- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 20 February 2018 16:13
- Hits: 1335
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังแกว่งตัวในกรอบ 1803 -1823 จุด ยังได้แรงหนุนจากหุ้นน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันดูไบยังแกว่งตัว 60-63 เหรียญฯ และนโยบาย ธปท. ที่จะเปิดให้เอกชนเป็น Banking Agent น่าจะดึต่อกลุ่มค้าปลีกที่มีความพร้อม (BJC, CPALL) และอยู่ในช่วงฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในประเทศ แต่แรงกดดันหุ้นเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง จาก ธปท. ให้เลิกวิธีคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ กลยุทธ์ฯ เลือกรายหุ้นผสมหุ้น Domestic (WHA, BJC) เงินปันผลสูง (SIRI, INTUCH) + Global Play PTTEP, PTT Top picks เลือก PTT(FV@520) และ BJC(FV@73) มี upside สูงสุด และมีโอกาสเป็น Banking Agent สูง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. หุ้นค้าปลีกหนุนดัชนีคาดพร้อมจะได้ Banking Agent
วานนี้ SET Index แกว่งตัวบวกกว่า 13 จุด ในช่วงเช้า ก่อนที่ช่วงท้ายตลาดจะถูกแรงขายกดดันดัชนีย่อลงมาปิดตลาดที่ 1809.67 จุด เพิ่มขึ้น 3.78 จุด หรือ 0.21% ภาพการเคลื่อนไหวของหุ้นในแต่ละอุตสาหกรรมแกว่งตัวกระจัดกระจาย มีเพียงรายหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มค้าปลีกอย่าง CPALL บวกแรงกว่า 3.08% สะท้อนความคาดหวังจะได้รับการแต่งตั้ง เป็นตัวแทนทำธุรกรรมแทนธนาคารพาณิชย์ (Banking Agent) จากปัจจุบันที่เป็นเพียงผู้รับชำระเงิน ค่าสินค้าและบริการอย่างเท่านั้น (counter service) จากปัจจุบันมี FSMART รายเดียวที่เป็น Banking Agent รวมถึง CPF ในฐานะผู้ถือหุ้น CPALL เพิ่มขึ้น 3.07%
เช่นเดียวกับหุ้นค้าปลีกปรับตัวแรง คือ MAKRO บวก 8.33%, และ BJC บวก 1.80% และกลุ่มที่ปรับเพิ่มขึ้นคือ กลุ่มโรงกลั่น นำโดย IRPC เพิ่มขึ้น 1.33% ตามด้วย TOP เพิ่มขึ้น 1.00% และ ESSO เพิ่มขึ้น 2.20% ตามลำดับ
ตรงข้ามหุ้น ICT ลดทั้งกลุ่มคือ ADVANC, INTUCH และ DTAC ลดลง 0.51%, 0.86% และ 2.14% ตามลำดับ ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลดลงแรงคือ EASTW ลดลงกว่า 9.42% ตามด้วย ICHI ลดลง 9.09%, THREL ลดลง 8.80%, TTCL ลดลงอีก 7% และ KTC ลดลง 6.76% หลังบวกแรง 59.14% ytd
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนียังแกว่งตัวในกรอบ แนวรับ 1803 จุด แนวต้าน 1823 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังแกว่งตัวในกรอบ 1803 -1823 จุด ยังได้แรงหนุนจากหุ้นน้ำมัน ซึ่งราคาน้ำมันดูไบยังแกว่งตัว 60-63 เหรียญฯ และนโยบาย ธปท. ที่จะเปิดให้เอกชนเป็น Banking Agent น่าจะดึต่อกลุ่มค้าปลีกที่มีความพร้อม (BJC, CPALL) และอยู่ในช่วงฟื้นตัวตามเศรษฐกิจในประเทศ แต่แรงกดดันหุ้นเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง จาก ธปท. ให้เลิกวิธีคิดดอกเบี้ยแบบคงที่ กลยุทธ์ฯ เลือกรายหุ้นผสมหุ้น Domestic (WHA, BJC) เงินปันผลสูง (SIRI, INTUCH) + Global Play PTTEP, PTT Top picks เลือก PTT(FV@520) และ BJC(FV@73) มี upside สูงสุด และมีโอกาสเป็น Banking Agent สูง
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. หุ้นค้าปลีกหนุนดัชนีคาดพร้อมจะได้ Banking Agent
