จับตาถอดถอน ชี้ชะตาประเทศ
- Details
- Category: วิเคราะห์-การเมือง
- Created: Sunday, 11 January 2015 21:37
- Published: Sunday, 11 January 2015 21:37
- Hits: 3128
วันที่ 11 มกราคม พ.ศ. 2558 เวลา 15:09 น. ข่าวสดออนไลน์
จับตาถอดถอน ชี้ชะตาประเทศ
รายงานพิเศษ
เป็นไปตามที่หลายคนคาดการณ์ว่าบรรยากาศการเมืองจะร้อนแรงตั้งแต่ต้นปีใหม่ 2558
โดยเฉพาะประเด็นถอดถอนนักการเมือง 2 คดีสำคัญ คดีแรก นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา กับนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ถูกกล่าวหาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของส.ว.
กับคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ถูกกล่าวหาละเลยการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ทั้งสองคดีมี ผู้กล่าวหาเดียวกันคือป.ป.ช.
หลังยืดเยื้อนานข้ามปี คดีถอดถอน 3 นักการเมืองดังกล่าวได้มาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมีมติรับเรื่องถอดถอนทั้ง 2 คดีไว้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
กำหนดให้คู่ความ ป.ป.ช.ในฐานะผู้กล่าวหาและ 3 นักการเมืองผู้ถูกกล่าวหาเข้าแถลงเปิดสำนวนคดี
วันที่ 8 ม.ค. เป็นคิวนายสมศักดิ์ กับนายนิคม วันที่ 9 ม.ค. เป็นคิวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยมีนายวิชา มหาคุณ เป็นตัวแทนแถลงเปิดคดีในส่วนของป.ป.ช.ทั้ง 2 วัน
หลังรับฟังการแถลงเปิดคดี สนช.ตั้งคณะกรรมาธิการซักถามขึ้น 2 ชุด ชุดละ 9 คน เพื่อรวบรวมประเด็นซักถามจากสมาชิกสนช. และเป็นตัวแทนซักถามคู่กรณี
คดีถอดถอน 'สมศักดิ์-นิคม' กำหนดซักถามวันที่ 15 ม.ค. คดีถอดถอนยิ่งลักษณ์ กำหนดซักถามวันที่ 16 ม.ค. เสร็จจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนสำคัญ คือการลงมติว่าจะถอดถอนหรือไม่
ล่าสุดข่าวแจ้งว่าการลงมติคดี 'สมศักดิ์-นิคม' จะมีขึ้นวันที่ 22 ม.ค. ส่วนของ 'ยิ่งลักษณ์'จะมีขึ้นวันที่ 23 ม.ค. เร็วขึ้นจากกำหนดเดิมปลายเดือนม.ค.หรือต้นเดือนก.พ. ตามที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. กล่าวไว้ในตอนแรก
ในห้วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อนี้มีกระแสข่าวหนาหูว่า
ถึงที่สุดแล้วเกมถอดถอน ฉากหนึ่งของสงครามการเมืองในภาพใหญ่ ที่สองฝ่ายผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะมาตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ครั้งนี้ผลน่าจะออกมาเป็นบวกกับฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา
ด้วยเงื่อนไขสมาชิกสนช.ส่วนใหญ่โดยเฉพาะสายทหาร ตำรวจและข้าราชการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีจำนวนกว่าครึ่งของสมาชิกทั้งหมด 220 คน
รู้ดีว่าเนื้อแท้ของเกมถอดถอนครั้งนี้มีต้นตอความเป็นมาอย่างไร เป็นเรื่องของการจงใจฝ่าฝืนข้อกฎหมาย หรือเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ
เนื่องจากว่าถึงผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 คน จะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ถ้าหากโดนถอดถอนซ้ำก็ต้องรับโทษถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
แน่นอนว่าการลงมติที่กำลังจะมีขึ้นในอีกราว 10 วันข้างหน้า ไม่ว่าผลออกมาอย่างไรย่อมมีทั้งกลุ่มคนพอใจและ ไม่พอใจ
แต่นั่นไม่ได้อยู่เหนือการตัดสินใจของเหล่าบรรดาสมาชิก สนช.ทั้ง 220 คน ที่ต้องพิจารณาโดยยึดหลักความยุติธรรม หลักกฎหมาย และความเป็นกลาง
เหมือนที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.เคยกล่าวไว้ว่า สนช.ต้องไม่ทำหรือแสดงให้เห็นว่าเข้าข้างหรือมีอคติต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
เพราะความจริงที่ไม่อาจมองข้ามก็คือ สนช.ชุดนี้ไม่ได้มาตามวิถีทางประชาธิปไตย แต่ถือกำเนิดจากคณะรัฐประหาร คสช. ทำให้มีต้นทุนภาพลักษณ์อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าสภาปกติ
