- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 31 January 2018 16:16
- Hits: 1223
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
SET ปรับฐานสอดคล้องกับหุ้นโลก หลังจากที่ขึ้นติดต่อกันเป็นปีที่ 3 ซึ่งน่าจะเกิดจากแรงขายรับงบ 4Q60 และ dollar index ที่ฟื้นตัวช่วงสั้น กดดันหุ้นน้ำมัน แต่เชื่อว่าเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวยังหนุนให้น้ำมันฟื้นตัวอีกครั้ง จึงคาดว่าจะเห็น SET แกว่งตัวในกรอบ 1821-1836 จุด กลยุทธ์ยังแนะนำขายหุ้นที่ upside จำกัด/เกินมูลค่า (AOT, BJC, TOP, JAS, EA, TRUE) แต่ให้สะสมหุ้นปันผล (SIRI, TMT, MAJOR, MCS, PTTEP, IRPC) หรือหุ้น Laggard (STEC, CK, UNIQ) Top picks: SIRI([email protected]) และ CK(FV@B36)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … SET Index ปรับฐานตามตลาดหุ้นโลก
วานนี้ SET Index ยืนในแดนลบตลอดทั้งวัน ปัจจัยกดดันมาจากการปรับลดลงตลาดหุ้นสหรัฐ, ตลาดหุ้นภูมิภาคปรับตัวลดลง รวมทั้งราคาน้ำมันลงที่ลดลงแรง อย่างไรก็ตามในช่วงท้ายตลาด ดัชนีสามารถ Rebound ลดช่วงลบลงได้ ก่อนจะปิดตลาดที่ 1826.61 จุด ลดลง 10.88 จุด หรือ -0.59% ด้วยมูลค่าการซื้อขายที่ 6.2 หมื่นล้านบาท (ต่ำกว่ามูลค่าการซื้อขายเฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีที่ 7.8 หมื่นล้านบาท) กลุ่มที่ปรับลดลง คือ กลุ่มพลังงาน นำโดย PTT ลดลง 1.61%, PTTEP ลดลง 2.08% ตามด้วยกลุ่ม ธ.พ. อย่าง SCB ลดลง 2.20% และ BBL ลดลง 0.96% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ปรับตัวลดลง คือ AOT ลดลง 1.06%, CPN ลดลง 1.78% และ TRUE ลดลง 2.17%
ส่วนกลุ่มที่หนุนตลาด คือ กลุ่มโรงพยาบาล ซึ่งปรับตัวขึ้นมา 2 วันต่อเนื่อง นำโดย BDMS เพิ่มขึ้น 0.94% ตามด้วยกลุ่มบันเทิงอย่าง WORK เพิ่มขึ้น 6.63% กลุ่มรับเหมาฯ STEC เพิ่มขึ้น 2.23% ส่วนหุ้นอื่นๆ ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นคือ KBANK เพิ่มขึ้น 0.86%, MTLS เพิ่มขึ้น 1.79%
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสแกว่งพักตัว ประเมินแนวรับที่ 1821 จุด แนวต้าน 1836 จุด
หุ้นน้ำมันปรับฐานระยะสั้น คาดสต็อกน้ำมันเพิ่ม และดอลลาร์ฟื้นตัวช่วงสั้น
ต่างประเทศมี 2 เรื่องที่กดดันตลาดหุ้นคือ 1) การแถลงนโยบายประจำปี ของประธานาธิบดีทรัมป์ ต่อสภาคองเกรส ในช่วง 9 โมงเช้าวันนี้ (3 ทุ่มตามเวลาสหรัฐ) หลักๆ น่าจะเป็นเรื่อง ผู้อพยพ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระยะ 10 ปี เงินลงทุนราว 2 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งจะหนุนให้สหรัฐยังคงเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง และ
