- Details
- Category: สำนักนายกฯ
- Published: Sunday, 30 April 2017 22:47
- Hits: 9040
สมคิด มั่นใจส่งออกปีนี้โตเข้าเป้า 5% หลัง Q1/60 โตสูงถึง 4.9% ถือเป็นสัญญาณที่ดี
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การส่งออกของไทยเดือนมี.ค.60 ที่ขยายตัวได้ถึง 9.2% ถือว่าเป็นตัวเลขที่ดี และเป็นสัญญาณที่ชี้ให้เห็นว่าเศรษฐกิจโลกได้ฟื้นตัวขึ้นแล้ว ส่งผลให้การส่งออกไทยมีมูลค่าเพิ่มมากขึ้นด้วย โดยยังเชื่อว่าทั้งปี 60 นี้การส่งออกจะขยายตัวได้ถึง 5% ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้
ล่าสุดวันนี้ กระทรวงพาณิชย์ รายงานภาวะการส่งออกในเดือนมี.ค. มีมูลค่าถึง 20,888 ล้านดอลลาร์ ขยายตัว 9.2% ทำให้ในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ การส่งออกไทยขยายตัวได้ 4.9%
อย่างไรก็ตาม เศรษฐกิจไทยจะเติบโตได้มากน้อยเพียงใดนั้น ต้องขึ้นกับการลงทุนของภาคเอกชนด้วย เพราะปัจจัยอื่นต่างก็ปรับตัวดีขึ้นแล้ว เช่น ราคาสินค้าเกษตรก็ปรับตัวดีขึ้น การท่องเที่ยวก็มีแนวโน้มดีมาตลอด 2-3 เดือนที่ผ่านมา ดังนั้นในขณะนี้จึงถือว่าไม่มีเรื่องใดที่น่าเป็นห่วง ซึ่งในภาพรวมเศรษฐกิจเชื่อว่า GDP ไตรมาส 1/60 จะเติบโตได้ไม่ต่ำกว่าไตรมาส 4/59 ขณะเดียวกันเชื่อว่า GDP ไตรมาส 2/60 ก็จะเติบโตดีขึ้นกว่านี้ เนื่องจากเริ่มเห็นโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐที่จะทยอยออกมา
ส่วนข้อกังวลเกี่ยวกับสถานการณ์โลกที่เกิดขึ้นในขณะนี้ นายสมคิด มองว่า เรื่องความเสี่ยงมีอยู่ด้วยกันทุกประเทศ ไม่เฉพาะประเทศไทยประเทศเดียว ซึ่งรัฐบาลจะไม่ประมาท และจะติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด พร้อมมองว่า ในภาพรวมเศรษฐกิจไทยมีแนวโน้มที่ดีขึ้น แต่ต้องหาแนวทางที่ทำให้การเติบโตกระจายลงไปถึงเศรษฐกิจฐานรากด้วย เพราะเมื่อระดับเศรษฐกิจฐานรากมีเม็ดเงินมากพอ ก็จะทำให้มีรายได้มากขึ้น และส่งผลดีต่อภาพรวมเศรษฐกิจทั้งระบบ
สมคิด มอบนโยบายสภาพัฒน์ สั่งยกเครื่องเป็นคลังสมองประเทศ แนะปรับโครงสร้างรองรับกม.ปฎิรูป-ยุทธศาสตร์ชาติ
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวภายหลังตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายให้กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ว่า สิ่งที่รัฐบาลอยากให้ สศช.ทำ คือ ต้องมีหน้าที่คิดมองไปข้างหน้าว่าประเทศไทยจะเป็นอย่างไรในอีก 20-25 ปีข้างหน้า เพราะ สศช.ถือเป็นคลังสมองของประเทศ และต้องมีการทบทวนว่า มีเรื่องอะไรบ้างที่ สศช.จะไม่ทำอีกต่อไป
ส่วนการจัดทำงบลงทุนรัฐวิสาหกิจที่เป็นงานระยะสั้นและระดับปฏิบัติการ เช่น การรวบรวมและเร่งรัดการใช้จ่ายลงทุน ควรโอนภารกิจให้สำนักคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ (สคร.) ซึ่งกำกับนโยบายและงบดำเนินการของรัฐวิสาหกิจอยู่แล้ว เพื่อให้ สศช.ให้ความสำคัญกับการวางแผนและวิเคราะห์โครงการลงทุนขนาดใหญ่ได้
หลังจากนี้ไป สศช.จะต้องปรับปรุงและเปลี่ยนแปลงทั้งภาพรวม และโครงสร้างองค์กร เพื่อให้สามารถเข้ามาช่วยงานของรัฐบาลได้อย่างเต็มที่ สำหรับบทบาทที่อยากเห็นในอนาคต คือ การปรับโครงสร้างสำนักงาน เช่น การเพิ่มสำนักยุทธศาสตร์ชาติและการปฏิรูปประเทศ, เพิ่มสำนักเพื่อดูแลภารกิจอื่นที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักภาคและเมือง สำนักความมั่นคง, ยกระดับกลุ่มงานเป็นสำนัก เช่น กลุ่มงานด้านยุทธศาสตร์ต่างประเทศ เป็นสำนักยุทธศาสตร์ต่างประเทศ เป็นต้น เพื่อเป็นการรองรับการปรับโครงสร้างสำนักงานให้สอดคล่องกับร่าง พ.ร.บ.แผนและขั้นตอนการดำเนินการปฏิรูปประเทศ และร่าง พ.ร.บ.การจัดทำยุทธศาสตร์ชาติ
ในส่วนของการแก้ไขร่าง พ.ร.บ.พัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ นายสมคิด กล่าวว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็นจากภาคประชาชนนั้น คาดว่าจะแล้วเสร็จและนำเสนอเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรีพิจารณาได้ภายใน 2 สัปดาห์
เอดีบี'ชี้ศก.ไทยปีนี้โต 3.5%'ทุนสำรอง'ปึ้ก!ไม่หวั่นการเงินโลกป่วน
แนวหน้า : เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2560 นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้ เดินทางไปตรวจเยี่ยมและมอบนโยบายการดำเนินงานที่ สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.)
