- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 16 February 2018 16:20
- Hits: 1023
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ราคาน้ำมันดูไบฟื้นตัวเหนือ 60 เหรียญฯต่อบาร์เรลอีกครั้ง แม้สต็อกน้ำมันจะเพิ่มขึ้น แต่หักล้างด้วยเงินดอลลาร์ที่กลับมาอ่อนค่า ขณะที่เงินเฟ้อโลกทรงตัว-ขึ้น หนุนดอกเบี้ยฯ เข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น ยกเว้นไทย เงินเฟ้อต่ำ หนุนดอกเบี้ยต่ำตลอด 1H61 ยังหนุนเงินไหลออก ส่วนแรงขายรับงบยังมีอยู่ กลยุทธ์ฯ ผสมผสานหุ้น Domestic (WHA, BJC) + Global Play PTTEP, PTT เงินปันผลสูง (SIRI, INTUCH) Top picks ยังชอบ WHA ([email protected]) วันนี้เพิ่ม PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@520) มีโอกาสฟื้นตัวตามราคาน้ำมัน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. หุ้นพลังงานดันดัชนีปิดบวกแรงท้ายตลาด
วานนี้ SET Index แกว่งตัวแคบในแดนบวก ก่อนที่ช่วงท้ายตลาดจะได้แรงซื้อดันดัชนีปิดที่ 1800.86 จุด เพิ่มขึ้น 8.77 จุด หรือ 0.49% แต่มูลค่าการซื้อขายเพียง 4.46 หมื่นล้านบาท ดัชนีได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานฟื้นตัวโดดเด่น นำโดย PTTEP ปรับตัวขึ้นแรง 2.27% สอดคล้องกับทิศทางราคาน้ำมันดิบดูไบขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามด้วยหุ้น PTT เพิ่มขึ้น 1.25% กลุ่มปิโตร IVL เพิ่มขึ้น 1.86% และ PTTGC เพิ่มขึ้น 1.37% ส่วนโรงไฟฟ้า EGCO เพิ่มขึ้น 3.62% โรงไฟฟ้าถ่านหิน BANPU เพิ่มขึ้นแรงกว่า 4.81% ขณะเดียวกันหุ้นรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ปรับตัวลดลงยกแผง ทั้ง UNIQ ลดลง 3.45% ตามด้วย CK ลดลง 2.80%, ITD ลดลง 3.52% และ STEC ลดลงแรง 7.26% จากแรงขายรับงบ 4Q60 ที่เผชิญผลขาดทุน 1.32 พันล้านบาท สาเหตุหลักเกิดจากการตั้งสำรองผลขาดทุนโครงการรัฐสภาและสนามบินภูเก็ต
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีน่าจะยังมี Momentum เชิงบวก แต่มูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง คาดดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบ 1790-1807 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
ราคาน้ำมันดูไบฟื้นตัวเหนือ 60 เหรียญฯต่อบาร์เรลอีกครั้ง แม้สต็อกน้ำมันจะเพิ่มขึ้น แต่หักล้างด้วยเงินดอลลาร์ที่กลับมาอ่อนค่า ขณะที่เงินเฟ้อโลกทรงตัว-ขึ้น หนุนดอกเบี้ยฯ เข้าสู่วัฏจักรขาขึ้น ยกเว้นไทย เงินเฟ้อต่ำ หนุนดอกเบี้ยต่ำตลอด 1H61 ยังหนุนเงินไหลออก ส่วนแรงขายรับงบยังมีอยู่ กลยุทธ์ฯ ผสมผสานหุ้น Domestic (WHA, BJC) + Global Play PTTEP, PTT เงินปันผลสูง (SIRI, INTUCH) Top picks ยังชอบ WHA ([email protected]) วันนี้เพิ่ม PTTEP(FV@B137) และ PTT(FV@520) มีโอกาสฟื้นตัวตามราคาน้ำมัน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. หุ้นพลังงานดันดัชนีปิดบวกแรงท้ายตลาด
