิศทางตลาดหุ้นไทย:
คาด ดัชนีจะปรับตัวขึ้น แต่แกว่งตัวในกรอบแคบ ตามภาวะตลาดหุ้นต่างประเทศที่อ่อนตัวลง อีกทั้งยังไม่มีปัจจัยบวกใหม่เข้ามากระทบตลาด .... ตลาดหุ้นสหรัฐฯและตลาด NYMEX (ซื้อขายน้ำมัน) ปิดทำการเนื่องในวันประธานาธิบดีสหรัฐฯ, ด้านตลาดหุ้นยุโรปปรับตัวลงประมาณ -0.6% จากปัจจัยเฉพาะตัว .... ส่วนปัจจัยในประเทศ คาดว่าวันนี้ที่ประชุม ครม. ยังไม่มีมติสำหรับโครงการขนาดใหญ่เข้าที่ประชุม, รายงาน GDP วานนี้ ระบุว่า GDP Q4-2017 เติบโต 4% ต่ำกว่าคาดที่ 4.6% แต่ภาคการส่งออกยังเติบโตได้ดีถึง 7.4%
กลยุทธ์การลงทุน:
เรามองว่าตลาดจะแกว่งตัวในกรอบแคบ นักลงทุนจะเข้ามาเก็งกำไรในหุ้นเป็นรายตัวไป แนะนำการเข้าเก็งกำไรระหว่างวัน ยังคงเน้นหุ้นที่ได้รับปัจจัยบวกจากมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศจากการรายงาน GDP ในช่วงวานนี้, หุ้นที่มีปัจจัยบวกเฉพาะตัว, หรือหุ้นที่ผลการดำเนินงานช่วง 4Q17 ออกมาดี หรือคาดว่าจะออกมาดี โดยในวันนี้คาดว่าจะมีหุ้นที่ประกาศผลการดำเนินงานได้แก่ IVL, TU, SPALI และหุ้นที่ประกาศงบออกมาดีได้แก่ TICON, CPT, CPR , SAT .... โดยหุ้นที่ติด most active และคาดว่าตลาดจะให้ความสนใจได้แก่ CPALL, AOT, SCC, BJC
หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์: PCSGH*, CK*
หุ้นแนะนำทางเทคนิค: BGRIM, HMPRO, AMANAH
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้น Active ที่น่าสนใจ
(+) AOT:
แนะนำ AOT จากรายรับนักท่องเที่ยวต่างประเทศช่วง 4Q17 ที่เติบโตสูงถึง 23% YoY ที่ระดับ 494,000 ล้านบาท, รายงานกำไรสุทธิ 1Q18 (ต.ค.-ธ.ค.2017) ยังคงโดดเด่นที่ 6.22 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% YoY และ 67% QoQ และยังคาดว่าช่วง 2Q18 ยังคงเติบโตโดดเด่นจากช่วง High Season …. ราคาเหมาะสมโดย KTBST ที่ 77.00 บาท
(+) CPALL:
เราเลือก CPALL จากดัชนีค้าปลีกช่วง 4Q17 รายงานโดยสภาพัฒน์ที่เติบโต 7%, ความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ 65.2 สูงสุดในรอบ 11 ไตรมาส, ผลบวกจากงบประมาณพัฒนาเศรษฐกิจฐานราก 35,000 ลบ., การทำ Banking Agent, อีกทั้งเรายังคาดกำไรสุทธิ 4Q17 อยู่ในระดับสูงที่ 5.3 พันล้านบาท +23.5% YoY และ +6.8% QoQ …. ราคาเหมาะสมโดย KTBST ที่ 86.00 บาท
(+) PCSGH*:
การส่งออกรถกระบะและรถบรรทุกเติบโตถึง 30.2% อัตราการเติบโตสูงเป็นอันดับ 3 ของสินค้าส่งออกในช่วง 4Q17 ซึ่งลูกค้าหลักของ PCSGH อยู่ในกลุ่มดังกล่าว อีกทั้ง PCSGH ได้รับเลือกเป็นผู้ผลิตชิ้นส่วนอลูมีเนียม
สำหรับรถยนต์ EV มูลค่า 2,000 ล้านบาท ซึ่งจะเริ่มโครงการในช่วง 2 ปีข้างหน้า
หุ้นมีประเด็น
(-) BANK: หลักเกณฑ์ Banking Agent เพิ่มเติม คาดเริ่มใช้ภายในเดือน มี.ค.