นายสมคิด กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ สศช.ปรับเปลี่ยนโครงสร้างองค์กรใหม่ โดยให้ทบทวนบทบาทหน้าที่ให้มีวิสัยทัศน์ระยะยาว มองไปอีก 20 ปีข้างหน้าว่าควรจะเป็นอย่างไร โดย สศช.จะต้องมีหน้าที่คิดนำไปข้างหน้า ส่วนภาพรวมของเศรษฐกิจไทยในไตรมาสแรกของปี 2560 คาดว่าจะขยายตัวได้ดีกว่าไตรมาสที่ 4 ของปี 2559 ที่ขยายตัวได้ 3% เป็นผลมาจากภาคการลงทุนต่างๆ ขณะที่ธนาคารโลก หรือเวิลด์แบงก์ได้ปรับลดประมาณการเศรษฐกิจไทยปีนี้ลดลงเหลือ 3% จากเดิมที่ 3.3% ต่อปี เชื่อว่าในอนาคตเวิลด์แบงก์จะมีการปรับประมาณการใหม่แน่นอน
นางลัษมณ อรรถาพิช เศรษฐกรอาวุโส สำนักงานผู้แทนประเทศไทย ธนาคารพัฒนาเอเชีย (เอดีบี)แถลงรายงานการวิเคราะห์แนวโน้มเศรษฐกิจเอเชียประจำปี 2560 ว่า เอดีบีประมาณการ อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีของไทยในปีนี้ คาดว่าจะขยายตัวได้ 3.5% และในปี 2561 จะขยายตัวได้ 3.6% โดยมีปัจจัยสนับสนุนจากภาคการส่งออกที่มีแนวโน้มขยายตัวได้ดี และบริโภคภายในประเทศดีขึ้นต่อเนื่องเช่นเดียวกัน รวมถึงราคาสินค้าเกษตรสูงขึ้นทำให้รายได้เกษตรกรปรับตัวดีขึ้นตามไปด้วย
นอกจากนี้ การดำเนินโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐในโครงสร้างพื้นฐาน เช่น ก่อสร้างรถไฟทางคู่ ทางหลวงสายหลัก โครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคมต่างๆ ยังเป็นปัจจัยสำคัญที่เป็นแรงขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ ด้านหนี้ครัวเรือนที่อยู่ในระดับสูงยังฉุดรั้งการบริโภคอยู่บ้าง เพื่อแก้ไขปัญหาภาระดอกเบี้ยจากการกู้ยืมเงินนอกระบบที่สูงเกินควร แต่ทางแก้รัฐบาลได้มีโครงการ ใบอนุญาตทำธุรกิจสินเชื่อรายย่อยแล้ว
สำหรับ ปัจจัยเสี่ยงของเศรษฐกิจไทยที่ต้องจับตามอง คือ ความไม่แน่นอนของนโยบายการค้าของสหรัฐ ถึงแม้ว่าสัดส่วนการส่งออกของไทยไปยังสหรัฐจะมีมูลค่า 11% ของมูลค่าการส่งออกทั้งหมด แต่ก็ไม่สามารถหลีกเลี่ยงผลกระทบ ที่จะเกิดกับห่วงโซ่อุปทานของภูมิภาคเอเชียได้ นอกจากนี้ ยังต้องจับตา ความผันผวนของเงินทุนเคลื่อนย้าย ที่เป็นปัจจัยเสี่ยงที่ต้องจับตามอง อย่างไรก็ดี สถานะการเงินพบว่าทุนสำรองระหว่างประเทศที่แข็งแกร่งสามารถช่วยรองรับความ ไม่แน่นอนดังกล่าวได้
ด้าน นายสมชัย สัจจพงษ์ ปลัดกระทรวงการคลัง กล่าวว่า ในสัปดาห์หน้าสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) จะมาสรุปมาตรการเพิ่มรายได้เกษตรกรแบบยั่งยืนให้กระทรวงการคลังพิจารณา เพื่อนำเสนอให้นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลัง เห็นชอบ และ ส่งเรื่องให้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อนุมัติต่อไป ทั้งนี้จะนำมาตรการประกัน รายได้เกษตรกรว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไรมาพิจารณาด้วย
สำหรับ มาตรการรับจำนำจะไม่มีการนำมาใช้ เพราะการรับจำนำที่ผ่านมาไม่ได้เป็นการรับจำนำ เพราะมีการให้ราคาสูงกว่าตลาด จึงเป็นการซื้อขาดมากกว่า ทำให้เกิดความเสียหายและเป็นภาระ งบประมาณอย่างม
อินโฟเควสท์