WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

บาทก้าว การเมือง บทบาท ของ'นกหวีด'บทบาท'คสช.'

25 สิงหาคม พ.ศ. 2557 เวลา 09:26 น. ข่าวสดออนไลน์


บาทก้าว การเมือง บทบาท ของ'นกหวีด'บทบาท'คสช.'

    ไม่ว่าจะมองไปยังการเคลื่อนไหวของ "เครือข่ายขาหุ้น ปฏิรูปพลังงาน" ไม่ว่าจะมองไปยังความหวั่นวิตกต่อปัญหาราคายางตกต่ำ

      ก็จะรู้ว่ามิใช่เรื่องของ "เพื่อไทย" มิใช่เรื่องของ "นปช."
     เพราะ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ที่ถูกทหารเชิญตัวเข้าค่ายเสนาณรงค์ เพราะ นายเพิก เลิศวังพง ที่ออกมาในนามชุมนุมสหกรณ์ชาวสวนยางแห่งประเทศไทย
     ก็ล้วนเคยร่วมอยู่ในขบวนการ "นกหวีด"
     นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ก็เป็นผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ จ.สงขลา นายเพิก เลิศวังพง ก็มาจากเขาตะโหมด จ.พัทลุง
     ล้วนเป็น "ชาวใต้" ฐานเสียงใหญ่ของ "ประชาธิปัตย์"
     สะท้อนให้เห็นว่า รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 "ความสุข" ยังไม่ถึงชาวสวนยางและ "ความสมหวัง" ยังไม่ถึงนักปฏิรูปพลังงาน
      จึงได้ "ออกโรง" จึงได้แสดงความ "หุดหิด"
      กล่าวสำหรับระดับพรรคการเมือง หากมองอย่างเปรียบเทียบต้องมองไปยังพรรคเพื่อไทยและพรรคประชาธิ ปัตย์
     พรรคเพื่อไทย "เงียบ" เป็นอย่างยิ่ง
     ที่ออกมาอย่างสม่ำเสมออย่างเช่น นายชวลิต วิชยสุทธิ์ หรือ นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ก็ไม่รุนแรงแข็งกร้าว
     ยิ่งนปช.อย่าง นายจตุพร พรหมพันธุ์ หรือ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ ก็อยู่ในที่ตั้ง
     มีก็แต่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ ที่ออกมาแนะนำ ที่ออกมาเตือน พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ประสานเข้ากับการเฟซข้อความผ่านเฟซบุ๊กโดย นายนิพิฏฐ์ อินทรสมบัติ สอนคสช.ให้ทำอย่างนั้นให้ทำอย่างนี้
     ประชาธิปัตย์ "แอ๊กชั่น" มากกว่า "เพื่อไทย"
     สัมผัสการเคลื่อนไหวของ "เครือข่ายขาหุ้น ปฏิรูปพลังงาน" สัมผัสการเคลื่อนไหวของ "ชาวสวนยาง" ที่เคยมีบทบาทอย่างสูงในเดือนกันยายน 2556
     1 เป็นความหงุดหงิดของ "นกหวีด" 
      ขณะเดียวกัน 1 ความหงุดหงิดของ "นกหวีด" ย่อมสัมพันธ์กับความไม่พอใจของพรรคประชาธิปัตย์อย่างแนบแน่น
      สะท้อนสภาวะทางความคิดที่ไม่ได้ดังใจ
      สะท้อนความรู้สึกที่เห็นว่าการปฏิบัติของคสช.โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ไม่เป็นไปตามความต้องการของ "นกหวีด" อย่างครบถ้วน บริบูรณ์
      จึงต้อง "ออกโรง" จึงต้อง "เคลื่อนไหว"
      ภาพทางการเมืองในยุคคสช. ในยุค พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ดำรงตำแหน่ง "นายกรัฐมนตรี"
      ในสถานการณ์ที่พรรคเพื่อไทยยุติการเคลื่อนไหว ในสถานการณ์ที่นปช.สงบนิ่งอยู่ในที่ตั้งจึงเป็นภาระของพรรคประชาธิปัตย์ จึงเป็นภาระของ "นกหวีด" ที่จะต้องเดินหน้า
       เดินหน้าและออกมาเรียกร้อง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา... 

