- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Tuesday, 23 January 2018 19:01
- Hits: 5202
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ยังผันผวนในกรอบ 1812-1835 จุด จากความเสี่ยงด้านการเมือง และแรงขายรับงบกลุ่ม Real Sector ที่จะประกาศหลังกลุ่ม ธ.พ. ขณะที่ราคาน้ำมันฟื้นตัว ยังประคองดัชนี กลยุทธ์ยังแนะนำขายทำกำไรหุ้นเกิน Fair Value/upside จำกัด (AOT, BJC, TOP, BBL, KBANK, PTTGC, JAS, EA, TRUE) และให้สะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง (SIRI, TMT, TASCO, SCC, CPF, MAJOR) Top picks SIRI([email protected]) และ MCS ([email protected]) และแนะนำขาย AOT (FV@B72) ราคาหุ้นสะท้อนการเติบโตทั้งการเพิ่มพื้นเชิงพาณิชย์ และ Airport City แล้ว(อ่าน Company Update วานนี้)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … แรงหนุนท้ายตลาดกลุ่มพลังงาน ดันดัชนีกลับมายืนแดนบวก
วานนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบแคบตลอดวันก่อนจะพลิกกลับขึ้นมาปิดแดนบวกที่ 1824.06 เพิ่มขึ้น 2.72 จุด หรือ 0.15% มูลค่าการซื้อขาย 5.98 หมื่นล้านบาท แรงหนุนช่วยท้ายตลาดฯ มาจากหุ้นกลุ่ม ปตท. นำโดย PTT เพิ่มขึ้น 1.26%, PTTEP เพิ่มขึ้น 0.43% ขณะที่ PTTGC เพิ่มขึ้นอีก 2.66% (+13.53% ytd) ขณะที่หุ้นโรงไฟฟ้าปรับขึ้นยกแผง โดย GULF เพิ่มขึ้น 1.97% และ BGRIM เพิ่มขึ้น 4.20% ฝ่ายวิจัยเลือกเป็น Top pick ของกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ด้วยโครงการในมือกว่า 769 MW หนุนกำไรขึ้นทำ New high ต่อเนื่องใน 5 ปีข้างหน้า และยังมี upside อีก 10% เช่นเดียวกับ EA และ BCPG เพิ่มขึ้น 0.72% และ 0.94% ตามลำดับ ส่วนกลุ่ม ICT ยังเป็นอีกกลุ่มที่ปรับขึ้น นำโดย DTAC เพิ่มขึ้นถึง 3.40% (+8.3% ytd) ขณะที่ ADVANC บวกไป 1.04% และหุ้นปันผลเด่นอย่าง INTUCH เพิ่มขึ้น 0.43%
ตรงข้ามกับกลุ่ม ธ.พ. ยังเผชิญกับ sell on fact นำโดย KBANK ลดลง 2.64% ตามด้วย TMB ลดลง 2.56%, KTB ลดลง 1.0%, BAY ลดลง 1.06% และ BBL ลดลง 0.47%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดแกว่งตัว sideway โดยมีแนวรับที่ 1812 จุด แนวต้าน 1835 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET ยังผันผวนในกรอบ 1812-1835 จุด จากความเสี่ยงด้านการเมือง และแรงขายรับงบกลุ่ม Real Sector ที่จะประกาศหลังกลุ่ม ธ.พ. ขณะที่ราคาน้ำมันฟื้นตัว ยังประคองดัชนี กลยุทธ์ยังแนะนำขายทำกำไรหุ้นเกิน Fair Value/upside จำกัด (AOT, BJC, TOP, BBL, KBANK, PTTGC, JAS, EA, TRUE) และให้สะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง (SIRI, TMT, TASCO, SCC, CPF, MAJOR) Top picks SIRI([email protected]) และ MCS ([email protected]) และแนะนำขาย AOT (FV@B72) ราคาหุ้นสะท้อนการเติบโตทั้งการเพิ่มพื้นเชิงพาณิชย์ และ Airport City แล้ว(อ่าน Company Update วานนี้)