วานนี้ SET Index แกว่งตัวบวกกว่า 13 จุด ในช่วงเช้า ก่อนที่ช่วงท้ายตลาดจะถูกแรงขายกดดันดัชนีย่อลงมาปิดตลาดที่ 1809.67 จุด เพิ่มขึ้น 3.78 จุด หรือ 0.21% ภาพการเคลื่อนไหวของหุ้นในแต่ละอุตสาหกรรมแกว่งตัวกระจัดกระจาย มีเพียงรายหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มค้าปลีกอย่าง CPALL บวกแรงกว่า 3.08% สะท้อนความคาดหวังจะได้รับการแต่งตั้ง เป็นตัวแทนทำธุรกรรมแทนธนาคารพาณิชย์ (Banking Agent) จากปัจจุบันที่เป็นเพียงผู้รับชำระเงิน ค่าสินค้าและบริการอย่างเท่านั้น (counter service) จากปัจจุบันมี FSMART รายเดียวที่เป็น Banking Agent รวมถึง CPF ในฐานะผู้ถือหุ้น CPALL เพิ่มขึ้น 3.07%
เช่นเดียวกับหุ้นค้าปลีกปรับตัวแรง คือ MAKRO บวก 8.33%, และ BJC บวก 1.80% และกลุ่มที่ปรับเพิ่มขึ้นคือ กลุ่มโรงกลั่น นำโดย IRPC เพิ่มขึ้น 1.33% ตามด้วย TOP เพิ่มขึ้น 1.00% และ ESSO เพิ่มขึ้น 2.20% ตามลำดับ
ตรงข้ามหุ้น ICT ลดทั้งกลุ่มคือ ADVANC, INTUCH และ DTAC ลดลง 0.51%, 0.86% และ 2.14% ตามลำดับ ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลดลงแรงคือ EASTW ลดลงกว่า 9.42% ตามด้วย ICHI ลดลง 9.09%, THREL ลดลง 8.80%, TTCL ลดลงอีก 7% และ KTC ลดลง 6.76% หลังบวกแรง 59.14% ytd
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนียังแกว่งตัวในกรอบ แนวรับ 1803 จุด แนวต้าน 1823 จุด
GDP Growth ไทยยังฟื้นตัวคาด เครื่องจักรทุกตัวทำงาน
GDP Growth งวด 4Q60 ขยายตัว 4.0%yoy ดีกว่าที่ตลาดคาด 3.8%yoy แต่ต่ำกว่าที่ ASPS คาดที่ราว 4.2%yoy โดยแรงหนุนจากการบริโภคครัวเรือนที่เพิ่ม 3.5%yoy เทียบกับ 3.4% ใน 3Q60 หนุนจากนโยบายกระตุ้นของภาครัฐปลายปี อาทิ ช็อปช่วยชาติ, บัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย, ภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นช่วง High Season และส่งออกที่ขยายตัวได้ดีตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า 11.7%yoy (หน่วยดอลลาร์สหรัฐ) สวนทางกับการลงทุนภาครัฐที่ยังหด 6.0% เพราะผลกระทบของ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ที่มีความเข้มงวดเพิ่มขึ้น
ทำให้ตลอดทั้งปี 2560 ขยายตัว 3.9%yoy เทียบกับ ASPS คาด 3.8% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากทางสภาพัฒน์ได้มีการปรับปรุง (Revise) GDP ในงวด 1Q60 และ 2Q60 เป็น 3.4% และ 3.9% จากเดิม 3.3% และ 3.8% ตามลำดับ
แนวโน้มในปี 2561 คาดไว้ 4.2% ให้น้ำหนักการลงทุนเอกชน ซึ่งมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอด BOI ปี 2560 เพิ่มขึ้น 22%yoy มูลค่า 6.42 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าที่ BOI ตั้งไว้ที่ 6 แสนล้านบาท หลัง พ.ร.บ. ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ได้รับความเห็นชอบจากสนช. แล้ว และรอทูลเกล้า ควบคู่กับการลงทุนภาครัฐตามโครงการสาธารณูปโภคภาครัฐขนาดใหญ่ (Action plan) ที่คาดว่าจะมีงานประมูลเกิดขึ้นราว 9.05 แสนล้านบาทในปี 2561 ตามมาด้วยการบริโภคครัวเรือน ที่มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐตลอดปี 2561
