- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 09 February 2018 15:36
- Hits: 1042
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET น่าจะปรับฐานตามตลาดหุ้นต่างประเทศ ท่ามกลางข่าวลบ ทั้งความกังวล Fed ขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด bond yield ขึ้นแรง ราคาน้ำมันอ่อนตัว ดอลลาร์ที่ยังแข็งค่า และต่างชาติยังเป็นผู้ขายสุทธิทั้งเอเชีย กดดันเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง กลยุทธ์ฯ ยังให้ถือหุ้นสัดส่วน 40% ให้สะสมหุ้น Domestic Play ทีมี upside WHA, BJC หรือมีเงินปันผลสูง SIRI, MAJOR หรือหุ้นส่งออกที่ฟื้นตัวตามเงินบาทอ่อน (HANA, CPF, GFPT, TU) Top picks BJC(FV@B73) เป็น Growth stock, HANA([email protected]) และเพิ่ม WHA ([email protected]) ร่าง พ.ร.บ. EEC ผ่านเรียบร้อยแล้ว
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. SET Index ฟื้นตัวเล็กน้อย แต่มูลค่าซื้อขายลดลง
วานนี้ดัชนีปรับตัวขึ้นกว่า 10 จุดในช่วงเช้า ก่อนที่ช่วงท้ายตลาดจะแกว่งตัวผันผวนและย่อลงมาปิดตลาดที่ 1786.66 จุด เพิ่มขึ้นเพียง 1.22 จุด หรือ 0.07% มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 5.59 หมื่นล้านบาท ดัชนีฯ ได้แรงหนุนจากหุ้นรายตัวปรับขึ้นโดดเด่น นำโดยกลุ่มการเงิน-สินเชื่ออย่าง KTC ปรับตัวขึ้น 8.75% ทำ new high อีกครั้ง ตามด้วยหุ้นกลุ่มเช่าซื้อ MTLS เพิ่มขึ้น 2.45%, KCAR เพิ่มขึ้น 2.58% เช่นเดียวกับหุ้น ธ.พ. อย่าง SCB และ BBL ฟื้นขึ้นมาเล็กน้อย 0.33% และ 0.98% ส่วนหุ้นในกลุ่มฯ ธ.พ. อย่าง KBANK, KTB และ TMB ลดลง 1.76%, 0.51% และ 0.68% ตามลำดับ อีกกลุ่มที่ช่วยประคองดัชนีคือ หุ้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่าง GULF ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 1.75% และ GPSC เพิ่มขึ้น 1.53% ส่วนหุ้นน้ำมัน-ปิโตรฯ PTTEP ลดลง 1.73% ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวลง ตามด้วย PTT ลดลง 0.83% ในช่วงท้ายตลาด, IVL ลดลง 2.87% และ PTTGC ลดลง 1.63% สำหรับรายหุ้นอื่นๆ ที่ปรับขึ้นโดดเด่นคือ กลุ่มนิคมฯ ทั้ง AMATA เพิ่มขึ้น 3.92% และ WHA เพิ่มขึ้น 0.5% ตอบรับความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ. EEC เสนอเข้า สนช. และหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการโรงแรม CENTEL และ MINT เพิ่มขึ้น 3.6% และ 1.18% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสปรับลดลงตามตลาดต่างประเทศ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1765/1770 – 1790/1795 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
SET น่าจะปรับฐานตามตลาดหุ้นต่างประเทศ ท่ามกลางข่าวลบ ทั้งความกังวล Fed ขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด bond yield ขึ้นแรง ราคาน้ำมันอ่อนตัว ดอลลาร์ที่ยังแข็งค่า และต่างชาติยังเป็นผู้ขายสุทธิทั้งเอเชีย กดดันเงินบาทอ่อนค่าต่อเนื่อง กลยุทธ์ฯ ยังให้ถือหุ้นสัดส่วน 40% ให้สะสมหุ้น Domestic Play ทีมี upside WHA, BJC หรือมีเงินปันผลสูง SIRI, MAJOR หรือหุ้นส่งออกที่ฟื้นตัวตามเงินบาทอ่อน (HANA, CPF, GFPT, TU) Top picks BJC(FV@B73) เป็น Growth stock, HANA([email protected]) และเพิ่ม WHA ([email protected]) ร่าง พ.ร.บ. EEC ผ่านเรียบร้อยแล้ว
