- Details
- Category: สำนักนายกฯ
- Published: Saturday, 09 June 2018 13:59
- Hits: 3506
สมคิด เผยปี 62 รัฐบาลจัดสรรงบฯให้เกิดการกระจายรายได้-เพิ่มขีดความสามารถแข่งขัน
นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า ในปีงบประมาณ 62 รัฐบาลที่มีกรอบวงเงินจำนวน 3 ล้านล้านบาทนั้น รัฐบาลได้จัดสรรเป็นงบประมาณด้านยุทธศาสตร์การเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศจำนวน 400,000 ล้านบาท และงบประมาณเพื่อสนับสนุนเศรษฐกิจรากหญ้าของประเทศ 400,000 ล้านบาท เพื่อทำให้เกิดการกระจายรายได้และร่วมสร้างอุตสาหกรรมใหม่ของประเทศ
"รัฐบาลมีเวลาในการทำงานอีก 8 เดือนนับจากนี้ โดยทุกหน่วยงานจะต้องเร่งดำเนินการร่วมขับเคลื่อนประเทศไทย การเดินหน้าปฏิรูปเศรษฐกิจของประเทศไทย และขอฝากรัฐบาลชุดใหม่ที่จะเข้ามาบริหารต่อควรให้ความสำคัญในการออกนโยบายที่เน้นการพัฒนาเรื่องของความยั่งยืน และให้ความสำคัญกับอนาคต ไม่ใช่ให้ความสำคัญกับผลความพอใจของโพลล์เป็นหลัก หรือมีอะไรก็จะจำนำอย่างเดียว ซึ่งเป็นนโยบายที่ไม่ได้สร้างความยั่งยืนของประเทศในอนาคต" นายสมคิด กล่าว
นายสมคิด กล่าวว่า อยากให้นักวิชาการที่มีความศักยภาพเข้ามาร่วมทำงานด้านการเมือง และเข้ามาพัฒนาประเทศ ไม่ใช่ออกมาแสดงความคิดเห็นเพื่อวิพากษ์วิจารณ์เพียงอย่างเดียว ไม่เช่นนั้นจะไม่มีใครกล้าเข้ามาทำงานด้านการเมือง
'นายกฯ แจงงบประมาณปี 62 คาด GDP ขยายตัว 3.9-4.9% จากการใช้จ่ายในปท.-ลงทุนเอกชนและรัฐหนุน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ชี้แจงหลักการและเหตุผลของ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยระบุว่า ในปี 2562 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3.9-4.9% โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญจากการใช้จ่ายในประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือน รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน และความคืบหน้าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐที่เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการก่อสร้าง ตลอดจนการส่งออกและการท่องเที่ยวที่เติบโตได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
ทั้งนี้ ประเมินว่าในปี 2562 อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับ 0.9-1.9% และมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 6.3% ของจีดีพี โดยวางกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายในปี 2562 ไว้ที่ 3.0 ล้านล้านบาท ประมาณการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่ 2.55 ล้านล้านบาท และกำหนดวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่ 4.5 แสนล้านบาท
"ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ที่รัฐบาลนำเสนอต่อท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันนี้ เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันทั้งภายในและภายนอก" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