2) ผลประชุม Fed ช่วง 30-31 ม.ค. (จะทราบผลเช้า 1 ก.พ. ตามเวลาไทย) ซึ่งน่าจะยังคงดอกเบี้ยฯ ที่ 1.5% แต่จะไปขึ้นดอกเบี้ยฯ ในการประชุม มี.ค. ราว 0.25% และจะขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือในปีนี้ (สิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25%) ซึ่งเชื่อว่าตลาดได้รับรู้ประเด็นนี้แล้ว ซึ่งหนุนให้เงินดอลลาร์ชะลอการอ่อนค่า หลังจากที่แตะจุดต่ำสุด 89.02 จุด (ลดลง 13.7% จากจุดสูงสุดต้นปี 2560) ทำให้แนวโน้มค่าดอลลาร์มีแนวโน้มแกว่งตัวหลังจากนี้ หากไม่มีปัจจัยใหม่ เช่น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในยุโรป และ ญี่ปุ่น แรงกว่าที่คาด
การที่ดอลลาร์ที่กลับมาแข็งค่า ทำให้ มีการปรับฐานหุ้นน้ำมัน หลังจากที่ปรับตัวขึ้น ทำสถิติสุงสุดในรอบ 3 ปี และยังเป็นผลจากความกังวลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์นี้จะเพิ่มขึ้น (EIA จะรายงานคืนนี้) เป็นครั้งแรก 10 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น 1.26 แสนบาร์เรล) เพราะโรงกลั่นน้ำมัน เตรียมปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาล นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่ใกล้ 70 เหรียญฯ จูงใจให้มีการเพิ่มแท่งขุดน้ำมันในสหรัฐมากขึ้น อย่างไรก็ตามในระยะกลาง-ยาว ความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว และการร่วมมือในการลดกำลังการผลิตในฝั่ง OPEC และNon OPEC น่าจะลดความกังวลต่อปัญหา Oversupply ใน 2H61 ทำให้ราคาน้ำมันดิบยังแกว่งตัว 65-70 เหรียญต่อบาร์เรลได้
ขึ้นค่าแรงตามคาด เชื่อว่ากระทบหุ้นกลุ่มเกษตร-อาหาร/ชิ้นส่วนฯ แล้ว
ส่วนปัจจัยในประเทศ วานนี้ ครม. อนุมัติการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำดังที่ฝ่ายวิจัยได้เคยนำเสนอใน Market Talk วันที่ 18-19 ม.ค. รายละเอียดเป็นไปตามตารางด้านล่าง
ต่างประเทศมี 2 เรื่องที่กดดันตลาดหุ้นคือ 1) การแถลงนโยบายประจำปี ของประธานาธิบดีทรัมป์ ต่อสภาคองเกรส ในช่วง 9 โมงเช้าวันนี้ (3 ทุ่มตามเวลาสหรัฐ) หลักๆ น่าจะเป็นเรื่อง ผู้อพยพ และการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ระยะ 10 ปี เงินลงทุนราว 2 แสนล้านเหรียญฯ ซึ่งจะหนุนให้สหรัฐยังคงเติบโตแข็งแกร่งต่อเนื่อง และ
2) ผลประชุม Fed ช่วง 30-31 ม.ค. (จะทราบผลเช้า 1 ก.พ. ตามเวลาไทย) ซึ่งน่าจะยังคงดอกเบี้ยฯ ที่ 1.5% แต่จะไปขึ้นดอกเบี้ยฯ ในการประชุม มี.ค. ราว 0.25% และจะขึ้นอีก 2 ครั้งในช่วงที่เหลือในปีนี้ (สิ้นปี 2561 อยู่ที่ 2.25%) ซึ่งเชื่อว่าตลาดได้รับรู้ประเด็นนี้แล้ว ซึ่งหนุนให้เงินดอลลาร์ชะลอการอ่อนค่า หลังจากที่แตะจุดต่ำสุด 89.02 จุด (ลดลง 13.7% จากจุดสูงสุดต้นปี 2560) ทำให้แนวโน้มค่าดอลลาร์มีแนวโน้มแกว่งตัวหลังจากนี้ หากไม่มีปัจจัยใหม่ เช่น การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้าในยุโรป และ ญี่ปุ่น แรงกว่าที่คาด
การที่ดอลลาร์ที่กลับมาแข็งค่า ทำให้ มีการปรับฐานหุ้นน้ำมัน หลังจากที่ปรับตัวขึ้น ทำสถิติสุงสุดในรอบ 3 ปี และยังเป็นผลจากความกังวลสต็อกน้ำมันดิบสหรัฐสัปดาห์นี้จะเพิ่มขึ้น (EIA จะรายงานคืนนี้) เป็นครั้งแรก 10 สัปดาห์ (เพิ่มขึ้น 1.26 แสนบาร์เรล) เพราะโรงกลั่นน้ำมัน เตรียมปิดซ่อมบำรุงตามฤดูกาล นอกจากนี้ราคาน้ำมันดิบที่ใกล้ 70 เหรียญฯ จูงใจให้มีการเพิ่มแท่งขุดน้ำมันในสหรัฐมากขึ้น อย่างไรก็ตามในระยะกลาง-ยาว ความต้องการใช้น้ำมันโลกมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นตามเศรษฐกิจโลกที่ขยายตัว และการร่วมมือในการลดกำลังการผลิตในฝั่ง OPEC และNon OPEC น่าจะลดความกังวลต่อปัญหา Oversupply ใน 2H61 ทำให้ราคาน้ำมันดิบยังแกว่งตัว 65-70 เหรียญต่อบาร์เรลได้