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. SET Index ฟื้นตัวเล็กน้อย แต่มูลค่าซื้อขายลดลง
วานนี้ดัชนีปรับตัวขึ้นกว่า 10 จุดในช่วงเช้า ก่อนที่ช่วงท้ายตลาดจะแกว่งตัวผันผวนและย่อลงมาปิดตลาดที่ 1786.66 จุด เพิ่มขึ้นเพียง 1.22 จุด หรือ 0.07% มูลค่าการซื้อขายลดลงเหลือ 5.59 หมื่นล้านบาท ดัชนีฯ ได้แรงหนุนจากหุ้นรายตัวปรับขึ้นโดดเด่น นำโดยกลุ่มการเงิน-สินเชื่ออย่าง KTC ปรับตัวขึ้น 8.75% ทำ new high อีกครั้ง ตามด้วยหุ้นกลุ่มเช่าซื้อ MTLS เพิ่มขึ้น 2.45%, KCAR เพิ่มขึ้น 2.58% เช่นเดียวกับหุ้น ธ.พ. อย่าง SCB และ BBL ฟื้นขึ้นมาเล็กน้อย 0.33% และ 0.98% ส่วนหุ้นในกลุ่มฯ ธ.พ. อย่าง KBANK, KTB และ TMB ลดลง 1.76%, 0.51% และ 0.68% ตามลำดับ อีกกลุ่มที่ช่วยประคองดัชนีคือ หุ้นโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่อย่าง GULF ปรับตัวขึ้นโดดเด่นกว่า 1.75% และ GPSC เพิ่มขึ้น 1.53% ส่วนหุ้นน้ำมัน-ปิโตรฯ PTTEP ลดลง 1.73% ตามทิศทางราคาน้ำมันดิบโลกที่ปรับตัวลง ตามด้วย PTT ลดลง 0.83% ในช่วงท้ายตลาด, IVL ลดลง 2.87% และ PTTGC ลดลง 1.63% สำหรับรายหุ้นอื่นๆ ที่ปรับขึ้นโดดเด่นคือ กลุ่มนิคมฯ ทั้ง AMATA เพิ่มขึ้น 3.92% และ WHA เพิ่มขึ้น 0.5% ตอบรับความคืบหน้าร่าง พ.ร.บ. EEC เสนอเข้า สนช. และหุ้นกลุ่มท่องเที่ยวและการโรงแรม CENTEL และ MINT เพิ่มขึ้น 3.6% และ 1.18% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสปรับลดลงตามตลาดต่างประเทศ ประเมินกรอบการเคลื่อนไหวที่ 1765/1770 – 1790/1795 จุด
ผลประชุม BOE เป็นไปตามคาด หนุนดอลลาร์แกว่งตัวขึ้นต่อ กดดันสินค้าโภคภัณฑ์
ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) เมื่อวานนี้ยัง คงดอกเบี้ยฯ 0.5%ตามเดิม แต่ส่งสัญญาณเดินหน้าใช้นโยบายการเงินตึงตัวในปีนี้ ตลาดคาดขึ้นดอกเบี้ยฯ 2ครั้งๆละ 0.25%ในปีนี้ (มาที่ 1.0% ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก ครั้งแรกในรอบ 10 ปี) ขณะที่สหรัฐพบว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 2.82% จาก 2.04% ในช่วง ก.ย.2560 หนุนให้ตลาดคาดสหรัฐอาจขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งๆละ 0.25% สิ้นปีอยู่ที่ 2.25%
ความคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด หนุนให้ Dollar Index กลับมาแข็งค่าต่อเนื่องตั้งแต่ 1 ก.พ.ราว 1.85% ล่าสุดอยู่ที่ 90.16จุด หลังจากที่อ่อนค่ามานานตั้งแต่ต้นปี 2560 จากบริเวณ 103.5 ลงมาต่ำสุดที่ 88.5 เมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมารวมอ่อนค่าลงกว่า 15% ในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมา (สวนทางกับเงินยูโรที่แข็งค่าราว 19% และเงินปอนด์ราว 15.5%% ในช่วงเดียวกัน) ส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียอ่อนค่า คือ เงินบาทอ่อนค่าราว 1.6% แต่ยังอ่อนค่าน้อยกว่า เงินรูเปียะห์ที่อ่อนค่าราว 2% ในช่วงเดียวกัน และเปโซอ่อนค่าราว 1.4%, ริงกิตอ่อนค่าราว 1% ค่าเงินที่มีแนวโน้มอ่อนค่าระยะจะดีต่อหุ้นส่งออก อาทิ HANA([email protected]) และ TU([email protected])
