- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 31 January 2018 16:19
- Hits: 1348
บล.เคทีบี (ประเทศไทย) : Technical Daily
SET INDEX
1826.61 -10.88(-0.59) // Vol. 62,048
มีแนวโน้มชะลอตัว
กรอบการเคลื่อนไหว 1814-1828
ภาพของดัชนีวานนี้กลับมาชะลอตัวอีกครั้งหลังจากที่ฟื้นตัวขึ้นไปแบบไม่ค่อยแข็งแรง แกว่งตัวอยู่ในแดนดนลบ โดยดึง High-Low ต่ำกว่าวันก่อนหน้า (1821-1835) และลงมาปิด Gap (1829.07-1831.15=2.08) ที่เปิดไว้จากวันก่อนหน้าได้สนิท ก่อนที่จะทำปิดที่ 1826 จุด ทำให้มีมุมต่อดัชนีที่คาดว่าอยู่ในช่วงพักตัวออกข้างที่มีกรอบการแกว่ง 1803-1848 สักระยะ ขณะที่วันนี้ดัชนีมีมีโอกาสชะลอตัว ดูแนวรับ 1814 จุด ว่าจะรับอยู่หรือไม่ ถ้าไม่อยู่มีระยะถัดที่ 1808 จุด ส่วนกรอบบน 1828 จุด
1826.61 -10.88(-0.59) // Vol. 62,048
มีแนวโน้มชะลอตัว
กรอบการเคลื่อนไหว 1814-1828
ภาพของดัชนีวานนี้กลับมาชะลอตัวอีกครั้งหลังจากที่ฟื้นตัวขึ้นไปแบบไม่ค่อยแข็งแรง แกว่งตัวอยู่ในแดนดนลบ โดยดึง High-Low ต่ำกว่าวันก่อนหน้า (1821-1835) และลงมาปิด Gap (1829.07-1831.15=2.08) ที่เปิดไว้จากวันก่อนหน้าได้สนิท ก่อนที่จะทำปิดที่ 1826 จุด ทำให้มีมุมต่อดัชนีที่คาดว่าอยู่ในช่วงพักตัวออกข้างที่มีกรอบการแกว่ง 1803-1848 สักระยะ ขณะที่วันนี้ดัชนีมีมีโอกาสชะลอตัว ดูแนวรับ 1814 จุด ว่าจะรับอยู่หรือไม่ ถ้าไม่อยู่มีระยะถัดที่ 1808 จุด ส่วนกรอบบน 1828 จุด
แนวรับ 1808-1814 // 1798
แนวต้าน 1828-1834
Technical Analyst : พรรณนภา เขมะสุรัตน์ // เลขทะเบียน 060110 // Tel. : 02-648-1124 // phannapa.k@ktbst .co.th
แนวต้าน 1828-1834
Technical Analyst : พรรณนภา เขมะสุรัตน์ // เลขทะเบียน 060110 // Tel. : 02-648-1124 // phannapa.k@ktbst .co.th
บล.เคทีบี (ประเทศไทย) : Morning Bell
“เกาะติดตลาดต่างประเทศ”
ทิศทางตลาดหุ้นไทย:
ภาพตลาดในวันนี้ คาดดัชนีฯมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ตามตลาดหุ้นต่างประเทศที่กังวลต่อแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ขยับขึ้น .... ปัจจัยต่างประเทศ นักลงทุนยังคงรอผลการประชุม FOMC (ทราบผลคืนนี้) .... ปัจจัยในประเทศ ครม. วานนี้มีการอนุมัติการขึ้นค่าแรงตามที่เสนอมา และ มีการอนุมัตินโยบายช่วยเหลือ SMEs ขณะที่ ธปท.เริ่มส่งสัญญาณที่คุมเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามาก (อาจมีมาตรการออกมา)
กลยุทธ์การลงทุน:
