บาทก้าว 'สปช.'อารมณ์ร่วม สังคมไทย อวย คสช.เต็มพิกัด
- Details
- Category: วิเคราะห์-การเมือง
- Created: Monday, 25 August 2014 11:58
- Published: Monday, 25 August 2014 11:58
- Hits: 3760
บาทก้าว 'สปช.'อารมณ์ร่วม สังคมไทย อวย คสช.เต็มพิกัด
(มติชนรายวัน20 สิงหาคม 2557 )
ชงอธิการบดี′มทส.-มอ.′ชิงสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งประเทศไทย
นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) ในฐานะนายกสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย(สอท.) เปิดเผยว่า สอท.ในฐานะที่นิติบุคคลด้านการศึกษา ได้หารือร่วมกันแล้วมีมติที่จะเสนอชื่อตัวแทน สอท. 2 คน เพื่อเข้ารับการคัดเลือกเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ ได้แก่ นายประสาท สืบค้า อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี(มทส.) และ นายชูศักดิ์ ลิ่มสกุล อธิการบดีมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์(มอ.) โดยเสนอเข้ารับการคัดเลือกเป็น สปช.ฝ่ายปฏิรูปการศึกษา |
ขอความร่วมมือ
วันที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2557 บทนำมติชน
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. และว่าที่นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวในรายการโทรทัศน์ คืนความสุขให้คนในชาติ เมื่อวันที่ 22 สิงหาคมที่ผ่านมา ตอนหนึ่งว่า ขอความร่วมมือ ขอร้องบรรดาผู้ที่พยายามต่อว่าหรือต่อต้าน โดยเลือกที่จะพูดคำว่าประชาธิปไตย โดยการคืนอำนาจและเลือกตั้ง หรือกล่าวคำตำหนิติเตียน ทำใบปลิวให้ร้าย ทราบว่ามีคนกลุ่มเดิมๆ ไปประชุมกันอยู่หลายๆ ที่ และอีกตอนระบุว่า หลายคนก็มีความพยายามที่จะนำพากลับไปสู่สถานการณ์ไม่ปกติอีกต่อไป โดยใช้คำว่าประชาธิปไตย การเลือกตั้ง โดยที่ไม่เห็นว่าประชาธิปไตยที่ไม่สมบูรณ์ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่างๆ ฯลฯ
ก่อนหน้านี้ มีผู้โปรยใบปลิวต่อต้าน คสช. ที่หน้า บก.ทบ.ถนนราชดำเนิน และที่ อ.ปากเกร็ด จ.นนทบุรี และยังมีการใช้ช่องทางในอินเตอร์เน็ตแสดงความไม่เห็นด้วย การต่อต้าน คสช.เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ เพราะ คสช.ได้เข้าควบคุมอำนาจการปกครอง อันเป็นการปฏิบัติทางการเมืองที่มีผลกระทบกว้างขวาง ย่อมมีผู้เห็นด้วยและผู้ไม่เห็นด้วย มากหรือน้อยยังไม่อาจทราบได้ เพราะสภาพทางการเมืองทำให้ไม่สามารถแสดงตัวหรือแสดงออกได้
การขอความร่วมมือจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วย เป็นการปรามที่อาจจะได้ผล แต่ถ้าพิจารณาว่า การที่ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยกับ คสช. แสดงออกในทางปกปิด ก็เพราะทาง คสช.ใช้มาตรการเข้มงวด ไม่เปิดให้แสดงออกทางการเมือง แม้จะเปิดให้มาสมัครเป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแห่งชาติหรือ สปช. ก็เป็นเพียงช่องทางหนึ่งเท่านั้น ทางออกที่น่าจะเป็นผลดีกับทุกฝ่ายก็คือ การผ่อนคลาย ให้มีการแสดงออกทางการเมืองได้มากขึ้น ภายในกรอบของกฎหมายและความเหมาะสม
ก่อนหน้าที่ คสช.จะเข้าควบคุมอำนาจการปกครอง ทุกฝ่ายได้ใช้เสรีภาพทางการเมือง แต่บางกลุ่มได้กระทำเกินเลย บุกปิดสถานที่ราชการและเอกชน โดยมีกลไกของรัฐบางส่วนให้ความร่วมมือและสนับสนุน เหมือนจงใจทำให้เหตุการณ์บานปลายไปเรื่อยๆ จนสุดท้ายลงเอยด้วยการเข้าควบคุมอำนาจการปกครอง ประชาธิปไตยจึงมิใช่ปัญหาหรือต้นเหตุของวิกฤต แต่ปัญหาคือ ผู้มีอำนาจตามกฎหมายได้บิดเบือนการทำหน้าที่ของตน จนระบอบประชาธิปไตยต้องหยุดชะงักลง