สำหรับ งบประมาณรายจ่ายในปี 2562 จำนวน 3.0 ล้านล้านบาท จำแนกออกเป็น รายจ่ายประจำ 2,261,488.7 ล้านบาท คิดเป็น 75% รายจ่ายลงทุน 660,305.8 ล้านบาท คิดเป็น 22% และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 78,205.5 ล้านบาท คิดเป็น 2.6% โดยจัดสรรตามยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1.ด้านความมั่นคง 329,239.6 ล้านบาท 2.ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 406,496.0 ล้านบาท 3.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 560,884.9 ล้านบาท 4.ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างการเติบโตจากภายใน 397,581.4 ล้านบาท 5.ด้านการจัดการน้ำและสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 117,266.0 ล้านบาท 6.ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ 838,422.2 ล้านบาท และ 7.รายการค่าดำเนินการภาครัฐ เพื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 350,109.9ล้านบาท
"การจัดทำงบประมาณฯ ปี 2562 รัฐบาลได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจนว่ากระทรวงและส่วนราชการต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับการนำกรอบทิศทางของร่างยุทธศาสตร์ชาติ และแผนลำดับรองที่มีอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และนโยบายความมั่นคงมาใช้ พร้อมน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณฯ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับการปรับกำลังคนภาครัฐตามแนวทางการปฏิรูปราชการนั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เพราะมีกิจกรรมเกิดใหม่ที่จำเป็นต้องอาศัยบุคลากร ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา และมีแผนงานที่จะใช้งบประมาณให้เหมาะสมที่สุด สิ่งที่รัฐบาลทำเพื่ออนาคตของประเทศในวันข้างหน้า โดยตรวจสอบอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต
"ผมตรวจทุกวัน ถ้าอันไหนไม่เหมาะสมก็ให้กลับไปทำมาใหม่ ผมอ่านทุกวัน ให้ไว้ใจกันตรงนี้นะครับ ไม่ใช่ผมให้ส่งเดชไปเรื่อย ใครขอมาก็ให้ วันหน้านายกรัฐมนตรีต้องเป็นแบบนี้ ต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรม ต้องดูให้ทั่วถึง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้แสดงให้เห็นว่าทุกภาคได้เงินใกล้เคียงกัน เป็นรัฐบาลของคนทั้งประเทศ ให้คนทั้งประเทศได้รับประโยชน์ ไม่ได้ให้เฉพาะกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า การปฏิรูปประเทศนั้นได้ทำแผนและทำเป็นกฎหมายออกมาแล้ว การปฏิรูปประเทศไทยนั้นมีปัญหาเรื่องงบประมาณไม่เพียงพอและการเปลี่ยนแปลงในเชิงโครงสร้างต้องใช้เวลา เหมือนกับต่างประเทศเวลาการปฏิรูปประเทศก็ใช้เวลาหลายปี อย่างจีนก็เปลี่ยนมาเป็น 1 ประเทศ 2 ระบบ แต่ประเทศไทยระบบเดียวยังทำไม่ได้เลย เพราะทะเลาะกันไม่เลิก ซึ่งเป็นปัญหามาหลาย 10 ปีแล้ว มันต้องแก้ตรงนี้ แก้ให้ได้ก่อนการเลือกตั้ง ซึ่งการเลือกตั้งเป็นไปตามโรดแมพที่กำหนดไว้แล้วทั้งสิ้น
"ขอให้ช่วยกันปฏิรูป บางทีประเทศไทยไม่กลัวกฎหมายเพราะประชาธิปไตย ถามว่าถูกต้องหรือไม่ คนรุ่นใหม่ต้องมีขีดจำกัด ไม่ใช่จะรื้อทุกอย่างได้ ทำทุกอย่างได้ ซึ่งต้องสร้างเสริมต่อสิ่งดีๆของเรา ไม่ใช่ทำสิ่งใหม่ๆที่มันแย่ลงไปหมด การเลือกตั้งก็ต้องเลือกให้ดี เพราะอนาคตของท่าน ไม่ใช่ของผม ไม่ว่ารัฐบาลไหนจะมาผมก็ไม่รู้" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า อยู่มา 4 ปีแล้ว นี่เป็นปีที่ 4 แล้วที่แถลง ส่วนตัวและคณะรัฐมนตรีก็เห็นว่าทุกอย่างมีการพัฒนาทั้งหมด ตนเองอยากให้ทุกคนช่วยอ่านหนังสือเรื่องการปฏิวัติอุตสาหกรรมครั้งที่ 4 เพื่อช่วยกันคิดว่าจะพัฒนาอย่างไรให้ประเทศไทยเดินหน้า ดังนั้น หวังว่า สนช.จะสนับสนุนกฎหมายฉบับนี้ และขอให้ฝ่ายค้านและฝ่ายรัฐบาลต่อไปร่วมกันเดินหน้าประเทศไทยให้ถึงทุกกลุ่ม และต้องไม่ให้เกิดช่องว่างหรือความเหลื่อมล้ำเพื่อลดความยากจน
