- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Friday, 26 January 2018 18:20
- Hits: 2715
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
ตลาดหุ้นไทยกำลังเผชิญกับราคาหุ้นอิ่มตัว แรงขายรับงบกลุ่ม Real Sector และต้นทุนน้ำมันที่สูงขึ้นกดดันหุ้นขนส่ง แม้จะดีต่อหุ้นน้ำมัน และโรงกลั่น/ปิโตรเคมี กลยุทธ์แนะนำขายหุ้นรายตัวที่ เกิน Fair Value/upside จำกัด (AOT, BJC, TOP, JAS, EA, TRUE) และสะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง (STEC, CK, UNIC, SIRI, TMT, CPF, MAJOR) Top picks: MCS([email protected]) และ IRPC ([email protected]) เพิ่มมูลค่าหุ้นขึ้น 10.8% สะท้อน Market GIM ที่ดีขึ้น จากการขยายผลิตภัณฑ์มูลค่าเพิ่มคือ PPE, PPC ตามแผน
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … หุ้นพลังงาน-ธ.พ. กดดัน SET Index ปรับฐาน
วานนี้ SET Index สร้าง All-time-high ใหม่ที่ 1848.07 จุด อย่างไรก็ตาม ดัชนีที่วิ่งประคองตัวในแดนบวกเกือบตลอดวัน กลับโดนแรงขายช่วงท้ายตลาดกดดันจนติดลบไปถึง 19.67 จุด หรือ 1.07% ปิดที่ 1819.29 จุด มูลค่าการซื้อขาย 7.42 หมื่นล้านบาท โดยกลุ่มที่กดดันตลาดส่วนใหญ่มาจากกลุ่มพลังงาน นำโดย PTT ลดลง 1.22%, GULF ลดลง 5.16%, EA ลดลง 2.94%, ขณะที่ปิโตรเคมี IVL ลดลง 1.74% เช่นเดียวกับ PTTGC ถูกแรงเทขายทำกำไร จนราคาหุ้นปรับลดลงแรงกว่า 4.07% หลังจากราคาหุ้นปรับตัวขึ้นตั้งแต่ต้นปีกว่า 15.6% ส่วนหุ้นโรงกลั่น IRPC ยังทรงตัวจากวันก่อน ฝ่ายวิจัยฯ ได้ปรับสมมติฐานในส่วนของ Market GIM และ Utilization rate ที่ดีกว่าคาด หนุนกำไรปกติปี 2561 เติบโตกว่า 52.3% yoy มูลค่าพื้นฐานปี 61 อยู่ที่ 8.4 บาท ปันผลโดดเด่นกว่า 3.6% ส่วนหุ้นกลุ่ม ธ.พ. ปรับตัวลงแทบทั้งกลุ่มนำโดย BAY ลดลงกว่า 4.02%, KTB, TMB และ BBL ลดลง 1.5%, 2% และ 1.86% ตามลำดับ เช่นเดียวกับหุ้นกลุ่ม ICT ผู้ให้บริการเครือข่ายโทรศัพท์ TRUE, DTAC, ADVANC ลดลง 2.22%, 2.36% และ 2.53% ตามลำดับ
แนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีอาจเปิดต่ำลงมา แต่มีโอกาสที่จะดีดตัวได้ในช่วงท้าย แต่ Upside จำกัด ประเมินแนวรับที่ 1810 จุด แนวต้าน 1830 จุด
มาเลเซียขึ้นดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 3 ปี ดึงเม็ดเงินเข้านับจาก ธ.ค. 60
ผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นราว 3.9% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน และแตะ 70 เหรียญฯ และเฉลี่ยปี 2560 อยู่ที่ 53 เหรียญฯ เพิ่มขึ้นราว 20% ทำให้เงินเฟ้อทั่วโลกเริ่มขยับ และเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ประเทศในแถบเอเชียต้องเริ่มหันมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวคือ โดยวานนี้ธนาคารกลางมาเลเซีย(BNM) ขึ้นดอกเบี้ยฯครั้งแรกในรอบ 3 ปีคือ ขึ้น 25bps อยู่ที่ 3.25% ทั้งนี้เพราะเงินเฟ้อขยับขึ้นสูงต่อเนื่อง ล่าสุดเดือน ธ.ค.60 ที่ 3.5%yoy จาก 1.8% เดือน ธ.ค.59 ตามราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น และการฟื้นตัวเศรษฐกิจมีความต่อเนื่องสะท้อนจาก GDP Growth 9M60 มาเลเซีย 5.9%yoy และทั้งปี 2560 น่าจะอยู่ที่ 5.9%