ค่าเงินดอลลาร์ซึ่งอยู่ในทิศทางแข็งค่า ถือเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนตัว โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบ ซึ่งถูกกดดันจากความกังวลปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ แม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ความกังวลว่าสหรัฐมีแนวโน้มจะผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้น หลังจากเมื่อวานนี้ EIA รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้นติดต่อ 2 สัปดาห์ และจำนวนแท่นขุดเจาะสหรัฐที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 มาอยู่ที่ 765 หลุม และกำลังการผลิตสหรัฐล่าสุดขึ้นมาอยู่วันละ 9.92 ล้านบาร์เรล และ EIA คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ล้านบาร์เรลในปีนี้ ด้วยเหตุผลทั้งหมดจึงน่าจะกดดันหุ้นน้ำมันช่วงสั้น แต่สำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาว น่าจะเป็นโอกาสสะสม เนื่องจากราคาหุ้นที่ลดลงน่าจะทำให้ upside เพิ่มขึ้น คือ PTTEP(FV@B137) เป็นต้น
ตรงกันข้ามน้ำมันที่ลดน่าจะหนุนหุ้นขนส่งที่ใช้น้ำมันเป็นหลัก แต่น่าจะเกิดเหตุการณ์ช่วงสั้นๆ เท่านั้น เช่น สายการบิน เช่น BA, AAV และเดินเรือ เช่น PSL, TTA, RCL เป็นต้น
ผลการประชุมธนาคารกลางอังกฤษ(BOE) เมื่อวานนี้ยัง คงดอกเบี้ยฯ 0.5%ตามเดิม แต่ส่งสัญญาณเดินหน้าใช้นโยบายการเงินตึงตัวในปีนี้ ตลาดคาดขึ้นดอกเบี้ยฯ 2ครั้งๆละ 0.25%ในปีนี้ (มาที่ 1.0% ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก ครั้งแรกในรอบ 10 ปี) ขณะที่สหรัฐพบว่าอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปีพุ่งขึ้นแตะระดับสูงสุดในรอบเกือบ 10 ปี ล่าสุดอยู่ที่ 2.82% จาก 2.04% ในช่วง ก.ย.2560 หนุนให้ตลาดคาดสหรัฐอาจขึ้นดอกเบี้ยมากกว่า 3 ครั้งๆละ 0.25% สิ้นปีอยู่ที่ 2.25%
ความคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด หนุนให้ Dollar Index กลับมาแข็งค่าต่อเนื่องตั้งแต่ 1 ก.พ.ราว 1.85% ล่าสุดอยู่ที่ 90.16จุด หลังจากที่อ่อนค่ามานานตั้งแต่ต้นปี 2560 จากบริเวณ 103.5 ลงมาต่ำสุดที่ 88.5 เมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมารวมอ่อนค่าลงกว่า 15% ในช่วงกว่า 1 ปีที่ผ่านมา (สวนทางกับเงินยูโรที่แข็งค่าราว 19% และเงินปอนด์ราว 15.5%% ในช่วงเดียวกัน) ส่งผลให้ค่าเงินในภูมิภาคเอเซียอ่อนค่า คือ เงินบาทอ่อนค่าราว 1.6% แต่ยังอ่อนค่าน้อยกว่า เงินรูเปียะห์ที่อ่อนค่าราว 2% ในช่วงเดียวกัน และเปโซอ่อนค่าราว 1.4%, ริงกิตอ่อนค่าราว 1% ค่าเงินที่มีแนวโน้มอ่อนค่าระยะจะดีต่อหุ้นส่งออก อาทิ HANA([email protected]) และ TU([email protected])
ค่าเงินดอลลาร์ซึ่งอยู่ในทิศทางแข็งค่า ถือเป็นปัจจัยกดดันต่อราคาสินค้าโภคภัณฑ์อ่อนตัว โดยเฉพาะราคาน้ำมันดิบ ซึ่งถูกกดดันจากความกังวลปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ แม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ความกังวลว่าสหรัฐมีแนวโน้มจะผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้น หลังจากเมื่อวานนี้ EIA รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้นติดต่อ 2 สัปดาห์ และจำนวนแท่นขุดเจาะสหรัฐที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็นสัปดาห์ที่ 2 มาอยู่ที่ 765 หลุม และกำลังการผลิตสหรัฐล่าสุดขึ้นมาอยู่วันละ 9.92 ล้านบาร์เรล และ EIA คาดว่าจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10 ล้านบาร์เรลในปีนี้ ด้วยเหตุผลทั้งหมดจึงน่าจะกดดันหุ้นน้ำมันช่วงสั้น แต่สำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาว น่าจะเป็นโอกาสสะสม เนื่องจากราคาหุ้นที่ลดลงน่าจะทำให้ upside เพิ่มขึ้น คือ PTTEP(FV@B137) เป็นต้น
ตรงกันข้ามน้ำมันที่ลดน่าจะหนุนหุ้นขนส่งที่ใช้น้ำมันเป็นหลัก แต่น่าจะเกิดเหตุการณ์ช่วงสั้นๆ เท่านั้น เช่น สายการบิน เช่น BA, AAV และเดินเรือ เช่น PSL, TTA, RCL เป็นต้น
THCOM หยุดยิงดาวเทียมดวงใหม่ รัฐขาดความชัดเจนเรื่องนโยบาย
อีกประเด็นที่น่าจะสร้างความผิดหวังต่อนักลงทุนคือ THCOM ได้ประกาศแผนธุรกิจใหม่ โดยจะหยุดยิงดาวเทียมดวงที่ 4, 5 และ 6 ที่จะครบกำหนดในปี 2564 เพราะนโยบายภาครัฐที่ไม่ชัดเจนใน 2 เรื่อง คือ 1) การจ่ายค่าสัมปทาน ซึ่งปัจจุบันทั้ง 3 ดวงจ่ายส่วนแบ่งรายได้บนสัมปทานที่ 22.5% สูงว่า ดาวเทียมดวงที่ 7 และ 8 ซึ่งจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐบนใบอนุญาตที่ 4% จะครบอายุ 2575 ซึ่งยังมีความเสี่ยงเพราะรัฐอาจกลับลำ และเรียกร้องให้จ่ายส่วนแบ่งรายได้บนสัมปทานที่ 22.5% และความเสี่ยงที่ 2 คือ หน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐมี 2 หน่วยงาน คือ กระทรวง ICT ดูแลเรื่องวงโคจร กับ กสทช ดูแลเรื่องใบอนุญาต สร้างความสับสน และ ยุ่งยากต่อผู้ประกอบการ เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ จึงคาดว่าธุรกิจนี้ไม่น่าดึงดูดรายใหม่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย
ขณะที่แนวโน้มธุรกิจดาวเทียมน่าจะลดความต้องการลดลงตามธุรกิจบันเทิง (ดิจิตอลทีวี) ที่ลดบทบาทลง หลังจาก Social Network เป็นที่นิยมในวงกว้าง ช่องทางบันเทิงใหม่ ๆ มีให้เลือก ทั้งสะดวกและต้นทุนต่ำ และความต้องการจากลูกค้าในต่างประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะในจีน (iPSTAR ในเรื่องความมั่นคงในประเทศ)
แผนธุรกิจระยะสั้นจะยิงเชื้อเพลิงไปเติมให้กับดาวเทียมที่กำลังจะหมดอายุคือ ดวงที่ 4, 5 และ 6 แทน เพื่อให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่องในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า แต่ตรงนี้จะสร้างความเสี่ยงต่อธุรกิจในระยะสั้น
ส่วนแผนระยะยาวจะหันไปพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวกับ digital platform, AI, Internet of Things, Blockchain เป็นต้น แต่ยังคงต้องใช้เวลา ด้วยเหตุนี้นักวิเคราะห์ ASPS ต้องคงประมาณลง โดยถอดสมมติฐานเดิมที่จะยิงดวงเทียมทั้ง 3 ดวงขึ้นสู่วงโคจร ซึ่งภายใต้ประมาณการใหม่มูลค่าหุ้นของ THCOM ลดลงจาก 25 บาท เหลือ 13.8 บาท พร้อมกับปรับลดคำแนะนำจากซื้อเป็น Switch ติดตามอ่านรายละเอียดใน Company Update วันนี้