ด้วยสภาวะของตลาดที่คนเริ่มไม่มั่นใจว่าตลาดจะไปต่อหรือพักยาว คาดจะมีแรงขายทำกำไรต่อจากวันก่อน .... คำแนะนำของเราคือ ‘ชะลอการลงทุน’ หรือเลือกขายหุ้น (บางส่วน)ที่ราคาปรับขึ้นมามาก เพื่อลดความเสี่ยง อาทิหุ้นกลุ่มน้ำมัน-ปิโตรเคมี-ไฟฟ้า ทั้งนี้ หุ้น(ใหญ่) ที่ราคาขึ้นมากที่สุดตั้งแต่ ธ.ค.17 10 ลำดับแรก GULF, GPSC, EA, KTC, BANPU , PTTEP, PTTGC, BAY, PTT, DTAC จะมีความเสี่ยงหากดัชนีฯลงต่อเนื่อง ในขณะที่ จะเป็นจังหวะในการซื้อหุ้นที่มีปัจจัยบวกหรือผลประกอบการดี วันนี้เราเน้นหุ้น domestic play โดยหุ้นที่ติด most active ได้แก่ KBANK, AMATA ส่วน DELTA* คาดจะได้ผลบวกหากดอลล่าร์เริ่มแข็งค่าขึ้น
หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์: SAWAD, MINT
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้น Active ที่น่าสนใจ
(+) AMATA:
เราเลือก AMATA ต่อเนื่องจากวันก่อน โดยบริษัทได้รับประเด็นบวกจากการปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งเสริม BOI ในพื้นที่ EEC เพิ่มเป็น 2.5 แสนล้านบาท จากเดิมคาดไว้ที่ 2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ด้วยราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมามากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราคาดว่าจะเห็นการ rebound ได้ .... ราคาเหมาะสมโดย KTBST ที่ 30.00 บาท
(+) DELTA*:
ค่าดอลล่าร์ น่าจะเริ่มแข็งค่าขึ้น (บาทอ่อน) และเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของราคาหุ้น DELTA หลังปรับตัวลงมาค่อนข้างมากในช่วงก่อนหน้านี้ ในขณะที่ DELTA มีปัจจัยหนุนระยะยาวจากการพัฒนาสินค้าที่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคและการเข้ามาของ internet of things และการเตรียมพร้อมเรื่องรถยนต์ EV
(+) SAWAD:
มอง SAWAD เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่จะประกาศผลประกอบการช่วง 4Q17 ออกมาดีโดยเราคาดกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 667 ล้านบาทข +10%YoY +7%QoQ จากการขยายสินเชื่อของเงินให้กู้ยืมผ่าน BFIT และการขยายสินเชื่อที่มีรถจักรยานยนต์เป็นหลักประกัน รวมถึง BFIT มีอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญฯสูงถึง 200% เพียงพอต่อมาตรฐานบัญชีใหม่ ... ราคาที่เหมาะสม KTBST 70.0 บาท
หุ้นมีประเด็น
(+) PRINC (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 8.00 บาท)
เราเริ่มต้นออกบทวิเคราะห์หุ้น PRINC ด้วยคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 8.00 บาท ความน่าสนใจของ PRINC อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางธุรกิจครั้งสำคัญในปีนี้จากบริษัทพัฒนาอสังหาฯ มาทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนอย่างเต็มตัวภายหลังจากที่เข้าซื้อกิจการ Alliance Medical Asia และโรงพยาบาลปิยะมินทร์รวมจำนวนเตียงจดทะเบียนทั้งหมด 640 เตียง ซึ่งเป็นการเข้าซื้อกิจการโรงพยาบาลที่มีผลกำไรอยู่แล้ว โดยเราคาดบริษัทจะพลิกกลับมาทำกำไรสุทธิในปี 