WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'หม่อมอุ๋ย'มองจีดีพีปีนี้โต 1.6-1.9% ส่วนปีหน้าโต 4-5% เหตุการเมืองไม่กระทบ-ส่งออกเป็นบวก

    'หม่อมอุ๋ย' มองจีดีพีปีนี้โต 1.6-1.9% ส่วนปีหน้าโต 4-5% เหตุการเมืองไม่กระทบ-ส่งออกเป็นบวก  เผยญี่ปุ่นอัดคิวอี ไม่ส่งผลกระทบต่อเงินทุนไหลเข้า เชื่อน่าจะอยู่ในทิศทางสมดุลมากกว่า ยันรัฐบาลไม่ทำประชานิยม พร้อมเร่งเดินหน้าปรับโครงสร้างราคาพลังงาน

  ม.ร.ว.ปรีดียาธร เทวกุล รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เปิดเผยว่า อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปีหน้าคาดว่าจะขยายตัวได้ 4-5% โดยมีแรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากการใช้จ่ายในประเทศ และการเดินหน้าการลงทุนภาครัฐ โดยเฉพาะการวางแผนการลงทุนในระบบคมนาคมขนส่ง เช่น ระบบรางคู่ และระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนในตัวเมือง เป็นต้น ขณะที่ภาคการส่งออกคาดว่าจะกลับมาฟื้นตัวเป็นบวกได้ จากปีนี้ที่คาดว่าจะไม่เติบโต   

  ส่วนในปีนี้คาดว่าจีดีพีจะขยายตัวได้ 1.6-1.9% และยืนยันว่าปัญหาการเมืองในประเทศในช่วงที่ผ่านมาไม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัวของเศรษฐกิจในประเทศ ส่วนมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจอยงเร่งด่วนที่ออกมานั้น คาดว่าจะส่งผลตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม2557 และเห็นผลชัดเจนที่สุดในช่วงไตรมาสแรก ปี 2558 ทั้งมาตรการจ่ายเงินช่วยเหลือชาวนา และมาตรการกระตุ้นต่างๆเพิ่มเติมด้วย 

  "ปีหน้าจีดีพีจะเติบโตได้ 4% แน่นอน แต่หากระบบรางคู่ ระบบไฟฟ้าในเมืองเดินหน้าได้เร็วนั้น จีดีพีจะพุ่งแตะที่ระดับ 5% แน่นอนเนื่องจากรัฐบาลได้มีแผนผลักดันการกระตุ้นเศรษฐกิจและทำไดัทันที โดยการอัดฉีดเม็ดเงินลงทุนของภาครัฐในปีงบประมาณ 2558 ได้เพิ่มมากชึ้น และงบประมาณในการซ่อมสร้างและจ้างงาน จำนวน 2.3 หมื่นล้านบาทได้ รวมทั้งการเก็บเกี่ยวผลิตผลทางการเกษตรจำนวนมาก"ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าว   

  ส่วนปัญหาการเมืองที่คนคุ้นชินนั้นมันทำให้การเมืองนั้นหม่เป็นอุปสรรคต่อการฟื้นตัว มันยืนยันได้จากตัวเลขจีดีพีปีนี้ที่แม้จะยังไม่ค่อยมีการลงทุนจากภาครัฐ แต่จีดีพีก็ยังสามารถเติบโตได้ 1.6-1.9%

   ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าวว่า ส่วนความจำเป็นที่จะต้องออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจรอบที่ 2 ยืนยันยังไม่มีความจำเป็นในขณะนี้ เพราะมาตรการที่มีอยู่เพียงพอต่อการกระตุ้นเศรษฐกิจ แต่อย่างไรก็ตามขอรอประเมินผลมาตรการจากรอบแรกในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปีหน้าก่อนว่าเป็นอย่างไร

        ส่วนกรณีที่ญี่ปุ่นจะมีการอัดฉีดเงินเข้าระบบเพิ่มเติม หรือ คิวอี นั้น ยืนยันว่าไม่น่าจะส่งผลกระทบต่อเงินทุนไหลเข้ามากนักเนื่องจากที่ผ่านมาเคยมีมาตรการดังกล่าวออกมาครั้งหนึ่งแล้ว ประกอบกับยังมีแรงชดเชยจากการที่สหรัฐยุติคิวอีด้วย  ทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายน่าจะอยู่ในทิศทางสมดุลมากกว่า   

   "แม้ญี่ปุ่นจะทำคิวอีเพิ่ม แต่คงทำให้เงินทุนเคลื่อนย้ายสมดุลมากกว่า เนื่องจากมันมีกรณีที่สหรัฐยกเลิกคิวอีด้วย ขณะที่ยุโรปก็ยังไม่ดีมากนัก ก็เลยทำให้ทุกอย่งอาจจะไม่ได้เคลื่อนไหวมาก"ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าว 

    ม.ร.ว.ปรีดียาธร  ยืนยันว่า รัฐบาลชุดนี้จะไม่ทำนโยบายประชานิยมอย่างแน่นอน โดยเฉพาะการอุดหนุนราคาพลังงานเหมือนที่ผ่านมา เนื่องจากปัจจุบันรัฐบาลอยู่ระหว่างการเดินหน้าเร่งปรับราคาโครงสร้างพลังงานและการประหยัดพลังงาน ซึ่งมีความจำเป็นที่จะต้องเรงแก้ไข เพราะไทยมีปริมาณการใช้พลังงานถึง 18% ของจีดีพี ขณะที่ประเทศอื่นใช้เพียง 10% เท่านั้น  

   "ขณะนี้รัฐบาลกำลังทยอยลดการอุดหนุนราคาพลังงาน คาดว่าใช้เวลาประมาณ 1 ปี หลังจากที่ 3 รัฐบาลก่อนหน้านี้ มีการอุดหนุนมาอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดการใช้พลังงานอย่างไม่มีประสิทธิภาพ " ม.ร.ว.ปรีดียาธร กล่าว    

    ม.ร.ว.ปรีดียาธร ยังได้ระบุถึงความตกลงทุนหุ้นส่วนยุทธศาสตร์ทางเศรษฐกิจภาคพื้นแปซิฟิก หรือ TPP ว่า เรื่องนี้เป็นเรื่องทางการเมืองมากกว่าเศรษฐกิจ ดังนั้น การจะเข้าไปเป็นหุ้นส่วนของ TPP จะต้องมีเรื่องการพัฒนาเศรษฐกิจเข้าไปเป็นหนึ่งในยุทธศาสตร์ด้วย ทางไทยจึงพร้อมที่จะทำความตกลงในครั้งนี้ ซึ่งที่ผ่านมาไทยได้ให้สำนักงานส่งเสริมการลงทุน หรือ บีโอไอ เป็นแกนหลักเรื่องการส่งเสริมการลงทุน และล่าสุดมีการจัดตั้งหน่วยงานในบีโอไอเป็นการเฉพาะเพื่อส่งเสริมเอสเอ็มอีไปลงทุนต่างประเทศ และรัฐบาลกำลังเร่งแก้กฎหมายที่เป็นอุปสรรคต่อการลงทุน

 สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!