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … แรงหนุนท้ายตลาดกลุ่มพลังงาน ดันดัชนีกลับมายืนแดนบวก
วานนี้ SET Index แกว่งตัวในกรอบแคบตลอดวันก่อนจะพลิกกลับขึ้นมาปิดแดนบวกที่ 1824.06 เพิ่มขึ้น 2.72 จุด หรือ 0.15% มูลค่าการซื้อขาย 5.98 หมื่นล้านบาท แรงหนุนช่วยท้ายตลาดฯ มาจากหุ้นกลุ่ม ปตท. นำโดย PTT เพิ่มขึ้น 1.26%, PTTEP เพิ่มขึ้น 0.43% ขณะที่ PTTGC เพิ่มขึ้นอีก 2.66% (+13.53% ytd) ขณะที่หุ้นโรงไฟฟ้าปรับขึ้นยกแผง โดย GULF เพิ่มขึ้น 1.97% และ BGRIM เพิ่มขึ้น 4.20% ฝ่ายวิจัยเลือกเป็น Top pick ของกลุ่มโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่ ด้วยโครงการในมือกว่า 769 MW หนุนกำไรขึ้นทำ New high ต่อเนื่องใน 5 ปีข้างหน้า และยังมี upside อีก 10% เช่นเดียวกับ EA และ BCPG เพิ่มขึ้น 0.72% และ 0.94% ตามลำดับ ส่วนกลุ่ม ICT ยังเป็นอีกกลุ่มที่ปรับขึ้น นำโดย DTAC เพิ่มขึ้นถึง 3.40% (+8.3% ytd) ขณะที่ ADVANC บวกไป 1.04% และหุ้นปันผลเด่นอย่าง INTUCH เพิ่มขึ้น 0.43%
ตรงข้ามกับกลุ่ม ธ.พ. ยังเผชิญกับ sell on fact นำโดย KBANK ลดลง 2.64% ตามด้วย TMB ลดลง 2.56%, KTB ลดลง 1.0%, BAY ลดลง 1.06% และ BBL ลดลง 0.47%
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดแกว่งตัว sideway โดยมีแนวรับที่ 1812 จุด แนวต้าน 1835 จุด
วุฒิสภาฯ สหรัฐ ให้ผ่านงบชั่วคราว แต่จะกลับมาพิจารณาอีกครั้ง 8 ก.พ.
ขณะที่สหรัฐพิจารณาให้ผ่านงบประมาณชั่วคราว (ราว 3 สัปดาห์จนถึง 8 ก.พ. 2561) เมื่อคืนที่ผ่านมา โดยวุฒิสภาฯ มีมติด้วยคะแนน 88-18 เสียง เนื่องจากไม่ต้องการให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว และรัฐบาลทรัมป์ยอมรับที่จะทบทวนประเด็นการยกเลิกนโยบายช่วยเหลือผู้อพยพ (DACA) ไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง และการพิจารณาสภาล่างเป็นขั้นตอนที่ 2 ก็เห็นชอบให้ผ่านชั่วคราวเช่นเดียวกับสภาสูง ด้วยคะแนนสนับสนุน 266-159 เสียง
และหลังจากนี้เป็นขั้นตอนที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ต้องลงนามอนุมติงบประมาณที่ทั้ง 2 สภา ได้ผ่านเห็นชอบชั่วคราว ภายในวันนี้เพื่อให้หน่วยงานราชการสหรัฐสามารถกลับมาดำเนินงานปกติ และมีงบประมาณใช้จ่ายจนถึง 8 ก.พ.61 ซึ่งหลังจากนี้สภาทั้ง 2 แห่ง ต้องกลับมาพิจารณาผ่านงบประมาณอย่างถาวรอีกครั้ง ซึ่งเชื่อว่าขึ้นกับแผนการทรัมป์ จะปรับเปลี่ยนให้ผ่อนลงใน 2 เรื่องคือ งบประมาณนารสร้างกำแพง สหรัฐ – เม็กซิโก และแผนยกเลิกงานต่างชาติ
ขณะที่สหรัฐพิจารณาให้ผ่านงบประมาณชั่วคราว (ราว 3 สัปดาห์จนถึง 8 ก.พ. 2561) เมื่อคืนที่ผ่านมา โดยวุฒิสภาฯ มีมติด้วยคะแนน 88-18 เสียง เนื่องจากไม่ต้องการให้เศรษฐกิจสหรัฐชะลอตัว และรัฐบาลทรัมป์ยอมรับที่จะทบทวนประเด็นการยกเลิกนโยบายช่วยเหลือผู้อพยพ (DACA) ไปพิจารณาใหม่อีกครั้ง และการพิจารณาสภาล่างเป็นขั้นตอนที่ 2 ก็เห็นชอบให้ผ่านชั่วคราวเช่นเดียวกับสภาสูง ด้วยคะแนนสนับสนุน 266-159 เสียง
