WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gสมคด จาตศรพทกษ copy‘สมคิด’ มั่นใจจีดีพีไทยปี 61 โตเกิน 4% มุ่งเดินหน้าปฏิรูปประเทศหวังการเติบโตยั่งยืน

     ‘สมคิด’เผยเศรษฐกิจไทยอยู่ในช่วงขาขึ้น มั่นใจปีนี้ขยายตัวเกิน 4% พร้อมเร่งปฏิรูปประเทศ หวังยกระดับคนชั้นล่าง เกษตรกรรายได้น้อยสู่ตลาดโลก

     นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี เปิดเผยภายหลังพิธีลงนามความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐกับอาลีบาบา กรุ๊ป ว่าการเดินทางมาของนายแจ็ค หม่า ในวันนี้เป็นจังหวะที่เหมาะสมอย่างยิ่ง เพราะเศรษฐกิจไทยกำลังฟื้นตัวดี และถือว่าอยู่ในช่วงขาขึ้น โดยมั่นใจปีนี้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจ หรือ จีดีพี จะเติบโตมากกว่า 4% และขณะนี้ไทยยังมีนโยบายยกระดับผู้ประกอบการวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(เอสเอ็มอี) ไทยไปสู่ดิจิทัลให้รวดเร็วที่สุด รวมทั้งการดำเนินนโยบายปฏิรูปภาคการเกษตร เพื่อไม่ให้เกษตรกรไทยย่ำอยู่กับที่ จึงต้องพัฒนาสินค้าไปสู่ตลาดโลก ซึ่งไทยมีนโยบายสมาร์ท ฟาร์เมอร์

        สำหรับ ประเทศไทยนั้น ยอมรับว่า ยังเป็นประเทศที่มีรายได้ต่ำ กลุ่มเกษตรกยังมีรายได้ไม่สูงนัก ดังนั้น สิ่งสำคัญ คือ จะทำอย่างไรให้ไทยก้าวหลุดพ้นจากประเทศที่มีรายได้ต่ำไปสู่รายได้สูงได้ สิ่งนั้นคือ การปฏิรูปประเทศในทุกด้าน โดยเฉพาะด้านการเกษตร ที่จะต้องเร่งพัฒนา เพื่อไปสู่การค้าออนไลน์ หรือ อีคอมเมิร์ซ ซึ่งจะสามารถเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันได้ในอนาคต

      “สิ่งที่สำคัญตอนนี้ คือ กระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงพาณิชย์ จะต้องร่วมกับอาลีบาบา โดยการผลักดันคนชั้นล่าง หรือ กลุ่มผู้ประกอบการใหม่ๆ หรือ พวก Next Gernaration ซึ่งที่ผ่านมา เขาต้องการโอกาสในการสร้างชีวิต และเวลามาถึงแล้ว ที่จะทำให้เขาสร้างอนาคตตัวเอง และผมประทับใจแจ็ค หม่า ที่เชื่อว่า จะเป็นส่วนสำคัญในการช่วยคนไทยและเพื่อนบ้านของไทยได้อย่างมาก และท่านมีหัวใจที่ใหญ่มาก ไม่ใช่แค่สมอง

สศค. คาด GDP ไทยปี 61 โต 4.2% ขยายตัวเต็มศักภาพ ย้ำดำเนินนโยบายเพื่อวางรากฐานศก.เน้นเติบโตเชิงคุณภาพ

       นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ในฐานะโฆษก สศค.ชี้แจงว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับต่อเนื่องตลอด 3-4 ปี จาก 1.0% ในปี 2557 ขึ้นมาเป็น 3.0% 3.3% และ 3.9% ในปี 2558 2559 และ 2560 ตามลำดับ และคาดว่า ในปี 2561 จะขยายตัวได้ 4.2% ต่อปี เป็นการขยายตัวในระดับเต็มศักยภาพ (Potential GDP Growth) โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากการส่งออกและการท่องเที่ยว ขณะที่การบริโภคและการลงทุนโดยรวมยังสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ดี

