บาทก้าว คสช. โครงการ รถไฟ น้ำ ขยับ ขับเคลื่อน
- Details
- Category: วิเคราะห์-การเมือง
- Created: Saturday, 02 August 2014 18:22
- Published: Saturday, 02 August 2014 18:22
- Hits: 3962
บาทก้าว คสช. โครงการ รถไฟ น้ำ ขยับ ขับเคลื่อน
น้ำลด ตอผุด บทบาท ของ ′คสช.′ ′ความจริง′
เห็นข่าว นายชินวรณ์ บุณยเกียรติอดีตรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ ออกมาเรียกร้อง คสช.ให้คืนความสุขแก่ชาวสวนยางพารา แล้ว "ขำ" ร้อยละ 80 ของการตรวจสอบเป็นข้าวที่มีคุณภาพดี ถูกต้อง มีเพียงร้อยละ 10 เท่านั้น ที่ "ไม่ตรงกับที่แจ้งไว้และเสื่อมคุณภาพ" ไม่เพียงแต่ นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม อดีต ส.ส.พิษณุโลก พรรคประชาธิปัตย์ เท่านั้นที่บังเกิดอาการ "หุด-หิด" "อาการ" เหล่านี้ "สะท้อน" อะไร ขอเริ่มจากสภาวะ "หุด-หิด" อันมาจากอดีต ส.ส.นักการเมืองในสังกัดพรรคประชาธิปัตย์อันเกี่ยวกับราคายางพาราก่อน ต้องขอบคุณ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ ที่ออกมายอมรับ ต้องขอบคุณ นายเทพไท เสนพงศ์ ที่ออกมายอมรับ ต้องขอบคุณ นายชินวรณ์ บุณยเกียรติ ที่ออกมายอมรับ และเห็นความจำเป็นที่ "คสช." จักต้อง "คืนความสุข" เพราะหากขุนพลนักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์แสดงอาการนิ่งเฉยเหมือนไม่รู้ร้อนรู้หนาว ย่อมมีโอกาส "กินตัว" เพราะสถานการณ์ครั้งนั้นได้นำไปสู่ "ชะอวด โมเดล" อย่างครึกโครม โดย ส.ส.พรรคประชาธิปัตย์ ออกมาหนุนหลังเต็มที่ กระทั่งนำไปสู่การปิดถนน "ชัตดาวน์" ภาคใต้ในเดือนกันยายน 2556 ข้อเรียกร้องของ "ชาวสวนยางพารา" ภาคใต้ในขณะนั้นก็คือ ต้องประกันราคาจาก 80 ให้ทะยานไปอยู่ที่ 120 บาทให้จงได้ เมื่อไม่ได้ดังใจก็นำไปสู่ "ประจวบ โมเดล" ซ้ำเป็นคำรบ 2 แล้วสภาวะ "หุด-หิด" ในอารมณ์อันเนื่องจากการตรวจสอบข้าวคงเหลือของรัฐตามโกดัง ไซโลต่างๆ หลังสถานการณ์ยึดอำนาจของ คสช.เป็นอย่างไร ต้องยอมรับในความตรงไปตรงมาของ "คสช." มีความ "ต่าง" กันในเรื่อง "ตัวเลข" เป็นปริมาณในลักษณะ "เกินจริง" "นะจังงัง" ในเชิง "สถิติ" เด่นชัดว่าเรื่อง "ข้าว" ก็เป็น "การเมือง" เหมือนเรื่อง "ยาง"
นั่นก็คือ การเล่นบทเป็น "ผู้ตรวจสอบ" อาศัยความเป็นจริงมาแยกแยะระหว่างเรื่องลวงกับเรื่องจริง ไม่ลูบหน้าปะจมูก ไม่เข้าใครออกใคร ผิดก็ว่าผิด ถูกก็ว่าถูก บทบาทเช่นนี้เท่ากับ "คืนความสุข" ให้อย่างเที่ยงธรรม.......... |
การบ้าน คสช. การบ้าน ก่อนรัฐบาล สานต่อ เศรษฐกิจ
เมื่อเข้ายึดอำนาจการปกครองประเทศไป "เรียบร้อย" แล้วนั้น คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ก็ตระหนักดีอยู่แล้วว่ามีภารกิจหลัก 2 ประการที่จะต้องดำเนินการให้ลุล่วงไป หนึ่งคือแก้ไขปัญหาความขัดแย้งทางการเมืองและสังคม ที่กัดกร่อนสังคมไทยในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา ให้ลดหรือหมดไป หนึ่งคือสานต่องานด้านการบริหารเศรษฐกิจและการต่างประเทศ มิให้สะดุดหยุดลง