ขึ้นค่าแรงตามคาด เชื่อว่ากระทบหุ้นกลุ่มเกษตร-อาหาร/ชิ้นส่วนฯ แล้ว
ส่วนปัจจัยในประเทศ วานนี้ ครม. อนุมัติการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำดังที่ฝ่ายวิจัยได้เคยนำเสนอใน Market Talk วันที่ 18-19 ม.ค. รายละเอียดเป็นไปตามตารางด้านล่าง
ที่มา: กระทรวงแรงงาน, ฝ่ายวิจัย
ทั้งนี้อัตราค่าจ้างใหม่จะบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 2561 ส่งผลให้ค่าจ้างขั้นต่ำเฉลี่ยทั้งประเทศจะเพิ่มเป็น 315.97 บาท จากเดิม 305.44 บาท หรือ เพิ่มขึ้นเฉลี่ย 3.45% อย่างไรก็ตามการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำยังใกล้เคียงกับที่เคยนำเสนอ โดยนักวิเคราะห์ ASPS ใช้สมมติฐานที่ 5% ซึ่งจะกระทบต่อต้นทุนของผู้ประกอบการไม่มากนัก คือ
• กลุ่มเกษตรและอาหาร คาดว่าจะกระทบกำไรสุทธิของกลุ่ม 1.4% แยกเป็น STA กระทบมากสุด 3.9% รองลงมาคือ TU 1.7%, BR 1.5%, CPF 1.4%, TFG 1%, GFPT 0.8%, KSL 0.5%
• กลุ่มชิ้นส่วนฯ คาดว่ากระทบกำไรสุทธิของกลุ่ม 0.5% แยกเป็น SVI กระทบมากสุด 1.9% รองลงมา HANA 0.5%, DELTA 0.4%, KCE 0.2%
• กลุ่มรับเหมาก่อสร้าง แม้ค่าแรงจะมีสัดส่วนราว 20% ของต้นทุนรวมก็ตาม น่าจะกระทบจำกัด เพราะหากพิจารณาปริมาณงานก่อสร้างที่คาดว่าจะมีโครงการประมูลเพิ่มเติมในปี 2561 จากงานที่ค้างท่ออยู่จำนวนมากกว่า 9.2 แสนล้านบาท ทำให้การแข่งขันด้านราคาลดลง ช่วยเพิ่มอัตรากำไรกว่าที่ผ่านมา จึงยังคงประมาณการกำไรปี 2561 เป็นต้นไป และ ยังคงชื่นชอบหุ้นก่อสร้าง STEC, UNIQ, CK
เชื่อว่าค่าแรงน่าจะสะท้อนในราคาหุ้นของทั้ง 3 แล้ว อย่างไรก็ตามปัจจัยกดดันหุ้นส่งออกในปี 2561 ยังคงให้น้ำหนักต่อเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่องเป็นปีที่ 2 โดยในช่วง 1 เดือน เงินบาทแข็งค่ากว่า 4% เมื่อรวมกับปี 2560 ที่แข็งค่ากว่า 10% ถือว่าแข็งค่ามากสุดในภูมิภาค ใกล้เคียงกับเงินริงกิต (เงินรูเปียะห์ และ เงินเปโซ แกว่งตัวในกรอบแคบ ทั้ง 2 ปี) ถือเป็นปัจจัยกดดันประสิทธิการทำกำไรที่สำคัญจากกนี้หากเห็นค่าเงินบาทฟื้นตัว หรือกลับมาอ่อนค่า น่าจะเป็นจุดสะสมหุ้นส่งออก เช่น HANA, CPF เป็นต้น
นับเป็นวันแรกของปี ที่ต่างชาติขายสุทธิหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคกว่า 471 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 5 วัน) ยิ่งไปกว่านั้นยังเป็นการขายสุทธิทุกประเทศ นำโดยเกาหลีใต้ถูกขายสุทธิ 152 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) ตามมาด้วยไต้หวัน 109 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 11 วัน), อินโดนีเซีย 89 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 39 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทยที่ต่างชาติขายสุทธิ 82 ล้านเหรียญ หรือ 2.57 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิ 1.90 พันล้านบาท
