WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ASPบล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน 

กลยุทธ์การลงทุน 
  SET มีโอกาสต่ำกว่า 1800 จุด ตามการปรับฐานตลาดหุ้นต่างประเทศ รวมถึงดอลลาร์ที่ฟื้นตัว กดดันสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งน้ำมัน และทองคำ กลยุทธ์การลงทุนให้ลดน้ำหนักหุ้นเหลือ 40% เลือกลงทุนหุ้นส่งออก ที่ได้ประโยชน์เงินบาทอ่อน (CPF, HANA, TU, GFPT) หุ้นประกันชีวิต (BLA) ความกังวลต่อสำรองเบี้ยลดลงเมื่อ yield เพิ่มขึ้น และหุ้นปันผล (SIRI, TMT, MAJOR, MCS, PTTEP) Top picks BJC(FV@B73) เป็น Growth stock และตัวแทนหุ้นค้าปลีกของอาเซียน วันนี้เพิ่มหุ้นส่งออกที่มีแนวโน้มฟื้นตัว เงินบาทที่อ่อนค่า HANA([email protected]) และ TU([email protected]
 
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย ...  SET Index เผชิญแรงขายกดดันดัชนีปิดลบ
  วานนี้ ตลาดหุ้นไทยปรับลงแรงตามแรงกดดันจากตลาดหุ้นต่างประเทศ โดยดัชนีอยู่ในแดนลบตลอดทั้งวัน แต่ก็สามารถฟื้นตัวกลับขึ้นมาได้บ้างในช่วงท้ายของการซื้อขาย ก่อนจะปิดตลาดที่ 1810.32 จุด ลดลง 17.03 จุด หรือ 0.93% ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 7.7 หมื่นล้านบาท กลุ่มที่กดดันตลาดมากที่สุด คือ กลุ่มพลังงาน และกลุ่มปิโตรเคมี นำโดย PTTEP ลดลง 2.45%, PTT ลดลง 0.40%, IVL ลดลง 3.60% และ PTTGC ลดลง 1.58% และกลุ่ม ธ.พ. อย่าง SCB ลดลง 1.29% ส่วนหุ้นอื่นๆที่ปรับตัวลดลง คือ SCC ลดลง 1.22%, LH ลดลง 5.09% หลังจากมีรายการ Big Lot จำนวน 145.57 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 1.59 พันล้านบาท ราคาเฉลี่ย 10.90 บาท และ LH-F จำนวน 587.21 ล้านหุ้น มูลค่ากว่า 6.40 พันล้านบาท ราคาเฉลี่ย 10.90 บาท ซึ่งทั้งคู่ต่ำกว่าราคาในกระดาน
  ตรงข้าม กลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ที่ได้ sentiment เชิงบวกจากเงินบาทที่อ่อนค่าช่วงสั้น โดย KCE เพิ่มขึ้น 5.19%,  HANA เพิ่มขึ้น 4.22% และ DELTA เพิ่มขึ้น 0.69% ตามด้วยกลุ่มประกันฯ ที่ได้ประเด็นบวกจากการที่ Bond Yield พันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10 ปี ปรับเพิ่มขึ้นจาก 2.52% เป็น 2.56% หนุนให้ BLA ปรับเพิ่มขึ้นช่วงท้ายตลาดฯ ที่ 3.36% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นคือ TTW เพิ่มขึ้น 2.99% และ TU เพิ่มขึ้น 1.49%
  สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสปรับลดลง ประเมินแนวรับที่ 1780/1789 จุด และแนวต้าน 1814 จุด
ดัชนีความเชื่อมั่นฟื้นเป็นเดือนที่ 6 ตอกย้ำการบริโภคในประเทศดีขึ้น 
  ดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภค (CCI) จัดทำโดย ม.หอการค้าไทย เดือน ม.ค. เพิ่มขึ้น 1.01%mom เป็นการฟื้นตัวต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 6 และทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี ประชาชนมีความเชื่อมั่นต่อเศรษฐกิจโดยรวมเพิ่มขึ้น  ทั้งจากการส่งออก และ การปรับเพิ่มค่าแรงขึ้นต่ำทั่วประเทศเฉลี่ย 3.45%เป็น 308-330 บาท/วัน  