       ดังนั้น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากที่ขยายตัวเพียง 1.0% ต่อปี มาขยายตัวได้ที่ 3.9% ต่อปี ภายในระยะเวลา 3 ปี ถือเป็นอัตราการเพิ่มที่เร็วกว่าประเทศต่าง ๆ (เวียดนามจาก 6.0% ในปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็น 6.8% ต่อปี ในปี 2560, ลาวจาก 7.6% ในปี 2557 ลดลงเป็น 6.8% ต่อปี ในปี 2560, กัมพูชาจาก 7.1% ในปี 2557 ลดลงเป็น 7.0% ต่อปี ในปี 2560 และมาเลเซียจาก 6.0% ในปี 2557 ลดลงเป็น 5.9% ต่อปี ในปี 2560)

      ทั้งนี้ สืบเนื่องจากมีการวิพากษ์วิจารณ์ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาลที่ระบุว่า เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ 4.0% ต่อปี เป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยที่ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB) ทำนายการเจริญเติบโตของโลก เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย โดยถือว่าไทยเติบโตต่ำที่สุดในภูมิภาค และต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมดในเอเซียตะวันออก นอกจากนี้รัฐบาลยังควรประเมินความคุ้มค่าจากการกระตุ้นเศรษฐกิจเพราะหลายโครงการที่ผ่านมาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ และจำกัดอยู่กับบางกลุ่มเท่านั้น เมื่อเทียบกับงบประมาณที่ลงไปกับความคุ้มค่าที่ได้รับ มีผลที่ได้น้อย ดังนั้น จึงควรคิดว่าทำอย่างไรให้ประชาชนมีรายได้ดีขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งจะยั่งยืนและเป็นผลดีต่อภาวะการคลัง

       โฆษก สศค.กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้วางรากฐานระยะปานกลางและระยะยาวให้แก่เศรษฐกิจ เพื่อสร้างโอกาสและความเชื่อมั่นให้แก่ภาคเอกชนในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น โครงการลงทุนใน EEC โดยการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อให้เป็นฐานที่ตั้งสำคัญของการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งใช้เงินลงทุนกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ในระยะ 5 ปีข้างหน้า เพื่อให้เป็น New Engine of Growth ของเศรษฐกิจไทยและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โครงการ National e-Payment เพื่ออำนวยความสะดวกในการการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกใน Asia ที่ริเริ่มโครงการในลักษณะนี้ สนับสนุน FinTech และส่งเสริมการใช้ QR Code

        นอกจากนี้ รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะกระจายโอกาสไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ผ่านโครงการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดรองมีงานทำและมีรายได้มากขึ้น ตลอดจนดูแลผู้มีรายได้น้อย 11.4 ล้านคน ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและยกระดับคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยให้มีทักษะอาชีพเพิ่มขึ้น มีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถเข้าถึงปัจจัย 4 ได้อย่างยั่งยืน

       "การดำเนินนโยบายของรัฐบาลมิได้มุ่งหวังเฉพาะการเติบโตเชิงปริมาณแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องการให้คุณภาพของเศรษฐกิจและประชาชนดีขึ้นด้วย สอดคล้องกับธนาคารโลกและเอดีบีที่ระบุว่าโอกาสของการขยายตัวทางเศรษฐกิจคือการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนา EEC นอกจากนี้อันดับของ Ease of Doing Business ที่ดีขึ้นถือเป็นปัจจัยบวกต่อความเชื่อมั่นในอนาคต" นายพรชัย กล่าว

       นอกจากนี้ ในช่วงปี 2557 และ 2558 รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการทางการคลัง การเงิน และกึ่งการคลัง เพื่อหยุดการทรุดตัวของเศรษฐกิจหลายมาตรการ เช่น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย มาตรการช่วยเหลือ SMEs มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหยุดการทรุดตัวลงได้และเร่งตัวขึ้นจาก 1.0% ต่อปี เป็น 3.0% ต่อปี โดยที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับปกติ หนี้สาธารณะยังอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ต่อมาในช่วงปี 2559 และ 2560 รัฐบาลได้เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โครงการ EEC มาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุน การใช้จ่าย การท่องเที่ยว และการจ้างงาน ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็น 3.3% และ 3.9% ต่อปี ตามลำดับ โดยที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับปกติ หนี้สาธารณะยังอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง

ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคต่างๆ ที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับประเทศ สะท้อนผลของการดำเนินนโยบายเพื่อลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยลดภาระค่าครองชีพลงและมีความเป็นอยู่ดีขึ้น อันจะเป็นการวางรากฐานให้เศรษฐกิจไทยสามารถเจริญเติบโตแบบลักษณะมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Inclusive Growth) ในอนาคตต่อไป

