WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษ'สมคิด'อ้างดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจโงหัวเทียบ'มาม่า'ยอดใช้ปูนซีเมนต์ขยับ 5%

    แนวหน้า : อดีตผู้บริหาร 'เอสซีจี' ยันยอดใช้ปูนฯต้นปีขยายตัว ส่งสัญญาณเศรษฐกิจดี ด้าน ‘สมคิด’มั่นใจนโยบายรัฐเดินทางถูกทางแล้ว ระบุยอดขายปูนฯเพิ่มเป็น ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจดีเทียบได้กับยอดขาย ‘มาม่า’ที่เพิ่มขึ้น จี้ ‘บีโอไอ’ ตั้งหน่วยรบ พิเศษดึงยอดลงทุนให้ได้ 7 แสนล้านบาท ในปีนี้

      นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้เดินทาง ตรวจเยี่ยมการทำงานของ สำนักงาน คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) โดยมีนายกานต์ ตระกูลฮุน ในฐานะที่ปรึกษารองนายกรัฐมนตรี ด้านเศรษฐกิจ และอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย หรือเอสซีจี ร่วมเดินทาง

      นายกานต์กล่าวว่า ภาพรวมการใช้ซีเมนต์ปรับตัวดีขึ้นมาก สะท้อนภาวะการ ลงทุนและเศรษฐกิจอยู่ในเกณฑ์ที่ดีขึ้น โดยไตรมาส 1 ปีนี้ ขยายตัว 5% จากช่วงเดียวกันของปีก่อน และขยายตัว 2% จากไตรมาสก่อนหน้า ซึ่งเป็นการขยายตัว ในภาคการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของรัฐบาลเป็นหลักถึง 19% จาก 11% มีสัดส่วนเพิ่มขึ้นเกิน 30% ของการใช้ซีเมนต์ทั้งหมด และภาคอุตสาหกรรม หรือการสร้างโกดังโรงงานขยายตัว 1% จากติดลบ 1-2% มีสัดส่วน 18%

       อย่างไรก็ตาม การใช้ปูนซีเมนต์ในภาคที่อยู่อาศัย ซึ่งมีสัดส่วน 50% ของการใช้ทั้งหมด พบว่า ไตรมาส 1 ปีนี้ แต่ก็ถือว่าติดลบ 2% น้อยลงจากช่วงเดียวกันของ ปีก่อนติดลบ 4%

      "การใช้ปูนซีเมนต์ที่เพิ่มขึ้นถือเป็นดัชนีชี้วัด ทางเศรษฐกิจที่ดีขึ้นเทียบได้กับการบริโภคบะหมี่กึ่ง สำเร็จรูปที่เป็นตัวชี้วัดเศรษฐกิจได้เช่นกัน"

       ด้านนายสมคิดกล่าวว่า ได้สั่งการให้บีโอไอ ตั้งหน่วยเฉพาะกิจ เปรียบเสมือนหน่วยรบพิเศษ ติดตามการลงทุนของผู้ประกอบการที่ได้รับอนุมัติส่งเสริมการลงทุนไปก่อนหน้านี้ว่า มีการลงทุนจริงหรือไม่อย่างไร มีปัญหาอุปสรรคอย่างไร และมีความต้องการให้เข้าไปช่วยเหลือเพื่อให้เกิดการลงทุนจริงตามเป้าหมายที่ตั้งเป้าไว้ปีนี้ไม่ต่ำกว่า 600,000-700,000 ล้านบาท จากปี 2558 ที่มีการลงทุนจริง 500,000 ล้านบาท

      ส่วนคำขอส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรกปีนี้ มีแนวโน้มดีมาก มีจำนวน 311 โครงการ เพิ่มขึ้น 98% เทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน มีมูลค่าคำขอรับส่งเสริมการลงทุน 89,900 ล้านบาท เพิ่มขึ้น 234% ชี้ให้เห็นว่า แนวทางการส่งเสริมสิทธิประโยชน์ของบีโอไอ เริ่มเดินมาถูกทางแล้ว โดยประเทศที่ลงทุนมากที่สุด คือ ญี่ปุ่น เป็นการผลิตชิ้นส่วนระบบเครื่องยนต์ 7,200 ล้านบาท และการผลิตรถยนต์ 2,875 ล้านบาท, เนเธอร์แลนด์ ซึ่งเป็นการลงทุนของญี่ปุ่นผ่านเนเธอร์แลนด์ เช่น การผลิตเคมีภัณฑ์ (พอลิเมอร์) ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม 4,000 ล้านบาท, คอนแทคเลนส์ 2,401 ล้านบาท, จีน เป็นการผลิตซิลิกิ 1,400 ล้านบาท ชิ้นส่วนโซลาร์เซลล์ 728 ล้านบาท และเกาหลีใต้ เป็นการผลิตเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ใช้เทคโนโลยี ขั้นสูง 3,541 ล้านบาท