  ทั้งนี้ดัชนี CCI ถือเป็นดัชนีชี้นำเศรษฐกิจที่สำคัญประการหนึ่ง (Leading  Economic Indicator) ที่มักจะฟื้นตัวและนำหน้าการฟื้นตัวของยอดค้าปลีก ดังนั้นคาดว่าจะหนุนให้ยอดขายสาขาเดิม (SSSG) ของกลุ่มค้าปลีกในอีก 3-6 เดือนจากนี้ฟื้นตัวตาม ซึ่งเป็นผลดีต่อหุ้นในกลุ่มค้าปลีก(น้ำหนักการลงทุนเท่ากับตลาด) 
  ขณะที่ดัชนีกลุ่มค้าปลีกนับตั้งแต่ต้นปีนี้จนถึงปัจจุบัน(ytd)  พบว่าให้ผลตอบแทนเพียง  2.2%  น้อยกว่าตลาด (Set Index  4.6%)  แต่เพราะปี  2560 ให้ผลตอบแทนที่สูงราว  21.1% เทียบกับ SET index 13.6%    และถ้าพิจารณา Expected P/E กลุ่มค้าปลีกปี  2561 อยู่ที่ 30 เท่า   (BEAUTY P/E 36 เท่า , HMPRO  31.6 เท่า,  CPALL 31.9 เท่า,  BJC  30.4 , COM7 และ TNP 25.2  เท่าตามลำดับ) และหุ้นหลายบริษัทมี upside จำกัด  เช่น HMPRO -2.17%, CPALL -0.32%  ยกเว้นเพียงบางหุ้น คือ  COM7  มี upside ราว 27.3%,  BJC 25.8%   BEAUTY 15.7%  แต่เลือก  BJC(FV@B73) เป็น Top picks  เพราะเป็นหุ้นที่เติบโตเด่น (EPS Growth   26.7% ปี 2561 และ  16.5% ในปี 2562)  จากธุรกิจค้าปลีกจากการหันไปขยายธุรกิจ HoReCa และธุรกิจบรรจุภัณฑ์ในประเทศ และเวียดนาม โดยเฉพาะภายหลังจากที่  THAIBEV ซึ่งมีเจ้าของเป็นกลุ่มเดียวกันเข้าซื้อกิจการผู้ผลิตและจำหน่ายเบียร์รายใหญ่ในเวียดนาม คือ SABECOซึ่งปัจจุบันมีส่วนแบ่งตลาดเบียร์ในเวียดนามสูงสุดราว 41%  
Fund Flow ไหลออกจากตลาดหุ้นในภูมิภาคอย่างต่อเนื่อง
  ต่างชาติขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคติดต่อกันมา 5 วัน และด้วยแรงขายที่ชัดเจนขึ้น น่าจะกดดันให้ตลาดฯปรับฐานต่อ สังเกตได้จากวานนี้ต่างชาติกระหน่ำขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคอย่างหนัก ด้วยมูลค่าที่สูงถึง 1.15 พันล้านเหรียญ  (สูงสุดในรอบ 2 เดือน) และเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ เริ่มจากเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 623 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 5) ตามมาด้วยไต้หวัน 277 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน), อินโดนีเซีย 49 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 6), ฟิลิปปินส์ 20 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7) และไทย ที่ต่างชาติขายสุทธิ 163 ล้านเหรียญ หรือ 5.14 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 298 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.62 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ขายสุทธิ 1.37 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 7 มีมูลค่าขายรวม 2.03 หมื่นล้านบาท) หนุนให้ Bond Yield 10 ปี ปรับตัวเพิ่มขึ้นสูงสุดในปีนี้มาอยู่ที่ 2.56% ขณะที่ Bond Yield 10 ปี ของสหรัฐฯปรับตัวเพิ่มขึ้นมาอย่างร้อนแรงแซงหน้าไทยไปอยู่ที่ 2.74% บวกกับตลาดคาดว่า Fed มีโอกาสขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้ถึง 3 ครั้ง กดดันให้ Fund Flow ยังมีโอกาสไหลออกจากตลาดหุ้นและตราสารหนี้ไทย
ดัชนีหุ้นมีโอกาสต่ำกว่า 1800 จุด ตามการปรับฐานในต่างประเทศ 
