- Details
- Category: บทวิเคราะห์
- Published: Wednesday, 17 January 2018 17:52
- Hits: 3056
บล.เอเซียพลัส : รายงานภาวะตลาดหุ้นรายวัน
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET เผชิญกับแรงขายระยะสั้นรับงบ 4Q60 กลุ่ม ธ.พ. และหุ้นปิโตรเลี่ยม (น้ำมัน/ถ่านหิน) อาจย่อตามราคาน้ำมัน หลังจาก Dollar หยุดอ่อนค่า แต่ระยะกลางเชื่อว่าราคาน้ำมันดูไบยังมีโอกาสเดินหน้าแตะ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล กลยุทธ์ฯ ยังให้ทยอยขายหุ้นที่เกินมูลค่าพื้นฐานปี 2561 (AOT, BJC, TOP, BBL, KBANK, IRPC, PTTGC, JAS, EA) แต่ให้สะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง/โภคภัณฑ์ (STEC, CK, UNIQ, INTUCH, BANPU, PTTEP, SCC, CPF, TMT) Top picks เลือกหุ้นปันผลเด่น SIRI([email protected]) และ TASCO([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … หุ้นขนาดใหญ่กดดัน SET Index ปิดตลาดแดนลบ
วานนี้ SET Index แกว่งตัวผันผวนตลอดวัน ช่วงเช้าดัชนีขึ้นทำจุดสูงสุดที่ระดับ 1831.66 จุด ก่อนที่ช่วงบ่ายจะย่อลงปิดที่ 1821.83 จุด ลดลงเล็กน้อย 0.83 จุด หรือ 0.05% มูลค่าการซื้อขาย 7.69 หมื่นล้านบาท แรงกดดันหลักๆ มาจากหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มพลังงานปรับลดลง นำโดย PTT ลดลง 0.41% ตามด้วย PTTEP ลดลง 0.44% และ IVL ลดลง 2.13% ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้า GULF ลดลง 3.27%, EA ลดลง 2.55%, และ CKP ลดลง 4.74% หลังจากก่อนหน้านี้ราคาหุ้นปรับขึ้นจนเกินมูลค่าพื้นฐานไปมากแล้วจึงแนะนำให้ switch ไป BGRIM ที่กำไร outperform กลุ่มโรงไฟฟ้า อีกทั้งราคาหุ้นที่ปรับฐานในช่วงนี้ทำให้ upside เปิดกว้างอีกครั้ง สำหรับหุ้นกลุ่มการเงินอย่าง AEONTS ถูกแรงขาย Sell on fact ลดลงกว่า 7.64% เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง-เล็ก TISCO, KKP, TCAP ลดลง 0.82%, 2.06% และ 0.42% ตามลำดับ ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลดลงแรงคือ STA หลัง ครม. กำหนดให้ยางพาราเป็นสินค้าควบคุมซึ่งประเด็นดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลต่อต้นทุนราคายางพารา ทำให้เห็นแรงเทขายช่วงท้ายจนราคาลดลงแรงกว่า 14.47%
ส่วนกลุ่มอสังหาฯ ปรับตัวขึ้นโดดเด่นสวนทางตลาด นำโดย SC เพิ่มขึ้น 2%, ANAN เพิ่มขึ้น 2.68%, QH 1.23%, LH 1.83% อีกกลุ่มที่ฟื้นตัวคือ ค้าปลีก BJC เพิ่มขึ้นกว่า 3.9%, HMPRO เพิ่มขึ้น 1.41% และ CPALL เพิ่มขึ้น 0.32% ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสพักตัวต่อ แนวรับ 1812 จุด แนวต้าน 1830 จุด
ปี 2560 ยอดขอ BOI และลงทุนใน EEC ดีกว่าคาด