GDP Growth งวด 4Q60 ขยายตัว 4.0%yoy ดีกว่าที่ตลาดคาด 3.8%yoy แต่ต่ำกว่าที่ ASPS คาดที่ราว 4.2%yoy โดยแรงหนุนจากการบริโภคครัวเรือนที่เพิ่ม 3.5%yoy เทียบกับ 3.4% ใน 3Q60 หนุนจากนโยบายกระตุ้นของภาครัฐปลายปี อาทิ ช็อปช่วยชาติ, บัตรสวัสดิการผู้มีรายได้น้อย, ภาคการท่องเที่ยวเนื่องจากเป็นช่วง High Season และส่งออกที่ขยายตัวได้ดีตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้า 11.7%yoy (หน่วยดอลลาร์สหรัฐ) สวนทางกับการลงทุนภาครัฐที่ยังหด 6.0% เพราะผลกระทบของ พ.ร.บ. จัดซื้อจัดจ้างฉบับใหม่ที่มีความเข้มงวดเพิ่มขึ้น
ทำให้ตลอดทั้งปี 2560 ขยายตัว 3.9%yoy เทียบกับ ASPS คาด 3.8% ส่วนหนึ่งเป็นผลจากทางสภาพัฒน์ได้มีการปรับปรุง (Revise) GDP ในงวด 1Q60 และ 2Q60 เป็น 3.4% และ 3.9% จากเดิม 3.3% และ 3.8% ตามลำดับ
แนวโน้มในปี 2561 คาดไว้ 4.2% ให้น้ำหนักการลงทุนเอกชน ซึ่งมีสัญญาณฟื้นตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากยอด BOI ปี 2560 เพิ่มขึ้น 22%yoy มูลค่า 6.42 แสนล้านบาท สูงกว่าเป้าที่ BOI ตั้งไว้ที่ 6 แสนล้านบาท หลัง พ.ร.บ. ระเบียงเขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก (EEC) ได้รับความเห็นชอบจากสนช. แล้ว และรอทูลเกล้า ควบคู่กับการลงทุนภาครัฐตามโครงการสาธารณูปโภคภาครัฐขนาดใหญ่ (Action plan) ที่คาดว่าจะมีงานประมูลเกิดขึ้นราว 9.05 แสนล้านบาทในปี 2561 ตามมาด้วยการบริโภคครัวเรือน ที่มีปัจจัยสนับสนุนจากมาตรการภาครัฐตลอดปี 2561
หุ้นค้าปลีกตอบรับการเป็น Banking Agent ทั้งยังไม่ได้ใบอนุญาต
ที่ผ่านมาการแต่งตั้งตัวเป็นตัวแทนของสถาบันการเงิน (Banking Agent) นั้น ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งเอกชน เป็นตัวแทนในการให้บริการธุรกรรมบางประเภท หรือประเภทใดๆ ได้นั้น ขึ้นกับความพร้อมของเอกชน แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธนาคารพาณิชย์ต้องรับผิดชอบประเด็นความเสี่ยงของผู้ใช้บริการเหมือนให้บริการเอง) ซึ่งปัจจุบันการแต่งตั้งการให้บริการ มีดังนี้
ธุรกิจโอนเงิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Banking Agent มีเพียง FSMART รายเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนโอนเงินจากธนาคารพาณิชย์ 3 แห่งคือ KTB, KBANK , SCB และปีนี้คาดว่าจะได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนอีก 2 แห่ง ซึ่งยังมิได้เปิดเผยรายชื่อในขณะนี้ ทั้งนี้เนื่องจากมีตู้เติมเงินอยู่ทั่วประเทศราว 1.24 แสนตัว เข้าถึงประชาชนระดับรากหญ้า ซึ่งมีตู้เติมเงินมีการพัฒนาระบบเดียวกับตู้ ATM ของธนาคารพาณิชย์ ทำให้เชื่อถือได้ถึงการให้บริการที่มีเสถียรภาพ
ธุรกรรมรับชำระเงิน(Payment) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Banking Agent ได้แก่ ชำระหนี้สินเชื่อ, บัตรเครดิต ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น ปัจจุบันผู้ให้บริการได้แก่ Couter service ของ CPALL, ตู้เติมเงิน FSMART, ตู้เติมสบาย AJA, SINGER , ตู้ True Money, ตู้ AIS Service เป็นต้น
ที่ผ่านมาการแต่งตั้งตัวเป็นตัวแทนของสถาบันการเงิน (Banking Agent) นั้น ธนาคารพาณิชย์จะเป็นผู้พิจารณาแต่งตั้งเอกชน เป็นตัวแทนในการให้บริการธุรกรรมบางประเภท หรือประเภทใดๆ ได้นั้น ขึ้นกับความพร้อมของเอกชน แต่ต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย (ธนาคารพาณิชย์ต้องรับผิดชอบประเด็นความเสี่ยงของผู้ใช้บริการเหมือนให้บริการเอง) ซึ่งปัจจุบันการแต่งตั้งการให้บริการ มีดังนี้