อีกประเด็นที่น่าจะสร้างความผิดหวังต่อนักลงทุนคือ THCOM ได้ประกาศแผนธุรกิจใหม่ โดยจะหยุดยิงดาวเทียมดวงที่ 4, 5 และ 6 ที่จะครบกำหนดในปี 2564 เพราะนโยบายภาครัฐที่ไม่ชัดเจนใน 2 เรื่อง คือ 1) การจ่ายค่าสัมปทาน ซึ่งปัจจุบันทั้ง 3 ดวงจ่ายส่วนแบ่งรายได้บนสัมปทานที่ 22.5% สูงว่า ดาวเทียมดวงที่ 7 และ 8 ซึ่งจ่ายส่วนแบ่งรายได้ให้รัฐบนใบอนุญาตที่ 4% จะครบอายุ 2575 ซึ่งยังมีความเสี่ยงเพราะรัฐอาจกลับลำ และเรียกร้องให้จ่ายส่วนแบ่งรายได้บนสัมปทานที่ 22.5% และความเสี่ยงที่ 2 คือ หน่วยงานกำกับดูแลภาครัฐมี 2 หน่วยงาน คือ กระทรวง ICT ดูแลเรื่องวงโคจร กับ กสทช ดูแลเรื่องใบอนุญาต สร้างความสับสน และ ยุ่งยากต่อผู้ประกอบการ เป็นอุปสรรคในการทำธุรกิจ จึงคาดว่าธุรกิจนี้ไม่น่าดึงดูดรายใหม่เข้ามาทำธุรกิจในประเทศไทย
ขณะที่แนวโน้มธุรกิจดาวเทียมน่าจะลดความต้องการลดลงตามธุรกิจบันเทิง (ดิจิตอลทีวี) ที่ลดบทบาทลง หลังจาก Social Network เป็นที่นิยมในวงกว้าง ช่องทางบันเทิงใหม่ ๆ มีให้เลือก ทั้งสะดวกและต้นทุนต่ำ และความต้องการจากลูกค้าในต่างประเทศที่ลดลง โดยเฉพาะในจีน (iPSTAR ในเรื่องความมั่นคงในประเทศ)
แผนธุรกิจระยะสั้นจะยิงเชื้อเพลิงไปเติมให้กับดาวเทียมที่กำลังจะหมดอายุคือ ดวงที่ 4, 5 และ 6 แทน เพื่อให้บริการลูกค้าอย่างต่อเนื่องในระยะ 5-10 ปีข้างหน้า แต่ตรงนี้จะสร้างความเสี่ยงต่อธุรกิจในระยะสั้น
ส่วนแผนระยะยาวจะหันไปพัฒนาธุรกิจที่เกี่ยวกับ digital platform, AI, Internet of Things, Blockchain เป็นต้น แต่ยังคงต้องใช้เวลา ด้วยเหตุนี้นักวิเคราะห์ ASPS ต้องคงประมาณลง โดยถอดสมมติฐานเดิมที่จะยิงดวงเทียมทั้ง 3 ดวงขึ้นสู่วงโคจร ซึ่งภายใต้ประมาณการใหม่มูลค่าหุ้นของ THCOM ลดลงจาก 25 บาท เหลือ 13.8 บาท พร้อมกับปรับลดคำแนะนำจากซื้อเป็น Switch ติดตามอ่านรายละเอียดใน Company Update วันนี้
ต่างชาติยังขายหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ด้วยมูลค่า 382 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีใต้เพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิ 92 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 7 วัน) ส่วนตลาดหุ้นอีก 4 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 300 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 56 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9), ฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 107 ล้านเหรียญ หรือ 3.38 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5 มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.70 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิเล็กน้อย 25 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 7.31 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10 มีมูลค่าขายรวม 3.43 หมื่นล้านบาท) กดดันให้ยอดซื้อตราสารหนี้สะสมตั้งแต่ต้นปีที่เคยสูงสุด 9.60 หมื่นล้านบาท (ณ วันที่ 17 ม.ค. 61) ลดลงจนล่าสุดเหลือ 6.00 หมื่นล้านบาท (ytd) ด้วยแรงขายทั้งตราสารหนี้และหุ้นไทยในช่วงนี้กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าขึ้นมาเร็ว 1.59% (mtd) โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.82 บาท/ดอลลาร์
SET ยังไม่ผ่าน 1,800 จุด...ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่อง
