- Details
- Category: สำนักนายกฯ
- Published: Tuesday, 15 September 2015 08:59
- Hits: 5738
นายกรัฐมนตรี เปิดโครงการสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง รวมวงเงิน 6 หมื่นลบ.
นายกรัฐมนตรีเปิดโครงการสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนฯ ละไม่เกิน1 ล้านบาท แห่งละ 30,000 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งสิ้น 60,000 ล้านบาท เพื่อเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชน โดยกระจายเงินทุนลงพื้นที่ในชนบทกระตุ้นเศรษฐกิจฐานรากให้มั่นคง
พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีเป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยให้ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กองทุนฯ)ระดับดีมาก (A) และระดับดี (B) กองทุนฯ ละไม่เกิน1 ล้านบาท แห่งละ 30,000 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งสิ้น 60,000 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานให้กับกองทุนฯ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนในระดับหมู่บ้านทั่วประเทศให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุน กระตุ้นการใช้จ่ายในภาคชนบท เพื่อสร้างความมั่นคงให้เศรษฐกิจฐานราก
โดยมีนายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และนายสุวพันธุ์ ตันยุวรรธนะ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ นายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสินและนายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร ร่วมพิธีเปิดงานในครั้งนี้
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการ ธ.ก.ส.กล่าวถึงความพร้อมในการอนุมัติเงินสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองว่า “ธ.ก.ส.มีความพร้อมในการดำเนินการตามโครงการนี้ ซึ่ง ธ.ก.ส.รับผิดชอบจ่ายสินเชื่อให้แก่กองทุนฯ ในวงเงิน 30,000 ล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้ ปัจจุบัน ธ.ก.ส.ดูแลกองทุนฯ ระดับ A และ B จำนวน 20,584 กองทุน จากกองทุนฯ ระดับ A และ B ทั้งหมด 59,062 กองทุน ให้สินเชื่อกองทุนฯ ละไม่เกิน1 ล้านบาท โดยแยกจากวงเงินกู้ปกติของธนาคาร ชำระคืนเสร็จไม่เกิน 7 ปี ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ส่วน 5 ปีต่อไปคิดดอกเบี้ยเท่ากับต้นทุนทางการเงินของธนาคารบวกด้วยร้อยละ 1 ต่อปี”
“ธ.ก.ส.ได้กำหนดหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อไว้อย่างรัดกุม ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชนโดยการทำประชาคมการกำหนดให้โอนเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากสมาชิกรายคน การตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนฯ และสุ่มสอบการใช้เงินกู้ของสมาชิก ทั้งนี้สามารถให้สินเชื่อได้ทันทีเมื่อกองทุนผ่านการประชาคมและยื่นเรื่องกู้ต่อธนาคาร”นายลักษณ์กล่าว
สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย
นายกฯ คิกออฟเงินกองทุนหมู่บ้าน-ธ.ก.ส.คาดจ่ายเงินแล้วเสร็จธ.ค.นี้
