WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

Gมชย ฤชพนธ copyสนช. มีมติเป็นเอกฉันท์ 189 เสียง รับหลักการร่างกฎหมายลูกเลือกตั้ง ส.ส.

     ที่ประชุมสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) มีมติเป็นเอกฉันท์ 189 เสียงรับหลักการในวาระแรกของร่างพ.ร.บ. ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร (ส.ส.) พ.ศ. .... ตามที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) เป็นผู้เสนอ  พร้อมตั้งคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณา 33 คน กำหนดแปรญัตติ 15 วัน กรอบระยะเวลาดำเนินการ ภายใน 58 วัน

      นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธาน กรธ. กล่าวว่า ภาพรวมของร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญฯ ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การเลือกตั้ง ส.ส.เป็นโดยสุจริตและเที่ยงธรรม กรธ.จึงได้มีบัญญัติหลักการสำคัญหลายประการเข้าไปเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าว เช่น การกำหนดให้เบอร์ผู้สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส.ของพรรคการเมืองในแต่ละเขตเลือกตั้งไม่ซ้ำกัน เป็นต้น

      สาเหตุที่กำหนดไว้เช่นนี้ด้วยกลไกที่กำหนดไว้ในรัฐธรรมนูญที่ให้คะแนนเสียงของผู้มีสิทธิเลือกตั้งเป็นคะแนนเสียงที่มีความสำคัญและผู้เลือกตั้งต้องดูทั้งพรรคและบุคคล กรธ.จึงคิดว่าการที่จะยึดเอาความสะดวกสบายให้ทุกพรรคมีเบอร์เดียวกันทั้งประเทศ มันจะทำให้ขาดตกบกพร่องในเรื่องการพิจารณาตัวบุคคลผู้สมัครแต่ละเขต จึงกำหนดให้แต่ละเขตมีเบอร์ของตัวเอง

       ประธาน กรธ.กล่าวว่า กติกาการเลือกตั้งในครั้งนี้จะทำให้ประชาชนมีทางเลือกในการออกเสียงมากขึ้น กล่าวคือ การให้ประชาชนสามารถลงคะแนนไม่ประสงค์จะเลือกผู้สมัครคนใด เดิมไม่เคยนำเอาคะแนนส่วนนี้มานับ แต่คราวนี้กำหนดให้นำคะแนนนั้นมานับแล้วประกาศให้ประชาชนทราบ และถ้าในเขตเลือกตั้งใดผู้สมัครรับเลือกตั้งไม่มีใครได้คะแนนเกินกว่าคะแนนที่ไม่เลือกผู้ใด ผู้สมัครรับเลือกตั้งทั้งหมดในเขตนั้นจะไม่ได้รับการเลือกตั้ง และจะไม่มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งในการเลือกตั้งแทนคราวนั้น ต้องกลับไปและอีก 4 ปีค่อยกลับมาสมัครใหม่

     นอกจากนี้ การจัดทำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นครั้งแรกที่ กรธ.ได้เชิญเจ้าหน้าที่คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) มาร่วมพิจารณาตั้งแต่ต้น เพื่อให้ช่วยตรวจดูความถูกต้องและนำไปเสนอต่อ กกต.ทั้ง 5 คนและให้ทำความเห็นกลับมายัง กรธ.ซึ่งที่ผ่านมาก็ได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดี

พรเพชร เชื่อพรุ่งนี้ สนช.ถกกฎหมายลูกเลือกตั้ง ส.ส.-สรรหา ส.ว.ผ่านฉลุย

     นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) กล่าวภายหลังการพบปะกับ นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี, นายมีชัย ฤชุพันธุ์ ประธานคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) และนายอัชพร จารุจินดา ประธานคณะกรรมการปฏิรูปประเทศด้านกระบวนการยุติธรรมว่า ได้แสดงความยินดีที่ กรธ.ส่งร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญให้กับ สนช.ครบทั้ง 10 ฉบับแล้ว และไม่มีอะไรน่ากังวล

      นอกจากนี้ ยังได้ซักถามถึงรายละเอียดเพื่อทำความเข้าใจในเนื้อหาของร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้ง ส.ส.และร่าง พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการได้มาซึ่ง ส.ว.ที่ สนช.จะพิจารณาในวันพรุ่งนี้ ซึ่งเชื่อว่าการพิจารณาจะผ่านไปได้ด้วยดี ส่วนจะมีการตั้งกรรมาธิการร่วมหรือไม่นั้นยังไม่รู้ แต่ยืนยันว่า สนช.ตระหนักถึงความสำคัญของร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับ และจะพยายามทำให้ดีที่สุดตามเงื่อนเวลาที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งจะไม่มีการคว่ำร่างกฎหมายทั้ง 2 ฉบับแน่นอน

       ด้าน นายวิษณุ กล่าวถึงการแก้ไขกฎหมายเลือกตั้งท้องถิ่นว่า ยังอยู่ระหว่างการทำข้อเสนอแนะจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) และคาดว่า ภายในต้นเดือน ม.ค.นี้ ร่างกฎหมายที่เสนอแก้ไขจะเข้าสู่การพิจารณาของ สนช.ได้ และหากกฎหมายมีผลบังคับใช้จะกำหนดให้จัดการเลือกตั้งท้องถิ่นภายหลังจากนั้น 45 วัน

      ส่วนกรณีที่มีข้อกังวลว่าการเลือกตั้งท้องถิ่นจะทับซ้อนกับการเลือก ส.ว. นายวิษณุ มองว่าจะไม่เป็นเช่นนั้น เพราะการเลือก ส.ว.ครั้งแรกนั้นเป็นการสรรหาและเลือกกันเอง ไม่ใช่ให้ประชาชนออกเสียงลงคะแนน

       นายวิษณุ กล่าวว่า บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่บัญญัติให้พิจารณาควบรวมหรือยุบหน่วยงานส่วนท้องถิ่นบางแห่งที่มีข้อจำกัด ทั้งงบประมาณไม่เพียงพอ หรือเกี่ยวกับจำนวนประชากรในพื้นที่ เป็นเงื่อนไขที่ทำหรือไม่ทำก็ได้ โดยชั้นการพิจารณาแก้ไขกฎหมายท้องถิ่น ยังไม่มีประเด็นดังกล่าวพิจารณา

       ทั้งนี้ ในการเลือกตั้งท้องถิ่นที่จะเกิดขึ้นต้องพิจารณารายละเอียดดังกล่าวให้ลงตัวด้วย และอาจจะไม่จัดการเลือกตั้งท้องถิ่นในบางแห่งที่มีแนวโน้มว่าไม่รู้อนาคตของตนเอง ดังนั้นการเลือกตั้งท้องถิ่นอาจเลือกจัดขึ้นเฉพาะบางพื้นที่

       อินโฟเควสท์

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!