2018 จากขาดทุนสุทธิในปี 2017 และคาดกำไรสุทธิในช่วงปี 2018–22 จะเติบโตได้เฉลี่ย 35% (CAGR) สำหรับอนาคตภายใน3 ปีข้างหน้า เราคาดบริษัทจะลงทุนเพิ่มในกิจการโรงพยาบาลอีกอย่างน้อย 4 แห่งขนาดประมาณ 60–100 เตียงต่อแห่ง โดยไม่ต้องเพิ่มทุนเนื่องจาก D/E ratio ที่ต่ำเพียง 0.15 เท่า ซึ่งจะทำให้กำไรสุทธิมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เราประเมิณมูลค่าที่เหมาะสมของ PRINC ที่ 8.00 บาท มาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และโรงพยาบาลในปัจจุบันที่ 6.20 บาทและการลงทุนเพิ่มในอีก 4 โรงพยาบาลในอนาคตจะได้ราคาเหมาะสมเพิ่มขึ้นอีก 1.80 บาท
“เกาะติดตลาดต่างประเทศ”
ทิศทางตลาดหุ้นไทย:
ภาพตลาดในวันนี้ คาดดัชนีฯมีแนวโน้มอ่อนตัวลง ตามตลาดหุ้นต่างประเทศที่กังวลต่อแนวโน้มดอกเบี้ยสหรัฐฯและอัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลที่ขยับขึ้น .... ปัจจัยต่างประเทศ นักลงทุนยังคงรอผลการประชุม FOMC (ทราบผลคืนนี้) .... ปัจจัยในประเทศ ครม. วานนี้มีการอนุมัติการขึ้นค่าแรงตามที่เสนอมา และ มีการอนุมัตินโยบายช่วยเหลือ SMEs ขณะที่ ธปท.เริ่มส่งสัญญาณที่คุมเงินบาทไม่ให้แข็งค่ามาก (อาจมีมาตรการออกมา)
กลยุทธ์การลงทุน:
ด้วยสภาวะของตลาดที่คนเริ่มไม่มั่นใจว่าตลาดจะไปต่อหรือพักยาว คาดจะมีแรงขายทำกำไรต่อจากวันก่อน .... คำแนะนำของเราคือ ‘ชะลอการลงทุน’ หรือเลือกขายหุ้น (บางส่วน)ที่ราคาปรับขึ้นมามาก เพื่อลดความเสี่ยง อาทิหุ้นกลุ่มน้ำมัน-ปิโตรเคมี-ไฟฟ้า ทั้งนี้ หุ้น(ใหญ่) ที่ราคาขึ้นมากที่สุดตั้งแต่ ธ.ค.17 10 ลำดับแรก GULF, GPSC, EA, KTC, BANPU , PTTEP, PTTGC, BAY, PTT, DTAC จะมีความเสี่ยงหากดัชนีฯลงต่อเนื่อง ในขณะที่ จะเป็นจังหวะในการซื้อหุ้นที่มีปัจจัยบวกหรือผลประกอบการดี วันนี้เราเน้นหุ้น domestic play โดยหุ้นที่ติด most active ได้แก่ KBANK, AMATA ส่วน DELTA* คาดจะได้ผลบวกหากดอลล่าร์เริ่มแข็งค่าขึ้น
หุ้นแนะนำเชิงกลยุทธ์: SAWAD, MINT
* เป็นหุ้นที่แนะนำเชิงกลยุทธ์ โดย KTBST ไม่ได้จัดทำบทวิเคราะห์
หุ้น Active ที่น่าสนใจ
(+) AMATA:
เราเลือก AMATA ต่อเนื่องจากวันก่อน โดยบริษัทได้รับประเด็นบวกจากการปรับเพิ่มเป้าหมายการส่งเสริม BOI ในพื้นที่ EEC เพิ่มเป็น 2.5 แสนล้านบาท จากเดิมคาดไว้ที่ 2 แสนล้านบาท นอกจากนี้ด้วยราคาหุ้นที่ปรับตัวลงมามากในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา เราคาดว่าจะเห็นการ rebound ได้ .... ราคาเหมาะสมโดย KTBST ที่ 30.00 บาท
(+) DELTA*:
ค่าดอลล่าร์ น่าจะเริ่มแข็งค่าขึ้น (บาทอ่อน) และเริ่มเห็นสัญญาณการฟื้นตัวของราคาหุ้น DELTA หลังปรับตัวลงมาค่อนข้างมากในช่วงก่อนหน้านี้ ในขณะที่ DELTA มีปัจจัยหนุนระยะยาวจากการพัฒนาสินค้าที่ตอบรับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภคและการเข้ามาของ internet of things และการเตรียมพร้อมเรื่องรถยนต์ EV