วานนี้ SET Index แกว่งตัวแคบในแดนบวก ก่อนที่ช่วงท้ายตลาดจะได้แรงซื้อดันดัชนีปิดที่ 1800.86 จุด เพิ่มขึ้น 8.77 จุด หรือ 0.49% แต่มูลค่าการซื้อขายเพียง 4.46 หมื่นล้านบาท ดัชนีได้แรงหนุนจากหุ้นกลุ่มพลังงานฟื้นตัวโดดเด่น นำโดย PTTEP ปรับตัวขึ้นแรง 2.27% สอดคล้องกับทิศทางราคาน้ำมันดิบดูไบขยับขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตามด้วยหุ้น PTT เพิ่มขึ้น 1.25% กลุ่มปิโตร IVL เพิ่มขึ้น 1.86% และ PTTGC เพิ่มขึ้น 1.37% ส่วนโรงไฟฟ้า EGCO เพิ่มขึ้น 3.62% โรงไฟฟ้าถ่านหิน BANPU เพิ่มขึ้นแรงกว่า 4.81% ขณะเดียวกันหุ้นรับเหมาก่อสร้างรายใหญ่ปรับตัวลดลงยกแผง ทั้ง UNIQ ลดลง 3.45% ตามด้วย CK ลดลง 2.80%, ITD ลดลง 3.52% และ STEC ลดลงแรง 7.26% จากแรงขายรับงบ 4Q60 ที่เผชิญผลขาดทุน 1.32 พันล้านบาท สาเหตุหลักเกิดจากการตั้งสำรองผลขาดทุนโครงการรัฐสภาและสนามบินภูเก็ต
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีน่าจะยังมี Momentum เชิงบวก แต่มูลค่าการซื้อขายที่เบาบาง คาดดัชนีจะแกว่งตัวในกรอบ 1790-1807 จุด
น้ำมันยังไปต่อ หลังดอลลาร์กลับมาอ่อนค่า
Dollar Index กลับอ่อนค่าตลอดสัปดาห์นี้ โดยอ่อนค่า 2% จาก 9 ก.พ. ที่ผ่านมา (อ่อนค่า 3.8 % จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน หรือ ytd) ทั้งนี้แม้ bond yield ยังคงเพิ่มขึ้นตามความกังวลต่อเงินเฟ้อที่ทรงตัวระดับเกิน 2% มา 2 เดือน แต่ถูกหักล้างจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว คือ ยอดค้าปลีก (Retail sales) ติดต่อกัน 2 เดือน ล่าสุดใน ม.ค. ลดลง 0.3%mom เป็นผลจากยอดขายสินค้ากลุ่มเคหสถาน เช่น ของตกแต่งที่อยู่อาศัยหดตัว 2.4%mom จากสภาพอากาศที่หนาวผิดปกติ และหมวดยานยนต์ลดลง 1.3% เป็นต้น และยังพบว่าล่าสุดยอดผู้ว่างงานขอรับสวัสดิการครั้งแรก (Initial jobless claim) ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.3 ราย สูงกว่าสัปดาห์ก่อนที่ 2.23 แสนราย แม้อัตราการว่างงาน (Lagging Economic Indicator) เดือน ม.ค. ยังทรงตัวที่ 4.1% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 แสดงถึงตลาดแรงงานที่ขยายตัวจนใกล้ระดับสูงสุด (Full employment)
ขณะที่คาดหวังว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) น่าจะขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเร่ง แม้ล่าสุดจะเป็นที่ทราบกันว่า BOE จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ (หลังจากที่ขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ไปเมื่อ พ.ย. 60) โดยน่าจะขึ้นครั้งแรกในการประชุมรอบ พ.ค. ทั้งนี้เพราะเงินเฟ้อที่สูงถึง 3.0% ใน ม.ค. นับว่าสูงติดต่อเป็นเดือนที่ 2 และห่างจากดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% อย่างมาก เป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินปอนด์ยังอยู่ในทิศทางแข็งค่า โดยวานนี้ แข็งค่า 0.64% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ และแข็งค่า 4.345%ytd สวนทางกับค่าเงินดอลลาร์มีทิศทางอ่อนค่าดังกล่าวข้างต้น หนุน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ และน้ำมัน ให้เดินหน้าต่อ โดยคาดว่าน้ำมันดูไบมีโอกาสขึ้นทดสอบ 64 เหรียญฯต่อบาร์เรล นั่นหมายถึงหุ้น PTTEP และ PTT มีโอกาสกลับไปทดสอบจุดสูงสุดในรอบนี้อีกครั้ง