ธุรกิจโอนเงิน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Banking Agent มีเพียง FSMART รายเดียวที่ได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนโอนเงินจากธนาคารพาณิชย์ 3 แห่งคือ KTB, KBANK , SCB และปีนี้คาดว่าจะได้รับการแต่งตั้งเป็นตัวแทนอีก 2 แห่ง ซึ่งยังมิได้เปิดเผยรายชื่อในขณะนี้ ทั้งนี้เนื่องจากมีตู้เติมเงินอยู่ทั่วประเทศราว 1.24 แสนตัว เข้าถึงประชาชนระดับรากหญ้า ซึ่งมีตู้เติมเงินมีการพัฒนาระบบเดียวกับตู้ ATM ของธนาคารพาณิชย์ ทำให้เชื่อถือได้ถึงการให้บริการที่มีเสถียรภาพ
ธุรกรรมรับชำระเงิน(Payment) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของ Banking Agent ได้แก่ ชำระหนี้สินเชื่อ, บัตรเครดิต ค่าน้ำค่าไฟ เป็นต้น ปัจจุบันผู้ให้บริการได้แก่ Couter service ของ CPALL, ตู้เติมเงิน FSMART, ตู้เติมสบาย AJA, SINGER , ตู้ True Money, ตู้ AIS Service เป็นต้น
ส่วนธุรกรรมรับฝาก/ ถอนเงิน ปัจจุบัน บริษัทเอกชนในตลาด ยังไม่มีใครสามารถให้บริการ
แต่ในเกณฑ์ในการพิจารณาแต่งตั้งการเป็นตัวแทน Banking Agent ที่มีโอกาสจะได้รับการแต่งตั้งเพิ่มเติม จะพิจารณาความพร้อมตามเกณฑ์ของ ธปท โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ธนาคารพาณิชย์ ต้องรับความเสี่ยงเอง คือ
1. ผู้ให้บริการ ต้องมีจุดให้บริการชัดเจนเป็นหลักแหล่ง เช่น สาขา 7-11, ตู้เติมเงิน
2. มีระบบให้บริการทางการเงินที่มีเสถียรภาพ
3. นิติบุคคล /เอกชนจะต้องมีฐานะทางการเงินที่ปลอดภัยไม่ล้มละลาย เป็นต้น ซึ่งเดิมจะต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
ทั้งนี้ยกเว้น บุคคลธรรมดา อาทิ ร้านโชห่วย, ร้านค้าชุมชนที่ยังต้องขออนุญาต ที่ธนาคารพาณิชย์ยังต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้คาดว่าผู้ประกอบในกลุ่มค้าปลีกน่าจะมีความพร้อมในการให้ก้าวสู่การให้บริการทางการเป็น Banking Agent ได้ครบวงจรกว่าผู้ประกอบการรายอื่น ๆ (เช่น CPALL, BJC (BIGC) LOTUS) กล่าวคือ ปัจจุบันเป็นเพียงผู้รับชำระเงิน แต่อนาคตน่าจะขยายตัวสู่การรับฝาก ถอนหรือการ โอนเงิน เนื่องจากมีบุคลากรประจำสาขาพร้อมให้บริการตลอดเวลา แตกต่างจากตู้เติมเงินที่มีแต่ระบบ แต่ไม่มีบุคลากรจึงให้บริการได้เฉพาะการเป็นตัวแทนการโอนดังที่เกิดขึ้นกับ FSMART
แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจการรับชำระเงินของผู้ให้บริการค้าปลีก ปัจจุบันมีรายได้น้อยเมื่อเทียบกับรายได้รวมคือไม่ถึง 1% การก้าวสู่ธุรกิจ banking agent จะยังไม่เพิ่มผลกำไรมากนักแต่เป็นการเพิ่มการเติบโตในระยะยาว ซึ่งแตกต่างจาก FSMART ที่ฐานกำไรต่ำการก้าวสู่ธุรกิจการเป็นตัวแทนในการโอนเงินจึงช่วยหนุนกำไรได้มากกว่า
แต่ในเกณฑ์ในการพิจารณาแต่งตั้งการเป็นตัวแทน Banking Agent ที่มีโอกาสจะได้รับการแต่งตั้งเพิ่มเติม จะพิจารณาความพร้อมตามเกณฑ์ของ ธปท โดยไม่ต้องผ่านความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย แต่ธนาคารพาณิชย์ ต้องรับความเสี่ยงเอง คือ
1. ผู้ให้บริการ ต้องมีจุดให้บริการชัดเจนเป็นหลักแหล่ง เช่น สาขา 7-11, ตู้เติมเงิน
2. มีระบบให้บริการทางการเงินที่มีเสถียรภาพ
3. นิติบุคคล /เอกชนจะต้องมีฐานะทางการเงินที่ปลอดภัยไม่ล้มละลาย เป็นต้น ซึ่งเดิมจะต้องขออนุญาตธนาคารแห่งประเทศไทย(ธปท.)