ขณะที่ก่อนหน้านี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศแรกในเอเชียที่นำร่องขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 6 ปี เมื่อเดือน พ.ย. 2560 กล่าวคือขึ้น 0.25% เป็น 1.5% เนื่องจากเงินเฟ้อสูง 1.5%yoy และเศรษฐกิจขยายตัวแข็งแกร่ง GDP Growth 9M60 ขยายตัว 3.1%yoy เทียบกับ 2.8% ในช่วงเดียวกันของปี 2559 ทั้งนี้ไม่นับการที่ขึ้นดอกเบี้ยฯของ ฮ่องกงและจีน ซึ่งขึ้นตามหลัง Fed ซึ่งทั้ง 2 ประเทศผูกค่าเงินกับดอลลาร์สหรัฐ
การขึ้นดอกเบี้ยของมาเลเซีย เป็นเหตุผลสำคัญทำให้ตลาดหุ้นมาเลเซียที่ขึ้นน้อยที่สุดแห่งหนึ่งในตลาดหุ้นเอเชีย เช่นเดียวกับ จีน ได้กลับมา outperform หรือให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะในกลุ่ม TIP โดยนับจาก ธ.ค. 2560 จนถึงปัจจุบัน ตลาดหุ้นมาเลเซียให้ผลตอบแทน 2.7% ขณะที่จีนให้ผลตอบแทน 7.3% ขณะที่กลุ่ม TIP ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทน 3.7% อินโดนีเซีย 4.1% และ ฟิลิปปินส์ 5.1% ซึ่งภาพน่าจะเป็นแบบนี้ไปอีกระยะ โดยน่าจะมีเม็ดเงินลงทุนต่างชาติสลับไปเข้าประเทศที่เศรษฐกิจมีสัญญาณที่ดีขึ้น
ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป(ECB) คงดอกเบี้ย 0% (ตั้งแต่ มี.ค.2559) และคงวงเงิน QE ที่ เดือนละ 3 หมื่นล้านยูโร จนถึง ก.ย.2561 และส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินยูโรแข็งค่า 3.42%ytd แม้วานนี้อ่อนค่าเล็กน้อย 0.02% จากการตอบรับผลการประชุมดังกล่าว ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์วานนี้ ชะลอการอ่อนค่าหรือกลับมาแข็งค่าราว 0.16% ล่าสุดอยู่ที่ 89.2 จุด แต่นับตั้งแต่ต้นปีอ่อนค่า 2.95%ytd ทั้งนี้ค่าเงินดอลลาร์ที่ชะลอการอ่อนค่า อาจจะทำให้เกิดการเทขายทำกำไร สินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองคำ และ น้ำมัน
ต่างชาติซื้อหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค ยกเว้นไทย
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่า 466 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 300 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยไต้หวัน 209 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9), อินโดนีเซีย 2 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ถูกต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 47 ล้านเหรียญ หรือ 1.49 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 100 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 3 วัน)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 9.78 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 7.00 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน)
ดัชนีปรับฐาน แนะนำกลยุทธ์ Dividend Play: SIRI, IRPC
