WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด `สมคิด`เผย จากนี้จะเร่งเดินหน้า 4 ด้าน สร้างความเข้มแข็งภายใน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ส่งเสริมคลัสเตอร์ ดูแลการเงินการคลังให้สมดุล

     'สมคิด'เผยเร่งเดินหน้า 4 เรื่อง สร้างความเข้มแข็งภายใน เพิ่มประสิทธิภาพการผลิต  ส่งเสริมคลัสเตอร์ และดูแลการเงินการคลังให้สมดุล ยันไม่ยกเลิกแผนช่วยภาคส่งออก แต่จะเน้นส่งเสริมภายในมากขึ้นพร้อมสั่งบีโอไอ - ก.อุตฯ เร่งสร้างผู้ประกอบการหน้าใหม่ ผลิตสินค้าที่เน้นมูลค่า พร้อมช่วยสิทธิประโยชน์ด้านภาษี

    นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยในงานโพสต์ฟอรั่ม 2015 ว่า  ตั้งแต่วันแรกที่เข้ามาทำงานนั้น ตนมองว่า ประเทศไทย ไม่ได้อยู่ในภาวะวิกฤติ เพียงแค่เผชิญความท้าทาย 2 เรื่อง คือ เศรษฐกิจที่กำลังซบเซา จากราคาสินค้าเกษตรที่ตกต่ำ และการส่งออกที่ชะลอตัว จากภาวะเศรษฐกิจโลกที่ถดถอย แต่อย่างไรก็ตามแม้ปัจจัยดังกล่าวข้างต้นจะสำคัญ แต่ยังมีเรื่องที่สำคัญและต้องเร่งปรับ คือ ความสามารถในการแข่งขันของโครงสร้างเศรษฐกิจไทยที่เสื่อมถอย ซึ่งหากไม่เร่งแก้ไขปัญหานี้ เชื่อว่า ในวันข้างหน้าจะเป็นปัญหาที่หลีกเลี่ยงไม่ได้ และกว่าจะกลับมาฟื้นตัวได้จะต้องใช้เวลานาน

      "ในช่วงเดือนเศษที่ผ่านมา สิ่งแรกที่ทำ คือ ความพยายามในการเข้าไปหยุดยั้ง ชะลอตัวของการทรุดตัวของภาวะเศรษฐกิจ เห็นได้จากมาตรการหลายชุด ที่ต้องการเพิ่มเงินหมุนเวียนในระบบ โดยมุ่งเป้าเกษตรกรที่มีรายได้น้อย หรือคนยากจน ไปสู่เอสเอ็มอีที่เผชิญความลำบาก การกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐที่มีมูลค่าไม่สูง เพื่อให้เกิดการหมุนเวียน และการกระตุ้นกิจกรรมต่างๆ จากที่ซบเซา และมาตรการอสังหาริมทรัพย์ เพราะถือเป็นอุตสาหกรรมใหญ่หากไม่ทหากมีปัญหาจะยิ่งซ้ำเติมเศรษฐกิจ แต่หากเราประคองไปได้ จะเป็นตัวค้ำจุนหลายธุรกิจ"นายสมคิด กล่าว

    ทั้งนี้ ยืนยันว่า สิ่งที่รัฐบาลกำลังดำเนินการนั้น มีจุดประสงค์ใหญ่ เพื่อมุ่งเน้นการแก้ไขปัญหารากฐานของประเทศจริงๆ ไม่ใช่แค่การกระตุ้นเศรษฐกิจเท่านั้น

    นายสมคิด กล่าวว่า จากนี้ไปการทำงานของรัฐบาลนั้นจะเน้นการทำงานในรูปแบบการปฏิรูป โดยมีภารกิจ 4 ด้าน คือ การปรับโครงสร้างความสมดุลของเมืองไทยให้มีความสมดุลมากขึ้น เนื่องจาก 30 ปีที่ผ่านมาไทยเน้นการส่งออกเป็นหลัก ซึ่งหลังจากนี้จะต้องเน้นการเติบโตและดูแลรากฐานของประเทศ โดยสิ่งที่ตั้งใจทำ คือ จะไปสร้างความเข้มแข็งการเติบโตจากภายใน และยกระดับภาคเกษตรมากขึ้น เพราะปัจจุบันไทยมีกลุ่มเกษตรมากกว่า 30 ล้านคน โดยจะเน้นการยกระดับชุมชน การแปรรูป การท่องเที่ยวชุมชน การส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน การศึกษา

    "ไม่ได้บอกว่าจะเลิกส่งเสริมจากการส่งออก แต่จะเน้นการส่งเสริมภายในมากขึ้น นโยบายทุกนโยบายที่จะออกจากวันนี้เป็นต้นไป จะต้องมองที่ภาคประชาชนส่วนใหญ่ โดยจะดำเนินการจากกระทรวงลงไปจังหวัด จังหวัดประชุมผู้ว่าจังหวัด ภาครัฐร่วมเอกชน ประชาชน ใช้ระบบ กรอ.กลับมาอีกครั้ง จังหวัดทุกจังหวัดจะมีการพัฒนาโครงการต่างๆในการพัฒนาจังหวัด ทั้งการผลิต ท่องเที่ยว สร้างงาน และสังคมในพื้นที่ เป็นเส้นทางที่เคยทำ"นายสมคิด กล่าว

