WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Payut1นายกฯคาดศก.ไทยปีนี้โตกว่า 2.9%,ลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเป็นรูปธรรมกลางปี 59

       พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี คาดว่าเศรษฐกิจไทยปีนี้มีโอกาสที่จะเติบโตได้มากกว่า 2.9% ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ(สศช.) หรือสภาพัฒน์คาดการณ์ไว้ หลังจะเห็นผลของเม็ดเงินกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาในช่วงไตรมาส 4/58 ขณะที่การลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของภาครัฐจะเห็นการลงทุนอย่างเป็นรูปธรรมในกลางปี 2559 พร้อมกางแผนการลงทุนสำคัญของกระทรวงคมนาคม ที่จะเริ่มทยอยประกวดราคาการก่อสร้างในปีหน้า ซึ่งจะเป็นปัจจัยเกื้อหนุนต่อการเติบโตเศรษฐกิจของประเทศในระยะต่อไปด้วย

       "ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในตอนนี้กำลังฟื้นตัว ความเชื่อมั่นสำคัญที่สุด ความเชื่อมั่นเมื่อเพิ่มมากขึ้น ดัชนีตัวเลขต่างๆ ก็จะดีขึ้น จากการแถลงตัวเลขของสภาพัฒน์เมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา คาดการณ์ไว้ว่า GDP ปีนี้ไว้ที่ 2.9% ซึ่งน่าจะโตได้มากกว่านี้ เนื่องจากยังมีเม็ดเงินในการกระตุ้นเศรษฐกิจออกมาอีก โดยคาดว่าจะเริ่มเห็นผลของเม็ดเงินในไตรมาสที่ 4 ของปีนี้"พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว

      ในรายการ"คืนความสุขให้คนในชาติ"เมื่อคืนที่ผ่านมา นายกรัฐมนตรี กล่าวอีกว่า การลงทุนของภาครัฐไม่ว่าจะเป็นโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ เช่น รถไฟ รถไฟฟ้า มอร์เตอร์เวย์ ถนน ฯลฯ ก็กำลังเร่งดำเนินการอยู่ทุกโครงการ โดยจะเปิดให้เป็นการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือที่เรียกว่า PPP และจะเห็นการลงทุนทั้งหมดเป็นรูปธรรมภายในกลางปีหน้า

    ขณะที่กระทรวงคมนาคมได้สรุปสถานะโครงการสำคัญต่างๆ ของรัฐบาลดังนี้ 1) ทางถนน สายพัทยา-มาบตาพุด ระยะทาง 32 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการประกวดราคา คาดว่าจะมีการลงนามในสัญญาภายในเดือนมกราคมปีหน้า และจะก่อสร้างแล้วเสร็จภายในปี 2562, สายบางประอิน - นครราชสีมา ระยะทาง 196 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการปรับปรุงรายงานผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม(EIA) เพื่อลดผลกระทบต่อพี่น้องประชาชน โดยจะสามารถเริ่มประกวดราคาได้ในเดือนธันวาคมปีนี้ โดยจะเริ่มดำเนินการก่อสร้าง เดือนเมษายนปีหน้า และเปิดให้บริการได้ในปี 2562สายบางใหญ่ - กาญจนบุรี ระยะทาง 96 กิโลเมตร อยู่ระหว่างการปรับปรุงรายงาน EIA จะเริ่มประกวดราคาได้ในเดือนกุมภาพันธ์ 2559 เริ่มดำเนินการก่อสร้างในเดือนมิถุนายนและเปิดให้บริการได้ในปี 2562 สำหรับสายบางปะอิน กับสายบางใหญ่จะดำเนินโครงการผ่าน PPP Fast Track 2) ทางราง โครงการพัฒนาระบบการขนส่งทางรถไฟระหว่างเมืองภายใต้ความร่วมมือกับต่างประเทศ 2 โครงการ