และหลังจากนี้เป็นขั้นตอนที่ประธานาธิบดีทรัมป์ ต้องลงนามอนุมติงบประมาณที่ทั้ง 2 สภา ได้ผ่านเห็นชอบชั่วคราว ภายในวันนี้เพื่อให้หน่วยงานราชการสหรัฐสามารถกลับมาดำเนินงานปกติ และมีงบประมาณใช้จ่ายจนถึง 8 ก.พ.61 ซึ่งหลังจากนี้สภาทั้ง 2 แห่ง ต้องกลับมาพิจารณาผ่านงบประมาณอย่างถาวรอีกครั้ง ซึ่งเชื่อว่าขึ้นกับแผนการทรัมป์ จะปรับเปลี่ยนให้ผ่อนลงใน 2 เรื่องคือ งบประมาณนารสร้างกำแพง สหรัฐ – เม็กซิโก และแผนยกเลิกงานต่างชาติ
IMF ปรับเพิ่ม GDP โลก โดยเพิ่มสหรัฐ เป็นหลัก
IMF ได้ปรับเพิ่มอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกครั้งแรกในปีนี้ โดยปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth โลก ปีละ 0.2% เป็นขยายตัว 3.9%yoy ทั้งในปี 2561 และ 2562 รวมถึงปรับเพิ่มปริมาณการค้าโลก(World trade volume) 0.6% และ 0.5% เป็นขยายตัว 4.6% yoy และ 4.4% ในปี 2561 และ 2562 ทั้งนี้เป็นการปรับเพิ่มเกือบทุกประเทศ
กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐ ปรับเพิ่ม 0.3% และ 0.6% เป็นขยายตัว 2.7%yoy และ 2.5% ในปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ จากผลของนโยบายปฎิรูประบบภาษีทั้งระบบซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2561 รองลงมาคือ ญี่ปุ่นปรับเพิ่ม 0.5% และ 0.1% เป็นขยายตัว 1.2% yoy และ 0.9% ในปี 2561 และ 2562 และยุโรป ปรับเพิ่ม 0.3% ทั้งปี 2561 และ 2562 เป็นขยายตัว 2.2% และ 2.0% ยกเว้นอังกฤษยังคงปี 2561 ที่ 1.5% แต่ปรับลดปี 2562 0.1% เป็นขยายตัว 1.5% จากความไม่แน่นอนของการเจรจา Brexit
ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา จีนปรับเพิ่มปีละ 0.1% ทั้งปี 2561 และ 2562 เป็นขยายตัว 6.6% และ 6.4% ตามลำดับ และอาเซียน-5 ปรับเพิ่มในปี 2561 0.1% เป็น 5.3% แต่ยังคงปี 2562 ที่ 5.3% ยกเว้น อินเดียยังคงคาดการณ์ปี 2561 และ 2562 ไว้ที่ 7.4% และ 7.8%
การปรับเพิ่ม GDP Growth น่าจะถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อเศรษฐกิจ การค้า และตลาดหุ้นโลก แต่การที่ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นต่อเนื่องมานาน 3 ปี อาจจะทำให้โอกาสการปรับขึ้นจากนี้เริ่มจำกัด
IMF ได้ปรับเพิ่มอัตราการเติบโตเศรษฐกิจโลกครั้งแรกในปีนี้ โดยปรับเพิ่มคาดการณ์ GDP Growth โลก ปีละ 0.2% เป็นขยายตัว 3.9%yoy ทั้งในปี 2561 และ 2562 รวมถึงปรับเพิ่มปริมาณการค้าโลก(World trade volume) 0.6% และ 0.5% เป็นขยายตัว 4.6% yoy และ 4.4% ในปี 2561 และ 2562 ทั้งนี้เป็นการปรับเพิ่มเกือบทุกประเทศ
กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว อาทิ สหรัฐ ปรับเพิ่ม 0.3% และ 0.6% เป็นขยายตัว 2.7%yoy และ 2.5% ในปี 2561 และ 2562 ตามลำดับ จากผลของนโยบายปฎิรูประบบภาษีทั้งระบบซึ่งมีผลบังคับใช้ในปี 2561 รองลงมาคือ ญี่ปุ่นปรับเพิ่ม 0.5% และ 0.1% เป็นขยายตัว 1.2% yoy และ 0.9% ในปี 2561 และ 2562 และยุโรป ปรับเพิ่ม 0.3% ทั้งปี 2561 และ 2562 เป็นขยายตัว 2.2% และ 2.0% ยกเว้นอังกฤษยังคงปี 2561 ที่ 1.5% แต่ปรับลดปี 2562 0.1% เป็นขยายตัว 1.5% จากความไม่แน่นอนของการเจรจา Brexit
