- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Monday, 22 January 2018 15:36
- Hits: 10577
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาดว่าตลาดหุ้นโลกน่าจะเข้าสู่การปรับฐานตามสหรัฐ ซึ่งเผชิญ Government Shutdown และการเมืองไทย ยังเผชิญกับโอกาสที่จะเลื่อนการเลือกตั้งไปเป็นปี 2562 รวมถึงยังมีแรงขาย sell on fact ในกลุ่ม ธ.พ. ซึ่งน่าจะกดดัน SET แกว่งตัว 1805-1830 จุด ยังแนะนำขายทำกำไรหุ้นที่เกิน Fair Value/upside จำกัด (AOT, BJC, TOP, BBL, KBANK, IRPC, PTTGC, JAS, EA, TRUE) แต่สะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง (SIRI, TMT, TASCO, SCC, CPF, MAJOR) Top picks ยังชอบ SIRI([email protected]) และ MCS([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … ICT บวกสวนตลาด vs ธ.พ. ฟื้นกลับ หลัง sell on fact
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET Index แกว่งตัวผันผวนในแดนลบเกือบทั้งวัน ก่อนจะมีแรงซื้อกลับท้ายตลาดและปิด 1821.34 เพิ่มขึ้น 2.02 จุด หรือ 0.11% มูลค่าการซื้อขาย 7.8 หมื่นล้านบาท โดยยังมีแรง เแรงขายรับงบกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ นำโดย SCB ลดลง 2.23% หลังจากรายงานกำไร 4Q60 อยู่ที่ 9.20 พันล้านบาท ลดลง 9.2% qoq และ 27.7% yoy ฉุดจากรายได้ธุรกิจประกันชีวิต (SCB Life) ที่แสดงผลขาดทุน หากไม่รวมรายการดังกล่าว ธุรกิจหลักยังเติบโต โดยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิสอดคล้องกับการเติบโตของสินเชื่อสุทธิในทุกกลุ่มธุรกิจ และ NIM ที่เพิ่มขึ้นดีกว่าคาด ส่วนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มที่ปรับลดลงแต่เล็กน้อย เพราะมีแรงซื้อกลับ คือ BBL และ KTB ลดลงเพียง 0.47% และ 0.5% ตามลำดับ
หุ้นรายตัวที่ลงแรงคือ BANPU ลดลงกว่า 7.08% หลังศาลฏีกา มีหมายนัดให้ไปฟังคำพิพากษา กรณีคดีความโรงไฟฟ้าหงสา วันที่ 6 มี.ค. 61 นี้ เช่นเดียวกับหุ้น PSTC ระหว่างวันร่วงลงแตะ floor ก่อนที่จะดีดขึ้นมาปิดที่ 0.86 บาท ลดลง 9.47% ตรงข้าม หุ้นที่ขึ้นแรงสวนตลาดคือ ICT นำโดยค่ายมือถือ โดย DTAC เพิ่มขึ้น 5.10%, TRUE เพิ่มขึ้น 0.8% และ ADVANC เพิ่มขึ้น 0.52% ขณะที่หุ้นปันผลเด่นอย่าง INTUCH เพิ่มขึ้น 0.43%
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีแกว่งทิศทางลบ แนวรับ 1805 จุด และแนวต้าน 1830 จุด
กลยุทธ์การลงทุน
คาดว่าตลาดหุ้นโลกน่าจะเข้าสู่การปรับฐานตามสหรัฐ ซึ่งเผชิญ Government Shutdown และการเมืองไทย ยังเผชิญกับโอกาสที่จะเลื่อนการเลือกตั้งไปเป็นปี 2562 รวมถึงยังมีแรงขาย sell on fact ในกลุ่ม ธ.พ. ซึ่งน่าจะกดดัน SET แกว่งตัว 1805-1830 จุด ยังแนะนำขายทำกำไรหุ้นที่เกิน Fair Value/upside จำกัด (AOT, BJC, TOP, BBL, KBANK, IRPC, PTTGC, JAS, EA, TRUE) แต่สะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง (SIRI, TMT, TASCO, SCC, CPF, MAJOR) Top picks ยังชอบ SIRI([email protected]) และ MCS([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … ICT บวกสวนตลาด vs ธ.พ. ฟื้นกลับ หลัง sell on fact
