WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

'สมคิด เลิศไพฑูรย์'ธรรมศาสตร์นับแต่นี้

'สมคิด เลิศไพฑูรย์'ธรรมศาสตร์นับแต่นี้


คอลัมน์ โครงร่างตำนานคน โดย การ์ตอง มติชน 10 ส.ค. 2557 


หากเป็นการเมืองยุคก่อน ไม่ว่าประชาธิปไตยจะถูกต้อนให้ถอยร่นอย่างไร จะยังคงมีฐานที่มั่นหนึ่งรองรับการถอยนั้นให้สามารถตั้งรับ และตั้งหลักเพื่อเตรียมความพร้อมในการรุกกลับคืนได้

ฐานที่มั่นนั้นคือสถาบันการศึกษา อันหมายถึงมหาวิทยาลัย

เครื่องมือของมหาวิทยาลัยที่สามารถสอดแทรกเข้าไปในทุกอำนาจคือ "การวิพากษ์วิจารณ์เชิงวิชาการ"

รัฐบาลอาจจะมีอำนาจล้นเหลือในทางบริหาร รัฐสภาอาจจะมีอำนาจเต็มที่ในการออกกฎหมาย และตุลาการมีอำนาจเด็ดขาดในการตัดสินคดีความ

หรือกระทั่งกองทัพที่สามารถแสดงอำนาจเบ็ดเสร็จในการรักษาความมั่นคงของประเทศในทุกเมื่อ

การใช้อำนาจเพื่อหยุดการแทรกแซงทางทุกฝ่ายอาจจะเกิดขึ้นได้ แต่สถาบันการศึกษา ซึ่งก็คือมหาวิทยาลัย มีอำนาจที่จะเข้าไปวิพากษ์วิจารณ์ทุกอำนาจในกรอบของวิชาการได้

เพราะวิชาการคือความแหลมคมของปัญญาที่จะก่อให้เกิดความรอบคอบในการใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ของส่วนรวม ของประเทศชาติ

ไม่มีใครมีความชอบธรรมที่จะปฏิเสธการติเตือนเพื่อให้เกิดความรอบคอบในการใช้อำนาจได้

ในนามของมหาวิทยาลัยที่มีความตื่นตัวทางการเมือง และหนักแน่นในอุดมการณ์ประชาธิปไตยคือ "มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์"

ในอดีตที่ผ่านมา เมื่อประเทศมีการใช้อำนาจนอกกรอบประชาธิปไตย ประชาชนชาวไทยจะมอบความหวังไว้ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ว่าจะเป็นผู้นำในการใช้อำนาจทางวิชาการเพื่อเข้าแทรกแซงให้การใช้อำนาจนอกกรอบนั้นเป็นไปอย่างรอบคอบ

ที่สำคัญคือ ทำให้กลับคืนสู่ประชาธิปไตยอันเป็นการปกครองที่ประเทศพัฒนาแล้วให้การยอมรับโดยเร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้

จนแทบทุกครั้งธรรมศาสตร์จะเป็นหัวขบวนในการต่อสู้เพื่อเรียกคืนประชาธิปไตย

การที่จะคงบทบาทเช่นนั้นได้ นักวิชาการในรั้วมหาวิทยาลัยจะต้องไม่เข้าไปมีผลประโยชน์ในอำนาจอื่นนอกจากอำนาจทางวิชาการในนามสถาบันการศึกษา

การรักษาจุดยืนนี้ไว้คือ เกราะป้องกันความทรงเกียรติของมหาวิทยาลัย

การต่อสู้ที่ผ่านมามหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดดเด่นในการความเป็นผู้นำมาทุกครั้ง

จนกระทั่งวันนี้ เหมือนกับอำนาจนอกกรอบประชาธิปไตยจะเรียนรู้ และพัฒนาการต่อสู้ได้เป็นอย่างดี

การทำให้ผู้บริหารมหาวิทยาลัยซึ่งเป็นผู้นำในอำนาจวิชาการเข้าไปมีผลประโยชน์ร่วมในอำนาจนอกระบบคือไม้เด็ดที่จะบั่นทอนอำนาจทางวิชาการที่เข้าไปแทรกแซงอำนาจอื่นให้ใช้อย่างรอบคอบ

"สมคิด เลิศไพฑูรย์" ในนามอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เดินไปสู่จุดนั้นในวันนี้

เมื่อเข้าไปรับหน้าที่เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ นั่นหมายถึงความชอบธรรมที่จะแทรกแซงการใช้อำนาจนิติบัญญัติให้เกิดความรอบคอบด้วยกรอบของความเป็นสถาบันวิชาการของธรรมศาสตร์ย่อมถูกตั้งคำถาม

ความโดดเด่นในความเป็นผู้นำในยามวิกฤตประชาธิปไตยสูญเสียไปแล้ว

ด้วยจุดยืนของอธิการบดีซึ่งเป็นผู้นำ

อย่างไรก็ตาม "สมคิด เลิศไพฑูรย์" คงไม่มีความสุขนักกับการยืนในจุดนี้

เพราะถึงอย่างไรจิตวิญญาณธรรมศาสตร์น่าจะยังคงหนักแน่น และพร้อมจะเป็นแรงเสียดทานสั่นคลอนการนำของ "สมคิด" อยู่ไม่น้อย 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!