WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Pประยทธ จนทรโอชา5นายกฯเผย GDP ไทยขยายตัวต่อเนื่องจนปี 61 ขยายตัว 4.2% สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกที่ชะลอตัวเหลือ 3.7%

    พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีได้กล่าวกับประชาชนผ่านรายการ "ศาสตร์พระราชาสู่การพัฒนาอย่างยั่งยืน" ว่า รายงานผลการพัฒนาของสำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ประเทศในรอบ 5 ปี (พ.ศ. 2557 – พ.ศ. 2561) มีความแข็งแกร่ง ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) มีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง จาก 1% ในปี 2557 ขึ้นมาจนถึง 4.2% ในปี 2561 สูงกว่าอัตราเฉลี่ยของโลกที่ชะลอตัวเหลือ 3.7% มูลค่า GDP ของไทยเพิ่มขึ้นจาก 13 ล้านล้านบาท ในปีแรกของรัฐบาลเป็น 16 ล้านล้านบาท ในปีที่ผ่านมา

     อย่างไรก็ตาม ปัจจัยภายนอกที่เป็นความเสี่ยง ทั้งเศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัวและปัญหาสงครามการค้า (Trade War) ระหว่างสหรัฐฯและจีน ตลอดจนปัญหาการแยกตัวออกจากสหภาพยุโรปของอังกฤษ (BREXIT) และอัตราดอกเบี้ยโลก ทั้งหมดนี้เชื่อมโยงกับไทยและทุกภูมิภาค การปฏิรูปโครงสร้างทางเศรษฐกิจของไทย โครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เพื่อเป็นแหล่งบ่มเพาะอุตสาหกรรมแห่งอนาคต ผลักดันให้เกิดการลงทุนในอุตสาหกรรม New S-Curve ในช่วงที่ผ่านมา มากกว่า 7 แสนล้านบาท ทั้งในส่วนการลงทุนภาครัฐ และการลงทุนร่วมภาคเอกชน (PPP)

     นโยบายไทยแลนด์ 4.0 ที่จะสร้างความได้เปรียบในเชิงแข่งขัน บนพื้นฐานของนวัตกรรมและการสร้างมูลค่า นโยบาย Thailand Plus 1 เชื่อมโยงกับประเทศในภูมิภาคอาเซียนและประชาคมอื่นๆ

      การส่งเสริมธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อมช่วยให้มีผู้ประกอบการเพิ่มขึ้น อย่างต่อเนื่องจาก 39.7% ในปี 2559 มาอยู่ที่ 42.6% ในปี 2561 ประเทศที่พัฒนาแล้วต้องมีสัดส่วน SME อยู่ที่ 60-70%

      เร่งลงทุนเพื่อพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของประเทศที่สำคัญ กว่า 2.44 ล้านล้านบาท พื้นที่ชลประทาน เพิ่มขึ้นเกือบ 3 ล้านไร่ การบริหารจัดการก๊าซธรรมชาติและเปิดประมูลสัมปทานที่จะหมดอายุ ลดต้นทุนพลังงานของประเทศ 5 แสนล้านบาท รวมถึงการสร้างความเข้มแข็งให้แก่เศรษฐกิจฐานรากในชุมชน ท้องถิ่น เช่น การทำเกษตรกรรมแปลงใหญ่ บนพื้นที่กว่า 5.4 ล้านไร่ มีเกษตรกรเข้าร่วมกว่า 3 แสนราย โครงการไทยนิยมยั่งยืน ยังเป็นกลไกการขับเคลื่อนตั้งแต่ระดับชาติสู่ระดับพื้นที่ ให้พัฒนาตนเอง ดูแลหนี้สินนอกระบบ กฎหมายขายฝาก แก้ปัญหาที่ดินและน้ำเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืนทั้งโครงการระยะสั้น ระยะกลาง และระยะยาว คลอบคลุมเกษตรกรรม การประมง และปศุสัตว์ รวมทั้งการค้าขายปลีก ช่องทางการขาย การทำการตลาด การขนส่ง การท่องเที่ยวของไทยติดอันดับ 1 ของโลกและเป็นอันดับ 4 ของประเทศที่มีรายได้จากการท่องเที่ยวสูงสุด ช่วง 10 ปี 2551 - 2561 นักท่องเที่ยวต่างชาติเพิ่มขึ้นจาก 14 ล้านคน เป็น 40 ล้านคน ซึ่งไทยต้องเฝ้าระวังผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมที่จะตามมา ทั้งการจัดการขยะ ความปลอดภัย การใช้ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม

               อินโฟเควสท์

รายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2561

    เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้ว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจประจำเดือน ธันวาคม 2561 จะมีสัญญาณชะลอตัวอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกสินค้าที่หดตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกรในช่วงปลายปี 2561 บวกกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาสสุดท้าย ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังอยู่ในเกณฑ์ดีและรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้”