นายสมบูรณ์ จิตเป็นธม ผู้ช่วยผู้ว่าการ สายนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) กล่าวว่า ธปท.จะมีการปรับปรุงหลักเกณฑ์เรื่องช่องทางการให้บริการธนาคารพาณิชย์ใหม่ ซึ่งมีหลักเกณฑ์ Banking Agent รวมอยู่ด้วย ซึ่งเป็นเรื่องที่อนุญาตให้ธนาคารพาณิชย์แต่งตั้งได้อยู่แล้ว โดยธนาคารพาณิชย์สามารถแต่งตั้งตัวแทนไม่ว่าจะเป็น ธนาคารพาณิชย์อื่น สถาบันการเงินเฉพาะกิจ และไปรษณีย์ ซึ่งเกณฑ์ใหม่ได้ขยายให้ครอบคลุมนิติบุคคลอื่นที่มีคุณสมบัติเหมาะสมด้วย ทั้งนี้ ตัวแทนของธนาคารพาณิชย์ สามารถให้บริการ รับฝาก ถอน โอน ชำระเงิน สำหรับลูกค้ารายย่อย ซึ่งตามหลักเกณฑ์นี้ ธนาคารพาณิชย์แต่ละแห่งจะเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกตัวแทนที่มีคุณสมบัติเหมาะสม ขณะนี้รอประกาศลงราชกิจจานุเบกษา และคาดว่าจะเริ่มใช้ภายในเดือน มี.ค.นี้ โดยให้บริการไม่เกิน 5,000 บาทต่อรายการ ไม่เกิน 20,000 บาทต่อวันสำหรับผู้ใช้บริการแต่ละราย หลังจากที่ผ่านมา Banking Agent รับฝากเงิน รับชำระเงิน จ่ายเงินผู้ใช้บริการรายใหญ่ได้เท่านั้น (ที่มา: อินโฟเควสท์)
ความเห็น: เรามีมุมมองเชิงลบต่อประเด็นดังกล่าวแต่ไม่มาก แม้ว่าธนาคารจะเสียรายได้ค่าธรรมเนียมในการให้บริการฝาก โอน ถอน หลังจากมี Banking agent แต่อย่างไรก็ดี ต้นทุนในการดำเนินงานทางด้านสาขาจะลดลงเป็นการชดเชยในส่วนของรายได้ที่เสียไป ขณะที่เชื่อว่า การที่ ธปท. ต้องการให้นิติบุคคลอื่นหรือรายย่อยเข้ามามีส่วนร่วมเป็นตัวกลางของธนาคาร เกิดจากการที่ธนาคารมีการเร่งปิดสาขาเร็วเกินไป ทำให้ในบางพื้นที่ไม่มีสาขาเพื่อรองรับความต้องการของลูกค้าได้ ดังนั้น เราจึงมองว่า จำนวนผู้ให้บริการดังกล่าวจะมีแค่ในพื้นที่ที่ห่างไกลและผลกระทบค่อนข้างจำกัด เบื้องต้นเรายังอยู่ระหว่างการประเมินผลกระทบเพราะรายละเอียดยังไม่มากพอ ส่วนกลุ่มธนาคาร ยังให้น้ำหนักการลงทุนเป็น เท่ากับตลาด แต่อย่างไรก้ดี ในแง่ของผู้ให้บริการ เราคาดว่า CPALL มีความพร้อมมากที่สุดเพราะมีจำนวนสาขาสูงสุดและครอบคลุมได้ทั้งประเทศ เรายังชอบ CPALL แนะนำ ซื้อ มูลค่าเหมาะสมที่ 86 บาท และยังไม่ได้รวมประมาณการจากประเด็นนี้
(-) กลุ่มเหล็ก: กังวลมาตรการตั้งกำแพงภาษีของสหรัฐอาจทำเหล็ก-อะลูมิเนียมท่วมตลาดเอเชีย
นายโทชิฮารุ ซาคาเอะ รองประธานบริษัท นิปปอน สตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ให้ความเห็นกรณีมาตรการตั้งกำแพงภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมของสหรัฐ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะบังคับใช้หรือไม่นั้น หากสหรัฐตัดสินใจใช้มาตรการจำกัดโควตา หรือตั้งกำแพงภาษีกับผู้ส่งออกเหล็กและอะลูมิเนียมทั่วโลกจริง จะทำให้สินค้าปริมาณมากไม่สามารถกระจายไปยังสหรัฐที่เป็นตลาดใหญ่ได้ และกลับมาไหลท่วมในตลาดเอเชียแทน ซึ่งจะเป็นข่าวลบต่ออุตสาหกรรมเหล็ก (ที่มา: โพสต์ ทูเดย์)
ความเห็น: จากกรณีที่สหรัฐมีแผนที่จะขึ้นภาษีเหล็กกล้าอีก 53 % ให้มีผลบังคับใช้อย่างเฉพาะเจาะจงกับ 12 ประเทศ คือ บราซิล จีน คอสตาริกา อียิปต์ อินเดีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ แอฟริกาใต้ ไทย ตุรกีและเวียดนาม และการขึ้นภาษี อีก 23.6% สำหรับอะลูมิเนียมเฉพาะจากจีน รัสเซีย เวียดนาม ฮ่องกง และเวเนซุเอลา ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือน เม.ย.นี้ เราคาดว่ามาตรการดังกล่าวของสหรัฐอาจมีผลกระทบต่อปริมาณเหล็กจีนที่จะถูกผลักดันเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ราคาเหล็กมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ มองผลกระทบเป็นลบต่อกลุ่มเหล็ก (TSTH, MILL, TMT, PAP, THE)