ลักษณ์ การเมือง โฉมหน้า สภา อนาคต แต่งตั้ง เลือกตั้ง

(ที่มา : มติชนารายวัน 23 สิงหาคม 2557)

 

 



    ปรากฏการณ์ที่ร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ 2558 ผ่านความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อย่างง่ายดาย

   สะท้อนอะไร

   ปรากฏการณ์ที่การสรรหา "นายกรัฐมนตรี" ด้วยการเสนอชื่อพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เพียงหนึ่งเดียวได้รับความเห็นชอบจากสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อย่างเป็นเอกฉันท์

   สะท้อนอะไร

   ไม่ว่าจะเป็นเสียงจาก "ต่างประเทศ" ไม่ว่าจะเป็นเสียง"ภายในประเทศ" ล้วนดำเนินไปอย่างเป็นเอกภาพ มิได้แสดงความประหลาดใจ

    สะท้อนอะไร

    1 สะท้อนความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกันของสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ขณะเดียวกัน 1 ก็สะท้อนอำนาจอันเบ็ดเสร็จเด็ดขาด

อำนาจอันเบ็ดเสร็จเด็ดขาดของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

เพราะว่า 1 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เป็นหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ขณะเดียวกัน 1 คสช.เป็นผู้แต่งตั้ง สนช.

ทุกอย่างจึงเรียบร้อย โรงเรียน "คสช."

ความเรียบร้อยเหล่านี้เป็นความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดยิ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับรัฐบาลในกาลก่อน

ไม่ว่ารัฐบาล นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (2551-2554)

ไม่ว่ารัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (2554-2557)

ความเรียบร้อยเหล่านี้เป็นความแตกต่างอย่างเห็นได้ชัดยิ่งเมื่อนำไปเปรียบเทียบกับสภาผู้แทนราษฎรในกาลก่อน

ไม่ว่าสภาผู้แทนราษฎรยุค นายชัย ชิดชอบ (2550-2554)

ไม่ว่าสภาผู้แทนราษฎรยุค นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ (2554-2557)

เป็นความแตกต่างเพราะ 1 เป็นรัฐบาลอันมาจากการเลือกตั้ง เป็นสภาอันมาจากการเลือกตั้ง ขณะเดียวกัน 1 เป็นรัฐสภาอันมาจากการแต่งตั้ง

1 เลือกตั้งโดย "ประชาชน" 1 แต่งตั้งโดย "คสช."

ภาพที่เห็นและเป็นอยู่นับจากสถานการณ์รัฐประหารเมื่อเดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา จึงเป็นภาพเปรียบเทียบอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้ของลักษณะรัฐบาล ลักษณะสภาอันมีรากที่มาแตกต่างกัน

1 มาจากการเลือกตั้ง 1 มาจากการแต่งตั้ง

ที่ "มา" ต่างกัน วิถี "ดำเนิน" ย่อมต่างกัน


กระบวนการได้มาซึ่งสภาอันมีรากจาก "การแต่งตั้ง" ความเรียบร้อยจึงมีอย่างเด่นชัด เป็นความเรียบร้อยในลักษณะราบเรียบ

หากเป็นรัฐสภาในยุคก่อนรัฐประหารจะไม่เป็นเช่นนี้

ความไม่เป็นเช่นนี้มิได้ดำรงอยู่และเห็นได้จาก ส.ส.อันมาจากพรรคเพื่อไทย ส.ส.อันมาจากพรรคชาติไทยพัฒนา เท่านั้น

หากแม้กระทั่ง ส.ส.อันมาจากพรรคประชาธิปัตย์ก็เด่นชัด

ยิ่งบรรดา ส.ว.โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ส.ว.ในกลุ่มสรรหาซึ่งเรียกตนเองว่า "กลุ่ม 40" ก็ไม่เป็นอย่างที่เห็นเมื่อเป็น "สนช."