       นายลวรณ แสงสนิท ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวงการคลัง พร้อมด้วย นายพิสิทธิ์ พัวพันธ์ ผู้อำนวยการสำนักนโยบายเศรษฐกิจมหภาค ในฐานะรองโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง เปิดเผยรายงานภาวะเศรษฐกิจการคลังประจำเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ว่า “เศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ยังคงขยายตัวได้ต่อเนื่อง แม้ว่าเครื่องชี้เศรษฐกิจประจำเดือนธันวาคม 2561 จะมีสัญญาณชะลอตัวอยู่บ้าง ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกสินค้าที่หดตัวจากภาวะเศรษฐกิจโลก ขณะที่การใช้จ่ายภายในประเทศยังขยายตัวได้ต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งเป็นผลจากการปรับตัวดีขึ้นของรายได้เกษตรกรในช่วงปลายปี 2561 บวกกับจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ยังขยายตัวเร่งขึ้นในไตรมาสสุดท้าย ช่วยสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจไทย ส่วนเสถียรภาพเศรษฐกิจทั้งภายในและภายนอกยังอยู่ในเกณฑ์ดีและรองรับความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้” โดยมีรายละเอียดสรุป ได้ดังนี้

      เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการใช้จ่ายเพื่อการบริโภคภาคเอกชน ในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สะท้อนจากปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่ในเดือนธันวาคม 2561 ขยายตัวที่ร้อยละ 4.8 ต่อปี ขยายตัวสูงสุดในรอบ 13 เดือน โดยเป็นการขยายตัวจากในเขตภูมิภาคที่ขยายตัวร้อยละ 7.5 ต่อปี ขณะที่ในเขต กทม. หดตัวร้อยละ -3.5 ต่อปี และทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ปริมาณรถจักรยานยนต์จดทะเบียนใหม่หดตัวร้อยละ -0.2 ต่อปี และภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ ขยายตัวร้อยละ 0.9 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ภาษีมูลค่าเพิ่ม ณ ราคาคงที่ขยายตัวร้อยละ 5.8 ต่อปี ขณะที่ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่ง หดตัวร้อยละ -2.7 ต่อปี

     อย่างไรก็ดี ภาพรวมในไตรมาสที่ 4 ปริมาณการจำหน่ายรถยนต์นั่งขยายตัวร้อยละ 6.8 ต่อปี สำหรับดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคเกี่ยวกับเศรษฐกิจโดยรวม อยู่ที่ระดับ 66.3 ปรับตัวลดลงเล็กน้อยจากเดือนก่อนหน้า โดยมีปัจจัยลบจากภาคการส่งออกที่หดตัว อย่างไรก็ดี ยังคงมีปัจจัยบวกได้แก่ ราคาน้ำมันขายปลีกในประเทศปรับตัวลดลง มาตรการกระตุ้นการใช้จ่ายของภาครัฐทั้ง ช็อปช่วยชาติ เที่ยวเพื่อชาติ และเงินบาทแข็งค่าขึ้นเล็กน้อย

      เครื่องชี้เศรษฐกิจด้านการลงทุนภาคเอกชน ในเดือนธันวาคม 61 ขยายตัวต่อเนื่อง ทั้งจากการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร และการลงทุนในหมวดก่อสร้าง ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ขยายตัวได้ดี โดยการลงทุนในหมวดเครื่องมือเครื่องจักร สะท้อนจากปริมาณจำหน่ายรถยนต์เชิงพาณิชย์ ขยายตัวชะลอลงจากเดือนก่อนเล็กน้อยที่ระดับร้อยละ 16.5 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ปริมาณจำหน่วยรถยนต์เชิงพาณิชย์ขยายตัวร้อยละ 24.9 ต่อปี สอดคล้องกับยอดจำหน่ายรถกระบะขนาด 1 ตัน ที่ขยายตัวร้อยละ 16.4 ต่อปี สำหรับการลงทุนในหมวดก่อสร้าง ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศ หดตัวที่ร้อยละ 1.4 ต่อปี นับเป็นการหดตัวครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2561 ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ปริมาณจำหน่ายปูนซีเมนต์ภายในประเทศขยายตัวที่ร้อยละ 5.6 ต่อปี

      อย่างไรก็ดี ภาษีการทำธุรกรรมอสังหาริมทรัพย์ ยังคงขยายตัวที่ร้อยละ 10.5 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ภาษีธุรกรรมอสังหาฯ ขยายตัวร้อยละ 9.4 นอกจากนี้ สำหรับดัชนีราคาวัสดุก่อสร้าง อยู่ที่ระดับ 107.2 คิดเป็นการขยายตัวร้อยละ 0.5 ต่อปี จากการสูงขึ้นของดัชนีราคาหมวดกระเบื้องสูงขึ้นร้อยละ 3.5 ต่อปี ทำให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ดัชนีราคาวัสดุก่อสร้างขยายตัวร้อยละ 1.0 ต่อปี