ต่างชาติยังขายหุ้นกลุ่ม TIP แต่แรงขายเริ่มเบาลง
วานนี้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้และไต้หวันหยุดทำการ เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า แรงขายเริ่มเบาลง ด้วยมูลค่ารวมเพียง 56 ล้านเหรียญ เริ่มจากอินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 19 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 14), ฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 15) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 30 ล้านเหรียญ หรือ 939 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10 มีมูลค่ารวมสูงถึง 3.47 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิเล็กน้อย 89 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นว่าต่างชาติขายหุ้นไทยเบาลง และเชื่อว่าแรงขายน่าจะมีจำกัด เนื่องจากหากพิจารณายอดซื้อสะสมสุทธิตลาดหุ้นไทยของต่างชาติ (ปรับตามมูลค่าตลาด) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พบว่าเหลือเพียง 3.96 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับยอดซื้อสุทธิสูงสุดที่ 4.69 แสนล้านบาท (ณ วันที่ 15 มี.ค. 56)
และยังมีความเป็นไปได้ที่ต่างชาติจะกลับมาซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง เนื่องจากหากพิจารณาจากตลาดตราสารหนี้ไทยพบว่า แม้ต่างชาติซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 4 มีมูลค่ารวม 1.59 หมื่นล้านบาท แต่แรงซื้อดังกล่าวกลับกระจุกตัวเฉพาะในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุน้อยกว่า 1 ปี) ราว 1.73 หมื่นล้านบาท ตรงข้ามกับตราสารหนี้ระยะยาวที่ถูกขายสุทธิเล็กน้อย 1.38 พันล้านบาท ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทในระยะสั้น หรืออาจเป็นการพักเงินรอปรับพอร์ตเข้าตลาดหุ้นไทยใหม่อีกครั้ง
เลือกตั้งเกิดขึ้น ปี 2562 เชื่อได้หรือไม่ ตลาดหุ้นยังกดอยู่
การประชุม สนช. เมื่อ 15 ก.พ.2561 มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (ประกอบด้วยตัวแทนจาก กรธ., กกต. และ สนช.) 2 คณะเพื่อพิจารณา พ.ร.ป. 2 ฉบับ (พ.ร.ป.ว่าด้วยการการเลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว.) โดยคณะกรรมาธิการดังกล่าวจะมีเวลาทำงาน 15 วัน สิ้นสุด 1 มี.ค.2561 หลังจากนั้นนำผลสรุปเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. หากที่ประชุม สนช. เห็นชอบตามข้อสรุปที่ได้จากคณะกรรมาธิการร่วมแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งหากเป็นไปตามกรอบเวลานี้การจัดการเลือกตั้งก็จะอยู่ในช่วงเดือน ก.พ.2562
แต่หากสนช. ไม่เห็นชอบกับข้อสรุปของคณะกรรมาธิการร่วม และโหวตคว่ำกฎหมายด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 (166 เสียงจาก 248 เสียง) พ.ร.ป. ก็จะตกไปและต้องเช้าสู่กระบวนการร่างกฎหมายใหม่ ซึ่งในกรณีนี้จะทำให้กำหนดการเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปจาก ก.พ.2562 อีกหลายเดือน ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองร้อนแรง และกลายเป็นแรงกดดัน SET Index ขึ้นมาอีกรอบหนึ่ง อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องติดตามในส่วนของสถานการณ์ทางการเมือง ก็คือการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่เริ่มเห็นการอกมาชุมนุม โดยต้องติดตามว่าจะมีการขยายวงออกไปหรือไม่อย่างไร