สิ้นปี 2560 พบว่ายอดขอรับการส่งเสริมการลงทุน(BOI) สูงถึง 6.42 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% จากปี 2559 และสูงกว่าเป้าหมายที่ BOI กำหนดไว้ 6 แสนล้านบาท และเป็นที่สังเกตว่ายอดขอ BOI ดังกล่าวประมาณ 46% เป็นการขอส่งเสริมลงทุนในพื้นที่ EEC และปี 2561 BOI ตั้งเป้ายอดขอราว 7.2 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นการฟื้นตัวของการลงทุนเอกชนครั้งแรกในรอบหลายปี และเมื่อบวกกับความคาดหวัง การลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานภาครัฐ ที่คาดว่าจะสูงมากในปีนี้ เนื่องจากการประมูลที่ล่าช้ามากในช่วง 12 เดือนที่ผ่าน ทำให้แผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 8 ปี คือ 2558-2565 เป็นเงิน 2.4 ล้านล้านบาท ประมูลได้เพียง 4.7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ของงบลงทุนทั้งหมด ดังนั้นในช่วงที่เหลืออีก 5 ปี เม็ดเงินประมูลจึงสูงราว 2 ล้านล้านบาท (83% ของแผน) โดยเฉพาะปี 2561 นี้ คาดจะมีงานประมูลที่ค้างท่อ ราว 9.2 แสนล้านบาท อาทิ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม, ทางด่วนดาวคะนอง เป็นต้น
ทั้งนี้ยังไม่รวมโครงการลงทุนก่อสร้างใน EEC อาทิ รถไฟเชื่อม 3 สนามบินราว 2.26 แสนล้านบาท , ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ราว 3.5 หมื่นล้านบาท และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน 1.79 แสนล้านบาท เป็นต้น ในสถานการณ์นี้ถือว่าเอื้อประโยชน์ต่อหุ้นที่ที่เกี่ยวข้องดังนี้
กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งมีที่ดินพร้อมขายคือ WHA เป็นผู้ที่มีที่ดินพร้อมขายใน EEC มากที่สุดราว 5,098 ไร่ และอันดับที่ 2 คือ AMATA มีที่ดิน 2,891 ไร่ ประกอบกับราคาประเมินที่ดินใน EEC รอบปี 2559-2562 เพิ่มขึ้น 22.5%, 12.4% และ 14.3% ตามลำดับ จากราคาประเมินรอบปี 2555-2558 ทำให้ฝ่ายวิจัยปรับไปใช้วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี NAV โดยใช้ราคาขายที่ดินเฉลี่ยปัจจุบันใน EEC โดยได้ WHA([email protected]) ยังมี Upside 10.1% และ AMATA([email protected]) มี Upside 25.2%
กลุ่มให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (น้ำ ,ไฟฟ้า และระบบขนส่ง) คือ EASTW(FV@B 14.60) ที่ประกอบธุรกิจบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำดิบและขายน้ำดิบ ซึ่งรายได้ราว 65% มาจาก 3 จังหวัด EEC ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี จึงได้ประโยชน์จากความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มตามการขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรม มี Upside 17.7%, JWD( FV@B 14.0) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในประเทศครบวงจร ทั้ง บริการรับฝากและบริหารสินค้า, บริการขนส่งสินค้าในประเทศ และให้เช่าอาคารสำนักงานและคลังสินค้า มี Upside 13.8% ,รับเหมาก่อสร้าง อาทิ STEC, CK, ITD, UNIQ แม้หุ้นบางบริษัทจะปรับตัวขึ้นมาจนมี upsie เหลือน้อยลงคือ STEC(FV@B 30.00) มี upside 12% ส่วนที่เหลือยังมี upside สูง คือ CK(FV@B36), ITD([email protected]) และ UNIQ(FV@B24) ราว 26% 26% และ 42% ตามลำดับ