วันศุกร์ที่ผ่านมา SET Index แกว่งตัวผันผวนในแดนลบเกือบทั้งวัน ก่อนจะมีแรงซื้อกลับท้ายตลาดและปิด 1821.34 เพิ่มขึ้น 2.02 จุด หรือ 0.11% มูลค่าการซื้อขาย 7.8 หมื่นล้านบาท โดยยังมีแรง เแรงขายรับงบกลุ่มธนาคารพาณิชย์ ที่ออกมาต่ำกว่าที่ตลาดคาดการณ์ นำโดย SCB ลดลง 2.23% หลังจากรายงานกำไร 4Q60 อยู่ที่ 9.20 พันล้านบาท ลดลง 9.2% qoq และ 27.7% yoy ฉุดจากรายได้ธุรกิจประกันชีวิต (SCB Life) ที่แสดงผลขาดทุน หากไม่รวมรายการดังกล่าว ธุรกิจหลักยังเติบโต โดยรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิสอดคล้องกับการเติบโตของสินเชื่อสุทธิในทุกกลุ่มธุรกิจ และ NIM ที่เพิ่มขึ้นดีกว่าคาด ส่วนหุ้นอื่นๆ ในกลุ่มที่ปรับลดลงแต่เล็กน้อย เพราะมีแรงซื้อกลับ คือ BBL และ KTB ลดลงเพียง 0.47% และ 0.5% ตามลำดับ
หุ้นรายตัวที่ลงแรงคือ BANPU ลดลงกว่า 7.08% หลังศาลฏีกา มีหมายนัดให้ไปฟังคำพิพากษา กรณีคดีความโรงไฟฟ้าหงสา วันที่ 6 มี.ค. 61 นี้ เช่นเดียวกับหุ้น PSTC ระหว่างวันร่วงลงแตะ floor ก่อนที่จะดีดขึ้นมาปิดที่ 0.86 บาท ลดลง 9.47% ตรงข้าม หุ้นที่ขึ้นแรงสวนตลาดคือ ICT นำโดยค่ายมือถือ โดย DTAC เพิ่มขึ้น 5.10%, TRUE เพิ่มขึ้น 0.8% และ ADVANC เพิ่มขึ้น 0.52% ขณะที่หุ้นปันผลเด่นอย่าง INTUCH เพิ่มขึ้น 0.43%
สำหรับแนวโน้มตลาดวันนี้ คาดดัชนีแกว่งทิศทางลบ แนวรับ 1805 จุด และแนวต้าน 1830 จุด
Government Shutdown... วุฒิสมาชิกไม่เห็นด้วยกับขาดดุลเพื่อสร้างกำแพงเม็กซิโก
ตลาดหุ้นโลกน่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบ หลังจากที่ รัฐบาลสหรัฐต้องเผชิญปัญหาการขาดงบประมาณ หลังจากปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา วุฒิสภาสหรัฐ ไม่ผ่านร่างงบประมาณชั่วคราว ทำให้หน่วยงานราชการสหรัฐ จะต้องถูกหยุดทำการ(Government Shutdown) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และถือเป็นการ Shut down ครั้งที่ 19 ในประวัติศาสตร์สหรัฐ เหตุผลที่วุฒิฯ ไม่ผ่านงบประมาณเพราะไม่เห็นด้วยกับทรัมป์ 2 เรื่อง คือ งบในการสร้างกำแพงสหรัฐ-เม็กซิโก และยกเลิกการช่วยเหลือผู้อพยพ (DACA) ซึ่งเป็นนโยบายของอดีตประธานาธิบดี โอบามา ที่ต้องการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานการศึกษา แก่เยาวชนซึ่งเดินทางเข้ามาในสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย ขั้นตอนต่อไป คือในวันนี้รัฐบาลทรัมป์เร่งให้วุฒิสภาเปิดอภิปรายและพิจารณาการขยายงบประมาณชั่วคราว
Govermnet shutdown ครั้งล่าสุด เกิดขึ้นสมัยประธานาธิบดีโอบาม่า นาน 16 วัน (1-17 ต.ค. 2556) ซึ่งครั้งนั้นเกิดจาก การกฎหมายประกันสุขภาพ (Obama Care) ซึ่งในครั้งนี้ กดดันตลาดหุ้นสหรัฐ ลดลง 2-3% คือ Dow jones และ ดัชนี S&P500 ลดลงราว 2.73% และ 2.3% ตั้งแต่วันที่ 1-8 ต.ค. ก่อนที่จะฟื้นตัวกลับมาที่เดิมในวันที่ 17 ต.ค.