(+) SAWAD:
มอง SAWAD เป็นอีกหนึ่งบริษัทที่จะประกาศผลประกอบการช่วง 4Q17 ออกมาดีโดยเราคาดกำไรสุทธิ 4Q17 ที่ 667 ล้านบาทข +10%YoY +7%QoQ จากการขยายสินเชื่อของเงินให้กู้ยืมผ่าน BFIT และการขยายสินเชื่อที่มีรถจักรยานยนต์เป็นหลักประกัน รวมถึง BFIT มีอัตราส่วนค่าเผื่อหนี้สงสัยจะสูญฯสูงถึง 200% เพียงพอต่อมาตรฐานบัญชีใหม่ ... ราคาที่เหมาะสม KTBST 70.0 บาท
หุ้นมีประเด็น
(+) PRINC (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 8.00 บาท)
เราเริ่มต้นออกบทวิเคราะห์หุ้น PRINC ด้วยคำแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 8.00 บาท ความน่าสนใจของ PRINC อยู่ที่การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางธุรกิจครั้งสำคัญในปีนี้จากบริษัทพัฒนาอสังหาฯ มาทำธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนอย่างเต็มตัวภายหลังจากที่เข้าซื้อกิจการ Alliance Medical Asia และโรงพยาบาลปิยะมินทร์รวมจำนวนเตียงจดทะเบียนทั้งหมด 640 เตียง ซึ่งเป็นการเข้าซื้อกิจการโรงพยาบาลที่มีผลกำไรอยู่แล้ว โดยเราคาดบริษัทจะพลิกกลับมาทำกำไรสุทธิในปี 2018 จากขาดทุนสุทธิในปี 2017 และคาดกำไรสุทธิในช่วงปี 2018–22 จะเติบโตได้เฉลี่ย 35% (CAGR) สำหรับอนาคตภายใน3 ปีข้างหน้า เราคาดบริษัทจะลงทุนเพิ่มในกิจการโรงพยาบาลอีกอย่างน้อย 4 แห่งขนาดประมาณ 60–100 เตียงต่อแห่ง โดยไม่ต้องเพิ่มทุนเนื่องจาก D/E ratio ที่ต่ำเพียง 0.15 เท่า ซึ่งจะทำให้กำไรสุทธิมีโอกาสเติบโตได้อีกมาก เราประเมิณมูลค่าที่เหมาะสมของ PRINC ที่ 8.00 บาท มาจากธุรกิจอสังหาริมทรัพย์และโรงพยาบาลในปัจจุบันที่ 6.20 บาทและการลงทุนเพิ่มในอีก 4 โรงพยาบาลในอนาคตจะได้ราคาเหมาะสมเพิ่มขึ้นอีก 1.80 บาท
(+) RS (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 30 บาท)
อาร์เอสทุ่มงบประมาณ 500 ล้านบาท เสริมความแข็งแกร่งด้านคอนเทนต์ให้กับช่อง 8 ด้วยการผนึกกำลังกับ JKN ยกทัพซีรีส์ของประเทศอินเดียมาลงจอกว่า 10 เรื่องตลอดทั้งปี 2018 เชื่อมั่นว่าคอนเทนต์ที่คัดสรรมาจะโดนใจผู้ชมเป็นแรงส่งดันยอดผู้ชมพุ่งทะยาน 700,000 รายต่อนาที ก้าวสู่อันดับ 3 ดิจิตอลทีวีของประเทศทันที ทำให้ช่อง 8 มีรายได้ 2,000 ล้านบาท หนุนรายได้รวมทั้งกลุ่มอาร์เอสทะลุ 5,300 ล้านบาทเป็นไปตามเป้าที่วางไว้