     อุปสงค์จากต่างประเทศผ่านการส่งออกสินค้าในเดือนธันวาคม และไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ยังคงส่งสัญญาณชะลอตัว โดยมูลค่าการส่งออกสินค้าในเดือนธันวาคม 2561 มีมูลค่า 19.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หดตัวที่ร้อยละ -1.72 ต่อปี อย่างไรก็ดี การส่งออกในตลาดสำคัญ อาทิ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และ อาเซียน ยังคงขยายตัว สำหรับมูลค่าการนำเข้าสินค้ามีมูลค่า 18.3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ส่งผลให้ดุลการค้าในเดือนธันวาคม 2561 กลับมาเกินดุลจำนวน 1,065 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่งผลให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 การส่งออกมีมูลค่า 62.4 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ขยายตัวร้อยละ 2.0 ต่อปี

    เครื่องชี้เศรษฐกิจไทยด้านอุปทานในเดือนในเดือนธันวาคม 61 ได้รับแรงสนับสนุนจากดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรและสถานการณ์การท่องเที่ยวเป็นสำคัญ โดยดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตร ขยายตัวร้อยละ 3.1 ต่อปี จากหมวดพืชผลสำคัญและหมวดประมงที่ขยายตัวร้อยละ 5.5 และ 2.0 ต่อปีตามลำดับ ส่งผลให้ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ดัชนีผลผลิตสินค้าเกษตรหดตัวเล็กน้อยที่ -0.1 ต่อปี นอกจากนี้จำนวนนักท่องเที่ยวต่างประเทศที่เดินทางเข้าประเทศไทย ในเดือน ธันวาคม 2561 มีจำนวน 3.8 ล้านคน ขยายตัวร้อยละ 7.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ขยายตัวร้อยละ 4.3 ต่อปี จากการขยายตัวของนักท่องเที่ยวชาวมาเลเซีย เป็นสำคัญ นอกจากนี้ นักท่องเที่ยวประเทศอื่นยังคงขยายตัวได้ดี ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวจีนที่กลับมาขยายตัวเป็นบวก ประกอบกับนักท่องเที่ยวชาวฟิลิปปินส์ และอินเดียยังคงขยายตัวต่อเนื่อง สำหรับรายได้จากการท่องเที่ยวต่างประเทศในเดือนธันวาคม 2561 มีมูลค่า 204.0 พันล้านบาท ขยายตัวร้อยละ 8.3 ต่อปี

       ขณะที่ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 93.2 เป็นการปรับลดลงโดยมีสาเหตุมาจากการเร่งผลิตสินค้าในเดือนพฤศจิกายนเพื่อชดเชยก่อนวันหยุดยาวในช่วงเทศกาลปีใหม่ รวมถึงความกังวลของผู้ประกอบการต่อการปรับขึ้นของอัตราดอกเบี้ยนโยบาย และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ส่งผลให้ ไตรมาสที่ 4 ปี 2561 ดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรม (TISI) อยู่ที่ระดับ 93.3

      เสถียรภาพเศรษฐกิจภายในประเทศยังอยู่ในเกณฑ์ดี และเสถียรภาพภายนอกอยู่ในระดับที่มั่นคง สะท้อนจากอัตราเงินเฟ้อทั่วไปในเดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ร้อยละ 0.4 ต่อปี ชะลอลงจากเดือนก่อนหน้า ตามการลดลงของราคาพลังงาน และการชะลอตัวของราคาอาหารสด ขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐานทรงตัวอยู่ที่ร้อยละ 0.7 ต่อปี ทำให้ในไตรมาสที่ 4 ปี 2561 อัตราเงินเฟ้อทั่วไป และอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานอยู่ที่ร้อยละ 0.8 และ 0.7 ตามลำดับ สำหรับ อัตราการว่างงานยังอยู่ในระดับต่ำ โดยในเดือนธันวาคม 2561 อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 0.9 ของกำลังแรงงานรวม ปรับตัวต่ำสุดในรอบ 24 เดือน หรือคิดเป็นผู้ว่างงาน 3.5 แสนคน และไตรมาสที่ 4 ปี 2561 อัตราว่างงานอยู่ที่ร้อยละ 1.0 ของกำลังแรงงานทั้งหมด ตามลำดับ

        ขณะที่สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายน 2561 อยู่ที่ร้อยละ 41.8 ต่อ GDP ซึ่งอยู่ภายใต้กรอบวินัยการเงินการคลังที่ตั้งเพดานไว้ไม่เกินร้อยละ 60 ต่อ GDP ตามพระราชบัญญัติวินัยการเงินการคลังของรัฐ พ.ศ. 2561 สำหรับเสถียรภาพภายนอกยังอยู่ในระดับมั่นคง และสามารถรองรับความเสี่ยงจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลกได้ สะท้อนจากทุนสำรองระหว่างประเทศ ณ เดือนธันวาคม 2561 อยู่ที่ระดับ 205.7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มากกว่าหนี้ต่างประเทศระยะสั้น 3.2 เท่า

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!