WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'บิ๊กตู่' ตั้งอนุฯ 6 คณะเสริมเขี้ยว กพข.

       บ้านเมือง : ที่ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันศุกร์ที่ 20 ก.พ. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ครั้งที่ 1/2558 ร่วมกับคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางการทำงานของคณะกรรมการ กพข.

   โดยที่ประชุมเห็นชอบกำหนดให้การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นวาระแห่งชาติ โดยภาคเอกชนเป็นผู้นำ และกำหนด/ชี้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างขีดความสามารถ และภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนภาคเอกชน ทั้งนี้ ให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ 6 ชุด ได้แก่ 1) Macroeconomic stability มอบหมายนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธาน 2) การพัฒนาคลัสเตอร์ (cluster) มอบหมายคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน เป็นประธาน 3) การพัฒนาเชิงกายภาพ (พื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน โลจิสติกส์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ) มอบหมายนายภราเดช พยัฆวิเชียร เป็นประธาน 4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มอบหมายนายพารณ อิศรเสนา เป็นประธาน 5) การพัฒนาประสิทธิภาพภาครัฐ มอบหมายนายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ เป็นประธาน 6) การจัดการข้อมูลและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เป็นประธาน ภายใต้ กพข. ขึ้นมาดูแล และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ จัดทำแผนปฏิบัติการในแต่ละเรื่อง กำหนด milestone และเป้าหมาย ตลอดจนกำกับติดตามการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีทุก 3 และ 6 เดือน

  ทั้งนี้ มีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1) พัฒนากระบวนการทางศุลกากร 2) ให้ สศช. และ TMA ศึกษาแบบสอบถามของสถาบันการจัดการนานาชาติ International Institute for Management Development : IMD และเวิลด์อีโคโนมิก ฟอรั่ม World Economic Forum : WEF เพื่อเป็นข้อมูลในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ (perception) ที่ถูกต้องของผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถาม เพื่อให้การประเมินสถานภาพขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สะท้อนความก้าวหน้าการดำเนินงานเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาครัฐมากยิ่งขึ้น 3) จัดทำ Action plan ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

   นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยส่วนหนึ่งต้องพึ่งพิงกับอุตสาหกรรม เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมคือ แหล่งสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างอาชีพ จึงทำให้เกิดแนวคิดการบูรณาการระหว่างแนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ ที่มุ่งแสวงหาผลกำไรกับแนวความคิดเชิงนิเวศ ที่มุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันของอุตสาหกรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล สู่การเป็น "เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ" ภายใต้แนวทางการพัฒนาในด้านต่างๆ คือ กายภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ โดยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน อาทิ การจัดวางผังที่ตั้งของอุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นควบคู่ไปกับเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยเน้นการลดและป้องกันมลพิษ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า

   "สำหรับ ปี 2558 นี้ มีเขตประกอบการอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการต่อเนื่องแล้ว 4 แห่ง ได้แก่ เขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ปทุมธานี สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี และประกอบการอุตสาหกรรมเหมราช จังหวัดสระบุรี โดยต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นแม่งานในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำงบประมาณ เพื่อผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งต้องมีการหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) และหน่วยงานเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนร่วมกัน" นางอรรชกา กล่าว

รัฐ-เอกชนจับมือเพิ่มดีกรีการแข่งขันของชาติ ตั้ง 6 ทีมทำแผนปฏิบัติการด่วน

    แนวหน้า : บอร์ดกพข.ไฟเขียวการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นวาระแห่งชาติ เอกชนเป็นผู้นำชี้ปมปัญหาที่เป็นอุปสรรค ภาครัฐรับหน้าที่เป็นฝ่ายสนับสนุน จัดตั้งอนุกรรมการ 6 คณะ ทำแผนปฏิบัติการ รายงานความคืบหน้าต่อนายกฯทุก 3 เดือน และ 6 เดือน กรอ.เดินหน้าโครงการเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศ ดึงนักลงทุนต่างชาติเพิ่ม 10-15%

   ทำเนียบรัฐบาล พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ครั้งที่ 1/2558 ร่วมกับคณะกรรมการและผู้ที่เกี่ยวข้อง เพื่อพิจารณาแนวทางการทำงานของคณะกรรมการ กพข.

    โดยที่ประชุมเห็นชอบกำหนดให้การพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันเป็นวาระแห่งชาติ โดยภาคเอกชนเป็นผู้นำ และกำหนด/ชี้ปัญหาที่เป็นอุปสรรคต่อการเสริมสร้างขีดความสามารถ และภาครัฐเป็นผู้สนับสนุนภาคเอกชน ทั้งนี้ ให้มีการตั้งคณะอนุกรรมการ 6 ชุด ได้แก่ 1) Macroeconomic stability มอบหมายนายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เป็นประธาน 2) การพัฒนาคลัสเตอร์ (cluster) มอบหมายคณะกรรมการร่วมเอกชน 3 สถาบัน เป็นประธาน 3) การพัฒนาเชิงกายภาพ (พื้นที่ โครงสร้างพื้นฐาน โลจิสติกส์ เขตเศรษฐกิจพิเศษ) มอบหมายนายภราเดช พยัฆวิเชียร เป็นประธาน

    4) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ มอบหมายนายพารณ อิศรเสนา เป็นประธาน 5) การพัฒนาประสิทธิภาพภาครัฐ มอบหมายนายชัยณรงค์ อินทรมีทรัพย์ เป็นประธาน 6) การจัดการข้อมูลและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ มอบหมายสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) และสมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย เป็นประธาน ภายใต้ กพข. ขึ้นมาดูแล และมอบหมายให้คณะอนุกรรมการ จัดทำแผนปฏิบัติการในแต่ละเรื่อง กำหนด milestone และเป้าหมาย ตลอดจนกำกับติดตามการดำเนินงาน และรายงานผลการดำเนินการต่อนายกรัฐมนตรีทุก 3 และ 6 เดือน