                              อินโฟเควสท์

คลังชี้แจงข้อวิจารณ์ศก.ไทยโตต่ำสุดในภูมิภาค ยันมีพัฒนาการดีขึ้นต่อเนื่อง-รัฐวางนโยบายหนุน

       คลัง ชี้แจงข้อวิจารณ์ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจไทย ที่ขยายตัวร้อยละ 4 ซึ่งต่ำกว่าตัวเลขที่ธนาคารโลก และเอดีบี ประมารการ และเป็นการขยายตัวต่ำสุดในภูมิภาค โดยยืนยันเศรษฐกิจไทยขยายตัวดีขึ้นต่อเนื่องตามลำดับ ขณะที่รัฐบาลวางนโยบายเศรษฐกิจเป็นรากฐานระยะปานกลาง-ยาว สร้างโอกาสและความเชื่อมั่นภาคเอกชน เพื่อสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขัน

  ตามที่มีการวิจารณ์ตัวเลขประมาณการเศรษฐกิจและการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของรัฐบาล ที่กล่าวว่า การที่เศรษฐกิจไทยขยายตัวได้ร้อยละ 4.0 ต่อปี ซึ่งเป็นอัตราที่ต่ำกว่าอัตราเฉลี่ยที่ธนาคารโลกและธนาคารพัฒนาเอเชีย(เอดีบี) ทำนายการเจริญเติบโตของโลก เช่น เวียดนาม กัมพูชา ลาว และมาเลเซีย โดยถือว่าไทยเติบโตต่ำที่สุดในภูมิภาค และต่ำที่สุดในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาทั้งหมดในเอเซียตะวันออก นอกจากนี้ รัฐบาลยังควรประเมินความคุ้มค่าจากการกระตุ้นเศรษฐกิจเพราะหลายโครงการที่ผ่านมาไม่เป็นไปตามเป้าหมาย ไม่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้ จำกัดอยู่กับบางกลุ่มเท่านั้น เมื่อเทียบกับงบประมาณที่ลงไปกับความคุ้มค่าที่ได้รับ มีผลที่ได้น้อย ดังนั้น จึงควรคิดว่าทำอย่างไรให้ประชาชนมีรายได้ดีขึ้นโดยธรรมชาติ ซึ่งจะยั่งยืนและเป็นผลดีต่อภาวะการคลัง

  นายพรชัย ฐีระเวช ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจการเงิน สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ชี้แจงว่า การขยายตัวของเศรษฐกิจมีแนวโน้มปรับตัวดีขึ้นเป็นลำดับต่อเนื่องตลอด 3 – 4 ปี จากร้อยละ 1.0 ในปี 2557 ขึ้นมาเป็นร้อยละ 3.0 3.3 และ 3.9 ในปี 2558 2559 และ 2560 ตามลำดับ และคาดว่า ในปี 2561 จะขยายตัวได้ร้อยละ 4.2 ต่อปี ซึ่งเป็นการขยายตัวในระดับเต็มศักยภาพ (Potential GDP Growth) โดยมีปัจจัยขับเคลื่อนหลักจากการส่งออกและการท่องเที่ยว ในขณะที่การบริโภคและการลงทุนโดยรวมยังสนับสนุนการขยายตัวของเศรษฐกิจได้ดี ดังนั้น การขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากที่ขยายตัวเพียงร้อยละ 1.0 ต่อปี มาขยายตัวได้ที่ร้อยละ 3.9 ต่อปี ภายในระยะเวลา 3 ปี ถือเป็นอัตราการเพิ่มที่เร็วกว่าประเทศต่าง ๆ ข้างต้น (เวียดนามจากร้อยละ 6.0 ในปี 2557 เพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 6.8 ต่อปี ในปี 2560 ลาวจากร้อยละ 7.6 ในปี 2557 ลดลงเป็นร้อยละ 6.8 ต่อปี ในปี 2560 กัมพูชาจากร้อยละ 7.1 ในปี 2557 ลดลงเป็นร้อยละ 7.0 ต่อปี ในปี 2560 และมาเลเซียจากร้อยละ 6.0 ในปี 2557 ลดลงเป็นร้อยละ 5.9 ต่อปี ในปี 2560)

  ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา รัฐบาลได้วางรากฐานระยะปานกลางและระยะยาวให้แก่เศรษฐกิจ เพื่อสร้างโอกาสและความเชื่อมั่นให้แก่ภาคเอกชนในการสนับสนุนการเติบโตทางเศรษฐกิจและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ เช่น โครงการลงทุนใน EEC โดยการพัฒนาพื้นที่เขตเศรษฐกิจภาคตะวันออก 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และระยอง เพื่อให้เป็นฐานที่ตั้งสำคัญของการลงทุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งใช้เงินลงทุนกว่า 1.5 ล้านล้านบาท ในระยะ 5 ปีข้างหน้า เพื่อให้เป็น New Engine of Growth ของเศรษฐกิจไทยและดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศ โครงการ National e-Payment เพื่ออำนวยความสะดวกในการการทำธุรกรรมทางการเงิน ซึ่งประเทศไทยเป็นประเทศแรกใน Asia ที่ริเริ่มโครงการในลักษณะนี้ สนับสนุน FinTech และส่งเสริมการใช้ QR Code นอกจากนี้ รัฐบาลมุ่งมั่นที่จะกระจายโอกาสไปยังภูมิภาคต่าง ๆ ผ่านโครงการลงทุนด้านคมนาคมขนส่งและส่งเสริมการท่องเที่ยวเมืองรอง เพื่อให้ประชาชนในจังหวัดรองมีงานทำและมีรายได้มากขึ้น ตลอดจนดูแลผู้มีรายได้น้อย 11.4 ล้านคน ผ่านบัตรสวัสดิการแห่งรัฐและยกระดับคุณภาพชีวิตผู้มีรายได้น้อยให้มีทักษะอาชีพเพิ่มขึ้น มีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น และสามารถเข้าถึงปัจจัย 4 ได้อย่างยั่งยืน ดังนั้น การดำเนินนโยบายของรัฐบาลมิได้มุ่งหวังเฉพาะการเติบโตเชิงปริมาณแต่เพียงอย่างเดียว หากแต่ต้องการให้คุณภาพของเศรษฐกิจและประชาชนดีขึ้นด้วย สอดคล้องกับธนาคารโลกและเอดีบีที่ระบุว่าโอกาสของการขยายตัวทางเศรษฐกิจคือการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานและการพัฒนา EEC นอกจากนี้ อันดับของ Ease of Doing Business ที่ดีขึ้นถือเป็นปัจจัยบวกต่อความเชื่อมั่นในอนาคต

  นอกจากนี้ ในช่วงปี 2557 และ 2558 รัฐบาลได้ดำเนินมาตรการทางการคลัง การเงิน และกึ่งการคลัง เพื่อหยุดการทรุดตัวของเศรษฐกิจหลายมาตรการ เช่น มาตรการช่วยเหลือเกษตรกร มาตรการช่วยเหลือผู้มีรายได้น้อย มาตรการช่วยเหลือ SMEs มาตรการช่วยเหลือภาคอสังหาริมทรัพย์ เป็นต้น ส่งผลให้อัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจหยุดการทรุดตัวลงได้และเร่งตัวขึ้นจากร้อยละ 1.0 ต่อปี เป็นร้อยละ 3.0 ต่อปี โดยที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับปกติ หนี้สาธารณะยังอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ต่อมาในช่วงปี 2559 และ 2560 รัฐบาลได้เร่งกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน โครงการ EEC มาตรการทางภาษีเพื่อกระตุ้นการลงทุน การใช้จ่าย การท่องเที่ยว และการจ้างงาน ส่งผลให้อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 3.3 และ 3.9 ต่อปี ตามลำดับ โดยที่อัตราการว่างงานอยู่ในระดับปกติ หนี้สาธารณะยังอยู่ในกรอบความยั่งยืนทางการคลัง ทั้งนี้ การขยายตัวทางเศรษฐกิจของภูมิภาคต่าง ๆ ที่สอดคล้องกับการขยายตัวของเศรษฐกิจในระดับประเทศ สะท้อนผลของการดำเนินนโยบายเพื่อลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำช่วยให้ผู้มีรายได้น้อยลดภาระค่าครองชีพลงและมีความเป็นอยู่ดีขึ้น อันจะเป็นการวางรากฐานให้เศรษฐกิจไทยสามารถเจริญเติบโตแบบลักษณะมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน (Inclusive Growth) ในอนาคตต่อไป

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย.

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!