WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'หม่อมอุ๋ย'ชี้ไทยอาจออก’อินฟราสตรัคเจอร์ บอนด์’ระดมทุนสร้างรถไฟทางคู่ เผย ฝรั่งเศสสนใจลงทุนรถไฟความเร็วสูง

         'หม่อมอุ๋ย'ชี้ไทยมีหลายทางเลือกระดมทุนลงโครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีน นอกเหนือจากวิธีกู้เงินจีน ที่ดอกเบี้ยอาจสูง ระบุอาจเป็นรูปแบบออก "พันธบัตรโครงสร้างพื้นฐาน"ก็ได้ พร้อมเผยฝรั่งเศสก็สนใจเข้าลงทุนในไทย เล็งธุรกิจปิโตรเลียม-การเดินรถใน กทม.-รถไฟความเร็วสูง 

        ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ไทยมีทางเลือกในการลงทุนโครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีน หลายทาง ซึ่งอาจรวมถึงการออกพันธบัตรโครงสร้างพื้นฐาน หรือ Infrastructure  bond  หากรัฐบาลของสาธารณรัฐ ประชาชนจีน เสนออัตราดอกเบี้ยสูง ในการลงทุนโครงการดังกล่าว 

        นอกจากนี้ ไทยจะไม่กู้สกุลเงินหยวนของจีน เพราะว่าเงินหยวนมี โอกาสแข็งค่าในอนาคต ซึ่งจะทำให้มีภาระในการจ่ายเงิน ดังนั้น หากจีนอยากร่วมมือในการก่อสร้างรถไฟร่วมกับไทย ก็ต้องเสนอดอกเบี้ยต่ำ ซึ่งก่อนหน้านี้ได้บอกกับทางจีนไปแล้วว่า ถ้าจีนประสงค์ จะให้ไทยกู้เงิน ไทยไม่ต้องการกู้เงินสกุลหยวน เพราะเงินสกุลหยวนมีโอกาส แข็งค่าได้ในอนาคต ทำให้มีภาระหนี้ ดังนั้นควรเป็นเงินสกุลอื่น

        "ถ้าเขาเสนอ(ดอกเบี้ย)ให้เราสูง เสนอมาแพง เราก็อย่าไปเอา เพราะเรามีช่องทางอีกมาก ออก Infrastructure bond ในเมืองไทยก็ได้ ตลาดเงินเราก็ใหญ่ ทางเลือกเรามีเยอะ เรื่องนี้ไม่น่าห่วง " ม.ร.ว.ปรีดิยาธร  กล่าว 

     การออก Infrastructure bond เป็นการแปลงรายได้อนาคต มาออกเป็นตราสารหนี้ แล้วให้รัฐวิสาหกิจหรือหน่วยงานรัฐ ค้ำประกัน

        "จีนอาจจะเข้าใจผิดว่า เราพึ่งเกิดใหม่ แต่ความจริงตลาดเงินเราใหญ่ มาก เงินสกุลที่จะกู้ ต้องไม่แข็ง เพราะเดี๋ยวเราใช้หนี้แพง เรื่องนี้รายละเอียด ต้องมาดูอีกมาก ประเด็นเงินกู้ไม่สำคัญเท่ากับโครงสร้างและการบริหารจัดการ" รองนายกรัฐมนตรี กล่าว

      เขากล่าวอีกว่า รัฐบาลมีความตั้งใจจะเริ่มก่อสร้างรถไฟฟ้า 2 สาย ให้ได้ ในรัฐบาลชุดนี้ แต่รถไฟความเร็วสูง ต้องให้รัฐบาลชุดหน้าดำเนินการ เพราะรัฐบาลชุดนี้มีเวลาแค่ 1 ปี     

      ช่วงบ่ายวันนี้ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้า คณะรักษาความสงบแห่งชาติ(คสช.)ระบุว่า อย่าเพิ่งกังวลกรณีรัฐบาลจีน เสนอ รูปแบบการลงทุนในโครงการรถไฟทางคู่ไทย-จีน โดยได้เสนออัตราดอกเบี้ยสูง  เพราะมีคณะกรรมการหลายชุดดูแลในรายละเอียดอยู่ 

