- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Thursday, 08 February 2018 16:35
- Hits: 553
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังคงผันผวนและอยู่ต่ำกว่า 1800 จุด ตราบที่ไม่มีแรงซื้อจากต่างชาติ ขณะที่ระยะสั้นเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า สวนทางค่าเงินดอลลาร์ที่กำลังฟื้นตัว กดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน กลยุทธ์ฯ ให้สลับมาเน้นหุ้น Domestic Play ทีมี upside WHA, BJC หรือมีเงินปันผลสูง SIRI, MAJOR หรือหุ้นส่งออก ที่ฟื้นตัวตามเงินบาทอ่อน (HANA, CPF, GFPT, TU) Top picks BJC(FV@B73) เป็น Growth stock, HANA([email protected]) และ TU([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. SET Index เปิดโดดแต่ปิดดับ
วานนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยเปิดตลาดฯ บวกเกือบ 14 จุด และแกว่งตัวในแดนบวกตลอดช่วงเช้าก่อนที่ช่วงบ่ายจะย่อตัวลงสู่แดนลบและปิดตลาดที่ 1785.44 จุด ลดลง 2.99 จุด หรือ 0.17% มูลค่าการซื้อขาย 7.39 หมื่นล้านบาท แรงกดดันหลักๆ มาจากหุ้นกลุ่มพลังงานอย่าง PTTEP ลดลง 2.12% เนื่องจากวานนี้ขึ้นเครื่องหมาย XD พร้อมจ่ายปันผลงวด 2H60 เท่ากับ 2.75 บาท ตามด้วยกลุ่มปิโตรฯ IVL ลดลงอีก 1.88% และ PTTGC ลดลง 1.87% สวนทางกับหุ้นกลุ่มโรงกลั่นที่ปรับตัวขึ้นยกแผงนำโดย IRPC เพิ่มขึ้น 0.70%, ESSO เพิ่มขึ้น 1.64%, TOP เพิ่มขึ้น 0.50% และ SPRC เพิ่มขึ้น 0.60% ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่ม ธ.พ. ปรับตัวลงต่อเนื่อง SCB ลดลง 1.32%, KBANK ลดลง 0.44%, BBL ลดลง 0.97% และ BAY ลดลง 1.09% อีกกลุ่มที่ปรับลดลงคือ ICT โดย DTAC ลดลง 2.6% และ INTUCH ลดลง 1.32% หลังจากรายงานกำไรสุทธิงวด 4Q60 อยู่ที่ 1.755 พันล้านบาท ลดลง 40% qoq ภาพรวมทั้งปีมีกำไร 1.07 หมื่นล้านบาท ลดลง 34.9% yoy บริษัทประกาศจ่ายปันผลกว่า 1.46 บาทต่อหุ้น และขึ้นเครื่องหมาย XD 9 เม.ย. นี้ ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลงแรงคือ TTCL ร่วงหนักกว่า 19.17% อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยได้ปรับคำแนะนำเป็น switch ก่อนหน้านี้และให้ลงทุนหุ้นพื้นฐานแกร่งในกลุ่มอย่าง UNIQ แทน
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสอ่อนตัวในกรอบ 1775 – 1795 จุด ตาม Sentiment เชิงลบของตลาดหุ้นสหรัฐ และราคาน้ำมันที่ลดลง
กลยุทธ์การลงทุน
SET ยังคงผันผวนและอยู่ต่ำกว่า 1800 จุด ตราบที่ไม่มีแรงซื้อจากต่างชาติ ขณะที่ระยะสั้นเงินบาทมีทิศทางอ่อนค่า สวนทางค่าเงินดอลลาร์ที่กำลังฟื้นตัว กดดันราคาสินค้าโภคภัณฑ์ โดยเฉพาะน้ำมัน กลยุทธ์ฯ ให้สลับมาเน้นหุ้น Domestic Play ทีมี upside WHA, BJC หรือมีเงินปันผลสูง SIRI, MAJOR หรือหุ้นส่งออก ที่ฟื้นตัวตามเงินบาทอ่อน (HANA, CPF, GFPT, TU) Top picks BJC(FV@B73) เป็น Growth stock, HANA([email protected]) และ TU([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ….. SET Index เปิดโดดแต่ปิดดับ