หลังกลุ่ม ธ.พ. รายงานกำไรสุทธิงวด 4Q60 เสร็จสิ้นไปแล้ว ก็จะเข้าสู่การประกาศงบฯ ของกลุ่ม Real sector นำโดย SCC รายงานกำไรสุทธิงวด 4Q60 ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%QoQ และ 1%YoY หลักๆ มาจากธุรกิจปิโตรเคมีที่ทำกำไรได้โดดเด่นและธุรกิจ Packaging ที่ทำกำไรดีกว่าคาดมาก หนุนด้วยปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นจากโรงงานเวียดนามและต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง สำหรับธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ทำกำไรได้น่าผิดหวัง จากผลกระทบของต้นทุนถ่านหินที่สูงขึ้น และเงินปันผลรับจากเงินลงทุนที่ลดลงอย่างมาก โดยรวมปี 2560 มีกำไรสุทธิ 5.5 หมื่นล้านบาท ลดลง 2%YoY พร้อมประกาศจ่ายปันผล 10.50 บาท ขึ้น XD 4 เม.ย. 61 สำหรับแนวโน้มกำไรปี 2561 จะชะลอตัวจากปี 2560 จากปัจจัยเสี่ยงเรื่องต้นทุนพลังงาน แต่ฐานกำไรที่มั่นคงและโอกาสการเติบโตระยะยาวจากแผนการลงทุน และจ่ายเงินปันผลที่สม่ำเสมอ จึงยังะนะนำซื้อ ราคาเหมาะสม 600 บาท
และในวันนี้คาดว่า PTTEP จะมีประกาศงบฯ ประเมินกำไรสุทธิงวด 4Q60 อยู่ที่ราว 7.6 พันล้านบาท พลิกกลับมากำไรหลังจากขาดทุนในงวด 3Q60 ปัจจัยหนุนมาจากการเพิ่มขึ้นของทั้งราคาและปริมาณขายตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเป็นขาขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบดูไบมีโอกาสแตะ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล ล่าสุดอยู่ที่ 67.25 เหรียญฯต่อบาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 (ให้ราคาน้ำมันดิบคงที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) หากราคาน้ำมันดิบดูไบที่สูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คือ 65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ คาดว่าจะช่วยเพิ่ม Fair Value ปี 2561 ให้ PTTEP(FV@ B118) ขึ้นเป็น 126.81 บาท และ 135.45 บาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตามราคาหุ้นปรับขึ้นไปค่อนข้างแรง จึงแนะนำซื้อเมื่ออ่อนตัว
และหากพิจารณาเฉพาะหุ้นที่ฝ่ายวิจัยทำการศึกษาและยัง Active จำนวน 164 บริษัท พบว่า จำนวนหุ้นที่มี upside จำกัดเพิ่มขึ้น กล่าวคือ
หุ้นที่ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้วมีจำนวน 29 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 15.4%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% มีจำนวน 42 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 43.8%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 10-20% มีจำนวน 53 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 31.1%
หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% มีจำนวน 40 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 9.7%
จะเห็นได้ว่าหุ้นส่วนใหญ่จะมี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% และ 10-20% ขณะที่หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% ก็มีจำนวนมากเช่นกัน แต่หากพิจารณาในแง่ Market Cap.แล้ว พบว่า Upside มากกว่า 20% กลับมีน้ำหนักเพียง 9.7% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหุ้นที่มี Upside สูงเหล่านี้แม้ราคาจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็น่าจะหนุน SET Index ได้ไม่มากนัก ด้วยเหตุนี้ทำให้ SET Index ปรับขึ้นได้ยากมากขึ้น