ต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาคเกือบทุกประเทศ ยกเว้นไทย
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 441 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิถึง 4 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 308 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 127 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 14 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และอินโดนีเซีย 9 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 12) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติขายสุทธิ 16 ล้านเหรียญ หรือ 526 ล้านบาท (มียอดขายสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีราว 9.25 พันล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ยังเดินหน้าซื้อสุทธิอีก 3.51 พันล้านบาท (หนุนยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีสูงถึง 1.54 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.08 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ยังซื้อสุทธิอีก 1.08 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 4) หนุนยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีสูงถึง 8.58 หมื่นล้านบาท (แบ่งเป็นซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น 5.44 หมื่นล้านบาท และระยะยาว 3.14 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้บาทแข็งค่าขึ้นกว่า 1.96% (ytd) โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.92 บาท/ดอลลาร์
คาดเห็นแรงขายรับงบกลุ่ม ธ.พ. ให้ switch ไปสะสมหุ้นปันผลเด่น
หลังจากที่ TISCO และ LHBANK เป็น 2 ธ.พ. แรกที่มีการประกาศงบฯ ออกมา เริ่มจาก TISCO ที่ผลประกอบการเป็นไปตามคาด และแม้กำไรสุทธิปี 2560 จะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ก็ยังเห็น Sell on fact โดยราคาหุ้นปรับลดลงมากว่า 3% ใน 2 วันทำการล่าสุด อย่างไรก็ตามราคาที่ลดลงแรงทำให้ Upside เปิดกว้างกว่า 20% จึงเป็นจังหวะที่เข้าสะสมได้ เนื่องจาก Div. yield สูงถึง 6% ตามด้วย LHBANK ราคาหุ้นปรับขึ้นได้แม้ว่านักวิเคราะห์จะมีการปรับประมาณการฯ ปี 2561-62 ลง แต่เนื่องจากราคาหุ้นยังค่อนข้าง laggard กลุ่มฯ ในช่วงที่ผ่านมา จึงทำให้ราคาหุ้นไม่ถูกขายออกมา
ขณะที่ ธ.พ. แห่งอื่นๆ คาดจะทยอยรายงานงบฯ ช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. นี้ โดย ธ.พ. ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิเติบโตทั้ง QoQ และ YoY ได้แก่ BBL (+8.8 QoQ, +7.4%YoY), TMB (+9.7%QoQ, +27%YOY) และ TCAP (+6.9%QoQ, 129%YOY) หากออกมาเป็นไปตามคาดหรือแย่กว่าคาดก็ต้องระมัดระวังการเกิด sell on fact ได้เช่นกัน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม ธ.พ. ที่ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว หรือมี upside จำกัด คือ BBL, BAY, KTB, KBANK, TMB จึงแนะนำให้รอราคาปรับฐานหลังการรายงานงบฯ เสร็จสิ้น