ขณะที่ประเทศกำลังพัฒนา จีนปรับเพิ่มปีละ 0.1% ทั้งปี 2561 และ 2562 เป็นขยายตัว 6.6% และ 6.4% ตามลำดับ และอาเซียน-5 ปรับเพิ่มในปี 2561 0.1% เป็น 5.3% แต่ยังคงปี 2562 ที่ 5.3% ยกเว้น อินเดียยังคงคาดการณ์ปี 2561 และ 2562 ไว้ที่ 7.4% และ 7.8%
การปรับเพิ่ม GDP Growth น่าจะถือเป็น Sentiment เชิงบวกต่อเศรษฐกิจ การค้า และตลาดหุ้นโลก แต่การที่ตลาดหุ้นโลกปรับตัวขึ้นต่อเนื่องมานาน 3 ปี อาจจะทำให้โอกาสการปรับขึ้นจากนี้เริ่มจำกัด
ปี 2561 ส่งออกลดบทบาท หลังปี 2560 เติบโตสูงเกือบ 10%
การค้าระหว่างประเทศ ใน ธ.ค. 2560 ยังเพิ่มเป็นเดือนที่ 10 คือในรูปดอลลาร์เพิ่ม 8.6%yoy (เงินบาทเพิ่ม 0.4% ผลกระทบเงินบาทที่แข็งค่า) ส่งผลส่งออกทั้งปี 2560 เพิ่ม 9.9% สูงสุดในรอบ 6 ปี (ใกล้เคียง ASPS คาด 9.5%) ตลาดส่งออกหลักที่เพิ่มต่อเนื่องนับจากต้นปี คือ จีน, สหรัฐ, ญี่ปุ่นและเวียดนาม แต่ที่เพิ่ม 4 หลังคือ ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย และที่พลิกกลับมาบวกคือ ซาอุฯ, บราซิล, อิตาลี ส่วนที่กลับมาหดตัวเป็นเดือนแรกคือ ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์ และอังกฤษ
สินค้าส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องทั้งปีคือ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนฯ, ผลิตภัณฑ์ยาง ที่เพิ่ม 4 เดือนหลังติดต่อคือรถยนต์อุปกรณ์และเหล็ก และที่พลิกกลับมาบวกคือ เครื่องจักรกล, มันสำปะหลัง ฯลฯ
ส่วนด้านนำเข้าเพิ่ม 16.6% (7.7% สกุลเงินบาท) ทำให้การนำเข้าทั้งปี 2560 ขยายตัว 14.7% ใกล้ ASPS คาด สินค้านำเข้าที่เพิ่มคือทวัตถุดิบเพื่อส่งออก อาทิ เคมีภัณฑ์ และเหล็ก ที่ขยายตัว 17 และ เพิ่ม 5 เดือนติดต่อกัน ตามลำดับ
แนวโน้มในปี 2561 คาดยอดส่งออกและนำเข้าจะเพิ่มในอัตราชะลอตัว คือ 5.2% และ 8% ตามลำดับ เพราะฐานที่สูงจากปี 2560 และเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ราว 2.1% นับตั้งแต่ต้นปี เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีราว 32.09 บาท เทียบกับ ASPS คาด 33 บาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหุ้นที่อิงภาคการส่งออก
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจในปี 2561 การลงทุนเอกชนที่เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน ตามแรงหนุนจาก EEC ควบคู่ไปกับการลงทุนภาครัฐในปีนี้ที่คาดว่าจะมีงานประมูลโครงการขนาดใหญ่ราว 9.2 แสนล้านบาท ที่ค้างท่อมาหลายปี และการบริโภคภาคครัวเรือนที่ได้แรงหนุนจากมาตรการภาครัฐ อาทิ บัตรผู้มีรายได้น้อย 4.2 หมื่นล้านบาท สิ้นสุด ก.ย 2561 มาตรการนำค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวในประเทศมาลดภาษี 1.5 หมื่นบาท ตลอดทั้งปี 61 และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเฉลี่ย 3.4% ราว 8-22 บาท โดยรวมทำให้ ASPS ยังคง GDP Growth ปี 2561 ไทยขยายตัวที่ 4.2%