ทั้งนี้ ยกเว้นกลุ่มน้ำมันที่ยังได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันโลกที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุดยังยืนที่ 67.25 เหรียญฯต่อบาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 จึง ทำให้มีโอกาสปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น PTTEP และ PTT ดังที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้า รวมถึงหุ้นในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ที่การประกาศแผนการขยายกำลังการผลิตชัดเจน คือ PTTGC ซึ่งเดินหน้าก่อสร้างโรงงานผลิต Olefins แห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมฃที่มาบตาพุตราว 25% ของกำลังการผลิตเดิม ทำให้เพิ่ม Fair Value อีก 10 เป็น 108 บาท มี upside 10% ตามมาด้วยหุ้น IRPC นักวิเคราะห์ ASPS ปรับเพิ่มการใช้กำลังการผลิตจากเดิม 5% เพิ่มขึ้นเป็น 2.1 แสนบาร์เรลต่อวัน เพื่อสะท้อนการผลิตที่ดีกว่าคาด รวมถึงปรับเพิ่ม Market GIM จากเดิม 1 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล เป็น 15.5 เหรียญฯ สะท้อนโครงการมูลค่าเพิ่ม PPE, PPC ทำได้ตามแผน เทำให้เพิ่ม มูลค่าหุ้นเพิ่มจากเดิม 7.4 บาท เป็น 8.4 บาท มี upside 13.5%
กลยุทธ์การลงทุนยังให้ขายทำกำไร หรือหลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น AOT, KCE, SAPPE, JAS, TVO, PCSGH, IHL, TRUE, LANNA, ICHI, TU, GPSC, EA, GCAP และควรพักเงินในหุ้นปันผล ตามกลยุทธ์ Dividend Play หุ้นเด่นคือ SIRI, TASCO, TMT, MCS โดยวันนี้เลือก IRPC([email protected]) และ MCS ([email protected]) เป็น Top Picks
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4916
ผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบที่ปรับตัวสูงขึ้นราว 3.9% นับตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบัน และแตะ 70 เหรียญฯ และเฉลี่ยปี 2560 อยู่ที่ 53 เหรียญฯ เพิ่มขึ้นราว 20% ทำให้เงินเฟ้อทั่วโลกเริ่มขยับ และเป็นจุดเปลี่ยนที่ทำให้ประเทศในแถบเอเชียต้องเริ่มหันมาใช้นโยบายการเงินตึงตัวคือ โดยวานนี้ธนาคารกลางมาเลเซีย(BNM) ขึ้นดอกเบี้ยฯครั้งแรกในรอบ 3 ปีคือ ขึ้น 25bps อยู่ที่ 3.25% ทั้งนี้เพราะเงินเฟ้อขยับขึ้นสูงต่อเนื่อง ล่าสุดเดือน ธ.ค.60 ที่ 3.5%yoy จาก 1.8% เดือน ธ.ค.59 ตามราคาน้ำมันดิบที่เพิ่มขึ้น และการฟื้นตัวเศรษฐกิจมีความต่อเนื่องสะท้อนจาก GDP Growth 9M60 มาเลเซีย 5.9%yoy และทั้งปี 2560 น่าจะอยู่ที่ 5.9%
ขณะที่ก่อนหน้านี้ เกาหลีใต้เป็นประเทศแรกในเอเชียที่นำร่องขึ้นอัตราดอกเบี้ยครั้งแรกในรอบ 6 ปี เมื่อเดือน พ.ย. 2560 กล่าวคือขึ้น 0.25% เป็น 1.5% เนื่องจากเงินเฟ้อสูง 1.5%yoy และเศรษฐกิจขยายตัวแข็งแกร่ง GDP Growth 9M60 ขยายตัว 3.1%yoy เทียบกับ 2.8% ในช่วงเดียวกันของปี 2559 ทั้งนี้ไม่นับการที่ขึ้นดอกเบี้ยฯของ ฮ่องกงและจีน ซึ่งขึ้นตามหลัง Fed ซึ่งทั้ง 2 ประเทศผูกค่าเงินกับดอลลาร์สหรัฐ
การขึ้นดอกเบี้ยของมาเลเซีย เป็นเหตุผลสำคัญทำให้ตลาดหุ้นมาเลเซียที่ขึ้นน้อยที่สุดแห่งหนึ่งในตลาดหุ้นเอเชีย เช่นเดียวกับ จีน ได้กลับมา outperform หรือให้ผลตอบแทนที่ดีกว่าตลาดหุ้นอื่นๆ ในเอเชีย โดยเฉพาะในกลุ่ม TIP โดยนับจาก ธ.ค. 2560 จนถึงปัจจุบัน ตลาดหุ้นมาเลเซียให้ผลตอบแทน 2.7% ขณะที่จีนให้ผลตอบแทน 7.3% ขณะที่กลุ่ม TIP ตลาดหุ้นไทยให้ผลตอบแทน 3.7% อินโดนีเซีย 4.1% และ ฟิลิปปินส์ 5.1% ซึ่งภาพน่าจะเป็นแบบนี้ไปอีกระยะ โดยน่าจะมีเม็ดเงินลงทุนต่างชาติสลับไปเข้าประเทศที่เศรษฐกิจมีสัญญาณที่ดีขึ้น