อย่างไรก็ตามสวนทางกับตลาดหุ้นไทย ที่กลับฟื้นตัวราว 4.7%ในช่วง 1-17 ต.ค. 2556 ทั้งนี้เป็นผลมาจากนักลงทุนสถาบันฯ และรายย่อยซื้อจากความคาดหวังการผลักดัน พรบ. งบลงทุน 2 ล้านล้านบาท (ต่างชาติยังขายสุทธิอยู่) และประเด็นการเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว เช่น AOT, CPN ,ERW จากช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาส 4 อย่างไรก็ตามราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าวแพงไปแล้ว
ตลาดหุ้นโลกน่าจะได้รับผลกระทบเชิงลบ หลังจากที่ รัฐบาลสหรัฐต้องเผชิญปัญหาการขาดงบประมาณ หลังจากปลายสัปดาห์ที่ผ่านมา วุฒิสภาสหรัฐ ไม่ผ่านร่างงบประมาณชั่วคราว ทำให้หน่วยงานราชการสหรัฐ จะต้องถูกหยุดทำการ(Government Shutdown) ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป และถือเป็นการ Shut down ครั้งที่ 19 ในประวัติศาสตร์สหรัฐ เหตุผลที่วุฒิฯ ไม่ผ่านงบประมาณเพราะไม่เห็นด้วยกับทรัมป์ 2 เรื่อง คือ งบในการสร้างกำแพงสหรัฐ-เม็กซิโก และยกเลิกการช่วยเหลือผู้อพยพ (DACA) ซึ่งเป็นนโยบายของอดีตประธานาธิบดี โอบามา ที่ต้องการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานการศึกษา แก่เยาวชนซึ่งเดินทางเข้ามาในสหรัฐอย่างผิดกฎหมาย ขั้นตอนต่อไป คือในวันนี้รัฐบาลทรัมป์เร่งให้วุฒิสภาเปิดอภิปรายและพิจารณาการขยายงบประมาณชั่วคราว
Govermnet shutdown ครั้งล่าสุด เกิดขึ้นสมัยประธานาธิบดีโอบาม่า นาน 16 วัน (1-17 ต.ค. 2556) ซึ่งครั้งนั้นเกิดจาก การกฎหมายประกันสุขภาพ (Obama Care) ซึ่งในครั้งนี้ กดดันตลาดหุ้นสหรัฐ ลดลง 2-3% คือ Dow jones และ ดัชนี S&P500 ลดลงราว 2.73% และ 2.3% ตั้งแต่วันที่ 1-8 ต.ค. ก่อนที่จะฟื้นตัวกลับมาที่เดิมในวันที่ 17 ต.ค.