     นายสมคิด กล่าวว่า สิ่งที่จะเกิดขึ้นจากนี้ไปคือ ประชารัฐ คือ จากรัฐบาล อุตสาหกรรมจังหวัด ท่องเที่ยวจังหวัด เกษตรจังหวัด ร่วมมือภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อเป็นตัวขับเคลื่อนให้เกิดขึ้น และสอดรับกับนโยบาย ซึ่งหากดำเนินการอย่างจริงจัง และมีการจัดสรรงบประมาณอย่างเพียงพอ  เชื่อว่าเม็ดเงินจะสามารถสร้างความเจริญในชนบทได้

    ภารกิจกลุ่มงานที่ 2 อยากจะเห็นการแปรสภาพจากการผลิต ต้นทุนต่ำ เน้นปริมาณ ไปสู่นวัตกรรมเพิ่มคุณค่าสินค้า ที่ผ่านมา ผู้ผลิตไทยผลิตสินค้าง่ายๆ รับจ้างทำของ แต่ไม่เน้นการเพิ่มค่าของตัวเอง ส่งผลให้ไม่สามารถแข่งขันในตลาดได้ โดยหลังจากนี้ไป กระทรวงอุตสาหกรรม จะต้องเน้นการสร้างผลิตภาพการผลิต เพิ่มความสามารถในเชิงนวัตกรรม ไม่ใช่ลงทุนเพื่อเพิ่มปริมาณการผลิต

    อย่างไรก็ตาม ได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรม และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ ยกระดับผู้ประกอบการใหม่ๆ โดยเน้นไปที่ผู้ประกอบการเริ่มต้น ซึ่งหากเพิ่มคุณภาพการผลิตนั้น รัฐบาลจะสนับสนุนทางด้านภาษี แต่หากไม่ดำเนินการรัฐบาลจะไม่สนับสนุนกลุ่มดังกล่าว

    "ที่ผ่านมาเรารอให้ค่าเงินถูก ค่าเงินต่ำ เพื่อแข่งขันได้ วันนี้ค่าเงินไทย 36-37 บาทต่อดอลลาร์แต่เรามองไม่ออกว่าสินค้าไทยจะดีวันดีคืนได้อย่างไรผมอยากให้การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างการผลิต จากเน้นธุรกิจขนาดใหญ่ มาเป็นเน้นผู้ประกอบการจำนวนมาก ต้องการสร้างเอสเอ็มอีใหม่ ซึ่งเปรียบเสมือนการปลูกป่าขึ้นมา ไม่ใช่กระจุกตัวแค่บริษัทใหญ่ๆ ทำอย่างไรให้มีผู้ประกอบการใหม่ๆจำนวนมาก เพราะหากสามารถปลูกป่าเอสเอ็มอีได้ จะมีการจ้างงานจำนวนมาก"นายสมคิด กล่าว

    กลุ่มที่ 3 คือ การจัดตั้งกลุ่มอุตสาหกรรมที่เน้นนวัตกรรมคุณภาพสูง หรือ กลุ่มคลัสเตอร์ ซึ่งยืนยันว่า การจัดกลุ่มคลัสเตอร์นั้น เป็นสิ่งจำเป็นในการดึงนักลงทุนเข้ามาลงทุนในประเทศมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาได้ออกมาตรการไปแล้ว เชื่อว่าจูงใจไม่แพ้สิงคโปร์แน่นอน นอกจากนี้สิ่งที่อยากจะเน้น คือ คลัสเตอร์ท่องเที่ยว โดยเฉพาะการท่องเที่ยวท้องถิ่น เพราะหากการท่องเที่ยวขยายตัว ธุรกิจอื่นๆก็จะขยายตัวตามไปด้วย

    กลุ่มที่ 4 กลุ่มสุดท้าย คือ ด้านการเงินและการคลัง โดยจะต้องเร่งสร้างให้เกิดการลงทุนร่วมระหว่างภาครัฐและเอกชน หรือ PPP เพื่อพัฒนาระบบโครงสร้างพื้นฐานของประเทศ ทั้งนี้ หากดำเนินการในเรื่องการร่วมลงทุนได้ เชื่อว่าสิ่งที่จะตามมาคือ กองทุนโครงสร้างพื้นฐาน หรือ อินฟาสตักเจอร์ฟันด์จะเกิดขึ้นแน่นอน ซึ่งขณะนี้กระทรวงการคลังมีความพร้อม รอเพียงระยะเวลาในการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานเท่านั้น  อินฟาสตักเจอร์ฟันด์ตามมาทันที

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!