ความเห็น: เรามีมุมมองเชิงบวกกับข่าวข้างต้น จากการที่เราได้เข้าร่วมงาน JKN & RS – The Leader ผนึกกำลังผู้นำตลาดซีรี่ส์อินเดีย เมื่อวานนี้ เราจะเห็นกลุ่มแฟนคลับนิยมซีรี่ส์อินเดียเข้าร่วมงานจำนวนมาก โดยเฉพาะหนุมาน สงครามมหาเทพซึ่งมีเรตติ้งทะลุไป 5.09 ส่งผลให้ช่อง 8 เป็นผู้นำด้านเรตติ้งของซีรีส์อินเดียในช่วง prime time เรามองว่าการนำซีรี่ส์อินเดียมาฉาย ส่งผลให้ต้นทุนด้านคอนเทนต์ของ RS ต่ำกว่าช่องหลักๆ เนื่องจากราคาของซีรี่ส์ 1 เรื่องอยู่ที่ประมาณ 25-30 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับต้นทุนการทำละคร1เรื่อง แต่ซีรี่ส์อินเดียจะฉายได้นานกว่าละครถึงเกือบ10เดือน เนื่องจากจำนวนตอนที่เยอะกว่า อีกทั้งเรามองว่า ซีรี่ส์อินเดียตรงกับ Target group ของช่อง 8 จะเห็นได้จากความสำเร็จของเรื่อง สีดาราม และต่อด้วย หนุมาน เราเชื่อมั่นว่า RS สามารถ Deliver revenues growth ได้ตามเป้าหมาย ในปี 2018 เราคาดว่ารายได้จาก Media Business จะอยู่ที่ 2,525 ลบ. โดย 82% ของรายได้มาจากช่อง 8 เรามองว่ารายได้รวมทั้งหมดจะอยู่ที่ 5,485 ลบ. สูงกว่าที่ บริษัทคาด เรายังคงแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 30 บาท
อาร์เอสทุ่มงบประมาณ 500 ล้านบาท เสริมความแข็งแกร่งด้านคอนเทนต์ให้กับช่อง 8 ด้วยการผนึกกำลังกับ JKN ยกทัพซีรีส์ของประเทศอินเดียมาลงจอกว่า 10 เรื่องตลอดทั้งปี 2018 เชื่อมั่นว่าคอนเทนต์ที่คัดสรรมาจะโดนใจผู้ชมเป็นแรงส่งดันยอดผู้ชมพุ่งทะยาน 700,000 รายต่อนาที ก้าวสู่อันดับ 3 ดิจิตอลทีวีของประเทศทันที ทำให้ช่อง 8 มีรายได้ 2,000 ล้านบาท หนุนรายได้รวมทั้งกลุ่มอาร์เอสทะลุ 5,300 ล้านบาทเป็นไปตามเป้าที่วางไว้
ความเห็น: เรามีมุมมองเชิงบวกกับข่าวข้างต้น จากการที่เราได้เข้าร่วมงาน JKN & RS – The Leader ผนึกกำลังผู้นำตลาดซีรี่ส์อินเดีย เมื่อวานนี้ เราจะเห็นกลุ่มแฟนคลับนิยมซีรี่ส์อินเดียเข้าร่วมงานจำนวนมาก โดยเฉพาะหนุมาน สงครามมหาเทพซึ่งมีเรตติ้งทะลุไป 5.09 ส่งผลให้ช่อง 8 เป็นผู้นำด้านเรตติ้งของซีรีส์อินเดียในช่วง prime time เรามองว่าการนำซีรี่ส์อินเดียมาฉาย ส่งผลให้ต้นทุนด้านคอนเทนต์ของ RS ต่ำกว่าช่องหลักๆ เนื่องจากราคาของซีรี่ส์ 1 เรื่องอยู่ที่ประมาณ 25-30 ล้านบาท ซึ่งเท่ากับต้นทุนการทำละคร1เรื่อง แต่ซีรี่ส์อินเดียจะฉายได้นานกว่าละครถึงเกือบ10เดือน เนื่องจากจำนวนตอนที่เยอะกว่า อีกทั้งเรามองว่า ซีรี่ส์อินเดียตรงกับ Target group ของช่อง 8 จะเห็นได้จากความสำเร็จของเรื่อง สีดาราม และต่อด้วย หนุมาน เราเชื่อมั่นว่า RS สามารถ Deliver revenues growth ได้ตามเป้าหมาย ในปี 2018 เราคาดว่ารายได้จาก Media Business จะอยู่ที่ 2,525 ลบ. โดย 82% ของรายได้มาจากช่อง 8 เรามองว่ารายได้รวมทั้งหมดจะอยู่ที่ 5,485 ลบ. สูงกว่าที่ บริษัทคาด เรายังคงแนะนำ “ซื้อ” ที่ราคาเป้าหมาย 30 บาท
(+) SAT (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 22 บาท)