ตรงกันข้าม มิได้ "สุภาพ" มิได้ "เรียบร้อย"

ต่อร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2557 บทบาท นายสมชาย แสวงการ มิได้เป็นอย่างที่เห็นเมื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.งบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2558 เบื้องหน้า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา

นี่คือความเปลี่ยนแปลงจาก "หน้ามือ" เป็น "หลังเท้า"

อาจเป็นเพราะ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ไม่น่าเกรงขาม อาจเป็นเพราะพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา น่าเคารพมากกว่า

นี่คือผลจากกระบวนการ "รัฐประหาร"

    ยังไม่มีใครให้ "คำตอบ" ได้อย่างเบ็ดเสร็จเด็ดขาดว่า ความรู้สึกต่อกระบวนการของ"สนช."
    1 จะยังคงชื่นชม เห็นชอบในลักษณะแห่งความเป็นเอกภาพ เอกฉันท์ เช่นนี้ต่อไปหรือไม่ 1 จะชื่นชม เห็นชอบกับสภา "แต่งตั้ง" ว่ายอดเยี่ยมเหนือสภา "เลือกตั้ง" ต่อไปหรือไม่

     กาลเวลาจะเป็น "ผู้พิพากษา" และให้ "คำตอบ" ได้เที่ยงธรรมที่สุด................

กว่าจะถึงวันนี้ 203 วัน-ประเทศไทย ภายใต้′ชัตดาวน์′

(ที่มา:มติชนรายวัน 21 สิงหาคม 2557)

 

 



      การเปลี่ยนแปลง 22 พ.ค.2557 สำหรับคนบางกลุ่ม สร้างความสะอกสะใจ ถึงขั้นต้องจัดปาร์ตี้ชุดลายพราง เป่านกหวีดกันสนั่นหวั่นไหว

     3 เดือนกำลังจะผ่านไปในวันที่ 22 ส.ค.2557 นี้ แต่เหตุการณ์เริ่มเปลี่ยนแปลง

      เริ่มมีเสียงจากสื่อบางส่วน จากนักการเมืองบางกลุ่ม จากกลุ่มพลังบางกลุ่ม ออกมาเอะอะว่า รู้สึกอึดอัด เพราะไม่มีสิทธิเสรีภาพในการนำเสนอข่าว ในการแสดงออก

     แล้วใครกันเล่าที่เพรียกหา กวักมือเรียก แทบจะช่วยสตาร์ตเครื่องรถถังให้ 

      มีความแตกต่างแน่นอน จากยุครัฐบาลพรรคเพื่อไทย และยุคของรัฐบาล คสช.

     จากยุคที่ครอบงำโดยทุนนิยมสามานย์ ยุคที่เรียกว่า'รัฐตำรวจ' ที่ดูเหมือนอำมหิตเหี้ยมเกรียม ประมาณ'เกสตาโป' หรือกองตำรวจลับ'เชคา'แห่งสังคมนิยมโซเวียตรัสเซีย

      แต่พลเมืองผู้เฉลียวฉลาด สามารถด่านายกรัฐมนตรีว่า 'อีโง่'ได้อย่างเปิดเผย ชนชั้นกลางระดับสูงที่มีปริญญา 5 ใบ เรียกนายกฯว่า'อีปู' ได้อย่างมั่นใจ 

     สามารถปล่อยข่าวลืออย่างนายกฯยืนบนธงชาติ ข่าวลือทีมงานนายกฯสั่งอาหารโรงแรมมารับประทานที่ทำเนียบ 

     ข่าวลือที่ล่อแหลมอย่างกรณี 'ว.5'ได้อย่างอิสระเสรี เรียกเสียงกรี๊ดกร๊าดชอบใจจากนักสิทธิสตรี