นายโทชิฮารุ ซาคาเอะ รองประธานบริษัท นิปปอน สตีล ผู้ผลิตเหล็กรายใหญ่ที่สุดในญี่ปุ่น ให้ความเห็นกรณีมาตรการตั้งกำแพงภาษีเหล็กและอะลูมิเนียมของสหรัฐ ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาว่าจะบังคับใช้หรือไม่นั้น หากสหรัฐตัดสินใจใช้มาตรการจำกัดโควตา หรือตั้งกำแพงภาษีกับผู้ส่งออกเหล็กและอะลูมิเนียมทั่วโลกจริง จะทำให้สินค้าปริมาณมากไม่สามารถกระจายไปยังสหรัฐที่เป็นตลาดใหญ่ได้ และกลับมาไหลท่วมในตลาดเอเชียแทน ซึ่งจะเป็นข่าวลบต่ออุตสาหกรรมเหล็ก (ที่มา: โพสต์ ทูเดย์)
ความเห็น: จากกรณีที่สหรัฐมีแผนที่จะขึ้นภาษีเหล็กกล้าอีก 53 % ให้มีผลบังคับใช้อย่างเฉพาะเจาะจงกับ 12 ประเทศ คือ บราซิล จีน คอสตาริกา อียิปต์ อินเดีย มาเลเซีย เกาหลีใต้ แอฟริกาใต้ ไทย ตุรกีและเวียดนาม และการขึ้นภาษี อีก 23.6% สำหรับอะลูมิเนียมเฉพาะจากจีน รัสเซีย เวียดนาม ฮ่องกง และเวเนซุเอลา ซึ่งคาดว่าจะได้ข้อสรุปภายในเดือน เม.ย.นี้ เราคาดว่ามาตรการดังกล่าวของสหรัฐอาจมีผลกระทบต่อปริมาณเหล็กจีนที่จะถูกผลักดันเข้าสู่ตลาดในภูมิภาคเอเชียมากขึ้น ซึ่งอาจทำให้ราคาเหล็กมีโอกาสปรับตัวลดลงได้ มองผลกระทบเป็นลบต่อกลุ่มเหล็ก (TSTH, MILL, TMT, PAP, THE)
บทวิเคราะห์วันนี้
(+) BGRIM (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 36.50 บาท)
เราเริ่มต้นวิเคราะห์หุ้น BGRIM ด้วยคำแนะนำ “ซื้อ. โดยประเมินราคาเหมาะสมที่ 36.50 บาท เราชอบ BGRIM ด้วย 3 เหตุผลหลักคือ 1) กำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยอย่างน้อย 23% ต่อปีจากกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น 96% และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวแล้ว, 2) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่จะได้ประโยชน์จากความต้องการไฟฟ้าที่มากขึ้นของผู้ผลิตในโซน EEC (Eastern Economic Corridor), และ 3) ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากจากการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศในแถบ CLMV โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม BGIMM ที่มีธุรกิจหลากหลายในภูมิภาคเอเชีย แม้ราคาปัจจุบันเทรดที่ 2018 PER 27.6x มากกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 18.0x แต่ด้วยการเติบโตที่โดดเด่นส่งผลให้ Normalized PEG (2017-2019) อยู่ที่เพียง 0.5x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 1.9x
(+) BGRIM (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 36.50 บาท)
เราเริ่มต้นวิเคราะห์หุ้น BGRIM ด้วยคำแนะนำ “ซื้อ. โดยประเมินราคาเหมาะสมที่ 36.50 บาท เราชอบ BGRIM ด้วย 3 เหตุผลหลักคือ 1) กำไรสุทธิเติบโตเฉลี่ยอย่างน้อย 23% ต่อปีจากกำลังการผลิตไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น 96% และมีสัญญาซื้อขายไฟฟ้าระยะยาวแล้ว, 2) เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านโรงไฟฟ้าขนาดเล็กที่จะได้ประโยชน์จากความต้องการไฟฟ้าที่มากขึ้นของผู้ผลิตในโซน EEC (Eastern Economic Corridor), และ 3) ยังมีโอกาสเติบโตได้อีกมากจากการขยายธุรกิจไปยังต่างประเทศในแถบ CLMV โดยได้รับการสนับสนุนจากกลุ่ม BGIMM ที่มีธุรกิจหลากหลายในภูมิภาคเอเชีย แม้ราคาปัจจุบันเทรดที่ 2018 PER 27.6x มากกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 18.0x แต่ด้วยการเติบโตที่โดดเด่นส่งผลให้ Normalized PEG (2017-2019) อยู่ที่เพียง 0.5x ต่ำกว่าค่าเฉลี่ยอุตสาหกรรมที่ 1.9x