ตลาดหุ้นสหรัฐวานนี้ปรับลดลงแรงทั้ง 3 ตลาด โดย Dow Jones ลดลง 4.15% S&P 500 ลดลง 3.75% และ NASDAQ ลดลง 3.90%ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่เป็นไปในเชิงลบอย่างน้อย 3 ประเด็น คือ
แรงขาย Sell on fact หลังการประกาศงบฯ ของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ เช่น Tesla ราคาหุ้นลดลง 8.6% หลังรายงานงบฯ 4Q60 ขาดทุน 4.01 ดอลลาร์ต่อหุ้น , 21st Century Fox ราคาหุ้นลดลง แม้งบฯ 4Q60 จะออกมาดีกว่าคาด
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี โดย Bond Yield อายุ 10 ปี พุ่งขึ้นสูงสุด 2.878% จากวานนี้ที่ 2.834% และ 30 ปี ขึ้นไปสูงสุดที่ 3.164% จากความกังวลที่ Fed อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาด หลังการรายงานตัวเลขภาคแรงงานออกมาแข็งแกร่ง ทั้งตัวเลขจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างครั้งแรกรายสัปดาห์ออกมาต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ความเห็นของประธาน Fed สาขาต่างๆ จะให้ความเห็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม
ราคาน้ำมันดิบโลกลดลงแรง จากความกังวลในด้าน Supply จากกำลังการผลิตในสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเป็น 10.25 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งสูงสุดตั้งแต่ปี 2513 และ อิหร่าน ที่อาจจะมีการเพิ่มกำลังผลิตอีก 700,000 บาร์เรล หรือที่ระดับ 4.7 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี 2565
สภาวะแวดล้อมโดยรวมที่ดูค่อนข้างเลวร้าย น่าจะส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยในวันนี้ให้ยังคงปรับฐานต่อ ทั้งยังมีประเด็นที่ต้องให้น้ำหนัก คือ กระแส Fund Flow ที่ยังไหลออกดังกล่าวข้างต้น ปัญหาการเมือง ล่าสุดยังอยู่ในระหว่างที่ สนช. ส่งร่าง พ.ร.ป. 2 ฉบับ ให้กับ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณา วาระ 2 และ 3 ต้องติดตามว่าจะส่งผลต่อกำหนดการเลือกตั้งอีกหรือไม่
และ Sell on Fact ตามมา โดยวานนี้ SCCC รายงานกำไรสุทธิ 4Q60 อยู่ที่ 405 ล้านบาท ลดลง 34%qoq และ 54%yoy ผลกระทบจากยอดขายในประเทศที่ยังชะลอตัวและราคาขายที่ลดลง รวมทั้งต้นทุนถ่านหินที่เพิ่มขึ้น แต่ยังได้รายได้จากธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาช่วยหนุน โดยรวมปี 2560 กำไรสุทธิลดลงถึง 53%yoy และ THCOM ดังกล่าวข้างต้น
รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง น่าจะกดดันหุ้นพลังงาน (ปิโตรเลี่ยม และ โรงกลั่น) ให้ลดลงต่อเนื่อง อาทิ PTTEP, PTT, BCP, TOP, IRPC เป็นต้น
กลยุทธ์การลงทุน ยังแนะนำให้ถือหุ้น 40% หรือถือเงินสด 60% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value หรือ upside จำกัด จำกัด (เช่น EA, GPSC, PCSGH, TVO, SAPPE, SINGER, JAS, AOT, EA, TRUE, BAY, TOP, SCCC เป็นต้น) และสลับมาลงทุนในหุ้น 4 กลุ่มหลักคือ
1. หุ้นปันผลสูง ยังคงเป็นทางเลือกการลงทุนที่ปลอดภัย โดยฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, , INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
2. หุ้นส่งออก จากการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับ Dollar แนะนำสะสมหุ้นส่งออกที่มี upside และ เงินปันผลสูงคือ HANA และ TU รวมทั้งเก็งกำไร KCE จากการที่ราคาทองแดงลดลงแรงจากกว่า 4% ในรอบ 3 วันทำการ