      "การยื่นขอคำรับส่งเสริมการลงทุน มาจาก 4 ประเทศเป็นหลัก ดังนั้นต่อไป ควรเน้นเปิดเกมรุกเจาะนักลงทุนในกลุ่มนี้ มากขึ้น แต่ก็จะไม่ทิ้งกลุ่มอื่นๆ โดยตัวเลขขอรับส่งเสริมการลงทุนไตรมาสแรกแตะ 100,000 ล้านบาทแล้ว คาดว่า ไตรมาส 2 จะได้อีก 100,000 ล้านบาท รวมๆ แล้วครึ่งปีเชื่อว่า จะได้ 200,000 ล้านบาท ทั้งปีตัวเลขคำขอที่บีโอไอตั้งหมายไว้ 450,000 ล้านบาท และจะพยายามให้ได้มากกว่าเป้าหมายที่ตั้งไว้ รวมทั้งตั้งหน่วยรบพิเศษจู่โจมช่วยเหลือนักลงทุนที่ยังไม่ลงจริง ให้ได้ตามเป้าหมาย 600,000-700,000 ล้านบาท" นายสมคิดกล่าว

       สำหรับ แนวโน้มการยื่นขอโครงการขนาดใหญ่ที่จะยื่นคำขอในช่วง 6 เดือน (ม.ค.-มิ.ย.) บีโอไอรายงานว่า มีโครงการตามนโยบายคลัสเตอร์ระหว่างม.ค.-มี.ค. มี 10 โครงการ เงินลงทุน 21,608 ล้านบาท คาดว่า จะยื่นภายในมิ.ย. 20 โครงการ มูลค่า 78,000 ล้านบาท โครงการขนาดใหญ่ ระหว่างม.ค.-มี.ค. 17 โครงการ มูลค่า 37,564 ล้านบาท คาดว่า จะยื่นภายในมิ.ย. 7 โครงการ มูลค่า 16,300 ล้านบาท

       "ตอนนี้เราเดินมาถูกทางแล้ว พยายามเดินต่อไป กระตุ้นการลงทุน กระตุ้นการบริโภค ดูแลภาคเกษตร เพื่อชดเชยการส่งออก ที่ได้รับผลกระทบจากเศรษฐกิจโลก และตอนนี้ดัชนีชี้วัดเศรษฐกิจเริ่มดีขึ้น ส่วนตัวผมจะวัดจากมาม่า กับความต้องการปูนซีเมนต์ ล่าสุดความต้องการปูนซีเมนต์เริ่มดีขึ้น แล้ว ชี้ให้เห็นว่าทุกอย่างเริ่มดีขึ้น ที่สำคัญต้องทำให้การเมืองมีเสถียรภาพด้วย ซึ่งรัฐบาลก็พยายาม ดูแลไม่มีมีสุญญากาศ เชื่อว่าทุกอย่างจะไปได้" นายสมคิดกล่าว

ขุนคลังพร้อมกระตุ้นเพิ่มหากศก.โดนปัญหารุมซ้ำ

      ไทยโพสต์ : สัตหีบ * คลังพร้อมออก มาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจเพิ่มหากเกิดปัญหา พร้อมออกมาตรการเสริมการลงทุนเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก หวังดึงดูดใจนักลงทุนเพิ่มเติม

      นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.การคลัง เปิดเผยภายหลังการเปิดการสัมมนาโครงการ CCO-MOF สัญจร ว่า ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในขณะนี้เริ่มกลับมาฟื้นตัวได้บ้าง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกไปแล้ว แต่หลังจากนี้หากเศรษฐกิจเกิดปัญหา รัฐบาลก็พร้อมที่จะออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมลงไป แต่ขณะนี้ยังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง

      นอกจากนี้ รัฐบาลยัง เตรียมออกมาตรการเพื่อสนับ สนุนการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกที่เป็นเขตที่มีการลงทุนใหญ่ที่สุดของประเทศ หลังพบว่าการลงทุนในเขตภาคตะวันออกในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่ารัฐบาลจะมีการ ออกมาตรการส่งเสริมการลง ทุนออกมาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งใน เบื้องต้นจะมีมากกว่ามาตรการทางภาษีที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุ บัน ซึ่งระหว่างนี้อยู่ระหว่างการออกแบบเพื่อให้สามารถดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้น

