WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

หม่อมอุ๋ยคาดส่งออก Q1/58 ติดลบราว 4% ทั้งปีโต 0-1%

    ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี กล่าวปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้แศรษฐกิจโลก" ว่า เศรษฐกิจโลกโดยรวมขณะนี้ยังอยู่ในภาวะที่ชะลอตัว ทั้งยุโรป สหรัฐฯ ญี่ปุ่น และจีน ซึ่งเป็นประเทศมหาอำนาจ ทำให้ส่งผลกระทบไปยังทั่วโลก โดยเฉพาะกระทบต่อการส่งออกของไทย เห็นได้จากการส่งออกเดือนแรกของปีนี้ติดลบ 3.7% เดือนก.พ. ติดลบ 6.1% และเดือนมี.ค.ก็น่าจะออกมาติดลบ ซึ่งคาดว่าไตรมาสแรกการส่งออกน่าจะมีตัวเลขติดลบราว 4% และการขยายตัวทางเศรษฐกิจ GDP ไตรมาสแรกมีโอกาสจะเติบโตได้มากกว่าไตรมาส 4/57 ที่เติบโตได้ 2.3%

     อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาจากตัวเลขการจัดเก็บรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) ในช่วงไตรมาส 1/58 มีมูลค่าสูงขึ้นถึง 9.75% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน รวมถึงการใช้จ่ายภาครัฐในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมาสามารถเบิกจ่ายได้แล้ว 51% มองว่าประเด็นดังกล่าวน่าจะเข้ามาชดเชยรายได้จากการส่งออกที่ลดลงไปได้ ดังนั้นจึงประเมินการส่งออกทั้งปีน่าจะมีอัตราการเติบโตอยู่ที่ 0-1%

  "เศรษฐกิจที่ชะลอตัว เพราะเรายังโดนกระทบจากเรื่องของการส่งออก แต่ถือว่าเราก็ยังโชคดีจากการใช้จ่าย VAT ที่เพิ่มสูงขึ้น การลงทุนภาครัฐที่น่าจะดีขึ้น มองว่าจากนี้การส่งออกก็คงไม่น่าจะลดลงไปอีกแล้ว และน่าจะมีการเติบโตในอัตรา 0-1% ที่น่าจะเป็นไปได้" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว

    ทั้งนี้ เชื่อว่าภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงหลังจากนี้ไป ไม่น่าจะลดลงไปมากกว่านี้ จากการดำเนินการเร่งใช้จ่ายของภาครัฐ ที่จะมีมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง และการวางแผนกระตุ้นการส่งออก ที่น่าจะส่งผลให้ส่งออกของไทยสามารถพลิกกลับมาเป็นบวกได้ในระยะ 2-3 ปีนับจากนี้ โดยรัฐบาลได้ดำเนินการปรับเปลี่ยนประเภทอุตสาหกรรม ผ่าน BOI หันมาส่งเสริมสินค้ารุ่นใหม่ ที่ใช้เทคโนโลยีที่มีมูลค่าสูง เช่น การผลิตยางรถยนต์, Advance Material,ไฮเทค ออโต้พาร์ท,ผลิตชิ้นส่วนสำหรับเครื่องบิน เครื่องมือวิทยาศาสตร์ และ โซลาร์เซลล์ เป็นต้น

    นอกจากนี้รัฐบาลได้ดำเนินการยกเลิกการเก็บภาษีรายได้จากการนำเงินลงทุนในต่างประเทศเข้าในประเทศ ซึ่งจะทำให้บริษัทเอกชนไม่นำเงินออกไปฝากไว้ที่อื่น และยังสามารถทำให้ GDP ของไทยขยายตัวเพิ่มสูงขึ้นอีกมาก

     พร้อมกันนี้ ยังมีในเรื่องของการส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิตอล ได้แก่ National Broadband ที่จะทำให้ประชาชนสามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ตครอบคลุมทุกครัวเรือนในปี 60 ,DATA Center ,Gate way ,Digital Banking ,Government services ,E-commerce/Digital Entrepreneur ,Digital Content และ Distance Learing and Instruetional Technology (DLIT) โดยการส่งเสริมไทยให้ก้าวเป็นเศรษฐกิจดิจิตอลนั้น คาดว่าน่าจะให้ระยะเวลาในการผลักดันไปอีก 1 ปี

   ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวถึงบรรยากาศทางการเมืองปีนี้ว่า ดีขึ้นกว่าปีก่อน ซึ่งการออกมาประท้วงของประชาชนในปีที่ผ่านมาเพราะรัฐบาลมีปัญหาการคอร์รัปชั่นจนประชาชนไม่สามารถทนรับได้ ซึ่งจากบทเรียนที่ผ่านมานี้เป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้นักการเมืองและพรรคการเมืองเริ่มตระหนักแล้วว่าถ้ามีการคอร์รัปชั่นในการบริหารประเทศ ประชาชนก็จะออกมาประท้วงต่อต้านอีก ดังนั้นจึงเชื่อว่าจากนี้คงจะไม่เห็นการคอร์รัปชั่นครั้งใหญ่ที่สร้างความเสียหายให้เกิดแก่ประเทศอีก

                "นักการเมืองทุกคนตอนนี้คงรู้ในใจแล้วว่า ถ้าเข้ามาแล้วคอร์รัปชั่น คนไทยจะออกมาประท้วงอีก เพราะฉะนั้นในใจนักการเมือง พรรคการเมืองตอนนี้สำนึกอยู่แล้ว คงจะไม่เห็นการคอร์รัปชั่นครั้งใหญ่จนประเทศล่มจมอีกแล้ว" รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

      พร้อมระบุว่า การชุมนุมประท้วงของกลุ่มประชาชนในปีที่ผ่านมาถือว่าเป็นการประท้วงของผูที่ต้องการรักษาจริยธรรมทางการเมืองมากกว่าการรักษากฎหมาย เพราะที่ผ่านมากฎหมายยังสามารถถูกซื้อจากคนที่ไม่มีจริยธรรมได้

      "บรรยากาศทางการเมืองคงจะดีขึ้น เพราะคนที่ลงการเมืองต้องเริ่มปรับตัว ถ้าเอาคนที่ไร้จริยธรรมออกมา ก็จะเท่ากับเป็นการเรียกแขก" ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ระบุ

    อินโฟเควสท์

'หม่อมอุ๋ย'คาด ส่งออกไตรมาส 1/58 ติดลบ 4% หลังเศรษฐกิจโลกชะลอตัว มั่นใจการใช้จ่ายภาครัฐดัน ศก.ฟื้น

    ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ "ขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้กระแสเศรษฐกิจโลก"ว่า เศรษฐกิจไทยหลังจากนี้ไปมั่นใจว่าจะไม่ต่ำเตี้ยกว่าปัจจุบันอย่างแน่นอน ขณะที่ภาคการส่งออกคาดว่าจะเริ่มฟื้นตัว หลังจาก 3 เดือนที่ผ่านมา (มกราคม-มีนาคม 58 ) การส่งออกคาดว่าจะลดลง 4% จากมกราคมติดลบ 3.7% กุมภาพันธ์ติดลบ 6.7%

     สำหรับ สาเหตุที่ภาคการส่งออกชะลอตัวลง เกิดจากได้รับผลกระทบจากกระแสเศรษฐกิจโลกชะลอตัว ทั้งจากยุโรปที่ยังไม่ฟื้นตัว การว่างงานของสหรัฐฯ ยังอยู่ในระดับสูงที่ 5.7-5.8% จีนและญี่ปุ่นเศรษฐกิจยังคงชะลอตัว เป็นต้น แต่ทั้งนี้ไทยยังได้รับการชดเชยจากราคาน้ำมันที่ปรับลดลง ส่งผลดีต่อการจับจ่ายใช้สอยภายในประเทศ สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ  VAT เดือนมกราคม-มีนาคมสามารถจัดเก็บได้สูงกว่าปีที่ผ่านมา 9.75%

      ทั้งนี้ เศรษฐกิจไทยปีนี้คาดว่าจะได้รับอานิสงส์จากการใช้จ่ายภาครัฐเป็นสำคัญ สะท้อนจาก 3 เดือนแรกของปีงบประมาณ (ตุลาคม-ธันวาคม) มีการใช้จ่าย 29.8% และเดือนมกราคม-มีนาคมมีการใช้จ่ายแล้ว 51%

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!