(+) PTTGC (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 107 บาท)
กำไรสุทธิปี 2017 ดีกว่าที่คาดเล็กน้อย 4% ที่ 39.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 53.5% จากปีก่อนหน้า กำไรปกติ 4Q17 + 11% YoY และ+35% QoQ จากปริมาณการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นและราคาขายผลิตภัณฑ์ที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน โดยหลักมาจากอุตสาหกรรมโอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง มีการบันทึกผลขาดทุน จากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ส่งผลให้กำไรสุทธิ 4Q17 ปรับตัวลดลงเล็กน้อย -2%YoY และ-4%QoQ คาดจะมีกำไรสุทธิปี 2018 โตขึ้น 10% เนื่องจากการเพิ่มกำลังการผลิตและคู่แข่งขันเลื่อนการขึ้นกำลังการผลิต เราประเมินมูลค่า โดยอิงวิธี EV/EBITDA ปี 2018 ที่ 7.5 เท่า ได้ราคาเหมาะสมที่ 107 บาท
กำไรสุทธิปี 2017 ดีกว่าที่คาดเล็กน้อย 4% ที่ 39.3 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 53.5% จากปีก่อนหน้า กำไรปกติ 4Q17 + 11% YoY และ+35% QoQ จากปริมาณการผลิตที่ปรับเพิ่มขึ้นและราคาขายผลิตภัณฑ์ที่ปรับเพิ่มขึ้นตามราคาน้ำมัน โดยหลักมาจากอุตสาหกรรมโอเลฟินส์และผลิตภัณฑ์ต่อเนื่อง มีการบันทึกผลขาดทุน จากการด้อยค่าของสินทรัพย์ ส่งผลให้กำไรสุทธิ 4Q17 ปรับตัวลดลงเล็กน้อย -2%YoY และ-4%QoQ คาดจะมีกำไรสุทธิปี 2018 โตขึ้น 10% เนื่องจากการเพิ่มกำลังการผลิตและคู่แข่งขันเลื่อนการขึ้นกำลังการผลิต เราประเมินมูลค่า โดยอิงวิธี EV/EBITDA ปี 2018 ที่ 7.5 เท่า ได้ราคาเหมาะสมที่ 107 บาท
(+) SAT (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 22.00 บาท)
กำไรสุทธิ 4Q17 โดดเด่นที่ 281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64% YoY และ 25% QoQ เนื่องจากมีรายการพิเศษจากการขายสินทรัพย์ ซึ่งหากไม่รวมรายการพิเศษ จะมีกำไรปกติที่ 181 ล้านบาท ใกล้เคียงกับที่เราคาดไว้ เพิ่มขึ้น 6% YoY แต่ลดลง 19% QoQ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกับภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สำหรับรวมทั้งปี 2017 มีกำไรสุทธิ 811 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34% YoY ส่วนกำไรปกติอยู่ที่ 706 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% YoY สำหรับปี 2018 เรายังคงประเมินกำไรสุทธิที่ 777 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% YoY จากผลบวกของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่จะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง รวมถึงคาดว่ายอดขายจากกลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตรที่ดีขึ้น เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ เป้าหมาย 22 บาท โดยมีการประกาศจ่ายเงินปันผลงวด 2H17 ที่ 0.65 บาท/หุ้น คิดเป็น dividend yield 3.3% จะขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 22 ก.พ.
