WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

ทิศทาง แนวโน้ม ถวายคืน พระราชอำนาจ ของ พุทธอิสระ

วันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 00:01 น.  ข่าวสดออนไลน์ 


ทิศทาง แนวโน้ม ถวายคืน พระราชอำนาจ ของ พุทธอิสระ     


    ก็เหมือนกับความมั่นใจของ พล.อ.สายหยุด เกิดผล

    เพราะว่า ไม่ว่าพุทธอิสระ ไม่ว่าคณะรัฐบุคคลของ พล.อ.สายหยุด เกิดผล ดำเนินกรรมวิธีและกระบวนการอย่างเดียวกัน

    นั่นก็คือ หวังพึ่ง พระบารมี

    เพียงแต่คณะรัฐบุคคลสำแดงออกโดยหวังอาศัยบริการของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ในฐานะแห่ง รัฐบุรุษ

    ขณะที่พุทธอิสระจัดขบวนมุ่งตรงไปยัง อ.หัวหินจ.ประจวบคีรีขันธ์

    อย่าได้แปลกใจที่ปรากฏว่า นายปราโมทย์ นาครทรรพ อันเป็นสมองก้อนโตให้กับ พล.อ.สายหยุด เกิดผล ก็มาอาสาเขียน ร่างฎีกา ให้กับพุทธอิสระด้วย

     พุทธอิสระจึงเปี่ยมด้วยความหวัง เปี่ยมด้วยความมั่นใจ

     แท้จริงแล้ว แนวคิดในเรื่องการถวายคืนพระราชอำนาจในแบบที่พุทธอิสระลงมือกระทำในครั้งนี้มิได้เป็นเรื่องใหม่

     เมืองไทยรายสัปดาห์สัญจรก็เคยทำมาแล้วในปี 2548

     เมื่อมีการก่อตั้งพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในเดือนกุมภาพันธ์ 2549 แนวคิดก็ได้รับการสานต่อ

     โดย นายชัยอนันต์ สมุทวณิช กับ นายปราโมทย์ นาครทรรพ เป็นกำลังสำคัญ

      และต่อมาเมื่อ นายชัยอนันต์ สมุทวณิช กับ นายปราโมทย์ นาครทรรพ ไปมีบทบาทในคณะรัฐบุคคลร่วมกับนายทหารอีกหลายคนโดยเฉพาะ  พล.อ.สายหยุด เกิดผล แนวคิดนี้ก็ได้รับการสานต่อและเคลื่อนไหวด้วยความคึกคักไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าเมื่อปี 2548 และ 2549

     คนที่ดับฝันครั้งนี้คือ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์

      ในเบื้องต้น พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ อาจจะให้ความนับถือ พล.อ.สายหยุด เกิดผล ซึ่งเป็นนักเรียนนายร้อยทหารบกรุ่นเดียวกัน

      จึงเชิญให้ไปแลกเปลี่ยน

      เป็นการเชิญเพื่อ รับฟัง มิได้เชิญเพราะ เห็นด้วย แต่เมื่อเห็นอาการผลีผลามของ พล.อ.สายหยุด เกิดผล ทำให้ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ต้องถอนตัว

      มิได้ถอนตัวอย่างธรรมดาหากถอนตัวแบบปิดประตู

      ความจริงเมื่อปี 2549 ก็มีความพยายามผลักดันเรื่องนี้ผ่าน พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ แต่ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ไม่รับลูก

     สัญญาณ ครั้งใหม่ ต่อ พล.อ.สายหยุด เกิดผล จึงชัด

     จากนี้จึงพอจะมองได้ว่าการเคลื่อนขบวนไปถวายฎีกาของพุทธอิสระนั้นเป้าหมายแท้จริงคืออะไร

      ตอบได้เลยว่า 1 เพื่อนำเรื่องถวายคืนพระราชอำนาจมาเป็นเครื่องมือ ตอบได้เลยว่า 1 เพื่อหาทางลงให้กับ นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ได้อย่างสดสวยและสง่างาม

      เป็นเป้าหมายที่วางไว้โดยไม่คำนึงว่าจะบรรลุหรือไม่ อย่างไร

ยับยั้งอันตราย

วันที่ 08 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 บทนำมติชน

        สถานการณ์การเมืองเข้าสู่โค้งอันตรายจริงๆ แล้ว เมื่อถึงกำหนดเวลาที่องค์กรอิสระทยอยมีคำวินิจฉัยคดีทางการเมือง โดยเฉพาะคดีที่จะมีผลทำให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรักษาการหมดสภาพ จนเกิดเป็นสุญญากาศทางการเมือง ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต่างมีคดีที่ต้องตัดสิน โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีร้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ ป.ป.ช. มีคดีกล่าวหาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ละเว้นการยับยั้งนโยบายจำนำข้าว 

       ปัญหาข้อกฎหมายในการต่อสู้คดีทั้งในศาลรัฐธรรมนูญและใน ป.ป.ช.นั้น แม้จะเป็นการต่อสู้ที่ดุเดือด แต่ก็ยังอยู่ในกรอบการเมือง แต่ปัญหาการต่อสู้หลังจากมีผลการวินิจฉัยออกมาแล้วนั้น มีแนวโน้มว่าจะดุเดือดกว่า เพราะผลจากการตัดสินวินิจฉัยอาจจะนำไปสู่ข้อขัดแย้งทางความคิดที่ใหญ่หลวง คือ ข้อขัดแย้งในเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลชุดต่อไป เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมในนาม กปปส. ซึ่งสนับสนุนให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลาง และกำลังระดมพลตามแผนเรียกคืนอำนาจอธิปไตย กับกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ที่สนับสนุนการเลือกตั้ง และผลักดันให้นายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส. ซึ่งมีกำหนดนัดรวมตัวกันที่ถนนอักษะวันที่ 10 พฤษภาคม

        ข้อขัดแย้งดังกล่าวมีเงื่อนปมตรงที่ ฝ่ายหนึ่งเสนอแนวคิดให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจวินิจฉัยให้มีนายกรัฐมนตรีจากการแต่งตั้งได้ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งปฏิเสธแนวคิดนั้น เพราะเห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญ และขู่ว่าหากมีนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง คนเสื้อแดงก็จะต่อต้าน บัดนี้สถานการณ์น่าเป็นห่วง ว่าสังคมไทยอาจเข้าเขตวิกฤต ดังนั้น การหาวิธีป้องปรามมิให้อันตรายเกิดขึ้น โดยยึดมั่นในหลักนิติธรรมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด และถ้าสถานการณ์เลยล่วงเกินกว่าที่จะหยุดยั้งได้ ก็ไม่ควรให้คนไทยต้องทำร้ายคนไทยด้วยกันเอง

แม้ทุกอย่างที่เป็นห่วง อาจเป็นแค่ปริวิตกจากแนวโน้มความขัดแย้งที่เข้มข้นขึ้น แต่ที่ผ่านมาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างประกาศการเผชิญหน้ากันอย่างดุเดือด ทั้งสองฝ่ายมีพลังด้วยกันทั้งนั้น สังคมจึงควรมีการเตือนภัยให้เตรียมรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้น ทั้งฝ่ายที่มีโอกาสเป็นผู้จุดชนวนความขัดแย้ง และฝ่ายที่อาจกลายไปเป็นผู้ขัดแย้ง รวมถึงฝ่ายที่อาจตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้ง ทุกฝ่ายต้องมองให้เห็นอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากยังคงดึงดันก้าวสู่เป้าหมายโดยไม่คำนึงถึงวิธีที่ใช้ 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!