เมื่อปะเข้ากับข้อมูลข้อเท็จจริงที่ท่วมท้นทะลักออกมา แนวทางการบริหารเศรษฐกิจของ คสช. ก็ดำเนินไปอย่างระมัดระวังอย่างยิ่ง มิได้เหวี่ยงไปสุดขั้วตามแรงผลักดันหรือเสียงเชียร์ ประการหนึ่ง สังเกตได้จากการเลือกแนวทางการบริหารนโยบายพลังงานด้วย "กลไกตลาด" รอบคอบและระมัดระวังถึงขนาดที่ตีกลับข้อมูลที่เสนอมาเพื่อการตัดสินใจ ให้ไปรวบรวมข้อเท็จจริงเพิ่มเติมมาแล้วหลายครั้ง ประการหนึ่ง สังเกตได้จากการสานต่อโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านคมนาคม ที่แม้จะล้มโครงการเงินกู้ 2 ล้านล้านบาท แต่ก็กลับมาใหม่ด้วย "แพคเกจ" ระดับ 2.4 ล้านล้านบาท คสช.อนุมัติกรอบยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐาน ปี 58-65 รวมงบการลงทุน 2.4 ล้านล้านบาท 29 กรกฎาคม คสช. อนุมัติเห็นชอบตามแผนยุทธศาสตร์โครงสร้างพื้นฐานด้านการคมนาคมของไทยระยะเวลา 8 ปี ช่วงปี 2558-2565 ที่กระทรวงคมนาคมเสนอมา เพื่อเตรียมนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีดำเนินการเรื่องนี้ได้ทันทีที่เข้ารับตำแหน่งบริหารประเทศในช่วงปลายเดือนสิงหาคม ยุทธศาสตร์ดังกล่าวประกอบด้วย 5 แผนงาน ซึ่งยังไม่รวมโครงการรถไฟความเร็วสูงที่ คสช.ให้มีการศึกษาเพิ่มเติม วงเงินรวมประมาณ 2.4 ล้านล้านบาท แผนงานแรก การพัฒนาโครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง วงเงินประมาณ 6.7 แสนล้านบาท เช่น โครงการรถไฟทางคู่ 17 เส้นทาง วงเงินรวมกว่า 4.7 แสนล้านบาท โครงการปรับปรุงระบบอาณัติสัญญาณทั่วประเทศ โครงการจัดหารถโบกี้บรรทุกสินค้า และจัดหารถโดยสารรุ่นใหม่ เป็นต้น ส่วนรถไฟความเร็วสูงอาจเลือกเอาบางโครงการที่มีศักยภาพและมีความจำเป็นในอนาคต อาทิ เส้นทางกรุงเทพฯ-เชียงใหม่ 3.8 แสนล้านบาท อาจพิจารณาดำเนินการในระยะที่ 1 กรุงเทพฯ-พิษณุโลก วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท หรือเส้นทางกรุงเทพฯ-หนองคาย วงเงิน 1.7 แสนล้านบาท อาจปรับแผนเป็นเส้นทางท่าเรือแหลมฉบัง-หนองคาย เชื่อมกับรถไฟความเร็วสูงในประเทศลาวและจีน
โดยโครงการสำคัญในแผนงานนี้คือโครงการรถไฟฟ้าและรถไฟความเร็วสูง โดยโครงการรถไฟฟ้าในกรุงเทพฯและปริมณฑล หรือโครงการรถไฟฟ้า 10 สาย รวมถึงโครงการจัดซื้อรถเมล์เอ็นจีวีจำนวน 3,183 คัน วงเงิน 13,416 ล้านบาท แผนงานที่สาม เพิ่มขีดความสามารถทางหลวงเพื่อเชื่อมโยงฐานการผลิตที่สำคัญของประเทศสู่ประชาคมอาเซียน วงเงินประมาณ 6.4 แสนล้านบาท แผนงานที่สี่ พัฒนาโครงข่ายการขนส่งทางน้ำเพื่อเพิ่มการขนส่งทางน้ำเพิ่มขึ้น 20% วงเงินประมาณ 1 แสนล้านบาท เช่น โครงการพัฒนาท่าเรือปากบารา โครงการพัฒนาท่าเรือสำราญขนาดใหญ่ โครงการพัฒนาศูนย์การขนส่งสินค้าทางรถไฟที่ท่าเรือแหลมฉบัง แผนงานสุดท้ายคือการพัฒนาท่าอากาศยาน งบประมาณ 8.9 หมื่นล้านบาท เช่น แผนพัฒนาท่าอากาศยานสุวรรณภูมิระยะที่ 2 วงเงิน 6.2 หมื่นล้านบาท
โดยส่วนใหญ่เป็นข้อเสนอของภาคเอกชนที่ต้องการให้การลงทุนรถไฟทางคู่สามารถรองรับการขนส่ง ทั้งคนและสินค้าได้ในเวลาอันรวดเร็วขึ้น ใครเป็นรัฐบาล รัฏฐาธิปัตย์ แนวทางบริหารจัดการเศรษฐกิจก็ไม่เคยเปลี่ยน......... |