ทั้งนี้ยกเว้น บุคคลธรรมดา อาทิ ร้านโชห่วย, ร้านค้าชุมชนที่ยังต้องขออนุญาต ที่ธนาคารพาณิชย์ยังต้องได้รับความเห็นชอบจากธนาคารแห่งประเทศไทย
ด้วยเหตุนี้คาดว่าผู้ประกอบในกลุ่มค้าปลีกน่าจะมีความพร้อมในการให้ก้าวสู่การให้บริการทางการเป็น Banking Agent ได้ครบวงจรกว่าผู้ประกอบการรายอื่น ๆ (เช่น CPALL, BJC (BIGC) LOTUS) กล่าวคือ ปัจจุบันเป็นเพียงผู้รับชำระเงิน แต่อนาคตน่าจะขยายตัวสู่การรับฝาก ถอนหรือการ โอนเงิน เนื่องจากมีบุคลากรประจำสาขาพร้อมให้บริการตลอดเวลา แตกต่างจากตู้เติมเงินที่มีแต่ระบบ แต่ไม่มีบุคลากรจึงให้บริการได้เฉพาะการเป็นตัวแทนการโอนดังที่เกิดขึ้นกับ FSMART
แต่อย่างไรก็ตามธุรกิจการรับชำระเงินของผู้ให้บริการค้าปลีก ปัจจุบันมีรายได้น้อยเมื่อเทียบกับรายได้รวมคือไม่ถึง 1% การก้าวสู่ธุรกิจ banking agent จะยังไม่เพิ่มผลกำไรมากนักแต่เป็นการเพิ่มการเติบโตในระยะยาว ซึ่งแตกต่างจาก FSMART ที่ฐานกำไรต่ำการก้าวสู่ธุรกิจการเป็นตัวแทนในการโอนเงินจึงช่วยหนุนกำไรได้มากกว่า
หลังตรุษจีนต่างชาติกลับมาซื้อหุ้นในภุมิภาคเล็กน้อย ยกเว้นไทย
วานนี้ตลาดหุ้นไต้หวันยังคงหยุดทำการ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน และจะกลับมาเปิดทำการอีกครั้งในวันนี้ ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ กลับมาเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 118 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 132 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 31 ล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ถูกขายสุทธิ 46 ล้านเหรียญ หรือ 1.45 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 12 วัน โดยมีมูลค่ารวมสูงกว่า 3.63 หมื่นล้านบาท) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 2.65 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 2.16 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.26 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) โดยแรงซื้อหลักๆยังคงอยู่ในตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นหลัก สังเกตได้จากในช่วง 6 วันที่ผ่านมาต่างชาติซื้อตราสารหนี้อายุไม่เกิน 1 ปี ไปแล้วกว่า 1.82 หมื่นล้านบาท แต่กลับขายตราสารหนี้อายุมากกว่า 1 ปี เล็กน้อย 1.51 พันล้านบาท ซึ่งอาจเป็นการพักเงินรอปรับพอร์ตเข้าตลาดหุ้นไทยใหม่อีกครั้ง
ยังเห็นแรงขายรับงบ 4Q60
ยังมีรายงานผลประกอบการงวด 4Q60 เพิ่มเติมล่าสุด MINT มีกำไรสุทธิ 4Q60 มากกว่าที่คาดอยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%yoy มีปัจจัยหนุนจากส่วนแบ่งกำไรบริษัทร่วมที่สูงขึ้น และการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะในมัลดีฟท์ ส่งผลให้ภาพรวมกำไรปกติปี 2560 ที่ 5.4 พันล้านบาท โต 18% yoy สำหรับปี 2561 คาดกำไรโต 6.09 พันล้านบาท จากการเติบโตของโรงแรมเดิมในไทย โปรตุเกส บราซิล และมัลดีฟท์ รวมถึงรับบริหารโรงแรมใหม่เพิ่มทั้งในและต่างประเทศ ด้านธุรกิจอาหารคาดมียอดขายร้านอาหารเดิมเติบโต (Same Store Sale Growth –SSSG) และจะมีการขยายสาขาร้านอาหารใหม่เพิ่ม จะเห็นได้ว่า MINT มีฐานธุรกิจหลากหลายและกระจายตัวทั้งในและต่างประเทศ ราคาหุ้นมี upside สูงถึง 18% จาก Fair Value ที่ 50.00 บาท คงแนะนำซื้อ (จ่ายเงินปันผลปี 2560 หุ้นละ 0.40 บาท XD 10 เม.ย. 2561)
