WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'ประยุทธ์'ชี้ญี่ปุ่นให้เกียรติไทย ยันตามโรดแมปโวลต.ต้นปี 59

        แนวหน้า : เมื่อเวลา 11.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทย ระหว่างการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ โดยนายกรัฐมนตรีได้พบปะหารือร่วมกับภาครัฐและภาคธุรกิจของญี่ปุ่นหลายราย รวมถึงได้หารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่ไทยได้เน้นย้ำถึงความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกัน และความร่วมมือในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาคมอาเซียนด้วยการสนับสนุนไทยให้เป็นตัวขับเคลื่อนการเจริญเติบโตในภูมิภาค โดยเฉพาะโครงการพัฒนาระบบราง และได้นำเสนอเรื่องการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน 4 ประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมโอกาสทางเศษฐกิจ

        อย่างไรก็ตาม โอกาสการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้รับฟังบรรยายสรุปเรื่องการพัฒนาด้านระบบรางของญี่ปุ่น และเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น ที่สถานีรถไฟโตเกียว และได้โดยสารรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็นเดินทางไปยังนครโอซากา ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า พอใจการเดินทางเยือนครั้งนี้ เพราะญี่ปุ่นให้เกียรติไทยอย่างเต็มที่ และได้มีการพูดคุยกันในหลายมิติ มีการนำปัญหาและอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนมาร่วมกันแก้ไข และหาแนวทางการทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ขณะที่เรื่องการพัฒนาระบบรางของไทย ได้นำเสนอแนวทางการร่วมทุน เนื่องจากไทยมีที่ดินอยู่แล้ว โดยเชื่อว่าหากไทยมีรถไฟความเร็วสูง จะทำให้ได้รับประโยชน์ในด้านการค้าขาย ที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เนื่องจากตลอดเส้นทางการเดินรถไฟและสถานีจะสามารถทำการค้าขายได้

        ส่วนสถานการณ์การเมืองของไทยนั้น นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ญี่ปุ่นเข้าใจและเชื่อมั่นด้วยดี ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่า ไทยเดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตยตามแผนโรดแมปที่วางไว้  โดยการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะใช้เวลาอีกไม่นาน และคาดว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งได้ในช่วงต้นปี 2559 และได้ยืนยันว่าตนเองเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้ามีประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและยั่งยืน

`ประยุทธ์-อาเบะ`ร่วมแถลงผลหารือทวิภาคีระดับผู้นำไทย-ญี่ปุ่น ขอไทยกลับคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็ว

      นายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นพบหารือทวิภาคีกับ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ณ ทำเนียบรัฐบาลญี่ปุ่น กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น โดยภายหลังเสร็จสิ้นการหารือ นายกรัฐมนตรีได้แถลงข่าวร่วมกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเกี่ยวกับผลการหารือทวิภาคีระดับผู้นำไทย-ญี่ปุ่น โดยมีสาระสำคัญดังนี้

      นายกรัฐมนตรีแสดงความขอบคุณนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลญี่ปุ่นที่ให้การต้อนรับอย่างอบอุ่น รวมถึงการหารือที่เพิ่งเสร็จสิ้นเมื่อครู่ซึ่งเป็นการพบกันครั้งที่ 3 แล้วระหว่างนายกรัฐมนตรีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น

     ประเด็นแรก การเดินทางมาญี่ปุ่นในครั้งนี้ ก็เพื่อที่จะมาย้ำความสำคัญของการเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างไทยกับญี่ปุ่น ซึ่งเป็นรากฐานที่สำคัญที่สุดของการดำเนินบทบาทของทั้งสองประเทศในอนุภูมิภาคลุ่มแม่น้ำโขง และอาเซียน นายกรัฐมนตรียินดีที่ได้ยินจากนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นว่า ญี่ปุ่นและไทยจะเดินไปด้วยกันในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาคมอาเซียน

      ด้วยแนวคิดดังกล่าวนั้น นายกรัฐมนตรีคิดว่า สิ่งที่สำคัญที่สุดที่เราทั้งสองได้หารือกันก็คือ ความมุ่งมั่นของญี่ปุ่นในการสนับสนุนไทยให้เป็น engine ขับเคลื่อนการเจริญเติบโตในภูมิภาค ไม่ว่าจะเป็นโครงการระบบราง ซึ่งทั้งสองฝ่ายก็ได้ลงนามเจตจำนงระหว่างกันที่จะศึกษาและพัฒนา 3 เส้นทางเร่งด่วนในไทยซึ่งจะเชื่อมโยงสิ่งที่เราเรียกว่า ระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก - ตะวันตก ทั้งด้านบนและด้านล่าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องโครงการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายในเมียนมา ซึ่งจะเป็นโครงการเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในเอเชียอาคเนย์เชื่อม อนุภูมิภาคแม่น้ำโขงและเอเชียใต้เข้าไว้ด้วยกัน รวมไปถึงเรื่องการหารือในแนวคิดของไทยที่จะพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน 4 ประเทศ ทั้งหมดนี้ ย่อมเป็นการส่งเสริมโอกาสทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลให้กับเอกชนญี่ปุ่น โดยมีไทยเป็นฐานการผลิต จุดเชื่อมโยง และศูนย์กลางการกระจายสินค้าในภูมิภาค