การค้าระหว่างประเทศ ใน ธ.ค. 2560 ยังเพิ่มเป็นเดือนที่ 10 คือในรูปดอลลาร์เพิ่ม 8.6%yoy (เงินบาทเพิ่ม 0.4% ผลกระทบเงินบาทที่แข็งค่า) ส่งผลส่งออกทั้งปี 2560 เพิ่ม 9.9% สูงสุดในรอบ 6 ปี (ใกล้เคียง ASPS คาด 9.5%) ตลาดส่งออกหลักที่เพิ่มต่อเนื่องนับจากต้นปี คือ จีน, สหรัฐ, ญี่ปุ่นและเวียดนาม แต่ที่เพิ่ม 4 หลังคือ ออสเตรเลีย และอินโดนีเซีย และที่พลิกกลับมาบวกคือ ซาอุฯ, บราซิล, อิตาลี ส่วนที่กลับมาหดตัวเป็นเดือนแรกคือ ฮ่องกง, ฟิลิปปินส์ และอังกฤษ
สินค้าส่งออกที่ขยายตัวต่อเนื่องทั้งปีคือ คอมพิวเตอร์และชิ้นส่วนฯ, ผลิตภัณฑ์ยาง ที่เพิ่ม 4 เดือนหลังติดต่อคือรถยนต์อุปกรณ์และเหล็ก และที่พลิกกลับมาบวกคือ เครื่องจักรกล, มันสำปะหลัง ฯลฯ
ส่วนด้านนำเข้าเพิ่ม 16.6% (7.7% สกุลเงินบาท) ทำให้การนำเข้าทั้งปี 2560 ขยายตัว 14.7% ใกล้ ASPS คาด สินค้านำเข้าที่เพิ่มคือทวัตถุดิบเพื่อส่งออก อาทิ เคมีภัณฑ์ และเหล็ก ที่ขยายตัว 17 และ เพิ่ม 5 เดือนติดต่อกัน ตามลำดับ
แนวโน้มในปี 2561 คาดยอดส่งออกและนำเข้าจะเพิ่มในอัตราชะลอตัว คือ 5.2% และ 8% ตามลำดับ เพราะฐานที่สูงจากปี 2560 และเงินบาทที่แข็งค่าต่อเนื่อง ราว 2.1% นับตั้งแต่ต้นปี เฉลี่ยตั้งแต่ต้นปีราว 32.09 บาท เทียบกับ ASPS คาด 33 บาท ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อหุ้นที่อิงภาคการส่งออก
อย่างไรก็ตาม ปัจจัยขับเคลื่อนหลักเศรษฐกิจในปี 2561 การลงทุนเอกชนที่เริ่มเห็นสัญญาณฟื้นตัวชัดเจน ตามแรงหนุนจาก EEC ควบคู่ไปกับการลงทุนภาครัฐในปีนี้ที่คาดว่าจะมีงานประมูลโครงการขนาดใหญ่ราว 9.2 แสนล้านบาท ที่ค้างท่อมาหลายปี และการบริโภคภาคครัวเรือนที่ได้แรงหนุนจากมาตรการภาครัฐ อาทิ บัตรผู้มีรายได้น้อย 4.2 หมื่นล้านบาท สิ้นสุด ก.ย 2561 มาตรการนำค่าใช้จ่ายท่องเที่ยวในประเทศมาลดภาษี 1.5 หมื่นบาท ตลอดทั้งปี 61 และการปรับขึ้นค่าแรงขั้นต่ำทั่วประเทศเฉลี่ย 3.4% ราว 8-22 บาท โดยรวมทำให้ ASPS ยังคง GDP Growth ปี 2561 ไทยขยายตัวที่ 4.2%
ต่างชาติสลับมาขายหุ้นในภูมิภาค รวมถึงไทย
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 131 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 5 วัน) อย่างไรก็ตามยังซื้อ 2 ตลาด คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 131 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่ง ต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิ 234 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 22 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 14 ล้านเหรียญ หรือ 459 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.20 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4.81 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิ 2.66 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