        ก่อนหน้านี้ นายอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รมช.คมนาคม เผยผลการ ประชุมคณะอนุกรรมการด้านการเงินและรูปแบบการลงทุนภายใต้บันทึกความเข้าใจ ไทย-จีน เรื่องโครงการดำเนินงานก่อสร้างรถไฟทางคู่ รางมาตรฐาน 1.435เมตร เส้นทางหนองคาย-นครราชสีมา-แก่งคอย-มาบตาพุด และแก่งคอย-กรุงเทพฯ ระยะทาง รวม 873 กิโลเมตรว่า รัฐบาลจีนเสนอรูปแบบการลงทุนแบบการกู้ ร่วมกัน ผ่านธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศจีน

        โดยฝ่ายจีนเสนออัตราดอกเบี้ย 2-4% ระยะเวลาคืนทุนภายใน 20 ปี  ทั้งสองฝ่าย มีนัดประชุมคณะกรรมการไทย-จีน ครั้งที่ 2 ในวันที่ 11-13 ก.พ.ที่กรุงปักกิ่ง หลังได้หารือครั้งแรกเมื่อปลายเดือนม.ค.ที่ผ่านมา 

       เมื่อปลายเดือนธ.ค.ปีที่แล้ว ไทยและจีนลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านรถไฟทางคู่ขนาดรางมาตรฐานโครงการแรกของไทย เพื่อรองรับรถไฟ ที่มีความเร็วระหว่าง 160-180 กิโลเมตร/ชั่วโมง

     การลงนามของทั้งไทยกับจีนดังกล่าว อยู่ในแผนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ด้านคมนาคมขนส่งของไทยปี 58-65 ซึ่งโครงการนี้คาดว่าจะใช้งบลงทุนราว 4แสนล้านบาท โดยคาดว่าจะเริ่มก่อสร้างเส้นทางแรกได้ในเดือนก.ย.58

      ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าวต่อว่า ฝรั่งเศสสนใจที่จะ เข้ามาลงทุนในไทย โดยมองไปที่ธุรกิจปิโตรเลียม การเดินรถในกรุงเทพฯ และ รถไฟความเร็วสูง 

      "เขายืนยันว่า ยังสนใจที่จะลงทุนในประเทศไทย ล่าสุดการเปิดสัมปทาน ปิโตรเลียม รอบ 21 ก็มีบริษัท Total เข้ามาซื้อซองด้วยในจำนวน 13 บริษัท ที่ซื้อซองไปก่อนหน้านี้ " ม.ร.ว.ปรีดิยาธร กล่าว

     ทั้งฝรั่งเศสเป็นประเทศที่มีจุดแข็งในเรื่องการเดินรถในเมือง ซึ่งได้แจ้งให้เขารอจังหวะก่อน หากในอนาคตรัฐบาลมีนโยบาย จะให้เอกชนมาดำเนินการเดินรถในกรุงเทพฯ ฝรั่งเศสก็จะสามารถเข้ามาร่วม ประมูลได้ ซึ่งเขามีความเชี่ยวชาญด้านนี้ 

     ขณะเดียวกัน ฝรั่งเศสยืนยันว่า มีความพร้อมในเรื่องรถไฟความเร็วสูง รวมถึงโรงไฟฟ้าพลังงานนิวเคลียร์ ซึ่ง ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้แจ้งไป ในส่วน ของรถไฟความเร็วสูงนั้น มีโอกาสน้อยที่รัฐบาลชุดนี้จะเป็นผู้ดำเนินการ เพราะ การทำงานของรัฐบาลชุดนี้มีแค่ปีเศษ เช่นเดียวกับเรื่องโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ซึ่ง ไทยยังไม่มีความพร้อม

       สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

      

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!