ทยอยประกาศงบ 4Q60 ROBINS, FSMART ชะลอตัว
วานนี้หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างดิ่งลงหนัก เป็นผลมาจากการรายงานงบฯ ของ STEC ที่พลิกจากกำไรเป็นขาดทุน โดยผลขาดทุน 4Q60 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท ซึ่งเกิดจากการตั้งสำรองโครงการรัฐสภาและสนามบินภูเก็ต ที่เหลือเป็นของโครงการเล็กๆน้อยๆ ทาง STEC คาดว่ามีการตั้งสำรองเพียงพอแล้ว ขณะที่ Backlog ในปัจจุบันมีค่อนข้างสูง อยู่ที่ 1.2 แสนล้านบาท ( New high ) ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปี 2561-62 สำหรับปี 2561 ฝ่ายวิจัยมีโอกาสปรับประมาณการกำไรลงประมาณ 15-20% เหลือที่ 1.1 พันล้านบาท จาก 1.4 พันล้านบาท โดยไม่รวมผลกำไรหรือขาดทุนจากหุ้น GULF ที่จะมีการบันทึกเงินลงทุนแบบหลักทรัพย์เพื่อการค้า ณ ราคาปิดที่ 65 บาท ส่วนราคาที่สมเหมาะสมของ STEC อยู่ที่ 24 บาท (เดิม 30 บาท) อย่างไรก็ตามด้วยราคาที่ปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก จึงยังคงแนะนำซื้อ
หุ้นพลังงานที่ประกาศ คือ TOP กำไรสุทธิ 4Q60 ตามคาดที่ 6.9 พันล้านบาท ลดลง 8.9%qoq แต่เติบโต 19.4%yoy หลักๆ มาจากค่าการกลั่นที่ลดลง แม้ได้รับชดเชยจากการบันทึกกำไรสต็อกน้ำมันและ FX รวมทั้งส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจอะโรเมติกส์ที่เพิ่มขึ้น โดยรวมปี 2560 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 17.1%yoy สำหรับแนวโน้ม 1Q61 คาดทรงตัวใกล้เคียง 4Q60 จากค่าการกลั่นที่มีแนวโน้มทรงตัว ขณะที่ธุรกิจอะโรเมติกส์คาดว่าจะทรงตัวหรือฟื้นตัวได้เล็กน้อย ส่วนปี 2561 คาดว่ากำไรจาการดำเนนงานจะลดลง 19% จากปี 2560 ภายใต้สมมติฐานค่าการกลั่นลดลง0.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล เหลือ 6.5 เหรียฯฯ น้ำมันขาขึ้นจะกดดันค่าการกลั่น และ ปี 2560 มีภัยธรรมชาติ หนุนค่าการกลั่นสูงเป็นกรณีพิเศษ และ spread ของอะโรเมติกส์ จะลดลงจาก 50 เหรียญฯ เหลือ 250 เหรียญฯ ต่อตัน เนื่องจากจะมี new supply จากจีน ซาอุดิอาละเบีย เวียดนาม เป็นต้น จึงยังแนะนำ switch ไป IRPC ([email protected])
หุ้นค้าปลีก ROBINS รายงานกำไรสุทธิ 4Q60 ตามคาดที่ 820 ล้านบาท ลดลง 18.8%yoy เนื่องจาก 4Q59 มีการบันทึกรายการพิเศษ แต่เติบโต 34.5%qoq จากรายได้ค่าเช่าพื้นที่ที่เติบโต และอัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นจากการเปลี่ยนมาขายสินค้า private label ที่มีอัตรากำไรสูงแทนสินค้าเดิมมากขึ้น รวมทั้งมีการเปิดสาขาใหม่ 2 แห่งในไตรมาสนี้ โดยรวมปี 2560 กำไรสุทธิลดลงเล็กน้อยจาก 2559 ราว 2.6% (กำไรปกติเติบโต 7.7%)และปี 2561 คาดจะเติบโตเพียง 3.7%yoy (กำไรปกติเติบโต 18.4%) จากกลยุทธ์การเพิ่มค่าเช่า และ Margin ขณะที่ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) มีโอกาสขยายตัวได้ 2% และ การนำสินค้า Private Brand มาทดแทนสินค้าฝากขายบางส่วน และระยะยาวยังเผชิญกับการค้าออนไลน์มากสุด รวมทั้ง upside จำกัด Switch ไป BJC(FV@B73)