KTBST ประเมินกำไรปกติ 4Q17 ที่ 180 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% YoY แต่ลดลง 19% QoQ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ส่วนกำไรสุทธิ 4Q17 จะโดดเด่น เนื่องจากจะมีการบันทึกกำไรพิเศษจากการโอนธุรกิจสปริงไปเป็นบริษัทร่วม ทั้งนี้ เราคาดว่าการโอนธุรกิจสปริงไปเป็น
บริษัทร่วมจะมีผลกระทบต่อกำไรปกติปี 2018 จากเดิมไม่มาก แม้รายได้จะปรับลดลงจากเดิมราว 1.3 พันล้านบาท แต่คาดว่าจะได้คำสั่งซื้อใหม่ๆ ช่วยหนุน และธุรกิจชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตรยังมีโอกาสเติบโตสูง นอกจากนั้น คาดว่าจะมีส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาชดเชยแทน โดยเรามีการปรับลดกำไรปกติปี 2018 ลงจากเดิมเล็กน้อย 2% เป็น 776 ล้านบาท ยังเติบโตราว 10% YoY ส่งผลให้เราปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 22 บาท จากเดิม 23 บาท แต่ปรับคำแนะนำเป็น ซื้อ จากเดิม ถือ จากราคาหุ้นที่ลดลง ทำให้ PER ปี 2018 ลดลงเหลือ 10.9 เท่า จากค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 12 เท่า และแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q17 ที่จะโดดเด่น
AMATA (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 30.00 บาท)
Mandalay Myotha Industrial Park ได้เปิดโครงการเพื่อชักชวนนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมาลงทุนในประเทศเมียนมาร์บริเวณมัณฑเลย์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ที่มา: Bloomberg News, 30 Jan 2018)ความเห็น: เรามีมุมมองเชิงบวกต่อการเปิดนิคมในประเทศเมียนมาร์เพิ่มขึ้น เนื่องจากเรามองว่าจะก่อให้เกิดการลงทุน และการพัฒนาประเมศเมียนมาร์ ซึ่งส่งผลดีต่อ AMATA ที่ได้เซ็นสัญญาลงนามลงทุนสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเมืองย่างกุ้ง และมีแนวโน้มที่จะลงทุนในประเทศลาวเพิ่มขึ้นในปี 2019 โดยเรายังคงแนะนำ ซื้อ ที่ราคาเป้าหมาย 30.00 บาท
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (29 ม.ค.) – ตลาดหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1,826.61 จุด ลดลง 10.88 จุด หรือ -0.59% มูลค่าการซื้อขาย 62,047.91 ล้านบาท เรามองตลาดหุ้นปรับตัวลงในลักณะเดียวกับตลาดต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยต่างๆของต่างประเทศยังไม่แน่นอน และนักลงทุนยังคงจับตารอการประชุม Fed และการแถลงนโยบายของ ปธน. ทรัมป์
ปัจจัยต่างประเทศ
(+) ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยุโรปอ่อนตัวลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง - คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในยูโรโซนอ่อนตัวลงเล็กน้อย สู่ระดับ 114.7 ในเดือน ม.ค. สูงสุดในรอบ 10 ปี แต่ลดลงจากระดับ 115.1 ในเดือนธ.ค.