อย่างไรก็ตามสวนทางกับตลาดหุ้นไทย ที่กลับฟื้นตัวราว 4.7%ในช่วง 1-17 ต.ค. 2556 ทั้งนี้เป็นผลมาจากนักลงทุนสถาบันฯ และรายย่อยซื้อจากความคาดหวังการผลักดัน พรบ. งบลงทุน 2 ล้านล้านบาท (ต่างชาติยังขายสุทธิอยู่) และประเด็นการเก็งกำไรในหุ้นกลุ่มท่องเที่ยว เช่น AOT, CPN ,ERW จากช่วงฤดูกาลท่องเที่ยวในช่วงไตรมาส 4 อย่างไรก็ตามราคาหุ้นในกลุ่มดังกล่าวแพงไปแล้ว
กังวลจะไม่มีการเลือกตั้งปี 2561 เพราะติดขัดบางเรื่อง
แม้การร่าง พ.ร.ป. 4 ฉบับ เพื่อประกอบการเลือกตั้งยังเดินหน้า ล่าสุด มี พ.ร.ป. ที่เหลืออีก 2 ฉบับ อยู่ระหว่างการร่างคือ
พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้แล้ว 8 ก.ย. 2560
พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้แล้ว 10 ต.ค. 2560
พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. ... สนช.รับหลักการวาระ 1 เมื่อ 30 พ.ย.2560
พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. ... สนช.รับหลักการวาระ 1 เมื่อ 30 พ.ย.2560
แต่ประเมินจาก พ.ร.ป. อยู่ระหว่างการร่าง อาจจะเป็นตัวแปรสำคัญ ทำให้การเลือกตั้งจะไม่เกิดขึ้นในปี 2561 พิจารณาจากร่าง พ.รป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. ... ซึ่งล่าสุด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาครบทุกมาตราแล้ว (เตรียมแถลงรายละเอียด 22 ม.ค.2561) ปรากฎว่า คณะกรรมาธิการมีมติเสียงข้างมาก ให้แก้ไขมาตรา 2 ของกฎหมายดังกล่าว โดยกำหนดให้ ร่าง พ.ร.ป. ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ 90 วัน นับแต่วันที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากเดิมที่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ทันที ซึ่งหากเมื่อนำเข้าสู่ที่ประชุม สนช. เพื่อลงมติในวาระที่ 2 และ 3 แล้วมีมติเห็นชอบ ก็จะทำให้โอกาสที่จะต้องมีการเลื่อนกำหนดการเลือกตั้งออกไปจากเดิมภายใน พ.ย. 2561 มีความเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากพิจารณาตามกรอบเวลาปกติแล้ว คาดว่า พ.ร.ป. น่าจะพร้อมลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ช่วงประมาณเดือน มิ.ย.2561 (ไม่น่าเกิน) และหากให้มีผลบังคับใช้ในอีก 90 วัน (3 เดือน) หลังลงประกาศ ก็น่าจะทำให้มีผลบังคับใช้ในช่วงประมาณเดือน ก.ย. 2561 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้จัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน (5 เดือน) ก็หมายความว่าการเลือกตั้งมีโอกาสยืดออกไปจนถึงเดือน ก.พ.2561
นอกจาก ยังมีประเด็นเรื่องการปลดล็อค (โดยคำสั่งของ คสช )ทำให้พรรคการเมืองยังไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ และยังมีประเด็นการให้สมาชิกพรรคการเมืองต้องเข้ามายืนยันการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองพร้อมชำระเงินอุดหนุนพรรคการเมือง 100 บาท/ปี หรือ 2000 บาทตลอดชีพ ก็เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่ง ล้วนกดดันให้ การเลือกตั้งมีโอกาสเลื่อนตามแผนเดิมในเดือน พ.ย.2561 อาจต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นต้นปี 2562 ซึ่งน่าจะกดดัน SET ให้ผันผวนหลังจากที่ปรับตัวขึ้นมารวดเร็วและต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
แม้การร่าง พ.ร.ป. 4 ฉบับ เพื่อประกอบการเลือกตั้งยังเดินหน้า ล่าสุด มี พ.ร.ป. ที่เหลืออีก 2 ฉบับ อยู่ระหว่างการร่างคือ