ตามด้วย SAT กำไรสุทธิงวด 4Q60 อยู่ที่ 281 ล้านบาท ซึ่งหากไม่รวมกำไรจากการขายทรัพย์สิน บ. ย่อย BSK (SAT ถือ 100%) หลังหักภาษีให้กับ บจก. มูเบีย สมบูรณ์ ออโตโมทีฟ หรือ “MSA” (SAT ถือ 50.01% และ MUBEA 49.99%) และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนรวมกัน 110 ล้านบาท จะมีกำไรปกติ 171 ล้านบาท ทรงตัวจากช่วงปีก่อน แม้ยอดขายเพิ่มขึ้นแต่ไม่อาจชดเชยได้กับ Gross Margin ที่ลดลง ประกอบกับต้นทุนเหล็ก (สัดส่วน 40% ของต้นทุนการผลิต) ปรับตัวสูง อย่างไรก็ตามกำไรปกติ 9M60 เติบโต 22% yoy จึงยังทำให้กำไรปกติปี 2560 ขยายตัวใกล้เคียงคาดที่ 696 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% yoy สำหรับแนวโน้มกำไร 1Q61 คาดยังคงเติบโต YoY จากงานใหม่ที่มีมาร์จิ้นสูง มี Fair value ปี 2561 ที่ 20.70 บาท ราคามี Upside 5.1% จึงคงแนะนำ SWITCH ไป STANLY (FV@B259) ที่มี Upside 31%
โดยในสัปดาห์นี้จะมีการรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนฯ ที่มี Market Cap ขนาดใหญ่ เช่น PTT, IVL, BANPU, CPN, CENTEL, CPALL จึงยังต้องระมัดระวังแรงขาย Sell on Fact ที่อาจมีอย่างต่อเนื่อง
วานนี้ตลาดหุ้นไต้หวันยังคงหยุดทำการ เนื่องจากเป็นช่วงเทศกาลตรุษจีน และจะกลับมาเปิดทำการอีกครั้งในวันนี้ ส่วนตลาดหุ้นอื่นๆ กลับมาเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า ต่างชาติสลับมาซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาค 118 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน) และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 132 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 31 ล้านเหรียญ และฟิลิปปินส์ 1 ล้านเหรียญ ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ถูกขายสุทธิ 46 ล้านเหรียญ หรือ 1.45 พันล้านบาท (ขายสุทธิติดต่อกันนานถึง 12 วัน โดยมีมูลค่ารวมสูงกว่า 3.63 หมื่นล้านบาท) ต่างกับนักลงทุนสถาบันฯที่ซื้อสุทธิ 2.65 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย นักลงทุนสถาบันฯซื้อสุทธิ 2.16 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.26 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) โดยแรงซื้อหลักๆยังคงอยู่ในตราสารหนี้ระยะสั้นเป็นหลัก สังเกตได้จากในช่วง 6 วันที่ผ่านมาต่างชาติซื้อตราสารหนี้อายุไม่เกิน 1 ปี ไปแล้วกว่า 1.82 หมื่นล้านบาท แต่กลับขายตราสารหนี้อายุมากกว่า 1 ปี เล็กน้อย 1.51 พันล้านบาท ซึ่งอาจเป็นการพักเงินรอปรับพอร์ตเข้าตลาดหุ้นไทยใหม่อีกครั้ง
ยังเห็นแรงขายรับงบ 4Q60
ยังมีรายงานผลประกอบการงวด 4Q60 เพิ่มเติมล่าสุด MINT มีกำไรสุทธิ 4Q60 มากกว่าที่คาดอยู่ที่ 1.6 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 20%yoy มีปัจจัยหนุนจากส่วนแบ่งกำไรบริษัทร่วมที่สูงขึ้น และการดำเนินงานที่แข็งแกร่งของธุรกิจโรงแรม โดยเฉพาะในมัลดีฟท์ ส่งผลให้ภาพรวมกำไรปกติปี 2560 ที่ 5.4 พันล้านบาท โต 18% yoy สำหรับปี 2561 คาดกำไรโต 6.09 พันล้านบาท จากการเติบโตของโรงแรมเดิมในไทย โปรตุเกส บราซิล และมัลดีฟท์ รวมถึงรับบริหารโรงแรมใหม่เพิ่มทั้งในและต่างประเทศ ด้านธุรกิจอาหารคาดมียอดขายร้านอาหารเดิมเติบโต (Same Store Sale Growth –SSSG) และจะมีการขยายสาขาร้านอาหารใหม่เพิ่ม จะเห็นได้ว่า MINT มีฐานธุรกิจหลากหลายและกระจายตัวทั้งในและต่างประเทศ ราคาหุ้นมี upside สูงถึง 18% จาก Fair Value ที่ 50.00 บาท คงแนะนำซื้อ (จ่ายเงินปันผลปี 2560 หุ้นละ 0.40 บาท XD 10 เม.ย. 2561)