FSMART([email protected]) กำไรงวด 4Q60 น่าผิดหวังเพราะเร่งติดตั้งตู้เติมเงินทำให้ทั้งปี 2560 ติดตั้งได้ทั้งหมด เครื่อง 3.2 หมื่นตู้เทียบกับ ที่ ASPS คาดไว้ 3 หมื่นตู้ ทำให้ต้องตัดค่าเสื่อมสูงกว่าคาด ขณะที่รายได้ยังเข้ามาไม่ทันค่าใช้จ่าย ทำให้กำไรสุทธิ ตลอดปี 2560 เพียง 543 ล้านบาท ต่ำกว่าคาดราว 8.5% ส่วนปี 2561 ยังคาดกำไรไว้ที่ 651 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% โดยตั้งสมมติฐานให้ติดตั้งตู้เติมเงิน 1.8 หมื่นตู้ ต่ำกว่าสมมติฐานของบริษัทที่ 2 หมื่นตู้
ส่วนธุรกิจ Banking Agent วันนี้เป็นตัวแทนธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง คือ KTB, KBANK, SCB และคาดว่าจะได้รับการแต่งตั้งเพิ่มอีก 2 แห่ง ภายใต้การเป็นตัวแทน 3 แห่ง พบว่าธุรกรรมในงวด 4Q60 เฉลี่ยราววันละ 2 หมื่นรายการต่อวัน เพิ่มขึ้น 15% จากงวด 3Q60 อย่างไรก็ตามแนวโน้มกำไรของ FSMART มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวในระยะยาว ทำให้ราคาหุ้น FSMART ปรับลดลงมากแต่ก็ทำให้มี upside มากขึ้น จึงยังแนะนำซื้อ ส่วนความเสี่ยงในระยะสั้นคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาทำธุรกรรม Banking Agent มากขึ้น ผลจากที่ธนาคารพาณิชย์ทยอยลดสาขาเพื่อลดต้นทุน
กลยุทธ์การลงทุนสะสมหุ้น BJC, WHA, PTTEP
กลยุทธ์การลงทุน ยังแนะนำให้ถือหุ้น 40% หรือถือเงินสด 60% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value หรือ upside จำกัด จำกัด (เช่น EA, GPSC, PCSGH, TVO, SAPPE, SINGER, JAS, AOT, EA, TRUE, BAY, TOP, SCCC เป็นต้น) และสลับมาลงทุนกลุ่มต่อไปนี้
หุ้น Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ
หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC
กลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC แล้ว และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW
หุ้นปันผลสูง ฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO (XD 27 ก.พ.) ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
Global Play เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน คือ PTTEP, PTT เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5637
Dollar Index กลับอ่อนค่าตลอดสัปดาห์นี้ โดยอ่อนค่า 2% จาก 9 ก.พ. ที่ผ่านมา (อ่อนค่า 3.8 % จากต้นปีจนถึงปัจจุบัน หรือ ytd) ทั้งนี้แม้ bond yield ยังคงเพิ่มขึ้นตามความกังวลต่อเงินเฟ้อที่ทรงตัวระดับเกิน 2% มา 2 เดือน แต่ถูกหักล้างจากดัชนีชี้นำเศรษฐกิจ ที่เริ่มส่งสัญญาณชะลอตัว คือ ยอดค้าปลีก (Retail sales) ติดต่อกัน 2 เดือน ล่าสุดใน ม.ค. ลดลง 0.3%mom เป็นผลจากยอดขายสินค้ากลุ่มเคหสถาน เช่น ของตกแต่งที่อยู่อาศัยหดตัว 2.4%mom จากสภาพอากาศที่หนาวผิดปกติ และหมวดยานยนต์ลดลง 1.3% เป็นต้น และยังพบว่าล่าสุดยอดผู้ว่างงานขอรับสวัสดิการครั้งแรก (Initial jobless claim) ได้เพิ่มขึ้นเป็น 2.3 ราย สูงกว่าสัปดาห์ก่อนที่ 2.23 แสนราย แม้อัตราการว่างงาน (Lagging Economic Indicator) เดือน ม.ค. ยังทรงตัวที่ 4.1% ต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 แสดงถึงตลาดแรงงานที่ขยายตัวจนใกล้ระดับสูงสุด (Full employment)