รวมถึงข้อเคลือบแคลงของสังคมที่ว่า องค์กรที่มาจากการลากตั้งด้วยอำนาจพิเศษ สมควรหรือไม่ที่จะใช้อำนาจถอดถอนผู้ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และพ้นจากตำแหน่งไปแล้วนาน 8 เดือน
ดังนั้น จึงมีแต่การปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักความยุติธรรม โปร่งใส ยึดหลักกฎหมาย และวางตัวเป็นกลาง ไม่หลงกลตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเท่านั้นที่จะเป็นเกราะป้องกันสนช. ที่สำคัญจะมีผลช่วยให้ความขัดแย้งของคนในสังคมลดน้อยลง
สนช.เปรียบเสมือนกรรมการผู้ตัดสิน ถ้าไม่มีความเป็นธรรมก็จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมความรู้สึกเกลียดชังให้กับคนในสังคม สิ่งที่ตามมาไม่ใช่แค่สนช.ที่ขาดความน่าเชื่อถือ แต่ยังเป็นการจุดชนวนความขัดแย้งรอบใหม่
กระทบถึงการสร้างบรรยากาศความปรองดองสมานฉันท์ หมุนกงล้อประเทศกลับไปสู่ความแตกแยกเหมือนก่อนวันที่ 22 พ.ค. 2557 ซึ่งหมายความว่าสิ่งที่คสช.พากเพียรทำมาเกือบ 8 เดือน
อาจพังทลายลงไปในพริบตา
ภายใต้คำแถลงต่อที่ประชุม สนช.ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 9 ม.ค. แม้จะใช้เวลาสรุปเรื่องราวเพียงแค่ 1 ชั่วโมงเศษ
แต่ก็เป็นการเปิดโปงขบวนการโจมตีโครงการรับจำนำข้าว เพื่อหวังผลทำลายล้างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้อย่างหมดเปลือก
ทั้งยังลำดับความชี้ให้เห็นได้ชัดเจนว่า กลไกองค์กรอิสระอย่างป.ป.ช. อดีตฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ องค์กรทีดีอาร์ไอ และม็อบกปปส.
ทำงานเป็นทีมเวิร์ก สอดประสานกันอย่างไรกว่าจะปั้นเรื่องถอดถอน ผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของสนช.ได้เป็นผลสำเร็จ
ทั้งที่รัฐธรรมนูญปี 2550 ถูกยกเลิกไปแล้วจากการรัฐประหารโดยคสช. รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ก็ไม่ได้ให้อำนาจสนช.ดำเนินการถอดถอน
ในสำนวนของป.ป.ช.ก็ไม่มีหลักฐานการทุจริตจำนำข้าวในระดับรัฐบาล อัยการสูงสุดที่ได้หารือร่วมกับป.ป.ช.มาแล้วหลายรอบ ก็ยังไม่พบพยานหลักฐานหนักแน่นพอสรุปได้ว่าจะสั่งฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่
ป.ป.ช.เองก็บ่ายเบี่ยงที่จะดำเนินการสิ่งใดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักฐานปกรายงานวิจัยของทีดีอาร์ไอ
ในช่วงท้ายของการชี้แจง สิ่งที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ร้องขอจากที่ประชุมสนช. คือการพิจารณาตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม ตามหลักนิติธรรมสากล เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปฏิรูปประเทศโดยเฉพาะเรื่องความยุติธรรม
ไม่ให้มีการกล่าวหาว่าสองมาตรฐาน อันเป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความขัดแย้ง และไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างความปรองดองของชาติ
บทเรียนที่ประชาชนในสังคมเรียนรู้ร่วมกันตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา นั่นก็คือความยุติธรรมสองมาตรฐาน เป็นชนวนวิกฤตความ ขัดแย้งที่แท้จริงของประเทศไทย
สำหรับ สนช.ทั้ง 220 คน ได้เรียนรู้ไปพร้อมกับประชาชนหรือไม่ อีกไม่กี่วันนับจากนี้คงได้รู้กัน...
โดยเฉพาะประเด็นถอดถอนนักการเมือง 2 คดีสำคัญ คดีแรก นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ อดีตประธานรัฐสภา กับนายนิคม ไวยรัชพานิช อดีตประธานวุฒิสภา ถูกกล่าวหาเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญเกี่ยวกับที่มาของส.ว.
กับคดี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร อดีตนายกฯ ถูกกล่าวหาละเลยการทุจริตโครงการรับจำนำข้าว ทั้งสองคดีมี ผู้กล่าวหาเดียวกันคือป.ป.ช.