วานนี้ ดัชนีตลาดหุ้นไทยเปิดตลาดฯ บวกเกือบ 14 จุด และแกว่งตัวในแดนบวกตลอดช่วงเช้าก่อนที่ช่วงบ่ายจะย่อตัวลงสู่แดนลบและปิดตลาดที่ 1785.44 จุด ลดลง 2.99 จุด หรือ 0.17% มูลค่าการซื้อขาย 7.39 หมื่นล้านบาท แรงกดดันหลักๆ มาจากหุ้นกลุ่มพลังงานอย่าง PTTEP ลดลง 2.12% เนื่องจากวานนี้ขึ้นเครื่องหมาย XD พร้อมจ่ายปันผลงวด 2H60 เท่ากับ 2.75 บาท ตามด้วยกลุ่มปิโตรฯ IVL ลดลงอีก 1.88% และ PTTGC ลดลง 1.87% สวนทางกับหุ้นกลุ่มโรงกลั่นที่ปรับตัวขึ้นยกแผงนำโดย IRPC เพิ่มขึ้น 0.70%, ESSO เพิ่มขึ้น 1.64%, TOP เพิ่มขึ้น 0.50% และ SPRC เพิ่มขึ้น 0.60% ขณะที่หุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่ม ธ.พ. ปรับตัวลงต่อเนื่อง SCB ลดลง 1.32%, KBANK ลดลง 0.44%, BBL ลดลง 0.97% และ BAY ลดลง 1.09% อีกกลุ่มที่ปรับลดลงคือ ICT โดย DTAC ลดลง 2.6% และ INTUCH ลดลง 1.32% หลังจากรายงานกำไรสุทธิงวด 4Q60 อยู่ที่ 1.755 พันล้านบาท ลดลง 40% qoq ภาพรวมทั้งปีมีกำไร 1.07 หมื่นล้านบาท ลดลง 34.9% yoy บริษัทประกาศจ่ายปันผลกว่า 1.46 บาทต่อหุ้น และขึ้นเครื่องหมาย XD 9 เม.ย. นี้ ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลงแรงคือ TTCL ร่วงหนักกว่า 19.17% อย่างไรก็ตามฝ่ายวิจัยได้ปรับคำแนะนำเป็น switch ก่อนหน้านี้และให้ลงทุนหุ้นพื้นฐานแกร่งในกลุ่มอย่าง UNIQ แทน
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสอ่อนตัวในกรอบ 1775 – 1795 จุด ตาม Sentiment เชิงลบของตลาดหุ้นสหรัฐ และราคาน้ำมันที่ลดลง
ผลประชุม BOE ยังเหมือนน่าจะกดดันเงินปอนด์อ่อนค่า
ผลการ ประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะทราบผลในช่วงเย็นวันนี้ตามเวลาประเทศไทย คาดว่าไม่น่าจะมีอะไรที่สร้างความกังวลต่อตลาด โดยน่าจะยังคงดอกเบี้ยฯ 0.5% และมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งๆ ละ 0.25% ในปีนี้ (มาที่ 1.0% ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก ครั้งแรกในรอบ 10 ปี) เนื่องจากเศรษฐกิจอังกฤษฟื้นตัวต่อเนื่อง ล่าสุดอัตราการว่างงานลดลงต่ำสุดในรอบ 42 ปีอยู่ที่ 4.3% และเงินเฟ้อสูงถึง 3.0%yoy สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ติดตามถ้อยแถลงของที่ประชุมต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหากไม่มีอะไรใหม่น่าจะกดดันให้ เงินปอนด์ มีทิศทางอ่อนค่า ตรงกันข้ามน่าจะหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งมีผลต่อสินค้าโภคภัณฑ์กลับมาอ่อนตัวอีกครั้ง
ผลการ ประชุมธนาคารกลางอังกฤษ (BOE) จะทราบผลในช่วงเย็นวันนี้ตามเวลาประเทศไทย คาดว่าไม่น่าจะมีอะไรที่สร้างความกังวลต่อตลาด โดยน่าจะยังคงดอกเบี้ยฯ 0.5% และมีโอกาสขึ้นดอกเบี้ย 2 ครั้งๆ ละ 0.25% ในปีนี้ (มาที่ 1.0% ปรับขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรก ครั้งแรกในรอบ 10 ปี) เนื่องจากเศรษฐกิจอังกฤษฟื้นตัวต่อเนื่อง ล่าสุดอัตราการว่างงานลดลงต่ำสุดในรอบ 42 ปีอยู่ที่ 4.3% และเงินเฟ้อสูงถึง 3.0%yoy สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยนโยบายอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ติดตามถ้อยแถลงของที่ประชุมต่อแนวโน้มเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ ซึ่งหากไม่มีอะไรใหม่น่าจะกดดันให้ เงินปอนด์ มีทิศทางอ่อนค่า ตรงกันข้ามน่าจะหนุนให้เงินดอลลาร์แข็งค่า ซึ่งมีผลต่อสินค้าโภคภัณฑ์กลับมาอ่อนตัวอีกครั้ง