"ขอขอบคุณประธาน สนช.และสมาชิก สนช. ถ้าผมพูดอะไรแรงไปก็ขอโทษด้วย ผมก็คือผม ความเป็นมนุษย์สูงหน่อย นายกรัฐมนตรี คือ ตำแหน่ง ดังนั้นจะมาหมิ่นตำแหน่งนายกฯไม่ได้ ถ้าจะด่าก็ด่าผมได้ แต่ถ้าผมเป็นนายกฯอยู่ เวลาด่าผม ก็กรุณาระวังหน่อยแล้วกัน ตำแหน่งนายกฯเป็นตำแหน่งที่มีเกียรติ ผมอยากรักษาให้ตำแหน่งนี้มีเกียรติ และต้องขอขอบคุณคณะรัฐมนตรีที่ร่วมทำงานมาอย่างสาหัส" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกฯ แจงงบประมาณปี 62 คาด GDP ขยายตัว 3.9-4.9% จากการใช้จ่ายในปท.-ลงทุนเอกชนและรัฐหนุน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ชี้แจงหลักการและเหตุผลของ ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ต่อที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) โดยระบุว่า ในปี 2562 คาดว่าเศรษฐกิจไทยจะขยายตัวได้ 3.9-4.9% โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนที่สำคัญจากการใช้จ่ายในประเทศที่เติบโตอย่างต่อเนื่องจากการใช้จ่ายภาคครัวเรือน รวมถึงการลงทุนของภาคเอกชน และความคืบหน้าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ของภาครัฐที่เริ่มเข้าสู่ขั้นตอนการก่อสร้าง ตลอดจนการส่งออกและการท่องเที่ยวที่เติบโตได้ดีตามภาวะเศรษฐกิจของประเทศคู่ค้า
ทั้งนี้ ประเมินว่าในปี 2562 อัตราเงินเฟ้อจะอยู่ที่ระดับ 0.9-1.9% และมีการเกินดุลบัญชีเดินสะพัด 6.3% ของจีดีพี โดยวางกรอบวงเงินงบประมาณรายจ่ายในปี 2562 ไว้ที่ 3.0 ล้านล้านบาท ประมาณการจัดเก็บรายได้ของรัฐบาลที่ 2.55 ล้านล้านบาท และกำหนดวงเงินกู้เพื่อชดเชยการขาดดุลงบประมาณที่ 4.5 แสนล้านบาท "ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2562 ที่รัฐบาลนำเสนอต่อท่านสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติในวันนี้ เป็นหนึ่งในเครื่องมือสำคัญของรัฐบาลที่จะขับเคลื่อนประเทศไปสู่เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนตามร่างกรอบยุทธศาสตร์ชาติที่สอดคล้องกับสภาวการณ์ทางเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบันทั้งภายในและภายนอก" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
สำหรับ งบประมาณรายจ่ายในปี 2562 จำนวน 3.0 ล้านล้านบาท จำแนกออกเป็น รายจ่ายประจำ 2,261,488.7 ล้านบาท คิดเป็น 75% รายจ่ายลงทุน 660,305.8 ล้านบาท คิดเป็น 22% และรายจ่ายชำระคืนต้นเงินกู้ 78,205.5 ล้านบาท คิดเป็น 2.6% โดยจัดสรรตามยุทธศาสตร์ ประกอบด้วย 1.ด้านความมั่นคง 329,239.6 ล้านบาท 2.ด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันของประเทศ 406,496.0 ล้านบาท 3.ด้านการพัฒนาและเสริมสร้างศักยภาพคน 560,884.9 ล้านบาท 4.ด้านการแก้ไขปัญหาความยากจน ลดความเหลื่อมล้ำและสร้างการเติบโตจากภายใน 397,581.4 ล้านบาท 5.ด้านการจัดการน้ำและสร้างการเติบโตบนคุณภาพชีวิตที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน 117,266.0 ล้านบาท 6.ด้านการปรับสมดุลและพัฒนาระบบบริหารจัดการภาครัฐ 838,422.2 ล้านบาท และ 7.รายการค่าดำเนินการภาครัฐ เพื่อสำรองไว้เป็นค่าใช้จ่ายในการรองรับเหตุการณ์ที่อาจเกิดขึ้นโดยมิได้คาดหมายสำหรับกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น 350,109.9ล้านบาท