(+/-) ติดตามการประชุม Fed ในวันนี้– การประชุม FOMC 30-31 ม.ค. โอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยสำหรับเดือน ม.ค. มีน้อย โดน Bloomberg คาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ไว้ที่ 3.3% ติดตามการส่งสัญญาณจำนวนครั้งในการขึ้นดอกเบี้ยสำหรับปีนี้ โดย FedWatch พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 26% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 23% ในวันศุกร์ และ 10% ในเดือนที่แล้ว ประเด็นดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงอย่างมากเมื่อคืนนี้
(+/-) ติดตามการแถลงนโยบายของ ปธน. ทรัมป์ – กำหนดแถลงนโยบายประจำปี (State of the Union) ตรงกับช่วงเช้าวันนี้เวลา 09.00 น.ตามเวลาไทย
ปัจจัยในประเทศ
(+) กำหนดค่าแรงขั้นต่ำตามคาด – ครม. วานนี้มีมติรับทราบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง โดยในเอกสารการประชุมระบุว่าจะมีการปรับขึ้น 8-20 บาท/วัน มาที่ 308-330 บาท เริ่มมีผลตั้งแต่ 1 เม.ย. 2018
(+) ลดภาษี SMEs – ครมม อนุมัติ มาตรการลดหย่อนภาษี โดยให้ผู้ประกอบการนำรายจ่ายค่าจ้างรายวันมาหักภาษีได้ 1.15 เท่า เงื่อนไขสำหรับผู้ประกอบการที่จะลดหย่อนได้คือ บริษัทต้องมีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท และมีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน คาดว่ารัฐจะสูญเสียรายได้ 5,400 ล้านบาท
Analyst
Mongkol Puangpetra
License No: 001937
+662 648 1123
[email protected]
Nontapat Rushtasomboon
License No: 081447
+662 648 1127
[email protected]
OO5079
KTBST ประเมินกำไรปกติ 4Q17 ที่ 180 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 4% YoY แต่ลดลง 19% QoQ ซึ่งเป็นไปตามทิศทางอุตสาหกรรมยานยนต์ไทย ส่วนกำไรสุทธิ 4Q17 จะโดดเด่น เนื่องจากจะมีการบันทึกกำไรพิเศษจากการโอนธุรกิจสปริงไปเป็นบริษัทร่วม ทั้งนี้ เราคาดว่าการโอนธุรกิจสปริงไปเป็น
บริษัทร่วมจะมีผลกระทบต่อกำไรปกติปี 2018 จากเดิมไม่มาก แม้รายได้จะปรับลดลงจากเดิมราว 1.3 พันล้านบาท แต่คาดว่าจะได้คำสั่งซื้อใหม่ๆ ช่วยหนุน และธุรกิจชิ้นส่วนเครื่องจักรกลการเกษตรยังมีโอกาสเติบโตสูง นอกจากนั้น คาดว่าจะมีส่วนแบ่งกำไรจากบริษัทร่วมทุนดังกล่าวเพิ่มขึ้นมาชดเชยแทน โดยเรามีการปรับลดกำไรปกติปี 2018 ลงจากเดิมเล็กน้อย 2% เป็น 776 ล้านบาท ยังเติบโตราว 10% YoY ส่งผลให้เราปรับราคาเป้าหมายลงเป็น 22 บาท จากเดิม 23 บาท แต่ปรับคำแนะนำเป็น ซื้อ จากเดิม ถือ จากราคาหุ้นที่ลดลง ทำให้ PER ปี 2018 ลดลงเหลือ 10.9 เท่า จากค่าเฉลี่ยในอดีตที่ 12 เท่า และแนวโน้มกำไรสุทธิ 4Q17 ที่จะโดดเด่น
AMATA (ซื้อ, ราคาเป้าหมาย 30.00 บาท)