ตามด้วย SAT กำไรสุทธิงวด 4Q60 อยู่ที่ 281 ล้านบาท ซึ่งหากไม่รวมกำไรจากการขายทรัพย์สิน บ. ย่อย BSK (SAT ถือ 100%) หลังหักภาษีให้กับ บจก. มูเบีย สมบูรณ์ ออโตโมทีฟ หรือ “MSA” (SAT ถือ 50.01% และ MUBEA 49.99%) และกำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนรวมกัน 110 ล้านบาท จะมีกำไรปกติ 171 ล้านบาท ทรงตัวจากช่วงปีก่อน แม้ยอดขายเพิ่มขึ้นแต่ไม่อาจชดเชยได้กับ Gross Margin ที่ลดลง ประกอบกับต้นทุนเหล็ก (สัดส่วน 40% ของต้นทุนการผลิต) ปรับตัวสูง อย่างไรก็ตามกำไรปกติ 9M60 เติบโต 22% yoy จึงยังทำให้กำไรปกติปี 2560 ขยายตัวใกล้เคียงคาดที่ 696 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 15% yoy สำหรับแนวโน้มกำไร 1Q61 คาดยังคงเติบโต YoY จากงานใหม่ที่มีมาร์จิ้นสูง มี Fair value ปี 2561 ที่ 20.70 บาท ราคามี Upside 5.1% จึงคงแนะนำ SWITCH ไป STANLY (FV@B259) ที่มี Upside 31%
โดยในสัปดาห์นี้จะมีการรายงานผลประกอบการบริษัทจดทะเบียนฯ ที่มี Market Cap ขนาดใหญ่ เช่น PTT, IVL, BANPU, CPN, CENTEL, CPALL จึงยังต้องระมัดระวังแรงขาย Sell on Fact ที่อาจมีอย่างต่อเนื่อง
ดัชนีแกว่งตัว 1785-1823 จุด
คาดว่า SET Index สัปดาห์นี้น่าจะผันผวนในกรอบ 1785 – 1823 จุด โดยมีปัจจัยที่จำกัดกรอบการเคลื่อนไหว นอกจากการทยอยงบงวด 4Q60 ใกล้จบ ยังขาดประเด็นหนุนใหม่ ๆ แต่ยังเป็นประเด็นเดิมคือ
กระแส Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติ น่าจะยังคงไม่ไหลเข้ามาในช่วงนี้ สะท้อนจากเดือน ก.พ. นักลงทุนดังกล่าวขายสุทธิทั้ง 5 ตลาดฯ (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย) รวมกันกว่า 7.9 พันล้านเหรียญ
ค่าเงินค่อนข้างผันผวน แม้ Dollar Index จะมีการแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อย (วานนี้อยู่ที่ 89 จุด) แต่ก็ไม่น่าจะแข็งค่าเกินกว่าระดับ 90 จุด ซึ่งก็จะทำให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียรวมทั้งเงินบาทกลับมาแข็งค่าในระยะถัดไป กดดันต่อหุ้นกลุ่มส่งออก
การที่ธนาคารกลางหลายแห่งมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ ตามสหรัฐในปีนี้ โดยเฉพาะอังกฤษ มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้แรงกว่าสหรัฐ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันฟื้นตัวช่วงสั้นจากความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง แต่อย่างไรก็ตาม ความกังวลด้าน Supply ที่มาจากสหรัฐ ยังคงทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบมีกรอบการขึ้นที่จำกัด บริเวณ 60-63 เหรียญต่อบาร์เรล
คาดว่า SET Index สัปดาห์นี้น่าจะผันผวนในกรอบ 1785 – 1823 จุด โดยมีปัจจัยที่จำกัดกรอบการเคลื่อนไหว นอกจากการทยอยงบงวด 4Q60 ใกล้จบ ยังขาดประเด็นหนุนใหม่ ๆ แต่ยังเป็นประเด็นเดิมคือ
กระแส Fund Flow จากนักลงทุนต่างชาติ น่าจะยังคงไม่ไหลเข้ามาในช่วงนี้ สะท้อนจากเดือน ก.พ. นักลงทุนดังกล่าวขายสุทธิทั้ง 5 ตลาดฯ (อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เกาหลีใต้ ไต้หวัน และไทย) รวมกันกว่า 7.9 พันล้านเหรียญ