(0) MINT (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 47 บาท)
MINT ประกาศกำไรสุทธิใน 4Q17 อยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% YoY และ 41% QoQ เป็นไปตามที่ตลาดคาด แต่ต่ำกว่าที่เราคาด 9% จากธุรกิจอาหารที่แย่กว่าคาด โดย SSSG กลับมาหดตัว 1.1% YoY จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ -0.9% YoY โดยยังคงได้รับแรงกดดันจากประเทศสิงคโปร์ที่มีการแข่งขันสูง แต่ประเทศไทยเติบโตได้ดีจากการบริโภคที่ฟื้นตัว ส่วนธุรกิจโรงแรมยังเตบโตได้ดี RevPar โดยรวมของทั้งกลุ่มเติบโตขึ้นได้ 1% YoY และ 3% QoQ จากโรงแรมในประเทศไทยและมัลดีฟส์ เรายังคงประมาณการในปี 2018 โดยคาดว่า กำไรสุทธิในปี 2018 จะเติบโตได้ที่ 15% YoY โดยได้รับแรงหนุนจากการรับรู้รายได้ที่โปรตุเกสและบราซิลได้เต็มปีหลังจากปรับปรุงเสร็จ และธุรกิจอาหารยังเน้นการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายปี 2018 ที่ 47 บาท
กำไรสุทธิ 4Q17 โดดเด่นที่ 281 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 64% YoY และ 25% QoQ เนื่องจากมีรายการพิเศษจากการขายสินทรัพย์ ซึ่งหากไม่รวมรายการพิเศษ จะมีกำไรปกติที่ 181 ล้านบาท ใกล้เคียงกับที่เราคาดไว้ เพิ่มขึ้น 6% YoY แต่ลดลง 19% QoQ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางเดียวกับภาพรวมอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย สำหรับรวมทั้งปี 2017 มีกำไรสุทธิ 811 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 34% YoY ส่วนกำไรปกติอยู่ที่ 706 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 17% YoY สำหรับปี 2018 เรายังคงประเมินกำไรสุทธิที่ 777 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 10% YoY จากผลบวกของอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยที่จะฟื้นตัวได้ต่อเนื่อง รวมถึงคาดว่ายอดขายจากกลุ่มเครื่องจักรกลการเกษตรที่ดีขึ้น เรายังคงคำแนะนำ ซื้อ เป้าหมาย 22 บาท โดยมีการประกาศจ่ายเงินปันผลงวด 2H17 ที่ 0.65 บาท/หุ้น คิดเป็น dividend yield 3.3% จะขึ้นเครื่องหมาย XD วันที่ 22 ก.พ.