      ได้แก่ โครงการก่อสร้างทางรถไฟขนาดทางมาตรฐานกับรัฐบาลสาธารณรัฐประชาชนจีน ในช่วงที่ 1 กรุงเทพฯ - แก่งคอย และ

      ระยะที่ 3 แก่งคอย - นครราชสีมา คาดว่าจะสามารถสรุปจำนวนสถานีสัดส่วนแนวเส้นทางเดิมและเส้นทางใหม่ เพื่อใช้ในการออกแบบได้แล้วเสร็จ และสามารถเริ่มก่อสร้างได้ภายในเดือนธันวาคมนี้ ส่วนช่วงที่ 2 แก่งคอย - มาบตาพุด อยู่ระหว่างการเร่งรัดดำเนินการ

      สำหรับ โครงการภายใต้กรอบความร่วมมือในการพัฒนาระบบทางรถไฟของไทยกับรัฐบาลญี่ปุ่น เส้นทาง กาญจนบุรี-กรุงเทพฯ - อรัญประเทศ และกาญจนบุรี- กรุงเทพฯ-แหลมฉบัง จะมีกำหนดให้มีการลงนามในบันทึกความร่วมมือ(MOC) ในเร็ว ๆนี้ ส่วนเส้นทางกรุงเทพ - เชียงใหม่ ฝ่ายญี่ปุ่นได้ส่งผู้เชี่ยวชาญมาทำการสำรวจและจัดทำรายงานความเหมาะสม คาดว่าจะสามารถนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อเห็นชอบในโครงการได้ในเดือนมิถุนายน 2559

นายกฯ มอบนโยบายทีมประเทศไทยประจำมาเลย์ศึกษาศักยภาพคู่ค้า-สร้างหุ้นส่วนศก.

      พล.ต.วีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี แถลงผลการประชุมร่วมระหว่างพล.อ.ประยุทธ์  จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกับทีมประเทศไทยประจำมาเลเซีย ในโอกาสเข้าร่วมการประชุมสุดยอดอาเซียน ครั้งที่ 27 ว่า นายกรัฐมนตรีได้กล่าวขอบคุณทีมประเทศไทยและชี้แจงถึงการทำงานของรัฐบาลว่า วันนี้เข้ามาทำหน้าที่ เพื่อให้ประเทศชาติมีเสถียรภาพตามแนวคิด มั่นคง มั่นคั่ง และยั่งยืน" ซึ่งความมั่นคงถือเป็นต้นทางของการสร้างความเจริญเติบโตต่างๆ  ขณะเดียวกัน รัฐและประชาชนทุกระดับต้องมีความเข้มแข็ง เพื่อให้สามารถเติบโตไปด้วยกัน คือ ประชารัฐ เมื่อรัฐบาลเข้ามาบริหารประเทศก็แก้ปัญหาเร่งด่วนที่คั่งค้าง อาทิ ปัญหาประมง ปัญหาการบิน ราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ปฏิรูปโครงสร้างและเศรษฐกิจ ซึ่งรัฐบาลเน้นส่งเสริมศักยภาพไทยมีมีความได้เปรียบเชิงเปรียบเทียบ อาทิ อาหาร พลังงาน การท่องเที่ยว ด้านสุขภาพ ไทยจะต้องสร้างความเข้มแข็ง โดยเฉพาะ ภาคการเกษตรของไทย โดยใช้หลักการเศรษฐกิจพอเพียง ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รวมทั้งการส่งเสริมศักยภาพเชื่อมโยงการท่องเที่ยวไทยในภูมิภาค

      นายกรัฐมนตรียังกล่าวว่า สิ่งสำคัญคือการทำงานอย่างเป็นบูรณาการ โดยขอให้ทีมประเทศไทยไม่ว่าจะเป็นหน่วยงานเศรษฐกิจ มั่นคง หรือข้าราชการการทูต จะต้องรู้ข้อมูลรอบด้านเท่าเทียมกันทั้งด้าน เศรษฐกิจ สังคม การเมือง ความมั่นคง เพื่อให้เกิดการทำงานอย่างบูรณาการ