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 1.80 หมื่นล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่ยังคงขายสุทธิ 6.46 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
ตลาดหุ้นโลกปรับฐาน ให้สะสมหุ้นปันผล: SIRI, MAJOR, INTUCH, TMT
วานนี้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับลดลงต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 โดย Dow Jones 2 วันลดลงถึง 2.03% ส่วน S&P500 2 วันลดลง 1.76% ปัจจัยกดดันที่ทำให้ตลาดหุ้นสหรัฐปรับฐานมาจาก
• ผลตอบแทนของทั้ง 2 ตลาดที่เป็นบวกมาต่อเนื่องแล้ว 2 ปี (Dow Jones ให้ผลตอบแทนรวม 38.5%, S&P500 ให้ผลตอบแทนรวม 29%) ดังนั้น การที่ตลาดหุ้นทั้ง 2 แห่งจะปรับขึ้นต่อ จึงมี upside ค่อนข้างจำกัด ทำให้เกิดการทยอย take profit บางส่วน
• ระดับ Expected P/E ที่สูงมาก โดย Dow Jones ปัจจุบันอยู่ที่ 18.06 เท่า ส่วน S&P500 ปัจจุบันอยู่ที่ 18.46 เท่า ซึ่งเป็นระดับที่สูงกว่าตลาดหุ้นยุโรปที่ Expected P/E เฉลี่ยอยู่ที่ราว 13.7 – 15.3 เท่า และสูงใกล้เคียงกับตลาดหุ้นญี่ปุ่นที่ 19 เท่า แม้มีการประเมินว่า EPS Growth ของตลาดหุ้นสหรัฐในปีนี้จะเติบโตราว 14.5% แต่หากประเมินโดยใช้ PEG Ratio แล้ว จะเห็นว่าอยู่ที่เกือบ 1.3 เท่า ซึ่งถือว่าเป็นระดับที่สูง
• การ Sell on fact หลังการรายงานผลประกอบการ 4Q60 ของบริษัทจดทะเบียนออกมาดีกว่าคาดมาก
• ปัจจัยอื่นๆ ระยะสั้น อาทิ การลดลงของราคาน้ำมัน และความกังวลที่ Fed อาจมีการรับขึ้นดอกเบี้ยในปีนี้มากกว่า 3 ครั้ง
ขณะที่ตลาดหุ้นไทย คาดว่าวันนี้อาจได้รับผลกระทบจาก sentiment เชิงลบจากตลาดหุ้นสหรัฐและในภูมิภาค อีกทั้งตลาดหุ้นไทยในช่วง 2 ปี (2559-60) ก็ให้ผลตอบแทนรวมสูงเช่นกันถึง 33.5% ส่วนปีนี้ก็ปรับขึ้นมาแล้วกว่า 4.2%ytd ขณะที่ระดับ Expected P/E ปี 2561 ที่ 16.1 เท่า ใกล้เคียงกับตลาดหุ้นพื่อนบ้าน (มาเลเซียที่ 16.7 เท่า และอินโดนีเซียที่ 17.3 เท่า แต่สูงกว่าจีนที่ 13.6 เท่า) ขณะที่คาดการณ์การเติบโตของกำไรสุทธิตลาดฯ ปีนี้ ก็อยู่ในระดับใกล้เคียงกัน กล่าวคือ SET Index อยู่ที่ 14.5% (อิง EPS ที่ 113.5 บาท/หุ้น) ตลาดหุ้นจีนคาดโต 13.6%, อินโดนีเซีย 13.4% และฟิลิปปินส์ที่ 11.7% ยกเว้นมาเลเซียที่โตเพียง 5.3% ซึ่งการเติบโตของกำไรฯ ตลาดที่ไม่ได้โดดเด่นเหนือเพื่อนบ้านมากนัก จึงทำให้ยังไม่จูงใจที่เม็ดเงินจากต่างชาติไหลเข้าตลาดหุ้นไทยในช่วงที่ผ่านมา
ดังนั้น ในสภาวะที่ตลาดฯ กำลังปรับฐาน หุ้นปันผลสูง ที่มีความผันผวนต่ำ จึงยังคงเป็นทางเลือกการลงทุนที่น่าสนใจ โดยกลยุทธ์การลงทุนในหุ้น Dividend Play ที่มีการจ่ายปันผลสูงสม่ำเสมอ คือ SIRI, TMT, INTUCH, TASCO และ MAJOR โดยแนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD ยอดซื้อ-ขายสุทธิ นักลงทุนแต่ละประเภท (ล้านบาท)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO5077