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ตามมติคณะรัฐมนตรี โดยให้ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) สนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง (กองทุนฯ)ระดับดีมาก (A) และระดับดี (B) กองทุนฯ ละไม่เกิน 1 ล้านบาท แห่งละ 30,000 ล้านบาท รวมวงเงินทั้งสิ้น 60,000 ล้านบาท เพื่อเป็นทุนหมุนเวียนในการดำเนินงานให้กับกองทุนฯ สร้างโอกาสทางเศรษฐกิจให้แก่ประชาชนในระดับหมู่บ้านทั่วประเทศให้สามารถเข้าถึงแหล่งทุน กระตุ้นการใช้จ่ายในภาคชนบท เพื่อสร้างความมั่นคงให้เศรษฐกิจฐานราก
นายลักษณ์ วจนานวัช ผู้จัดการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวถึงความพร้อมในการอนุมัติเงินสนับสนุนสินเชื่อกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองว่า “ธ.ก.ส.มีความพร้อมในการดำเนินการตามโครงการนี้ ซึ่ง ธ.ก.ส.รับผิดชอบจ่ายสินเชื่อให้แก่กองทุนฯ ในวงเงิน 30,000 ล้านบาท คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในเดือนธันวาคมนี้
ปัจจุบัน ธ.ก.ส.ดูแลกองทุนฯ ระดับ A และ B จำนวน 20,584 กองทุน จากกองทุนฯ ระดับ A และ B ทั้งหมด 59,062 กองทุน ให้สินเชื่อกองทุนฯ ละไม่เกิน 1 ล้านบาท โดยแยกจากวงเงินกู้ปกติของธนาคา ชำระคืนเสร็จไม่เกิน 7 ปี ปลอดดอกเบี้ย 2 ปีแรก ส่วน 5 ปีต่อไป คิดดอกเบี้ยเท่ากับต้นทุนทางการเงินของธนาคารบวกด้วยร้อยละ 1 ต่อปี
“ธ.ก.ส.ได้กำหนดหลักเกณฑ์การให้สินเชื่อไว้อย่างรัดกุม ได้แก่ การมีส่วนร่วมของชุมชนโดยการทำประชาคมการกำหนดให้โอนเงินกู้เข้าบัญชีเงินฝากสมาชิกรายคน การตรวจสอบการดำเนินงานของกองทุนฯ และสุ่มสอบการใช้เงินกู้ของสมาชิก ทั้งนี้สามารถให้สินเชื่อได้ทันทีเมื่อกองทุนผ่านการประชาคมและยื่นเรื่องกู้ต่อธนาคาร"นายลักษณ์ กล่าว
ด้านนายชาติชาย พยุหนาวีชัย ผู้อำนวยการธนาคารออมสิน เปิดเผยว่า ธนาคารออมสิน ได้พิจารณากองทุนหมู่บ้านที่เป็นฐานลูกค้าเดิมเกรด A และ B เบื้องต้นมีความพร้อมที่ธนาคารฯ ได้อนุมัติวงเงินสินเชื่อเพื่อสนับสนุนตามมาตรการส่งเสริมความเป็นอยู่ระดับหมู่บ้าน ณ วันที่ 14 กันยายน 2558 จำนวน 8,441 กองทุน วงเงิน 8,441 ล้านบาท จากเป้าหมาย 30,000 กองทุน วงเงิน 30,000 ล้านบาท และคาดว่าภายในสิ้นเดือนกันยายนจะสามารถอนุมัติวงเงินได้รวมแล้ว 15,000 กองทุน
อย่างไรก็ตาม หลักการกองทุนหมู่บ้าน 8,441 แห่งที่ธนาคารออมสินอนุมัติสินเชื่อแล้วสามารถติดต่อสาขาในพื้นที่ได้ทันที ซึ่งธนาคารออมสินจะปล่อยสินเชื่อให้กับสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) และให้ สทบ. ส่งรายชื่อแต่ละกองทุนหมู่บ้านเพื่อให้ธนาคารออมสินโอนเงินโดยตรง สำหรับกองทุนหมู่บ้านฯ ซึ่งเป็นเป้าหมายในการปล่อยสินเชื่อดังกล่าวนั้น สทบ.เน้นไปที่ 59,850 กองทุน แบ่งเป็นกองทุนเกรด A จำนวน 21,000 กองทุน และเกรด B อีก 38,000 กองทุน
วัตถุประสงค์หลักในการใช้สินเชื่อเน้นส่งเสริมอาชีพและสร้างรายได้ทั้งในลักษณะรายบุคคล และรายกลุ่ม (Cluster) เพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงในแต่ละพื้นที่
ก่อนหน้านี้ รัฐบาลได้ออกมาตรการช่วยเหลือเศรษฐกิจฐานรากโครงการสำคัญ คือ มาตรการการเงินการคลังเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (SMEs) ระยะเร่งด่วน รวม 5 มาตรการ โดยธนาคารออมสินเข้าไปมีบทบาทในส่วนของ โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อบรรเทาปัญหาการเข้าถึงแหล่งเงินทุนของผู้ประกอบการ SMEs ช่วยเสริมสภาพคล่องให้ SMEs
