WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

เศรษฐกิจ การเมือง ธรรมชาติ เนื้อแท้ ′ทุน′ ศึกษากรณีซัมซุง

Wisanu1เศรษฐกิจ การเมือง ธรรมชาติ เนื้อแท้ ′ทุน′ ศึกษากรณีซัมซุง

เป็นอันว่า 'ซัมซุง'บรรษัททุนข้ามชาติจากเกาหลีใต้ 'ย้าย'ฐานการผลิตโทรทัศน์ออกจากไทยไปเรียบร้อยแล้ว

เป้าหมายอยู่ที่ 'เวียดนาม'

แถลงล่าสุดจาก นายวัลลภ วิตนากร รองประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) ไม่เพียงแต่ทุนข้ามชาติจากเกาหลีใต้เท่านั้น หากทุนไทยก็ตระเตรียมเดินแนวทางเดียวกับซัมซุง เป็นอุตสาหกรรมในกลุ่มอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มสิ่งทอ

เป้าหมายอยู่ที่ 'เวียดนาม'

เหตุปัจจัย 1 ที่มีการย้ายฐานการผลิตมาจากเวียดนามมีอัตราค่าแรงถูกกว่าในเชิงเปรียบเทียบ

เหตุปัจจัย 1 มาจากสิทธิพิเศษทางภาษีศุลกากรหรือ GSP

ที่สำคัญเป็นอย่างมากเวียดนามสามารถเจรจาและเตรียมลงนามการตกลงทางการค้าเสรีหรือ FTA กับสหภาพยุโรปในเร็วๆ นี้ 

ขณะที่ของไทยยัง 'ค้างเติ่ง'ไม่มีการขยับขับเคลื่อน เพราะรัฐบาลของสหภาพยุโรปไม่ยอมเจรจากับรัฐบาลที่มิได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

"รัฐประหาร" นั้นเองที่เป็น "ขวากหนาม"

บทเรียนจากกรณีของซัมซุง ซึ่งเป็นทุนข้ามชาติจากเกาหลีใต้ และจากกรณีของกลุ่มอุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์และกลุ่มอุตสาหกรรมสิ่งทอซึ่งเป็นทุนไทยคืออะไร

1 คือลักษณะและธรรมชาติของ "ทุน"

ธรรมชาติของทุนไม่ว่าจะเป็นทุนจากเกาหลีใต้ ไม่ว่าจะเป็นทุนไทยก็คือ ไม่มีสัญชาติหากแต่ดำเนินไปอย่างลอดรัฐ ข้ามชาติ

ที่ไหนมี "ประโยชน์" มากกว่าก็พร้อม "ไหล" ไป

1 เหมือนกับว่าโดยพื้นฐานเศรษฐกิจดำเนินไปในลักษณะเป็นโครงสร้างระดับอย่างที่เรียกว่าฐานราก การเมืองและวัฒนธรรมเป็นเงาสะท้อนวิถีดำเนินของเศรษฐกิจ แต่ในเงื่อนไขที่แน่นอนหนึ่ง การเมืองและวัฒนธรรมก็สามารถกำหนดทิศทางของเศรษฐกิจได้

สภาพของประเทศไทยนับแต่เดือนพฤษภาคม 2557 เป็นต้นมา อันถือว่าอยู่ในยุคแห่งรัฐประหาร

ระบบรัฐประหารจึงส่งอิทธิพลอย่างสำคัญต่อวิถีดำเนินของเศรษฐกิจ

ไม่ว่าฝ่ายวิเคราะห์วิจัยของธนาคารกรุงศรีอยุธยา ไม่ว่าฝ่ายวิเคราะห์วิจัยของธนาคารทหารไทย หรือแม้กระทั่งฝ่ายวิเคราะห์

วิจัยของโนมูระก็ออกมายอมรับตรงกันว่า ภาวะไม่แน่นอนในทางการเมืองมีผลต่อตลาดทุนและการลงทุนภาคเอกชนอย่างลึกซึ้ง

บางแห่งถึงกับเน้นลงไปยังประเด็นของ "การเลือกตั้ง"

พลันที่มีการตั้งข้อสงสัย แคลงใจและกังขาต่อ "ร่างรัฐธรรมนูญ" ว่าไม่เป็นประชาธิปไตย ทำให้ระยะเวลาของการเลือกตั้งตามที่กำหนดในโรดแมปอาจคลาดเคลื่อน

มิได้เป็นในตอนต้นปี 2559 อาจเป็นปลายปี

นามของรัฐธรรมนูญอาจมิใช่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2558 หากแต่จะเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2559

ก็บังเกิดภาวะ "หวั่นไหว" อย่างกว้างขวาง

นั่นหมายถึงว่า แนวโน้มและความเป็นไปได้ที่ความสัมพันธ์ปกติระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหภาพยุโรปอาจต้องเป็นในปี 2559 หรือในปี 2560

นั่นหมายถึง ข้อตกลง FTA ต้องยืดออกไป

ขณะเดียวกัน ยังมีความไม่แน่นอนในเรื่องอันเกี่ยวกับ "การค้ามนุษย์" ทั้งโจทย์เก่าซึ่งค้างคาและโจทย์ใหม่เกี่ยวกับกรณีของโรฮีนจาเสริมเติมเข้ามาอีก จึงเท่ากับนำความอ่อนเปราะให้เกิดขึ้นทั้งสหภาพยุโรปและสหรัฐอเมริกา

ในเรื่องเกี่ยวกับ "เทียร์ 3"

สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้การค้าระหว่างประเทศแปรเปลี่ยน สิ่งเหล่านี้ล้วนทำให้การส่งออกของประเทศต้องติดลบแล้วติดลบอีกอย่างต่อเนื่อง

"การเมือง" จึงสะท้อนถึง "เศรษฐกิจ"

หน้าที่ของรัฐบาล ไม่ว่ารัฐบาลจากการเลือกตั้ง ไม่ว่ารัฐบาลจากการรัฐประหาร คือ ความแน่นอน

เป็นความแน่นอนในข้อกฎหมาย เป็นความแน่นอนในประด็นที่มาของอำนาจนิติบัญญัติ ที่มาของอำนาจบริหาร เพราะหากเหล่านี้ไม่แน่นอนย่อมทำให้ขาดความมั่นใจ ขาดความเชื่อมั่น

เมื่อไม่มั่นใจ เมื่อไม่เชื่อมั่น "เครดิต" ย่อมโยกเยก คลอนแคลน

 (ที่มา:มติชนรายวัน 26 พ.ค.2558)

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!