3. หุ้น Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ คือ หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC และ หุ้นกลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC แล้ว และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW
4. หุ้นกลุ่มสายการบิน ที่แม้จะยังมีการแข็งขันที่รุนแรง แต่ราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง ช่วยให้ต้นทุนน้ำมันลดลงชั่วคราว ฝ่ายวิจัยแนะนำ BA
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5413
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 8 ด้วยมูลค่า 382 ล้านเหรียญ และเป็นการขายสุทธิเกือบทุกประเทศ ยกเว้นตลาดหุ้นเกาหลีใต้เพียงแห่งเดียวที่ถูกซื้อสุทธิ 92 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิ 7 วัน) ส่วนตลาดหุ้นอีก 4 ประเทศต่างชาติขายสุทธิ คือ ไต้หวันถูกขายสุทธิ 300 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 56 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9), ฟิลิปปินส์ 11 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 107 ล้านเหรียญ หรือ 3.38 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5 มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.70 หมื่นล้านบาท) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิเล็กน้อย 25 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
ส่วนทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติยังขายสุทธิอีก 7.31 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 10 มีมูลค่าขายรวม 3.43 หมื่นล้านบาท) กดดันให้ยอดซื้อตราสารหนี้สะสมตั้งแต่ต้นปีที่เคยสูงสุด 9.60 หมื่นล้านบาท (ณ วันที่ 17 ม.ค. 61) ลดลงจนล่าสุดเหลือ 6.00 หมื่นล้านบาท (ytd) ด้วยแรงขายทั้งตราสารหนี้และหุ้นไทยในช่วงนี้กดดันให้ค่าเงินบาทอ่อนค่าขึ้นมาเร็ว 1.59% (mtd) โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.82 บาท/ดอลลาร์
SET ยังไม่ผ่าน 1,800 จุด...ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นไทยต่อเนื่อง
ตลาดหุ้นสหรัฐวานนี้ปรับลดลงแรงทั้ง 3 ตลาด โดย Dow Jones ลดลง 4.15% S&P 500 ลดลง 3.75% และ NASDAQ ลดลง 3.90%ท่ามกลางสภาวะแวดล้อมที่เป็นไปในเชิงลบอย่างน้อย 3 ประเด็น คือ
แรงขาย Sell on fact หลังการประกาศงบฯ ของบริษัทจดทะเบียนขนาดใหญ่ เช่น Tesla ราคาหุ้นลดลง 8.6% หลังรายงานงบฯ 4Q60 ขาดทุน 4.01 ดอลลาร์ต่อหุ้น , 21st Century Fox ราคาหุ้นลดลง แม้งบฯ 4Q60 จะออกมาดีกว่าคาด
ผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐขึ้นทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 4 ปี โดย Bond Yield อายุ 10 ปี พุ่งขึ้นสูงสุด 2.878% จากวานนี้ที่ 2.834% และ 30 ปี ขึ้นไปสูงสุดที่ 3.164% จากความกังวลที่ Fed อาจมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายเร็วกว่าที่คาด หลังการรายงานตัวเลขภาคแรงงานออกมาแข็งแกร่ง ทั้งตัวเลขจำนวนผู้ขอสวัสดิการว่างครั้งแรกรายสัปดาห์ออกมาต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ แม้ความเห็นของประธาน Fed สาขาต่างๆ จะให้ความเห็นในการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ ค่อยเป็นค่อยไปก็ตาม