ทั้งนี้ ธนาคารออมสินให้สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่อัตรา ร้อยละ 0.1 ต่อปี และธนาคารพาณิชย์และสถาบันการเงินเฉพาะกิจที่เข้าร่วมโครงการฯ ให้สินเชื่อแก่ผู้ประกอบการ ในอัตราร้อยละ 4 ต่อปี ระยะเวลาให้สินเชื่อ 7 ปี วงเงินรวม 100,000 ล้านบาท และรัฐบาลชดเชยส่วนต่าง อัตราดอกเบี้ยให้แก่ธนาคารออมสิน โดยผู้ประกอบการสามารถยื่นขอสินเชื่อภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2558
นอกจากนี้ ธนาคารออมสินยังมีโครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำแก่ผู้ประกอบการ SMEs โดยใช้วงเงินจากโครงการนี้ ได้แก่ โครงการสินเชื่อเพื่อช่วยเหลือชาวประมง'ประมงไทยก้าวไกลสู่สากล'โครงการสินเชื่อ SMEs เพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการประหยัดพลังงาน โครงการสินเชื่อ SMEs เพื่อธุรกิจท่องเที่ยวและบริการ โครงการสินเชื่อ SMEs เพื่อผู้รับเหมางานภาครัฐ และโครงการสินเชื่อ SMEs เพื่อเสริมสภาพคล่อง ซึ่งธนาคารอมสินจะเร่งเปิดให้บริการโดยเร็วต่อไป
"ธนาคารออมสินได้เชิญผู้แทนจากธนาคารพาณิชย์ และสถาบันการเงินของรัฐที่สนใจเข้าร่วมโครงการมารับทราบรายละเอียด เงื่อนไข วิธีปฏิบัติ ซักซ้อมความเข้าใจ ซึ่งธนาคารออมสินพร้อมที่จะเริ่มปล่อยกู้ได้ หลังจากนี้จะทำหนังสือเชิญผู้บริหารแต่ละสถาบันการเงินเพื่อร่วมลงนามในบันทึกข้อตกลง MOU) ในงานเปิดแผนปฏิบัติการเอสเอ็มอีอย่างเป็นทางการในวันที่ 18 กันยายนที่เมืองทองธานี ซึ่งจะมีกระทรวงการคลังและกระทรวงอุตสาหกรรมเป็นเจ้าภาพ" นายชาติชาย กล่าว
นายชาติชาย กล่าวต่อว่า ธนาคารออมสิน มีความคืบหน้าในโครงการแก้ไขปัญหาความเหลื่อมล้ำและกระตุ้นเศรษฐกิจฐานราก ผ่านการให้สินเชื่อโครงการธนาคารประชาชน 4 ประเภท ได้แก่ สินเชื่อประชาชนสุขใจ สินเชื่อออมสุขใจ สินเชื่อรายได้ประจำสุขใจ และสินเชื่อคืนความสุข โดยในภาพรวมของสินเชื่อโครงการธนาคารประชาชนช่วงระหว่างเดือนมกราคม - สิงหาคม 2558 ธนาคารฯ ได้อนุมัติสินเชื่อไปแล้วจำนวนกว่า 200,000 ราย คิดเป็นเงิน 19,534.63 ล้านบาท ส่วนยอดสินเชื่อคงเหลือ (ณ 31 สิงหาคม 2558) อยู่ที่ 970,412 ราย คิดเป็นเงิน 68,205 ล้านบาท โดยที่ตลอด 14 ปีที่ผ่านมา โครงการนี้สามารถทำให้ประชาชนในระดับผู้มีรายได้น้อยได้รับเงินกู้ในโครงการนี้เพื่อไปประกอบอาชีพ หารายได้เพิ่มได้แล้วรวมจำนวนทั้งสิ้นถึง 4,130,760 ราย คิดเป็นเม็ดเงินจำนวน 235,722 ล้านบาท
ขณะเดียวกัน ยังมีมาตรการบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ลูกค้าธนาคารออมสินที่ได้รับผลกระทบจากภาวะเศรษฐกิจ
ภาระหนี้ครัวเรือน และภัยธรรมชาติ ด้วยการพักชำระเงินต้น สำหรับลูกค้าที่มีวงเงินกู้รวมไม่เกิน 50 ล้านบาท ซึ่งเปิดลงทะเบียนเมื่อวันที่ 1 เมษายน – 31 กรกฎาคม 2558 ปรากฏว่า มีลูกค้าสนใจลงทะเบียน 94,359 ราย คิดเป็นเงิน 43,963 ล้านบาท ซึ่งธนาคารฯ ได้ทยอยอนุมัติไปแล้วรวม 30,471 ราย คิดเป็นเงิน 14,503 ล้านบาท
อินโฟเควสท์
ยันจ่ายเงินลงกองทุนหมู่บ้านลอตแรกครบในปีนี้
แนวหน้า : ยันจ่ายเงินลงกองทุนหมู่บ้านลอตแรกครบในปีนี้ อัด 3 หมื่นล้านกระตุ้นศก.
