WORLD7

smed PIONEER 720x100ใจฟู720x100pxgpf 720x100 66

กฎเหล็ก สงคราม ประชามติ ประชาธิปไตย วิภาษวิธี สงคราม

Aประชามตกฎเหล็ก สงคราม ประชามติ ประชาธิปไตย วิภาษวิธี สงคราม

     หากมองจากมุมของกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญระดับ นายไพบูลย์ นิติตะวัน หากมองจาก สปช.ระดับ นายวันชัย สอนศิริ ผ่าน "ประชามติ"

     เหมือนกับ 'นักการเมือง' กำลังกลายเป็น 'เหยื่อ'

    ไม่ว่านักการเมืองจากพรรคเพื่อไทย ไม่ว่านักการเมืองจากพรรคประชาธิปัตย์ ไม่ว่านักการเมืองจากพรรคชาติไทยพัฒนา ไม่ว่านักการเมืองจากพรรคภูมิใจไทย ไม่ว่านักการเมืองจากพรรคชาติพัฒนา

    ล้วน'เสร็จ' ให้กับทีเด็ดของ 'คสช.'

    เพราะพลันที่มีการทำ'ประชามติ' ร่างรัฐธรรมนูญความหมาย 1 หมายความว่าการเลือกตั้งที่กำหนดไว้ว่าจะเป็นตอนต้นปี 2559 ก็ต้อง "เลื่อน" ออกไป

    ความหมาย 1 หมายความว่า 'เวลา' ของรัฐบาลก็จะต้อง 'ยาว'โดยไม่สามารถกำหนดระยะเวลาอย่างแน่ชัด

    'นิมิต' อันมาจากฤๅษี'เกวาลัน' จึงสดใส กาววาว

   เท่ากับว่านักการเมืองหรือแม้กระทั่งปรปักษ์ที่อยู่ตรงข้ามกับ'คสช.'กลายเป็นปลาที่ติดเบ็ดกันถ้วนทั่ว

    ขิงแก่อย่าง คสช.'เหนือกว่าไก่อ่อน'นักการเมือง'อย่างเด่นชัด

    บรรดา'มหาปราชญ์' ที่กำหนดเกมและวางหมากนี้อาศัยจุดอ่อนของ

    'ร่างรัฐธรรมนูญ'มาเสมือนกับเป็นเหยื่อล่อ

    หยื่อล่อให้ "นักการเมือง" เดินหลงเข้าไปใน 'ลอบ'

   ขณะเดียวกัน หากมองจากความสุกงอมของ'นักการเมือง' ก็ต้องยอมรับว่าเป็นการยินยอมเดินเข้าสู่ลอบอันวางดักไว้ด้วยความเต็มใจ

  เพราะหงุดหงิดกับ'เนื้อหา'ที่ปรากฏผ่านร่างรัฐธรรมนูญจริงๆ

  หากเป็นการสมยอมระหว่าง 'คสช.'กับ '36 มหาปราชญ์' ในนามคณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ

  ก็ต้องถือว่า ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ เสียสละ

  ก็ต้องถือว่า ดร.สุจิต บุญบงการ หรือแม้กระทั่ง ดร.ชัยอนันต์ สมุทวณิช เสียสละให้กับหมากกลอันวางไว้อย่างแยบยลของ "คสช."

   เพราะมาจากความยินยอมอย่างเต็มใจของบรรดา "นักการเมือง"

                ประเด็น 1 ซึ่งมีความแหลมคมเป็นอย่างมากและไม่ควรมองข้ามอย่างเด็ดขาดก็คือ พลันที่เข้าสู่กระบวนการ "ประชามติ" เท่ากับทุกฝ่ายออกมายืนอยู่กลางแจ้ง เปิดเผย โดยมี "มวลมหาประชาชน" เป็นผู้ตัดสินอย่างมิอาจหลีกเลี่ยงได้พ้น

                หากเป็น "สงคราม" นี่ก็คือ สงคราม "ประชาชน"

                ถามว่าในเกม "ประชามติ" สามารถเอามาตรา 44 แห่งรัฐธรรมนูญชั่วคราวมาเป็น'เครื่องมือ'ในการสร้างความได้เปรียบและอยู่ในสถานะที่เหนือกว่าได้หรือไม่

                ตอบได้เลยว่า ไม่ได้

                จุดร่วมอย่างมีนัยสำคัญก็คือ ทุกฝ่าย ทุกกลุ่ม จะต้องดำรงอยู่อย่างเสมอภาคและเท่าเทียมกันในสิทธิและเสรีภาพ

                เพราะ "ประชามติ" เท่ากับ "ประชาธิปไตย"

                ประชาธิปไตยอาจสามารถอ้างว่าแบบสากล หรือแบบไทย-ไทย แต่พลันที่มีคำว่า'ประชามติ'มาเป็นเครื่องกำกับ

                นั่นย่อมพ่วงเอาคำว่า "สากล" เข้ามาด้วย

                บทบาทและความหมาย 1 ซึ่งสำคัญอย่างยิ่งยวด อันมาพร้อมกับคำว่า'สากล' คือ

                คำว่า "อารยะ" ซึ่งตรงกับคำภาษาอังกฤษว่า "ศิวิไลซ์" ซึ่งก็มาพร้อมกับคำว่า สิทธิ และ เสรีภาพ ในการแสดงออกและเคลื่อนไหวในทางการเมือง

                เพื่อระดม "ประชา" จำนวนมหาศาลให้มา "ลงมติ" ร่วมกัน

                จะลง "ประชามติ" ภายใต้กระบอกปืนก็ไม่สง่างาม จะลง "ประชามติ" ภายใต้ร่มเงาอันมืดครึ้มของระบอบ "รัฐประหาร" ก็ไม่ได้

                เสรีภาพ ภราดรภาพ เสมอภาค จึงต้องกระหึ่ม

                กฎเหล็ก 1 ของสงครามก็คือ การดำรงอยู่ของ "การรุก" และ "การรับ" ภายในองค์เอกภาพเดียวกัน

                บางคนอาจมองเห็นแต่ด้านของ "การรุก" อันหมายถึงชัยชนะ กระทั่งลืมหรือมองข้ามบทบาทที่ภายในการรุกได้นำไปสู่ "การรับ" อย่างมิอาจปฏิเสธได้

                รุกอาจกลายเป็นรับ ขณะเดียวกัน รับอาจกลายเป็นรุก….

มติชนรายวัน ฉบับวันที่18 พ.ค. 2558

apm

 

 

Facebook

5 ข่าวฮอตนิวส์!