นอกจากนี้ การที่ SET Index ปรับขึ้นแรงและเร็วเกินไป อาจทำให้เห็นการขายทำกำไรออกมาได้ทุกเมื่อ นักลงทุนจึงควรทยอยขายทำกำtuไร หรือหลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น KCE, SAPPE, JAS, TVO, PCSGH, IHL, TRUE, LANNA, ICHI, TU, GPSC, EA, GCAP และ ควรพักเงินในหุ้นปันผล ตามกลยุทธ์ Dividend Play ที่ฝ่ายวิจัยได้ออกบทวิเคราะห์วานนี้ หุ้นเด่นคือ SIRI, TASCO, TMT
กลยุทธ์การลงทุน เน้นหุ้นปันผล SIRI, TASCO, TMT
หลังจากที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเป็นปีที่ 3 และให้ผลตอบแทนจากต้นปีจนถึงปัจจุบันราว 3.88% คาดว่าการปรับฐานในระยะสั้นมีโอกาสเกิดขึ้น โดยมีปัจจัยกดดันอย่างน้อย 3 ประเด็น คือ
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่มทรงตัวได้ หลังจาก Dollar Index ลงไปทำจุดต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปีที่ 90.28 ล่าสุดเริ่มฟื้นตัวมาอยู่ที่ 90.97 จุด หลังจากเงินยูโรเริ่มชะลอการแข็งค่า ซึ่งการที่เงินดอลลาร์ไม่อ่อนค่าลงต่อ ทำให้เงินบาทที่แข็งค่าสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง (ปีนี้แข็งค่าไปแล้ว 2.21%) เริ่มชะลอการแข็งค่าด้วยเช่นกัน ล่าสุดอยู่ที่ 31.91 บาท/เหรียญ
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เริ่มปรับฐานบ้าง หลัง Dollar Index หยุดอ่อนค่า สะท้อนจากราคาน้ำมันดิบที่ทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี โดยราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุดอยู่ที่ 66.12 เหรียญฯ/บาร์เรล ฟื้นตัวจากระดับต่ำกว่า 60 เหรียญ ในปี 2560 อย่างไรก็ตาม ปัญหา Oversupply มีแนวโน้มเข้าสู่สมดุลได้เร็วขึ้นกว่าที่คาดไว้ในงวด 2H61 เนื่องจากปัญหาการเมืองในแหล่งผลิตที่สำคัญยังมีอยู่ รวมถึงความร่วมมือกับควบคุมกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC และ เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวยังคงหนุนให้ราคาน้ำมันดูไบมีโอกาสขึ้นแตะ 70 เหรียญฯ อีกไม่นานนัก
การประกาศงบฯ ของกลุ่ม ธ.พ. หลังจาก TISCO และ LHBANK รายงานไปแล้ว ธ.พ. ที่เหลือจะทยอยรายงานในช่วง 17-19 ม.ค. นี้ จึงต้องระวังการเกิด sell on fact ในหุ้นกลุ่ม ธ.พ. หลังจากที่ราคาหุ้นกลุ่มนี้ปรับขึ้นไปมาก (กลุ่ม ธ.พ. ปีนี้ปรับขึ้นไปแล้ว 6.38% ดีกว่า SET ที่ปรับขึ้น 3.88%)
ภายใต้สภาวะที่ SET Index ปรับขึ้นได้อย่างร้อนแรงและเร็วเกินไป จนทำให้ดัชนีปัจจุบันสูงเกินดัชนีเป้าหมายของ ASPS ปีนี้ที่ 1815 จุด อีกทั้งราคาหุ้นหลายบริษัทก็ปรับขึ้นแรงจน upside จำกัดหรือเกิน Fair Value ไปแล้ว กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำ selective buyเลือกลงทุนเป็นรายหุ้นที่มีปัจจัยบวกหนุน ดังนี้
1. หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนภาครัฐ และราคาหุ้นยัง laggards คือ รับเหมาก่อสร้าง : UNIQ, CK, STEC, SEAFCO และหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก พ.ร.บ. EEC คือ นิคมฯ : WHA, AMATA, โลจิสติกส์ : JWD, ผลิตน้ำประปา : EASTW
2. หุ้น Dividend Play ที่มีการจ่ายปันผลสูงสม่ำเสมอ คือ SIRI, TMT, INTUCH, TASCO และ MAJOR โดยแนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD(รายละเอียดอ่าน Dividend Play ฉบับเต็มที่ออกวานนี้)
กลยุทธ์การลงทุน
คาด SET เผชิญกับแรงขายระยะสั้นรับงบ 4Q60 กลุ่ม ธ.พ. และหุ้นปิโตรเลี่ยม (น้ำมัน/ถ่านหิน) อาจย่อตามราคาน้ำมัน หลังจาก Dollar หยุดอ่อนค่า แต่ระยะกลางเชื่อว่าราคาน้ำมันดูไบยังมีโอกาสเดินหน้าแตะ 70 เหรียญฯต่อบาร์เรล กลยุทธ์ฯ ยังให้ทยอยขายหุ้นที่เกินมูลค่าพื้นฐานปี 2561 (AOT, BJC, TOP, BBL, KBANK, IRPC, PTTGC, JAS, EA) แต่ให้สะสมหุ้น Laggards/ปันผลสูง/โภคภัณฑ์ (STEC, CK, UNIQ, INTUCH, BANPU, PTTEP, SCC, CPF, TMT) Top picks เลือกหุ้นปันผลเด่น SIRI([email protected]) และ TASCO([email protected])
ย้อนรอยตลาดหุ้นไทย … หุ้นขนาดใหญ่กดดัน SET Index ปิดตลาดแดนลบ
วานนี้ SET Index แกว่งตัวผันผวนตลอดวัน ช่วงเช้าดัชนีขึ้นทำจุดสูงสุดที่ระดับ 1831.66 จุด ก่อนที่ช่วงบ่ายจะย่อลงปิดที่ 1821.83 จุด ลดลงเล็กน้อย 0.83 จุด หรือ 0.05% มูลค่าการซื้อขาย 7.69 หมื่นล้านบาท แรงกดดันหลักๆ มาจากหุ้นขนาดใหญ่ของกลุ่มพลังงานปรับลดลง นำโดย PTT ลดลง 0.41% ตามด้วย PTTEP ลดลง 0.44% และ IVL ลดลง 2.13% ส่วนหุ้นโรงไฟฟ้า GULF ลดลง 3.27%, EA ลดลง 2.55%, และ CKP ลดลง 4.74% หลังจากก่อนหน้านี้ราคาหุ้นปรับขึ้นจนเกินมูลค่าพื้นฐานไปมากแล้วจึงแนะนำให้ switch ไป BGRIM ที่กำไร outperform กลุ่มโรงไฟฟ้า อีกทั้งราคาหุ้นที่ปรับฐานในช่วงนี้ทำให้ upside เปิดกว้างอีกครั้ง สำหรับหุ้นกลุ่มการเงินอย่าง AEONTS ถูกแรงขาย Sell on fact ลดลงกว่า 7.64% เช่นเดียวกับธนาคารพาณิชย์ขนาดกลาง-เล็ก TISCO, KKP, TCAP ลดลง 0.82%, 2.06% และ 0.42% ตามลำดับ ส่วนหุ้นรายตัวที่ปรับลดลงแรงคือ STA หลัง ครม. กำหนดให้ยางพาราเป็นสินค้าควบคุมซึ่งประเด็นดังกล่าวคาดว่าจะส่งผลต่อต้นทุนราคายางพารา ทำให้เห็นแรงเทขายช่วงท้ายจนราคาลดลงแรงกว่า 14.47%
ส่วนกลุ่มอสังหาฯ ปรับตัวขึ้นโดดเด่นสวนทางตลาด นำโดย SC เพิ่มขึ้น 2%, ANAN เพิ่มขึ้น 2.68%, QH 1.23%, LH 1.83% อีกกลุ่มที่ฟื้นตัวคือ ค้าปลีก BJC เพิ่มขึ้นกว่า 3.9%, HMPRO เพิ่มขึ้น 1.41% และ CPALL เพิ่มขึ้น 0.32% ตามลำดับ
สำหรับแนวโน้มตลาดฯ วันนี้ คาดดัชนีมีโอกาสพักตัวต่อ แนวรับ 1812 จุด แนวต้าน 1830 จุด
ปี 2560 ยอดขอ BOI และลงทุนใน EEC ดีกว่าคาด