สำนักงานกองทุนหมู่บ้านฯรับนโยบายเพิ่มกำลังซื้อให้ประชาชน เร่งจ่ายเงินให้ถึงมือประชาชนแล้ว ด้านสภาอุตฯหารือ รมช.พาณิชย์ หาทางดันส่งออก เล็งเพิ่ม 'จีดีพี' ในภาคผลิตของ 'เอสเอ็มอี'
นายนที ขลิบทอง ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองแห่งชาติ (สทบ.) เปิดเผยว่า จากการหารือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องล่าสุดได้ข้อสรุปว่า โครงการกองทุนหมู่บ้านที่ปล่อยกู้ผ่าน ธนาคารออมสิน และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร หรือ ธ.ก.ส. จำนวน 6 หมื่นล้านบาท (ปล่อยกู้สูงสุดไม่เกินหมู่บ้านละ 1 ล้านบาท) เพื่อให้คณะกรรมการหมู่บ้าน ไปพิจารณาปล่อยกู้สมาชิกต่อไม่เกินรายละ 3 หมื่นบาท หรือถ้ามีแผนการลงทุนที่ชัดเจนสามารถขยายให้กู้ได้สูงสุดไม่เกินรายละ 7 หมื่นบาท
ทั้งนี้ ได้เพิ่มเรื่องการปล่อยกู้รายกลุ่มเพื่อนำไปทำ โครงการได้ไม่เกิน 1 แสนบาท และกรณีที่สมาชิกวินิจฉัยชี้ขาดว่าเป็นโครงการที่ดีมีประโยชน์ให้กู้ได้สูงสุดถึง 3 แสนบาท ซึ่งขณะนี้กองทุนหมู่บ้านส่วนใหญ่ตื่นตัวและเตรียมความพร้อมในการยื่นขอเงินกู้ คาดว่าจะสามารถอนุมัติเบิกจ่ายเงินกองทุนหมู่บ้านถึงมือประชาชนไม่น้อยกว่า 3 หมื่นล้านบาทภายในสิ้นปีนี้
สำหรับ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง ปัจจุบันมีอยู่ 79,528 หมู่บ้าน คือ 1.กองทุนหมู่บ้าน 75,000 กองทุน 2.กองทุนชุมชนเมือง 3,790 กองทุน 3.กองทุนชุมชนทหาร 738 กองทุน และจัดตั้งใหม่ในปี 2558 จำนวน 273 กองทุน
นายสมศักดิ์ กังธีระวัฒน์ รองผู้จัดการ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) กล่าวว่า ธนาคารได้ซักซ้อมเจ้าหน้าที่ให้ชี้แจงกรรมการกองทุนหมู่บ้านในพื้นที่เรื่อง หลักเกณฑ์ เงื่อนไข เช่นเรื่องการอนุมัติเงินให้สมาชิก จะต้องได้รับมติจากที่ประชุมคณะกรรมการหมู่บ้าน เพื่อให้เงินกระจายไปสู่สมาชิกทุกคน เน้นให้กู้เพื่อนำไปลงทุน ก่อให้เกิดการจ้างงาน รวมทั้งเปิดโอกาสให้นำไปใช้หนี้นอกระบบได้ เพื่อลดภาระดอกเบี้ยที่สูง ซึ่ง ธ.ก.ส. จะมีการสุ่มตรวจการใช้เงินของสมาชิกว่าตรงตามวัตถุประสงค์ที่ขอหรือไม่ และระหว่างกองทุนกับธ.ก.ส. ห้ามเอาเงินกู้มาจ่ายหนี้เก่าของกองทุนหมู่บ้าน โดยในช่วง 2 ปีแรก ทั้งออมสิน และ ธ.ก.ส. ทำข้อตกลงกับ สทบ. ว่ายังไม่ต้องชำระเงินต้นคืน ดังนั้นในช่วง 2 ปีแรกหากมีกองทุนหมู่บ้านมาจ่ายหนี้คืนก่อนกำหนด ทาง สทบ. สามารถนำเงินดังกล่าวไปบริหารจัดการให้เกิดดอกผลได้ และหากครบ 7 ปียังชำระเงินต้นไม่เสร็จ ก็จะทำการโอนบัญชีเป็นสินเชื่อปกติที่ธนาคารมีการปล่อยกู้ต่อยอดให้กับกองทุนหมู่บ้านอยู่แล้ว
ก่อนหน้านี้ คณะรัฐมนตรี(ครม.) โดยทีมเศรษฐกิจใหม่ภายใต้การนำของ นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ได้อนุมัติมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจลอตแรก โดยมีโจทย์สำคัญคือเงินต้องถึงมือชาวบ้านให้เร็วที่สุด เพื่อให้หมุนลงสู่ระบบเศรษฐกิจให้มากที่สุด โดยทั้งมาตรการอื่นๆ อาทิ การช่วยเหลือ ผู้ประกอบการเอสเอ็มอี ฯลฯ