  ทั้งนี้ มีเรื่องเร่งด่วนที่ต้องดำเนินการ 3 เรื่อง ประกอบด้วย 1) พัฒนากระบวนการทางศุลกากร 2) ให้ สศช. และ TMA ศึกษาแบบสอบถามของสถาบันการจัดการนานาชาติ International Institute for Management Development : IMD และเวิลด์

   อีโคโนมิก ฟอรั่ม World Economic Forum : WEF เพื่อเป็นข้อมูลในการเผยแพร่ความรู้ความเข้าใจ (perception) ที่ถูกต้องของผู้บริหารที่ตอบแบบสอบถาม เพื่อให้การประเมินสถานภาพขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ สะท้อนความก้าวหน้าการดำเนินงานเพื่อพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของภาครัฐมากยิ่งขึ้น 3) จัดทำ Action plan ให้แล้วเสร็จภายใน 1 เดือน

   นางอรรชกา สีบุญเรือง ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม กล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศไทยส่วนหนึ่งต้องพึ่งพิงกับอุตสาหกรรม เนื่องจากโรงงานอุตสาหกรรมคือ แหล่งสร้างงาน สร้างรายได้ และสร้างอาชีพ จึงทำให้เกิดแนวคิดการบูรณาการระหว่างแนวคิดเชิงเศรษฐศาสตร์ ที่มุ่งแสวงหาผลกำไรกับแนวความคิดเชิงนิเวศ ที่มุ่งเน้นการอยู่ร่วมกันของอุตสาหกรรม ชุมชน และสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล สู่การเป็น เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศภายใต้แนวทางการพัฒนาในด้านต่างๆ คือ กายภาพ เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม สังคม และการบริหารจัดการ

   โดยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการดำเนินงานทุกขั้นตอน อาทิ การจัดวางผังที่ตั้งของอุตสาหกรรมและการใช้ประโยชน์พื้นที่ที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม การเติบโตของเศรษฐกิจท้องถิ่นควบคู่ไปกับเศรษฐกิจภาคอุตสาหกรรม การจัดการคุณภาพสิ่งแวดล้อมที่ดี โดยเน้นการลดและป้องกันมลพิษ รวมถึงการเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ทรัพยากรและพลังงานอย่างคุ้มค่า

   การที่ประเทศไทยจะก้าวสู่ความเป็น เมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศโดยสมบูรณ์ต้องใช้ความร่วมมือระหว่างกันของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียต่างๆ เช่น ความร่วมมือระหว่างโรงงานกับโรงงาน โรงงานกับชุมชน โรงงานกับหน่วยงานภาครัฐ ทั้งนี้ถ้าความร่วมมือระหว่างกันมีความเข้มแข็ง การพัฒนาเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศจะสัมฤทธิผลได้ในไม่ช้า กระทรวงอุตสาหกรรมจึงได้มอบหมายให้กรมโรงงานอุตสาหกรรมผลักดันพื้นที่อุตสาหกรรมเป้าหมายให้เกิดเป็นเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศได้อย่างเป็นรูปธรรม ซึ่งผลลัพธ์ที่ตามมา คาดว่าจะสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทยได้กว่า 20-30% ตลอดจนสามารถดึงนักลงทุนชาวต่างชาติมาตั้งโรงงานอุตสาหกรรมในประเทศไทยได้เพิ่มขึ้น 10-15% รวมถึงจะสร้างจุดขายให้กับภาคอุตสาหกรรมของประเทศให้มีความแตกต่างกับประเทศในกลุ่ม AEC โดยประเทศที่ลงทุนในไทย สำคัญๆ ได้แก่ ญี่ปุ่น สิงคโปร์ อเมริกา จีน และเนเธอร์แลนด์

  “การสร้างมูลค่าเพิ่มแก่ภาคอุตสาหกรรมในแง่การทำเมืองอุตสาหกรรมเชิงนิเวศนี้คือ ในเขตประกอบการอุตสาหกรรมเดียวกันอาจจะนำของเสียจากโรงงานหนึ่งมาใช้ในอีกโรงงานหนึ่ง เช่น โรงงานหนึ่งมีเศษผ้าเหลือ อีกโรงที่เป็นโรงงานรีไซเคิล หรือเอาไปทำอุตสาหกรรมต่อยอดได้อาจจะมาซื้อไปทำต่อได้ ซึ่งก็เป็นการลดของเสียบางส่วน และสร้างมูลค่าเพิ่มได้นางอรรชกา กล่าว

   สำหรับ ปี 2558 นี้มีเขตประกอบการอุตสาหกรรมที่เข้าร่วมโครงการต่อเนื่องแล้ว 4 แห่ง ได้แก่ เขตประกอบการอุตสาหกรรมโรจนะ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา สวนอุตสาหกรรมบางกะดี ปทุมธานี สวนอุตสาหกรรมเครือสหพัฒน์ ศรีราชา จังหวัดชลบุรี และประกอบการอุตสาหกรรมเหมราช จังหวัดสระบุรี

    “การทำโครงการนี้ต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่าย โดยรัฐบาลได้มอบหมายให้กระทรวงอุตสาหกรรมเป็นแม่งานในการประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมกันจัดทำงบประมาณ เพื่อผลักดันให้เกิดนิคมอุตสาหกรรมเชิงนิเวศที่สมบูรณ์แบบ ซึ่งต้องมีการหารือกับผู้ว่าราชการจังหวัด และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (สอท.) และหน่วยงานเกี่ยวข้องในการขับเคลื่อนร่วมกันนางอรรชกา กล่าว

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!