    จากยุคที่สามารถวิพากษ์วิจารณ์รัฐบาล วิจารณ์นายกฯ จนถึงรัฐมนตรีน้อยใหญ่ได้อย่างเปิดเผย แต่นักวิชาการรัฐศาสตร์ อาจารย์มหาวิทยาลัยที่มีประวัติการต่อสู้เพื่อสิทธิเสรีภาพอย่างสูงเด่น นักการเมืองที่มั่นใจว่าตนเองเป็นนักประชาธิปไตย ต่างระบุเต็มปากเต็มคำว่า นั่นคือยุคแห่ง 'เผด็จการรัฐสภา'

    จากยุคที่กลุ่มพลัง ประณามรัฐบาลว่าเป็น 'ทรราช'บ้านเมืองไม่มีขื่อมีแป

    แต่สามารถชุมนุมประท้วงปิดถนน ตั้งกองกำลังติดอาวุธ บุกปิดหน่วยราชการ โดยเจ้าหน้าที่รัฐไม่อาจแตะต้องได้

     การใช้แก๊สน้ำตา น้ำฉีด ตามสูตรปราบจลาจลสากล กลายเป็นอาชญากรรม 

       และอาจกลายเป็นเรื่องราวเข้าสู่ กรรมการสิทธิมนุษยชน เข้าสู่องค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญ

     จากยุคที่นักการเมืองไร้คุณธรรม รังแกข้าราชการประจำ ด้วยการย้ายข้าราชการน้ำดีอย่าง นายถวิล เปลี่ยนศรี จากตำแหน่งเลขาธิการ สมช. 

      เป็นความผิดบาปที่ลงโทษด้วยการให้พ้นจากตำแหน่งนายกฯ และจะต้องถูกถอดถอนเพื่อให้เว้นวรรคจากการเมืองอีก 5 ปี จึงจะสาสม 

      สังคมประเทศไทยเปลี่ยนแปลงไปมาก โดยมีเส้นแบ่งฉับพลันอยู่ที่วันที่ 22 พ.ค.2557 

     คำถามว่า แล้วบ้านเมืองเดินมาถึงจุดนี้ได้อย่างไร

     คำตอบอย่างรวบรัด คือ เป็นผลจากความผิดพลาดของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่บังอาจผลักดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ฉบับสุดซอย เมื่อปลายเดือน ต.ค.2557 

แต่ถ้ากล่าวให้ถึงที่สุด ที่มาที่ไปของเหตุการณ์ เป็นส่วนหนึ่งของการต่อสู้ทางเศรษฐกิจ-สังคม ที่กำลังเปลี่ยนไปตามกระแสของโลก 

     หนังสือ'203 วัน ชัตดาวน์ ′ยิ่งลักษณ์′ เปิดศักราช คสช.'จากสำนักพิมพ์มติชน ได้จับภาพเหตุการณ์ 203 วัน ตีแผ่แยกธาตุให้เห็นว่าความขัดแย้งที่ผ่านการแตกหักเมื่อ 19 ก.ย.2549 ได้พัฒนามาถึงกำเนิด กปปส.อย่างไร 

    มหาวิทยาลัย สถาบันการศึกษา ที่เคยเป็นพลังฝ่ายประชาธิปไตย ที่เคยผลิตเยาวชน ปัญญาชน เป็นกองหน้าสะพานเชื่อมให้กับผู้เสียเปรียบในสังคม ได้พลิกกลับมาร่วมขบวนการ'มวลมหาประชาชน' ได้อย่างไร

     ไหนยังทัพเสื้อกาวน์/ขบวนการต้านโกงของนักธุรกิจ/องค์กรอิสระ-ศาล ฯลฯ ที่เข้ามาประสานสมทบ

      จนถึง'ทฤษฎีมะม่วงร่วง-มะม่วงหล่น'

     '203 วัน ชัตดาวน์ ′ยิ่งลักษณ์′ เปิดศักราช คสช.'ทำให้ถึงที่มาที่ไปของประวัติศาสตร์หน้านี้

      และ'ใคร'บ้างที่กวักเรียก เพรียกหาและร่วมสร้างประวัติศาสตร์หน้านี้..

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!