พ.ร.ป.ว่าด้วยคณะกรรมการเลือกตั้ง พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้แล้ว 8 ก.ย. 2560
พ.ร.ป. ว่าด้วยพรรคการเมือง พ.ศ. 2560 มีผลบังคับใช้แล้ว 10 ต.ค. 2560
พ.ร.ป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. ... สนช.รับหลักการวาระ 1 เมื่อ 30 พ.ย.2560
พ.ร.ป.ว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว. พ.ศ. ... สนช.รับหลักการวาระ 1 เมื่อ 30 พ.ย.2560
แต่ประเมินจาก พ.ร.ป. อยู่ระหว่างการร่าง อาจจะเป็นตัวแปรสำคัญ ทำให้การเลือกตั้งจะไม่เกิดขึ้นในปี 2561 พิจารณาจากร่าง พ.รป.ว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส. พ.ศ. ... ซึ่งล่าสุด คณะกรรมาธิการฯ ได้พิจารณาครบทุกมาตราแล้ว (เตรียมแถลงรายละเอียด 22 ม.ค.2561) ปรากฎว่า คณะกรรมาธิการมีมติเสียงข้างมาก ให้แก้ไขมาตรา 2 ของกฎหมายดังกล่าว โดยกำหนดให้ ร่าง พ.ร.ป. ฉบับนี้มีผลบังคับใช้ 90 วัน นับแต่วันที่ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา จากเดิมที่กำหนดให้มีผลบังคับใช้ทันที ซึ่งหากเมื่อนำเข้าสู่ที่ประชุม สนช. เพื่อลงมติในวาระที่ 2 และ 3 แล้วมีมติเห็นชอบ ก็จะทำให้โอกาสที่จะต้องมีการเลื่อนกำหนดการเลือกตั้งออกไปจากเดิมภายใน พ.ย. 2561 มีความเป็นไปได้สูงมาก เนื่องจากพิจารณาตามกรอบเวลาปกติแล้ว คาดว่า พ.ร.ป. น่าจะพร้อมลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา ช่วงประมาณเดือน มิ.ย.2561 (ไม่น่าเกิน) และหากให้มีผลบังคับใช้ในอีก 90 วัน (3 เดือน) หลังลงประกาศ ก็น่าจะทำให้มีผลบังคับใช้ในช่วงประมาณเดือน ก.ย. 2561 ซึ่งตามรัฐธรรมนูญฯ กำหนดให้จัดการเลือกตั้งให้แล้วเสร็จภายใน 150 วัน (5 เดือน) ก็หมายความว่าการเลือกตั้งมีโอกาสยืดออกไปจนถึงเดือน ก.พ.2561
นอกจาก ยังมีประเด็นเรื่องการปลดล็อค (โดยคำสั่งของ คสช )ทำให้พรรคการเมืองยังไม่สามารถดำเนินกิจกรรมทางการเมืองได้ และยังมีประเด็นการให้สมาชิกพรรคการเมืองต้องเข้ามายืนยันการเป็นสมาชิกพรรคการเมืองพร้อมชำระเงินอุดหนุนพรรคการเมือง 100 บาท/ปี หรือ 2000 บาทตลอดชีพ ก็เป็นอีกเงื่อนไขหนึ่ง ล้วนกดดันให้ การเลือกตั้งมีโอกาสเลื่อนตามแผนเดิมในเดือน พ.ย.2561 อาจต้องถูกเลื่อนออกไปเป็นต้นปี 2562 ซึ่งน่าจะกดดัน SET ให้ผันผวนหลังจากที่ปรับตัวขึ้นมารวดเร็วและต่อเนื่องเป็นปีที่ 3
ต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาคเป็นวันที่ 5 แต่แรงซื้อเริ่มเบาบางลง
วันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 แต่มูลค่าเบาบางลงเหลือ 108 ล้านเหรียญ โดยเป็นการสลับมาขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิ 204 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และอินโดนีเซีย 68 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 3 แห่ง ต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 316 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยซื้อสุทธิ 62 ล้านเหรียญ หรือ 1.97 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนทางกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิกว่า 4.52 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 8.58 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.76 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