       "ภาคตะวันออกเป็นพื้น ที่ใหญ่ที่สุด ถ้ามีมาตรการส่งเสริม การลงทุนออกมา ก็จะเป็นประ โยชน์อย่างมาก ส่วนมาตรการเสริมจะให้มากกว่ามาตรการภาษีที่ให้อยู่ตอนนี้ ซึ่งอยู่ระหว่าง การคิดอยู่ เพราะเราต้องคิดว่า เวลาจะชวนใครมาลงทุนก็ต้องมีมาตรการอะไรที่รองรับในสิ่ง ที่เขาอยากได้จริงๆ เพราะปัจจุบัน ในเรื่องภาษีมีการให้กันทั่วโลก และบางประเทศนั้นมากกว่าไทยด้วยซ้ำ ออพชั่นของรัฐบาลมันเปิดกว้างมากๆ ที่จะทำตรงนี้" นายอภิศักดิ์กล่าว

      นายอภิศักดิ์ กล่าวอีกว่า ยุทธศาสตร์การดำเนินงานหลัก ของกระทรวงการคลังในปีนี้ จะเน้น 5 ด้าน ได้แก่ 1.การ สนับสนุนการเติบโต ซึ่งแบ่งเป็น ระยะสั้นที่จะเน้นออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ เช่น การเติมเงินเข้ากอง ทุนหมู่บ้าน การช่วยเหลือเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เป็นต้น ส่วน ระยะยาว เน้นเรื่องการลงทุนทั้ง ของภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะ โครงการโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งที่ผ่านมาการลงทุนมีความล่าช้า 2.การลดการเหลื่อมล้ำ 3.วางโครง สร้างพื้นฐานการเงินของประเทศ จะเน้นเรื่อง e-Payment 4. เน้นเรื่องธรรมาภิบาล และ 5.การ อำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ.

รัฐจ่อออกมาตรการลงทุน คลังให้สิทธิพิเศษเพิ่มจูงใจเขต ศก.ภาคตะวันออก

    บ้านเมือง : คลังเล็งออกมาตรการสนับสนุนการลงทุนเขต ศก.พิเศษภาคตะวันออก หวังจูงใจนักลงทุนเพิ่ม ระบุไม่ขอยืนยันเรื่อง 21 คนไทยในเอกสารปานามาเลี่ยงภาษี รอ ป.ป.ง.ตรวจสอบแล้วส่งให้กรมสรรพากรพิจารณาต่อไป

    นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง เปิดเผยภายหลังเปิดการสัมมนาโครงการ CCO-MOF สัญจรว่า โดยภาพรวมเศรษฐกิจไทยในขณะนี้เริ่มกลับมาฟื้นตัวได้บ้าง ซึ่งสอดคล้องกับมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจที่ออกไปแล้ว แต่หลังจากนี้หากเศรษฐกิจเกิดปัญหา รัฐบาลก็พร้อมที่จะออกมาตรการกระตุ้นเพิ่มเติมลงไป เพียงแต่ขณะนี้มองว่ายังไม่มีอะไรน่าเป็นห่วง

   นอกจากนี้ รัฐบาลยังเตรียมออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยเฉพาะในภาคตะวันออกที่เป็นเขตที่มีการลงทุนใหญ่ที่สุดของประเทศ หลังพบว่าการลงทุนในเขตภาคตะวันออกในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมาลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน แม้ว่ารัฐบาลจะมีการออกมาตรการส่งเสริมการลงทุนออกมาอย่างต่อเนื่อง โดยเบื้องต้นจะมีมากกว่ามาตรการทางภาษีที่ดำเนินการอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งระหว่างนี้อยู่ในช่วงการออกแบบเพื่อให้สามารถดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้น

      นายอภิศักดิ์ กล่าวต่อว่า ยุทธศาสตร์การดำเนินงานหลักของกระทรวงการคลังในปีนี้จะเน้น 5 ด้าน ได้แก่ 1.การสนับสนุนการเติบโต ซึ่งแบ่งเป็นระยะสั้น ที่จะเน้นออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบ เช่น การเติมเงินเข้ากองทุนหมู่บ้าน, การช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว เป็นต้น