ค่าเงินค่อนข้างผันผวน แม้ Dollar Index จะมีการแข็งค่าขึ้นมาเล็กน้อย (วานนี้อยู่ที่ 89 จุด) แต่ก็ไม่น่าจะแข็งค่าเกินกว่าระดับ 90 จุด ซึ่งก็จะทำให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียรวมทั้งเงินบาทกลับมาแข็งค่าในระยะถัดไป กดดันต่อหุ้นกลุ่มส่งออก
การที่ธนาคารกลางหลายแห่งมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นดอกเบี้ยฯ ตามสหรัฐในปีนี้ โดยเฉพาะอังกฤษ มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยได้แรงกว่าสหรัฐ เนื่องจากอัตราเงินเฟ้อที่อยู่ในระดับสูง
ราคาน้ำมันฟื้นตัวช่วงสั้นจากความไม่สงบในภูมิภาคตะวันออกกลาง แต่อย่างไรก็ตาม ความกังวลด้าน Supply ที่มาจากสหรัฐ ยังคงทำให้ราคาน้ำมันดิบดูไบมีกรอบการขึ้นที่จำกัด บริเวณ 60-63 เหรียญต่อบาร์เรล
ดัชนีแกว่งตัว กลยุทธ์การลงทุนสะสมหุ้น BJC, WHA, PTTEP
กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำทยอยขายทำกำไรหุ้นแพง ราคาปัจจุบันเกิน Upside ไปแล้ว หรือมี Upside จำกัด เช่น EGCO AOT TOP BCPG AEONTS SCCC EA TVO HMPRO และ CPALL รวมถึง หุ้นเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง ที่ยังไม่ได้สะท้อนประเด็นข่าวการปรับเปลี่ยนวิธีการคิดดอกเบี้ยฯ มากนัก โดยเชื่อว่าในระยะยาวหันในกลุ่มฯ นี้มีโอกาสที่จะค่อยๆ แกว่งตัวลง
รวมถึงหุ้นค้าปลีก ที่ปรับตัวแรง คือ CPALL สะท้อนการเป็น Banking Agent ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว กลยุทธ์การลงทุน ยังผสมระหว่าง Domestic Play และ Global Play คือ
Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ คือ
หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC ที่ราคาหุ้นยังมี upside สูงกว่า 29%
กลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC แล้ว และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW
หุ้นปันผลสูง ฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO (XD 27 ก.พ.) ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
Global Play ให้เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน คือ PTTEP, PTT เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5724
กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำทยอยขายทำกำไรหุ้นแพง ราคาปัจจุบันเกิน Upside ไปแล้ว หรือมี Upside จำกัด เช่น EGCO AOT TOP BCPG AEONTS SCCC EA TVO HMPRO และ CPALL รวมถึง หุ้นเช่าซื้อ-ลิสซิ่ง ที่ยังไม่ได้สะท้อนประเด็นข่าวการปรับเปลี่ยนวิธีการคิดดอกเบี้ยฯ มากนัก โดยเชื่อว่าในระยะยาวหันในกลุ่มฯ นี้มีโอกาสที่จะค่อยๆ แกว่งตัวลง
รวมถึงหุ้นค้าปลีก ที่ปรับตัวแรง คือ CPALL สะท้อนการเป็น Banking Agent ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว กลยุทธ์การลงทุน ยังผสมระหว่าง Domestic Play และ Global Play คือ
Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ คือ
หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC ที่ราคาหุ้นยังมี upside สูงกว่า 29%
กลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC แล้ว และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW
หุ้นปันผลสูง ฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO (XD 27 ก.พ.) ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
Global Play ให้เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน คือ PTTEP, PTT เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5724