นายศักดิ์ชัย อุ่นจิตติกุล ประธานสถาบันวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมอุตสาหกรรมการผลิต (เอสเอ็มไอ) สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) เปิดเผยถึงแผนกระตุ้นเศรษฐกิจว่า สอท. ได้หารือร่วมกับ นายสุวิทย์ เมษินทรีย์ รมช.พาณิชย์ เพื่อหาแนวทางการช่วยเหลือเอสเอ็มอี ด้านการตลาดทั้งตลาดภายในประเทศ และต่างประเทศ และการพัฒนาเอสเอ็มอีทั้งระบบ ซึ่งหากทำได้ตามเป้าหมายจะสามารถผลักดันให้มีเอสเอ็มอีเกิดใหม่ปีละ 6 หมื่นราย มีสัดส่วนของจีดีพี ของเอสเอ็มอี เพิ่มจาก 37% เป็น 41% สัดส่วนการส่งออกของเอสเอ็มอีจะเพิ่มจาก 28% เป็น 33% ได้ภายใน 2 ปี โดยแนวทางที่ สอท.ได้เสนอประกอบด้วย 2 ส่วนหลักๆ ได้แก่ ส่วนที่ 1 การเพิ่มศักยภาพให้กับเอสเอ็มอี ซึ่งจะต้องส่งเสริมเอสเอ็มอีเข้าสู่ระบบ โดยการขึ้นทะเบียนเอสเอ็มอี ปรับฐานภาษีให้เหมาะสม อบรมเอสเอ็มอีโดยเฉพาะรายใหม่ในเรื่องการทำบัญชี รวมทั้งเพิ่มสภาพคล่องทางการเงิน เช่น ยกเว้นการจัดเก็บภาษี VAT สำหรับวัตถุดิบเพื่อการผลิตสำหรับการส่งออก การสนับสนุนกองทุนปรับเปลี่ยนเครื่องจักร ดอกเบี้ยไม่เกิน 4% และยกเว้นเครดิตบูโร ให้เอสเอ็มอีที่ดำเนินธุรกิจมาแล้ว 10 ปี ขึ้นไป
ส่วนการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ภาครัฐควรจะใช้แนวทางการพัฒนาคลัสเตอร์กลุ่มจังหวัดและกลุ่มอุตสาหกรรม การปรับปรุงประสิทธิภาพการผลิตภายใต้การดูแลของนักวินิจฉัยสถานประกอบการ พัฒนาเจ้าของธุรกิจเอสเอ็มอี เพื่อยกระดับธุรกิจให้ได้มาตรฐาน และมีนวัตกรรมผ่านโครงการพี่จูงน้อง พัฒนาโรงงานต้นแบบระบบลีน และพัฒนาบรรจุภัณฑ์
สำหรับ ความช่วยเหลือด้านการตลาดนั้น ในส่วนของตลาดต่างประเทศ รัฐบาลควรสนับสนุนให้เอสเอ็มอีเข้าสู่ตลาดโลกโดยการเพิ่มวงเงินโครงการ SME Pro active เป็นปีละ 400 ล้านบาท ต่อเนื่อง 5 ปี และบูรณาการความร่วมมือภาครัฐและเอกชนโดยการตั้งทีมไทยแลนด์ ยกระดับการค้าระหว่างประเทศ จัดตั้งศูนย์กระจายสินค้าในเขตเศรษฐกิจพิเศษ จัดตั้งศูนย์แสดงสินค้าไทยในประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมา มาเลเซีย และเวียดนาม (CLMMV) และจัดตั้ง Virtual Office ในประเทศ CLMMV
สำหรับ มาตรการของกระทรวงอุตสาหกรรมที่จะเสนอนั้นมี 2 แนวทาง ได้แก่ 1. มาตรการ 'สตรอง เอสเอ็มอี'โดยจะช่วยเหลือผู้ประกอบการเอสเอ็มอี รายเดิมให้มีความเข้มแข็งผ่านการช่วยเหลือด้านนวัตกรรมและการเพิ่มผลิตภาพ และมาตรการที่ 2. มาตรการ 'นิว วอร์ริเออร์ นักรบพันธุ์ใหม่' เน้นส่งเสริมผู้ประกอบการรายใหม่ที่จะเริ่มทำธุรกิจให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนและแข่งขันได้ ทั้งนี้ โครงการนิววอร์ริเออร์จะมีการคัดเลือกผู้ประกอบการ 1 หมื่นรายเข้าร่วมโครงการในระยะแรก โดยจะมีทั้งส่วนที่กระทรวงเข้าไปคัดเลือกและส่วนที่สมัครเข้ามาใหม่