      สำหรับความร่วมมือระหว่างประเทศนั้น  ขอให้ไทยเป็นผู้นำร่วมภายใต้แนวคิด Thailand +1 ASEAN + Thailand  และ ASEAN+ประชาคมโลก World Community เชื่อมโยงกัน ในทุกระดับเวทีความร่วมมือทั้ง เขตการค้าเสรีในทุกระดับ อาทิ  เพื่อให้อาเซียนเข้มแข็ง ซึ่งไทยจะต้องพัฒนาความพร้อมมีกลไก สร้างพลวัตร ค้นหาและพัฒนาศักยภาพ ของตนเอง ไปพร้อมกับการศึกษาประเทศคู่ค้าที่ความแตกต่าง เพื่อสร้างสินค้าให้ตรงกับความต้องการของตลาด  เพราะ การพัฒนาต้องมีสองระดับ ทั้งการพัฒนาภายในประเทศ และการพัฒนาการสร้างความเชื่อมโยงระหว่างประเทศ ซึ่งจะต้องมีความร่วมมือทั้งในระดับทวิภาคีและพหุภาคี เพราะประชาคมอาเซียน (ASEAN Community) เป็นทั้งโอกาสซึ่งไทยจะต้องให้ความสำคัญ

     นายกรัฐมนตรียังได้ให้แนวทางในการจัดการประชุมร่วมไทย-มาเลเซีย เพื่อให้มีความคุ้นเคยและใกล้ชิดกันมายิ่งขึ้น รวมทั้งยังส่งเสริมให้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อแสวงหาโอกาสและลู่ทางการค้าการลงทุนระหว่างไทย-มาเลเซีย มากยิ่งขึ้น สร้างเครือข่าย สร้างหุ้นส่วน การดึงดูดการค้าการลงทุน รัฐบาลได้สนับสนุนสิทธิประโยชน์การลงทุน BOI ทั้งลักษณะ กลุ่มอุตสาหกรรม cluster super cluster ทั้งพื้นที่ทั่วไปและในเขตเศรษฐกิจพิเศษ โดยใช้เทคโนโลยีทันสมัย เพื่อประโยชน์ของประเทศและชุมชนในพื้นที่ รัฐบาลพร้อมให้การสนับสนุนทั้งเงินทุน และนวัตกรรม เพื่อยกระดับมาตรฐานสินค้าไทย สินค้าOTOPเพราะเศรษฐกิจต้องเริ่มจากชุมชน

      ด้านการศึกษา ขอให้ช่วยดูแลนักเรียนไทยในมาเลเซียพร้อมดูแลการหางานหลังจบการศึกษา

   สำหรับ ความร่วมมือด้านความมั่นคง ไทยและมาเลเซียยืนยันความร่วมมือ ทั้งการแก้ไขบุคคลสองสัญชาติ รวมทั้งมาตรการแก้ปัญหาการการสัญจร การจัดระเบียบ การวิ่งรถข้ามแดน ยืนยันการเจรจาเพื่อสันติสุข เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาสถานการณ์ความรุนแรงภาคใต้ ยุทธศาสตร์ และการปฏิบัติ ซึ่งจะต้องทำควบคู่กับการให้ความรู้ ข้อมูล แก่ประชาชนและเยาวชนในพื้นที่ด้วย ซึ่งจะเป็นแนวทางแก้ปัญหาอย่างยั่งยืน

    ในตอนท้าย  นายกรัฐมนตรียืนยันว่า ทุกประเทศต้องเป็นประชาธิปไตย รวมทั้งไทยแต่จะต้องดูความเหมาะสมและบริบทภายในของแต่ละประเทศเป็นสำคัญ ซึ่งรัฐบาลได้เดินตามกรอบ Roadmap เพื่อให้เกิดการเลือกตั้งอย่างแน่นอน

    อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!