ขณะที่คาดหวังว่าธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) น่าจะขึ้นดอกเบี้ยในอัตราเร่ง แม้ล่าสุดจะเป็นที่ทราบกันว่า BOE จะขึ้นดอกเบี้ยนโยบาย 2 ครั้งในปีนี้ (หลังจากที่ขึ้นครั้งแรกในรอบ 10 ปี ไปเมื่อ พ.ย. 60) โดยน่าจะขึ้นครั้งแรกในการประชุมรอบ พ.ค. ทั้งนี้เพราะเงินเฟ้อที่สูงถึง 3.0% ใน ม.ค. นับว่าสูงติดต่อเป็นเดือนที่ 2 และห่างจากดอกเบี้ยนโยบายที่ 0.5% อย่างมาก เป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินปอนด์ยังอยู่ในทิศทางแข็งค่า โดยวานนี้ แข็งค่า 0.64% เมื่อเทียบกับดอลลาร์ และแข็งค่า 4.345%ytd สวนทางกับค่าเงินดอลลาร์มีทิศทางอ่อนค่าดังกล่าวข้างต้น หนุน สินค้าโภคภัณฑ์ เช่น ทองคำ และน้ำมัน ให้เดินหน้าต่อ โดยคาดว่าน้ำมันดูไบมีโอกาสขึ้นทดสอบ 64 เหรียญฯต่อบาร์เรล นั่นหมายถึงหุ้น PTTEP และ PTT มีโอกาสกลับไปทดสอบจุดสูงสุดในรอบนี้อีกครั้ง
ต่างชาติยังขายหุ้นกลุ่ม TIP แต่แรงขายเริ่มเบาลง
วานนี้ตลาดหุ้นเกาหลีใต้และไต้หวันหยุดทำการ เนื่องจากเริ่มเข้าสู่ช่วงเทศกาลตรุษจีน ส่วนตลาดหุ้นในกลุ่ม TIP ยังคงเปิดทำการเป็นปกติ โดยภาพรวมแล้วพบว่า แรงขายเริ่มเบาลง ด้วยมูลค่ารวมเพียง 56 ล้านเหรียญ เริ่มจากอินโดนีเซียถูกขายสุทธิ 19 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 14), ฟิลิปปินส์ 7 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 15) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 30 ล้านเหรียญ หรือ 939 ล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10 มีมูลค่ารวมสูงถึง 3.47 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ซื้อสุทธิเล็กน้อย 89 ล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
อย่างไรก็ตามเริ่มเห็นว่าต่างชาติขายหุ้นไทยเบาลง และเชื่อว่าแรงขายน่าจะมีจำกัด เนื่องจากหากพิจารณายอดซื้อสะสมสุทธิตลาดหุ้นไทยของต่างชาติ (ปรับตามมูลค่าตลาด) ตั้งแต่ปี 2548 จนถึงปัจจุบัน พบว่าเหลือเพียง 3.96 หมื่นล้านบาทเท่านั้น ซึ่งถือได้ว่าเป็นระดับที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับยอดซื้อสุทธิสูงสุดที่ 4.69 แสนล้านบาท (ณ วันที่ 15 มี.ค. 56)
และยังมีความเป็นไปได้ที่ต่างชาติจะกลับมาซื้อหุ้นไทยอีกครั้ง เนื่องจากหากพิจารณาจากตลาดตราสารหนี้ไทยพบว่า แม้ต่างชาติซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 4 มีมูลค่ารวม 1.59 หมื่นล้านบาท แต่แรงซื้อดังกล่าวกลับกระจุกตัวเฉพาะในตราสารหนี้ระยะสั้น (อายุน้อยกว่า 1 ปี) ราว 1.73 หมื่นล้านบาท ตรงข้ามกับตราสารหนี้ระยะยาวที่ถูกขายสุทธิเล็กน้อย 1.38 พันล้านบาท ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่ต่างชาติเข้ามาเก็งกำไรค่าเงินบาทในระยะสั้น หรืออาจเป็นการพักเงินรอปรับพอร์ตเข้าตลาดหุ้นไทยใหม่อีกครั้ง
เลือกตั้งเกิดขึ้น ปี 2562 เชื่อได้หรือไม่ ตลาดหุ้นยังกดอยู่