สิ้นปี 2560 พบว่ายอดขอรับการส่งเสริมการลงทุน(BOI) สูงถึง 6.42 แสนล้านบาท เพิ่มขึ้น 22% จากปี 2559 และสูงกว่าเป้าหมายที่ BOI กำหนดไว้ 6 แสนล้านบาท และเป็นที่สังเกตว่ายอดขอ BOI ดังกล่าวประมาณ 46% เป็นการขอส่งเสริมลงทุนในพื้นที่ EEC และปี 2561 BOI ตั้งเป้ายอดขอราว 7.2 แสนล้านบาท ซึ่งถือเป็นการฟื้นตัวของการลงทุนเอกชนครั้งแรกในรอบหลายปี และเมื่อบวกกับความคาดหวัง การลงทุนสาธารณูปโภคพื้นฐานภาครัฐ ที่คาดว่าจะสูงมากในปีนี้ เนื่องจากการประมูลที่ล่าช้ามากในช่วง 12 เดือนที่ผ่าน ทำให้แผนลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน 8 ปี คือ 2558-2565 เป็นเงิน 2.4 ล้านล้านบาท ประมูลได้เพียง 4.7 แสนล้านบาท หรือคิดเป็น 17% ของงบลงทุนทั้งหมด ดังนั้นในช่วงที่เหลืออีก 5 ปี เม็ดเงินประมูลจึงสูงราว 2 ล้านล้านบาท (83% ของแผน) โดยเฉพาะปี 2561 นี้ คาดจะมีงานประมูลที่ค้างท่อ ราว 9.2 แสนล้านบาท อาทิ รถไฟฟ้าสายสีส้ม ตลิ่งชัน-ศูนย์วัฒนธรรม, ทางด่วนดาวคะนอง เป็นต้น
ทั้งนี้ยังไม่รวมโครงการลงทุนก่อสร้างใน EEC อาทิ รถไฟเชื่อม 3 สนามบินราว 2.26 แสนล้านบาท , ท่าเรือแหลมฉบังเฟส 3 ราว 3.5 หมื่นล้านบาท และรถไฟความเร็วสูงไทย-จีน 1.79 แสนล้านบาท เป็นต้น ในสถานการณ์นี้ถือว่าเอื้อประโยชน์ต่อหุ้นที่ที่เกี่ยวข้องดังนี้
กลุ่มนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งมีที่ดินพร้อมขายคือ WHA เป็นผู้ที่มีที่ดินพร้อมขายใน EEC มากที่สุดราว 5,098 ไร่ และอันดับที่ 2 คือ AMATA มีที่ดิน 2,891 ไร่ ประกอบกับราคาประเมินที่ดินใน EEC รอบปี 2559-2562 เพิ่มขึ้น 22.5%, 12.4% และ 14.3% ตามลำดับ จากราคาประเมินรอบปี 2555-2558 ทำให้ฝ่ายวิจัยปรับไปใช้วิธีการประเมินมูลค่าหุ้นด้วยวิธี NAV โดยใช้ราคาขายที่ดินเฉลี่ยปัจจุบันใน EEC โดยได้ WHA([email protected]) ยังมี Upside 10.1% และ AMATA([email protected]) มี Upside 25.2%
กลุ่มให้บริการสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน (น้ำ ,ไฟฟ้า และระบบขนส่ง) คือ EASTW(FV@B 14.60) ที่ประกอบธุรกิจบริหารจัดการระบบท่อส่งน้ำดิบและขายน้ำดิบ ซึ่งรายได้ราว 65% มาจาก 3 จังหวัด EEC ได้แก่ จ.ฉะเชิงเทรา จ.ระยอง และ จ.ชลบุรี จึงได้ประโยชน์จากความต้องการใช้น้ำที่เพิ่มตามการขยายตัวของนิคมอุตสาหกรรม มี Upside 17.7%, JWD( FV@B 14.0) ผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ในประเทศครบวงจร ทั้ง บริการรับฝากและบริหารสินค้า, บริการขนส่งสินค้าในประเทศ และให้เช่าอาคารสำนักงานและคลังสินค้า มี Upside 13.8% ,รับเหมาก่อสร้าง อาทิ STEC, CK, ITD, UNIQ แม้หุ้นบางบริษัทจะปรับตัวขึ้นมาจนมี upsie เหลือน้อยลงคือ STEC(FV@B 30.00) มี upside 12% ส่วนที่เหลือยังมี upside สูง คือ CK(FV@B36), ITD([email protected]) และ UNIQ(FV@B24) ราว 26% 26% และ 42% ตามลำดับ
ต่างชาติซื้อหุ้นในภูมิภาคเกือบทุกประเทศ ยกเว้นไทย