(0) MINT (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 47 บาท)
MINT ประกาศกำไรสุทธิใน 4Q17 อยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 24% YoY และ 41% QoQ เป็นไปตามที่ตลาดคาด แต่ต่ำกว่าที่เราคาด 9% จากธุรกิจอาหารที่แย่กว่าคาด โดย SSSG กลับมาหดตัว 1.1% YoY จากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ -0.9% YoY โดยยังคงได้รับแรงกดดันจากประเทศสิงคโปร์ที่มีการแข่งขันสูง แต่ประเทศไทยเติบโตได้ดีจากการบริโภคที่ฟื้นตัว ส่วนธุรกิจโรงแรมยังเตบโตได้ดี RevPar โดยรวมของทั้งกลุ่มเติบโตขึ้นได้ 1% YoY และ 3% QoQ จากโรงแรมในประเทศไทยและมัลดีฟส์ เรายังคงประมาณการในปี 2018 โดยคาดว่า กำไรสุทธิในปี 2018 จะเติบโตได้ที่ 15% YoY โดยได้รับแรงหนุนจากการรับรู้รายได้ที่โปรตุเกสและบราซิลได้เต็มปีหลังจากปรับปรุงเสร็จ และธุรกิจอาหารยังเน้นการขยายสาขาอย่างต่อเนื่อง ยังคงคำแนะนำ “ซื้อ” ราคาเป้าหมายปี 2018 ที่ 47 บาท
(0) PSH (ถือ, ราคาเป้าหมาย 25.50 บาท)
กำไรสุทธิ 4Q17 อยู่ที่ 1.74 พันล้านบาท ลดลง 11% YoY แต่เพิ่มขึ้น 35% QoQ โดยต่ำกว่าที่เราคาดไว้ 20% เป็นผลจากรายได้จากการโอนโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะจากโครงการทาวน์เฮ้าส์ระดับล่างที่เป็นตลาดหลักของ PSH รวมทั้งยอดโอนคอนโดที่ต่ำกว่าคาด สำหรับทั้งปี 2017 มีกำไรสุทธิรวม 5.46 พันล้านบาท ลดลง 8% YoY เรามีการปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2018 ลงจากเดิมราว 6% เป็น 6.09 พันล้านบาท จากภาพรวมการแข่งขันในตลาดระดับล่างที่ยังคงสูง แต่คาดกำไรสุทธิจะกลับมาเติบโตได้ 12% YoY จากโครงการคอนโดใหม่เริ่มโอนมากขึ้น และจากการเปิดตัวโครงการแนวราบใหม่มากขึ้น ทั้งนี้ เราปรับลดราคาเป้าหมายลงเป็น 25.50 บาท จากเดิมที่ 27 บาท และปรับคำแนะนำ เป็น ถือ จากเดิม ซื้อ โดยยังมอง PSH เป็นหุ้นปันผลสูงราว 5% - 6% ต่อปี
กำไรสุทธิ 4Q17 อยู่ที่ 1.74 พันล้านบาท ลดลง 11% YoY แต่เพิ่มขึ้น 35% QoQ โดยต่ำกว่าที่เราคาดไว้ 20% เป็นผลจากรายได้จากการโอนโครงการอสังหาริมทรัพย์ที่ต่ำกว่าคาด โดยเฉพาะจากโครงการทาวน์เฮ้าส์ระดับล่างที่เป็นตลาดหลักของ PSH รวมทั้งยอดโอนคอนโดที่ต่ำกว่าคาด สำหรับทั้งปี 2017 มีกำไรสุทธิรวม 5.46 พันล้านบาท ลดลง 8% YoY เรามีการปรับลดคาดการณ์กำไรสุทธิปี 2018 ลงจากเดิมราว 6% เป็น 6.09 พันล้านบาท จากภาพรวมการแข่งขันในตลาดระดับล่างที่ยังคงสูง แต่คาดกำไรสุทธิจะกลับมาเติบโตได้ 12% YoY จากโครงการคอนโดใหม่เริ่มโอนมากขึ้น และจากการเปิดตัวโครงการแนวราบใหม่มากขึ้น ทั้งนี้ เราปรับลดราคาเป้าหมายลงเป็น 25.50 บาท จากเดิมที่ 27 บาท และปรับคำแนะนำ เป็น ถือ จากเดิม ซื้อ โดยยังมอง PSH เป็นหุ้นปันผลสูงราว 5% - 6% ต่อปี
(0) TMT (ถือ, ราคาเป้าหมาย 17.50 บาท)