  ตลาดหุ้นไทยน่าจะยังได้รับผลกระทบจากการปรับฐานที่แรงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ของสหรัฐ โดย Dow Jones 2 วันรวมกันลดลง 7.03%, S&P500 ลดลงรวม 6.13%  ซึ่งเป็นการขายทำกำไร ดังที่กล่าวแล้วว่าตลาดหุ้นสหรัฐให้ผลตอบแทนสูงสุดแห่งหนึ่งของโลกกว่า 40% ในช่วงปี 2559-2561YTD  เทียบกับ ตลาดหุ้นญี่ปุ่นราว 21% ยุโรปราว 7% ฝรั่งเศสราว 17% เยอรมันราว 20% และอังกฤษราว 21% ทำให้ค่า Expected P/E ของตลาดหุ้นสหรัฐสูงเกิน 18 เท่า ซึ่งนับว่าแพงกว่าประเทศพัฒนาแล้วหลายแห่ง เช่น ญี่ปุ่น 17.6 เท่า ยุโรป 15 เท่า ฝรั่งเศส 14.6 เท่า เยอรมัน 13.2 เท่า และอังกฤษ 14.1 เท่า ตามลำดับ
  ทั้งนี้แม้ดัชนีชี้นำเศรษฐกิจสหรัฐยังมีแนวโน้มที่ดีขึ้นต่อเนื่อง และสะท้อนเศรษฐกิจที่ยังแข็งแกร่ง  โดยเฉพาะอัตราการว่างงานทรงตัวที่ระดับ 4.1% เป็นระดับต่ำสุดในรอบ 17 ปี  แต่อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐประเภทอายุ 30 ปีพุ่งขึ้นเหนือระดับ 3% แตะที่ 3.006% ซึ่งอยู่ในระดับสูงนับตั้งแต่เดือน มี.ค.ปีที่แล้ว ทำให้นำไปเกี่ยวโยงกันถึงแนวโน้มการขึ้นดอกเบี้ยของสหรัฐอาจจะมากกว่าที่กำหนดไว้ 3 ครั้ง   หรือ เกินกว่า 1.25% 
  ความคาดหวังต่อการขึ้นดอกเบี้ยมากกว่าคาด หนุนให้ Dollar Index ที่อ่อนค่ามานานตั้งแต่ต้นปี 2560 จากบริเวณ 103.5 ลงมาต่ำสุดที่ 88.5 เมื่อต้นเดือน ก.พ. ที่ผ่านมารวมอ่อนค่าลงกว่า 15%  (สวนทางกับเงินยูโรที่แข็งค่าราว 19% และเงินปอนด์ราว 15.5%% ในช่วงเดียวกัน ) ขณะที่ช่วงนี้ Dollar Index กลับมาแข็งค่าต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 และน่าจะมีแนวโน้มฟื้นตัวต่อตลอดสัปดาห์นี้ ซึ่งถือเป็นปัจจัยกดดันสินค้าโภคภัณฑ์ ทั้งน้ำมันและทองคำ เป็นต้น
  เช่นเดียวกัน ตลาดหุ้นภูมิภาคที่ปรับฐานลงแรง โดยตลาดหุ้นญี่ปุ่น 2 วันรวมกันลดลง 7% เกาหลีใต้ 4.2% ขณะที่วานนี้ตลาดหุ้นฮ่องกงลดลง 1.1% ไต้หวันลดลง 1.6% ฟิลิปปินส์ลดลง 2.2% และอินโดนีเซียลดลง 0.6% ยกเว้นตลาดหุ้นจีนที่บวกได้สวนทางตลาดหุ้นภูมิภาค 0.7% เนื่องจากระดับ P/E ของตลาดหุ้นจีนยังอยู่ในระดับต่ำที่เพียง 13.6 เท่า
  ขณะที่ตลาดหุ้นไทย น่าจะอยู่ในช่วงของการปรับฐานต่อเนื่อง และมีโอกาสที่ SET ต่ำกว่า 1800 จุด (แนวรับในโซน1780/1789 แนวต้าน1814 จุด) เพราะนอกจากประเด็นการเมืองที่เข้ามามีน้ำหนักมากขึ้นแล้ว น่าจะเผชิญกับแรงขายรับงบ 4Q60  โดยวานนี้ ADVANC ADVANC รายงานงบกำไรสุทธิ 4Q60 ดีกว่าคาด อยู่ที่ 7.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.3%qoq หลักๆ มาจาก SG&A และขาดทุนจากการขายเครื่องลดลง ขณะที่รายได้ค่าบริการ (ไม่รวม IC) เพิ่มขึ้น 0.5%yoy จาก ARPU ที่เติบโตตามสัดส่วนลูกค้ารายเดือนที่มี ARPU สูง หักล้างกับต้นทุนค่าบริการ (ไม่รวม IC) ที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน โดยรวมกำไรสุทธิปี 2560 อยู่ที่ 3.07 หมื่นล้านบาท ลดลง 1.9%yoy  และน่าจะมีแนวโน้มกระเตื้องขึ้น  5.6% ในปี 2561 และ 4.2% ปี 2562  แต่มีข้อดีที่เงินปันผลยังค่อนข้างสูง 4% 