    ประเด็นที่สอง นายกรัฐมนตรีได้ย้ำกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นถึงความคืบหน้าในการกลับคืนสู่ประชาธิปไตยโดยเร็วของประเทศไทย ซึ่งในนามของรัฐบาลและประชาชนชาวไทยต้องขอขอบคุณชาวญี่ปุ่นที่มีความเป็นห่วงเป็นใยต่อสถานการณ์การเมืองไทยก่อนหน้านี้ อีกไม่นานการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะเสร็จสิ้น และคาดว่าจะจัดการเลือกตั้งได้ในช่วงต้นปีหน้า โดยเข้ามาทำหน้าที่บริหารราชการให้ประเทศไทยเดินหน้าได้ในช่วงเปลี่ยนผ่านสั้น ๆ นี้ที่มีความสำคัญยิ่งต่ออนาคตของคนไทยทุกคน จึงขอให้ชาวญี่ปุ่นมีความมั่นใจได้ว่า ประเทศไทยกำลังพยายามอย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหารอบด้าน ในทุกเรื่อง และนายกรัฐมนตรีได้ให้สัญญาว่า ไทยจะกลับมาเป็นประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและยั่งยืน

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

'อาเบะ'หวัง'ปรองดอง'ในไทย รบ.คืนอำนาจสู่พลเรือนเร็วที่สุด

        10 ก.พ.58 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า นายกรัฐมนตรีชินโซ อะเบะ ของญี่ปุ่น ได้เรียกร้องรัฐบาลภายใต้การนำของทหารของไทย คืนอำนาจการปกครองกลับสู่พลเรือนโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในระหว่างพบปะกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่น

       นายอะเบะ กล่าวในระหว่างการแถลงข่าวร่วมกันว่า นายกฯ ประยุทธ์ กำลังพยายามอย่างเต็มที่ในการฟื้นฟูประชาธิปไตยในประเทศไทย ซึ่งญี่ปุ่นได้คาดหวังอย่างยิ่งว่าจะเกิดการปรองดองกันในประเทศไทย และคืนอำนาจการปกครองให้กับพลเรือนให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้

       ด้าน พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวว่า ไทยกำลังเร่งเดินหน้าจัดทำรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งได้มีการวางแผนจัดการเลือกตั้งภายในปลายปีนี้ หรือต้นปีหน้า และสัญญาว่าจะสร้างประชาธิปไตยที่เข้มแข็งขึ้นในประเทศไทย

ไทย-ญี่ปุ่น ลงนามความร่วมมือพัฒนาระบบราง-การลงทุน

      รัฐบาลไทยและญี่ปุ่น ลงนามความร่วมมือ 2 ฉบับ พัฒนาระบบราง - ส่งเสิรมการลงทุน

       วานนี้(9 กุมภาพันธ์) เวลา 18.45 น. ตามเวลาท้องถิ่นประเทศญี่ปุ่นหลังจาก พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ได้หารือทวิภาคีกับนายชินโซะ อาเบะ นายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่ทำเนียบรัฐบาลญี่ปุ่น โดยนายกรัฐมนตรีของทั้ง 2 ประเทศได้ร่วมเป็นสักขีพยานในพิธีแลกเปลี่ยนและลงนามเอกสารความร่วมมือ 2 ฉบับ ได้แก่

      1.บันทึกแสดงเจตจำนง (MOI) ความร่วมมือในการพัฒนาระบบราง ระหว่างกระทรวงคมนาคมไทย – ญี่ปุ่น

      2.บันทึกความร่วมมือ (MOC) ในการส่งเสริมการทำธุรกิจและการลงทุนของไทยในญี่ปุ่น  เพื่อผลักดันความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างกันให้มีความมั่นคงยั่งยืน