วานนี้ต่างชาติซื้อสุทธิหุ้นในภูมิภาคต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ด้วยมูลค่าราว 441 ล้านเหรียญ และเป็นการซื้อสุทธิถึง 4 ประเทศ คือ เกาหลีใต้ซื้อสุทธิ 308 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2) ตามมาด้วยไต้หวัน 127 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 2), ฟิลิปปินส์ 14 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 3) และอินโดนีเซีย 9 ล้านเหรียญ (ซื้อสุทธิเป็นวันที่ 12) ยกเว้นตลาดหุ้นไทยเพียงแห่งเดียวที่ต่างชาติขายสุทธิ 16 ล้านเหรียญ หรือ 526 ล้านบาท (มียอดขายสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีราว 9.25 พันล้านบาท) ต่างกับสถาบันในประเทศที่ยังเดินหน้าซื้อสุทธิอีก 3.51 พันล้านบาท (หนุนยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีสูงถึง 1.54 หมื่นล้านบาท)
ส่วนทางกับทางด้านตลาดตราสารหนี้ไทย สถาบันในประเทศซื้อสุทธิ 2.08 หมื่นล้านบาท เช่นเดียวกับต่างชาติที่ยังซื้อสุทธิอีก 1.08 หมื่นล้านบาท (ซื้อสุทธิติดต่อกันเป็นวันที่ 4) หนุนยอดซื้อสุทธิสะสมตั้งแต่ต้นปีสูงถึง 8.58 หมื่นล้านบาท (แบ่งเป็นซื้อตราสารหนี้ระยะสั้น 5.44 หมื่นล้านบาท และระยะยาว 3.14 หมื่นล้านบาท) ซึ่งเป็นปัจจัยหนึ่งที่กดดันให้บาทแข็งค่าขึ้นกว่า 1.96% (ytd) โดยล่าสุดอยู่ที่ 31.92 บาท/ดอลลาร์
คาดเห็นแรงขายรับงบกลุ่ม ธ.พ. ให้ switch ไปสะสมหุ้นปันผลเด่น
หลังจากที่ TISCO และ LHBANK เป็น 2 ธ.พ. แรกที่มีการประกาศงบฯ ออกมา เริ่มจาก TISCO ที่ผลประกอบการเป็นไปตามคาด และแม้กำไรสุทธิปี 2560 จะสูงสุดเป็นประวัติการณ์ แต่ก็ยังเห็น Sell on fact โดยราคาหุ้นปรับลดลงมากว่า 3% ใน 2 วันทำการล่าสุด อย่างไรก็ตามราคาที่ลดลงแรงทำให้ Upside เปิดกว้างกว่า 20% จึงเป็นจังหวะที่เข้าสะสมได้ เนื่องจาก Div. yield สูงถึง 6% ตามด้วย LHBANK ราคาหุ้นปรับขึ้นได้แม้ว่านักวิเคราะห์จะมีการปรับประมาณการฯ ปี 2561-62 ลง แต่เนื่องจากราคาหุ้นยังค่อนข้าง laggard กลุ่มฯ ในช่วงที่ผ่านมา จึงทำให้ราคาหุ้นไม่ถูกขายออกมา
ขณะที่ ธ.พ. แห่งอื่นๆ คาดจะทยอยรายงานงบฯ ช่วงวันที่ 17-19 ม.ค. นี้ โดย ธ.พ. ที่คาดว่าจะมีกำไรสุทธิเติบโตทั้ง QoQ และ YoY ได้แก่ BBL (+8.8 QoQ, +7.4%YoY), TMB (+9.7%QoQ, +27%YOY) และ TCAP (+6.9%QoQ, 129%YOY) หากออกมาเป็นไปตามคาดหรือแย่กว่าคาดก็ต้องระมัดระวังการเกิด sell on fact ได้เช่นกัน โดยเฉพาะหุ้นกลุ่ม ธ.พ. ที่ราคาหุ้นเกิน Fair Value ไปแล้ว หรือมี upside จำกัด คือ BBL, BAY, KTB, KBANK, TMB จึงแนะนำให้รอราคาปรับฐานหลังการรายงานงบฯ เสร็จสิ้น
นอกจากนี้ การที่ SET Index ปรับขึ้นแรงและเร็วเกินไป อาจทำให้เห็นการขายทำกำไรออกมาได้ทุกเมื่อ นักลงทุนจึงควรทยอยขายทำกำtuไร หรือหลีกเลี่ยงหุ้นที่ราคาเกิน Fair Value ไปแล้ว เช่น KCE, SAPPE, JAS, TVO, PCSGH, IHL, TRUE, LANNA, ICHI, TU, GPSC, EA, GCAP และ ควรพักเงินในหุ้นปันผล ตามกลยุทธ์ Dividend Play ที่ฝ่ายวิจัยได้ออกบทวิเคราะห์วานนี้ หุ้นเด่นคือ SIRI, TASCO, TMT
กลยุทธ์การลงทุน เน้นหุ้นปันผล SIRI, TASCO, TMT