แรงขายรับงบกลุ่ม ธ.พ. ยังมีอยู่ ให้ switch ไปหุ้นปันผลเด่น
วันศุกร์ที่ผ่านมา ยังคงเห็นแรงขายของหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ตอบรับการรายงานงบฯ 4Q60 โดยเฉพาะ KBANK งบฯ ต่ำกว่าคาดมาก รวมทั้ง KKP และ TCAP เช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
KBANK กำไรสุทธิ 4Q60 อยู่ที่ 5.70 พันล้านบาท ต่ำกว่าคาด 42% โดยลดลงถึง 39.8% qoq และ 44.3% yoy จากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่สูงกว่าคาดมาก ซึ่งเป็นการตั้งสำรองฯ รองรับมาตรการฐาน ใหม่ (IFRS 9) ทีเข้มงวด ขณะที่ NPL ต่อสินเชื่อรวมยังทรงตัว ส่วนรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและ NIM เติบโต แต่รายได้ค่าธรรมเนียมฯ ต่ำกว่าคาด ผลกระทบจากธุรกรรม digital banking และบริการ PromptPay และรายได้จาก bancassurance ที่ชะลอตัวลง นอกจากนี้ ยังเห็นผลกระทบจากรายได้สุทธิของธุรกิจประกันชีวิต (MTL) ที่อ่อนแอลง งจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น แม้ค่าใช้จ่ายดำเนินงานเร่งตัวขึ้นแต่ยังต่ำกว่าที่คาดไว้ โดยรวมปี 2560 กำไรสุทธิลดลง 14.5%yoy จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2561-62 ลงเล็กน้อย แต่กำไรสุทธิปี 2561 ยังเติบโตได้ถึง 24.0%yoy ส่วน Fair Value คงเดิมที่ 250 บาท จึงยังแนะนำซื้อ ราคาหุ้นได้ตอบรับผลการดำเนินที่ต่ำกว่าคาดแล้ว
KKP กำไรสุทธิงวด 4Q60 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท ต่ำกว่าคาด 20% โดยลดลง 24%qoq และ10%yoy จากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น หลักๆ เป็นการบันทึกขาดทุนจากการปรับมูลค่าและบันทึกขาดทุนจากการขาย NPA ขณะที่รายได้จากดอกเบี้ยรับลดลง แต่ยังได้รายได้ค่าธรรมเนียมฯ มาช่วยหนุน ส่วนคุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในเกณฑ์ดี NPL ลดลงต่อเนื่อง โดยรวมกำไรสุทธิทั้งปี 2560 อยู่ที่ 5.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.4%yoy ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยมีการปรับลดประมาณการกําไรสุทธิปี 2561-62 เล็กน้อยจากการปรับลดสมมติฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอื่นๆ ลง ภายหลังประมาณการ คาดกำไรสุทธิปีนี้เติบโต 13.2% yoy และ 10.3% yoy ในปีหน้า โดย Fair Value ใหม่อยู่ที่ 90 บาท (จากเดิม 91 บาท) ขณะที่คาด Div.Yield ยังสูงถึง 6 % จึงคงแนะนำซื้อ
TCAP กำไรสุทธิ 4Q60 ตามคาดที่ 1.93 พันล้านบาท เติบโต 8.2%qoq และ 14.3%yoy เป็นระดับกำไรที่สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส หนุนมาจากการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ, รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอื่นๆ ขณะที่ค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลง นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จาก Effective tax rate ที่ลดลง (ผลบริษัทย่อยขาดทุนในอดีต) ช่วยชดเชยคุณภาพสินเชื่อที่ลดลง โดยรวมกำไรสุทธิปี 2560 7.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.43%yoy ส่วนปี 2561-62 คาดยังเติบโตได้ 12.5% yoy และ 2.7% yoy ตามลำดับ ( tax shield ที่ลดลง) ยังคงประมาณการและ fair value ที่ 65 บาท (Div Yield 4%)