การประชุม สนช. เมื่อ 15 ก.พ.2561 มีมติให้ตั้งคณะกรรมาธิการร่วม (ประกอบด้วยตัวแทนจาก กรธ., กกต. และ สนช.) 2 คณะเพื่อพิจารณา พ.ร.ป. 2 ฉบับ (พ.ร.ป.ว่าด้วยการการเลือกตั้ง ส.ส. และ พ.ร.ป.ว่าด้วยที่มา ส.ว.) โดยคณะกรรมาธิการดังกล่าวจะมีเวลาทำงาน 15 วัน สิ้นสุด 1 มี.ค.2561 หลังจากนั้นนำผลสรุปเข้าสู่การพิจารณาของ สนช. หากที่ประชุม สนช. เห็นชอบตามข้อสรุปที่ได้จากคณะกรรมาธิการร่วมแล้ว ก็จะเข้าสู่กระบวนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ และประกาศใช้เป็นกฎหมายต่อไป ซึ่งหากเป็นไปตามกรอบเวลานี้การจัดการเลือกตั้งก็จะอยู่ในช่วงเดือน ก.พ.2562
แต่หากสนช. ไม่เห็นชอบกับข้อสรุปของคณะกรรมาธิการร่วม และโหวตคว่ำกฎหมายด้วยคะแนนเสียง 2 ใน 3 (166 เสียงจาก 248 เสียง) พ.ร.ป. ก็จะตกไปและต้องเช้าสู่กระบวนการร่างกฎหมายใหม่ ซึ่งในกรณีนี้จะทำให้กำหนดการเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปจาก ก.พ.2562 อีกหลายเดือน ซึ่งจะทำให้สถานการณ์ทางการเมืองร้อนแรง และกลายเป็นแรงกดดัน SET Index ขึ้นมาอีกรอบหนึ่ง อีกประเด็นหนึ่งที่ต้องติดตามในส่วนของสถานการณ์ทางการเมือง ก็คือการเคลื่อนไหวของกลุ่มต่างๆ ที่เริ่มเห็นการอกมาชุมนุม โดยต้องติดตามว่าจะมีการขยายวงออกไปหรือไม่อย่างไร
ทยอยประกาศงบ 4Q60 ROBINS, FSMART ชะลอตัว
วานนี้หุ้นกลุ่มรับเหมาก่อสร้างดิ่งลงหนัก เป็นผลมาจากการรายงานงบฯ ของ STEC ที่พลิกจากกำไรเป็นขาดทุน โดยผลขาดทุน 4Q60 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท ซึ่งเกิดจากการตั้งสำรองโครงการรัฐสภาและสนามบินภูเก็ต ที่เหลือเป็นของโครงการเล็กๆน้อยๆ ทาง STEC คาดว่ามีการตั้งสำรองเพียงพอแล้ว ขณะที่ Backlog ในปัจจุบันมีค่อนข้างสูง อยู่ที่ 1.2 แสนล้านบาท ( New high ) ซึ่งจะทยอยรับรู้รายได้ในปี 2561-62 สำหรับปี 2561 ฝ่ายวิจัยมีโอกาสปรับประมาณการกำไรลงประมาณ 15-20% เหลือที่ 1.1 พันล้านบาท จาก 1.4 พันล้านบาท โดยไม่รวมผลกำไรหรือขาดทุนจากหุ้น GULF ที่จะมีการบันทึกเงินลงทุนแบบหลักทรัพย์เพื่อการค้า ณ ราคาปิดที่ 65 บาท ส่วนราคาที่สมเหมาะสมของ STEC อยู่ที่ 24 บาท (เดิม 30 บาท) อย่างไรก็ตามด้วยราคาที่ปรับตัวลงมาค่อนข้างมาก จึงยังคงแนะนำซื้อ
หุ้นพลังงานที่ประกาศ คือ TOP กำไรสุทธิ 4Q60 ตามคาดที่ 6.9 พันล้านบาท ลดลง 8.9%qoq แต่เติบโต 19.4%yoy หลักๆ มาจากค่าการกลั่นที่ลดลง แม้ได้รับชดเชยจากการบันทึกกำไรสต็อกน้ำมันและ FX รวมทั้งส่วนแบ่งกำไรจากธุรกิจอะโรเมติกส์ที่เพิ่มขึ้น โดยรวมปี 2560 กำไรสุทธิเพิ่มขึ้น 17.1%yoy สำหรับแนวโน้ม 1Q61 คาดทรงตัวใกล้เคียง 4Q60 จากค่าการกลั่นที่มีแนวโน้มทรงตัว ขณะที่ธุรกิจอะโรเมติกส์คาดว่าจะทรงตัวหรือฟื้นตัวได้เล็กน้อย ส่วนปี 2561 คาดว่ากำไรจาการดำเนนงานจะลดลง 19% จากปี 2560 ภายใต้สมมติฐานค่าการกลั่นลดลง0.5 เหรียญฯต่อบาร์เรล เหลือ 6.5 เหรียฯฯ น้ำมันขาขึ้นจะกดดันค่าการกลั่น และ ปี 2560 มีภัยธรรมชาติ หนุนค่าการกลั่นสูงเป็นกรณีพิเศษ และ spread ของอะโรเมติกส์ จะลดลงจาก 50 เหรียญฯ เหลือ 250 เหรียญฯ ต่อตัน เนื่องจากจะมี new supply จากจีน ซาอุดิอาละเบีย เวียดนาม เป็นต้น จึงยังแนะนำ switch ไป IRPC ([email protected])