หลังจากที่ตลาดหุ้นไทยปรับตัวขึ้นเป็นปีที่ 3 และให้ผลตอบแทนจากต้นปีจนถึงปัจจุบันราว 3.88% คาดว่าการปรับฐานในระยะสั้นมีโอกาสเกิดขึ้น โดยมีปัจจัยกดดันอย่างน้อย 3 ประเด็น คือ
ค่าเงินดอลลาร์สหรัฐเริ่มทรงตัวได้ หลังจาก Dollar Index ลงไปทำจุดต่ำสุดในรอบกว่า 3 ปีที่ 90.28 ล่าสุดเริ่มฟื้นตัวมาอยู่ที่ 90.97 จุด หลังจากเงินยูโรเริ่มชะลอการแข็งค่า ซึ่งการที่เงินดอลลาร์ไม่อ่อนค่าลงต่อ ทำให้เงินบาทที่แข็งค่าสุดในรอบ 3 ปีครึ่ง (ปีนี้แข็งค่าไปแล้ว 2.21%) เริ่มชะลอการแข็งค่าด้วยเช่นกัน ล่าสุดอยู่ที่ 31.91 บาท/เหรียญ
ราคาสินค้าโภคภัณฑ์ เริ่มปรับฐานบ้าง หลัง Dollar Index หยุดอ่อนค่า สะท้อนจากราคาน้ำมันดิบที่ทำระดับสูงสุดในรอบกว่า 3 ปี โดยราคาน้ำมันดิบดูไบล่าสุดอยู่ที่ 66.12 เหรียญฯ/บาร์เรล ฟื้นตัวจากระดับต่ำกว่า 60 เหรียญ ในปี 2560 อย่างไรก็ตาม ปัญหา Oversupply มีแนวโน้มเข้าสู่สมดุลได้เร็วขึ้นกว่าที่คาดไว้ในงวด 2H61 เนื่องจากปัญหาการเมืองในแหล่งผลิตที่สำคัญยังมีอยู่ รวมถึงความร่วมมือกับควบคุมกำลังการผลิตของกลุ่ม OPEC และ Non-OPEC และ เศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวยังคงหนุนให้ราคาน้ำมันดูไบมีโอกาสขึ้นแตะ 70 เหรียญฯ อีกไม่นานนัก
การประกาศงบฯ ของกลุ่ม ธ.พ. หลังจาก TISCO และ LHBANK รายงานไปแล้ว ธ.พ. ที่เหลือจะทยอยรายงานในช่วง 17-19 ม.ค. นี้ จึงต้องระวังการเกิด sell on fact ในหุ้นกลุ่ม ธ.พ. หลังจากที่ราคาหุ้นกลุ่มนี้ปรับขึ้นไปมาก (กลุ่ม ธ.พ. ปีนี้ปรับขึ้นไปแล้ว 6.38% ดีกว่า SET ที่ปรับขึ้น 3.88%)
ภายใต้สภาวะที่ SET Index ปรับขึ้นได้อย่างร้อนแรงและเร็วเกินไป จนทำให้ดัชนีปัจจุบันสูงเกินดัชนีเป้าหมายของ ASPS ปีนี้ที่ 1815 จุด อีกทั้งราคาหุ้นหลายบริษัทก็ปรับขึ้นแรงจน upside จำกัดหรือเกิน Fair Value ไปแล้ว กลยุทธ์การลงทุนจึงแนะนำ selective buyเลือกลงทุนเป็นรายหุ้นที่มีปัจจัยบวกหนุน ดังนี้
1. หุ้นที่ได้ประโยชน์จากการลงทุนภาครัฐ และราคาหุ้นยัง laggards คือ รับเหมาก่อสร้าง : UNIQ, CK, STEC, SEAFCO และหุ้นที่ได้ประโยชน์จาก พ.ร.บ. EEC คือ นิคมฯ : WHA, AMATA, โลจิสติกส์ : JWD, ผลิตน้ำประปา : EASTW
2. หุ้น Dividend Play ที่มีการจ่ายปันผลสูงสม่ำเสมอ คือ SIRI, TMT, INTUCH, TASCO และ MAJOR โดยแนะนำก่อนขึ้นเครื่องหมาย XD ราว 2 เดือน และขายทำกำไรในวันขึ้น XD(รายละเอียดอ่าน Dividend Play ฉบับเต็มที่ออกวานนี้)
นักวิเคราะห์ : ภรณี ทองเย็น เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004146
เทิดศักดิ์ ทวีธีระธรรม เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 004132
พบชัย ภัทราวิชญ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 052647
ภราดร เตียรณปราโมทย์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 075365
ฐกฤต ชาติเชิดศักดิ์ เลขทะเบียนนักวิเคราะห์: 087636
โยธิน ภูคงนิล ผู้ช่วยนักวิเคราะห์เชิงปริมาณ
วรรณพฤกษ์ โกมลวิทยาธร ผู้ช่วยนักเศรษฐศาสตร์
OO4573