WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เปิดไทม์ไลน์ 2 ปี เลือกตั้งใหม่ สูตรปฏิรูปก่อนลงหลังเสือ

เปิดไทม์ไลน์ 2 ปี เลือกตั้งใหม่ สูตรปฏิรูปก่อนลงหลังเสือ

มติชนออนไลน์ : วันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2558 เวลา 15:42:09 น.

 

 



2yearรายงาน

      เมื่อไทม์ไลน์เดิมจากการประชุมร่วมระหว่างคณะรัฐมนตรี (ครม.)-คณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ครั้งแรก เมื่อวันที่ 19 พฤษภาคม เปิดทางให้สามารถทำประชามติได้ ตามคำพยากรณ์ว่าจะสามารถจัดทำประชามติในเดือนมกราคมปี′59 หากผ่านการทำประชามติแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาใช้ต่อไป 

ยิ่งเมื่อบวก-ลบกับการใช้ เวลาพิจารณาร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ประกอบรัฐธรรมนูญ 3 ฉบับ ไว้เป็นเครื่องไม้-เครื่องมือจัดการเลือกตั้ง ยิ่งทำให้เห็นเส้นชัยบนสนามเลือกตั้งแจ่มชัดขึ้นราวเดือนสิงหาคม-กันยายน ปี′59

ทว่าหลังที่ประชุมร่วมระหว่าง ครม.-คสช.ครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน มีมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ..) พ.ศ. .... จำนวน 7 ประเด็น เพื่อส่งไปยังสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) เมื่อวันที่ 10 มิถุนายนที่ผ่านมา จึงทำให้โรดแมป คสช.ที่วางไว้ให้มีการจัดการเลือกตั้งในเดือนสิงหาคม หรือกันยายนปี"59 ต้องพังครืน 

เมื่อไทม์ไลน์เลือกตั้งใหม่ หลังส่งร่างรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมให้ สนช.พิจารณาแล้ว จะสามารถประกาศใช้ได้ก่อนวันที่ 23 กรกฎาคม ซึ่งเป็นเดดไลน์ที่คณะกรรมาธิการ (กมธ.) ยกร่างรัฐธรรมนูญ ที่มี "ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ" เป็นหัวขบวน ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เสร็จสิ้น

     เมื่อถึงคราวที่สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ต้องตัดสินใจลงมติเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ในต้นเดือนกันยายน ถ้าหาก สปช.เห็นชอบ ต้องนำร่างรัฐธรรมนูญไปทำประชามติ 

โดยคณะกรรมการการ เลือกตั้ง (กกต.) เป็นผู้จัดทำ-ออกประกาศกำหนดกติกา-หลักเกณฑ์-วิธีการ-เงื่อนไข-เงื่อนเวลาใน การจัดทำประชามติ และนำประกาศไปรับความเห็นชอบจาก สนช.เพื่อประกาศใช้ต่อไป

      การลงประชามติจะสามารถทำได้ก็ต่อเมื่อมีการเผยแพร่ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่-แจก จ่ายให้แก่ผู้มีสิทธิออกเสียงลงประชามติไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ต่อครัวเรือน คือเท่ากับ 19 ล้านครัวเรือน จากทั้งหมด 24 ล้านครัวเรือนทั่วประเทศ หรือจัดพิมพ์ร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่เพื่อเผยแพร่จำนวน 19 ล้านฉบับ

ซึ่ง กกต.ได้กำหนดวันการออกเสียงประชามติมาแล้วคือ วันที่ 10 มกราคมปี"59 

หลังจากนี้ รัฐบาล กระทรวงมหาดไทย สำนักงบประมาณ จะหารือร่วมกับ กกต. ในการจัดทำประชามติ ทั้งนี้ให้สำนักงบประมาณไปจัดหางบประมาณในการจัดทำประชามติ โดยใช้งบประมาณจากงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2559 

      เมื่อระหว่างทางของการทำประชามติไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ เพราะถึง แม้ "คำถามหลัก" ของการออกเสียงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่นั้น คือ "รับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ" หรือ "เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบรัฐธรรมนูญ"

      แต่เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมได้กรุยทางให้ สนช.-สปช. สามารถถาม "คำถามอื่น" ด้วยได้ 

     ท่ามกลางกระแสต้องการให้รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ อยู่ปฏิรูป 2 ปีก่อนเลือกตั้งดังกระหึ่มขึ้นมาอีกครั้ง ทำให้ความหวังที่จะได้เลือกตั้งตามโรดแมปเดิมอาจต้องเคลื่อนออกไป

     ยิ่งเมื่อมีการแก้ไขให้ กมธ.ยกร่างฯ สิ้นสุดลงกรณีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ไม่ผ่าน ซึ่งมี 2 กรณี คือ กรณี สปช.ไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ หรือผลการออกเสียงประชามติไม่เห็นด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ ให้หัวหน้า คสช.ดำเนินการแต่งตั้งกรรมการร่างรัฐธรรมนูญชุดใหม่ขึ้นมา 

นามว่า "กรรมการร่างรัฐธรรมนูญ" จำนวน 21 คน ประธาน 1 คน กรรมการไม่เกิน 20 คน ทำหน้าที่ยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่และรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ภายใน 6 เดือน หรือ 180 วัน และให้นำไปออกเสียงประชามติอีกครั้ง และนำขึ้นทูลเกล้าฯ ประกาศใช้ 

หากไม่ผ่านการทำประชามติเป็นครั้งที่สอง อาจจะต้องแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญฉบับชั่วคราวอีกครั้ง ซึ่งอาจจะตั้งกรรมการขึ้นมาอีก 1 ชุด แต่อาจจะต้องใช้เวลาในการปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่โดยใช้เวลาให้น้อย ที่สุด เช่น 7 วัน หรืออาจจะนำรัฐธรรมนูญฉบับใดฉบับหนึ่งมาประกาศใช้


     หากโรดแมปต้องเดินทางมาถึงจุดนี้ก็อาจจะได้เห็นการเลือกตั้งอย่างน้อยไม่เกินปี 2559 หรืออย่างมากก็มกราคมปี 2561

 

 

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!