น้ำมันลงแรง จากสต็อกที่มากกว่าคาด และดอลลาร์ที่กลับมาแข็งค่า
วานนี้สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้นติดต่อ 2 สัปดาห์ โดยเพิ่มขึ้นราว 1.89 ล้านบาร์เรล (แต่น้อยกว่าที่ตลาดคาดที่ 3.18 ล้านบาร์เรล) เนื่องจากอากาศหนาวลดลงและโรงกลั่นน้ำมันดิบเริ่มปิดซ่อมบำรุงประจำฤดูกาล
ขณะที่ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ แม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ความกังวลว่าสหรัฐมีแนวโน้มจะผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจากจำนวนแท่งขุดเจาะที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น สัปดาห์ที่ 2 มาอยู่ที่ 765 หลุม และกำลังการผลิตขึ้นมาอยู่วันละ 9.92 ล้านบาร์เรล ขณะที่การควบคุมการผลิตน้ำมันทางฝั่ง OPEC และ Non OPEC ยังมี
นอกจากนี้การที่ Dollar Index เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ หลังจากที่อ่อนค่ามากว่า 1 ปีที่ผ่านมาด้วยความคาดหวังว่า Fed อาจจะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่ประกาศไว้ 3 ครั้ง
ด้วยเหตุผลทั้งหมดจึงน่าจะกดดันหุ้นน้ำมันช่วงสั้น แต่สำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาว น่าจะเป็นโอกาสสะสม เนื่องจากราคาหุ้นที่ลดลงน่าจะทำให้ upside เพิ่มขึ้น คือ PTTEP(FV@B137) เป็นต้น
วานนี้สำนักงานสารสนเทศด้านพลังงานสหรัฐฯ (EIA) รายงานตัวเลขสต็อกน้ำมันดิบในสัปดาห์ล่าสุด เพิ่มขึ้นติดต่อ 2 สัปดาห์ โดยเพิ่มขึ้นราว 1.89 ล้านบาร์เรล (แต่น้อยกว่าที่ตลาดคาดที่ 3.18 ล้านบาร์เรล) เนื่องจากอากาศหนาวลดลงและโรงกลั่นน้ำมันดิบเริ่มปิดซ่อมบำรุงประจำฤดูกาล
ขณะที่ปัญหา Oversupply ยังมีอยู่ แม้เศรษฐกิจโลกมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ความกังวลว่าสหรัฐมีแนวโน้มจะผลิตน้ำมันเพิ่มมากขึ้น สะท้อนจากจำนวนแท่งขุดเจาะที่เพิ่มขึ้นต่อเนื่องเป็น สัปดาห์ที่ 2 มาอยู่ที่ 765 หลุม และกำลังการผลิตขึ้นมาอยู่วันละ 9.92 ล้านบาร์เรล ขณะที่การควบคุมการผลิตน้ำมันทางฝั่ง OPEC และ Non OPEC ยังมี
นอกจากนี้การที่ Dollar Index เริ่มกลับมาแข็งค่าขึ้นต่อเนื่องตลอดสัปดาห์ หลังจากที่อ่อนค่ามากว่า 1 ปีที่ผ่านมาด้วยความคาดหวังว่า Fed อาจจะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าที่ประกาศไว้ 3 ครั้ง
ด้วยเหตุผลทั้งหมดจึงน่าจะกดดันหุ้นน้ำมันช่วงสั้น แต่สำหรับนักลงทุนระยะกลาง-ยาว น่าจะเป็นโอกาสสะสม เนื่องจากราคาหุ้นที่ลดลงน่าจะทำให้ upside เพิ่มขึ้น คือ PTTEP(FV@B137) เป็นต้น
ต่างชาติยังถาโถมขายหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่อง
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่าสูงถึง 1.03 พันล้านเหรียญ (ขายสูงกว่าระดับ 1 พันล้านเหรียญฯ 3 วันติดต่อกัน) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวันถูกขายสุทธิสูงถึง 517 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 351 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7), อินโดนีเซีย 35 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8), ฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 112 ล้านเหรียญ หรือ 3.53 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.36 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 3.69 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)
และหากพิจารณาตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. จนถึงปัจจุบัน พบว่า ต่างชาติถาโถมขายหุ้นทั้ง 5 ประเทศในภูมิภาค ด้วยมูลค่ารวมสูงถึง 5.1 พันล้านเหรียญ (mtd) กดดันให้ยอดซื้อสะสมสุทธิตั้งแต่ต้นปีพลิกกลับมาติดลบ 300 ล้านเหรียญ (ytd) โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยที่ขายสุทธิมากที่สุดในภูมิภาคกว่า 588 ล้านเหรียญ (ytd) หรือ 1.86 หมื่นล้านบาท
เช่นเดียวกับด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติที่ขายสุทธิ 3.35 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9 มีมูลค่าขายรวม 2.70 หมื่นล้านบาท) สวนทางสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.06 หมื่นล้านบาท แรงขายทั้งหุ้นและตราสารหนี้ไทยจากต่างชาติกดดันให้ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่า 1.08% (mtd) โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.66 บาท/ดอลลาร์
SET ยังต่ำกว่า 1,800 จุด...ต่างชาติขาย & การเมืองมีน้ำหนักมากขึ้น
ตลาดหุ้นสหรัฐวานนี้ผันผวนแรง หลังจากปรับเพิ่มขึ้นไปที่ High กว่า 380 จุด แต่ก็มีแรงขายกดดันตลาดให้ลงมาปิดในแดนลบ จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงดังกล่าวข้างต้น รวมทั้ง Bond Yield สหรัฐที่ดีดตัวขึ้น จากความกังวลที่ Fed อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ เร็วกว่าที่คาด นอกจากนี้ยังมีแรงขายทำกำไรจากการรายงานผลประกอบการ 4Q60 อีกด้วย
ขณะที่ตลาดหุ้นไทย น่าจะยังอยู่ในช่วงของการปรับฐานต่อ และน่าจะต่ำกว่า 1800 จุด อีกระยะหนึ่ง ตราบที่ไม่มีแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ โดยปัจจัยในประเทศระยะสั้น ยังคงให้น้ำหนักต่อประเด็นการเมือง หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ส่งร่าง พ.ร.ป. 2 ฉบับ ให้กับ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณา หากทั้ง 2 หน่วยงานไม่มีการโต้แย้ง ก็จะนำ พ.ร.ป. ทั้ง 2 ฉบับเข้าสู่กระบวนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ และนำไปสู่การจัดการเลือกตั้ง 1Q62 แต่หากมีการโต้แย้ง ก็ตัองมีการตั้งกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งหากเห็นชอบ ก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ และน่าจะมีการเลือกตั้งได้ภายใน 1Q62 แต่หากไม่เห็นชอบ ต้องกลับเข้าสู่ขั้นตอนการร่างกฎหมายใหม่ ซึ่งจะทำให้กำหนดการเลือกตั้งต้องเลื่อนจาก 1Q62 ออกไป นอกจากนี้ หาก กรธ. เห็นว่ามีบางส่วนของกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะมีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งก็น่าจะส่งผลให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปอีกเช่นกัน