โดยรวมมี ธ.พ. 9 แห่งที่ฝ่ายวิจัยศึกษา (ยังไม่รวม KTB ที่คาดประกาศงบฯ วันนี้) ทำกำไรสุทธิ 4Q60 รวม 3.68 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าคาดราว 12.9% โดยเฉพาะ KBANK และ SCB ทำกำไรได้ต่ำกว่าคาดมาก ส่วน BBL และ BAY ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ขณะที่ TMB ทำกำไรได้ดีกว่าคาด ทั้งนี้ กำไรสุทธิของกลุ่ม ธ.พ. ที่ต่ำกว่าคาด อาจกระทบต่อประมาณการกำไรตลาดฯ ปี 2560 เพราะกำไรกลุ่ม ธ.พ. คิดเป็นกว่า 20% ของกำไรสุทธิทั้งตลาด อย่างไรก็ตาม คาดว่ากลุ่มพลังงาน น่าจะช่วยชดเชยขึ้นมาได้ ประกอบกับระดับ P/E ตลาดหุ้นไทยที่สูงกว่า 17 เท่า และปัจจัยการเมืองทั้งในและต่างประเทศกดดัน จึงน่าจะยังเห็นการปรับฐานของ SET Index ต่อ
กลยุทธ์การลงทุนยังให้ขายทำกำไร หรือหลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น KCE, SAPPE, JAS, TVO, PCSGH, IHL, TRUE, LANNA, ICHI, TU, GPSC, EA, GCAP และควรพักเงินในหุ้นปันผล ตามกลยุทธ์ Dividend Play หุ้นเด่นคือ SIRI, TASCO, TMT , MCS วันนี้เลือก MCS([email protected]) เป็น Top pick เพราะคาดกำไรสุทธิงวด 4Q60 จะทำได้ 350 ล้านเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 148% จากงวดก่อนหน้า และปี 2561 คาดว่ากำไรจะเติบโต 29% เป็น 679 ล้านบาท จาก 526 ล้านบาทในปี 2560 (อ่านรายละเอียดใน Equity talk 18 ธ.ค. 2560)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4723
วันศุกร์ที่ผ่านมา แม้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 5 แต่มูลค่าเบาบางลงเหลือ 108 ล้านเหรียญ โดยเป็นการสลับมาขายสุทธิอยู่ 2 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ขายสุทธิ 204 ล้านเหรียญ (หลังจากซื้อสุทธิเพียงวันเดียว) และอินโดนีเซีย 68 ล้านเหรียญ (ขายสุทธิเป็นวันที่ 2) ส่วนที่เหลืออีก 3 แห่ง ต่างชาติซื้อสุทธิ คือ ไต้หวันซื้อสุทธิ 316 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 5) ฟิลิปปินส์ 2 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 6) และไทยซื้อสุทธิ 62 ล้านเหรียญ หรือ 1.97 พันล้านบาท (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) ส่วนทางกับสถาบันในประเทศที่ขายสุทธิกว่า 4.52 พันล้านบาท (ขายสุทธิเป็นวันที่ 3)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 8.58 พันล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่สลับมาซื้อสุทธิ 1.76 พันล้านบาท (หลังจากขายสุทธิเพียงวันเดียว)
แรงขายรับงบกลุ่ม ธ.พ. ยังมีอยู่ ให้ switch ไปหุ้นปันผลเด่น
วันศุกร์ที่ผ่านมา ยังคงเห็นแรงขายของหุ้นในกลุ่ม ธ.พ. ตอบรับการรายงานงบฯ 4Q60 โดยเฉพาะ KBANK งบฯ ต่ำกว่าคาดมาก รวมทั้ง KKP และ TCAP เช่นกัน โดยมีรายละเอียดดังนี้
KBANK กำไรสุทธิ 4Q60 อยู่ที่ 5.70 พันล้านบาท ต่ำกว่าคาด 42% โดยลดลงถึง 39.8% qoq และ 44.3% yoy จากค่าใช้จ่ายสำรองหนี้ฯ ที่สูงกว่าคาดมาก ซึ่งเป็นการตั้งสำรองฯ รองรับมาตรการฐาน ใหม่ (IFRS 9) ทีเข้มงวด ขณะที่ NPL ต่อสินเชื่อรวมยังทรงตัว ส่วนรายได้ดอกเบี้ยรับสุทธิและ NIM เติบโต แต่รายได้ค่าธรรมเนียมฯ ต่ำกว่าคาด ผลกระทบจากธุรกรรม digital banking และบริการ PromptPay และรายได้จาก bancassurance ที่ชะลอตัวลง นอกจากนี้ ยังเห็นผลกระทบจากรายได้สุทธิของธุรกิจประกันชีวิต (MTL) ที่อ่อนแอลง งจากการแข่งขันที่รุนแรงขึ้น แม้ค่าใช้จ่ายดำเนินงานเร่งตัวขึ้นแต่ยังต่ำกว่าที่คาดไว้ โดยรวมปี 2560 กำไรสุทธิลดลง 14.5%yoy จึงปรับลดประมาณการกำไรสุทธิปี 2561-62 ลงเล็กน้อย แต่กำไรสุทธิปี 2561 ยังเติบโตได้ถึง 24.0%yoy ส่วน Fair Value คงเดิมที่ 250 บาท จึงยังแนะนำซื้อ ราคาหุ้นได้ตอบรับผลการดำเนินที่ต่ำกว่าคาดแล้ว