ขณะที่ธนาคารกลางยุโรป(ECB) คงดอกเบี้ย 0% (ตั้งแต่ มี.ค.2559) และคงวงเงิน QE ที่ เดือนละ 3 หมื่นล้านยูโร จนถึง ก.ย.2561 และส่งสัญญาณใช้นโยบายการเงินตึงตัวเร็วขึ้น ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้ค่าเงินยูโรแข็งค่า 3.42%ytd แม้วานนี้อ่อนค่าเล็กน้อย 0.02% จากการตอบรับผลการประชุมดังกล่าว ส่งผลให้ค่าเงินดอลลาร์วานนี้ ชะลอการอ่อนค่าหรือกลับมาแข็งค่าราว 0.16% ล่าสุดอยู่ที่ 89.2 จุด แต่นับตั้งแต่ต้นปีอ่อนค่า 2.95%ytd ทั้งนี้ค่าเงินดอลลาร์ที่ชะลอการอ่อนค่า อาจจะทำให้เกิดการเทขายทำกำไร สินค้าโภคภัณฑ์ อาทิ ทองคำ และ น้ำมัน
ต่างชาติซื้อหุ้นทุกแห่งในภูมิภาค ยกเว้นไทย
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 3 ด้วยมูลค่า 466 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิเกือบทุกประเทศ คือ เกาหลีใต้ถูกซื้อสุทธิ 300 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ตามมาด้วยไต้หวัน 209 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 9), อินโดนีเซีย 2 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) และฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ถูกต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 47 ล้านเหรียญ หรือ 1.49 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 2 วัน) เช่นเดียวกับสถาบันในประเทศที่สลับมาขายสุทธิเล็กน้อย 100 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 3 วัน)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 9.78 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ซื้อสุทธิ 7.00 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน)
ดัชนีปรับฐาน แนะนำกลยุทธ์ Dividend Play: SIRI, IRPC
หลังกลุ่ม ธ.พ. รายงานกำไรสุทธิงวด 4Q60 เสร็จสิ้นไปแล้ว ก็จะเข้าสู่การประกาศงบฯ ของกลุ่ม Real sector นำโดย SCC รายงานกำไรสุทธิงวด 4Q60 ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ที่ 1.3 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 6%QoQ และ 1%YoY หลักๆ มาจากธุรกิจปิโตรเคมีที่ทำกำไรได้โดดเด่นและธุรกิจ Packaging ที่ทำกำไรดีกว่าคาดมาก หนุนด้วยปริมาณขายที่เพิ่มขึ้นจากโรงงานเวียดนามและต้นทุนวัตถุดิบที่ลดลง สำหรับธุรกิจซีเมนต์-ผลิตภัณฑ์ก่อสร้าง ทำกำไรได้น่าผิดหวัง จากผลกระทบของต้นทุนถ่านหินที่สูงขึ้น และเงินปันผลรับจากเงินลงทุนที่ลดลงอย่างมาก โดยรวมปี 2560 มีกำไรสุทธิ 5.5 หมื่นล้านบาท ลดลง 2%YoY พร้อมประกาศจ่ายปันผล 10.50 บาท ขึ้น XD 4 เม.ย. 61 สำหรับแนวโน้มกำไรปี 2561 จะชะลอตัวจากปี 2560 จากปัจจัยเสี่ยงเรื่องต้นทุนพลังงาน แต่ฐานกำไรที่มั่นคงและโอกาสการเติบโตระยะยาวจากแผนการลงทุน และจ่ายเงินปันผลที่สม่ำเสมอ จึงยังะนะนำซื้อ ราคาเหมาะสม 600 บาท