เอกชนญี่ปุ่นแย้มอยากลงทุนไทย สร้างรถไฟฟ้ากทม.-ปริมณฑล

        แนวหน้า : เมื่อเวลา 13.45 น. พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.)ได้พบปะหารือกับผู้แทนระดับสูงของภาคเอกชนบริษัทต่างๆ ประกอบด้วย นายโอะสะมุ มะสุโคะ ประธานบริษัทมิตซูบิชิ มอเตอร์ นาย Fumihiko Ike ประธานบริษัทฮอนดาร์ มอเตอร์ , นายมะซะมิ อีจิมะ ประธานบริษัทมิซุยแอนด์ โค นายฟุมิยะ โคะคุโบะ ประธานบริษัทมะรุเบะนิ โดยภาคเอกชนญี่ปุ่นแสดงความเชื่อมั่น และยืนยันการลงทุนในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง โดยแสดงความสนใจลงทุนธุรกิจผลิตไฟฟ้า และโครงสร้างพื้นฐานระบบราง ซึ่งนายกรัฐมนตรีขอให้ภาคเอกชนทำแผนมาให้ชัดเจน และประสานกับภาครัฐของญี่ปุ่นในการพัฒนา

       ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีหวังให้ภาคเอกชนจัดตั้งสถาบันวิจัยในไทย ซึ่งจะได้รับสิทธิการลดหย่อนภาษีการค้า และต้องการเพิ่มมูลค่าการลงทุน โดยเชิญชวนให้ลงทุนในเขตเศรษฐกิจพิเศษ ซึ่งภาคเอกชนให้ความสนใจเขตเศรษฐกิจชายแดนของไทย และเขตเศรษฐกิจทวายด้วย

      นอกจากนี้ ภาคเอกชนญี่ปุ่นแสดงความสนใจลงทุนด้านรถไฟฟ้าในเขตกรุงเทพและปริมณฑล โดยขอให้พิจารณาความเป็นไปได้ในการดำเนินโครงการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และให้พิจารณาความเป็นไปได้ในการจัดตั้งการผลิตรถยนต์ไฟฟ้าในประเทศไทย รวมถึงแก้ไขอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับระบบศุลกากร

นายกฯพอใจผลเดินทางเยือนญี่ปุ่น-เสนอแนวทางร่วมทุนพัฒนาระบบราง

       ผู้สือข่าวรายงานว่า วันนี้ เวลา 11.45 น. ตามเวลาท้องถิ่น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีนายกรัฐมนตรีให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทย ระหว่างการเยือนญี่ปุ่นอย่างเป็นทางการ สรุปสาระสำคัญดังนี้

      นายกรัฐมนตรีได้พบปะหารือร่วมกับภาครัฐและภาคธุรกิจของญี่ปุ่นหลายราย รวมถึงได้หารือทวิภาคีกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น ที่ไทยได้เน้นย้ำถึงความเป็นหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ระหว่างกัน และความร่วมมือในการเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้กับประชาคมอาเซียนด้วยการสนับสนุนไทยให้เป็นตัวขับเคลื่อนการเจริญเติบโตในภูมิภาค โดยเฉพาะโครงการพัฒนาระบบราง และได้นำเสนอเรื่องการพัฒนาเขตเศรษฐกิจพิเศษตามแนวชายแดน 4 ประเทศ เพื่อเป็นการส่งเสริมโอกาสทางเศษฐกิจ

     อย่างไรก็ตาม โอกาสการเยือนครั้งนี้ นายกรัฐมนตรียังได้รับฟังบรรยายสรุปเรื่องการพัฒนาด้านระบบรางของญี่ปุ่น และเยี่ยมชมศูนย์ควบคุมรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็น ที่สถานีรถไฟโตเกียว และได้โดยสารรถไฟความเร็วสูงชินคันเซ็นเดินทางไปยังนครโอซากา ซึ่งนายกรัฐมนตรีกล่าวว่า พอใจการเดินทางเยือนครั้งนี้ เพราะญี่ปุ่นให้เกียรติไทยอย่างเต็มที่ และได้มีการพูดคุยกันในหลายมิติ มีการนำปัญหาและอุปสรรคต่อการค้าและการลงทุนมาร่วมกันแก้ไข และหาแนวทางการทำให้ประชาชนอยู่ดีมีสุข ขณะที่เรื่องการพัฒนาระบบรางของไทย ได้นำเสนอแนวทางการร่วมทุน เนื่องจากไทยมีที่ดินอยู่แล้ว โดยเชื่อว่าหากไทยมีรถไฟความเร็วสูง จะทำให้ได้รับประโยชน์ในด้านการค้าขาย ที่จะช่วยส่งเสริมให้ผู้มีรายได้น้อยได้ประโยชน์อย่างยั่งยืน เนื่องจากตลอดเส้นทางการเดินรถไฟและสถานีจะสามารถทำการค้าขายได้