Mandalay Myotha Industrial Park ได้เปิดโครงการเพื่อชักชวนนักลงทุนทั้งในและต่างประเทศมาลงทุนในประเทศเมียนมาร์บริเวณมัณฑเลย์ คิดเป็นมูลค่าประมาณ 500 ล้านดอลล่าร์สหรัฐ (ที่มา: Bloomberg News, 30 Jan 2018)ความเห็น: เรามีมุมมองเชิงบวกต่อการเปิดนิคมในประเทศเมียนมาร์เพิ่มขึ้น เนื่องจากเรามองว่าจะก่อให้เกิดการลงทุน และการพัฒนาประเมศเมียนมาร์ ซึ่งส่งผลดีต่อ AMATA ที่ได้เซ็นสัญญาลงนามลงทุนสร้างนิคมอุตสาหกรรมในเมืองย่างกุ้ง และมีแนวโน้มที่จะลงทุนในประเทศลาวเพิ่มขึ้นในปี 2019 โดยเรายังคงแนะนำ ซื้อ ที่ราคาเป้าหมาย 30.00 บาท
ปัจจัยที่มีผลต่อตลาด
ตลาดหุ้นไทยวานนี้ (29 ม.ค.) – ตลาดหุ้นไทยปิดที่ระดับ 1,826.61 จุด ลดลง 10.88 จุด หรือ -0.59% มูลค่าการซื้อขาย 62,047.91 ล้านบาท เรามองตลาดหุ้นปรับตัวลงในลักณะเดียวกับตลาดต่างประเทศ ซึ่งปัจจัยต่างๆของต่างประเทศยังไม่แน่นอน และนักลงทุนยังคงจับตารอการประชุม Fed และการแถลงนโยบายของ ปธน. ทรัมป์
ปัจจัยต่างประเทศ
(+) ความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจยุโรปอ่อนตัวลง แต่ยังคงอยู่ในระดับสูง - คณะกรรมาธิการยุโรป (EC) ซึ่งเป็นองค์กรบริหารของสหภาพยุโรป (EU) เปิดเผยว่า ดัชนีความเชื่อมั่นทางเศรษฐกิจในยูโรโซนอ่อนตัวลงเล็กน้อย สู่ระดับ 114.7 ในเดือน ม.ค. สูงสุดในรอบ 10 ปี แต่ลดลงจากระดับ 115.1 ในเดือนธ.ค.
(+/-) ติดตามการประชุม Fed ในวันนี้– การประชุม FOMC 30-31 ม.ค. โอกาสในการขึ้นดอกเบี้ยสำหรับเดือน ม.ค. มีน้อย โดน Bloomberg คาดการณ์การขึ้นดอกเบี้ยในการประชุมครั้งนี้ไว้ที่ 3.3% ติดตามการส่งสัญญาณจำนวนครั้งในการขึ้นดอกเบี้ยสำหรับปีนี้ โดย FedWatch พบว่า นักลงทุนคาดการณ์ว่ามีโอกาส 26% ที่เฟดจะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย 4 ครั้งในปีนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากระดับ 23% ในวันศุกร์ และ 10% ในเดือนที่แล้ว ประเด็นดังกล่าวส่งผลให้ดัชนีดาวโจนส์ปรับตัวลงอย่างมากเมื่อคืนนี้
(+/-) ติดตามการแถลงนโยบายของ ปธน. ทรัมป์ – กำหนดแถลงนโยบายประจำปี (State of the Union) ตรงกับช่วงเช้าวันนี้เวลา 09.00 น.ตามเวลาไทย
ปัจจัยในประเทศ
(+) กำหนดค่าแรงขั้นต่ำตามคาด – ครม. วานนี้มีมติรับทราบการกำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำตามมติคณะกรรมการค่าจ้าง โดยในเอกสารการประชุมระบุว่าจะมีการปรับขึ้น 8-20 บาท/วัน มาที่ 308-330 บาท เริ่มมีผลตั้งแต่ 1 เม.ย. 2018
(+) ลดภาษี SMEs – ครมม อนุมัติ มาตรการลดหย่อนภาษี โดยให้ผู้ประกอบการนำรายจ่ายค่าจ้างรายวันมาหักภาษีได้ 1.15 เท่า เงื่อนไขสำหรับผู้ประกอบการที่จะลดหย่อนได้คือ บริษัทต้องมีรายได้ไม่เกิน 100 ล้านบาท และมีลูกจ้างไม่เกิน 200 คน คาดว่ารัฐจะสูญเสียรายได้ 5,400 ล้านบาท
Analyst
Mongkol Puangpetra
License No: 001937
+662 648 1123
[email protected]
Nontapat Rushtasomboon
License No: 081447
+662 648 1127
[email protected]
OO5079