หุ้น ธ.พ. กำไรงบ 4Q60 ต่ำกว่าคาด...เลี่ยงหุ้นเต็มมูลค่า BAY, KKP, KTB
วานนี้ KTB เป็น ธ.พ. สุดท้ายที่รายงานงบฯ โดยกำไรสุทธิ 4Q60 ต่ำกว่าถึง 22% อยู่ที่ 4.81 พันล้านบาท ลดลงถึง 35.5%yoy และ 18%qoq กดดันจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับ IFRS9 นอกจากนี้ยังเห็นการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR ลงเมื่อกลางปี 2560 หักล้างผลบวกจากรายได้ค่าธรรมเนียมจะเพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลง โดยรวมกำไรสุทธิปี 2560 อยู่ที่ 2.24 หมื่นล้านบาท ลดลงถึง 30.4%yoy สำหรับปี 2561-62 ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการลงและคาดกำไรสุทธิเติบโต 18.7% yoy และ 19.8% yoy ตามลำดับ
โดยรวม 10 ธ.พ. ที่ฝ่ายวิจัยศึกษา ทำกำไรสุทธิ 4Q60 รวม 4.16 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าที่คาด 4.85 หมื่นล้านบาท ราว 14.2% โดย ธ.พ. ที่ทำกำไรต่ำกว่าคาดอย่างมีนัยฯ คือ KBANK, KTB, SCB และ KKP ส่วน BBL, TISCO และ BAY ทำกำไรได้ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ขณะที่ TMB และ TCAP กำไรตามคาด ยกเว้น LHBANK กำไรดีกว่าคาด ทั้งนี้ กำไรสุทธิของกลุ่ม ธ.พ. ที่ต่ำกว่าคาด อาจกระทบต่อประมาณการกำไรตลาดฯ ปี 2560 เพราะกำไรกลุ่ม ธ.พ. คิดเป็นกว่า 20% ของกำไรสุทธิทั้งตลาด อย่างไรก็ตาม คาดว่ากลุ่มพลังงาน น่าจะช่วยชดเชยขึ้นมาได้ ประกอบกับระดับ P/E ตลาดหุ้นไทยที่สูงกว่า 17 เท่า และปัจจัยการเมืองทั้งในและต่างประเทศกดดัน จึงน่าจะยังเห็นการปรับฐานของ SET Index ต่อ
กลยุทธ์การลงทุนยังให้ขายทำกำไร หรือหลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น KCE, SAPPE, JAS, TVO, PCSGH, IHL, TRUE, LANNA, ICHI, TU, GPSC, EA, GCAP และควรพักเงินในหุ้นปันผล ตามกลยุทธ์ Dividend Play หุ้นเด่นคือ SIRI, TASCO, TMT, MCS วันนี้เลือก MCS([email protected]) เป็น Top pick เพราะคาดกำไรสุทธิงวด 4Q60 จะทำได้ 350 ล้านเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 148% จากงวดก่อนหน้า และปี 2561 คาดว่ากำไรจะเติบโต 29% เป็น 679 ล้านบาท จาก 526 ล้านบาทในปี 2560 (อ่านรายละเอียดใน Equity talk 18 ธ.ค. 2560)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4766
วานนี้ต่างชาติสลับมาขายสุทธิหุ้นในภูมิภาคราว 131 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิติดต่อกัน 5 วัน) อย่างไรก็ตามยังซื้อ 2 ตลาด คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 131 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และฟิลิปปินส์ 9 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 7) ส่วนตลาดหุ้นที่เหลืออีก 3 แห่ง ต่างชาติขายสุทธิ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิ 234 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยอินโดนีเซีย 22 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3) และไทยที่ต่างชาติสลับมาขายสุทธิ 14 ล้านเหรียญ หรือ 459 ล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิ 3 วัน) ต่างกับสถาบันในประเทศที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.20 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิ 3 วัน)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 4.81 พันล้านบาท ต่างกับต่างชาติที่สลับมาขายสุทธิ 2.66 พันล้านบาท (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว)
หุ้น ธ.พ. กำไรงบ 4Q60 ต่ำกว่าคาด...เลี่ยงหุ้นเต็มมูลค่า BAY, KKP, KTB
วานนี้ KTB เป็น ธ.พ. สุดท้ายที่รายงานงบฯ โดยกำไรสุทธิ 4Q60 ต่ำกว่าถึง 22% อยู่ที่ 4.81 พันล้านบาท ลดลงถึง 35.5%yoy และ 18%qoq กดดันจากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่เพิ่มสูงขึ้นเพื่อรองรับ IFRS9 นอกจากนี้ยังเห็นการลดลงของรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิจากการปรับลดอัตราดอกเบี้ย MRR ลงเมื่อกลางปี 2560 หักล้างผลบวกจากรายได้ค่าธรรมเนียมจะเพิ่มขึ้นและค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลง โดยรวมกำไรสุทธิปี 2560 อยู่ที่ 2.24 หมื่นล้านบาท ลดลงถึง 30.4%yoy สำหรับปี 2561-62 ฝ่ายวิจัยปรับลดประมาณการลงและคาดกำไรสุทธิเติบโต 18.7% yoy และ 19.8% yoy ตามลำดับ
โดยรวม 10 ธ.พ. ที่ฝ่ายวิจัยศึกษา ทำกำไรสุทธิ 4Q60 รวม 4.16 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าที่คาด 4.85 หมื่นล้านบาท ราว 14.2% โดย ธ.พ. ที่ทำกำไรต่ำกว่าคาดอย่างมีนัยฯ คือ KBANK, KTB, SCB และ KKP ส่วน BBL, TISCO และ BAY ทำกำไรได้ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ขณะที่ TMB และ TCAP กำไรตามคาด ยกเว้น LHBANK กำไรดีกว่าคาด ทั้งนี้ กำไรสุทธิของกลุ่ม ธ.พ. ที่ต่ำกว่าคาด อาจกระทบต่อประมาณการกำไรตลาดฯ ปี 2560 เพราะกำไรกลุ่ม ธ.พ. คิดเป็นกว่า 20% ของกำไรสุทธิทั้งตลาด อย่างไรก็ตาม คาดว่ากลุ่มพลังงาน น่าจะช่วยชดเชยขึ้นมาได้ ประกอบกับระดับ P/E ตลาดหุ้นไทยที่สูงกว่า 17 เท่า และปัจจัยการเมืองทั้งในและต่างประเทศกดดัน จึงน่าจะยังเห็นการปรับฐานของ SET Index ต่อ
กลยุทธ์การลงทุนยังให้ขายทำกำไร หรือหลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น KCE, SAPPE, JAS, TVO, PCSGH, IHL, TRUE, LANNA, ICHI, TU, GPSC, EA, GCAP และควรพักเงินในหุ้นปันผล ตามกลยุทธ์ Dividend Play หุ้นเด่นคือ SIRI, TASCO, TMT, MCS วันนี้เลือก MCS([email protected]) เป็น Top pick เพราะคาดกำไรสุทธิงวด 4Q60 จะทำได้ 350 ล้านเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 148% จากงวดก่อนหน้า และปี 2561 คาดว่ากำไรจะเติบโต 29% เป็น 679 ล้านบาท จาก 526 ล้านบาทในปี 2560 (อ่านรายละเอียดใน Equity talk 18 ธ.ค. 2560)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4766