  ขณะที่หุ้น INTUCH  คาดว่าจะรายงานในวันนี้ ตามด้วย SCCC ส่วนหุ้นโรงกลั่นอย่าง IRPC, TOP, BCP, PTT น่าจะประกาศงบฯ ในช่วงสัปดาห์ ซึ่งแรงขายรับงบที่หุ้น Market Cap ขนาดใหญ่ น่าจะมีน้ำหนักกดดันดัชนี ขณะที่ราคาน้ำมันโลกที่อ่อนตัวลงช่วงสั้นจะเป็นอีกแรงกดดันต่อหุ้นในกลุ่มพลังงาน
  และเมื่อพิจารณาผลตอบแทนตลาดหุ้นไทยในช่วง 3 ปี (2559-61ytd) รวมกันราว 40%  และ  Expected P/E ปี 2561 อยู่ที่ 16 เท่า ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้าน (มาเลเซียที่ 16.5 เท่า และอินโดนีเซียที่ 17.0 เท่า แต่สูงกว่าจีนที่ 13.6 เท่า) คาดการณ์การเติบโตของกำไรสุทธิตลาดฯ ปีนี้ ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน กล่าวคือไทย 14.6% (อิง EPS ที่ 113.5 บาท/หุ้น) จีน 13.4%, เวียดนาม 13% อินโดนีเซีย 13% และฟิลิปปินส์ที่ 11.8% ยกเว้นมาเลเซียที่โตเพียง 5.3%  จึงทำให้ไม่จูงใจต่างชาติ
กลยุทธ์การลงทุน ลดน้ำหนักหุ้นเหลือ 40% ซื้อ HANA, TU, BLA
  ดังที่ได้นำเสนอให้ลดน้ำหนักการลงทุนในหุ้น 40%  จากเดิม 50% หรือตรงกันข้ามให้ถือเงินสดเพิ่มขึ้นเป็น 60% จากเดิม 50%  โดยให้ขายหุ้นที่เกิน Fair Value  หรือ upside จำกัด ให้เลือกลงทุนใน 3 กลุ่มหลักคือ
  1. หุ้นปันผลสูง ที่มีความผันผวนต่ำ จึงยังคงเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ โดยกลยุทธ์การลงทุนในหุ้น Dividend Play ที่มีการจ่ายปันผลสูงสม่ำเสมอ คือ SIRI, TMT, INTUCH, TASCO และ MAJOR  โดยแนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD   
  2. หุ้นส่งออก  เพราะเป็นกลุ่มที่ underperform มานานกว่า 2 ปี นอกจากปัญหาเรื่องต้นทุนวัตถุดิบที่สูงขึ้น (ปลาทูน่า TU, ทองแดง KCE, ชิ้นส่วนนำเข้า IC, PCB ของ SVI)เงินบาทแข็งที่แข็งค่ามากกว่า 14%  นับจากปี 2560 ถือเป็นปัจจัยกดดันประสิทธิภาพการทำกำไรของกลุ่มนี้อย่างมาก ในสถานการณ์ที่กลับข้างคือ  เงินบาทมีแนวโน้มอ่อนค่าเมื่อเทียบกับ Dollar หลังจากแข็งค่ามากสุดที่  31.1 บาทต่อดอลลาร์  และฟื้นตัวมาที่ 31.6 บาท หรือ ราว 1.6% ในช่วงเวลาเพียง 2 วัน   จึงแนะนำสะสมหุ้นส่งออกที่มี upside  และ เงินปันผลสูงคือ
HANA([email protected])ทั้งนี้แม้กำไรจาการดำเนินงานปีนี้จะทรงตัวเมื่อเทียบกับปี 2560 แต่ราคาหุ้นได้สะท้อนประเด็นดังกล่าวแล้วจากที่มี P/E ต่ำสุดในกลุ่มคือ 32 เท่า และยังมีเงินปันผล 4.5%   ขณะที่ราคาหุ้น upside 22%
  TU(2560 [email protected])แนวโน้มกำไรจากการดำเนินงานปกติปี 2561  เติบโตจากปี 2560   25.2% โดยต้นทุนวัตถุดิบปลาทูน่า เริ่มอ่อนตัวลงน่าจะหนุนประสิทธิภาพการทำกำไรในปีนี้ ขณะที่   P/E  อยู่ที่ 18 เท่า มี upside 10%
  3. หุ้นประกันชีวิต  BLA(FV@B42)  แม้มี upside 9%  แต่แนวโน้มผลตอบแทนจากพันธบัตรรัฐบาลที่น่าจะปรับขึ้นตามตลาดเงินสหรัฐ   จะช่วยลดความกังวลต่อการเพิ่มสำรองเบี้ยประกันฯ และ ยังสงผลบวกต่อผลตอบแทนจากต่อพอร์ตการลงทุนในระยะถัดไป
ภรณี ทองเย็น  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์  เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล  ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร  ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5276

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!