WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ระดมพล ′ขรก.′ แบกงาน ′การเมือง′ ′การเมือง′ ยุค ′ปฏิรูป′

ระดมพล ′ขรก.′ แบกงาน ′การเมือง′ ′การเมือง′ ยุค ′ปฏิรูป′

 

 


มติชนรายวัน 17 กรกฎาคม 2557

ไม่เพียงแต่นายทหารใหญ่น้อย ต้องเหน็ดเหนื่อยรับภาระหนัก 

ต้องอดตาหลับขับตานอน ดำเนินการประชุมต่างๆ เพื่อขับเคลื่อนนโยบายของ คสช. 

โดยเฉพาะการ "ปฏิรูป" ด้านต่างๆ ที่กำลังขยายขอบเขตไปอย่างกว้างขวาง

เพราะหลังจากการรัฐประหาร 22 พ.ค.2557 ก็เท่ากับปิดสวิตช์ ยุติบทบาทของบรรดานักการเมืองไปจนหมดสิ้น

ภาระต่างๆ ตกบนบ่ากว้างของ"คสช." ที่มีกำลังหลักเป็นทหารจากเหล่าทัพต่างๆ

นอกเหนือจากต้องประชุมขับเคลื่อนนโยบายแล้ว ยังต้องนำกำลังออก "จัดระเบียบ" ในสถานที่ต่างๆ

ตั้งแต่จัดระเบียบวินรถตู้ รถจักรยานยนต์รับจ้าง แผงลอตเตอรี่

รวมทั้งจัดระเบียบชายหาดป่าตอง ไปจนถึงตรวจค้นมีนบุรีโปลีเทคนิค แก้ปัญหาอาชีวะรบกัน

นอกเหนือจากทหารแล้ว ข้าราชการอื่นๆ ก็ถูกเรียกระดม เพื่อขอใช้บริการเช่นกัน

เป็นสภาพที่ข้าราชการเข้ามาแทนที่ "นักการเมือง" 

ตัวอย่างจาก สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ก็อยู่ในแนวทางเดียวกัน 

คำสั่ง คสช.ที่ 87-88-89/2557 ทำให้ ก.ต.ช. หรือคณะกรรมการนโยบายตำรวจแห่งชาติ และ ก.ตร. หรือคณะกรรมการข้าราชการตำรวจ เปลี่ยนโฉมหน้าไป 

ฝ่ายการเมืองในกลไกนี้ จะเหลือเพียงนายกฯ และรองนายกฯที่ได้รับมอบหมาย จากเดิมมี 3 คน 

ปลอดจาก "ผู้ทรงคุณวุฒิ" ที่ไม่ใช่ข้าราชการตำรวจในปัจจุบัน 

ต่อไปนี้ การเสนอชื่อ ผบ.ตร.คนใหม่ จะเป็นหน้าที่ของ ผบ.ตร. จากเดิมที่ให้นายกฯเป็นผู้เสนอชื่อ 

กิจการตำรวจ โดยเฉพาะการแต่งตั้งโยกย้าย จะอยู่ในมือของตำรวจเป็นส่วนมาก โดยมีปลัดกระทรวงกลาโหม เข้ามาเป็นตัวแทนใน "มิติความมั่นคง" 

และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ เข้ามาร่วมรับรู้ตามขั้นตอนราชการ 

เป้าหมายการเปลี่ยนแปลง เพื่อลดการล้วงลูก จัดโผ จากฝ่ายการเมือง ที่เชื่อกันว่าทำให้วงการตำรวจตกต่ำ

ที่เห็นชัด ก็คือการปกครองท้องถิ่น ที่ประกอบด้วยองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และสภาท้องถิ่น ที่มีทั่วประเทศ 

หลายแห่งกำลังจะหมดวาระ จะต้องเลือกตั้งใหม่

แต่ คสช.มีคำสั่งให้ใช้วิธีสรรหา และกำหนดหลักเกณฑ์การสรรหาออกมาแล้ว

โดยคำสั่งนี้ จะทำให้สภาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นสภากรุงเทพมหานคร สภาเขต อบต.หรือองค์การบริหารส่วนตำบล ไปจนถึง อบจ.หรือองค์การบริหารส่วนจังหวัด สภาเทศบาลต่างๆ มาจาก อดีตข้าราชการเป็นสัดส่วนที่สูง

ขณะที่บรรดาองค์กรตัวแทนกำลังหวั่นวิตกว่าการนำบุคคลจากการสรรหา เข้าแทนที่ผู้มาจากการเลือกตั้ง จะเป็นเพียงสภาพชั่วคราว หรือจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่มากกว่านั้น 

ส่วนในทางการเมือง สภานิติบัญญัติแห่งชาติ ที่กำลังจะเกิดขึ้นหลังจากประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองชั่วคราวในเดือนนี้ จะประกอบด้วยนายทหาร และอดีตข้าราชการ 

เป็นความเชื่อมั่นของอดีต ส.ว.สรรหาท่านหนึ่ง ที่เห็นว่าจะต้องมีอดีต ส.ว.สรรหา เข้าร่วมในสภานิติบัญญัติ 

โดยถือเป็น "ประเพณีหลังการรัฐประหาร" เลยทีเดียว 

การใช้บริการของช้าราชการและอดีตข้าราชการ ภายหลัง 22 พ.ค.2557 นับเป็นสภาพที่เกิดขึ้นโดยทั่วไป

เป็นสภาพที่เข้าใจได้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของการ "หยุด" ระบบเพื่อ "จัดระเบียบ" และน่าจะต้อง "คืน" ให้ เมื่อกลับสู่ภาวะปกติ 

ผสมผสานไปกับแนวคิดที่เห็นนักการเมืองเป็นตัวปัญหา

ที่น่ากังวลก็คือ สิ่งที่จะเกิดขึ้นต่อไป 

เนื่องจากระบบราชการ เป็นไปเพื่อรับใช้ระบบที่มีอำนาจเหนือกว่า 

มิได้มองลงไปด้านล่าง เพื่อรับใช้ปวงชนอันเป็นพื้นฐานของประเทศ 

"ความแตกต่าง" ที่จะเกิดขึ้น คือผลที่น่าเป็นห่วง 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!