WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'หม่อมอุ๋ย'เคาะหลักเกณฑ์ PPP โครงการภาครัฐมูลค่าตั้งแต่ 1 พันลบ.

     นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(คณะกรรมการ PPP) ซึ่งมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในวันนี้ มีมติกำหนดให้กระทรวงการคลังออกกฎกระทรวง กำหนดให้โครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่ 5 พันล้านบาทขึ้นไป ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556

    ส่วนโครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 พันล้านบาท แต่ไม่ถึง 5 พันล้านบาท จะแยกการพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ 1.หากเป็นโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ ให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ แต่หากไม่ใช่โครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาที่ดินของรัฐในเชิงพาณิชย์ ก็ให้ดำเนินการตามกระบวนการแบบผ่อนปรน โดยมีรูปแบบเดียวกับโครงการที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 พันล้านบาท แต่ให้เพิ่มขั้นตอนการกำกับดูแลและรายงานให้คณะกรรมการ PPP ทราบ

     ส่วนโครงการที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 พันล้านบาทนั้น คณะกรรมการ PPP ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบในโครงการนั้นได้ เพื่อให้การดำเนินโครงการไม่ล่าช้า และไม่เป็นภาระกับหน่วยงานเจ้าของโครงการมากเกินไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

หม่อมอุ๋ย เคาะเกณฑ์ PPP โครงการภาครัฐตั้งแต่ 1 พันลบ.-เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ 5 ปี

    นายกุลิศ สมบัติศิริ ผู้อำนวยการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ(สคร.) เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายการให้เอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ(คณะกรรมการ PPP) ซึ่งมี ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีเป็นประธานในวันนี้ มีมติกำหนดให้กระทรวงการคลังออกกฎกระทรวง กำหนดให้โครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่ 5 พันล้านบาทขึ้นไป ต้องดำเนินการตามหลักเกณฑ์และขั้นตอนที่กำหนดไว้ใน พ.ร.บ.การให้เอกชนเข้าร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ พ.ศ.2556

    ส่วนโครงการที่มีมูลค่าตั้งแต่ 1 พัน แต่ไม่ถึง 5 พันล้านบาท จะแยกการพิจารณาเป็น 2 กรณี คือ 1.หากเป็นโครงการที่เป็นโครงสร้างพื้นฐานและบริการสาธารณะ ให้ดำเนินการตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯ แต่หากไม่ใช่โครงการที่เกี่ยวกับโครงสร้างพื้นฐาน เช่น การพัฒนาที่ดินของรัฐในเชิงพาณิชย์ ก็ให้ดำเนินการตามกระบวนการแบบผ่อนปรน โดยมีรูปแบบเดียวกับโครงการที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 พันล้านบาท แต่ให้เพิ่มขั้นตอนการกำกับดูแลและรายงานให้คณะกรรมการ PPP ทราบ

    ส่วนโครงการที่มีมูลค่าต่ำกว่า 1 พันล้านบาทนั้น คณะกรรมการ PPP ได้มอบหมายให้รัฐมนตรีเจ้าสังกัดเป็นผู้พิจารณาให้ความเห็นชอบในโครงการนั้นได้ เพื่อให้การดำเนินโครงการไม่ล่าช้า และไม่เป็นภาระกับหน่วยงานเจ้าของโครงการมากเกินไป

    นายกุลิศ เปิดเผยถึงกระบวนการให้ภาคเอกชนเข้าร่วมลงทุนตามกฏหมาย PPP ว่า ขณะนี้คณะกรรมการ PPP ได้ให้ความเห็นชอบกฏหมายลำดับรองไปแล้ว 14 ฉบับจาก 17 ฉบับ เพื่อให้โครงการ PPP สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว หลังจากหยุดชะงักมาเกือบ 2 ปี ซึ่งกระบวนการที่กำหนดไว้ในกฏหมายลำดับรองเริ่มจาก 1.หลักเกณฑ์และวิธีการคำนวณมูลค่าโครงการ ซึ่งถือเป็นครั้งแรกที่มีการกำหนดวิธีการในการคำนวณมูลค่าโครงการทั้งเงินลงทุนและทรัพย์สินทั้งภาครัฐและเอกชนตลอดอายุโครงการเฉพาะที่ใช้ดำเนินโครงการเท่านั้น และให้หน่วยงานสามารถเลือกคำนวณส่วนใดก่อนก็ได้