ส่วนการประกาศงบฯ กลุ่ม Real Sector ในสัปดาห์นี้ เช่น SCCC และ GPSC ทำให้ยังคงต้องระวังแรงขายรับงบฯ เช่นกัน รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง น่าจะกดดันหุ้นพลังงาน (ปิโตรเลี่ยม และ โรงกลั่น) ให้ลดลงต่อเนื่อง อาทิ PTTEP, PTT, BCP, TOP, IRPC เป็นต้น
กลยุทธ์การลงทุนยังให้ถือหุ้น 40% หรือให้ถือเงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 60% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value หรือ upside จำกัด จำกัด (เช่น EA, GPSC, PCSGH, TVO, SAPPE, SINGER, JAS, AOT, TRUE, BAY, TOP, SCCC เป็นต้น) โดยยังให้สะสมหุ้นดังนี้คือ
1. หุ้น Domestic Play ที่มีการเติบโตสูงจากเศรษฐกิจในประเทศในเอเชีย คือ BJC ตามด้วย WHA จากความคืบหน้าของเงินลงทุนเอกชนในพื้นที่ EEC
ตามด้วยหุ้นที่มีเงินปันผลสูง โดยคัดเลือกหุ้นที่เข้าข่าย Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% สรุปหุ้นเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, SIRI, INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
และหุ้นประกันชีวิต BLA(FV@B42) ที่ได้ประโยชน์จากผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามตลาดเงินสหรัฐ จะช่วยลดความกังวลต่อการเพิ่มสำรองเบี้ยประกันฯ และยังส่งผลบวกต่อผลตอบแทนจากต่อพอร์ตการลงทุนในระยะถัดไป ส่วนTHREL(FV@B12) เป็นบริษัทรับประกันภัยต่อ ที่มีสัญญาไม่เกิน 1 ปี มีผลให้ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริหารพอร์ตการลงทุนน้อยกว่า BLA ในสถานการณ์นี้
2. หุ้นส่งออก เพราะเป็นกลุ่มที่ underperform มานานกว่า 2 ปี นอกจากปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น (ปลาทูน่า TU, ทองแดง KCE ช่วงสั้นเริ่มลดลงมาใกล้สมมติฐานของ ASPS, ชิ้นส่วนนำเข้า IC, PCB ของ SVI) แล้ว เงินบาทแข็งที่แข็งค่ามากกว่า 14% นับจากปี 2560 เป็นปัจจัยกดดันประสิทธิภาพการทำกำไรของกลุ่มนี้อย่างมาก อย่างไรก็ตามดังที่กล่าวข้างต้น ความกังวลว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด หนุนดอลลาร์แข็งค่า ตรงกันข้ามกดดันเงินบาทกลับมาอ่อนค่า อีกครั้ง หลังจากแข็งค่ามากสุดที่ 31.1 บาทต่อดอลลาร์ และฟื้นตัวมาที่ 31.6 บาท หรือ ราว 1.6% ในสัปดาห์นี้ หนุนให้หุ้นส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวที่ดีขึ้นในงวด 1Q60 แนะนำสะสมหุ้นส่งออกที่มี upside และ เงินปันผลสูงคือ
• HANA([email protected])ทั้งนี้แม้กำไรจาการดำเนินงานปีนี้จะทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2560 แต่ราคาหุ้นได้สะท้อนประเด็นดังกล่าวแล้วจากที่มี P/E ต่ำสุดในกลุ่มคือ 13.33 เท่า และยังมีเงินปันผล 5.26% ขณะที่ราคาหุ้น upside 22%
• TU(2560 [email protected])แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานปกติปี 2561 เติบโตจากปี 2560 25.2% โดยต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่า เริ่มอ่อนตัวลงน่าจะหนุนประสิทธิภาพการทำกำไรในปีนี้ ขณะที่ P/E อยู่ที่ 18 เท่า มี upside 10% มีเงินปันผลราว 3.17%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5365