     ส่วนระยะยาว เน้นเรื่องการลงทุนทั้งของภาครัฐและเอกชน โดยเฉพาะโครงการลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งที่ผ่านมาการลงทุนมีความล่าช้า เนื่องจากติดขัดในเรื่องของกฎระเบียบและกระบวนการ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจะเร่งดำเนินการในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คือ การเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะโครงการรถไฟฟ้าสายต่างๆ ซึ่งขณะนี้คณะรัฐมนตรี (ครม.) อยู่ระหว่างการพิจารณาในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสีม่วง ที่จะทำให้เกิดการลงทุนอย่างจริงจัง

    2.การลดความเหลื่อมล้ำ ขณะนี้รัฐบาลอยู่ระหว่างเตรียมมาตรการโครงการพี่ช่วยน้อง เพื่อให้บริษัทขนาดใหญ่เป็นแรงผลักดันในการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายเล็ก และโครงการ โซเชียล เอ็นเตอร์ไพรส์ต่างๆ 3.โครงสร้างพื้นฐานการเงินของประเทศ จะเน้นเรื่อง e-Payment รัฐบาลพยายามสร้างระบบการชำระเงินแบบอิเล็กทรอนิกส์ของประเทศ เพื่อให้เกิดความสะดวกและสามารถเชื่อมโยงการซื้อขายเข้ากับกรมสรรพากร และช่วยเรื่องการหลบเลี่ยงภาษีให้ทำได้ยากขึ้น และการขึ้นทะเบียนผู้มีรายได้น้อยที่จะเริ่มในช่วง ก.ค.นี้ ก่อนที่ระบบจะเสร็จสมบูรณ์ในปี 2560 4.เรื่องธรรมาภิบาล โดยเน้นทำเรื่องการลงบัญชีเดียวของผู้ประกอบการรายย่อยเพื่อให้เสียภาษีอย่างถูกต้อง และ 5.การอำนวยความสะดวกในด้านต่างๆ ซึ่งจะเชื่อมโยงกับเรื่อง Doing business อย่างไรก็ตามในส่วนโครงการแหลมฉบังเฟส 3 ขณะนี้ยังไม่ได้มีการหารือในเรื่องดังกล่าว แต่ยอมรับว่ามีคนสนใจและเข้ามาพูดคุยจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลในการดำเนินการดังกล่าว

    นายอภิศักดิ์ กล่าวถึงกรณีที่มีคนไทย 21 คนอยู่ในรายชื่อของเอกสารลับจากปานามาว่า ตามปกติแล้วการลงทุนในต่างประเทศนั้น บริษัทส่วนใหญ่มักจะไปจดทะเบียนในต่างประเทศที่ไม่มีการจัดเก็บภาษี ทำให้นักลงทุนไทยเลือกไปใช้สิทธิประโยชน์ส่วนนั้นมากกว่า ซึ่งยืนยันไม่ได้ว่าเป็นการเลี่ยงภาษีหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เป็นหน้าที่ของกรมสรรพากรจะตรวจสอบในรายละเอียดอีกครั้งว่าการจดทะเบียนบริษัทของ นักลงทุนไทยทั้ง 21 รายนั้น เพียงเพื่อทำธุรกิจหรือเพื่อเทคนิคในการเลี่ยงภาษีหรือเป็นเรื่องทางการเมืองหรือไม่

     ด้านนายประสงค์ พูนธเนศ อธิบดีกรมสรรพากร เปิดเผยว่า ตนยังไม่ได้รับหนังสือจากสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ที่จะให้เข้าตรวจสอบประวัติการชำระภาษีย้อนหลัง 5 ปีสำหรับบุคคลที่ปรากฏรายชื่อว่ามีการนำเงินไปตั้งบริษัทการค้านอกประเทศ อย่างไรก็ตาม การเข้าตรวจสอบเรื่องดังกล่าว ต้องมีหลักฐานที่เพียงพอ โดยจะต้องประสานข้อมูลจากสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน (ป.ป.ง.) ก่อนที่จะเข้าไปตรวจสอบเรื่องดังกล่าว