กำไรสุทธิ 4Q17 อยู่ที่ 143 ล้านบาท ชะลอตัวใกล้เคียงคาด ลดลง 30% YoY และ 31% QoQ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบเหล็กแผ่นรีดร้อน (HRC) มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาขายเหล็กของ TMT ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวลดลงเหลือ 8.4% ลดลงค่อนข้างมากทั้ง YoY และ QoQ ส่งผลให้ทั้งปี 2017 TMT มีกำไรสุทธิ 641 ล้านบาท ลดลง 30% YoY สำหรับปี 2018 เราคาดกำไรสุทธิที่ 693 ล้านบาท กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% YoY จากแนวโน้มปริมาณขายที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดย TMT ตั้งเป้าหมายปริมาณขายเติบโต 10% YoY เป็น 7.5 แสนตัน ทั้งนี้ เรายังคงประเมินราคาเป้าหมายปี 2018 ที่ 17.50 บาท แนะนำ ถือ โดย TMT จัดเป็นหุ้นปันผลสูงราว 7% ต่อปี
กำไรสุทธิ 4Q17 อยู่ที่ 143 ล้านบาท ชะลอตัวใกล้เคียงคาด ลดลง 30% YoY และ 31% QoQ เนื่องจากได้รับผลกระทบจากต้นทุนวัตถุดิบเหล็กแผ่นรีดร้อน (HRC) มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นมากกว่าราคาขายเหล็กของ TMT ส่งผลให้อัตรากำไรขั้นต้นปรับตัวลดลงเหลือ 8.4% ลดลงค่อนข้างมากทั้ง YoY และ QoQ ส่งผลให้ทั้งปี 2017 TMT มีกำไรสุทธิ 641 ล้านบาท ลดลง 30% YoY สำหรับปี 2018 เราคาดกำไรสุทธิที่ 693 ล้านบาท กลับมาปรับตัวเพิ่มขึ้น 8% YoY จากแนวโน้มปริมาณขายที่ยังคงเติบโตต่อเนื่อง โดย TMT ตั้งเป้าหมายปริมาณขายเติบโต 10% YoY เป็น 7.5 แสนตัน ทั้งนี้ เรายังคงประเมินราคาเป้าหมายปี 2018 ที่ 17.50 บาท แนะนำ ถือ โดย TMT จัดเป็นหุ้นปันผลสูงราว 7% ต่อปี
(0) INOX (ถือ, ราคาเป้าหมาย 1.42 บาท)
กำไรสุทธิ 4Q17 อยู่ที่ 111 ล้านบาท เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นจาก 3Q17 ที่ขาดทุน เนื่องจากราคาเหล็กเริ่มทรงตัวจากไตรมาสก่อนที่ปรับตัวลดลง สำหรับกำไรสุทธิทั้งปี 2017 อยู่ที่ 316 ล้านบาท ลดลง 46% YoY อย่างไรก็ตาม เราคาดว่ากำไรสุทธิปี 2018 จะกลับมาปรับตัวดีขึ้นโดดเด่น จากแนวโน้มปริมาณขายที่เติบโต โดย INOX จะมุ่งเน้นขยายฐานลูกค้าในกลุ่ม Premium มากขึ้น การลดต้นทุนผันแปรต่อหน่วย และได้ผลบวกจากค่าเงินบาที่แข็งค่า เราคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะปรับตัวดีขึ้นเป็น 7% จากปี 2017 ที่ 6.6% และค่าใช้จ่ายด้านภาษีจะปรับตัวสู่ระดับปกติจากปีก่อนทีมีค่าใช้จ่ายพิเศษด้านภาษีค่อนข้างมาก ดังนั้น เราคาดกำไรสุทธิปี 2018 ที่ 526 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66% YoY เราประเมินราคาเป้าหมายปี 2018 ที่ 1.42 บาท แนะนำ ถือ
กำไรสุทธิ 4Q17 อยู่ที่ 111 ล้านบาท เริ่มมีสัญญาณที่ดีขึ้นจาก 3Q17 ที่ขาดทุน เนื่องจากราคาเหล็กเริ่มทรงตัวจากไตรมาสก่อนที่ปรับตัวลดลง สำหรับกำไรสุทธิทั้งปี 2017 อยู่ที่ 316 ล้านบาท ลดลง 46% YoY อย่างไรก็ตาม เราคาดว่ากำไรสุทธิปี 2018 จะกลับมาปรับตัวดีขึ้นโดดเด่น จากแนวโน้มปริมาณขายที่เติบโต โดย INOX จะมุ่งเน้นขยายฐานลูกค้าในกลุ่ม Premium มากขึ้น การลดต้นทุนผันแปรต่อหน่วย และได้ผลบวกจากค่าเงินบาที่แข็งค่า เราคาดว่าอัตรากำไรขั้นต้นจะปรับตัวดีขึ้นเป็น 7% จากปี 2017 ที่ 6.6% และค่าใช้จ่ายด้านภาษีจะปรับตัวสู่ระดับปกติจากปีก่อนทีมีค่าใช้จ่ายพิเศษด้านภาษีค่อนข้างมาก ดังนั้น เราคาดกำไรสุทธิปี 2018 ที่ 526 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 66% YoY เราประเมินราคาเป้าหมายปี 2018 ที่ 1.42 บาท แนะนำ ถือ
Analysts: Mongkol Puangpetra, Nontapat Rushtasomboon
OO5727
OO5727