ทิศทาง แนวโน้ม ถวายคืน พระราชอำนาจ ของ พุทธอิสระ
- Details
- Category: วิเคราะห์-การเมือง
- Created: Thursday, 08 May 2014 13:36
- Published: Thursday, 08 May 2014 13:36
- Hits: 4930
วันที่ 07 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 เวลา 00:01 น. ข่าวสดออนไลน์
ยับยั้งอันตราย วันที่ 08 พฤษภาคม พ.ศ. 2557 บทนำมติชน สถานการณ์การเมืองเข้าสู่โค้งอันตรายจริงๆ แล้ว เมื่อถึงกำหนดเวลาที่องค์กรอิสระทยอยมีคำวินิจฉัยคดีทางการเมือง โดยเฉพาะคดีที่จะมีผลทำให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีรักษาการหมดสภาพ จนเกิดเป็นสุญญากาศทางการเมือง ทั้งศาลรัฐธรรมนูญ คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ต่างมีคดีที่ต้องตัดสิน โดยศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยคดีร้อง น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ขัดรัฐธรรมนูญ ส่วนที่ ป.ป.ช. มีคดีกล่าวหาว่า น.ส.ยิ่งลักษณ์ ละเว้นการยับยั้งนโยบายจำนำข้าว ปัญหาข้อกฎหมายในการต่อสู้คดีทั้งในศาลรัฐธรรมนูญและใน ป.ป.ช.นั้น แม้จะเป็นการต่อสู้ที่ดุเดือด แต่ก็ยังอยู่ในกรอบการเมือง แต่ปัญหาการต่อสู้หลังจากมีผลการวินิจฉัยออกมาแล้วนั้น มีแนวโน้มว่าจะดุเดือดกว่า เพราะผลจากการตัดสินวินิจฉัยอาจจะนำไปสู่ข้อขัดแย้งทางความคิดที่ใหญ่หลวง คือ ข้อขัดแย้งในเรื่องที่มาของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลชุดต่อไป เป็นความขัดแย้งระหว่างกลุ่มผู้ชุมนุมในนาม กปปส. ซึ่งสนับสนุนให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลาง และกำลังระดมพลตามแผนเรียกคืนอำนาจอธิปไตย กับกลุ่มผู้ชุมนุม นปช. ที่สนับสนุนการเลือกตั้ง และผลักดันให้นายกรัฐมนตรีมาจาก ส.ส. ซึ่งมีกำหนดนัดรวมตัวกันที่ถนนอักษะวันที่ 10 พฤษภาคม ข้อขัดแย้งดังกล่าวมีเงื่อนปมตรงที่ ฝ่ายหนึ่งเสนอแนวคิดให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจวินิจฉัยให้มีนายกรัฐมนตรีจากการแต่งตั้งได้ ส่วนอีกฝ่ายหนึ่งปฏิเสธแนวคิดนั้น เพราะเห็นว่าขัดรัฐธรรมนูญ และขู่ว่าหากมีนายกรัฐมนตรีแต่งตั้ง คนเสื้อแดงก็จะต่อต้าน บัดนี้สถานการณ์น่าเป็นห่วง ว่าสังคมไทยอาจเข้าเขตวิกฤต ดังนั้น การหาวิธีป้องปรามมิให้อันตรายเกิดขึ้น โดยยึดมั่นในหลักนิติธรรมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่งยวด และถ้าสถานการณ์เลยล่วงเกินกว่าที่จะหยุดยั้งได้ ก็ไม่ควรให้คนไทยต้องทำร้ายคนไทยด้วยกันเอง แม้ทุกอย่างที่เป็นห่วง อาจเป็นแค่ปริวิตกจากแนวโน้มความขัดแย้งที่เข้มข้นขึ้น แต่ที่ผ่านมาผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่างประกาศการเผชิญหน้ากันอย่างดุเดือด ทั้งสองฝ่ายมีพลังด้วยกันทั้งนั้น สังคมจึงควรมีการเตือนภัยให้เตรียมรับมือกับสิ่งที่อาจเกิดขึ้น ทั้งฝ่ายที่มีโอกาสเป็นผู้จุดชนวนความขัดแย้ง และฝ่ายที่อาจกลายไปเป็นผู้ขัดแย้ง รวมถึงฝ่ายที่อาจตกเป็นเหยื่อของความขัดแย้ง ทุกฝ่ายต้องมองให้เห็นอันตรายที่จะเกิดขึ้นหากยังคงดึงดันก้าวสู่เป้าหมายโดยไม่คำนึงถึงวิธีที่ใช้ |