    2.กระบวนการประกาศเชิญชวนและคัดเลือกเอกชน ซึ่งให้ดำเนินการตามกฏระเบียบเดิม แต่ปรับให้มีความชัดเจนและโปร่งใสมากขึ้น 3.มีการกำหนดหัวข้อสำคัญที่ต้องเป็นมาตรฐานในสัญญาร่วมลงทุน เช่น สิทธิและหน้าที่ของแต่ละฝ่าย การกำหนดอัตราค่าบริการและผลประโยชน์ตอบแทน และสัญญาร่วมลงทุนต้องไม่มีการต่ออายุสัญญาแบบอัตโนมัติ การไม่ให้เอกชนเปลี่ยนเงื่อนไขโครงการฝ่ายเดียวได้ โดยให้หน่วยงานเจ้าของโครงการพิจารณาถึงประเด็นเหล่านี้ตั้งแต่วันที่จะเริ่มโครงการไม่ให้เป็นปัญหาเหมือนที่ผ่านมา

                4.ลักษณะการแก้ไขสัญญาร่วมลงทุนที่เป็นสาระสำคัญ เพื่อรักษาคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชนและผลประโยชน์ของภาครัฐเป็นสำคัญ หากการเปลี่ยนแปลงใดที่ส่งผลกระทบกับผลลัพธ์ตามวัตถุประสงค์ของโครงการผลประโยชน์ของภาครัฐ หรือเป็นการเพิ่มประโยชน์ให้แก่คู่สัญญาฝ่ายเอกชน จะต้องได้รับการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีก่อน ทำให้ลดปัญหาในการกำกับดูแลสัญญาและเพิ่มความโปร่งใสในการแก้ไขสัญญา ซึ่งกฏหมายลำดับรองจะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายในเดือนก.พ.นี้ เพื่อให้โครงการร่วมทุนต่างๆ สามารถดำเนินการได้

    ทั้งนี้ ที่ประชุมคณะกรรมการ PPP เห็นชอบร่างยุทธศาสตร์ PPP 5 ปี ซึ่งสคร.จะนำร่างแผนดังกล่าวหารือกับกระทรวงต้นสังกัด เพื่อจัดลำดับว่าในแต่ละปีจะมีโครงการลงทุนประเภทใดบ้าง โดยจะรับฟังความคิดเห็นจากผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในกลางเดือนมี.ค. และนำเสนอครม.ในช่วงต้นเดือนเม.ย. โดยคาดว่าจะสามารถประกาศแผนยุทธศาสตร์ PPP ให้เอกชนรับทราบ Project Pipeline กรอบระยะเวลา และรูปแบบการร่วมลงทุนของเอกชนในโครงการ PPP ต่างๆ ได้ภายในเดือนเม.ย.หลังครม.ได้อนุมัติแล้ว และมีความเป็นไปได้ที่ในปี 2558 จะเริ่มประกาศยุทธศาสตร์ในโครงการโครงสร้างพื้นฐานด้านการขนส่ง และเรื่องดิจิทัลอีโคโนมี และแผนบริหารจัดการน้ำ

    ด้านแผนพัฒนาด้านคมนาคมขนส่งใน 8 ปี 2558-2563 วงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท เบื้องต้นมีโครงการในรูปแบบ PPP ประมาณ 3 แสนล้านบาท ที่ประชุมได้มอบหมายให้สคร.หารือร่วมกับกระทรวงคมนาคมเพื่อเพิ่มสัดส่วนโครงการในรูปแบบ PPP มากขึ้น ส่วนโครงการรถไฟความเร็วปานกลาง ซึ่งเป็นความร่วมมือไทย-จีน ในขณะนี้ยังไม่อยู่ในรูปแบบ PPP

                        อินโฟเควสท์

'อุ๋ย'ไล่บี้ราชการเร่งเบิกจ่าย ขู่คาดโทษปลัด-อธิบดียิ้มหนี้สาธารณะลดฮวบ

   ไทยโพสต์ : ทำเนียบฯ *’ปรีดิยาธร’บี้ทุกส่วนราชการเร่งทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้าง คาดโทษปลัดกระทรวง-อธิบดีหากมีหน่วยงานเบิกจ่ายต่ำเป้ามาก ด้านศุลกากรโอดมาตรการรัฐกระทบแผนรีดรายได้ปีงบ 58 เฉียด 5 พันล้านบาท คลังแจงหนี้ประเทศเดือน ธ.ค.57 อยู่ที่ 5.62 ล้านล้านบาท

    พล.ต.สรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐ มนตรี เปิดเผยว่า ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้สั่งการในที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ให้ทุกหน่วยงานเร่งดำเนินการทำสัญญาจัดซื้อจัดจ้างโดยเร็วที่สุด เพื่อให้การเบิกจ่ายงบประ มาณในปี 2558 เป็นไปตามเป้าหมายที่ฝ่ายเศรษฐกิจของรัฐบาลได้กำหนดไว้ โดยเฉพาะหน่วยงานที่มีเงินลงทุนอยู่ในระดับสูง อาทิ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  กรมทรัพยากรน้ำ กรมโยธาธิการและผังเมือง กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข กรม ชลประทาน สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นต้น