      นางมาลี โชคล้ำเลิศ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกรถยนต์ และชิ้นส่วน ยานยนต์ของไทยในปีนี้น่าจะขยายตัวได้ 3.8% เป็นมูลค่ากว่า 30,000 ล้านเหรียญสหรัฐ แม้ว่าภาวะเศรษฐกิจโลกโดยรวมจะชะลอตัวลง แต่ทั้งนี้ราคาน้ำมันที่ปรับลดลง รวมถึงขณะนี้ผู้ประกอบการมีการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิตยานยนต์ให้ตรงกับความต้องการของผู้บริโภค โดยเฉพาะเรื่องความห่วงใยสิ่งแวดล้อม ประกอบกับประเทศไทยยังคงทีศักยภาพด้านการผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ และทำให้ไทยยังคงเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมชิ้นส่วนยานยนต์ในอาเซียนอีกด้วย

คลังงัดมาตรการเสริมดึงนักลงทุนกระตุ้นเขตเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก

    แนวหน้า : นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รมว.คลังเปิดเผยภายหลังการเปิดการสัมมนาโครงการ CCO-MOF สัญจร ว่า รัฐบาลเตรียมออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษเพิ่มเติม โดยเฉพาะในภาคตะวันออกที่เป็นเขตที่มีการลงทุนใหญ่ที่สุดของประเทศ ซึ่งในเบื้องต้นจะมีมากกว่ามาตรการทางภาษีที่ดำเนินการให้สิทธิประโยชน์อยู่ในปัจจุบัน

    ทั้งนี้ กระทรวงการคลังอยู่ระหว่างการออกแบบเพื่อให้สามารถสร้างแรงดึงดูดใจนักลงทุนมากขึ้น เนื่องจากที่ผ่านมามีมาตรการทางภาษีที่รัฐบาลสนับสนุน แต่ยังพบว่า การลงทุนในเขตภาคตะวันออกในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน

      "ที่มองภาคตะวันออกเป็นพิเศษ เพราะว่าเป็นพื้นที่ใหญ่ที่สุด หากมีมาตรการส่งเสริมการลงทุนออกมาก็จะเป็นประโยชน์อย่างมาก ส่วนมาตรการเสริมจะเพิ่มจากเดิมที่มีอยู่ในเรื่องภาษีในปัจจุบัน เพื่ออำนวยความสะดวกให้มากขึ้น ซึ่งอยู่ระหว่างการพิจารณาอยู่ เพราะคิดว่า เวลาจะชวนใครมาลงทุนก็ต้องมีมาตรการอะไรที่รองรับในสิ่งที่อยากได้จริงๆ ตัวเลือกของรัฐบาลเปิดกว้างมาก มีการให้รัฐเข้าไปร่วมลงทุน หรือใช้เงินกองทุนเข้าไปสนับสนุน ให้เอกชนเกิดความเชื่อมั่น "นายอภิศักดิ์ กล่าว

     นายอภิศักดิ์ กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมาสิ่งที่รัฐบาลดำเนินการ คือ การช่วยเหลือผู้ที่มีรายได้น้อย เช่น การเติมเงินเข้ากองทุนหมู่บ้าน การช่วยเหลือเกษตรกร ที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจชะลอตัว การอัดฉีดเงินสู่ตำบลละ 5 ล้านบาท และล่าสุดได้มีมติ คณะรัฐมนตรี(ครม.)อัดฉีดเงินเพิ่มเติมให้หมู่บ้านละ 200,000 บาท เพื่อเข้าไปเติมเต็มในกลุ่มที่ยังไม่ได้รับการช่วยเหลือ

     สำหรับ ระยะยาว สิ่งที่ต้องดำเนินการคือ เรื่องของการลงทุน แยกเป็น 2 ส่วน คือการลงทุนภาครัฐ ในเรื่องของโครงสร้างพื้นฐาน ซึ่งที่ผ่านมาการลงทุนมีความล่าช้า เนื่องจากติดขัดในเรื่องของกฎระเบียบ กระบวนการ ดังนั้นสิ่งที่รัฐบาลจะเร่งดำเนินการในช่วงครึ่งปีหลังนี้ คือ การเดินหน้าลงทุนโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะในเรื่องของรถไฟฟ้าสายต่างๆ ซึ่งขณะนี้ ครม. อยู่ระหว่างการพิจารณาในส่วนของรถไฟฟ้าสายสีน้ำเงิน และสีม่วง ที่จะทำให้เกิดการลงทุนอย่างจริงจัง

    นายอภิศักดิ์ กล่าวเพิ่มเติมว่าส่วนโครงการแหลมฉบังเฟส 3 ขณะนี้ยังไม่ได้มีการหารือในเรื่องดังกล่าว แต่ยอมรับว่า มีคนสนใจและเข้ามาพูดคุยจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูลในการดำเนินการดังกล่าวอยู่

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!