และในวันนี้คาดว่า PTTEP จะมีประกาศงบฯ ประเมินกำไรสุทธิงวด 4Q60 อยู่ที่ราว 7.6 พันล้านบาท พลิกกลับมากำไรหลังจากขาดทุนในงวด 3Q60 ปัจจัยหนุนมาจากการเพิ่มขึ้นของทั้งราคาและปริมาณขายตามราคาน้ำมันดิบในตลาดโลกที่มีแนวโน้มเป็นขาขึ้น โดยราคาน้ำมันดิบดูไบมีโอกาสแตะ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล ล่าสุดอยู่ที่ 67.25 เหรียญฯต่อบาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 (ให้ราคาน้ำมันดิบคงที่ 65 เหรียญฯ ตั้งแต่ปี 2562 เป็นต้นไป) หากราคาน้ำมันดิบดูไบที่สูงกว่าสมมติฐานทุก 5 เหรียญฯ คือ 65 เหรียญฯ และ 70 เหรียญฯ คาดว่าจะช่วยเพิ่ม Fair Value ปี 2561 ให้ PTTEP(FV@ B118) ขึ้นเป็น 126.81 บาท และ 135.45 บาท ตามลำดับ อย่างไรก็ตามราคาหุ้นปรับขึ้นไปค่อนข้างแรง จึงแนะนำซื้อเมื่ออ่อนตัว
และหากพิจารณาเฉพาะหุ้นที่ฝ่ายวิจัยทำการศึกษาและยัง Active จำนวน 164 บริษัท พบว่า จำนวนหุ้นที่มี upside จำกัดเพิ่มขึ้น กล่าวคือ
หุ้นที่ราคาปัจจุบันเกิน Fair Value ไปแล้วมีจำนวน 29 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 15.4%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% มีจำนวน 42 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 43.8%
หุ้นที่มี Upside อยู่ระหว่าง 10-20% มีจำนวน 53 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 31.1%
หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% มีจำนวน 40 บริษัท คิดเป็น Market Cap. ราว 9.7%
จะเห็นได้ว่าหุ้นส่วนใหญ่จะมี Upside อยู่ระหว่าง 0-10% และ 10-20% ขณะที่หุ้นที่มี Upside มากกว่า 20% ก็มีจำนวนมากเช่นกัน แต่หากพิจารณาในแง่ Market Cap.แล้ว พบว่า Upside มากกว่า 20% กลับมีน้ำหนักเพียง 9.7% เท่านั้น ซึ่งหมายความว่าหุ้นที่มี Upside สูงเหล่านี้แม้ราคาจะยังปรับตัวเพิ่มขึ้นได้ แต่ก็น่าจะหนุน SET Index ได้ไม่มากนัก ด้วยเหตุนี้ทำให้ SET Index ปรับขึ้นได้ยากมากขึ้น
ทั้งนี้ ยกเว้นกลุ่มน้ำมันที่ยังได้อานิสงส์จากราคาน้ำมันโลกที่ทำสถิติสูงสุดในรอบ 3 ปี ล่าสุด ราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุดยังยืนที่ 67.25 เหรียญฯต่อบาร์เรล สูงกว่าสมมติฐานที่นักวิเคราะห์กลุ่มพลังงานของ ASPS ประเมินไว้ที่ 60 เหรียญฯ ในปี 2561 จึง ทำให้มีโอกาสปรับเพิ่มมูลค่าหุ้น PTTEP และ PTT ดังที่ได้นำเสนอไปก่อนหน้า รวมถึงหุ้นในกลุ่มพลังงานและปิโตรเคมี ที่การประกาศแผนการขยายกำลังการผลิตชัดเจน คือ PTTGC ซึ่งเดินหน้าก่อสร้างโรงงานผลิต Olefins แห่งใหม่ที่นิคมอุตสาหกรรมฃที่มาบตาพุตราว 25% ของกำลังการผลิตเดิม ทำให้เพิ่ม Fair Value อีก 10 เป็น 108 บาท มี upside 10% ตามมาด้วยหุ้น IRPC นักวิเคราะห์ ASPS ปรับเพิ่มการใช้กำลังการผลิตจากเดิม 5% เพิ่มขึ้นเป็น 2.1 แสนบาร์เรลต่อวัน เพื่อสะท้อนการผลิตที่ดีกว่าคาด รวมถึงปรับเพิ่ม Market GIM จากเดิม 1 เหรียญฯ ต่อบาร์เรล เป็น 15.5 เหรียญฯ สะท้อนโครงการมูลค่าเพิ่ม PPE, PPC ทำได้ตามแผน เทำให้เพิ่ม มูลค่าหุ้นเพิ่มจากเดิม 7.4 บาท เป็น 8.4 บาท มี upside 13.5%
กลยุทธ์การลงทุนยังให้ขายทำกำไร หรือหลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น AOT, KCE, SAPPE, JAS, TVO, PCSGH, IHL, TRUE, LANNA, ICHI, TU, GPSC, EA, GCAP และควรพักเงินในหุ้นปันผล ตามกลยุทธ์ Dividend Play หุ้นเด่นคือ SIRI, TASCO, TMT, MCS โดยวันนี้เลือก IRPC([email protected]) และ MCS ([email protected]) เป็น Top Picks
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4916