ราคาน้ำมันดิบโลกลดลงแรง จากความกังวลในด้าน Supply จากกำลังการผลิตในสหรัฐที่เพิ่มขึ้นเป็น 10.25 ล้านบาร์เรล/วัน ซึ่งสูงสุดตั้งแต่ปี 2513 และ อิหร่าน ที่อาจจะมีการเพิ่มกำลังผลิตอีก 700,000 บาร์เรล หรือที่ระดับ 4.7 ล้านบาร์เรล/วัน ในปี 2565
สภาวะแวดล้อมโดยรวมที่ดูค่อนข้างเลวร้าย น่าจะส่งผลต่อตลาดหุ้นไทยในวันนี้ให้ยังคงปรับฐานต่อ ทั้งยังมีประเด็นที่ต้องให้น้ำหนัก คือ กระแส Fund Flow ที่ยังไหลออกดังกล่าวข้างต้น ปัญหาการเมือง ล่าสุดยังอยู่ในระหว่างที่ สนช. ส่งร่าง พ.ร.ป. 2 ฉบับ ให้กับ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และ คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณา วาระ 2 และ 3 ต้องติดตามว่าจะส่งผลต่อกำหนดการเลือกตั้งอีกหรือไม่
และ Sell on Fact ตามมา โดยวานนี้ SCCC รายงานกำไรสุทธิ 4Q60 อยู่ที่ 405 ล้านบาท ลดลง 34%qoq และ 54%yoy ผลกระทบจากยอดขายในประเทศที่ยังชะลอตัวและราคาขายที่ลดลง รวมทั้งต้นทุนถ่านหินที่เพิ่มขึ้น แต่ยังได้รายได้จากธุรกิจในต่างประเทศเข้ามาช่วยหนุน โดยรวมปี 2560 กำไรสุทธิลดลงถึง 53%yoy และ THCOM ดังกล่าวข้างต้น
รวมถึงราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง น่าจะกดดันหุ้นพลังงาน (ปิโตรเลี่ยม และ โรงกลั่น) ให้ลดลงต่อเนื่อง อาทิ PTTEP, PTT, BCP, TOP, IRPC เป็นต้น
กลยุทธ์การลงทุน ยังแนะนำให้ถือหุ้น 40% หรือถือเงินสด 60% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value หรือ upside จำกัด จำกัด (เช่น EA, GPSC, PCSGH, TVO, SAPPE, SINGER, JAS, AOT, EA, TRUE, BAY, TOP, SCCC เป็นต้น) และสลับมาลงทุนในหุ้น 4 กลุ่มหลักคือ
1. หุ้นปันผลสูง ยังคงเป็นทางเลือกการลงทุนที่ปลอดภัย โดยฝ่ายวิจัยคัดเลือกหุ้นที่มี Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% และฝ่ายวิจัยแนะนำ ซื้อ ได้หุ้นปันผลเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, TASCO ผสานกับหุ้น Dividend Play ที่แนะนำไปก่อนหน้านี้ คือ SIRI, , INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
2. หุ้นส่งออก จากการอ่อนค่าของเงินบาทเมื่อเทียบกับ Dollar แนะนำสะสมหุ้นส่งออกที่มี upside และ เงินปันผลสูงคือ HANA และ TU รวมทั้งเก็งกำไร KCE จากการที่ราคาทองแดงลดลงแรงจากกว่า 4% ในรอบ 3 วันทำการ
3. หุ้น Domestic Play อิงกับเศรษฐกิจในประเทศ คือ หุ้นกลุ่มค้าปลีก ที่ได้ปัจจัยหนุนจากดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคที่ขยายตัวติดต่อกัน 6 เดือน และทำระดับสูงสุดกว่า 36 เดือน สะท้อนถึงความการฟื้นตัวของภาคการบริโภค แนะนำ BJC และ หุ้นกลุ่มนิคมฯ ที่ได้ sentiment บวกจากการที่ สนช. เห็นชอบ พ.ร.บ. EEC แล้ว และเตรียมนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้เป็นกฏหมายได้ทันในเดือน ก.พ. นี้ ส่งผลบวกต่อ AMATA และ WHA รวมทั้ง EASTW
4. หุ้นกลุ่มสายการบิน ที่แม้จะยังมีการแข็งขันที่รุนแรง แต่ราคาน้ำมันที่ลดลงต่อเนื่อง ช่วยให้ต้นทุนน้ำมันลดลงชั่วคราว ฝ่ายวิจัยแนะนำ BA
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5413