KKP กำไรสุทธิงวด 4Q60 อยู่ที่ 1.3 พันล้านบาท ต่ำกว่าคาด 20% โดยลดลง 24%qoq และ10%yoy จากค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่เพิ่มขึ้น หลักๆ เป็นการบันทึกขาดทุนจากการปรับมูลค่าและบันทึกขาดทุนจากการขาย NPA ขณะที่รายได้จากดอกเบี้ยรับลดลง แต่ยังได้รายได้ค่าธรรมเนียมฯ มาช่วยหนุน ส่วนคุณภาพสินทรัพย์ยังอยู่ในเกณฑ์ดี NPL ลดลงต่อเนื่อง โดยรวมกำไรสุทธิทั้งปี 2560 อยู่ที่ 5.7 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.4%yoy ทั้งนี้ ฝ่ายวิจัยมีการปรับลดประมาณการกําไรสุทธิปี 2561-62 เล็กน้อยจากการปรับลดสมมติฐานรายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอื่นๆ ลง ภายหลังประมาณการ คาดกำไรสุทธิปีนี้เติบโต 13.2% yoy และ 10.3% yoy ในปีหน้า โดย Fair Value ใหม่อยู่ที่ 90 บาท (จากเดิม 91 บาท) ขณะที่คาด Div.Yield ยังสูงถึง 6 % จึงคงแนะนำซื้อ
TCAP กำไรสุทธิ 4Q60 ตามคาดที่ 1.93 พันล้านบาท เติบโต 8.2%qoq และ 14.3%yoy เป็นระดับกำไรที่สูงสุดในรอบ 18 ไตรมาส หนุนมาจากการเติบโตของรายได้ค่าธรรมเนียมฯ, รายได้ที่มิใช่ดอกเบี้ยอื่นๆ ขณะที่ค่าใช้จ่ายดำเนินงานที่ลดลง นอกจากนี้ยังได้ประโยชน์จาก Effective tax rate ที่ลดลง (ผลบริษัทย่อยขาดทุนในอดีต) ช่วยชดเชยคุณภาพสินเชื่อที่ลดลง โดยรวมกำไรสุทธิปี 2560 7.0 พันล้านบาท เพิ่มขึ้น 16.43%yoy ส่วนปี 2561-62 คาดยังเติบโตได้ 12.5% yoy และ 2.7% yoy ตามลำดับ ( tax shield ที่ลดลง) ยังคงประมาณการและ fair value ที่ 65 บาท (Div Yield 4%)
โดยรวมมี ธ.พ. 9 แห่งที่ฝ่ายวิจัยศึกษา (ยังไม่รวม KTB ที่คาดประกาศงบฯ วันนี้) ทำกำไรสุทธิ 4Q60 รวม 3.68 หมื่นล้านบาท ต่ำกว่าคาดราว 12.9% โดยเฉพาะ KBANK และ SCB ทำกำไรได้ต่ำกว่าคาดมาก ส่วน BBL และ BAY ต่ำกว่าคาดเล็กน้อย ขณะที่ TMB ทำกำไรได้ดีกว่าคาด ทั้งนี้ กำไรสุทธิของกลุ่ม ธ.พ. ที่ต่ำกว่าคาด อาจกระทบต่อประมาณการกำไรตลาดฯ ปี 2560 เพราะกำไรกลุ่ม ธ.พ. คิดเป็นกว่า 20% ของกำไรสุทธิทั้งตลาด อย่างไรก็ตาม คาดว่ากลุ่มพลังงาน น่าจะช่วยชดเชยขึ้นมาได้ ประกอบกับระดับ P/E ตลาดหุ้นไทยที่สูงกว่า 17 เท่า และปัจจัยการเมืองทั้งในและต่างประเทศกดดัน จึงน่าจะยังเห็นการปรับฐานของ SET Index ต่อ
กลยุทธ์การลงทุนยังให้ขายทำกำไร หรือหลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น KCE, SAPPE, JAS, TVO, PCSGH, IHL, TRUE, LANNA, ICHI, TU, GPSC, EA, GCAP และควรพักเงินในหุ้นปันผล ตามกลยุทธ์ Dividend Play หุ้นเด่นคือ SIRI, TASCO, TMT , MCS วันนี้เลือก MCS([email protected]) เป็น Top pick เพราะคาดกำไรสุทธิงวด 4Q60 จะทำได้ 350 ล้านเพิ่มขึ้นอย่างมากถึง 148% จากงวดก่อนหน้า และปี 2561 คาดว่ากำไรจะเติบโต 29% เป็น 679 ล้านบาท จาก 526 ล้านบาทในปี 2560 (อ่านรายละเอียดใน Equity talk 18 ธ.ค. 2560)
ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4723