วานนี้ต่างชาติยังคงขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 7 ด้วยมูลค่าสูงถึง 1.03 พันล้านเหรียญ (ขายสูงกว่าระดับ 1 พันล้านเหรียญฯ 3 วันติดต่อกัน) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากไต้หวันถูกขายสุทธิสูงถึง 517 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4) ตามมาด้วยเกาหลีใต้ 351 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7), อินโดนีเซีย 35 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 8), ฟิลิปปินส์ 12 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิอีก 112 ล้านเหรียญ หรือ 3.53 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 4 มีมูลค่ารวมสูงถึง 1.36 หมื่นล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 3.69 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 2 วัน)
และหากพิจารณาตั้งแต่ต้นเดือน ก.พ. จนถึงปัจจุบัน พบว่า ต่างชาติถาโถมขายหุ้นทั้ง 5 ประเทศในภูมิภาค ด้วยมูลค่ารวมสูงถึง 5.1 พันล้านเหรียญ (mtd) กดดันให้ยอดซื้อสะสมสุทธิตั้งแต่ต้นปีพลิกกลับมาติดลบ 300 ล้านเหรียญ (ytd) โดยเฉพาะตลาดหุ้นไทยที่ขายสุทธิมากที่สุดในภูมิภาคกว่า 588 ล้านเหรียญ (ytd) หรือ 1.86 หมื่นล้านบาท
เช่นเดียวกับด้านตลาดตราสารหนี้ไทย ต่างชาติที่ขายสุทธิ 3.35 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 9 มีมูลค่าขายรวม 2.70 หมื่นล้านบาท) สวนทางสถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.06 หมื่นล้านบาท แรงขายทั้งหุ้นและตราสารหนี้ไทยจากต่างชาติกดดันให้ค่าเงินบาทกลับมาอ่อนค่า 1.08% (mtd) โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.66 บาท/ดอลลาร์
SET ยังต่ำกว่า 1,800 จุด...ต่างชาติขาย & การเมืองมีน้ำหนักมากขึ้น
ตลาดหุ้นสหรัฐวานนี้ผันผวนแรง หลังจากปรับเพิ่มขึ้นไปที่ High กว่า 380 จุด แต่ก็มีแรงขายกดดันตลาดให้ลงมาปิดในแดนลบ จากราคาน้ำมันที่ปรับลดลงดังกล่าวข้างต้น รวมทั้ง Bond Yield สหรัฐที่ดีดตัวขึ้น จากความกังวลที่ Fed อาจจะมีการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยฯ เร็วกว่าที่คาด นอกจากนี้ยังมีแรงขายทำกำไรจากการรายงานผลประกอบการ 4Q60 อีกด้วย
ขณะที่ตลาดหุ้นไทย น่าจะยังอยู่ในช่วงของการปรับฐานต่อ และน่าจะต่ำกว่า 1800 จุด อีกระยะหนึ่ง ตราบที่ไม่มีแรงซื้อของนักลงทุนต่างชาติ โดยปัจจัยในประเทศระยะสั้น ยังคงให้น้ำหนักต่อประเด็นการเมือง หลังจากที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ได้ส่งร่าง พ.ร.ป. 2 ฉบับ ให้กับ กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และคณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณา หากทั้ง 2 หน่วยงานไม่มีการโต้แย้ง ก็จะนำ พ.ร.ป. ทั้ง 2 ฉบับเข้าสู่กระบวนการนำขึ้นทูลเกล้าฯ และนำไปสู่การจัดการเลือกตั้ง 1Q62 แต่หากมีการโต้แย้ง ก็ตัองมีการตั้งกรรมาธิการร่วม 3 ฝ่าย ขึ้นมาพิจารณา ซึ่งหากเห็นชอบ ก็จะนำขึ้นทูลเกล้าฯ และน่าจะมีการเลือกตั้งได้ภายใน 1Q62 แต่หากไม่เห็นชอบ ต้องกลับเข้าสู่ขั้นตอนการร่างกฎหมายใหม่ ซึ่งจะทำให้กำหนดการเลือกตั้งต้องเลื่อนจาก 1Q62 ออกไป นอกจากนี้ หาก กรธ. เห็นว่ามีบางส่วนของกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ก็จะมีการส่งให้ศาลรัฐธรรมนูญตีความ ซึ่งก็น่าจะส่งผลให้การเลือกตั้งต้องเลื่อนออกไปอีกเช่นกัน