    ส่วนสถานการณ์การเมืองของไทยนั้น นายกรัฐมนตรี ยืนยันว่า ญี่ปุ่นเข้าใจและเชื่อมั่นด้วยดี ทั้งนี้นายกรัฐมนตรีได้ชี้แจงว่า ไทยเดินหน้าสู่ระบอบประชาธิปไตยตามแผนโรดแมปที่วางไว้ โดยการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับถาวรจะใช้เวลาอีกไม่นาน และคาดว่าจะจัดให้มีการเลือกตั้งได้ในช่วงต้นปี 2559 และได้ยืนยันว่าตนเองเข้ามาเพื่อแก้ปัญหาความขัดแย้งให้ประเทศไทยเดินไปข้างหน้ามีประชาธิปไตยที่เข้มแข็งและยั่งยืน

ครม.สั่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เร่งช่วยเกษตรกรจากภัยแล้ง อนุมัติงบให้ตำบลละ 1 ลบ.

     พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้สั่งการให้กระทรวงที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงมหาดไทย ,กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เข้าไปดูแลพี่น้องเกษตรกรที่ประสบปัญหาภัยแล้ง โดยได้เร่งรัดโครงการที่ ครม.ได้มีมติไปแล่วในการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่ภัยแล้งซ้ำซาก พร้อมอนุมัติงบประมาณช่วยเหลือ ตำบลละ 1 ล้านบาท ซึ่ง 50% ของวงเงินจะต้องใช้ในส่วนของค่าจ้างแรงงาน และการดำเนินการจะต้องให้ประชาชนมีส่วนร่วม

      ขณะเดียวกันหากการดำเนินการในโครงการผลผลิตที่เหลือ หากใช้ต่อยอดให้เกิดประโยชน์ต่อไปได้จะถือเป็นโครงการที่ดี เช่น การสนับสนุนการทำบ่อเก็บกักน้ำ การจัดทำเครื่องมือเพื่อผลิตปุ๋ยอินทรีย์ ให้สำเร็จให้ได้ เพื่อเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในระยะต่อไป

'หม่อมอุ๋ย' รายงาน ครม. ระบุ ศก.เริ่มฟื้นตัว หลังยอดจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม เดือนม.ค. 58 แตะ 4 หมื่นกว่าลบ.

       พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรี ได้ชี้แจงต่อที่ประชุม ครม.ว่า ขณะนี้เริ่มเห็นสัญญาณดัชนีชี้วัดทางเศรษฐกิจเริ่มปรับตัวดีขึ้น สะท้อนจากการจัดเก็บภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือ vat ในเดือนมกราคม 2558 สามารถจัดเก็บได้มากกว่า 4 หมื่นล้านบาท มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนที่จัดเก็บได้ 3.6 หมื่นล้านบาท

      นอกจากนี้ ยังสะท้อนจากตารางการออกใบอนุญาตกิจการโรงงานตั้งแต่ 23 พ.ค.-31 ธ.ค. 2557 มีจำนวนผู้ประกอบการกิจการใหม่อยู่ที่ 3,596 โรง และมีการขยายโรงงานใหม่ 638 โรง รวมเป็น 4,234 โรง และเริ่มประกอบกิจการแล้ว 2,026 โรงงาน

ครม.จี้ หน่วยงานรัฐ เร่งเบิกจ่ายงบลงทุน ขีดเส้นภายใน มี.ค.นี้ หลังพบการเบิกจ่ายยังต่ำกว่าเป้า

     พลตรีสรรเสริญ แก้วกำเนิด รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.กลาโหม ได้สั่งการให้หน่วยงานภาครัฐเร่งลงนามจัดซื้อจัดจ้าง ให้แล้วเสร็จภายในมีนาคม 2558 นี้ เนื่องจากปัจจุบันการเบิกจ่ายงบประมาณภาครัฐยังต่ำกว่าเป้าหมายค่อนข้างมาก

     สำหรับ หน่วยงานที่ให้เร่งจัดซื้อจัดจ้าง เช่น กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ กรมชลประทาน กรมโยธาธิการ โดยภายในเดือนมีนาคมนี้จะต้องเบิกจ่ายงบรายจ่ายประจำให้ได้ 60% งบลงทุน 30% งบเหลื่อมปี 45%

       ทั้งนี้ ในวันที่ 18 ก.พ.นี้จะให้สำนักงบประมาณ และทุกกระทรวงมานำเสนอการเบิกจ่ายให้ครม.รับทราบ และนำเสนอต่อไปยังคณะขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ เพื่อตรวจสอบว่าหน่วยงานใดสามารถเบิกจ่ายได้ใกล้เคียงตามเป้าหมายบ้าง และหน่วยงานใดที่ยังไม่ได้เบิกจ่ายให้เร่งรัด

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!