"การจัดทำงบประมาณฯ ปี 2562 รัฐบาลได้กำหนดเป็นนโยบายที่ชัดเจนว่ากระทรวงและส่วนราชการต่างๆ ต้องให้ความสำคัญกับการนำกรอบทิศทางของร่างยุทธศาสตร์ชาติ และแผนลำดับรองที่มีอยู่ในขณะนี้ ได้แก่ แผนการปฏิรูปประเทศ แผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 12 และนโยบายความมั่นคงมาใช้ พร้อมน้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาเป็นแนวทางในการจัดทำงบประมาณฯ" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สำหรับการปรับกำลังคนภาครัฐตามแนวทางการปฏิรูปราชการนั้น ขณะนี้ยังไม่สามารถดำเนินการได้อย่างเต็มที่ เพราะมีกิจกรรมเกิดใหม่ที่จำเป็นต้องอาศัยบุคลากร ซึ่งต้องใช้ระยะเวลา และมีแผนงานที่จะใช้งบประมาณให้เหมาะสมที่สุด สิ่งที่รัฐบาลทำเพื่ออนาคตของประเทศในวันข้างหน้า โดยตรวจสอบอย่างรอบคอบเพื่อไม่ให้เกิดปัญหาในอนาคต
"ผมตรวจทุกวัน ถ้าอันไหนไม่เหมาะสมก็ให้กลับไปทำมาใหม่ ผมอ่านทุกวัน ให้ไว้ใจกันตรงนี้นะครับ ไม่ใช่ผมให้ส่งเดชไปเรื่อย ใครขอมาก็ให้ วันหน้านายกรัฐมนตรีต้องเป็นแบบนี้ ต้องซื่อสัตย์และมีคุณธรรม ต้องดูให้ทั่วถึง" พล.อ.ประยุทธ์ กล่าว
นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า สถานการณ์ความขัดแย้งภายในประเทศทุกวันนี้ยังมีอยู่มาก ซึ่งทุกคนจะต้องช่วยกันแก้ไขปัญหาดังกล่าวให้หมดไปก่อนที่จะมีการเลือกตั้งเกิดขึ้นตามโรดแมพที่ได้กำหนดไว้แล้ว
อินโฟเควสท์
ครม.พิจารณางบปี 62 วงเงินรายจ่าย 3 ล้านลบ./โครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ
รายงานข่าวจากทำเนียบรัฐบาล เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) เป็นประธานการประชุมคณะรัฐมนตรีซึ่งเลื่อนมาประชุมในวันนี้ (28 พ.ค.)แทน เนื่องจากวันพรุ่งนี้ (29 พ.ค.) เป็นวันวิสาขบูชา สำหรับวาระที่น่าสนใจ ได้แก่ กระทรวงการคลัง จะเสนอร่างพ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2562 วงเงิน 3 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปี 2561 จำนวน 1 แสนล้านบาท หรือ 3.4% รายได้ อยู่ที่ 2.55 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้า 1 แสนล้านบาท หรือ 4.1% ทั้งนี้จะขาดดุลงบประมาณ 4.5 แสนล้านบาท สัดส่วนต่อจีดีพี 2.6% มีกรอบวงเงินกู้สูงสุดเพื่อชดเชยการขาดดุล 6.62 แสนล้านบาท เพิ่มจากปีก่อนหน้า 2%ให้ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี พิจารณาเห็นชอบ ก่อนส่งให้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) พิจารณาต่อไป
นอกจากนี้ ต้องติดตามว่ากระทรวงการคลังจะเสนอที่ประชุมเห็นชอบขยายเวลาการลดภาษีมูลค่าเพิ่ม จาก 10% เหลือ 7% ออกไปอีก 1 ปี หลังจะสิ้นสุดในวันที่ 30 ก.ย. 61 นี้ เพื่อเป็นการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจของประเทศต่อเนื่อง
กระทรวงคมนาคม เสนอครม.พิจารณาอนุมัติโครงการรถไฟทางคู่สายใหม่ ช่วงเด่นชัย-เชียงราย-เชียงของ ระยะทาง 323.10 กิโลเมตร ซึ่งได้ผ่านการพิจารณาจากคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) แล้ว โดยมีวงเงินลงทุน 76,978 ล้านบาท เพื่อเปิดประมูลก่อสร้างต่อไป ซึ่งตามแผนจะสร้างเสร็จในปี 2566
สภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) เสนอขอขยายระยะเวลาการประกาศใช้พ.ร.ก.ฉุกเฉินในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ในเขตพื้นที่จังหวัดนราธิวาส ยกเว้นสุไหงโก-ลก,พื้นที่จังหวัดยะลา ยกเว้นอำเภอ เบตง และจังหวัดปัตตานี ยกเว้นอำเภอแม่ลาน ออกไปอีก 3 เดือน ตั้งแต่วันที่ 20 มิถุนายน 2561จนถึงวันที่ 19 กันยายน 2561
อีกทั้ง ได้เสนอขอปรับลดพื้นที่อำเภอสุไหงโก-ลก จังหวัดนราธิวาส ออกจากพื้นที่ประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินตามราชกำหนด เพื่อนำมาตรการตามพ.ร.บ.การรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ. 2551 มาบังคับใช้แทน เนื่องจาก กอ.รมน. ได้ประเมินแล้วพบว่าพื้นที่สุไหงโก-ลกจังหวัดนราธิวาส ผ่านเกณฑ์ตามตัวชี้วัดการประเมิน
อินโฟเควสท์