ส่วนการประกาศงบฯ กลุ่ม Real Sector ในสัปดาห์นี้ เช่น SCCC และ GPSC ทำให้ยังคงต้องระวังแรงขายรับงบฯ เช่นกัน รวมทั้งราคาน้ำมันดิบที่อ่อนตัวลง น่าจะกดดันหุ้นพลังงาน (ปิโตรเลี่ยม และ โรงกลั่น) ให้ลดลงต่อเนื่อง อาทิ PTTEP, PTT, BCP, TOP, IRPC เป็นต้น
กลยุทธ์การลงทุนยังให้ถือหุ้น 40% หรือให้ถือเงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 60% โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value หรือ upside จำกัด จำกัด (เช่น EA, GPSC, PCSGH, TVO, SAPPE, SINGER, JAS, AOT, TRUE, BAY, TOP, SCCC เป็นต้น) โดยยังให้สะสมหุ้นดังนี้คือ
1. หุ้น Domestic Play ที่มีการเติบโตสูงจากเศรษฐกิจในประเทศในเอเชีย คือ BJC ตามด้วย WHA จากความคืบหน้าของเงินลงทุนเอกชนในพื้นที่ EEC
ตามด้วยหุ้นที่มีเงินปันผลสูง โดยคัดเลือกหุ้นที่เข้าข่าย Dividend Yield สูง (มากกว่า 4%) ความผันผวนต่ำ (Beta น้อยกว่า 1) P/E อยู่ในระดับต่ำ (ไม่เกิน 15 เท่า) มี upside มากกว่า 15% สรุปหุ้นเด่น คือ SC, MCS, RATCH, EASTW, SIRI, INTUCH และ MAJOR โดยกลยุทธ์การลงทุน แนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD
และหุ้นประกันชีวิต BLA(FV@B42) ที่ได้ประโยชน์จากผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ตามตลาดเงินสหรัฐ จะช่วยลดความกังวลต่อการเพิ่มสำรองเบี้ยประกันฯ และยังส่งผลบวกต่อผลตอบแทนจากต่อพอร์ตการลงทุนในระยะถัดไป ส่วนTHREL(FV@B12) เป็นบริษัทรับประกันภัยต่อ ที่มีสัญญาไม่เกิน 1 ปี มีผลให้ผลประโยชน์ที่จะได้รับจากการบริหารพอร์ตการลงทุนน้อยกว่า BLA ในสถานการณ์นี้
2. หุ้นส่งออก เพราะเป็นกลุ่มที่ underperform มานานกว่า 2 ปี นอกจากปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น (ปลาทูน่า TU, ทองแดง KCE ช่วงสั้นเริ่มลดลงมาใกล้สมมติฐานของ ASPS, ชิ้นส่วนนำเข้า IC, PCB ของ SVI) แล้ว เงินบาทแข็งที่แข็งค่ามากกว่า 14% นับจากปี 2560 เป็นปัจจัยกดดันประสิทธิภาพการทำกำไรของกลุ่มนี้อย่างมาก อย่างไรก็ตามดังที่กล่าวข้างต้น ความกังวลว่า Fed จะขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด หนุนดอลลาร์แข็งค่า ตรงกันข้ามกดดันเงินบาทกลับมาอ่อนค่า อีกครั้ง หลังจากแข็งค่ามากสุดที่ 31.1 บาทต่อดอลลาร์ และฟื้นตัวมาที่ 31.6 บาท หรือ ราว 1.6% ในสัปดาห์นี้ หนุนให้หุ้นส่งออกมีแนวโน้มฟื้นตัวที่ดีขึ้นในงวด 1Q60 แนะนำสะสมหุ้นส่งออกที่มี upside และ เงินปันผลสูงคือ
• HANA([email protected])ทั้งนี้แม้กำไรจาการดำเนินงานปีนี้จะทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2560 แต่ราคาหุ้นได้สะท้อนประเด็นดังกล่าวแล้วจากที่มี P/E ต่ำสุดในกลุ่มคือ 13.33 เท่า และยังมีเงินปันผล 5.26% ขณะที่ราคาหุ้น upside 22%
• TU(2560 [email protected])แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานปกติปี 2561 เติบโตจากปี 2560 25.2% โดยต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่า เริ่มอ่อนตัวลงน่าจะหนุนประสิทธิภาพการทำกำไรในปีนี้ ขณะที่ P/E อยู่ที่ 18 เท่า มี upside 10% มีเงินปันผลราว 3.17%
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5365