หุ้นค้าปลีก ROBINS รายงานกำไรสุทธิ 4Q60 ตามคาดที่ 820 ล้านบาท ลดลง 18.8%yoy เนื่องจาก 4Q59 มีการบันทึกรายการพิเศษ แต่เติบโต 34.5%qoq จากรายได้ค่าเช่าพื้นที่ที่เติบโต และอัตรากำไรขั้นต้นดีขึ้นจากการเปลี่ยนมาขายสินค้า private label ที่มีอัตรากำไรสูงแทนสินค้าเดิมมากขึ้น รวมทั้งมีการเปิดสาขาใหม่ 2 แห่งในไตรมาสนี้ โดยรวมปี 2560 กำไรสุทธิลดลงเล็กน้อยจาก 2559 ราว 2.6% (กำไรปกติเติบโต 7.7%)และปี 2561 คาดจะเติบโตเพียง 3.7%yoy (กำไรปกติเติบโต 18.4%) จากกลยุทธ์การเพิ่มค่าเช่า และ Margin ขณะที่ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) มีโอกาสขยายตัวได้ 2% และ การนำสินค้า Private Brand มาทดแทนสินค้าฝากขายบางส่วน และระยะยาวยังเผชิญกับการค้าออนไลน์มากสุด รวมทั้ง upside จำกัด Switch ไป BJC(FV@B73)
FSMART([email protected]) กำไรงวด 4Q60 น่าผิดหวังเพราะเร่งติดตั้งตู้เติมเงินทำให้ทั้งปี 2560 ติดตั้งได้ทั้งหมด เครื่อง 3.2 หมื่นตู้เทียบกับ ที่ ASPS คาดไว้ 3 หมื่นตู้ ทำให้ต้องตัดค่าเสื่อมสูงกว่าคาด ขณะที่รายได้ยังเข้ามาไม่ทันค่าใช้จ่าย ทำให้กำไรสุทธิ ตลอดปี 2560 เพียง 543 ล้านบาท ต่ำกว่าคาดราว 8.5% ส่วนปี 2561 ยังคาดกำไรไว้ที่ 651 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 20% โดยตั้งสมมติฐานให้ติดตั้งตู้เติมเงิน 1.8 หมื่นตู้ ต่ำกว่าสมมติฐานของบริษัทที่ 2 หมื่นตู้
ส่วนธุรกิจ Banking Agent วันนี้เป็นตัวแทนธนาคารพาณิชย์ 3 แห่ง คือ KTB, KBANK, SCB และคาดว่าจะได้รับการแต่งตั้งเพิ่มอีก 2 แห่ง ภายใต้การเป็นตัวแทน 3 แห่ง พบว่าธุรกรรมในงวด 4Q60 เฉลี่ยราววันละ 2 หมื่นรายการต่อวัน เพิ่มขึ้น 15% จากงวด 3Q60 อย่างไรก็ตามแนวโน้มกำไรของ FSMART มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในอัตราชะลอตัวในระยะยาว ทำให้ราคาหุ้น FSMART ปรับลดลงมากแต่ก็ทำให้มี upside มากขึ้น จึงยังแนะนำซื้อ ส่วนความเสี่ยงในระยะสั้นคือ ธนาคารแห่งประเทศไทยสนับสนุนให้เอกชนเข้ามาทำธุรกรรม Banking Agent มากขึ้น ผลจากที่ธนาคารพาณิชย์ทยอยลดสาขาเพื่อลดต้นทุน
กลยุทธ์การลงทุนสะสมหุ้น BJC, WHA, PTTEP
กลยุทธ์การลงทุน ยังแนะนำให้ถือหุ้น 40% หรือถือเงินสด 60% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value หรือ upside จำกัด จำกัด (เช่น EA, GPSC, PCSGH, TVO, SAPPE, SINGER, JAS, AOT, EA, TRUE, BAY, TOP, SCCC เป็นต้น) และสลับมาลงทุนกลุ่มต่อไปนี้
หุ้น Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ
หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC
กลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC แล้ว และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW
หุ้นปันผลสูง ฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO (XD 27 ก.พ.) ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
Global Play เน้นหุ้นที่ได้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของราคาน้ำมัน คือ PTTEP, PTT เป็นต้น
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5637