หลังยืดเยื้อนานข้ามปี คดีถอดถอน 3 นักการเมืองดังกล่าวได้มาถึงช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อสำคัญ เมื่อสภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) ซึ่งมีมติรับเรื่องถอดถอนทั้ง 2 คดีไว้ตั้งแต่ปลายปีที่แล้ว
กำหนดให้คู่ความ ป.ป.ช.ในฐานะผู้กล่าวหาและ 3 นักการเมืองผู้ถูกกล่าวหาเข้าแถลงเปิดสำนวนคดี
วันที่ 8 ม.ค. เป็นคิวนายสมศักดิ์ กับนายนิคม วันที่ 9 ม.ค. เป็นคิวของน.ส.ยิ่งลักษณ์ โดยมีนายวิชา มหาคุณ เป็นตัวแทนแถลงเปิดคดีในส่วนของป.ป.ช.ทั้ง 2 วัน
หลังรับฟังการแถลงเปิดคดี สนช.ตั้งคณะกรรมาธิการซักถามขึ้น 2 ชุด ชุดละ 9 คน เพื่อรวบรวมประเด็นซักถามจากสมาชิกสนช. และเป็นตัวแทนซักถามคู่กรณี
คดีถอดถอน 'สมศักดิ์-นิคม' กำหนดซักถามวันที่ 15 ม.ค. คดีถอดถอนยิ่งลักษณ์ กำหนดซักถามวันที่ 16 ม.ค. เสร็จจากนั้นจะเข้าสู่ขั้นตอนสำคัญ คือการลงมติว่าจะถอดถอนหรือไม่
ล่าสุดข่าวแจ้งว่าการลงมติคดี 'สมศักดิ์-นิคม' จะมีขึ้นวันที่ 22 ม.ค. ส่วนของ 'ยิ่งลักษณ์'จะมีขึ้นวันที่ 23 ม.ค. เร็วขึ้นจากกำหนดเดิมปลายเดือนม.ค.หรือต้นเดือนก.พ. ตามที่นายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย รองประธานสนช. กล่าวไว้ในตอนแรก
ในห้วงเวลาหัวเลี้ยวหัวต่อนี้มีกระแสข่าวหนาหูว่า
ถึงที่สุดแล้วเกมถอดถอน ฉากหนึ่งของสงครามการเมืองในภาพใหญ่ ที่สองฝ่ายผลัดกันแพ้ผลัดกันชนะมาตลอดช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ครั้งนี้ผลน่าจะออกมาเป็นบวกกับฝ่ายผู้ถูกกล่าวหา
ด้วยเงื่อนไขสมาชิกสนช.ส่วนใหญ่โดยเฉพาะสายทหาร ตำรวจและข้าราชการผู้ทรงคุณวุฒิ ซึ่งมีจำนวนกว่าครึ่งของสมาชิกทั้งหมด 220 คน
รู้ดีว่าเนื้อแท้ของเกมถอดถอนครั้งนี้มีต้นตอความเป็นมาอย่างไร เป็นเรื่องของการจงใจฝ่าฝืนข้อกฎหมาย หรือเป็นเรื่องการเมืองล้วนๆ
เนื่องจากว่าถึงผู้ถูกกล่าวหาทั้ง 3 คน จะพ้นจากตำแหน่งไปแล้ว แต่ถ้าหากโดนถอดถอนซ้ำก็ต้องรับโทษถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี
แน่นอนว่าการลงมติที่กำลังจะมีขึ้นในอีกราว 10 วันข้างหน้า ไม่ว่าผลออกมาอย่างไรย่อมมีทั้งกลุ่มคนพอใจและ ไม่พอใจ
แต่นั่นไม่ได้อยู่เหนือการตัดสินใจของเหล่าบรรดาสมาชิก สนช.ทั้ง 220 คน ที่ต้องพิจารณาโดยยึดหลักความยุติธรรม หลักกฎหมาย และความเป็นกลาง
เหมือนที่นายพรเพชร วิชิตชลชัย ประธานสนช.เคยกล่าวไว้ว่า สนช.ต้องไม่ทำหรือแสดงให้เห็นว่าเข้าข้างหรือมีอคติต่อฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
เพราะความจริงที่ไม่อาจมองข้ามก็คือ สนช.ชุดนี้ไม่ได้มาตามวิถีทางประชาธิปไตย แต่ถือกำเนิดจากคณะรัฐประหาร คสช. ทำให้มีต้นทุนภาพลักษณ์อยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าสภาปกติ