    นอกจากนี้ ยังได้สั่งการภายในวันที่ 18 ก.พ.2558 สำนักงบประมาณต้องรวบรวมรายละเอียดการเบิกจ่ายงบประมาณของทุกกระทรวง ทบวง กรม มาเสนอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) เพื่อให้คณะกรรมการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ช่วยติดตามเร่งรัดว่าหน่วยงานใดที่เบิกจ่ายได้ใกล้เคียงเป้าหมาย หน่วยงานใดยังเบิกจ่ายห่างไกลจากเป้าหมาย

    โดยรายละเอียดที่สำนักงบประมาณจะต้องรวบรวมนั้น  ต้องลงในรายละเอียดถึงความคืบหน้าในการผูกพันสัญญาการจัดซื้อจัดจ้างว่าถึงขั้นไหน การจัดทำทีโออาร์แล้วเสร็จหรือยัง  เอกสารการจัดซื้อจัดจ้างถึงขั้นตอนไหน ถ้าหน่วยงานใดยังห่างไกลจากเป้าหมายอยู่มาก ก็ต้องไปกวดขันถึงปลัดกระทรวงและอธิบดีของแต่ละกรมต่อไป

   ทั้งนี้ ม.ร.ว.ปรีดิยาธร ได้รายงานต่อที่ประชุม ครม.ถึงความคืบหน้าตามแผนการขับเคลื่อนด้านเศรษฐกิจ โดยเฉพาะการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม (แวต) ที่เก็บจากการใช้จ่ายภายในประเทศ ในช่วงเดือน ม.ค.2558 อยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาท เพิ่มขึ้น 8.77% จากช่วงเดียวกันปีก่อนอยู่ที่ 3.68 หมื่นล้านบาท ซึ่งสะท้อนว่าภาพรวมเศรษฐกิจของประเทศไทยเริ่มปรับตัวดีขึ้น แต่ยังต้องติดตามสถานการณ์การจัดเก็บภาษีแวตในช่วง ก.พ.-เม.ย.2558 ว่าจะมีทิศทางดีขึ้นอย่างต่อเนื่องหรือไม่

    สำหรับ สถานการณ์การเบิก จ่ายเงินงบประมาณในช่วง 4 เดือน แรกของงบประมาณปี 2558 (ต.ค.57-ม.ค.58) สามารถเบิกจ่ายงบรายจ่ายประจำที่ 9.1 แสนล้านบาท คิดเป็น 42.8% จากเป้าหมายถึงสิ้น มี.ค.2558 อยู่ที่ 1.27 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 60% และรายจ่ายลงทุนอยู่ที่ 5.82 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 12.9% จากเป้าหมายถึงสิ้น มี.ค.2558 อยู่ที่ 1.34 แสนล้านบาท หรือ 30%

    นายสมชัย สัจจพงษ์ อธิบดีกรมศุลกากร เปิดเผยว่า การเก็บ ภาษีของกรมศุลกากรเดือน ม.ค.2558 ซึ่งเป็นเดือนที่ 4 ของปีงบ ประมาณ 2558 ยังต่ำกว่าเป้า 400 ล้านบาท เพราะยังได้รับผล กระทบจากหลายปัจจัย อันดับแรกการนำเข้ายังขยายตัวน้อยกว่าที่คาดการณ์ไว้ นอกจากนี้ยังได้รับผลกระทบจากมาตรการลดภาษีนำเข้าเครื่องจักรและวัตถุดิบเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจของรัฐบาลเมื่อช่วงปลายปี 2557 ที่ผ่านมา

   รายงานข่าวจากสำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.)  ระบุว่า สถานะหนี้สาธารณะคงค้างสิ้น เดือน ธ.ค.2557 มียอดหนี้อยู่ที่ 5.62 ล้านล้านบาท หรือคิดเป็น 45.84% ของจีดีพี ลดลงจากเดือนก่อนหน้า 2.08 พันล้านบาท เนื่องจากการปรับประมาณการจีดีพีของเดือน ธ.ค.เพิ่มขึ้น ส่งผลให้สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อจีดีพีปรับลดลงจาก 46.12% เป็น 45.84% และหนี้ที่รัฐบาลกู้เพื่อชดใช้ความเสียหายให้แก่กองทุนเพื่อการฟื้นฟูฯ ลดลง เป็นสำคัญ.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!