รวมถึงข้อเคลือบแคลงของสังคมที่ว่า องค์กรที่มาจากการลากตั้งด้วยอำนาจพิเศษ สมควรหรือไม่ที่จะใช้อำนาจถอดถอนผู้ที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน และพ้นจากตำแหน่งไปแล้วนาน 8 เดือน
ดังนั้น จึงมีแต่การปฏิบัติหน้าที่โดยยึดหลักความยุติธรรม โปร่งใส ยึดหลักกฎหมาย และวางตัวเป็นกลาง ไม่หลงกลตกเป็นเครื่องมือทางการเมืองให้ฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดเท่านั้นที่จะเป็นเกราะป้องกันสนช. ที่สำคัญจะมีผลช่วยให้ความขัดแย้งของคนในสังคมลดน้อยลง
สนช.เปรียบเสมือนกรรมการผู้ตัดสิน ถ้าไม่มีความเป็นธรรมก็จะยิ่งเป็นการซ้ำเติมความรู้สึกเกลียดชังให้กับคนในสังคม สิ่งที่ตามมาไม่ใช่แค่สนช.ที่ขาดความน่าเชื่อถือ แต่ยังเป็นการจุดชนวนความขัดแย้งรอบใหม่
กระทบถึงการสร้างบรรยากาศความปรองดองสมานฉันท์ หมุนกงล้อประเทศกลับไปสู่ความแตกแยกเหมือนก่อนวันที่ 22 พ.ค. 2557 ซึ่งหมายความว่าสิ่งที่คสช.พากเพียรทำมาเกือบ 8 เดือน
อาจพังทลายลงไปในพริบตา
ภายใต้คำแถลงต่อที่ประชุม สนช.ของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร เมื่อวันที่ 9 ม.ค. แม้จะใช้เวลาสรุปเรื่องราวเพียงแค่ 1 ชั่วโมงเศษ
แต่ก็เป็นการเปิดโปงขบวนการโจมตีโครงการรับจำนำข้าว เพื่อหวังผลทำลายล้างรัฐบาลพรรคเพื่อไทยได้อย่างหมดเปลือก
ทั้งยังลำดับความชี้ให้เห็นได้ชัดเจนว่า กลไกองค์กรอิสระอย่างป.ป.ช. อดีตฝ่ายค้านพรรคประชาธิปัตย์ องค์กรทีดีอาร์ไอ และม็อบกปปส.
ทำงานเป็นทีมเวิร์ก สอดประสานกันอย่างไรกว่าจะปั้นเรื่องถอดถอน ผลักดันเข้าสู่การพิจารณาของสนช.ได้เป็นผลสำเร็จ
ทั้งที่รัฐธรรมนูญปี 2550 ถูกยกเลิกไปแล้วจากการรัฐประหารโดยคสช. รัฐธรรมนูญชั่วคราว 2557 ก็ไม่ได้ให้อำนาจสนช.ดำเนินการถอดถอน
ในสำนวนของป.ป.ช.ก็ไม่มีหลักฐานการทุจริตจำนำข้าวในระดับรัฐบาล อัยการสูงสุดที่ได้หารือร่วมกับป.ป.ช.มาแล้วหลายรอบ ก็ยังไม่พบพยานหลักฐานหนักแน่นพอสรุปได้ว่าจะสั่งฟ้องคดีต่อศาลหรือไม่
ป.ป.ช.เองก็บ่ายเบี่ยงที่จะดำเนินการสิ่งใดเพิ่มเติมนอกเหนือจากหลักฐานปกรายงานวิจัยของทีดีอาร์ไอ
ในช่วงท้ายของการชี้แจง สิ่งที่น.ส.ยิ่งลักษณ์ร้องขอจากที่ประชุมสนช. คือการพิจารณาตัดสินคดีอย่างเที่ยงธรรม ตามหลักนิติธรรมสากล เพื่อเป็นบรรทัดฐานในการปฏิรูปประเทศโดยเฉพาะเรื่องความยุติธรรม
ไม่ให้มีการกล่าวหาว่าสองมาตรฐาน อันเป็นสาเหตุสำคัญที่สร้างความขัดแย้ง และไม่เอื้ออำนวยต่อการสร้างความปรองดองของชาติ
บทเรียนที่ประชาชนในสังคมเรียนรู้ร่วมกันตลอดช่วงหลายปีที่ผ่านมา นั่นก็คือความยุติธรรมสองมาตรฐาน เป็นชนวนวิกฤตความ ขัดแย้งที่แท้จริงของประเทศไทย
สำหรับ สนช.ทั้ง 220 คน ได้เรียนรู้ไปพร้อมกับประชาชนหรือไม่ อีกไม่กี่วันนับจากนี้คงได้รู้กัน...